Tuesday, 14 May 2024
THE STATES TIMES TEAM

หนูพร้อม...พี่ก็พร้อม!!

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลา 15.30 น.​ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่ห์บางส่วน​ เริ่มมีการจัดตั้งแถว​ เพื่อรอรับมือม็อบราชประสงค์เย็นนี้ ตรงบริเวณหน้าอาคารนิมิตบุตร​ สนามกีฬาแห่งชาติ

ศบค.ไฟเขียวต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 45 วัน !

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธินโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงผลประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นครั้งที่ 8 เป็นเวลา 45 วัน โดยจะขยายเวลาคร่อมช่วงเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2563 - 15 มกราคม พ.ศ.2564 โดยมีเหตุผลว่าเพื่อเป็นการควบคุมตามมาตรการทางสาธารณสุข และในช่วงเวลาดังกล่าวตะมีการแข่งขันกีฬาแบดมินตันโลก ที่จะมีผู้เดินทางเข้ามาในประเทศจำนวนมาก จึงต้องดูแลให้ครอบคลุม

บาดเจ็บ 55 ปะทะ เมื่อวาน

ศูนย์เอราวัณรายงานผู้บาดเจ็บม็อบหน้าสภา 55 คน ด้าน ประธานสภา แจงเอ่ย "ขอบคุณ" ทุกฝ่ายไม่เลือกปฏิบัติ ขอให้เชื่อสภายังเป็นพึ่งของปชช.

 

เมื่อเวลา 11.45 น. ที่รัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมนายแทนคุณ จิตต์อิสระ เลขานุการคณะทำงานประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันแถลงถึงภาพรวมการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

 

โดย นพ.สุกิจ กล่าวว่า ประธานสภามีความห่วงใยต่อผู้ชุมนุมโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ตนและทีมงานให้ติดตามดูแลให้การช่วยเหลือต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

 

โดยรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมของศูนย์เอราวัณ มีผู้บาดเจ็บรวม 55 คน ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา 32 คน, ถูกยิง 6 คน, มีอาหารป่วยขณะชุมนุม 4 คน และบาดเจ็บอื่น ๆ 13 คน ซึ่งได้กระจายรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ

 

ซึ่งตนและทีมงานได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ผู้บาดเจ็บเข้ารักษาส่วนมากจากแก๊สน้ำตาและได้เดินทางกลับบ้านแล้ว ส่วนรายที่บาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงที่โคนขาซ้ายตอนที่ตนไปก็กำลังเข้ารับการผ่าตัดอยู่

 

ด้านนายแทนคุณ กล่าวว่า "เมื่อวานตนได้มีโอกาสตามนายชวน หลีกภัย ไปดูแลในพื้นที่โดยรอบของรัฐสภา ขอยืนยันว่านายชวนได้มีความเป็นห่วงเป็นใยทุกฝ่ายทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่สภา ตำรวจ รวมทั้งผู้ชุมนุมด้วย ได้ตั้งทีมให้ไปดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนั่นก็สะท้อนถึงความเป็นห่วงเป็นใยอย่างไม่เลือกปฏิบัติ

 

และคำว่าขอบคุณที่ท่านกล่าวนั้น ท่านกล่าวว่าขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งก็สะท้อนกลับมาที่สภาว่าจะต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีในเมื่อเจ้าหน้าที่ ประชาชนได้ทำหน้าที่ของตนเองแล้ว ไม่ได้เป็นการกล่าวขอบคุณฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือเป็นการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายเดียว และได้กำชับให้ดูแลทุกฝ่ายให้ดี"

 

นายแทนคุณ กล่าวอีกว่า "เป็นความไม่สบายใจของพวกเราที่ทำงานในสภา ที่เหตุการณ์ชุมนุมใช้อาวุธที่รุนแรงซึ่งเข้าใจว่าการชุมนุมกับการดำเนินวิถีประชาธิปไตยเป็นของคู่กัน เราเองเข้าใจในสิทธิเสรีภาพแต่ก็มีความเป็นห่วง และโชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต ครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่มีการกระทบกระทั่งกันแต่โชคดีที่เรามีสื่อมวลชนคอยจับตา ทำให้เราเห็นภาพหลักฐานว่าใครทำอะไรอย่างไร

 

ทั้งนี้ในวันนี้จะมีการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนอยากให้ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้เชื่อมั่นและเคารพในกติกาในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ไขปัญหาโดยใช้รัฐสภาที่เป็นภาษีของประชาชนได้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง แตกแยกทางการเมืองโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการจาบจ้วงสถานบัน ตนมองว่าเป็นประเด็นที่แหลมคมและนำมาซึ่งความเจ็บซ้ำน้ำใจของแต่ละฝ่าย ขอให้ระมัดระวังในท่าทีหรือถ้อยคำซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานสภามีความห่วงใยว่าอยากให้สื่อสารว่าสภายังเป็นที่พึ่งที่หวังโดยเฉพาะนายชวนยังเป็นเสาหลักของประชาธิปไตยในขณะนี้

'จอน' เชื่อ ร่าง 'ไอลอว์' จอด

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่รัฐสภา นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย ประชาชน (ไอลอว์) กล่าวถึงภาพรวมการพิจารณาร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสภาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ว่า ตนพอใจกับการทำหน้าที่ของส.ส.ส่วนใหญ่ แต่ไม่ค่อยพอใจกับการทำหน้าที่ของส.ว.บางคน


ซึ่งมีลักษณะกล่าวหาใส่ร้ายองค์กรที่ตนภูมิใจนั้นก็คือไอลอว์ เพราะเราเป็นองค์กรที่ทำทุกอย่างถูกต้องโปร่งใส หากท่านไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคประชาชนเรายินดี เพราะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่มาใส่ร้ายกล่าวหาว่าทุจริตบ้าง ได้เงินจากแหล่งทุนบ้าง โดยไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ ตนถือว่าไม่แฟร์ เมื่อถามว่าจะชี้แจงอย่างไรกรณีที่ว่าแหล่งทุนนั่นเป็นแหล่งทุนเดียวกับการให้ม็อบฮ่องกง นายจอน กล่าวว่า "ตนไม่ทราบว่าแหล่งทุนใดให้ทุนกับม็อบฮ่องกง แต่ถ้าเป็นการให้ทุนกับองค์กรที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตนถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา"
 

เมื่อถามว่าหากวันนี้ร่างของไอลอว์ถูกตีตกจะดำเนินการอย่างไรต่อ นายจอน กล่าวว่า "คาดอยู่แล้วว่าจะตีตก ตนเชื่ออย่างนั้น ตนคิดว่าซีกหนึ่งของสภานี้ไม่ได้ติดอยู่กับความเป็นจริงของสังคมที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงคนรุ่นใหม่กำลังมาเรียกร้องประชาธิปไตย ถ้าสภาส่วนหนึ่งไม่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหน้าเศร้า เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่ลง"

18 พฤศจิกายน ค.ศ.1993…รำลึกคอนเสิร์ตร็อกที่เนียนที่สุดในโลก

หากจะหาอัลบั้มเพลงที่ขายดีตลอดกาล หรือถูกพูดถึงข้ามยุคข้ามสมัย ฟันธงฟันทิ้งไปเลยว่า หลายคนต้องนึกถึง ‘อัลบั้มบันทึกการแสดงสด MTV Unplugged ของวง Nirvana’

Nirvana คือวงดนตรีแนวกรั๊นจ์ร็อกที่โด่งดังสุดๆ ในช่วงปี ค.ศ.1987-1994 โอ้ว! เรื่องมันก็นานมาแล้ว แต่อย่างที่บอก ทุกวันนี้ยังมีคนพูดถึง Nirvana กันอยู่เลย

Nirvana มีมือกีต้าร์-นักร้องนำที่ชื่อ เคิร์ท โคเบน เปรียบเสมือนศาสดาแห่งดนตรีกรั๊นจ์ ซึ่งตัวอัลบั้ม Nirvana MTV Unplugged เกิดขึ้นในช่วงที่ดนตรีแนว Unplugged หรือการแสดงสดที่ไม่ใช่เสียงสังเคราะห์จากไฟฟ้า กำลังเป็นที่นิยม ทางวงเลยจัดการบันทึกการแสดงสดงานอัลบั้มชุดดังกล่าวนี้แบบ Unplugged ณ โซนี่สตูดิโอ เมืองนิวยอร์ก

และทันทีที่ผลงานดังกล่าวถูกปล่อยออกไป ยอดขายก็ถล่มทลาย ไม่มีใครคาดคิดว่า วงดนตรีที่มีซาวน์เพลงแสบสันต์รูหูอย่าง Nirvana จะมาแสดงสดด้วยสไตล์ที่ดูดีมีคลาสเช่นนี้ ผลงานนี้ทำลายแทบทุกสถิติ ติดทุกชาร์ตทุกโพล และถึงวันนี้ผ่านไป 27 ปี ก็ยังถูกพูดถึงกันอยู่เลย

แม้ว่า เคิร์ท โคเบน จะเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1994 แต่ชื่อของวง Nirvana ก็ไม่ได้ตายตามเขาไป บทเพลงยังคงถูกหยิบมาเปิด และที่สำคัญ ผลงานของพวกเขายังส่งต่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักดนตรีรุ่นใหม่ในวันนี้อย่างมากมาย

พูดจาภาษานิ้ว

ช่วงนี้อะไรๆ ก็มีแต่นิ้วนะฮะ ไปไหนเห็นแต่คนชูนิ้วสลอน เมื่อวันก่อนเจอคนชูนิ้วโป้งดำปี๋ ตกใจมือทาบอก! อ๋อ! คุณพี่เพิ่งเอาทองไปตึ๊งที่โรงรับจำนำนี่เอง เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ราคาทองขึ้นเอ๊าขึ้นเอา! อันนี้ก็เข้าใจ

เอ้า! ไปเจอเด็กชายวัยรุ่นใส่ช็อพน้ำตาลเดินมากลุ่มใหญ่ ชู 3 นิ้วให้ด้วย ตกใจมือทาบอก! นึกว่าจะชวนไปเย๊วๆ ที่ไหน อ๋อ! กลุ่มลูกเสือเขาสวัสดีเรานั่นเอง มารยาทงามแท้

เพราะสัญลักษณ์นิ้วมีมากมายจริงไรจริง ว่าแล้วเราไปเปิดคอร์ส ‘เรียนภาษานิ้ว’ กันดีกว่า ทำนิ้วแบบไหนหมายถึงอะไร และทำนิ้วแบบใด เสี่ยงถึงชีวิต! ไปดูกันฮ่ะ!

 

 

 

สมานฉันท์สมชื่อหรือเอาเท่ห์

ในช่วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองบ้านเราร้อนระอุมากขึ้นทุกที และดูเหมือนจะร้อนขึ้นเรื่อยๆไม่มีหยุด จากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่เมื่อการเรียกร้องเริ่มมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป คงหนีไม่พ้นต้องมีคนเข้ามาห้ามมวย เพื่อช่วยคลี่คลายความขัดแย้งอันร้อนระอุนี้ให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

แล้วใครล่ะจะเป็นคนที่เข้ามาห้ามมวยระดับประเทศ ? ในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่ผ่านมาในประเทศ กรรมการห้ามมวยก็มีมาหลาย ๆ ต่อหลายชื่อต่างกันไปในแต่ละยุครัฐบาลก็เท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงในช่วงเวลานี้ก็คงหนีไม่พ้น "คณะกรรมการสมานฉันท์"

ซึ่งนำทีมโดยท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา "ชวน หลีกภัย" ที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันพระปกเกล้าให้วางโครงสร้างคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์หาทางออกให้ประเทศ

ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์นี้จะเข้ามามีบทบาทในการเปิดเวทีให้คู่ขัดแย้งได้พูดคุยถึงปัญหาและหา "ตรงกลาง" ให้กับทั้งสองฝ่าย โดยให้ทั้งสองฝ่ายมาถกปัญหากันด้วยเหตุและผล เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งจุดประสงค์ในการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้นมาจากการที่ต้องการให้คนในประเทศไม่ทะเลาะกันและปรองดองกันในที่สุด แต่สุดท้ายเมื่อตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาแล้วจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงอย่างชื่อหรือเปล่าล่ะ ?

โดยแนวทางในตอนนี้มีด้วยกัน 2 แนวทาง ทางแรกมีคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ 7 หรือ 5 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจหรือจะเป็นตัวแทนของกลุ่มผุ้ชุมนุม ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ส.รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นโครงสร้างที่มีองค์ประกอบครบทุกฝ่าย

ในส่วนของทางที่สองคือการเสนอ "คนกลาง" จากแต่ละฝ่ายเพื่อมาเป็นคณะกรรมการหรือประธานรัฐสภาสรรหาบุคคล หรือจะตั้งประธานคณะกรรมการโดยการทาบทามมาเป็นคณะกรรมการ

ในตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปมาว่าจะใช้แนวทางไหนหรืออาจมีการนำทั้งสองแนวทางมาผสมกันเพื่อให้เกิดความลงตัวมากขึ้น ถ้าเกิดมาในแนวทางนี้จริงก็คงเป็นการหาทางออกที่ผ่านเสียงจากทุกฝ่าย

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าไม่มีฝ่ายค้านไหนเข้าร่วมสังฆกรรมด้วย หรือง่าย ๆ "ไม่เอาด้วย" เพราะหลายฝ่ายกลับมองว่าเป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลมากกว่า

ถ้าคณะกรรมการสมานฉันท์เป็นเหมือนกับการหงายการ์ดปรองดองอย่างรัฐบาลต่างๆที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากการเป็นฟูกลดแรงกระแทกให้กับทางฝั่งรัฐบาลหรือเป็นการซื้อเวลาเสียมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ที่สุดท้ายแล้วข้อเสนอหรือรายงานต่าง ๆ ถูกดองหรือนำออกมาใช้เพียงน้อยนิด สุดท้ายถ้าเป็นไปในรูปแบบเดิมการตั้งคณะกรรการสมานฉันท์ก็มีขึ้นเพื่อลดแรงกระแทกจากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เท่านั้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top