Tuesday, 14 May 2024
THE STATES TIMES TEAM

8 ปีที่รอคอย!! ไทยเข้า ‘ตี้’ RCEP หุ้นส่วนเศรษฐกิจ 15 ชาติสะเทือนโลก

ประเทศไทยปิดดีล RCEP เรียบร้อย หลังการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ที่ยาวนานกว่า 8 ปี จบลงโดยมี 15 ชาติพันธมิตรเข้าร่วม หากนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 ก็เรียกว่าผ่านมาเนิ่นนานร่วม 8 ปี ของการเจรจา RCEP!!

RCEP คืออะไร?

RCEP มีชื่อย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป้าหมายของการก่อตั้ง RECP ก็เหมือน ๆ กับการตั้ง EU ในยุโรปนั่นแหละ เพราะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ การค้า และให้แก่ทุกประเทศที่เข้าร่วม

โดยอยู่ภายใต้ระบบการค้าเสรีที่ใช้กฎระเบียบเดียวกันของผู้มีส่วนใน RCEP (ภาคี) ที่มีทั้งหมด 15 ประเทศ แบ่งเป็รนชาติอาเซียน (รวมไทย) 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ การรวมตัว RCEP จะทำให้เกิดภาพอะไรขึ้น?

- ประชากรในประเทศสมาชิก RCEP จะครอบคลุมคนถึง 2.2 พันล้านคน หรือเกือบ 30% ของประชากรโลก

- คาดจะเกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 326 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นเกือบ 28% ของมูลค่าการค้าโลก

- และสร้างตัวเลข GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 817.7 ล้านล้านบาท) หรือ 30% ของ GDP โลก

.

จะเรียกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาครอบนี้ กลายเป็นเรื่องใหญ่ของโลกเลยก็ได้ เพราะ RCEP จะเหมือนกับ 1 ประเทศใหญ่ที่คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจได้ถึง 1 ใน 3 ของโลกกันเลยทีเดียว เมื่อทั่วโลกเห็นภาพแบบนี้ จะมีใครไม่อยากมาลงทุน พอมาลงทุน เม็ดเงินก็ไหลเวียนในระบบประเทศสมาชิก เกิดตลาดงานใหม่ โครงการใหม่ ๆ เกิดการสะพัดทางเม็ดเงินเศรษฐกิจแบบต่อเนื่อง สรุปประเทศรวย ประชาชนก็สบาย

ฉะนั้นทุกประเทศที่อยู่ในการเจรจา RCEP ต่างพยายามให้ข้อตกลงนี้ลุล่วง

แล้วก็เป็นข่าวดีมาก ๆ โดยเฉพาะกับไทย เพราะร่วมปิดดีลนี้ได้แล้ว!! โดยรัฐบาลไทยที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วมประชุม RCEP รอบนี้ และมี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นผู้ลงนาม RCEP กันทางออนไลน์ไปเป็นทีเรียบร้อย

จากนั้นคาดว่า เมื่อแต่ละประเทศให้สัตยาบัน ก็น่าจะเริ่มเปิดเสรี RCEP ทางการค้าและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ในช่วงครึ่งหลังปี พ.ศ.2564

ผลบวกที่ 15 ชาติ RCEP รอคอย?

- RCEP นั้นจะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างเสรี ‘ไร้กำแพงภาษี’ ใน 15 ประเทศ RCEP

- RCEP ในส่วนของอาเซียน อาจจะได้อานิสงค์จากประเทศจีน ที่ถือเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ฟื้นตัวจากวิกฤต COVID-19 ได้สำเร็จ

- การลงนามในข้อตกลง RCEP จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเชื่อมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าสู่เศรษฐกิจโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น

.

ทั้งนี้ RCEP ได้ถูกยกให้เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศสมาชิกประกอบไปด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ แต่อินเดียได้ถอนตัวออกไปก่อนหน้านี้ จึงเหลือแค่ 15 ประเทศ เพราะอินเดียกลัวปัญหาสินค้าราคาถูกจากจีนทะลักเข้าประเทศ

แม้จะขาดตลาดใหญ่อย่างอินเดีย แต่ก็เชื่อว่าประเทศสมาชิกใน RCEP ที่ว่ามาก็ยังสร้างระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้อยู่ดี

ความลุล่วงของ RCEP ในช่วงเวลานี้ จึงนับเป็นข่าวดีอย่างมากของเศรษฐกิจไทย!!

เพราะในจังหวะที่ทั่วโลกยังเจอปัญหาโควิด-19 แต่ไทยเราสามารถรับมือได้ จะเป็นแต้มต่อที่ผสมกับแรงหนุนใหม่ที่มี 15 ชาติ RCEP ผลักให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้ไวกว่าเดิม...

การเมืองที่ไม่จบลงแค่ ‘ ม็อบ ’

“ ศิลปะ “ เป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับมนุษย์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปในสังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงเรื่องการเมือง ศิลปะจึงเป็นกระบอกเสียงของประชาชนที่สะท้อนความเห็นผ่านการเรียกร้องอย่างมีชั้นเชิงจากความสร้างสรรค์ในศิลปะ เมื่อเห็นแบบนี้แล้วม็อบก็คงไม่ใช่ทางออกเดียวที่จะแสดงความเห็นหรือแสดงจุดยืน

.

The States Times จึงได้รวม 4 ผลงานศิลปะที่สะท้อนภาพทางการเมืองที่ไม่ได้มีเพียงแค่ ‘ ม็อบ ’ จากศิลปินสุดเจ๋งที่ใช้ศิลปะมาแสดงออกอย่างแสบสันและสร้างสรรค์

.

.

A Show of Hands - Htein Lin
ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินชาวพม่า สื่อสารผ่านปูนปลาสเตอร์ที่หล่อจากมือของอดีตนักโทษทางการเมือง สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายที่รัฐบาลพม่าได้หยิบยื่นให้กับอดีตนักโทษเหล่านี้
.
Credit : https://www.albrightknox.org/art/exhibitions/htein-lin-show-hands

.

.

Israeli & Palestinian Pillow Fight- Banksy
ผลงานจากศิลปินชื่อดังระดับโลกที่ฝากผลงานเสียดสีแสนเจ็บแสบไว้ตามผนังตึกบ้านเรือนต่างๆเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับผลงาน Israeli & Palestini-an Pillow Fight ภาพสะท้อนของสงครามที่มีเพียงกำแพงกั้น ของสงครามอิสราเอลและปราเลสไตล์
.
Credit : Facebook Banksy

.

.

Politicians' Lies - Marco Melgrati
ผลงานสุดกวนจากศิลปินอิสระชาวอิตาเลียน
ผู้เสียดสีการเมืองผู้จิกกัดนักการเมืองผ่านภาพวาดที่ว่าด้วยคำโกหกต่างๆที่ออกมาผ่านฉากหน้าที่อยู่ในรูปแบบนักการเมือง
.
Credit : Facebook Marco Melgrati

.

.

Carcass - Petr Pavlensky
ศิลปะแสดงสดจากศิลปินชาวรัสเซีย ที่ทุ่มสุดตัวด้วยการนอนเปลือยกายในลวดหนามเพื่อแสดงให้เห็นถึง จุดยืนในการต่อต้านนโยบายที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนจากรัฐบาลของรัฐเซีย
.
Credit : https://www.saatchigallery.com/art/art-riot.php

รวมเรื่องราวดี ๆ และคดีดราม่า 'กันต์ กันตถาวร'

เป็นข่าวดราม่ากันมาทั้งอาทิตย์ กรณีที่ กันต์ กันตถาวร พิธีกรรายการ 10 Fight 10 ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้คำพูดไม่เหมาะสม ทั้งกับ แน็ก-ชาลี ไตรรัตน์ และ อาเธอร์ หลานชาย ภายหลังศึกปะทะหมัดของ ‘แน็ก & เจมส์ กิจเกษม’ จบลงแล้ว 

.

แต่ที่ดูจะเป็นประเด็นร้อนแรงมากขึ้นไปอีก เห็นจะเป็นกรณีที่ กันต์เมินเฉย และไม่พูดคุยกับ ‘โฟกัส จีระกุล’ แฟนสาวของเจมส์ที่ขึ้นไปแสดงความยินดีบนเวที งานนี้จึงถูกเชื่อมโยงไปยังเรื่องการเมือง ด้วยสาเหตุที่โฟกัสเพิ่งประกาศจุดยืนทางการเมือง และไปปรากฎตัวในม็อบมาก่อนหน้านี้ 

.

ดูเหมือนดราม่าครั้งนี้จะเป็นไฟลามทุ่ง เพราะมีการติดแฮชแท็ก แบนกันต์ รวมถึงให้เลิกติดตามไอจีของพิธีกรคนดัง และเลยเถิดไปยังการแบนช่องเวิร์คพอยท์อีกด้วย แต่เอาเข้าจริง ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เคยเกิดกรณีดราม่าของหนุ่มกันต์ The States Time Lite จึงไปรวบรวมข่าวเดือดและข่าวดี กรณีที่เคยเกิดขึ้นกับพิธีกรคนนี้มาบอกกัน...

 

16 พฤศจิกายน…วันแห่งการยอมรับความต่าง

ไม่ใช่แค่เป็นวันออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาลอย่างเดียวนะ แต่วันนี้ยังมีความสำคัญอีกอย่าง เรียกว่าเป็นวัน ‘วันสากลแห่งการยอมรับความต่าง’ หรือ International Day for Tolerance ถูกกำหนดขึ้นมาจากองค์การสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ.2538 จุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเปิดใจยอมรับในความแตกต่าง และความคิดเห็นของผู้อื่น

การกำหนดวันสำคัญนี้ ยังเกิดขึ้นในวันครบรอบ 50 ปีของการถือกำเนิดขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี ผู้คนบนโลกนี้ล้วนมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือจะผิวสีแบบไหน แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือการยอมรับและเปิดใจกว้าง เพื่อ ‘รับความคิดเห็น’ ของกันและกัน

เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก และโลกก็ไม่ได้เป็นของเราคนเดียว การยอมรับความแตกต่างย่อมเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สังคมพึงมี เหลียวกลับมามองที่สังคมไทยในเวลานี้ เราเชื่อว่า การตั้งใจฟัง ‘ความเห็น’ ของกันและกัน อย่างมีเหตุมีผล จะช่วยทำให้บรรยากาศของสังคมรื่นรมย์มากขึ้น เริ่มต้นกันตั้งแต่วันนี้ และเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการ...เปิดใจ

.

อ้างอิง: https://www.un.org/en/observances/tolerance-day

รับมือกับคนชอบเม้นแรงยังไงดี?

"ชูใจ" เป็นคอนเท้นประจำที่พวกเราชาว The States Times Lite ตั้งขึ้นมา ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า "ทุกคนอยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น" โดยเฉพาะโลกในวันนี้ ที่หมุนไปเร็วเหลือเกิน จนบางทีเราตั้งรับไม่ทัน หรือปรับเปลี่ยนตัวเองไม่ทัน จุดนี้เราจึงอยากนำปัญหาและเรื่องราวดี ๆ มาบอกเล่า อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อ "ชุบชูใจ" ให้หัวใจเบิกบาน ให้มองโลกอย่างสร้างสรรค์ และให้เราก้าวไปเป็นคนที่พร้อมจะพัฒนาตัวเองเสมอ

เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัวทุกคน "โซเชี่ยลมีเดีย" เคยหงุดหงิดไหมกับคนที่เข้ามาคอมเม้นใต้สเตตัสของเราแบบ...แกจะแรงไปไหน?

อ่ะ เม้นครั้งแรกก็ยังรับได้ (เพื่อนมันคงอยากจะแซวละมั้ง) จนมีครั้งที่ 2 3 4 5 เดี๋ยว ๆๆๆๆ ฉันไปทำอะไรให้แกเกลียดป่ะวะ? ขนาดโพสต์สเตตัสขำที่สุด แกยังเม้นประชดเหน็บแนม บ้ารึป่าววว!!

เรื่องทำนองนี้ เคยเกิดกับตัวเองบ้างไหม? จากที่อ่านแล้วยิ้ม ๆ เพราะคิดว่าเพื่อนแซว แต่พออ่าน ๆ ไป ชักจะไม่ใช่ล่ะ อารมณ์เริ่มมา สติปัญญาเริ่มหาย ต้องแสดงความเกรี้ยวกราดด้วยการตอบ Reply กลับไป และร้อยทั้งร้อย อิเพื่อนก็จะตอบ Reply กลับมาว่า "ไม่มีไร๊ ล้อเล่นนน!"

มันมีคนแบบนี้อยู่จริง คือคนที่ประเภทชอบเห็นคนอื่นโกรธ ประมาณว่า ได้ล้อ ได้แซว แล้วเห็นรีแอ็คกลับทันที มันจะสาแก่ใจ เหมือนเพื่อนที่ชอบแกล้งเพื่อนในห้องเรียนนั่นแหละ แต่ทุกวันนี้มันมีโลกมากกว่าห้องเรียนไง มันเลยมาแกล้งเราในโซเชี่ยลด้วย

.

.

ถามว่า ทำไงดีหากเจอเหตุการณ์ทำนองนี้?

จะเลิกเล่นโซเชี่ยลไปเลย? จะเข้าไปเม้นแรงๆ ในสเตตัสมันบ้าง? หรือจะเปิดศึกนอกโซเชี่ยล นัดตบนัดต่อยกันไปเลย?

คำตอบคือ "ปล่อยวาง" ฟังดูง่าย แต่รู้ว่าโคตะระยาก แต่ก็ต้องลองทำ!

สมมติว่า ต้นเหตุมาจากการที่เพื่อนอยากแกล้งเรา อยากเห็นเราเสียจริตทางโลกโซเชี่ยล แต่หากเราไม่ได้ทำแบบนั้นสมดั่งใจเพื่อน โจทย์ของเพื่อนก็จะถูกทำลายทันที เข้าตำรา ปรบมือข้างเดียวไม่มีทางดัง หรือสมมติต่อไปอีกว่า อิเพื่อนมันเกลียดเราจริง ๆ ตามเม้นทุกโพสต์เหมือนเจ้ากรรมนายเวร หากประเมินได้แบบนั้น ก็ตัดขาดความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนไปเถอะ คนเกลียดกันจะเป็นเพื่อนกันเพื่อ?

โอเค มันอาจจะยุ่งยากรำคาญใจสักหน่อยในช่วงแรก ๆ ที่ต้อง "ทน" กับตัวหนังสือแย่ ๆ แถมยังรู้สึกไม่ดีอีก หากคนอื่นจะต้องมาเห็นประโยคเหล่านี้ ทำบรรยากาศในเฟซบุ๊กเราพลอยด่างพร้อยไปด้วย แต่ให้คิดซะว่า "นี่เป็นการฝึกวุฒิภาวะ" ให้กับตัวเรา เชื่อเถอะ ถ้ามันเห็นเราไม่ไปต่อล้อต่อเถียงด้วยสักพัก เดี๋ยวเจ้าอารมณ์ที่เรียกว่า "ความเสร่อ" มันจะตีกลับไปที่เขาเอง เหมือนอะไรเอ่ย ไม่เข้าพวก สเตตัสนี้เขาคุยกันเรื่องดีๆ แต่แกมาแซวบ้าบอคอแตกอะไร? ทำบ่อย ๆ เข้า คิดว่าคนอื่นจะไม่เห็นเหรอ

.

โซเชี่ยลมีเดียไม่ได้แค่ให้เราได้สื่อสาร หรืออ่านข่าว หรือสนุกกับเพื่อน ๆ เท่านั้น มันยังสร้างให้เรามีวุฒิภาวะ จะด้วยทางตรง หรือทางอ้อม ก็สุดแท้ ถ้าเรามองเห็นในจุดนั้น โซเชี่ยลมีเดียจะมีประโยชน์มาก ๆ สำหรับตัวเราเอง

ของทุกอย่างจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่ที่เรา ส่วนคำพูด หรือคำวิจารณ์ของคนอื่น รับฟังได้ แต่สุดท้าย ก็ขึ้นอยู่กับเราเหมือนกัน ว่าจะเลือกเก็บเอาไว้ หรือจะเลือกโยนมันทิ้งลงถังขยะซะ!

ทรัมพ์ยังไม่เอ่ยปาก ขอยอมแพ้

เกือบจะกลายเป็นบุรุษที่โลกลืมไปแล้ว สำหรับ "โดนัลด์ ทรัมพ์" หลังจากที่มีการสรุปผลการเลือกตั้งเรียบร้อยในหลายรัฐ และ "โจ ไบเดน" ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคณะผู้เลือกตั้งไปแล้ว แม้จะยังเหลืออีกไม่กี่รัฐเท่านั้นที่คะแนนยังมีปัญหา แต่แทบไม่มีผลกับการเลือกตั้งแล้วในตอนนี้

แม้ว่าทรัมพ์จะกล่าวหาว่ามีการโกงเลือกตั้ง และขอต่อสู้ในชั้นศาล แต่ศาลในบางรัฐก็ยกคำร้อง ไม่รับพิจารณาคดี อีกทั้งโจ ไบเดน ก็เดินหน้าประกาศตัวเป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่อย่างเต็มตัว ด้วยการเริ่มวางตัวคณะรัฐมนตรีของตัวเองในสมัยหน้าแล้ว

ซึ่งต่างจากทรัมพ์ ที่ยังคงเก็บตัวเงียบ แทบไม่ได้ออกสื่อ มีเพียงการเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์ส่วนตัว และมาพร้อมกับข่าวลือความขัดแย้งภายใน ทั้งในครอบครัว และ ในพรรครีพับลิกัน ว่าจะให้ทรัมพ์ลาตำแหน่งอย่างสง่างาม หรือ จะยังคงยื้อเวลา เดินหน้าต่อสู้ในชั้นศาล

และล่าสุด เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาตามเวลาสหรัฐ ทรัมพ์ก็ได้ปรากฏตัวออกสื่ออย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากห่างหายมาเนิ่นนาน ที่งานแถลงข่าวหน้าทำเนียบขาว ด้วยการประกาศความสำเร็จของวัคซีน Covid-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทยา Pfizer ที่ได้ผลดีเกินคาดถึง 90% ในกลุ่มทดลอง 43,500 คนใน 6 ประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา

โดยทรัมพ์ได้เคลมความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีนของ Pfizer ว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Operation Warp Speed ของเขา ที่ได้อนุมัติอัดเม็ดเงินมากกว่า 1 พันล้านเหรียญให้กับบริษัทยาชั้นนำที่ได้รับคัดเลือก ในการพัฒนาวัคซีน Covid-19 ให้ออกมาให้เร็วที่สุด

ทรัมพ์อ้างว่า ด้วยโครงการ Operation Warp Speed ทำให้โลกได้วัคซีนตัวใหม่นี้เร็วกว่าการพัฒนาแบบธรรมดาถึง 5 เท่า นับว่าเร็วที่สุดในโลก และเขาจะผลักดันให้ชาวอเมริกันได้รับวัคซีน Covid-19 ตัวใหม่นี้ ให้เร็วที่สุด อย่างน้อยภายในสิ้นปีนี้

ซึ่งการที่ทรัมพ์ออกมาเคลมความสำเร็จของวัคซีน จาก Pfizer ก็เพราะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ทรัมพ์พยายามผลักดันอย่างหนัก ที่จะให้ชาวอเมริกันต้องได้รับข่าวดีเรื่องวัคซีนก่อนการเลือกตั้ง เพื่อเป็นผลดีกับคะแนนเสียงของเขา

เพียงแต่โชคไม่เข้าข้าง ข่าวดีที่ทรัมพ์รอคอยนั้นมาช้าไม่ทันการณ์ และที่ตลกร้ายกว่านั้นคือ Pfizer ไม่ได้อยู่ในโครงการ Operation Warp Speed

บริษัทยาที่ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Operation Warp Speed ที่ประกาศอย่างเป็นทางการมีรายชื่อดังนี้

.

- Johnson & Johnson

- AstraZeneca–University of Oxford

- Moderna

- Merck ร่วมกับ IAVI

- Novavax

- Sanofi ร่วมกับ GlaxoSmithKline

.

และบริษัทยาที่ได้ทุนวิจัยบางส่วนอีก 2 แห่งคือ Vaxart และ Invio แต่ไม่มี Pfizer

แคทเธอรีน แจนเซน รองประธานบริษัท Pfizer ก็เคยออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อของสหรัฐเองว่า Pfizer ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Warp Speed เราไม่เคยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐ

นอกจากนี้ ด็อกเตอร์ แอนโธนี ฟาวซี หัวหน้าศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19 ของสหรัฐ ก็เคยออกมาบอกว่า ถึงจะเร่งผลิตวัคซีนแค่ไหนก็ตาม ชาวอเมริกันน่าจะได้รับวัคซีนอย่างเร็วที่สุดก็เดือนมีนาคมปีหน้า

ถึงเวลานั้น สหรัฐคงยืนยันประธานาธิบดีคนที่ 46 อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งจะยังคงเป็นทรัมพ์หรือเปล่า ตอนนี้ทรัมพ์เองก็ชักจะไม่แน่ใจ ได้แต่บอกว่า "เดี๋ยวถึงเวลาก็รู้เองแหล่ะ"

ถึงจะไม่พูดออกมาตรง ๆ แต่ถือเป็นครั้งแรกที่ทรัมพ์มีท่าทีอ่อนลง และเริ่มส่งสัญญาณว่าคงยอมรับความพ่ายแพ้ แต่จะให้ประกาศโต้ง ๆ ว่า "ผมแพ้" คงไม่ใช่สไตล์ของแก จึงได้แต่พูดอ้อมๆว่า

.

"Hopefully the – whatever happens in the future, who knows which administration will be. I guess time will tell. But I can tell you this administration will not go to a lockdown.”

(ผมหวังว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ใครจะได้เป็นรัฐบาลชุดใหม่ ถึงเวลาก็รู้เองแหล่ะครับ แต่ผมยืนยันกับพวกคุณได้อย่างหนึ่งก็คือ รัฐบาลของผมจะไม่ยอมให้มีการ Lockdown เมืองเป็นอันขาด)

แต่ว่าล่าสุด รัฐโอเรกอน และ นิว เม็กซิโก ได้ประกาศมาตรการ Lockdown บางเขตที่มีปัญหาการระบาด Covid-19 อย่างหนักไปแล้วในวันนี้

ก็สงสัยว่ารัฐบาลชุดต่อไป ไม่น่าจะเป็นทรัมพ์แล้วหล่ะมั้ง

.

ข้อมูลอ้างอิง

The Guardian

https://www.theguardian.com/us-news/2020/nov/13/trump-biden-white-house-defeat-election

The Hill

https://thehill.com/homenews/administration/525927-trump-breaks-public-silence-but-doesnt-talk-election

New York Times

https://www.nytimes.com/2020/11/10/health/was-the-pfizer-vaccine-part-of-the-governments-operation-warp-speed.html

AP News

https://apnews.com/article/virus-surge-officials-resist-restriction-f7995f3df600b3115fe7058db4b84435

Wikipedia

https://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Warp_Speed

กระตุ้นเศรษฐกิจแบบอินเดีย

คอลัมน์ "หลังม่านส่าหรี"

วัฒนธรรมการจิบชายามบ่ายของผู้ดีอังกฤษ ถ่ายทอดมาให้ชาวอินเดียในยุคล่าอาณานิคมที่อังกฤษเข้ายึดครองดินแดนเอเชียใต้ พร้อมเอาชามาปลูก แล้วถ่ายทอดการจิบชาสู่คนพื้นเมือง

ชาหอม ๆ ใส ๆ จิบกันเช้าสายบ่ายเย็น และก่อนนอนกันทีเดียว แต่เรื่องเล่าชาวอินเดียบอกว่าการจิบชาของชาวอินเดียมีมาก่อนเจ้าอาณานิคมอังกฤษเข้ามายึดครอง แต่ไม่มีชื่อเสียง และได้รับการส่งเสริมการปลูกชาอย่างจริงจัง จนมีชื่อเสียง เช่น ชาอัสสัม ชาสิกขิม ชาอู่หลง และอื่น ๆ ในเวลาต่อมา จนสร้างเศรษฐกิจให้อินเดียจากการขายชาส่งออก

.

ชาอินเดียจริง ๆ ที่มีชื่อเสียงมากคือ "ชามาซาร่า" ที่วางขายข้างทางริมถนนทั่วไปราคาแก้วละ 10 รูปี หรือ 5 บาทไทย รสชาติหวานหอมผสมเครื่องเทศ กลิ่นเตะจมูก จะออกแนวรักสุขภาพ

ร้านชาที่มีชื่อเสียงมาในอินเดียและสาขาค่อนข้างเยอะคือ"ร้าน Chaayos" เป็นร้านชาในดวงใจเลยทีเดียว มีเมนูให้เลือกมากมาย รวมทั้งเมนูของว่างด้วย

.

จุดที่น่าสนใจคือเศรษฐกิจจาก "ถ้วยชาดินเผา" นี่แหละ

เนื่องจากคนอินเดีย มีคนจนมากมาย การสร้างงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าเลยต้องมีคนขายชาเลยนิยามว่า "ชาถ้วยเก่ารสชาติจะไม่อร่อยเท่ากับชาถ้วยใหม่ กินแล้วอย่าใช้ซ้ำให้ทิ้งไปเลย" และคนขายจะให้ถ้วยดินเผาแก่ลูกค้าโดยไม่ขี้เหนียวเลย

"นี่น่าจะเป็นวิธิกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าที่แหลมคมมาก"

.

“จิญา”

พยาบาลสาวไทยจากนครปฐม ผู้พบรักกับหนุ่มฮินดูชาวอินเดีย ตอนนี้มีพยานรักตัวน้อย 1คนใช้ชีวิตในดินแดนฮินดู เมืองคุรุคาม (Gurugram) รัฐหรยาณา ทางใต้นครหลวงเมืองนิวเดลี ราว ๆ 30 กิโลเมตร สรรหาเรื่องเล่า ที่พบเจอระหว่างอยู่ที่นั่นมาเล่าให้ฟัง เรื่องแปลก คนแปลก และวิถีชีวิตที่คนไทย ไม่คุ้นเคย

กัน ‘ ม็อบ ’ ไว้ดีกว่าแก้

วันที่ 16 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 นายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้กล่าวถึงมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของรัฐสภา หลังจากมีประกาศจากผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายกลุ่มราษฎรและกลุ่มไทยภักดี ได้มีประกาศชุมนุมใหญ่หน้ารัฐสภาในวันที่ 17 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 นี้ เพื่อติดตามการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดยนายชวน ได้กล่าวว่า "ตนได้กำชับให้ดูแลในส่วนภายในอาคารสภาฯเป็นหลัก ในส่วนบริเวณภายนอกให้รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบ ดูแล โดยขอย้ำว่าต้องไม่ประมาทแต่ไม่ใช่กลัวจนกระทั่งมีปัญหา เพราะสุดท้ายแล้วการชุมนุมสามารถทำได้ตามกฎหมาย หากอยู่ในความสงบไร้อาวุธและไม่คุกคามใคร"

คลังชง ‘คนละครึ่ง’ เฟส 3 ต้องได้ไปต่อ!!

ในระหว่างที่การท่องเที่ยวยังกระตุ้นได้ 100% โครงการ ‘คนละครึ่ง’ ที่ได้รับการตอบรับดี จึงเตรียมถูกเข็นต่อในเฟส 3

ทั้งนี้ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา ตอนหนึ่งถึงโครงการคนละครึ่ง ว่า โครงการคนละครึ่งได้รับการตอบสนองด้วยดี ซึ่งตนได้แจ้งไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ถึงการต่ออายุมาตรการ ในระยะสอง และ ‘จะมีในระยะสาม’ เพื่อให้เม็ดเงินกระจายสู่เศรษฐกิจฐานราก หลังดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น จากโครงการดังกล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top