Thursday, 25 April 2024
แรงงาน

รมว.เฮ้ง เร่งฝึกอาชีพทั่วประเทศหลังผู้ติดเชื้อโควิดลดลง

ก.แรงงาน ใช้โอกาสยอดผู้ติดเชื้อโควิดลดเปิดฝึกทั่วประเทศ สร้างแรงงานฝีมือป้อนสถานประกอบกิจการ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกเมษายน 2564 เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง ศบค.ผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตได้ปกติมากยิ่งขึ้น รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและกำลังแรงงาน ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานโดยการกำกับดูแลของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รักษาสภาพการจ้างงาน เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งการเปิดรับนักท่องเที่ยวและนโยบายแฟคตอรีแซนด์บ็อกซ์ ส่งผลให้สถานประกอบกิจการหลายแห่งเริ่มฟื้นและเดินหน้าธุรกิจเต็มรูปแบบอีกครั้ง จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน มุ่งพัฒนายกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพ   สร้างอาชีพสร้างรายได้ ขับเคลื่อนประเทศหลุดพ้นวิกฤตโควิด-19 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ              

โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ จัดฝึกอบรมเพื่อเร่งพัฒนาทักษะฝีมือทั้งหลักสูตร Upskill และ Reskill และ New Skill ให้แก่กำลังแรงงานทั่วประเทศ โดยเน้นให้สามารถทำงาน สร้างรายได้ ตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่กระทรวงแรงงานโดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้แก่กำลังแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และประชาชนทั่วไปนั้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดหลักสูตรเตรียมเข้าทำงานใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมระหว่าง 3- 8 เดือน    

‘ปลัดแรงงาน’ เยี่ยมให้กำลังใจและมอบสิทธิประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้แก่ผู้ทุพพลภาพ  "ย้ำ"อาสาสมัครแรงงาน ในพื้นที่ให้บริการด้านแรงงานอย่างใกล้ชิด

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจและมอบเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จำนวน 2 ราย โดยมี นายเกริกไกร นาสมยนต์ ผู้ตรวจราชการกรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางสาวลัดดา แซ่ลี้ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม หัวหน้าส่วนราชการเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานและอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดยได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 59 ถนนประชาร่วมมิตร ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 

เพื่อมอบเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพแก่นายพรศักดิ์ วงศ์จันทา ทุพพลภาพเมื่อวันที่ 15 ก.ย.44 ได้รับเงินทุพพลภาพเดือนละ 2,349 บาท ตลอดชีวิต และตั้งแต่เดือน ก.ย.44 - ก.ย.64 รับมาแล้วเป็นเงิน 585,360 บาท จากนั้นได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 139 ถนนวิบูลธรรม ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อมอบเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพแก่นายเปียก สายสี ทุพพลภาพเมื่อวันที่ 29 เม.ย.58 ได้รับเงินทุพพลภาพเดือนละ 4,303.50 บาท ตลอดชีวิต และตั้งแต่เดือน เม.ย.58 – ก.ย.64 รับมาแล้วเป็นเงิน 331,799.85 บาท ซึ่งทั้งสองรายเป็นผู้ทุพพลภาพเนื่องจากประสบอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ล้ม มีอาการลีบ เกร็งตัวของกล้ามเนื้อ แขน ขา

“บิ๊กแก้ว” ระบุ เหล่าทัพ เตรียมรับมือ แรงงานทะลักเข้าไทยหลังเปิดประเทศ ต้องเร่งสกัด ยกกรณีผู้หนีภัยสงครามตกค้างศูนย์อพยพหนับหมื่น รับชายแดนเมียนมาร์ตรวจยาก เหตุปัญหาชาติพันธ์-คนกลุ่มน้อย ไร้เอกสารประชากร 

ที่กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทสส.) พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) แถลงภายหลังการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ว่า ในที่ประชุมได้มีการพูดถึงภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติต่างๆ รวมถึงการช่วยเหลือรัฐบาลแก้ไขปัญหาแพร่ระบาดโควิด-19ให้ลดสภาพปัญหาลง แก้ไขปัญหายาเสพติด การลักลอบเข้าเมืองเป็นต้น  

โดยเฉพาะปัญหาการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามแนวชายแดน นายกฯ และรมช.กลาโหม ย้ำในเรื่องนี้   จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานในช่วง 3-4 เดือนสถานประกอบการในประเทศมีความต้องการแรงงานถึง 4 แสนคน ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่สามารถเปิดรับแรงงานอย่างถูกกฎหมายได้  จึงเป็นหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองสกัดกั้นตามแนวชายแดนได้ โดยลักษณะการปฏิบัติหน้างานชายแดน ทางกัมพูชา ได้รับความร่วมมือจากกองทัพกัมพูชาเป็นอย่างดี ในการให้ข้อมูลว่ามีคนกัมพูชาลักลอบเข้ามา มีผลทำให้เราจับกุมได้มากและส่งกลับ การปฏิบัติงานค่อนข้างมี ประสิทธิภาพ 

ขณะที่เมียนมาร์เป็นปัญหาภายใน ทั้งเรื่องชาติพันธ์ และชนกลุ่มน้อย ที่บางกลุ่มในประเทศเมียนมาร์ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นชาวเมียนมาร์ทำให้หลักฐานของคนที่อยู่ในแผ่นดินนั้นไม่สามารถบันทึกเป็นหลักฐานบุคคลได้ ทาง ตร. ได้พัฒนาเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล สามารถบ่งบอกบุคคลได้ว่าคนนี้คือใคร นอกจากบัตรที่เขาแสดงตน  เราก็ปฏิบัติภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของประเทศ บางส่วนก็ส่งกลับไป เป็นการดำเนินาการโดยไม่ให้แรงงานใหม่เข้ามา คาดว่าอีกไม่นานน่าจะรับแบบถูกกฎหมายได้ สำหรับข้อห่วงใยจากสถานการณ์ความรุนแรง อาจจะมีผู้หนีภัยจากความไม่สงบ เราได้ร่วมกับ จังหวัด และอำเภอที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว เป็นการเตรียมพร้อมให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของประเทศด้วย เพราะเราก็มีบทเรียนจากผู้หนีภัยจากการสู้รบที่ผ่านมา ปัจจุบันยังอยู่ในศูนย์พักพิงหลายหมื่นคน คิดว่าพอพัฒนาการพัฒนาไปแล้วปัญหาต่างๆ ไม่ได้กคลี่คลายโดยง่ายองค์กรต่างประเทศ สุดท้ายก็เป็นส่วนทีเราก็ต้องดูแลต่อไป 
 

'รมว.เฮ้ง' กำชับนายจ้างพาแรงงานข้ามชาติ ดำเนินการตามมติครม.ภายในกำหนด 

กระทรวงแรงงาน แนะแนวทางการดำเนินการตามมติครม. 29 ธ.ค. 63  มติครม. 13 ก.ค. 64 มติครม. 28 ก.ย. 64 และกลุ่มคนต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดโดยผลของกฎหมาย เพื่ออยู่ทำงานได้ถึง 13 ก.พ. 66

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน  ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานข้ามชาติอย่างยิ่ง โดยมีมติครม.เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 63 มติครม.เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 และมติครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 64 เพื่อเปิดโอกาสให้นายจ้าง/สถานประกอบการดำเนินการขออนุญาตทำงานให้แรงงานข้ามชาติสามารถทำงานได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ภาครัฐสามารถให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนแรงงานข้ามชาติได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นการสนับสนุนการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งสำหรับคนต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่อยู่ในประเทศไทย แรงงานไทยในสถานประกอบการ ตลอดจนชุมชนโดยรอบ

“ผมขอสรุปโดยง่าย สำหรับแรงงานข้ามชาติทั้ง 3 สัญชาติ ที่ประสงค์จะทำงานในประเทศไทย หากยังดำเนินการในขั้นตอนใดไม่สำเร็จก็ให้เร่งดำเนินการ โดยติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1- 10 ที่เป็นสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ สำหรับกลุ่มมติครม. 29 ธ.ค. 63 ที่ถือ บต.48 มีการชำระค่าธรรมเนียมและยื่นขออนุญาตทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในวันที่ 13 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา ควรเร่งติดต่อขอรับใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด 
สำหรับกลุ่มมติครม. 13 ก.ค. 64 ที่ถือบัตรชมพู ต้องยื่นเรื่องขอต่อใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานเดิมหมดอายุ ภายใน 31 มี.ค. 65 กลุ่มที่ถือ บต. 23 ต้องยื่นแจ้งขอเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานเดิมหมดอายุ ซึ่งหากยังไม่ได้ตรวจสุขภาพต้องดำเนินการให้ทัน ภายใน 31 มี.ค. 65 ในส่วนกลุ่ม MoU ต้องขอต่อใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานเดิมสิ้นสุด เพื่ออยู่และทำงานต่ออีก 2 ปี

และกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 จนถึงวันที่ 3 ส.ค. 64 นายจ้างต้องยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวและชำระค่าธรรมเนียม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป – 1 ธ.ค. 64 ตรวจและทำประกันสุขภาพ ตรวจลงตราวีซ่า รวมทั้งขอหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่กรณีเอกสารเดิมหมดอายุ ภายใน 1 ส.ค. 65  ซึ่งถ้าเอกสารประจำตัวหมดอายุ ต้องทำเล่มใหม่และตรวจลงตรากับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ภายใน วันที่ 1 ส.ค. 65 เพื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทย ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 66

สำหรับการเข้าตรวจสถานประกอบการตามมติครม.วันที่ 28 ก.ย. 64 นั้น มีผลบังคับใช้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ 1 พ.ย. 64  ซึ่งกระทรวงแรงงานจะลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการเป็นเวลา 30 วัน เพื่อให้คำแนะนำนายจ้างและแรงงานข้ามชาติ ในการขออนุญาตทำงานให้แก่ลูกจ้าง เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมายต่อไป ซึ่งกระทรวงแรงงานขอให้นายจ้าง/สถานประกอบการให้ความสำคัญและดำเนินการภายในกำหนดเพื่อประโยชน์ของท่านและลูกจ้างในความดูแล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

รมว.แรงงาน เผยโควตา ปี 65  อิสราเอลรับแรงงานภาคเกษตร 6,500 คน

กรมการจัดหางาน เปิดรับสมัคร และคัดเลือกคนหางานเพื่อไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย – อิสราเอลเพื่อการจัดหางาน” (TIC) ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 15 – 25 พฤศจิกายนนี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแรงงานไทยให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อมีงานทำ นำรายได้ ประสบการณ์และทักษะที่ได้รับจากการทำงานในต่างประเทศมาพัฒนาตนเองหรือต่อยอดกิจการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐอิสราเอลเพิ่มโควตารับแรงงานภาคเกษตรจากประเทศไทยเป็น 6,500 คน มากกว่าปีที่แล้วที่ให้โควตาไว้ 5,000 คน  ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://toea.doe.go.th  ระหว่างวันที่ 15 – 25 พฤศจิกายน 2564

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ในเดือนพฤศจิกายนนี้กรมการจัดหางานจะเปิดรับสมัครและคัดเลือกคนหางานเพื่อไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย – อิสราเอลเพื่อการจัดหางาน” (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers : TIC) ครั้งที่ 16 ตำแหน่งคนงานภาคเกษตร (เพศชาย) ซึ่งจะมีระยะเวลาการจ้างงานตามสัญญาจ้าง 2 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน โดยคนหางานจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษีเดือนละ 5,300 เชคเกลอิสราเอล หรือ ประมาณ 55,954 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนเงินวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564) คุณสมบัติของผู้สมัคร มีสัญชาติไทย เป็นเพศชายที่พ้นภาระการรับราชการทหาร เกิดระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 – 25 พฤศจิกายน 2541 ไม่มีประวัติอาชญากรรม ไม่มีคู่สมรส บุตร หรือบิดาและมารดาพำนักอยู่ในประเทศอิสราเอล และไม่เคยทำงานในประเทศอิสราเอล สุขภาพแข็งแรง ตาไม่บอดสี ไม่เสพสารเสพติด และต้องมีประสบการณ์ทำงานภาคการเกษตร (ปลูกพืช/ เลี้ยงสัตว์) 

“ผู้สนใจสมัครสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ https://toea.doe.go.th ลงทะเบียนระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนคนหางาน และผู้สมัครงานสามารถตรวจสอบสถานะการสมัครได้ที่ E-Mail ของตนเอง หรือที่เว็บไซต์ https://toea.doe.go.th ในหัวข้อ “ดูรายการสมัครไปทำงานโดยรัฐจัดส่ง”กรณีผู้สมัครไม่สามารถ

'ปลัดฯ แรงงาน' เยือน สพร.พังงา ดันแรงงานสร้างอาชีพ หนุนการท่องเที่ยวหลังเปิดประเทศ

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ติดตาม รับฟังผลการดำเนินงาน พร้อมตรวจเยี่ยมการฝึกอบรมของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา (สพร .พังงา) จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการประกอบธุรกิจกาแฟ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 20 คน หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานด้วยรูปแบบทางไกล มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 20 คน และหลักสูตรการล้างและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 15 คน รวมถึงร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา

นายบุญชอบ กล่าวว่า สำหรับจังหวัดพังงา เป็นหนึ่งในกลุ่มจังหวัดอันดามันที่มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและมีชื่อเสียงระดับโลก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในพื้นที่และประเทศชาติ แต่ภายหลังจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง ดังนั้น ในส่วนของกระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมีส่วนสำคัญเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ด้วยการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการสร้างงาน สร้างอาชีพ ที่จะนำไปสู่การเกิดรายได้ของแรงงานทั้งในระดับท้องถิ่น ชุมชน และระดับอื่น ๆ

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเป็นกำลังใจให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รวมถึงผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน และขอฝากไว้ว่าในการพัฒนาทักษะฝีมือจะต้องเลือกพัฒนาให้สอดรับกับความต้องการของแรงงานที่อยู่ในพื้นที่และตลาดแรงงานมีความต้องการด้วย จึงจะส่งผลให้แรงงานเกิดอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่ยั่งยืน ขอให้ สพร.พังงา ได้พัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงของการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวนี้ รวมถึงให้บูรณาการการทำงานร่วมกันกับ 5 เสือแรงงาน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพต่อไป

 

รัฐตั้งกองทุนคุ้มครองแรงงานนอกระบบ-เพิ่มสิทธิ ม.40

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เช่น การรณรงค์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ การช่วยเหลือกลุ่มแรงงานนอกระบบหรือองค์กรแรงงานนอกระบบ 

รวมถึงการให้แรงงานนอกระบบสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิต และมีหลักประกันทางสังคมสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ เช่น ประกันทรัพย์สิน ประกันชีวิต ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์นอกเหนือจากที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับจากกองทุนประกันสังคม สำหรับแหล่งรายได้ของกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบมาจาก เช่น ค่าสมาชิกรายปีคนละ 360 บาท ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ครั้งเดียววงเงิน 100 ล้านบาท และเงินดอกผลของกองทุน

'รมว.เฮ้ง' สลด 'สาวก่อสร้าง' พลัดตกอาคารเสียชีวิต แสดงความเสียใจส่งเจ้าหน้าที่รุดช่วยเหลือตรวจสอบ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิต กรณีคนงานก่อสร้างหญิงพลัดตกจากที่สูงซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างบริษัทแห่งหนึ่ง ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพฯ จากรายงานในเบื้องตนพบว่าผู้เสียชีวิตชื่อนางสาวบุญออน ทาสีฟู อายุ 40 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ก่อนเสียชีวิตปฏิบัติหน้าที่ผูกเหล็ก ซึ่งการก่อสร้างอยู่ระหว่างการเทคานด้านบน

ช่วงเวลาเกิดเหตุเป็นเวลาที่คนงานส่วนใหญ่เลิกงานแล้ว แต่จะมีบางคนยังทำงานล่วงเวลา ผู้เสียชีวิตกำลังเดินลงจากอาคารเพื่อจะกลับที่พัก ได้เดินเหยียบแผ่นไม้ที่วางแบบไว้ด้านบนและพลัดตกลงมาถูกเหล็กเสียบที่ลำคอ และตามลำตัว 5 แห่ง เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ  ตนเองรู้สึกกังวลใจและห่วงใยจึงได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เข้าตรวจสอบดูแลให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ที่ญาติผู้เสียชีวิตพึงได้กรณีเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน จากกองทุนเงินทดแทนอย่างเต็มที่ อันได้แก่ เงินทดแทนกรณีเสียชีวิต ค่าทำศพ 50,000 บาท และเงินบำเหน็จชราภาพ พร้อมทั้งมอบให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเข้าตรวจสอบการดำเนินงานตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ว่านายจ้างปฏิบัติถูกต้องหรือไม่อย่างไร

 

ผช.รมว.แรงงาน เปิดสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จเป็นองค์กรที่ “ยอมรับ เชื่อมั่น ไว้วางใจ” ในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ณ ห้องประชุมจิตรดา 1-2 ชั้น 2 โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยกล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญในการดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ให้ได้รับการคุ้มครองได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน และกำหนดให้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มียุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

โดยเชื่อมั่นว่าผู้บริหารของสำนักงานประกันสังคมจะร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายด้านแรงงานต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาระบบประกันสังคมและสิทธิประโยชน์ เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงาน รวมถึงขยายการบูรณาการเครือข่ายให้แรงงานอิสระเข้าถึงระบบหลักประกันทางสังคม ในการส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานอิสระให้มีอาชีพ มีรายได้ มีหลักประกันทางสังคม และมีความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้หลากหลายช่องทาง และสามารถเชื่อมโยงกับภารกิจบริการพื้นฐานของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2564 สำนักงานประกันสังคมถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญของกระทรวงแรงงานเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 มากมาย เช่น โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 และ 40 โครงการ ม33เรารักกัน ลดอัตราเงินสมทบ กว่า 6 ครั้ง โครงการ Factory Sandbox โครงการ “แรงงาน...เราสู้ด้วยกัน” จัดหาเตียง Hospitel สายด่วน 1506 จนประสบความสำเร็จ ทำให้ผู้ประกันตนได้รับความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก และขอให้ทุกท่านมีหลักคิดในการทำงานที่คำนึงถึงการทำงานเชิงรุก มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่รวดเร็ว ทันต่อความต้องการของพี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นสำคัญ

สำหรับปี 2565 ขอให้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ตามนโยบายกระทรวงแรงงานที่ท่านรัฐมนตรีสุชาติ ชมกลิ่น ได้แถลงเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ในการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมในส่วนของสิทธิประโยชน์ กรณีชราภาพ “3 ขอ” ได้แก่ ขอเลือก ขอคืน และขอกู้ พร้อมทั้งการจัดตั้งธนาคารเพื่อผู้ประกันตน สถาบันการแพทย์เพื่อผู้ประกันตน การสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประกันตนในราคาถูก เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคง การสร้าง application ประกันสังคมร่วมกับร้านค้าเพื่อเป็นสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน และการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน

รมว.กระทรวงแรงงาน เร่ง Re-Skill Up-Skill กลุ่มได้รับผลกระทบจากภาคท่องเที่ยว

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน (Up-Skill) ปรับระดับฝีมือแรงงาน (Re-Skill)  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ให้มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ จากนโยบายของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้ความสำคัญกับการออกมาตรการเพื่อดูแลแรงงานและรักษาการจ้างงานในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ซึ่งกระทรวงแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และภายใต้การนำของนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยผู้ประกอบกิจการ และแรงงานภาคการท่องเที่ยว ให้ได้รับโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ จังหวัดนครศรีธรรมราชมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาจังหวัดให้เกิดการขยายตัวทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ ชุมชน และประชาชน จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับบริบทของจังหวัดนครศรีธรรมราชด้านการท่องเที่ยว สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช ได้นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ จึงได้จัดฝึกอบรม หลักสูตร บาริสต้ามืออาชีพ ระยะเวลา 30 ชั่วโมง ในระหว่างวันที่ 13-17 ธันวาคม  2564 ณ สถาบันฯ 22 นครศรีธรรมราช โดยมีผู้ประกอบกิจการ และผู้สนใจจะประกอบอาชีพในธุรกิจร้านอาหารและร้านกาแฟ จำนวน 22 คน 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top