Saturday, 4 May 2024
แรงงาน

'รัฐบาล' เห็นชอบ ร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านแรงงานรอบอ่าวอาหรับ (ADD) จับมือ พัฒนาขีดความสามารถ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของแรงงาน 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา ได้ให้ความ เห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ 

ซึ่งการประชุม ADD นี้ เป็นการประชุมหารือระหว่างประเทศสมาชิกกระบวนการโคลัมโบ (ประเทศผู้ส่งแรงงาน) 12 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม กับกลุ่มประเทศรอบอ่าวอาหรับผู้รับแรงงาน รวม 7 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล พัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของแรงงาน ณ ประเทศปลายทาง เพื่อให้การเคลื่อนย้ายแรงงานที่ไปทำงานตามสัญญาจ้างชั่วคราวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต้นทางที่ส่งออกและประเทศปลายทางที่รับแรงงาน

ร่างปฏิญญาร่วมฉบับนี้ มีขอบเขตความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกใน 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.การพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว เช่น  สนับสนุนให้มีโครงการเพื่อแบ่งปันความรู้ระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นระบบการแก้ปัญหาข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งสร้างระบบที่เอื้อให้เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ตลอดจนมีการแบ่งปันบทเรียนทางนโยบายที่ได้รับระหว่างประเทศสมาชิก ADD และอื่นๆ รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกพิจารณาขยายขอบเขตระบบการคุ้มครองด้านค่าจ้างให้ครอบคลุมแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว

2.การอำนวยความสะดวกและยกระดับการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานและการเทียบคุณวุฒิแรงงานระหว่างประเทศผู้รับและประเทศผู้ส่งแรงงาน เพื่อตอบสนองต่อภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน เช่น การศึกษาเพื่อวิเคราะห์บทเรียนที่ได้รับ โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นความต้องการทักษะแรงงาน รวมทั้งพัฒนาทักษะที่สอดคล้องในระดับภูมิภาคระหว่างคู่เจรจา เพื่อให้ตรงกับความต้องการและประเด็นที่ให้ความสำคัญของประเทศสมาชิก ADD

ข่าวดี! เกาหลีรับแรงงานไทยทำงานกิจการอุตสาหกรรมการผลิต และกิจการเกษตรและปศุสัตว์ กว่า 6 พันคน

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน (Point System) ครั้งที่ 11 เพื่อไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี ในประเภทกิจการอุตสาหกรรมการผลิต โควตา 5,671 คน และประเภทกิจการเกษตรและปศุสัตว์ โควตา 342 คน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานไทย และกระทรวงแรงงานสาธารณรัฐเกาหลี ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System for Foreign Workers: EPS) กำหนดให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานผู้ทำหน้าที่รับสมัคร คัดเลือกและจัดส่งคนหางานไปทำงาน โดยคนหางานที่จะเดินทางไปทำงานต้องผ่านการทดสอบภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK) และทักษะการทำงาน ตามที่สำนักบริการพัฒนาบุคลากรแห่งเกาหลี (Human Resources Development Service of Korea: HRD Korea) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการจัดสอบกำหนด

โดยครั้งนี้ได้ประกาศรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน (Point System) ครั้งที่ 11 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ (e-Service) และชำระเงินค่าสมัครสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เพื่อสมัครไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) ประเภทกิจการอุตสาหกรรมการผลิต ให้โควตาผู้สอบผ่าน 5,671 คน แบ่งเป็น เพศชาย 2,836 คน เพศหญิง 2,835 คน กำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 24 -28 มีนาคม 2565 และประเภทกิจการเกษตรและปศุสัตว์ ให้โควตาผู้สอบผ่าน 342 คน แบ่งเป็นเพศชาย 171 คน และเพศหญิง 171 คน กำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 20 - 22 เมษายน 2565 

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแรงงานไทยให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศมาโดยตลอด เพราะนอกจากแรงงานไทยสามารถมีรายได้ดูแลครอบครัว ยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองได้แล้ว รายได้และประสบการณ์ที่นำกลับมายังมีส่วนในการพัฒนาประเทศด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าว

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ผู้ที่ประสงค์จะสมัครไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี สามารถสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ toea.doe.go.th ลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนคนหางาน โดยสามารถศึกษาวิธีการลงทะเบียน คุณสมบัติผู้สมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่เมนูข่าวประชาสัมพันธ์ หัวข้อ ประกาศรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน (Point System) ครั้งที่ 11  EPS โดยเลือกสมัครสอบได้ประเภทงานเดียวเท่านั้น ซึ่งแรงที่สนใจสมัครทดสอบภาษาเกาหลีฯ ต้องยื่นคำขอการสมัคร โดยคนหางานกรอกข้อมูลการสมัครและแนบเอกสารผ่านระบบออนไลน์ เลือกศูนย์สอบ ซึ่งมีสถานที่สอบให้เลือก 2 ศูนย์ คือ ศูนย์สอบกรุงเทพมหานคร และศูนย์สอบอุดรธานีทำการตรวจสอบผลการอนุมัติ โดยตรวจสอบผลการพิจารณา และพิมพ์ใบแจ้งชำระเงินค่าสมัคร เพื่อชำระเงินค่าสมัครสอบ จำนวน 830 บาท ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถชำระเงินค่าสมัครสอบได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ 1.เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย 2.ATM / ADM 3.Internet Banking 4.ต่างธนาคาร Cross Bank Bill Payment จากนั้นตรวจสอบสถานะ สมัครสอบ การชำระเงิน และหมายเลขผู้สมัครสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ 

หลักฐานและเอกสารที่ใช้ประกอบการสมัคร มีดังนี้
1. รูปถ่ายหน้าตรง พื้นหลังสีขาว รวบผมให้เห็นใบหูและไม่สวมเสื้อสีขาว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน (ประเภทไฟล์เป็น JPG และความละเอียด 10-15KB)
2. ถ่ายหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ (ถ้ามี) ต้องชัดเจน ระบุวัน เดือน ปีเกิดให้ครบถ้วน (ประเภทไฟล์เป็น JPG ความละเอียด 60 - 100 KB)
3 . ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ ต้องชัดเจน และระบุวัน เดือน ปีเกิดให้ครบถ้วน (ประเภทไฟล์เป็น JPG ความละเอียด 60-100 KB)

รมว.เฮ้ง เชิญ 127 บ.รับอนุญาตจัดหางาน เร่งเครื่องหารือขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ

วันที่ 22 เมษายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ ประจำปี 2565 โดยมีคณะผู้บริหารฝ่ายการเมือง นายวรรณรัตน์ ศรีสุกใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวรายงาน และผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จำนวน 127 บริษัท ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

โดยนายสุชาติฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา ทำให้มีข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ เพราะประเทศผู้รับแรงงานบางประเทศ มีการปรับนโยบายและชะลอการรับแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงาน แต่ปัจจุบันประเทศผู้รับแรงงานเริ่มมีมาตรการผ่อนคลายในการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น โดยปีงบประมาณ พ.. 2566 ตั้งเป้าหมายจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศไว้ประมาณ 50,000 คน ไม่รวมการเดินทางแบบ Re-entry จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแรงงานไทยและภาคเอกซนที่ดำเนินธุรกิจด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ ในวันนี้กระทรวงแรงงานได้
เชิญผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 127 บริษัท และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในภารกิจ

การจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ มาร่วมกันหารือ รับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ  เพื่อให้การจัดส่งแรงานไทยไปทำงานในต่างประเทศเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม แรงงานไทยได้รับประโยชน์สูงสุด รับคำจ้าง สวัสดิการ และการคุ้มครองที่เหมาะสม ตลอดจนป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อปลดล็อก Tier 2 Watch List

"ผมขอขอบคุณ ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่มีการจัดหางานอย่างมีจริยธรรม
ให้ความสำคัญกับประโยชน์สูงสุดของแรงงานไทยซึ่งเป็นกลไกหลักในระบบเศรษฐกิจของประเทศและมาร่วมงานในวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงาน ทั้ง 2 ท่านต่างให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสให้แรงานไทยในการไปทำงานในต่างประเทศมา
โดยตลอด ในปีนี้กระทรวงแรงงานจะเป็นเรี่ยวแรงหลัก ในการเจรจากับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค ตลอดจนสร้างความเชื่อมั้นและเพิ่มแรงจูงใจในการจ้างแรงงานไทยของนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อรักษาตลาดแรงงานเดิม และเร่งขยายตลาดแรงงานใหม่"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โขติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่าหนึ่งในภารกิจสำคัญของกรมการจัดหางานคือการส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายขยายตลาดแรงงานใหม่ในต่างประเทศ โดยปีที่ผ่านมาสามารถจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านแรงงานกับซาอุตีอาระเบีย ลงนามบันทึกความร่วมมือต้านข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดระบบและการพำนักของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น อยู่ระหว่างความพยายามในการจัดทำบันทึกความร่วมมือโครงการวีช่าเกษตรออสิทรีย์ (Australian Agriculture Visa (AAV) Program) กับออสเตเลีย และเสนอให้มีการจัดส่งแรงงานรูปแบบ G to G (Government to Government) และ A to A (Agency to Agency) ภายใต้การกำกับดูแล ควบคุมของกระทรวงแรงงาน กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยดำเนินการควบคู่กับการคุ้มครองดูแล
สิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยไมให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มิให้แรงงานไทยถูกหลอกลวงจากสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน ที่ปัจจุบันนิยมใช้สื่อโซเซียลมีเตียที่มีอิทธิพลอย่างมากในการโฆษณาเชิญชวนหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งผู้รับอนุญาตจัดหางานฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในภารกิจการจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศที่มาร่วมประชุมหารือในวันนี้ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม
แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย
 

ดร.นิว ถาม 'สามนิ้วแรงงาน' จะตาสว่างตอนไหน ปล่อยให้ 'สามนิ้วศักดินา' ฉกฉวยเอาเปรียบอยู่ได้

วานนี้ (16 ก.ค. 65) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ 'ดร.นิว' นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่า...

สามนิ้วศักดินา vs สามนิ้วแรงงาน ขณะที่ 'สามนิ้วแรงงาน' ต้องบากหน้าไปให้คนจัดงานกรุงเทพกลางแปลงปฏิเสธการเข้าร่วมงานอย่างไร้เยื่อใย อีกทั้งยังถูกชาวบ้านโห่ไล่อย่างไร้ที่ยืน

แต่ 'สามนิ้วศักดินา' กลับอาศัยชายกระโปรงฉกฉวยการเคลื่อนไหวของพวกแรงงานมาเป็นเครื่องมือในการปั่นกระแสทางโซเชียลมีเดียอย่างเอารัดเอาเปรียบ

ก.แรงงาน มอบถ้วยพระราชทานฯ เชิดชูเกียรติสถานประกอบกิจการ ที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยม

วันที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยมประจำปี 2565 (Thailand Labour Management Excellence Award 2022) เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารแรงงานยอดเยี่ยม ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสถานประกอบกิจการที่มีความมุ่งมั่นในการบริหารแรงงานอย่างเป็นมาตรฐานครบ 3 ด้าน ประกอบด้วย สถานประกอบกิจการที่ขอรับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย สถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน และสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยดีเด่นระดับประเทศ ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแรงงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานตามหลักสากล ทั้งในเรื่องการมีระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี การจัดสวัสดิการที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตแรงงาน การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานมีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า

ก.แรงงาน ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครั้งที่ 2/2565

วันที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครั้งที่ 2/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

สำหรับการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการยกร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งการใช้งานหรือยกเลิกการใช้งานหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับความดันและผลการทดสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาเห็นชอบที่มาและองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจังหวัด การพิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการแทนกรณีที่อนุกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง

ก.แรงงาน จัดกิจกรรมจิตอาสามอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดชัยนาทและสิงห์บุรี

วันที่ 26 ตุลาคม 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เนื่องด้วยสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายพื้นที่ กระทรวงแรงงาน มีความตระหนักและห่วงใยในความเป็นอยู่รวมถึงสุขอนามัยของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก ในวันนี้กระทรวงแรงงานจึงได้จัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งผมได้มอบหมายให้ นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน นำทีมจิตอาสากระทรวงแรงงานลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพแก่ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชัยนาทและจังหวัดสิงห์บุรี จุดแรกที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่บางกระเบียน หมู่ที่ 12 ต.คลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท จุดที่ 2 ที่บริษัท เฟมิน่า เลซ ไดย์ เวิร์คส จำกัด จุดที่ 4 ที่หมู่ที่ 7 ต.จักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี และจุดที่ 5 ที่ บริเวณศาลาสะพาน หมู่ที่ 3 ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ร่วมให้การต้อนรับ 

นางสาวบุปผา กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย และได้ให้หน่วยงานในสังกัดในพื้นที่บูรณาการความช่วยเหลือกับทางจังหวัด ได้แก่ สำนักงาน/สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละจังหวัด สนับสนุนยานพาหนะขนส่งประชาชนที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ส่งเจ้าหน้าที่ทีมช่างเข้าไปดูแลอำนวยความสะดวกประชาชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งเต้นท์ให้บริการซ่อมรถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องยนต์เล็กการเกษตร เพื่อลดรายจ่ายของประชาชนที่อุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับความเสียหายจากการถูกน้ำท่วม สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการจัดทำอาหารเพื่อนำข้าวกล่องไปแจกจ่ายให้ประชาชนที่อยู่ในศูนย์พักพิงและตามบ้านเรือนที่ประสบภัย และการสนับสนุนความช่วยเหลือกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดทำสุขาลอยน้ำ สำนักงานจัดหางานจังหวัดจัดเตรียมถุงยังชีพนำไปมอบให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังนายจ้างให้ลูกจ้างที่บ้านน้ำท่วมและไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ให้หยุดโดยไม่ถือเป็นวันลาหรือเป็นความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน สำนักงานประกันสังคม ดูแลในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ น้ำท่วม และ ที่ทำงาน/โรงงาน หรือ บ้านพักอยู่ในพื้นที่ที่ราชการประกาศกำหนด และไม่สามารถไปทำงานได้จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงานด้วยเหตุฉุกเฉินเป็นเงิน 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง ซึ่งไม่เกิน 15,000 บาท เป็นเวลาสูงสุดถึง 180 วันอีกด้วย 

ทั้งนี้ พี่น้องประชาชน นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในแต่ละพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506

ก.แรงงาน ทอดผ้าป่าพระราชทาน สมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวง สำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี 2565

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.09 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าไตรประกอบพิธีทอดผ้าป่า เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต และสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสาหรับพระสงฆ์ไทย ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยมี นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีทอดผ้าป่า และนางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมียอดผ้าป่าพระราชทานโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย กระทรวงแรงงาน จำนวน 575,671 บาท

วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2538 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นแบบอย่างในการก่อสร้างวัดเล็กๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชน ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง และเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในการเผยแผ่ศีลธรรม และจริยธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก และวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงประกอบพิธีฝังลูกนิมิต ตามประเพณี

รมว.สุชาติ ส่ง ผู้ช่วยฯ เปิดประชุมวิชาการประกันสังคม เร่งขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานทุกมิติ ฟื้นเศรษฐกิจ - ท่องเที่ยว ภาคเหนือ

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการจัดงานประชุมวิชาการประกันสังคม 5 ภาค ประจำปี 2565 (ภาคเหนือ) Modernizing SSO 2022 : ก้าวสู่ระบบประกันสังคมที่ทันสมัย พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายการพัฒนา และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน” โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรม คุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
          
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้กระทรวงแรงงานช่วยดูแลพี่น้องแรงงาน ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 รวมทั้งนายจ้าง ผู้ประกอบการให้เหมือนคนในครอบครัว พร้อมทั้งสั่งการให้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเท่าเทียมกัน ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลในการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น การตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกในสถานประกอบการ โครงการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตน โครงการ Factory Sandbox โครงการ ม.33 เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้าง และผู้ประกันตนในพื้นที่เข้มงวดสูงสุด 29 จังหวัด

'รัฐบาล' ชวนแรงงาน 'วัดระดับทักษะ-พัฒนาฝีมือ' การันตีใบรับรองเพื่อยื่นขอรับอัตราค่าจ้างเหมาะสม

(9 ธ.ค. 65) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายยกระดับรายได้หรือค่าแรงขั้นต่ำให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน รวมถึงสนับสนุนการปรับเปลี่ยนทักษะและเปลี่ยนสายอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ดำเนินโครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อพัฒนากำลังแรงงานหรือพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้และทักษะฝีมือสอดคล้องกับอุตสาหกรรม 6 กลุ่มเป้าหมาย (ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์) สามารถใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการต่อยอดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงการยกระดับเพื่อเพิ่มศักยภาพฝีมือและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความก้าวหน้าทางเทโนโลยีและนวัตกรรม รองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรม/บริการ มีผู้ได้รับการฝึกอบรมรวมหลายหมื่นคน ยังมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบ SME กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ จำนวน 17,407 คน รวมถึงมีการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่ำกว่า 50 คนลงมา และบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอุปสงค์และอุปทานกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 17,359 แห่ง

น.ส.รัชดา กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขับเคลื่อนนโยบายดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ณ สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละจังหวัด เมื่อพัฒนาทักษะฝีมือของตนเองจนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมี 3 ระดับแล้ว จะได้รับใบรับรองที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานออกให้ เพื่อใช้แนบยื่นเป็นหลักฐานในการขอรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแล้วทั้งสิ้น 88,675 คน จากการเข้าทดสอบ 272 สาขา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top