Thursday, 18 April 2024
ประยุทธ์จันทร์โอชา

'นายกตู่' โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความห่วงใยพี่น้องประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม พร้อมแนะนำ 4 แอปพลิเคชัน สำหรับการติดตามสถานการณ์ ให้คำแนะนำ และแจ้งเหตุ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha หลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ว่า 

เมื่อผมได้รับรายงานว่า จังหวัดชัยภูมิ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ผมจึงไม่รอช้าที่จะเดินทางลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์เมื่อวานนี้ (29 ก.ย.) เพื่อให้กำลังใจพี่น้องประชาชนชาวชัยภูมิ รวมถึงมอบนโยบายให้ทางจังหวัดเร่งรัดแก้ไขสถานการณ์อย่างเต็มที่ แม้ว่าผมจะใช้เวลาไม่นานนัก แต่ส่วนตัวก็มีความรู้สึกอบอุ่นทุกครั้งที่ได้กลับมาที่ชัยภูมิ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของคุณแม่ของผม ผมจึงเดินทางมาด้วยความห่วงใย และได้มาเห็นปัญหาที่ยังมีอีกมากที่ต้องจะต้องเร่งแก้ไขให้สำเร็จ ทั้งเรื่องปัญหาน้ำท่วม รวมไปถึงการพัฒนาจังหวัดหลังจากน้ำท่วมคลี่คลายลงแล้วด้วย

สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้จากทุกๆ ครั้งที่ลงพื้นที่ นั่นคือการได้เห็นพี่น้องคนไทยจำนวนมากที่ประสบภัย แต่สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ได้ ทุกคนยังมีรอยยิ้ม ซึ่งเป็นรอยยิ้มของนักสู้ ที่สร้างกำลังใจให้แก่กัน ทั้งๆ ที่เจตนาแรกเริ่มของผมคือการเดินทางไปปลอบขวัญผู้ประสบภัยถึงพื้นที่ แต่ผมเองกลับได้รับกำลังใจกลับคืนมาทุกครั้ง ผมจึงขอส่งต่อกำลังใจและสิ่งดีๆ เหล่านั้น ไปสู่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย และอาสาสมัครทุกคนในพื้นที่ โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่ถือว่าต้องแบกรับภาระเพิ่มเป็นสองเท่า ทั้งโควิด ทั้งน้ำท่วม

ใจจริงแล้ว ผมอยากจะลงพื้นที่ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด เพราะผมทราบดีว่าทุกวินาทีคือความทุกข์ยากของพี่น้องร่วมชาติ แม้ว่าในบางพื้นที่ผมอาจจะยังไม่ได้ลงไป แต่ก็มีความห่วงใยอยู่เสมอ และได้ติดตามวิกฤตน้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ผมได้สั่งการให้รายงานสถานการณ์มายังผมอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้สั่งการผ่านกลไกในระดับรัฐบาล ลงไปยังระดับท้องถิ่น สนับสนุนการแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ ให้ดูแลพี่น้องผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึง จนกว่าน้ำจะลด แล้วเข้าสู่การเยียวยา และฟื้นฟูต่อไป

‘บิ๊กตู่’ ชวน ‘โจ ไบเดน’ ร่วมประชุมเอเปคปีหน้า หลังโชว์วิชั่น แก้ปัญหาภูมิอากาศบนเวทีโลก

‘บิ๊กตู่’ เชิญ ปธน.โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ เข้าร่วมประชุมเอเปคปีหน้า ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ด้านนายกฯ สหราชอาณาจักรชมเปาะ ไทยมุ่งมั่นแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลัง ‘บิ๊กตู่’ ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 21.00 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (ตรงกับเวลา 04.00 น.ของประเทศไทย) ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสมัยที่ 26 (COP26)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พบปะพูดคุย พร้อมทั้งเชิญประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำ COP 26 หลังจากได้พบกันในการประชุมสุดยอดอาเซียน สัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมสอบถามถึงสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งเชิญประธานาธิบดีไบเดน เยือนไทยในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565

นอกจากนี้ นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้ทักทายพูดคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ พร้อมกล่าวชื่นชมในความมุ่งมั่นพยายามของไทยในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065 พร้อมทั้ง ขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของไทยได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ กับบรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม

โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงเวลา 16.00 น. วันที่ 1 พ.ย. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์) พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม โดยยืนยันว่า ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ ทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญของโลกเพื่ออนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน

“ผมมาร่วมประชุมวันนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ และทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการแก้ปัญหาครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของโลก เพราะภารกิจนี้คือความเป็นความตายของโลกและอนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน 

ปัจจุบันไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกในปริมาณเพียงประมาณร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก แต่ประเทศไทยกลับเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ผมไปร่วมการประชุมสุดยอดเรื่องภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กรุงปารีสเมื่อปี 2015 โดยไทยอยู่ในประเทศกลุ่มแรกที่ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีของความตกลงปารีส คำมั่นสัญญาของไทย มิใช่คำมั่นที่ว่างเปล่า ในช่วงที่ผ่านมา ไทยได้ปฏิบัติตามคำมั่นทุกประการที่ให้ไว้กับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินการอย่างแข็งขันภายในประเทศ” 

โฆษกรัฐบาล แจง ‘บิ๊กตู่’ สื่อสารอังกฤษได้ ชี้ ที่เห็นในภาพแค่ ‘ลดมือลงก่อน’ ผู้นำประเทศอื่น

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่มีการนำภาพ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ช่วงเวลาระหว่างการถ่ายภาพร่วมกันของผู้นำประเทศต่าง ๆ ในระหว่างการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก เมื่อปี 2560 ที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นภาพตัด (crop) มาเผยแพร่และบิดเบือนความจริงว่า นายกรัฐมนตรีไทยไม่เข้าใจ และไม่ปฏิบัติตามคำพูดของช่างภาพว่า เป็นการบิดเบือนความจริงเพื่อโจมตีนายกรัฐมนตรี ขอให้ประชาชนตรวจสอบจากภาพเต็มที่ไม่ได้มีการตัดภาพผู้นำคนอื่น ๆ 

นายกฯ พอใจ ผลการจัดซื้อจัดจ้างปี 64 หลังประหยัดงบฯ ได้กว่า 7.8 หมื่นล้านบาท 

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ พอใจ ผลการจัดซื้อจัดจ้างปี’64 ประหยัดงบฯ กว่า 7.8 หมื่นล้านบาท ย้ำเน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน อย่างเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พอใจผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ตุลาคม 2563 - กันยายน 2564) ซึ่งกรมบัญชีกลางได้รายงานความคืบหน้า หน่วยงานของรัฐที่ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและก่อหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 5,247,846 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 98.34 ของจำนวนโครงการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด โดยมีมูลค่าที่จัดหาได้คิดเป็น 1,333,622.22 ล้านบาท ทำให้รัฐสามารถประหยัดงบประมาณได้ 78,667.29 ล้านบาท หรือประหยัดได้ร้อยละ 5.57 ของวงเงินงบประมาณในการจัดหา 

ซึ่งเป็นผลจากวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ส่งผลให้ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ส่งผลให้ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความคุ้มค่าการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งเป็นต้นแบบการบูรณาการระบบฐานข้อมูลภาครัฐ

ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันกยศ. เตรียมเฮ! นายกฯ สั่งแก้กม. ช่วยลูกหนี้ ให้ไม่ถูกฟ้องคดี

นับเป็นอีกหนึ่งข่าวดีรับปีใหม่ สำหรับลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกยศ. ปี 2560 ให้มีความทันสมัย เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องรูปแบบชำระหนี้และช่วยเหลือเรื่องการดำเนินคดีกับลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลปี 2563 เงินกู้ กยศ. มีหนี้เสีย (NPL) สูงถึง 62% สูงที่สุดในช่วง 25 ปี ปัจจัยที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้เป็นจำนวนมาก มาจากรูปแบบการชำระเงินคืนไม่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้คืน นั่นเพราะบางช่วงเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด-19

ดังนั้น กยศ. จึงได้ทำการปรับรูปแบบการชำระหนี้ เพื่อลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้และกลายเป็นหนี้เสีย เพิ่มแผนการรับชำระหนี้ให้หลากหลาย ทำให้ผู้กู้สามารถเลือกแผนการชำระคืนให้เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง

ซึ่งกฎหมายฉบับที่จะได้รับการแก้ไข จะทำให้กองทุนฯ สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดี ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 1.1 ล้านราย ให้สามารถเข้าร่วมการแก้ไขหนี้ แปลงหนี้ เพื่อกลับมาผ่อนชำระได้อีกครั้ง

โดยสาระของการปรับปรุงกฎหมายฉบับใหม่นี้ประกอบด้วย

1.) ลูกหนี้สามารถเลือกผ่อนชำระเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาสได้ โดยไม่ต้องเก็บเงินก้อนใหญ่ไปรอชำระงวดเดียว ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกหนี้วางแผนผ่อนชำระได้ง่ายขึ้น

2.) จัดลำดับการตัดชำระเงิน โดยเรียงจาก เงินต้น ดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม ทำให้ยอดหนี้หมดเร็วขึ้น

3.) ผู้กู้สามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน (มีผู้ค้ำประกันเฉพาะกรณีที่จำเป็น) ซึ่งจะช่วยตัดปัญหาเรื่องผู้กู้เบี้ยวหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องมารับหนี้แทน และช่วยทำให้ผู้กู้รายใหม่ ไม่ต้องลำบากเรื่องการหาผู้ค้ำประกัน

4.) ชะลอการฟ้องร้องและบังคับคดี หรือการชะลอการขายทอดตลาด สำหรับลูกหนี้ที่ติดคดีใกล้ขาดอายุความ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะช่วยเหลือลูกหนี้และผู้ค้ำประกันที่มีปัญหาชำระหนี้ 'หลายล้านคน' ให้ไม่ต้องถูกฟ้องร้อง

ขณะเดียวกันยังได้เปิดให้ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี จำนวนกว่า 1.7 ล้านคน ให้เข้ามาแจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้วแบบสมัครใจ ผ่านแอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือผ่านเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้กู้ยืมช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

เปิดสาเหตุ 32 ปี ความสัมพันธ์ไทย - ซาอุฯ แตกร้าว สู่มิตรภาพครั้งใหม่!!

พลันที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ได้เผยแพร่กำหนดการการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ระหว่างวันที่ 25 - 26 ม.ค. ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีช อัลซะอูด (His Royal  Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย

ขณะที่สถานีโทรทัศน์อัล-อราบียา ของซาอุดีอาระเบีย รายงานว่านายกรัฐมนตรีของไทยจะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย โดยพระองค์พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ เข้าเฝ้าฯ ในวันอังคารที่ 25 มกราคมนี้

ข่าวดังกล่าวได้รับความสนใจทันที ทั้งในสังคมไทยและในเวทีโลก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบีย อยู่ในภาวะแตกร้าวยาวนานกว่า 30 ปี 

ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย เป็นภารกิจที่รัฐบาลหลายชุดของไทยให้ความสำคัญมาโดยตลอด

แต่ทว่า ไม่มีผลที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากนัก จนกระทั่งการดำเนินการเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังการพบหารือ 3 ฝ่าย ในช่วงการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม 2559 ที่กรุงเทพระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เจ้าชายเคาะลีฟะฮ์ บิน ซัลมาน อัลเคาะลีฟะฮ์ นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรบาห์เรนในขณะนั้น และนายอาดิล บิน อะหมัด อัลณูบีร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียในขณะนั้น

หลังจากนั้นพล.อ.ประยุทธ์ ยังได้พบกับเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย ในช่วงการประชุมผู้นำจี 20 ที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562

ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย ได้มีการพบหารือกันเป็นระยะๆ เพื่อหารือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียตามคำเชิญของเจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟัรฮาน อัลซะอูด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อเดือนมกราคม 2563

การเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียของพล.อ.ประยุทธ์ในครั้งนี้ นับเป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศ หลังเกิดเหตุการกระทบความสัมพันธ์หลังเกิดกรณีคดีเพชรซาอุฯ สังหารนักการทูต และนักธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2532 ต่อเนื่องมาถึงปี2533 ทำให้ซาอุดีอาระเบีย ลดระดับความสัมพันธ์กับไทย โดยลดระดับตัวแทนทางการทูตเหลือแค่ระดับอุปทูต ห้ามชาวซาอุดีอาระเบียเดินทางมาไทย และ ไม่ตรวจลงตราให้คนไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบียเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการไปมาหาสู่ระหว่างกัน และความร่วมมือที่สองประเทศมีอยู่เดิม โดยเฉพาะในด้านแรงงาน และการค้าและการลงทุน

ไอจี เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน ทรงโพสต์ภาพนายกฯ ไทยไปเยือน

27 ม.ค. 65 - อินสตาแกรมอย่างเป็นทางการของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งซาอุดีอาระเบียได้ทรงโพสต์ภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของราชอาณาจักรไทยที่เข้าเฝ้าฯ โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นในโพสต์ดังกล่าวถึง 394 รายการ และผู้ถูกใจถึง 6,995 คน ทั้งนี้ไอจีของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูดนั้นมีติดตามถึง 949,000 คน


ที่มา : https://www.instagram.com/p/CZLvq47qBMj/
https://www.thaipost.net/hi-light/73500/
 

‘บิ๊กตู่’ ลั่น ประเทศชาติจะหยุดพัฒนาไม่ได้ ยก 10 เป้าหมาย ผลักดันพ.ร.บ.งบฯ ปี 66

‘บิ๊กตู่’ ย้ำพ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 66 มุ่งขับเคลื่อนและพลิกโฉมประเทศ วางรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีผลเป็นรูปธรรม บรรลุวิสัยทัศน์ในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

เพจเฟซบุ๊ก ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha’ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความ ว่า ...

พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่านครับ

ช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย.65 นี้ ผมและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคน มีภารกิจสำคัญร่วมกัน ในการช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งทุกท่านทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน แก้ปัญหาต่างๆ ให้กับพี่น้องประชาชน และวางรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีผลเป็นรูปธรรม บรรลุวิสัยทัศน์ในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนให้กับบ้านเมืองของเรา

การจัดทำงบประมาณครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เข้มแข็ง มีเสถียรภาพ โดยรัฐบาลได้พิจารณาปัจจัยรอบด้านจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง และการบริหารจัดการผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน โดยงบประมาณนี้ จะนำไปขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในการดูแลพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งผมขอยกตัวอย่างตามกลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมสำคัญ ในปีงบประมาณหน้าได้อย่างน้อย 10 ประการดังนี้

1. กลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ: (1) มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา เพื่อรองรับโลกดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 (2) ส่งเสริมการเติบโตอย่างสมวัย เช่น การสนับสนุนนม และอาหารกลางวันให้เด็กวัยเรียน 5.04 ล้านคน (3) ลดภาระผู้ปกครอง โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9.68 ล้านคน (4) สร้างความเท่าเทียม เช่น ช่วยเหลือเด็กผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส 2.68 ล้านคน ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ (5) พัฒนานักกีฬาของชาติ ตั้งแต่ระดับเยาวชน เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาอาชีพ ไม่น้อยกว่า 30,000 คน เป็นต้น  

2. กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง ที่เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง: (1) สนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี 2.5 ล้านคน (2) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 11.03 ล้านคน (3) เบี้ยยังชีพคนพิการ 2.09 ล้านคน (4) เสริมสร้างทักษะอาชีพเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ 12,000 คน (5) ส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะสำหรับคนพิการ 20,000 คน (6) พัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน 98,930 คน และ (7) สร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย เช่น บ้านพอเพียง 25,000 ครัวเรือน บ้านมั่นคง 3,750 ครัวเรือน และอาคารเช่าอีก 1,087 หน่วย 

3. กลุ่มพี่น้องเกษตรกร ที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ: เราจะให้ความสำคัญสูงสุดในการยกระดับภาคเกษตรกรรมสู่ "เกษตรอัจฉริยะ" (Smart Farmer) โดย (1) สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง 7.92 ล้านครัวเรือน (2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่และเกษตรอัจฉริยะใน 40 ชุมชน (3) บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จำนวน  71,540 ไร่ (4) ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัย 240,500 แห่ง (5) ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ 3,023 แปลง 201,000 ไร่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย เช่น การมอบสิทธิในที่ดินทำกิน 20,000 ราย และการลดดอกเบี้ยเพื่อการเกษตร 353,400 ราย
 

ดร.ไตรรงค์ ชี้ หากไม่มีอคติทางการเมือง ยก ‘บิ๊กตู่’ เหมาะนั่งประธานประชุม APEC

ดร.ไตรรงค์ ชี้ถ้าไม่มีอคติกันในทางการเมืองแล้วผู้นำของรัฐบาลไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเห็นว่าท่านได้รับความเชื่อถือจากนานาประเทศด้วยเหตุผล 4 ประการ จึงเหมาะเป็นประธานการประชุม APEC

เมื่อวันที่ (7 ส.ค. 2565) ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเรื่อง #APEC #ประเทศไทย กับ #พลอประยุทธ์ ระบุว่า การประชุมเอเปค (APEC) ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้น จะมีความสำคัญต่อชื่อเสียง ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะ APEC แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เป็นการประชุมภายใต้กรอบความร่วมมือ เพื่อส่งเสริม #การค้า #การลงทุน #การท่องเที่ยว และความร่วมมือในมิติด้านอื่น ๆ ทั้งการ #พัฒนาทางด้านสังคม #การพัฒนาด้านการเกษตร #การร่วมมือป้องกันและช่วยเหลือกันและกัน ยามประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติทุกรูปแบบ การร่วมมือกัน #สนับสนุนบทบาทของสตรี และ #ลดการกดขี่ทางเพศ  และการร่วมมือแลกเปลี่ยนกันและกันทางการ #พัฒนาด้านสาธารณสุข เป็นต้น (ขอเสริมเกร็ดความรู้เล็ก ๆ นะครับว่า APEC นี้มีมา 33 ปีแล้วนะครับ กำเนิดเกิดขึ้นในโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532)

ปัจจุบัน APEC มีสมาชิกถึง 21 เขตเศรษฐกิจได้แก่ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี บรูไน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เปรู และ ชิลี ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจมีประชากรรวมกันถึง 2.8 พันล้านคน มีรายได้ประชาชาติ (GDP) รวมกันมากกว่า 59% ของGDP ของโลก สัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกAPEC มีสูงถึง 69.8% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศที่ไทยมีกับทุกประเทศทั่วโลก

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การประชุมดังกล่าวยึดหลักฉันทามติ (Consensus) ความหมายคือ ทุกข้อตกลงต้องทำด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครบังคับใคร ทุกเขตเศรษฐกิจมีความเท่าเทียมกันหมด โดยมุ่งเปิดกว้างเสรีทางการค้าการลงทุนให้มากขึ้น มีอุปสรรคให้น้อยลง (เช่น ช่วยให้การแซงชั่น (Sanction) ด้วยเหตุจูงใจทางการเมืองจะได้มีน้อยลง) ส่วนความร่วมมือด้านอื่น ๆ ก็แล้วแต่จะตกลงกัน ที่สำคัญที่สุดก็คือ #ห้ามหยิบยกประเด็นทางการเมืองขึ้นมาพูดในที่ประชุมอย่างเด็ดขาด

อดีตนายกฯจากพรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษ จอห์น เมเจอร์ เคยกล่าวเตือนสติ นายกฯ รุ่นน้องจากพรรคเดียวกันคือ นายบอริส จอห์นสัน ว่า “ผู้นำทางการเมืองที่ประชาชนขาดความเคารพนับถือในบ้าน จะมีอิทธิพลสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีนอกบ้านได้อย่างไร” (สามารถอ่านข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในบทความของผม หัวข้อ “เรียนรู้จากอังกฤษ : ไม่ยกย่องคนที่ไม่สมควรยกย่อง” ที่ https://www.facebook.com/TrairongSuwankiri/posts/pfbid02kFsnrXucY1awn9HTDdg7MfBfkBDdk737eh5vdJRrZPZwMwTm6WUo5Dh4qFAjdFwLl)

สำหรับผู้นำของรัฐบาลไทยคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น ถ้าไม่มีอคติกันในทางการเมืองแล้ว จะเห็นว่าท่านได้รับความเชื่อถือจากนานาประเทศด้วยเหตุผลหลายอย่างคือ

1) การชุมนุมทางการเมืองเพื่อคัดค้าน พ.ร.ก. นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยในปี 2556 – 2557 นั้น ผู้มิได้อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์จะไม่มีทางทราบว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมซึ่งเป็นปฏิปักษ์กันทั้งสองฝ่าย ได้เตรียมอาวุธร้ายเพียงใดเพื่อจะเข่นฆ่ากันและกัน (ทั้ง ๆ ที่ผู้นำการชุมนุมของทั้งสองฝ่ายอาจจะไม่รู้ก็ได้)

การตัดสินใจทำการ #รัฐประหารเพื่อระงับความรุนแรงที่อาจจะนำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมือง ในปี พ.ศ.2557 นั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสมเหตุสมผล แม้เป็นการเปลี่ยนรัฐบาลโดยการใช้อาวุธ เข้าบังคับมิใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างสันติวิธี แต่ต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจดี โดยเฉพาะ เพราะเขาเคยเห็นความป่าเถื่อนในการบุกทำลายการประชุม ผู้นำของอาเซียนที่พัทยาเมื่อปี พ.ศ. 2552

เมื่อผมไปประชุมกับผู้นำ 47 ประเทศที่กรุงวอชิงตันตามคำเชิญ ของประธานาธิบดีโอบามา (OBAMA) ในปี พ.ศ. 2553 (ขณะที่พวกเสื้อแดงกำลังยึดสี่แยกราชประสงค์และประตูน้ำเอาไว้) ผู้นำประเทศต่าง ๆ หลายประเทศได้แสดงความห่วงใย (Concern) ต่อการชุมนุมที่ค่อนข้างจะรุนแรงในประเทศไทย ที่น่าแปลกใจตรงที่ท่านเหล่านั้นบอกผมว่า พวกท่านรู้ด้วยว่าใครอยู่เบื้องหลังความรุนแรงทั้งหลาย ตั้งแต่ที่พัทยา (พ.ศ. 2552) จนถึงการชุมนุมในปี พ.ศ. 2553

แม้แต่ท่านประธานาธิบดีโอบามาเอง ได้พูดกับผมถึงความห่วงใย และแสดงความเห็นใจต่อ นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของประเทศไทย ที่ต้องเจอวิกฤตการณ์เช่นนั้น จนไม่สามารถมาประชุมกับ 47 ประเทศในหัวข้อเรื่อง “การหยุดการแพร่ขยายการใช้ปรมาณูเป็นอาวุธ (Nuclear Security Summit) ดังนั้นเมื่อเกิดการรัฐประหารนำโดย พล.อ.ประยุทธฯ จึงเห็นได้ว่า ไม่มีใคร(ต่างประเทศ) ออกมาประณามอย่างจริงจัง เหมือนที่พวกเขากระทำต่อประเทศเมียนมา เมื่อมีการรัฐประหารโดยท่านนายพล มิน อ่อง ลาย

2) ปัจจุบัน ท่านพล.อ.ประยุทธ์ #เป็นนายกรัฐมนตรีตามข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2560 (แม้จะนับเฉพาะเสียง ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งก็มากกว่า 50% ถูกต้องตามหลักสากลของประชาธิปไตย) นักการเมืองบางฝ่ายอาจจะประณามว่า เป็นการสืบทอดอำนาจของฝ่ายรัฐประหาร เพราะคนร่างรัฐธรรมนูญมิได้เขียนให้รัฐธรรมนูญของไทย เป็นเหมือนของประเทศอังกฤษ แต่ที่ผมเคยไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดของสหรัฐฯและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ ศาสตราจารย์ ที่สอนเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญต่างก็สอนเหมือนกันว่า ระบบการเมืองการปกครองของประเทศไดก็ต้องเขียนให้คล้องจองกับบริบทของประเทศนั้น เหมือนอย่าง นางอังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) อดีตนายกฯของเยอรมัน เคยพูดไว้ว่า “สหรัฐอเมริกาจะเอามาตรฐานของระบบการเมืองของตนเองไปบอกว่าดีกว่าระบบการเมืองของประเทศจีน ย่อมไม่ได้เพราะบริบทหลายอย่างแตกต่างกัน”  (ผมว่าคุณ Nancy Pelosi น่าจะฟังเอาไว้บ้างนะครับ)

ทุกเหล่าทัพกระจายกำลังช่วยเหลือประชาชน หวั่นฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง หากวิกฤตให้เปิดหน่วยทหารรับอพยพประชาชนเข้าดูแล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ทุกเหล่าทัพกระจายกำลังช่วยเหลือประชาชน หวั่นฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง หากวิกฤตให้เปิดหน่วยทหารรับอพยพประชาชนเข้าดูแล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการเมื่อ 6 กันยายน 2565

(6 ก.ย. 65) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการทุกเหล่าทัพ ที่มีหน่วยทหารในพื้นที่ทั่วประเทศ เตรียมยกระดับสนับสนุนรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม โดยให้ประสานทำงานร่วมกับฝ่ายปกครอง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและจิตอาสาในพื้นที่ และเตรียมปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของแต่ละเหล่าทัพและหน่วยทหารในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการติดตามเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งให้กระจายกำลังเร่งด่วนเข้าช่วยเหลือและอพยพประชาชน ทรัพย์สินมีค่าออกจากพื้นที่ และหากจำเป็นวิกฤตให้เปิดพื้นที่หน่วยทหารรับการอพยพประชาชนเข้าดูแล

พร้อมกันนี้ ให้สนับสนุนเคลื่อนย้ายกำลังพล เครื่องมือช่างและเครื่องสูบน้ำ เข้าแก้ปัญหาพื้นที่วิกฤตทันที เพื่อลดความเสียหายและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top