Wednesday, 1 May 2024
ประยุทธ์จันทร์โอชา

'ชลน่าน' เชื่อ เพื่อไทยแลนด์สไลด์แน่ หลังศาลวินิจฉัยให้ 'ประยุทธ์' อยู่ต่อ

เมื่อวันที่ 1 ต.ค. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นนายกฯ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญปี 2560 จะเป็นผลดีกับการรณรงค์หาเสียงของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ว่า ดีมาก เป็นผลดีกับพรรคเพื่อไทยมากๆ เพราะสิ่งที่เราได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนเรื่องการแลนด์สไลด์ที่เพิ่มขึ้นตลอด ผลหลักเรื่องหนึ่งคือวิกฤตที่พล.อ.ประยุทธ์สร้างขึ้น เป็นผลจากการบริหารราชการแผ่นดินของพล.อ.ประยุทธ์ และองคาพยพของพล.อ.ประยุทธ์ที่ทำให้ประชาชนเจอวิกฤตในหลายด้าน ฉะนั้นการอยู่ต่อของพล.อ.ประยุทธ์ทำให้เงื่อนไขนี้ดำรงคงอยู่ ซึ่งก็เป็นประโยชน์กับพรรคเพื่อไทยในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

'อนุสรณ์' ชี้ ปชช.วินิจฉัย 'ประยุทธ์' ไม่ควรได้กลับมา เชื่อ!! วันนี้ศาลให้รอด แต่จะจอดในคูหาเลือกตั้งปี 66 

เมื่อเวลา 10.15 น. วันที่ 1 ต.ค. ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 วินิจฉัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อ ความเป็นนายกฯ ไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ว่า การวินิจฉัยที่เกิดขึ้นเป็นการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน 6 คนบอกว่าได้ไปต่อ 3 คนบอกว่าต้องพอแค่นี้ แต่การทำหน้าที่ของประชาชนไทย 66 ล้านคนยังไม่จบ ความจริงประชาชนได้วินิจฉัยมาตั้งแต่ต้นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรได้กลับมา แต่เมื่อได้กลับมาก็กังขาสงสัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะกลับมาทำไม หรือพล.อ.ประยุทธ์ อยู่มา 8 ปียังเสียหายไม่พอ บอกว่าจะคืนความสุข แต่ประชาชนได้รับแต่ความทุกข์เพิ่มหรือไม่ ทำประเทศหนี้ล้น ประชาชนหนี้ท่วม อะไรที่สัญญากับประชาชนไว้ไม่สามารถทำได้ 

นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า 8 ปีใช้งบประมาณแผ่นดินไป 28.5 ล้านล้านบาท ทำหนี้สาธารณะทะลุ 10 ล้านล้านบาท ทำหนี้ครัวเรือนพุ่ง 14.6 ล้านล้านบาท ทำคนจนจาก 6 ล้านคนเป็น 18 ล้านคน ทำเงินบาทอ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส พาเหรดกันขึ้นราคา 8 ปีฝีมือได้แค่นี้ยากที่จะมีปาฏิหาริย์ชั่วข้ามคืน หากตั้งใจจะมาจัดการประชุมเอเปก จะเป็นการประชุมที่ล้มเหลวที่สุดครั้งหนึ่งเพราะตัว พล.อ.ประยุทธ์เอง 

โค้งสุดท้ายของรัฐนาวา เปิด 4 ภารกิจยากที่ 'ประยุทธ์' ต้องตัดสินใจ จะเดินหน้า หรือพอแค่นี้ในวัยย่าง 68 ปี

หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังอยู่ในตำแหน่งไม่ครบ 8 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันพล.อ.ประยุทธ์ได้ไปต่อถึงปี 68 เดินทางกลับเข้าทำเนียบทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไปได้

ภารกิจเริ่มต้นในวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 เข้าทำเนียบให้บรรดาเอกอัครราชทูต, ทูตที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใหม่เข้าพบ วันอังคารก็จะทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีตามปกติ และวันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม ก็จะเดินทางไปตรวจสถานการณ์น้ำท่วมจากฤทธิ์ของพายุโนรู ที่จังหวัดอุบลราชธานี

แต่หลังจากนี้ยังมีภารกิจที่ต้องตัดสินใจทันทีอีก 4 เรื่องที่รออยู่...

>> ภารกิจแรก คือ การตัดสินใจว่าจะปรับคณะรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่หรือไม่ 4 ตำแหน่ง คือ 

1.) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนิพนธ์ บุญญามณี จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ลาออกไปสู้คดีในชั้นศาลกับ ป.ป.ช.ที่ถูก ป.ป.ช.กล่าวหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่เบิกจ่ายงบให้บริษัทเอกชนผู้ชนะการประมูลรถอเนกประสงค์ซ่อมบำรุงทางของ อบจ.สงขลา สมัยเป็นนายกฯอบจ.สงขลา ด้วยเหตุผลว่า พบมีการฮั้วประมูล

2.) แทนตำแหน่งของกนกวรรณ วิลาวัลย์ พรรคภูมิใจไทย ที่ศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา หลังศาลประทับรับฟ้องคดีบุกรุกป่าเขาใหญ่ ถือเป็นการละเมิดจริยธรรมร้ายแรงด้วย มีคดีตัวอย่างที่ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐโดนมาแล้ว ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต

3.) ปรับแทนตำแหน่ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พรรคพลังประชารัฐ ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง จากปฏิบัติการล้มประยุทธ์กลางสภา แต่แผนรั่วเสียก่อน จึงถูกเตะออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี

4.) ปรับแทน ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ จากพรรคพลังประชารัฐ ที่ถูกปลดพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อม ร.อ.ธรรมนัส จากปฏิบัติการล้มประยุทธ์เช่นกัน

โดยในกรณี ร.อ.ธรรมนัส และ ดร.นฤมล ถือเป็นเด็กในคาถาของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และหลังจากถูกปลดก็ยังไม่มีการแต่งตั้งใครมาแทน แต่ในสถานการณ์ใกล้เลือกตั้ง เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง จึงน่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ในเร็ววัน เพราะคณะรัฐมนตรีชุดนี้ก็จะหมดวาระลงพร้อมวาระของสภาในวันที่ 23 มีนาคม 2566 

>> ภารกิจที่สอง คือ การเตรียมความพร้อมในการจัดประชุมเอเปกในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่สำคัญคือจะแก้หน้าอย่างไรกับการที่ผู้นำโลกอย่าง 'โจ ไบเดน' ไม่มาร่วมประชุมด้วย แค่ขออยู่ร่วมงานแต่งงานของหลาน ที่สำคัญคือในฐานะเจ้าภาพต้องจัดงานให้เป็นที่ประทับใจ เกิดประโยชน์กับชาติประเทศ และประเทศไทยให้มากที่สุดด้วย

'ธีรรัตน์' โวย 'ประยุทธ์' เลิกบริหารประเทศตามมีตามเกิด โว!! พร้อมปัดฝุ่นโครงการจัดการน้ำ สมัย 'ยิ่งลักษณ์'

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ (3 ต.ค. 65) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.และโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า พรรคเพื่อไทยห่วงใยพี่น้องประชาชนใน 23 จังหวัดทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมขณะนี้เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่พายุโนรูเข้าประเทศไทยเมื่อปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ทำให้ฝนตกหนัก พื้นที่ทางการเกษตร ปศุสัตว์ และบ้านเรือนประชาชนจมน้ำ 

ขณะที่การให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นไปด้วยความล่าช้า หน่วยงานปฏิบัติกับการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้เตรียมตัวกับปริมาณน้ำที่จะเข้าพื้นที่นั้นสวนทางกัน ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง พฤติกรรมของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ หรือแม้แต่รัฐบาลอยู่มา 8 ปี ผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง แต่ยังแก้ไขปัญหาแบบเดิม ตอบสนองต่อความเดือดร้อนของประชาชนล่าช้า หยุดทำงานในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ทั้งที่ความเดือดร้อนไม่มีวันหยุด  

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวต่อว่า พรรคพท.เสียใจเป็นอย่างมากที่ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ถูกน้ำท่วมได้อย่างเต็มที่ เนื่องด้วยกฎเหล็ก 180 วันของ กกต.ที่จำกัดการมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ ทำได้เพียงการเยี่ยมเยือนไถ่ถาม และประสานงานเท่านั้น โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนลุ่มน้ำมูลและหลายจังหวัดในภาคอีสาน ต่างได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส ถูกน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรเป็นวงกว้าง จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผ่อนคลายกฎเหล็กนี้

‘เต้ มงคลกิตติ์’ ชี้ ถ้าปี 66 'บิ๊กตู่' ชนะเลือกตั้ง จะเป็นฝ่ายค้านต่อ เจอชาวเน็ตคอมเมนต์ถาม "มั่นใจจะได้เป็นส.ส.อีกเหรอ"

(3 ต.ค. 65) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า ถ้าปี 66 ตู่ ชนะ เป็นนายกต่อ ผม เป็นฝ่ายค้านเหมือนเดิม ถ้า ตู่ รัฐประหาร ฉีก รธน. เปิดเงื่อนไข เป็น นายก ต่อได้ ผมลงถนนจนกว่าจะขับไล่ไปจนสำเร็จ หยุดก็ต่อเมื่อถูกจับขังคุก เท่านั้น

อย่างไรก็ดี หลังนายมงคลกิตติ์ได้โพสต์ข้อความดังกล่าว ได้มีผู้เข้ามาคอมเมนต์รายหนึ่งสอบถามว่า “มั่นใจว่าจะได้เป็น ส.ส.อีกเหรอ” ซึ่งนายมงคลกิตติ์ ได้เข้ามาตอบคอมเมนต์ว่า “แล้วแต่ประชาชน”


ที่มา : https://www.thaipost.net/x-cite-news/234696/

'เพื่อไทย' อัด 'บิ๊กตู่' ทำคนไทยไร้ที่อยู่-ที่ทำกินเพียบ ชี้!! ไม่พัฒนาต่อยอดบ้านเอื้ออาทร-บ้านมั่นคง

เมื่อวันที่ (3 ต.ค. 65) น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ทุกวันจันทร์แรกของเดือนต.ค.ทุกปี องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) ในปีนี้อยู่ภายใต้แนวคิด Mind the Gap Leave No One and Place Behind หรือใส่ใจช่องว่าง ไม่ทิ้งใครและที่ใดไว้ข้างหลัง เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของสิทธิในที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของประชากรโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเครือข่ายต่างๆ ได้จัดกิจกรรมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินให้กับคนจนเมืองและพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่จากนโยบายของรัฐ 

ทั้งนี้ พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีสิทธิในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชากรโลก ในปี 2546  รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้จัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนไทยทุกกลุ่ม ทั้งบ้านเอื้ออาทรในต่างจังหวัด และบ้านมั่นคงสำหรับคนเมือง ผ่านการทำงานของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เพราะตระหนักถึงความสำคัญของ คนหาเช้ากินค่ำ คนจนเมือง คนไร้ที่อยู่อาศัย

ความจำเป็นในช่วงภัยพิบัติ ไม่ต้องจัดหนักเทคโนโลยี

กลายเป็นประเด็นอีกแล้ว หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กล่าวช่วงหนึ่งในการประชุมการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์เมื่อ 3 ต.ค. ที่ผ่านมาถึงการกำหนดพื้นที่เป้าหมายเศรษฐกิจ พื้นที่สุขภาพที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลด้านสาธารณสุข ก็ต้องดูแลให้สามารถเข้าบริการได้ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการให้บริการไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ก็ต้องให้ใช้ได้นานที่สุด ถ้าระบบมันล่มไปทั้งหมด การสื่อสารแจ้งข้อมูลจะทำได้ลำบาก อาจจะต้องไปใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนได้อีกทาง ซึ่งเคยใช้กันเมื่อปี 2554 เพราะตอนนั้นไฟฟ้าดับหมด ดังนั้นเราต้องเตรียมแผนตรงนี้ไว้ด้วยในกรณีที่อาจจะเกิดปัญหา

พลันที่มีคำว่า 'วิทยุทรานซิสเตอร์' หลุดออกมา ก็มีคนไทยกลุ่มหนึ่งจับตาและกล่าวว่านี่คือ 'ความล้าหลัง' และขำขันกันอย่างสนุก 

แต่กลับกันภายใต้ความขบขันนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในปัญหาแบบผู้มีองค์ความรู้รอบด้านของผู้นำกับสถานการณ์ที่เป็นจริงได้อย่างสอดคล้องมากกว่า

แน่นอนว่าในบ้านเราตอนนี้ คนอาจจะติดภาพทรานซิสเตอร์ว่าโบราณ บ้านนอก แต่จริงๆ แล้ว วิทยุพกพาที่รับสัญญาณจากอากาศที่ไม่ได้ใช้สัญญาณดาวเทียมหรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีขายในท้องตลาด ก็ล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ทั้งหมดในการรับสัญญาณ AM/FM

'บิ๊กตู่' สั่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ขอนแก่น ชี้!! ต้องบูรณาการทุกฝ่าย พร้อมขอความร่วมมือภาคเอกชน

นายกฯ กำชับเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ขอนแก่น ย้ำต้องบูรณาการทุกฝ่าย ขอความร่วมมือภาคเอกชนรวมพลังคนไทยช่วยชาติ-ช่วยประชาชน 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวระหว่างรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดขอนแก่นว่า การลงพื้นที่ในวันนี้ไม่ได้เป็นการมาตำหนิใคร แต่ต้องการมาช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด และขอให้ทุกฝ่ายพยายามเยียวยาอย่างทั่วถึง ทั้งนี้แนวทางการแก้ปัญหามีแผนงานโครงการของทุกจังหวัดอยู่แล้ว ซึ่งหลายโครงการมุ่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2565 และบางโครงการมุ่งให้สำเร็จในปี 2566 

พร้อมย้ำว่าการระบายน้ำในพื้นที่และการพร่องน้ำต่าง ๆ จะต้องบูรณาการไม่ให้เกิดผลกระทบกับ ประชาชน ซึ่งภาพรวมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางพื้นที่น้ำมาก บางพื้นที่น้ำน้อย ดังนั้นจะต้องมาพิจารณาหาแนวทาง เพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกันในเรื่องของการกักเก็บน้ำ

ทั้งนี้หากยังมีฝนตกในปริมาณมากกว่าที่จะระบายน้ำได้ทัน ก็ยังจะมีปัญหาอยู่เช่นนี้ และไม่ใช่การแก้ตัว แต่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งจะต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด หากอะไรที่สามารถป้องกันได้ก็ให้ดำเนินการไป เช่น การปกป้องโรงพยาบาล พื้นที่เศรษฐกิจ แต่หากเรื่องไหนทำไม่ได้ก็ต้องหาวิธีการแก้ไข เพื่อให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรักษาพยาบาล อาหาร น้ำสะอาดและพื้นที่พักพิง

'พิชัย' จวก 'ประยุทธ์' ยิ่งอยู่ คนไทยยิ่งไม่รอด ชี้!! กู้มากก็เจ๊งมาก แนะควรมีจิตสำนึกได้แล้ว

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ (4 ต.ค. 65) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ตลอดเวลา 8 ปีเศรษฐกิจไทยย่ำแย่มาตลอด รายได้ประชาชนลดต่ำลง เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำมาก หนี้สินเพิ่มขึ้นมาก คนจนเพิ่มขึ้นมาก ขนาดปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันยังไม่มีการรับมือ คิดได้แค่จะใช้วิทยุทรานซิสเตอร์แค่นั้น แต่พล.อ.ประยุทธ์กลับคิดว่าตนเองทำได้ดี ประเทศก้าวหน้าทั้งที่ประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้าไปหมด แม้พล.อ.ประยุทธ์จะรอดแต่คนไทยน่าจะไม่รอดแน่ถ้าเป็นแบบนี้ 

ทั้งนี้ World Economic Forum (WEF) จัดไทยอยู่อันดับที่ 104 จาก 138 ประเทศด้านการกระจายอำนาจในตลาดสินค้าและบริการ (Extent of Market Dominance) และอยู่อันดับที่ 62 ในด้านประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า (Effectiveness of Anti-Monopoly Policy) หมายความว่าไทยปล่อยให้มีการผูกขาดของนายทุนรายใหญ่กันมาก และการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาดยังมีประสิทธิภาพที่ต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อยไม่สามารถพัฒนาก้าวขึ้นเป็นรายใหญ่ได้ เพราะถูกปิดกั้น ปิดโอกาส ดังนั้นการทำลายการผูกขาดจึงจำเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยต้องพัฒนาต่อไป 

‘ลุงตู่’ กำชับ!! 10 ข้อปฏิบัติเร่งช่วยปชช. พ้นวิกฤตน้ำท่วม

โฆษกรัฐบาลย้ำนโยบายนายกฯ 10 ข้อถึงผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยให้ถือปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

เมื่อวันที่ (4 ตุลาคม 2565) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบนโยบายให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัย เพื่อได้นำไปปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นขณะนี้ ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการพยากรณ์ และคาดการณ์ลักษณะอากาศวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย แจ้งให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ประสานไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพื่อแจ้งเตือนประชาชนผ่านทุกช่องทาง ไปถึงชุมชน หมู่บ้าน ให้ประชาชนรับทราบ และเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัยในเบื้องต้น

2. ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ เตรียมความพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล สาธารณภัย ให้พร้อมออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย อาทิ การกำจัดวัชพืช ขยะตามเส้นทางน้ำ การพร่องน้ำในแหล่งน้ำ การเร่งระบายน้ำ/การเปิดทางน้ำ/ผลักดันน้ำ ออกจากพื้นที่ชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม

3. กำชับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้าง บำรุงรักษาถนน ในการตรวจสอบปรับปรุง กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาโครงการที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการระบายน้ำในช่วงฝนตกหนัก พร้อมทั้งให้จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร ติดตั้งป้าย/สัญญาณจราจรแจ้งเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวัง หรือหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าวให้ชัดเจน โดยให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากถนนให้ครบถ้วน ทั้งทางลอด การติดตั้งสัญญาณจราจร ป้าย ควรแจ้งเตือนและเฝ้าระวังเส้นทางหลีกเลี่ยง และควรปักแนวถนน สำหรับรถวิ่งผ่าน ในกรณีที่ถนนน้ำท่วม

4. เมื่อสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่คลี่คลาย ให้เร่งสำรวจผลกระทบ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว

5. เมื่อเกิดน้ำท่วมขังสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตลอดจนเชิญชวนประชาชนจิตอาสา ร่วมเฝ้าระวัง และร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร ตลอดจนภาคเอกชน ในการใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยเปิดทางน้ำ หรือสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ และการช่วยเหลือประชาชน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top