Friday, 26 April 2024
คว่ำบาตรรัสเซีย

'อียู' ประกาศคว่ำบาตร 'รัสเซีย' ทันที หลังลงนามยอมรับดินแดนกบฏยูเครน

22 ก.พ. 65 การลงนามรับรองอิสรภาพของดินแดนโดเนตสค์และลูฮานสค์โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทำให้พันธมิตรชาติตะวันตกซึ่งนำโดยสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียทันที แม้ว่ากองทัพรัสเซียจะยังไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ หลังปูตินมีคำสั่งให้กองทัพธำรงไว้ซึ่งสันติภาพในยูเครนตะวันออก ที่ถูกมองว่าเป็นการปูทางไปสู่การรุกรานยูเครนในเร็ววัน

นางอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ ARD ของเยอรมนีว่า ถ้าในที่สุดรัสเซียตัดสินใจรุกรานยูเครน โดยหลักการ รัสเซียจะถูกตัดออกจากตลาดการเงินระหว่างประเทศ ระบุว่ามาตรการคว่ำบาตรเช่นนี้จะกระทบต่อสินค้าทั้งหมดที่รัสเซียต้องการนำเข้าจากกลุ่มอียู เพื่อช่วยให้ประชาชนในประเทศดำเนินชีวิตอย่างสะดวกสบาย ทั้งจะช่วยให้รัสเซียกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่กลุ่มอียูส่งออกไปทั่วโลก และไม่สามารถผลิตได้ในภูมิภาคอื่น

ปธน.ยูเครนต่อสายคุยไบเดน ขอสหรัฐฯช่วย ทั้งเงินสนับสนุน - มาตรการคว่ำบาตรกดดันรัสเซีย

ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี เปิดเผยในวันอาทิตย์(6มี.ค.) ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อหารือถึงการสนับสนุนทางการเงินและมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย ในขณะที่ประเทศของเขาต้องเผชิญการโจมตีอย่างหนักหน่วง

"ในฐานะส่วนหนึ่งของการพูดคุยที่มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผมได้สนทนาอีกครั้งกับ @POTUS(บัญชีทวิตเตอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ)" เซเลนสกีกล่าว "วาระต่างๆนั้น รวมไปถึงประเด็นด้านความมั่นคง การสนับสนุนทางการเงินสำหรับยูเครนและการเดินหน้าคว่ำบาตรรัสเซีย"

ในถ้อยแถลงของการพูดคุยที่ใช้เวลานานราว 30 นาที ทำเนียบขาวระบุว่าไบเดนเน้นย้ำถึงก้าวย่างต่างๆที่รัฐบาลของเขาและพันธมิตรได้ใช้ "เพื่อให้รัสเซียชดใช้มากยิ่งขึ้นต่อกรณีที่รุกรานยูเครน"

‘สวิตเซอร์แลนด์’ เดินหน้าคว่ำบาตร ‘รัสเซีย’ สั่งอายัดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท

25 มี.ค. 65 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้อายัดทรัพย์สินของรัสเซียในสวิตเซอร์แลนด์มูลค่าราว 5,750 ล้านฟรังก์สวิส (207,440 ล้านบาท) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตร และมีแนวโน้มที่มูลค่าของสินทรัพย์ที่ถูกอายัดจะเพิ่มขึ้น

นายเออร์วิน บอลลินเจอร์ เจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักเลขาธิการกิจการเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ หรือ เซโก (State Secretariat for Economic Affairs : SECO) หน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการ ตามมาตรการคว่ำบาตร เผยในกรุงเบิร์น เมื่อวันพฤหัสบดีว่า นับเป็นครั้งแรก ที่เซโกเปิดเผยจำนวนเงินที่อายัดต่อสาธารณชน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 5,750 ล้านสวิสฟรังก์ (6,170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

แทนกันไม่ได้! ‘กาตาร์’ เตือน ‘ยุโรป’ เตรียมเจ็บหนัก ชี้ การชดเชยก๊าซธรรมชาติรัสเซียเป็นสิ่ง ‘เป็นไปไม่ได้'

ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องกาตาร์ ยกระดับกำลังผลิตก๊าซธรรมชาติ เพื่อชดเชยอุปทานที่ขาดหายไปของรัสเซีย จากมาตรการคว่ำบาตรที่จะกำหนดเล่นงานภาคพลังงานมอสโก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนความพยายามนี้จะไม่ได้รับการตอบสนอง โดยโดฮาเน้นย้ำจุดยืนไม่เลือกข้างและชี้ว่าการชดเชยก๊าซธรรมชาติรัสเซียในตลาดยุโรปนั้น "คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้"

เซเลนสกี ส่งเสียงเรียกร้องดังกล่าว ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ทางไกลต่อที่ประชุมหนึ่ง ซึ่งมีบรรดาผู้นำโลกหลายสิบคนเข้าร่วม ณ เวทีสัมมนาประจำปี โดฮาฟอรัม ในกาตาร์

จามาล เอลชายาล ผู้สื่อข่าวของอัลจาซีราห์รายงานว่า การกล่าวปราศรัยของเซเลนสกีไม่ได้ถูกแจ้งล่วงหน้าว่าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการประชุม ซึ่งเป็นไปได้ว่า นั่นก็เพราะผู้จัดงานต้องการให้ฝ่ายรัสเซียเข้าร่วมด้วย

"ประธานาธิบดีเซเลนสกี ใช้โอกาสนี้ปราศรัยกับพวกผู้นำโลกหลายสิบคนที่เข้าร่วมในเวทีสัมมนา เพื่อกดดันพวกเขามากขึ้นให้ใช้มาตรการหนักหน่วงขึ้น เพื่อหยุดการรุกรานยูเครนของรัสเซีย" ผู้สื่อข่าวอัลจาซีราห์ระบุ

ผู้นำยูเครนร้องขอประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุม ใช้มาตรการต่างๆ โดดเดี่ยวมอสโกมากขึ้น คว่ำบาตรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย และเรียกร้องบรรดาประเทศที่ร่ำรวยก๊าซธรรมชาติอย่างกาตาร์ เข้าแทรกแซง เพิ่มกำลังผลิตก๊าซธรรมชาติ เพื่อเติมเต็มอุปทานที่ขาดหายไปของรัสเซีย

เอลชายาล มองว่า "แม้กระทั่งหากกาตาร์ต้องการทำเช่นนี้ เนื่องจากมันจะให้ผลตอบแทนที่งดงาม แต่มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเติมเต็ม 30% ในความต้องการทางพลังงานของยุโรป ที่ปัจจุบันจัดหาให้โดยรัสเซีย"

คนญี่ปุ่นหนุน!! คะแนนนิยม ‘คิชิดะ’ ขยับขึ้น 6 จุด หลังดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย

โตเกียว (รอยเตอร์ส/เกียวโด) - ผลการสำรวจความเห็นชาวญี่ปุ่นพบว่า ความนิยมของนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น 6 จุด หลังคว่ำบาตรรัสเซีย ที่ยกกองทัพบุกยูเครน

ความนิยมของนายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ ผู้นำญี่ปุ่น พุ่งขึ้น 6 จุด อยู่ที่ร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ โดยโพลล์หยั่งเสียงชาวญี่ปุ่นพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราว 2 ใน 3 เห็นด้วยที่รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย เพื่อตอบโต้ที่รัสเซียยกกองทัพบุกยูเครน ซึ่งญี่ปุ่นดำเนินการต่อรัสเซียหลายอย่าง รวมถึงอายัดทรัพย์สินของบุคคลและบริษัทรัสเซีย ตลอดจนถอดรัสเซียออกจากประเทศที่ได้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ MFN

ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 44 ที่ดำเนินการสำรวจความเห็นโดยหนังสือพิมพ์นิคเคอิเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ ระบุว่า พวกเขาเห็นด้วยที่รัฐบาลญี่ปุ่นคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 41 ระบุว่าควรจะลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียอย่างรุนแรง ส่วนชาวญี่ปุ่นร้อยละ 90 เห็นด้วยที่รัฐบาลตัดสินใจรับผู้อพยพจากยูเครน

'อังกฤษ'​ อึ้ง!! หลังชวนอินเดียร่วมลดพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย แต่ถูกสวน!! 'ยุโรปซื้อน้ำมันรัสเซียมากกว่าอินเดียอีก'​

เมื่อ 31 มี.ค. 65 สื่ออินเดียได้รายงานข่าวการไปเยือนลอนดอนอย่างเป็นทางการของ เอส. ไจแชนการ์ รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย เพื่อประชุมหารือกับ ลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศของฝั่งอังกฤษ ซึ่งประเด็นที่เป็นไฮไลต์ของการพูดคุยครั้งนี้ หนีไม่พ้นเรื่องมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของประเทศยุโรป จากกรณีการรุกรานยูเครน

โดยรัฐมนตรีต่างประเทศหญิงของอังกฤษได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายของอังกฤษที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำของรัสเซีย และยังเป็นข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มประเทศยุโรปเพื่อแสดงออกว่าจะยืนเคียงข้างชาวยูเครน

ลิซ ทรัสส์ กล่าวกับ ไจแชนการ์ว่า ถึงแม้ว่าอังกฤษไม่อาจบังคับให้ประเทศอื่นทำตามเป้าหมายของเรา และอินเดียก็เป็นประเทศเอกราช แต่ทางอังกฤษก็รู้ว่ารัสเซียได้เสนอขายน้ำมันให้รัฐบาลอินเดียในราคาพิเศษ จึงได้ตั้งคำถามว่า ทำไมอินเดียถึงยังสนใจรับข้อเสนอของรัสเซีย ประเทศที่ใช้กำลังทหารรุกรานประเทศอื่นอยู่อีก

แต่ทว่าสิ่งที่นาย เอส. ไจแชนการ์ ตอบกลับรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษกลับมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเขามองว่า การรวมกลุ่มกันคว่ำบาตรรัสเซียดูเป็นเหมือนแคมเปญของทางฝั่งยุโรปมากกว่า และหากเทียบปริมาณการพึ่งพาน้ำมันของทางฝั่งยุโรปกับอินเดียนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก 

เพราะที่ผ่านมา แหล่งน้ำมันที่อินเดียนำเข้ามาเกือบทั้งหมด มาจากประเทศทางตะวันออกกลาง มีประมาณ 7.5-8% นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา แล้วจึงตามด้วยรัสเซีย ซึ่งบางครั้งน้อยกว่า 1% เสียอีก 

แต่ในทางกลับกัน ประเทศทางฝั่งยุโรปต่างหากที่พึ่งพาพลังงานน้ำมันจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ มิหนำซ้ำ ประเทศในยุโรปยังนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มขึ้นอีกถึง 15% ในเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งมากกว่าตอนก่อนเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเสียอีก

'ไบเดน' เดินหน้าคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ พร้อมยึดทรัพย์ลูกสาวปูตินที่ถือครองในสหรัฐฯ

ไบเดนคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ ยึดทรัพย์ลูกสาวปูติน ชี้สงครามอาจลากยาว

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่โดยมุ่งเน้นไปที่ภาคการเงิน ภายใต้การกระทำที่เขาระบุว่าจะเป็นการลงโทษระยะยาวต่อเศรษฐกิจของรัสเซีย หลังจากภาพของการสังหารพลเรือนยูเครนอย่างโหดเหี้ยมปรากฏขึ้น

ไบเดนกล่าวว่า รัสเซียล้มเหลวในสงครามครั้งแรก หลังจากที่กองกำลังของรัสเซียต้องถอนกลับจากกรุงเคียฟ อย่างไรก็ดี เขาเตือนว่าการต่อสู้ครั้งนี้ยังไม่จบ และสงครามอาจดำเนินการต่อไปอีกนาน แต่สหรัฐฯ จะยืนหยัดร่วมกับยูเครนในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ โดยเราจะยับยั้งความสามารถในการเติบโตของรัสเซียในอีกหลายปีข้างหน้า

สหรัฐฯ ได้ประกาศห้ามการทำธุรกรรมกับธนาคารซึ่งใหญ่ที่สุดสองแห่งของรัสเซีย คือธนาคาร Sberbank และ Alfa Bank ผ่านระบบการเงินของสหรัฐฯ และห้ามไม่ให้ชาวอเมริกันทำธุรกิจกับธนาคารทั้งสองแห่งนี้

หมีขาววิกฤติ! ‘มาตรการคว่ำบาตร’ พ่นพิษ ‘เศรษฐกิจรัสเซีย’ ดิ่งหนักสุดนับแต่สิ้นโซเวียต!

รัฐบาลสหราชอาณาจักรคาดการณ์ว่ารัสเซียกำลังมุ่งหน้าไปสู่ภาวะถดถอยที่ลึกที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต  โดยคาดว่าเงินรัสเซียกว่า 275,000 ล้านปอนด์ (358,520 ล้านดอลลาร์) ถูกอายัดจากการคว่ำบาตรจากนานาประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

การวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัสเซียกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยที่ลึกที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรประมาณการว่า 60% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของรัสเซียถูกระงับเนื่องจากการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ รัฐบาลสหราชอาณาจักรยังเพิ่มลูกสาวของวลาดิมีร์ ปูตินเข้าไปในรายการคว่ำบาตร ตามรอยรัฐบาลสหรัฐฯ โดยประกาศให้ระงับทรัพย์สินของเคเทรินา ทิโคโนวา (Katerina Tikhonova) และมาเรีย โวรอนซอฟวา (Maria Vorontsova) ลูกสาววัยผู้ใหญ่ของปูติน และเซร์เกเยฟนา วิโนคูโรวา (Sergeyevna Vinokurova) ลูกสาวของรัฐมนตรีต่างประเทศเซอร์เก ลาฟรอฟ ทั้งสามคนถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นสัปดาห์นี้

ลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร ระบุในถ้อยแถลงว่า “มาตรการคว่ำบาตรอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของเราส่งผลกระทบต่อกลุ่มชนชั้นนำและครอบครัวของพวกเขา ในขณะที่เศรษฐกิจของรัสเซียเสื่อมโทรมในระดับที่รัสเซียไม่เคยพบเห็นตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต”

“วิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยของวงในของเครมลินจะถูกกำหนดเป้าหมายต่อไปตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่สหราชอาณาจักรคว่ำบาตรลูกสาววัยผู้ใหญ่ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของเขา” รัฐบาลสหราชอาณาจักรกล่าวในแถลงการณ์

'ผู้สมัครชิงปธน.ฝรั่งเศส' เตือน!! ยุโรป-ฝรั่งเศส ไม่ซื้อ 'น้ำมัน-ก๊าซรัสเซีย' ก็เท่ากับฆ่าตัวตาย

สำนักข่าว TASS ของรัสเซียรายงานว่า ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครณรงค์แห่งชาติ (Rassemblement national) มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) เชื่อว่าการสกัดกั้นการนำเข้าน้ำมันและก๊าซของรัสเซียจะหมายถึงการทำ "ฮาราคีรี" สำหรับยุโรปเอง แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อรัสเซียเอง

“เราไม่สามารถกระทำฮาราคีรีด้วยความหวังที่จะทำร้ายรัสเซีย” เธอกล่าวระหว่างการอภิปรายทางโทรทัศน์กับประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสในเย็นวันพุธ เลอ แปนและมาครงจะชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกันในวันที่ 24 เมษายน

ทั้งนี้ "ฮาราคีรี" (Hara-kiri) ที่ เลอ แปน หมายถึงการฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้องในยุคซามูไรของประเทศญี่ปุ่น เรียกอีกอย่างว่า "เซ็ปปุกุ" (Seppuku) ในที่นี้หมายถึงการฆ่าตัวตาย

'อียู' เสียงแตก!! ร่างแซงก์ชันรัสเซียรอบใหม่ สมาชิกบางชาติขอยกเว้นคว่ำบาตรน้ำมัน

ฝ่ายบริหารของอียูเสนอร่างมาตรการแซงก์ชันรัสเซียรอบใหม่ให้ชาติสมาชิกพิจารณาเมื่อคืนวันอังคาร (3 พ.ค.) ทว่า ยังมีบางชาติไม่ต้องการร่วมวงคว่ำบาตรน้ำมันมอสโก หรือขอเวลาดำเนินการนานเป็นปี ขณะที่นักการทูตยุโรปเตือนว่า การยอมยกเว้นให้บางประเทศจะบ่อนทำลายมาตรการลงโทษนี้

เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) ตลอดจนถึงนักการทูตยุโรปหลายคนในบรัสเซลส์เผยว่า ชาติสมาชิกมีความเห็นแตกแยกกันในประเด็นการคว่ำบาตรน้ำมันเพื่อลงโทษที่รัสเซียรุกรานยูเครน และเพิ่งจะตกลงกันได้ในช่วงดึกวันอังคาร เนื่องจากสมาชิกชาติหนึ่งไม่เห็นด้วย

ตามกำหนดนั้น เอกอัครราชทูต 27 ชาติอียูจะประชุมกันในวันพุธ (4 พ.ค.) เพื่อตรวจสอบแผนการนี้อย่างรวดเร็ว โดยจะต้องมีการอนุมัติเป็นเอกฉันท์จึงจะสามารถบังคับใช้ได้

เจ้าหน้าที่อียูเผยว่า ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปคือแบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 6-8 เดือน โดยฮังการีและสโลวะเกียได้รับอนุญาตให้ยืดเวลาออกไปได้ 2-3 เดือน

ทว่า สโลวะเกีย ซึ่งพึ่งพิงน้ำมันดิบรัสเซียที่ส่งผ่านท่อลำเลียงดรูซบาเกือบ 100% เช่นเดียวกับฮังการี ระบุว่า จำเป็นต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะร่วมคว่ำบาตรได้

ทั้งนี้ โรงกลั่นน้ำมันของสโลวะเกียออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานกับน้ำมันรัสเซีย และจำเป็นต้องปรับปรุงทั้งหมดหรือเปลี่ยนข้อตกลงด้วยการนำเข้าจากประเทศอื่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทั้งยาวนานและมีต้นทุนสูง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top