Tuesday, 7 May 2024
คว่ำบาตรรัสเซีย

สหรัฐฯ คว่ำต่อ!! แม้ ‘รัสเซีย’ เปิดท่าเรือทะเลดำ ให้เรือต่างชาติเข้าออกได้อย่างปลอดภัย

กระทรวงกลาโหมรัสเซีย ‘สัญญา’ จะเปิดเส้นทางเดินเรือที่ปลอดภัยเพื่อให้เรือต่างชาติออกจากท่าเรือทะเลดำ และเปิดเส้นทางเดินเรือแยกอีกต่างหาก เพื่อเปิดทางให้เรือออกจากท่าเมืองมารีอูโปล โดยแล่นจากท่าเรือในทะเลอาซอฟ (Azov) ไปยังทะเลดำ

โดยสำนักข่าว ‘อินเทอร์แฟกซ์’ ได้รายงานตามการอ้างอิงถ้อยคำของ ‘พันเอก มิคาอิล มิซินต์เซฟ’ ซึ่งเป็นหัวหน้าศูนย์ควบคุมการป้องกันประเทศของรัสเซีย ซึ่งระบุว่า ขณะนี้เรือต่างประเทศ 70 ลำจาก 16 ประเทศ อยู่ที่ท่าเรือ 6 แห่งในทะเลดำ รวมถึงโอเดสซา เคอร์ซัน และมิโคไลฟ โดยเส้นทางเหล่านี้จะเปิดให้บริการทุกวัน

พร้อม ‘คว่ำบาตร’ รัสเซียทุกด้าน เว้นพลังงาน ด้านหมีขาวสวน ได้ประโยชน์แต่ทำตัวเป็นอริ

ญี่ปุ่นประกาศกร้าวจะไม่ ‘คว่ำบาตร’ พลังงานรัสเซีย หวั่นกระทบความมั่นคง เจอรัสเซียสวนหมัดได้ผลประโยชน์ แต่ยังทำตัวปฏิปักษ์ แบบนี้ก็ได้เหรอ?
ญี่ปุ่นประกาศชัดจะไม่ ‘คว่ำบาตร’ พลังงานรัสเซีย เพราะ จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ด้านรัสเซียย้อนกลับญี่ปุ่น ได้ประโยชน์จากพลังงานรัสเซีย แต่กลับทำตัวเป็นปฏิปักษ์

สำนักข่าว RT ของรัสเซีย รายงานว่า นายโคอิชิ ฮากิอุดะ รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวานนี้ยืนยันว่า ญี่ปุ่นจะไม่ยกเลิกโครงการก๊าซธรรมชาติเหลวซัคคาลิน-2 กับรัสเซีย โดยกล่าวว่าโครงการนี้เป็นผลงานของรัฐบาลชุดก่อนๆ ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักกว่าจะได้มา และว่าอุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ รวมทั้งสิทธิการเช่าเป็นของรัฐบาลและภาคเอกชนญี่ปุ่น 
 

รัสเซีย โกยเงินขายพลังงานแล้ว 3.4 ล้านลบ. ช่วง 100 วันแรกของสงครามรุกรานยูเครน

รัสเซียทำเงินไปกว่า 93,000 ล้านยูโร (ราว 3.4 ล้านล้านบาท) ในช่วง 100 วันของการทำสงครามรุกรานยูเครน ผ่านการขายเชื้อเพลิงฟอสซิล แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตามรายงานของสกายนิวส์ สื่อมวลชนของอังกฤษในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันวิจัยทางพลังงานแห่งหนึ่ง

รายได้รวมอันมหาศาลนี้มีขึ้นแม้ว่าปริมาณการส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซียลดลงอย่างมากในเดือนพฤษภาคม ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของประชาคมนานาชาติที่พยายามลดพึ่งพิงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของมอสโก

รายงานของศูนย์วิจัยพลังงานและอากาศบริสุทธิ์ (CREA) พบว่า อียูรับอุปทานเชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซีย คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 61% จากปริมาณการส่งออกทั้งหมดของรัสเซีย

ทั้งนี้ แม้ว่าน้ำมันรัสเซียถูกขายในราคาที่ลดกระหน่ำ สืบเนื่องจากแหล่งที่มาของมัน แต่ด้วยอุปสงค์เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและราคาพลังงานที่พุ่งสูง มันจึงยังคงก่อรายได้งดงามแก่รัฐบาลประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และเป็นการช่วยมอบแหล่งเงินทุนสนับสนุนปฏิบัติการรุกรานยูเครนของผู้นำรายนี้

ลอริ มีลลีเวอร์ตา นักวิเคราะห์ชั้นนำของ CREA พูดถึงมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติที่กำหนดเล่นงานรัสเซียในปัจจุบันว่า "กระบวนการต่างๆ สำหรับมอบแรงสนับสนุนที่จำเป็นเร่งด่วนแก่ยูเครน จนถึงตอนนี้ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า จำเป็นต้องมีความเคลื่อนไหวที่แข็งขันกว่านี้ในการตัดกระแสเงินสดที่ป้อนแก่รัสเซีย"

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น รายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอินเดีย ระบุ ยอดขายน้ำมันรัสเซียที่ป้อนแก่อินเดีย เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 เท่าในช่วง 3 เดือนหลังสุด และตอนนี้คิดเป็นสัดส่วน 10% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของอินเดียแล้ว

หนังสือพิมพ์อินเดีย บิสซิเนส รายงานโดยอ้างคำสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ระบุเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า "เวลานี้พวกเขาติดท็อปเท็นซัปพลายเออร์ของเรา"

ยอดขายน้ำมันรัสเซียที่ป้อนแก่อินเดีย เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 เท่าในช่วง 3 เดือนหลังสุด และตอนนี้คิดเป็นสัดส่วน 10% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของอินเดียแล้ว

มาตรการคว่ำบาตรที่ตะวันตกกำหนดเล่นงานรัสเซีย เปิดโอกาสให้โรงกลั่นต่างๆ ของอินเดีย สั่งซื้อน้ำมันรัสเซียเพิ่มมากขึ้นในราคาที่ลดกระหน่ำ หลังจากชาติยุโรปบางประเทศปลีกตัวออกห่างจากน้ำมันดิบรัสเซีย

ก่อนหน้าความขัดแย้งเริ่มต้นขึ้น น้ำมันรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนแค่ 0.2% ในปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของอินเดีย อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าแค่เพียงพฤษภาคมเดือนเดียว โรงกลั่นทั้งหลายของประเทศจัดซื้อน้ำมันดิบรัสเซียมากกว่า 25 ล้านบาร์เรล ซึ่งจากจำนวนดังกล่าว ส่งผลให้รัสเซียแซงหน้า ซาอุดีอาระเบีย กลายเป็นผู้จัดหาอุปทานน้ำมันป้อนแก่อินเดียรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 เป็นรองเพียง อิรัก เท่านั้น

อินเดีย ชาติผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลก ถูกตะวันตกกดดันอย่างหนักต่อกรณีที่พวกเขายังคงเดินหน้าจัดซื้อน้ำมันของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม นิวเดลี เพิกเฉยต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลว่าการนำเข้าเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยในความจำเป็นทั้งหมดของประเทศ

ในเดือนพฤษภาคม กระทรวงพลังงานของรัสเซียระบุว่า "การจัดซื้อพลังงานจากรัสเซียยังคงคิดเป็นสัดส่วนเล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับการบริโภคโดยรวมของอินเดีย"

อย่างไรก็ดี รัฐบาลอินเดีย เรียกร้องให้แก้ปัญหาด้วยวิธีการทางการทูตในความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน พวกเขาไม่ได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานมอสโก และแสดงจุดยืนงดออกเสียงในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในญัตติประณามปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย

การสั่งซื้อน้ำมันรัสเซียที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของอินเดีย มีขึ้นในขณะที่โลกตะวันตกกำหนดหาทางบั่นทอนแหล่งรายได้สำหรับทำสงครามของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ในนั้นรวมถึงกรณีที่ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังอเมริกา ระบุเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้วว่า สหรัฐฯ อยู่ระหว่างพูดคุยกับแคนาดาและพันธมิตรอื่นๆ ในความพยายามหาทางจำกัดรายได้ทางพลังงานของรัสเซียเพิ่มเติม ด้วยการกำหนดเพดานราคาสำหรับน้ำมันรัสเซีย

รัสเซียผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินตปท.ครั้งแรกในรอบ 100 ปี ผลพวงยุโรป 'คว่ำบาตร-ปิดช่องทางการชำระหนี้'

รัสเซียผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ศตวรรษ หรือนับตั้งแต่ปี 2461 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชาติตะวันตกประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งรวมถึงการปิดช่องทางการชำระหนี้ให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศ 

ทั้งนี้ รัสเซียมีกำหนดชำระอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในวันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย. และนับจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการชำระอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ซึ่งบ่งชี้ว่า รัสเซียได้ผิดนัดชำระหนี้แล้ว

เมื่อวันที่ (25 พ.ค.) ที่ผ่านมา คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ออกคำสั่งห้ามไม่ให้รัฐบาลรัสเซียชำระหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรผ่านทางธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐ ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลให้รัสเซียมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ และถือเป็นการคว่ำบาตรครั้งล่าสุดที่สหรัฐประกาศใช้เพื่อตอบโต้รัสเซียที่ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า นับตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตียูเครนเมื่อวันที่ (24 ก.พ.) ที่ผ่านมา คณะบริหารของปธน.ไบเดนได้อนุญาตให้ยกเว้นการคว่ำบาตรต่อธนาคารกลางรัสเซียเป็นการชั่วคราว เพื่อเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสามารถชำระหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรผ่านทางธนาคารสหรัฐและธนาคารทั่วโลกได้ แต่แถลงการณ์ชื่อ Notice on Russian Harmful Foreign Activities Sanctions General License 9C ที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐระบุว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวได้หมดอายุลงในวันที่ 25 พ.ค.ตามเวลาสหรัฐ

สหรัฐฯ วอนยุโรปอดทน หลังต้องตัดส่งก๊าซ 3 เดือน เหตุแท่นขุดเจาะระเบิด และยังซ่อมไม่เสร็จ

สหรัฐฯ ประกาศ!! ตัดส่งก๊าซให้ยุโรป เป็นเวลา 3 เดือน วอนยุโรป อดทนอีกนิด ชัยชนะแค่เอื้อมแล้ว

(29 มิ.ย.65) World Update รายงานถึงประเด็น ที่ทางด้านของ สหรัฐฯ ได้ประกาศว่าจำเป็นที่จะต้องตัดการส่งก๊าซให้ยุโรปต่อไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน หลังจากที่ยังซ่อมแท่นขุดเจาะไม่เสร็จ โดยมีรายละเอียด ว่า...

'ยุโรป ชัยชนะแค่เอื้อมแล้วทนอีกสักนิด สหรัฐ ตัดส่งก๊าซต่อไปอีกแค่ 3 เดือน เท่านั้น'

จากกรณียุโรป หลงกลสหรัฐฯ คว่ำบาตรพลังงานรัสเซีย ต่อมาก็ถูกสหรัฐฯ บีบคอบังคับให้คว่ำบาตรก๊าซราคาถูกส่งมาตามท่อจากรัสเซีย แล้วหันมาซื้อก๊าซเหลว LNG อัดอุณภูมิติดลบ 160 องศา ใส่ถังใหญ่ส่งทางเรือขนส่งข้ามโลกจากสหรัฐฯ ราคาจะแพงกว่า 500% สัญญา 8 ปี เท่านั้นเอง

ทั้งนี้ สหรัฐฯ จะรับประกันความมั่นคงทางพลังงาน และจะมายืนเคียงข้างเสมอ ยุโรปไม่ต้องกลัว ทำให้ชาติยุโรปเชื่อสหรัฐฯ ผู้มีฉายา 'เข้าแก๊งค์ไหนลูกน้องตายหมด' แต่ปี 2022 นี้ตามสัญญา จะส่งให้ยุโรปแค่ราว 10% ของที่รัสเซียเคยส่งให้ 

ต่อมาเกิดบูมเบอแรงก๊าซในสหรัฐฯ เกิดภาวะขาดแคลนเสียเอง ราคาแพงพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความเดือดร้อนประชาชนในวงกว้าง บางปั๊มถึงกับต้องปิดตัวชั่วคราว คะแนนนิยมรัฐบาลโจ ไบเดน ตกต่ำเหลือแค่กว่า 30% 

และแล้วมือมืดก็ทำให้แท่นขุดเจาะบริษัท Freeport LNG ระเบิดพัง ส่งผลให้กำลังการผลิตและส่งออก 20% ของสหรัฐฯ หายไป 

สหภาพยุโรปถูกหัวหน้าหักหลัง อ้างว่าเกิดเหตุสุดวิสัย ขอระงับส่งก๊าซให้ยุโรป 3 สัปดาห์ กระทบเดือดร้อนไปทั้งยุโรป, ญี่ปุ่น, เกาหลีไต้ 

แต่แล้วขึ้นชื่อสหรัฐฯ แล้ว ไม่เคยทำให้บริวารผิดหวัง ได้แจ้งต่อว่า "ยังซ่อมไม่เสร็จ จำเป็นต้องระงับส่งก๊าซยุโรปต่ออีก 3 เดือน" ถึง ก.ย.2022 

ชาติยุโรป แทบล้มทั้งยืน เพราะสัญญาร่วมลงทุนก๊าซเยอรมนี 3%, ฝรั่งเศส 7% กับกาตาร์ นั้นจะมีผลในปี 2026 รอนานอีก 4 ปี

ส่วนสัญญา EU ซื้อก๊าซจากอิสราเอลนั้น ยังอีกนานหลายปีที่ต้องสร้างโรงอัดก๊าซในอียิปต์ แถมต้องจ่าย 'ค่าคุกเข่าขอคืนดี' จำนวน 418 ล้านยูโร แยกเป็นค่าโครงสร้างพื้นฐาน 300 ล้านยูโร และอาหาร 118 ล้านยูโร แต่ปริมาณก๊าซก็เล็กน้อยมาก ๆ แค่ราว 15,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี (ราว 10% ของการนำเข้าจากรัสเซีย) ระยะเวลาสร้างโรงอัดก๊าซอียิปต์ อีกหลายปีไม่ทันวิกฤติ EU ในตอนนี้ ส่วนการเมืองภายในอิสราเอล นั้นวุ่นวายหนักพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรคแตกเป็นเสี่ยง นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ตกเก้าอี้ไปแล้วเรียบร้อยแล้ว ปลายปี 2022 จะจัดเลือกตั้งใหม่ 

การผลิตก๊าซจากนอร์เวย์ และอาเซอร์ไบจัน ก็ผลิตเต็มกำลังแล้ว ส่วนแอลบาเนีย และ แอฟริกาเหนือ แม้จะขายก๊าซให้ EU แต่ ก็เป็นอริกับโมร็อกโก และอิสราเอล จึงต้องสร้างสมดุลกับพันธมิตรรัสเซีย - จีน

ครั้นจะหวังพึ่งพิงรัสเซีย ก็ยากเสียแล้ว เนื่องจากสหภาพยุโรป ยังส่งอาวุธให้ยูเครน ทำให้รัสเซีย สั่งปิดท่อก๊าซ Yamal ที่ผ่านโปแลนด์ และลดส่งก๊าซผ่านท่อ Nord stream1 ไปเยอรมนี เหลือ 40% จำนวน 67 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน และซ้ำด้วยแจ้งปิดวาล์วสนิท 100% ในเดือน ก.ค.2022 ยาว 10 วัน เพื่อซ่อมบำรุง

อินโดนีเซีย ไม่ร่วมด้วยกับ 'สหรัฐฯ' เทแผนจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย

ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังเสาะหาแรงสนับสนุนจากพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ในเอเชีย อย่างญี่ปุ่นและอินเดีย ในการกำหนดมาตรการจำกัดเพดานควบคุมราคาน้ำมันรัสเซีย แต่บรรดานักวิเคราะห์มองว่า อินโดนีเซียน่าจะปฏิเสธความพยายามล็อบบี้ดังกล่าว ซึ่งคาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้

เอลิซาเบธ โรเซนเบิร์ก ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านต่อต้านเงินอุดหนุนก่อการร้ายและอาชญากรรมทางการเงิน อยู่ระหว่างเดินทางเยือนกรุงจาการ์ตา เป็นเวลา 2 วันในสัปดาห์นี้ เพื่อพบปะกับบรรดาผู้ช่วยรัฐมนตรีจากกระทรวงประสานงานกิจการทางทะเลและการลงทุน ผู้ช่วยรัฐมนตรีจากกระทรวงการคลัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีจากกระทรวงพลังงานและทรัพยากรเหมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของศูนย์รายงานและวิเคราะห์การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่นเดียวบรรดาผู้นำภาคเอกชน

ระหว่างพบปะพุดคุยกับ โรเซนเบิร์ก ประณามสงครามที่ปราศจากการยั่วยุและไม่ชอบธรรมของรัสเซียในยูเครน และหารือถึงความพยายามต่างๆ ในการลดผลกระทบที่ลุกลามออกมาจากสงคราม ในนั้นรวมถึงความเป็นไปได้ของการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ถ้อยแถลงของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุ

โรเซนเบิร์ก สานต่อความพยายามของ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ที่เคยเรียกร้องมาตรการนี้ระหว่างร่วมประชุมกับรัฐมนตรีคลังจี 20 และบรรดาผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศต่างๆ เมื่อเดือนกรกฎาคม โดยคราวนั้น เยลเลน ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ศรีมุลยานี รัฐมนตรีคลังอินโดนีเซีย และลูฮุท ปันด์จัยตัน ผู้ประสานงานกระทรวงกิจการทางทะเลและการลงทุน เรียกร้องให้พวกเขาสนับสนุนแผนกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย

ในตอนนั้น ศรีมุลยานี ตอบกลับเพียงว่า อินโดนีเซียจะพิจารณาผลที่ตามมาจากการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เนื่องจากมันจะส่งผลกระทบต่อบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งหลาย รวมถึงประเทศผู้ซื้อด้วย

นอกเหนือจากอินโดนีเซีย สหรัฐฯ จะพูดคุยกับมาเลเซีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ด้วยเช่นกัน เพื่อโน้มน้าวให้สนับสนุนเป้าหมายของจี 7 ในการฉุดราคาน้ำมันรัสเซียให้ลดต่ำลง จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่วอชิงตันรายหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์กับจาการ์ตาโพสต์

ถ้าจาการ์ตาสนับสนุนข้อเสนอนี้ เจ้าหน้าที่วอชิงตัน ซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนามอ้างว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับอินโดนีเซียเอง เพราะว่าปัจจุบันรัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากไปกับการอุดหนุนราคาน้ำมัน

ในปีนี้ อินโดนีเซียต้องจัดสรรงบประมาณไปแล้วกว่า 502 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 34,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากระดับ 170 ล้านล้านรูเปียห์ในปีที่แล้ว สำหรับอุดหนุนราคาพลังงาน สืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูง ขณะที่ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ยอมรับเมื่อวันอังคาร (9 ส.ค.) ว่ามาตรการอุดหนุนน้ำมันในปัจจุบันนั้นใช้เงินมากเกินไป

ณ ที่ประชุมเมื่อเดือนมิถุนายน บรรดาผู้นำจี 7 บอกว่าจะพิจารณากำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เพื่อควบคุมแหล่งเงินทุนทำสงครามของเครมลิน ด้วยที่คาดหมายว่ากลไกกำหนดเพดานนี้อาจเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 5 ธันวาคม บรรดานักวิเคราะห์คาดว่า อินโดนีเซีย ไม่น่าจะสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของจี 7 และพวกเขาคงอยากรอดูเสียก่อนว่าจีนกับอินเดีย จะเข้าร่วมในแผนการนี้หรือไม่

แผนตะวันตกโดดเดี่ยว 'รัสเซีย' ใน UN เริ่มกร่อย หลายชาติถอดใจไม่อยากเป็นศัตรูกับรัสเซีย

นับวันความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียในยูเอ็นก็อยู่ในอาการกร่อยลงเรื่อย ๆ หลายประเทศกำลังตั้งคำถามว่า การร่วมมือต่อต้านรัสเซียเป็นการกระทำที่ฉลาดจริงหรือ รวมทั้งยังสงสัยว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีสาระสำคัญอย่างแท้จริงถึงขั้นที่ต้องให้การสนับสนุนแบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยที่ตะวันตกจัดหาอาวุธให้เคียฟ ขณะที่ไม่มีการเจรจาอย่างสันติที่แท้จริงเพื่อยุติความขัดแย้งกระนั้นหรือ

รอยเตอร์รายงานว่า คืนหนึ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ภายใต้โคมระย้าของรัสเซียในที่ประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในนิวยอร์ก เอกอัครราชทูตนับสิบคนจากแอฟริกา ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และเอเชีย ร่วมงานสังสรรค์เนื่องในโอกาสวันชาติของรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากกองทัพแดนหมีขาวบุกยูเครนไม่ถึง 4 เดือน

วาสสิลี เนเบนเซีย เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำยูเอ็น กล่าวขอบคุณทูตเหล่านั้นสำหรับการสนับสนุนและจุดยืนในการคัดค้านสงครามที่มุ่งต่อต้านรัสเซีย หลังจากกล่าวหาหลายประเทศโดยไม่เอ่ยชื่อว่าพยายาม 'ล้มล้าง' รัสเซียและวัฒนธรรมรัสเซีย

การไปร่วมงานเลี้ยงคราวนี้ของเอกอัครราชทูตเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นความยากลำบากที่พวกนักการทูตตะวันตกต้องเผชิญ ในการพยายามธำรงรักษามาตรการแข็งกร้าวของนานาชาติมุ่งโดดเดี่ยวรัสเซียเอาไว้ หลังจากที่ระยะแรก ๆ สามารถผลักดันยูเอ็นออกมาประณามการรุกรานยูเครนได้หลายครั้ง

ขณะที่รับรู้ถึงความสับสนและความกังวลของบางชาติที่ว่า สงครามยูเครนเรียกร้องต้องการความสนใจของทั่วโลกมากเกินไป เป็นระยะเวลาเกือบ 6 เดือนแล้ว โดยยังไม่มีแนวโน้มว่ายูเอ็นจะทำอะไรได้นั้น พวกนักการทูตตะวันตกก็ยอมรับว่า นอกเหนือจากการพยายยามเรียกประชุมนานาชาติแล้ว วิธีการอื่น ๆ ซึ่งสามารถพุ่งเป้าจัดการกับรัสเซียก็ดูจำกัดเหลือเกิน

ริชาร์ด โกแวน ผู้อำนวยการฝ่ายยูเอ็นของกลุ่มคลังสมอง อินเตอร์เนชันแนล ไครซิส กรุ๊ป เป็นผู้หนึ่งซึ่งยอมรับว่า การหาวิธีที่มีความหมายในการลงโทษรัสเซีย กำลังทำได้ยากขึ้นทุกที ขณะที่สงครามยังคงยืดเยื้อต่อไป

พวกนักการทูตและผู้สังเกตการณ์หลายคนสำทับว่า ในบางกรณีชาติตะวันตกต้องหลีกเลี่ยงการดำเนินการเฉพาะเจาะจงบางอย่าง เนื่องจากกลัวว่า จะได้รับการตอบรับอย่างเฉยชา ขณะที่มีประเทศมากขึ้นงดออกเสียงในการลงมติซึ่งส่งสัญญาณถึงความไม่ยินดีต่อต้านมอสโกอย่างเปิดเผย

เมื่อเดือนมิถุนายน สหภาพยุโรป (อียู) ต้องพิจารณาทบทวนแผนการที่จะให้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นทำหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัสเซีย และสุดท้ายก็ตัดสินใจระงับเพราะกลัวว่า สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเกือบครึ่งจากทั้งหมด 47 ชาติอาจคัดค้าน

โอลาฟ วินต์เซค ผู้อำนวยการมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ของเยอรมนีประจำเจนีวา ชี้ว่า หลายประเทศกำลังตั้งคำถามว่า การร่วมมือกันต่อต้านรัสเซียเป็นการกระทำที่ฉลาดจริงหรือ

ด้านนักการทูตรัสเซียประจำยูเอ็นในเจนีวา สำทับว่า ประเทศตะวันตกรู้ดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะโดดเดี่ยวรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลก

‘ชาวฝรั่งเศส’ เรียกร้องรัฐบาลถอนตัวจาก ‘นาโต้-อียู’ และเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย หลังราคาพลังงานพุ่งไม่หยุด

พวกผู้ชุมนุมรวมตัวกันบนท้องถนนของกรุงปารีสเมื่อวันเสาร์ (17 ธ.ค.) ประท้วงคัดค้านนโยบายต่างๆ ของฝรังเศสที่มีต่อรัสเซีย และเรียกร้องให้ประเทศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโต้ ท่ามกลางความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจ อันเนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย

การชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมหลายพันคนในครั้งนี้ จัดโดยพรรค Les Patriotes (พรรครักชาติ) พรรคการเมืองฝ่ายขวาที่นำโดย ฟลอริย็อง ฟิลิปโปต์ อดีตรองหัวหน้าพรรค National Rally ของนางมารีน เลอแปง

ฟิลิปโปต์ จัดการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า ‘การขัดขืน’ มาตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง เรียกร้องให้ฝรั่งเศสถอนตัวจากนาโต้และอียู เช่นเดียวกับวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจและการต่างประเทศของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง

ในการประท้วงในวันเสาร์ (17 ธ.ค.) พวกผู้ชุมนุมถือป้ายข้อความต่างๆ ในนั้นรวมถึง ‘ฝรั่งเศสต้องออกจากนาโต้’ และ ‘ถอดถอนมาครง’ รวมไปถึง ‘ขัดขืน!’ นอกจากนี้ พวกเขายังโบกธงชาติฝรั่งเศสและตะโกนว่า ‘อัวร์ซูลา หุบปากซะ!’ อ้างถึง อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป

ความเคลื่อนไหวประท้วงล่าสุดนี้ ซึ่งตัวของ ‘ฟิลิปโปต์’ เข้าร่วมด้วย มีชนวนเหตุเฉพาะเจาะจงจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ซึ่งบีบให้ธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากทั่วประเทศต้องปิดตัวลง โดยเขาให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่า “เราต้องหยุดมาตรการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซีย เพราะมันไม่ได้รับใช้สันติภาพ แต่มันนำความทุกข์ยากมาที่นี่”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top