Wednesday, 8 May 2024
GoodVoice

3 บทวิเคราะห์ผลกระทบ เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

ผลกระทบของเงินบาทที่อ่อนค่าต่อราคาสินค้านำเข้า ทำให้เราเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศ โดยเฉพาะราคาสินค้าโภคภัณฑ์และวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจาก supply disruption ที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 เงินบาทที่อ่อนค่าลงทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้นอีก และทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศเพิ่มขึ้นได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาคือการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมาก ผนวกกับการอ่อนค่าของเงินบาท

นี่คือบทวิเคราะห์ 3 ประการ สำหรับสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าที่เกิดขึ้น

>> ผลกระทบของค่าเงินบาทต่อราคาสินค้านำเข้า ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า และอำนาจตลาดของผู้นำเข้าเป็นสำคัญ

ในการประเมินการส่งผ่านของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังราคาสินค้านำเข้า ผลโดยรวมพบว่าราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.6% เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง 1% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการส่งผ่านในลักษณะที่เรียกว่าไม่สมบูรณ์ (incomplete) แต่ก็สะท้อนว่าผู้นำเข้าต้องเป็นฝ่ายรับความเสี่ยงบางส่วนจากความผันผวนของค่าเงินแต่การส่งผ่านของอัตราแลกเปลี่ยนมายังราคาสินค้านำเข้าแตกต่างกันมากในแต่ละกลุ่มสินค้า โดยราคาของสินค้าบางกลุ่มอ่อนไหวมากต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน อาทิ ผลิตภัณฑ์จากแร่และสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์ 

ขณะเดียวกัน สินค้าบางกลุ่มเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่น้อยกว่า อาทิ สินค้าประเภทยานพาหนะ รวมถึงเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์  ผลการศึกษายังพบว่าผู้นำเข้าที่มีอำนาจตลาดสูง กล่าวคือ มีสัดส่วนการนำเข้าจากตลาดสินค้าหนึ่ง ๆ ในปริมาณมาก จะสามารถเจรจาต่อรองราคาได้ง่าย แต่ในกรณีของไทย พบว่า ผู้นำเข้าไทยส่วนใหญ่มีอำนาจตลาดค่อนข้างต่ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ส่งออกจากต่างประเทศผลักภาระให้ผู้นำเข้าไทยต้องเป็นฝ่ายแบกรับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินได้

>> สกุลเงินที่ใช้ในการตั้งราคาสินค้านำเข้า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อขนาดการส่งผ่านของค่าเงิน
ผลการศึกษาพบว่าสินค้านำเข้าส่วนมากมักจะอยู่ในรูปสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์ สรอ. ในกรณีของไทยพบว่าสินค้านำเข้าตั้งราคาอยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. เป็นสัดส่วนสูงถึง 75% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด  ขณะที่การตั้งราคาผ่านสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออก (เช่น ตั้งราคาสินค้าที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่นในรูปสกุลเงินเยน) หรือเรียกว่า Producer Currency Pricing (PCP) คิดเป็นสัดส่วน 16% ส่วนการตั้งราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทหรือที่เรียกว่า Local Currency Pricing (LCP) มีเพียงแค่ 8% เท่านั้น 

สกุลเงินที่ใช้ในการตั้งราคาสินค้าทำให้การส่งผ่านของค่าเงินมีความแตกต่างกัน โดยหากราคาสินค้านำเข้าอยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. หรือสกุลเงินของผู้ส่งออก ผู้นำเข้าจะต้องเผชิญกับการส่งผ่านของค่าเงินที่ค่อนข้างสูง โดยจากผลการศึกษาพบว่าในระยะสั้น ราคาสินค้านำเข้าจะสูงขึ้นมากกว่า 0.7% เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง 1% เปรียบเทียบกับในกรณีที่ราคาสินค้านำเข้าอยู่ในรูปเงินบาทที่พบว่าราคาสินค้านำเข้าแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของค่าเงิน ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งออกจากต่างประเทศเป็นผู้แบกรับต้นทุนหรือความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนแทนผู้นำเข้า

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 31 ต.ค. - 4 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย 'บวก-ลบ' ชี้แนวโน้ม 7-11 พ.ย. 65

>> ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน
ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent สัปดาห์นี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 95 - 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 65 ICE Brent ปิดตลาดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน และ NYMEX WTI สูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือน จากตลาดคาดว่ารัฐบาลจีนอาจพิจารณาผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID และเริ่มเปิดประเทศในเดือน มี.ค. 66 เป็นต้นไป อนึ่ง วันที่ 4 พ.ย. 65 จีนพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 3,837 ราย ลดลงจากวันก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4,045 ราย สูงสุดในรอบ 6 เดือน

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลกปิดตลาดวันที่ 4 พ.ย. 65 ลดลง 1.81% จุด อยู่ที่ 110.88 จุด จากนักลงทุนคาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 14 - 15 ธ.ค. 65 จากที่คาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.75% ในเดือน ธ.ค. 65 จะปรับขึ้นเพียง 0.5% จากระดับปัจจุบันที่ 3.75 - 4.0% หลังตัวเลขการจ้างงานอ่อนแอ โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ (Unemployment Rate) ในเดือน ต.ค 65 เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 3.7%

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

Reuters รายงานกลุ่ม OPEC ผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 65 ลดลง 2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 29.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน มิ.ย. 65

Energy Information Administration รายงานสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 ต.ค. 65 ลดลง 1 แสนบาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 11.90 ล้านบาร์เรลต่อวัน 

ICE รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ Brent ในตลาดนิวยอร์กและตลาดลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ย. 65 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะถือครองสุทธิ (Net Long Position) เพิ่มขึ้น 20,174 สัญญา จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 239,416 สัญญา

‘เฉลิมชัย’ มอบนโยบายเร่ง ‘เพิ่มรายได้’ เกษตรกร พร้อมตั้งเป้าพัฒนา ‘อาชีพปศุสัตว์’ สู่เกษตรมูลค่าสูง

'อลงกรณ์' ขานรับทันทีเดินหน้าเพชรบุรีโมเดลดีเดย์ 11 พ.ย.ระดมพลคนปศุสัตว์ผนึกทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาโคขุนโคนมโคพื้นเมืองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำพร้อมยกระดับวัวลานประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ภายใต้นโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้เร่งเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืนโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาอาชีพปศุสัตว์สู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในระหว่างปฏิบัติราชการที่จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีโดยคำแนะนำของที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ จึงได้จัดการประชุมเรื่อง 'การพัฒนาโคขุนโคนม โคพื้นเมืองและวัวลานกีฬาประเพณีวิถีไทย' เป็นครั้งแรกเพื่อพัฒนาการปศุสัตว์อย่างเป็นระบบและยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืนในวันศุกร์ที่ 11 พ.ย. เวลา 14.00- 16.00 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรีโดยประสานงานเขิญทุกภาคส่วนได้แก่จังหวัดเพชรบุรี พาณิชย์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตชะอำ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอาเอ็มอี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนโคนมโคพื้นเมือง วัวลาน วิสาหกิจชุมชนโค โคแปลงใหญ่ และตัวแทนจากกรมปศุสัตว์ ฯลฯ เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคขุนโคนมและโคพื้นเมืองมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศถือเป็นฐานรายได้สำคัญของเกษตรกรจึงมีความพร้อมที่จะเดินหน้ายกระดับการพัฒนาแบบครบวงจรภายใต้โครงการเพชรบุรีโมเดลตั้งแต่พันธ์ุโค อาหารสัตว์ มาตรการฟาร์ม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) คอกกักมาตรฐานเอกชนสำหรับการนำเข้า การส่งออก และปลอดโรค FMD การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ และการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์เช่นกรณีของพรี่เมี่ยมบี๊ฟ(Premium Beef)แปรรูปผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้มากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ เช่น สันนอก สเต็กแช่แข็ง ลิ้นแองกัสสไลด์แช่แข็ง เนื้อหมักกระเทียมพริกไทยเสียบไม้ โดยจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ และส่งไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าได้อีกด้วยหรือกลุ่มโคเพชรบุรีสามารถส่งโคไปภาคใต้สู่ตลาดมาเลเซียเป็นต้นหากมีการยกระดับการพัฒนาจะเพิ่มศักยภาพเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรมากขึ้นโดยเฉพาะการขยายความสัมพันธ์การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียด้านการเกษตรและปศุสัตว์จะเพิ่มช่องทางใหม่ๆให้กับเพชรบุรีซึ่งเลี้ยงและจำหน่ายโคกว่า140,000-150,000ตัวต่อปี พร้อมกันนี้ก็จะจะพัฒนาวัวลานซึ่งเป็นกีฬาประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่ให้สามารถจัดการแข่งขันได้สม่ำเสมอรวมทั้งการส่งเสริมวัวเทียมเกวียน

4 ข้อดีของสกุลเงินดิจิทัล ที่ทุกธนาคารกลางต้องให้ความสำคัญ

นอกจากคริปโตแล้ว ในอนาคต สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง(central bank digital currency : CBDC) ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับประชาชน เพราะสามารถใช้เป็นสื่อการชำระเงินชีวิตประจำวัน(retail CBDC) ได้ แต่ยังเป็นเทคโนโลยีที่ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังศึกษาและเร่งพัฒนาความเป็นไปได้

retail CBDC มีข้อได้เปรียบกว่าสื่อการชำระเงินอื่น ๆ คือมีความรวดเร็วในการทำธุรกรรมและมีการรองรับมูลค่าการชำระเงินต่อครั้งสูง มีความปลอดภัยสูง และหากกล่าวถึงประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและประชาชนแล้ว retail CBDC ก็มีประโยชน์ 4 ข้อดังนี้

1. ช่วยลดพฤติกรรมการผูกขาดของธุรกิจการเงินภาคเอกชนรายใดรายหนึ่ง (monopolistic behaviors) เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ ระบบการเงินมีแนวโน้มที่จะมีผู้เล่นภาคเอกชนไม่กี่ราย นำมาซึ่งการคิดต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น บริการที่ไม่ได้คุณภาพ หรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในทางที่ไม่ถูกต้อง แต่ retail CBDC ซึ่งเป็นสกุลเงินภาครัฐที่ไม่ได้แสวงหากำไรและเป็นกลาง น่าจะช่วยลดผลกระทบของการครอบครองตลาดและการผูกขาดของภาคเอกชนได้ 

2. สร้างอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมในเศรษฐกิจนอกระบบ (grey economy) และเศรษฐกิจผิดกฎหมาย (black economy) เนื่องจากกิจกรรมส่วนใหญ่มักอาศัยเงินสดในการทำกิจกรรม การใช้ retail CBDC จะสามารถติดตามการทำธุรกรรมที่มีบทบาทในการลดกิจกรรมเหล่านี้ได้ (data trail for transactions) งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า เศรษฐกิจนอกระบบและเศรษฐกิจผิดกฎหมายของไทยรวมกันมีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 60–70 ของ GDP ซึ่งประกอบไปด้วยธุรกิจประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพนัน การค้ามนุษย์ และยาเสพติด การมี retail CBDC จะสร้างอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ได้

‘ศิริกัญญา’ หอบหลักยื่น ป.ป.ช. เอาผิด กสทช. ปล่อยควบรวม True-DTAC ผิดมาตรา 157

‘ศิริกัญญา’ ยื่นหนังสือ ป.ป.ช. ให้เอาผิด กสทช. เสียงข้างมากที่ปล่อยควบรวม True-DTAC พร้อมหอบหลักฐานมีกรรมการ กสทช. บางคนมีรับผลประโยชน์จากซีพี

ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางไปยังอาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี เพื่อยื่นหนังสือให้มีการไต่สวนและตรวจสอบกรณีการปล่อยให้มีการควบรวมทรู-ดีแทค ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หลังกสทช.มีการลงมติเพียงแค่รับทราบการควบรวมกิจการ 2 ค่ายมือถือ โดยทำการยังยั้งการควบรวมตามอำนาจหน้าที่ที่ตนเองมี

ศิริกัญญา ได้พูดถึงปัญหาของการควบรวมกิจการไว้ว่าได้ทำการศึกษาราคาค่าบริการหลังควบรวมพบว่า ราคาค่าบริการจะสูงขึ้นและศักยภาพการให้บริการจะด้อยลง แตกต่างจากในตลาดมือถือที่มีการแข่งขันของรายใหญ่ 3 เจ้า แต่กสทช. ไม่ทำหน้าที่ของตนให้เหมาะสมในการยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในการลงมติของกสทช. ที่เป็นมติพิเศษ มีหลักเกณฑ์ว่า จะต้องได้เสียงกึ่งหนึ่งในการลงมติ และคณะกรรมการในครั้งนี้มีทั้งหมด 5 คน จึงจะต้องลงเสียงให้ได้คะแนน 3:2 แต่มติในครั้งนี้คือ 2:2:1 งดออกเสียงหนึ่งเสียง หากว่ากันตามข้อบังคับการประชุมจะต้องได้ทั้งหมด 3 เสียงขึ้นไป ดังนั้นกสทช. กำลังทำผิดกฎหมายที่ตนเองร่างขึ้นมา

‘เฉลิมชัย’ ปลื้ม!! ข้าวไทยครองแชมป์ข้าวที่ดีที่สุด 2 ปีซ้อน ส่งออกเบอร์ 2 ของโลก 9 เดือนแรก โกย 9 หมื่นล้านบาท

‘เฉลิมชัย’ ขอบคุณชาวนาพาไทยผงาดเบอร์ 2 ส่งออกข้าวโลกและครองแชมป์ข้าวดีที่สุดในโลก 2 ปีซ้อน พอใจส่งออกข้าว 9 เดือน 9 หมื่นล้าน เพิ่มทั้งปริมาณและมูลค่าพร้อมเดินหน้านโยบายประกันรายได้ข้าวปีที่ 4 ชี้ เป็นประโยชน์ช่วยเพิ่มรายได้ชาวนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

(14 พ.ย. 65) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แสดงความพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพของชาวนาไทยและการส่งออกข้าวภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 และยุทธศาสตร์ ‘ตลาดนำการผลิต’ ตั้งเป้าไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลกเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาโดย 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค. - ก.ย. 65) ประเทศไทยส่งออกข้าวไปต่างประเทศได้ทั้งสิ้น 5.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 39.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าส่งออก 2,796.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ถึง 95,233 ล้านบาท 

สำหรับราคาส่งออกข้าวไทยเฉลี่ยในเดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ตันละ 510.8 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ที่ราคาตันละ 500.5 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยคาดว่าปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้ 7-8 ล้านตันทำให้ประเทศไทยกลับมาผงาดขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลกในปีนี้อย่างแน่นอน

‘สุริยะ’ กำชับ! อุบัติเหตุจากแอมโนเนียรั่วต้องเป็นศูนย์ สั่ง กรมโรงงานฯ ให้ความรู้ผู้ประกอบการเครื่องทำความเย็น

สุริยะ ลั่น!! อุบัติเหตุจากแอมโนเนียรั่วต้องเป็นศูนย์ กรมโรงงานฯ เด้งรับ จับมือ สมาคมเครื่องทำความเย็นไทย จัดงาน 'THAI AMMONIA REFRIGERATION 2022' ยกระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีโรงงานที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นกว่า 3,000 โรงทั่วประเทศ สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ โรงงานผลิตน้ำแข็งหลอด โรงงานผลิตน้ำแข็งซอง โรงงานห้องเย็นและโรงงานแปรรูปอาหาร เมื่อเกิดเหตุการรั่วไหลของแอมโมเนียของโรงงานเหล่านี้ พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน และดูแลบำรุงรักษาระบบทำความเย็นอย่างถูกต้อง จึงสั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระตุ้นผู้ประกอบการโรงงานที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นให้เกิดการตื่นตัว รวมถึงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานและการดูแลรักษาระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนีย โดยมีเป้าหมายอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหลต้องเป็นศูนย์

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากแอมโมเนียรั่วไหล มักเกิดความเสียหาย และอาจส่งผลกระทบถึงประชาชนโดยรอบโรงงาน กรอ. จึงได้ร่วมมือกับสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย จัดงาน 'THAI AMMONIA REFRIGERATION 2022' เพื่อยกระดับด้านความปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบทำความเย็นที่ใช้สารแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถก้าวสู่การแข่งขันในเวทีโลก เสริมแกร่งด้วยความรู้ด้านกฎหมายและมาตรฐานการใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น เพื่อมุ่งลดอุบัติเหตุจากแอมโมเนียรั่วไหลเป็นศูนย์

Crypto.com กระดานเทรดระดับโลก ‘ระงับถอนเงิน’ ด้านซีอีโอ เตรียมไลฟ์ชี้แจงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

Crypto.com กระดานเทรดคริปโทฯ ระดับโลก ประกาศ ‘ระงับถอนเงิน’ ด้านซีอีโอ เตรียม Live AMA ชี้แจง พร้อมตอบคำถาม ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

ท่ามกลางความวิตกกังวลของนักลงทุนตลาดคริปโทเคอร์เรนซี่ที่มีข่าวร้ายมาให้ได้ยินทุกวัน ล่าสุด Crypto.com Exchange เว็บเทรดคริปโทฯที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ตามดัชนีคอยน์มาร์เก็ตแคป ‘ระงับการถอนเงิน’

โดยบัญชีอย่างเป็นทางการ crypto.com ประกาศผ่านทวิตเตอร์ @cryptocom ว่า “มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และมีคำถามมากมายที่เราต้องการจะกล่าวถึง” โดยมีการจัด Live AMA โดยเปิดโอกาสให้นักลงทุน และทุกคนสามารถถามคำถามกับซีอีโอได้

ขณะเดียวกัน ฝั่งผู้ใช้เว็บเทรด Crypto.com ได้ออกมาโพสต์ทวิตเตอร์กันรัวๆ ว่า ทางเว็บเทรดดังกล่าวได้ทำการระงับการถอนแล้ว เนื่องจากไม่สามารถที่จะถอนสินทรัพย์คริปโทฯ ของตัวเองออกจากเว็บเทรดได้

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เว็บเทรดคริปโทฯ ระดับโลก ได้ทำการโอน Ethereum จำนวน 320,000 ETH  (มูลค่าประมาณ 416 ล้านดอลลาร์) จาก Crypto.com  ให้กับตลาดแลกเปลี่ยนอีกราย Gate.io เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา พร้อมกับชี้แจงว่าเป็นการโอนเงินผิด ทำให้นักลงทุนตั้งข้อสงสัยถึงการกระทำดังกล่าว

'รมว.เฉลิมชัย' มุ่งขับเคลื่อนพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก พอใจผลงาน สศก. โชว์ความสำเร็จ 3 ปี ยกระดับกลุ่มเป้าหมาย 1.32 ล้านราย สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เกิดมูลค่า 7.8 แสนล้านบาท

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามนโยบาย '5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย' ที่มุ่งกระตุ้นการสร้างเศรษฐกิจรากฐานให้กับประเทศ กระทรวงเกษตรฯ จึงได้ดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งเน้นภาพรวมในด้านต่าง ๆ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรม ซึ่งได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน เร่งดำเนินโครงการตามแผนงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไวที่สุด โดยมี สศก. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากมาตั้งแต่ปี 2563 และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนกระทรวงต่าง ๆ ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหน่วยงานอื่นของรัฐ ภายใต้ 3 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่ 1 การพัฒนาศักยภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (ต้นทาง) แนวทางที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการชุมชน (กลางทาง) และแนวทางที่ 3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกลไกการตลาด (ปลายทาง) จนปัจจุบัน มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ รวม 22 โครงการ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากมาตั้งแต่ปี 2563 โดย สศก. เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการบูรณาการขับเคลื่อนแผนงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหน่วยงานอื่นของรัฐ ภายใต้ 3 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่ 1 การพัฒนาศักยภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (ต้นทาง) แนวทางที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการชุมชน (กลางทาง) และแนวทางที่ 3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกลไกการตลาด (ปลายทาง) จนปัจจุบัน มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ รวม 22 โครงการ

ทั้งนี้ สศก. ได้ติดตามผลการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 -2565) พบว่า สามารถช่วยยกระดับกลุ่มเป้าหมายทั้งประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกษตรกรรายย่อย สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ผลิต/ผู้ประกอบการได้มากกว่า 1.32 ล้านราย รวม 4,337 กลุ่ม เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมากกว่า 15,137 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่าจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนมากถึง 781,066 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมของผลสำเร็จที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สศก. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพ จะร่วมกับทุกหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการ ในการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่องต่อไป

ด้าน ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการ สศก. กล่าวว่า สำหรับปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ มีการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ทั้งสิ้น 15 โครงการ อาทิ โครงการบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาส สามารถช่วยเข้าถึงที่ดินทำกิน และได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินทั้งเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 และเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 (ช) ได้ตามเป้าหมาย โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี เฉลี่ยครัวเรือนละ 6,298 บาท/รอบการผลิต และโครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร สามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร/ชุมชนและวิสาหกิจชุมชน 729 แห่ง

เปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ

ที่บริเวณสหกรณ์การเกษตรเพชรบูรณ์ จำกัด ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุเมธ ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในการเปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2565/2566 โดยมี นายสุพล ศรีทับทิม พาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกร เข้าร่วม

นายสุเมธ ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการตลาดนัดข้าวเปลือก เพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ และให้เกิดกลไกการแข่งขันการรับซื้อข้าวเปลือกของเกษตรกร โดยจัดหาผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อข้าวเปลือก และมีการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกกิจกรรมขั้นตอนการรับซื้อ ซึ่งนอกจากใช้เป็นแหล่งรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรทั่วไปในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว ยังสามารถเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร เพื่อพัฒนาระบบการซื้อขายแบบตลาดกลางอีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top