Wednesday, 8 May 2024
GoodVoice

‘นิพนธ์’ ลุยยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหาร มอบทุนส่งเสริม 14 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคลังกาสุกะ

‘เฉลิมชัย’ มอบ ‘นิพนธ์’ เดินหน้ายุทธศาสตร์ ทำชายแดนใต้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหาร มอบทุนส่งเสริม 14 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคลังกาสุกะ ห้าจังหวัดชายแดนใต้

เมื่อวานนี้ (26 ม.ค. 66) นายนิพนธ์ บุญญามณี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้รับมอบหมายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส พร้อมทั้งมอบป้ายสนับสนุนเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ให้แก่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส จำนวน 14 กลุ่ม  และมอบนโยบายการขับเคลื่อน โครงการเมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รองผวจ. ปัตตานี นายอำเภอกะพ้อ หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 14 กลุ่ม และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ณ สนามฟุตบอลตำบลปล่องหอย หมู่ที่ 5 ตำบลปล่องหอย อำเภอกะพ้อจังหวัดปัตตานี

โดยที่กองบริหารกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาอนุมัติ สัญญายืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรเลี้ยงโคให้กับวิสาหกิจชุมชนจำนวน 14 กลุ่ม 14 โครงการ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการต่อยอดอาชีพ การเลี้ยงโคเนื้อ และยกระดับสินค้าโคเนื้อให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชน นำไปสู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้ออย่างยั่งยืน รวมวงเงินทั้งสิ้น 54,149,600 บาทประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี จำนวน 13 กลุ่ม 13 โครงการ วงเงิน 50,538300 บาท 

และในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสจำนวน 1 กลุ่ม 1 โครงการ วงเงิน 3,611,300 บาท โดยนายนิพนธ์ บุญญามณี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส และมอบป้ายสนับสนุนเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้แก่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสจำนวน 14 กลุ่ม โดยมีตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคลังกาสุกะ มารับมอบจากรองปลัดกระทรวงเกษตรฯ 

นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมจะร่วมขับเคลื่อนการทำงานให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ผ่านโครงการสำคัญในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร เช่นโครงการเมืองปศุสัตว์ชายแดนภาคใต้ โดยกรมปศุสัตว์และหน่วยงานในสังกัดได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ และการพัฒนางานด้านการเกษตร ได้มีการมอบหมายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การพัฒนาส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน 'ฮาลาล' ในพื้นที่ชายแดนใต้ การพัฒนาแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

เดินเครื่อง!! โครงการพัฒนาคลองหมายเลข 3 พลิก ‘ปทุมธานี’ สู่ถิ่นวิถีท่องเที่ยวทางสายน้ำ

แนวคิดในการพัฒนา จังหวัดปทุมธานี ให้เป็นมากกว่าเมืองผ่าน แต่ต้องกลายเป็นเมืองแวะเริ่มเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่ง ก็ต้องยอมรับว่าการมีภาคท้องถิ่นที่เอาจริงเอาจัง ช่วยได้มาก โดยในจังหวัดปทุมธานีนั้น เดิมจะมี นายเสวก ประเสริฐสุข หรือ ‘นายกใหญ่’ อดีต นายก อบต.เชียงรากใหญ่ และ อดีตรอง นายก อบจ.ปทุมธานี ผู้ได้รับฉายา ‘พี่ใหญ่ มีแต่ให้’ ที่คนปทุมฯ รู้จักกันดี คอยเป็นมือประสาน 10 ทิศกับทุกหน่วยงานในจังหวัด, ช่วยหางบประมาณ, ศึกษาปัญหาด้วยการพูดคุยชาวบ้าน หวังปั้นให้ ‘ปทุมธานี’ ไม่น้อยหน้าพื้นที่ใกล้เคียงอย่างกรุงเทพฯ, นนทบุรี, อยุธยา

เมื่อมีคนเริ่ม ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะรับไม้ต่อ ซึ่งหากย้อนไปในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ 1/2566 ช่วงเดือนมกราคม จะพบว่า ตอนนี้มีการผลักดันโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองหมายเลข 3 จังหวัดปทุมธานี งบประมาณ 1.5 พันล้านบาท (ระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี) ให้สายน้ำในจังหวัดปทุมธานีกลายเป็นพิกัดสำคัญทางเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัด หรือด้วยการปั้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมานั่นเอง

โดยที่ประชุมในวันนั้นมีบุคคลสำคัญ ทั้งนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ 1/2566 และ พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

สาระสำคัญอยู่ที่การติดตามเรื่องสืบเนื่องในการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่คลองหมายเลข 3 ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางสายน้ำ / การดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองหมายเลข 3 (คลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว) จังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุมก่อนหน้าเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 

โดยในที่ประชุมได้มีมติสำรวจคลองหมายเลข 3 แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีสายน้ำตามวิถีชีวิตของชุมชน โดยใช้จุดแข็งของชุมชนที่มีอยู่ ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ รวมถึงวัดวาอาราม และร้านรวงโดยรวมมาเป็นจุดขาย ซึ่งประกอบไปด้วย…

วัดสำคัญ อาทิ วัดบ้านพร้าวนอก / วัดดาวเรือง / วัดเสด็จ ปทุมธานี / วัดศาลเจ้า (เซียนแปะโรงสี) / วัดบางพูน / วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ) และ วัดตระพัง ส่วนสถานที่โดยรอบก็จะประกอบไปด้วยร้านอาหาร คาเฟ่ เช่น ครัวกันเองบ้านป่า / ครัวนาริมคลอง / P-river Cafe & Restaurant / ร้านอาหารป่าริมน้ำ / บ้านตานัด Baan Ta nid River Lodge’n Art Camp / สวนอาหารเพชรน้ำหนึ่ง / Prem Cafe in the Garden / ร้านอาหารริมคลองน้ำอ้อม รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น ชุมชนวัดศาลเจ้า และที่ทำการเชียงราก การประปานครหลวง (อาคารสถาปัตยกรรมสมัย ร.5)

อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดได้มีการตั้งเป้าหมายเพื่อปรับปรุงทัศนียภาพ ความสะดวกในการเดินทางทางน้ำ การขจัดสิ่งกีดขวาง ตั้งแต่คลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว สิ้นสุดที่วัดบ้านพร้าวนอก รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร ซึ่งจากการล่องเรือในวันที่ได้ไปสำรวจ พบว่า ช่วงประตูน้ำที่การประปานครหลวง น้ำเชี่ยวมากและเรือที่มีประทุนไม่สามารถผ่านไปได้และหลายช่วงมีผักตบชวาหนาแน่น ทำให้ไม่สามารถเชื่อมคลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว 

โดยปัจจุบัน คลองหมายเลข 3 มีประตูน้ำปิดที่ปากแม่น้ำทั้ง 3 จุด จนกลายเป็นคลองปิด ส่งผลให้มีการสัญจรและใช้งานน้อยลง เนื่องจากช่วงปี พ.ศ. 2542 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ และมีการถมคลองไปช่วงหนึ่งเพื่อทำถนนแล้ววางแนวท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร 2 ท่อด้านล่างแทน ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าถูกลดความสำคัญลงไปอีก ขณะที่ส่วนที่เหลืออยู่ก็กลายสภาพเป็นคลองน้ำนิ่ง ทำให้มีผักตบชวาขึ้นหนาแน่น 

แผนเบื้องต้น ก็คือ ช่วงคลองหมายเลข 1 ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ คลองบ้านพร้าว จะมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำถาวรขนาด 3 ลบ.ม. ต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง / ช่วงคลองหมายเลข 2 ประตูระบายน้ำ คลองเชียงรากใหญ่ ไม่ต้องมีเครื่องสูบน้ำ และช่วงคลองหมายเลข 3 ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ คลองบางหลวงเชียงราก จะมีการเครื่องสูบน้ำถาวรขนาด 3 ลบ/ม. ต่อวินาที จำนวน 6 เครื่องยนต์

รมว.กระทรวงพาณิชย์เปิดงานโครงการ 'พาณิชย์…ลดราคา! Grand Sale ทั่วไทย'

กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าลดราคาสินค้า บรรเทาความเดือดร้อน ลดค่าครองชีพให้พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกร ทำให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยได้เพิ่มมากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ภายใต้โครงการพาณิชย์...ลดราคา! Grand Sale ทั่วไทย จำนวน 274 จุด ทั่วประเทศ 

คาดว่าสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนประมาณ 350 ล้านบาท ในครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานจำหน่ายสินค้าลดราคาให้แก่ประชาชน โดยได้รับความร่วมมืออันดีจากผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ/ห้างท้องถิ่น นำสินค้าอุปโภคบริโภค มาจำหน่ายรวม 10 หมวดสินค้า กว่า 1,000 รายการ โดยลดสูงสุด 75 % ประกอบด้วย หมวดอาหารสด อาหารแปรรูป ข้าวสาร ซอสปรุงรส สินค้าชำระร่างกาย ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ของใช้ประจำวัน เครื่องแต่งกาย เครื่องครัว/เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าชุมชน ระหว่างวันที่ 10 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริเวณลานกีฬาใต้สะพานพระราม 8 กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายสินค้าไฮไลท์ในราคาพิเศษทุกวัน อาทิ

รมว.สุชาติ มอบ ผู้ช่วยฯ ต้อนรับ ประธาน JETRO Bangkok และ JCC Bangkok นำเสนอผลสำรวจ สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการญี่ปุ่นต่อการค้าการลงทุนในไทย


( 10 ก.พ. 66) เวลา 15.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายจุน คุโรดะ (Mr.KURODA Jun) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ และ นายทาเคโอะ คะโต้ (Mr.Takeo Kato) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานขอขอบคุณ JETRO Bangkok และ JCC Bangkok ที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการและองค์การทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และมีบทบาทในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น และผลักดันการนำเข้าของสินค้าไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นและเผยแพร่บรรยากาศที่ดีของการลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเช่นนี้ ทำให้มีบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยเกิดการจ้างงานจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! 'กกพ.' ขานรับนโยบาย 'BCG Model' หนุนใช้พลังงานสะอาด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

(15 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ขานรับแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม โดยจะพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) และเป็นที่น่าชื่นชมการทำงานของทุกหน่วยงานในประเทศ ที่รับเอาแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรี เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม โดย กกพ. มีแนวทางที่จะสร้างกลไกเพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน ทั้งก๊าซธรรมชาติ ที่อาจปรับปรุงโครงสร้างรองรับการแข่งขัน พร้อมกับรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน โดยสนับสนุนการใช้พลังงานสีเขียว

โดยระยะเร่งด่วน กกพ. ให้ความสำคัญกับการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น พลังน้ำ พลังงานหมุนเวียน และในส่วนระยะยาว จะให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อรองรับการใช้พลังงานสีเขียว ตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจการค้า และการลงทุนของภาคเอกชนระหว่างประเทศ ซึ่งมีความต้องการซื้อและได้รับการรับรองการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ในการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนจากมาตรการภาษีคาร์บอนข้ามแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) และข้อกีดกันทางการค้าการลงทุนอื่น ๆ หนึ่งในกลไกสำคัญได้แก่ ไฟฟ้าสีเขียว หรือ Green Tariff ที่ออกแบบให้มีการขายไฟฟ้าพร้อมใบรับรอง (REC) ที่สามารถระบุที่มาของแหล่งผลิตไฟฟ้า เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียว โดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้า

'บิ๊กตู่' เร่งเดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์-ยางล้อ รองรับฐานผลิต EV ดันไทยเป็นศูนย์กลางมาตรฐานโลก

(15 ก.พ. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยนายกรัฐมนตรี ได้ติดตามและผลักดันการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างไปอย่างมาก

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 อนุมัติโครงการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ วงเงิน 3,705.7 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ส่วนทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 และระยะที่ 2 ส่วนทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วน โดยการก่อสร้างระยะที่ 1 ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว ส่วนระยะที่ 2 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จร้อยละ 55 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569

'อลงกรณ์' เร่งเดินหน้าเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) เผยปี2565 'ปลาทู' เพิ่ม 63% ชี้มาตรการปิดอ่าวของกรมประมงบรรลุความสำเร็จภายใต้นโยบาย '3ป.' ของรัฐมนตรีเกษตรฯ.

พร้อมประกาศปิดอ่าวไทยดีเดย์ 15 ก.พ. คุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูและสัตว์น้ำมีไข่ หวังเพิ่มผลผลิตและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูและสัตว์น้ำมีไข่ให้แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน 

โดยมี นายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกรมประมง สมาคมประมง องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เข้าร่วม ณ สวนสาธารณะปากน้ำปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอ่าวไทยทั้งหมด แบ่งเป็น บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2566 

ในบริเวณอาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางและเขตต่อเนื่องตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และบริเวณพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2566 ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในด้านเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี  

สำหรับพิธีประกาศปิดอ่าวฯ ในวันนี้ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกอบพิธีบวงสรวงพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และกล่าวคำปฏิญาณตนที่บริเวณด้านหน้าอ่าวประจวบฯ พร้อมกล่าวเปิดพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ มีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 พร้อมทั้งได้มอบแผ่นป้ายเงินอุดหนุนโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมงให้กับผู้แทนองค์กรประมงท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 200 ชุมชน 

โดยมอบให้กับผู้แทนสมาคมประมงพื้นบ้าน และมอบป้ายเงินอุดหนุนให้แก่ประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพร จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ สมาคมประมงด่านสวี หมู่ที่ 3 ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ชุมชนประมงท้องถิ่นบ้านควนเสาธง หมู่ที่ 9 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านกลางอ่าว 1 หมู่ที่ 13 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านกลางอ่าว 2 หมู่ที่14 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพรประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้านเขาแดง ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านปากคลอง ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงและการท่องเที่ยวบางสะพาน ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ 

กลุ่มประมงพัฒนาสาหร่ายทะเลเพชรบุรี ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ตำบลนาพันสาม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และได้มอบพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ตัวแทนชุมชนประมงท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 215,000 ตัว ประกอบด้วย กุ้งกุลาดำ 200,000 ตัว กุ้งแชบ๊วย 10,000 ตัว และปลากะพง 5,000 ตัว

 

จากนั้นนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดแผ่นป้ายประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ มีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 พร้อมพิธีปล่อยเรือตรวจประมงทะเลออกปฏิบัติงานในพื้นที่ ประกอบด้วย เรือตรวจประมงทะเลขนาด 60 ฟุต เรือตรวจประมงทะเล ขนาด 38 ฟุต เรือตรวจประมงทะเลขนาด 24 ฟุต เรือตรวจประมงทะเลขนาด 19 ฟุต และเรือยางตรวจประมงทะเล และได้เยี่ยมชมนิทรรศการจากหน่วยงานกรมประมงและนิทรรศการหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อาทิ นิทรรศการการจัดตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่เพาะพันธ์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมบอร์ดแสดงข้อมูล นิทรรศการผลการศึกษาทางวิชาการมาตรการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนกลาง อ่าวไทยรูปตัว ก นิทรรศการมาตรการปิดอ่าวไทยตอนกลางและมาตรการปิดอ่าวไทยตอนในในภาพรวม รวมไปถึงมาตรการที่เกี่ยวข้อง นิทรรศการการลงทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตประมงพื้นบ้านและเตรียมความพร้อมก่อนลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตประมงพื้นบ้าน นิทรรศการการควบคุมการทำประมงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนประมง การอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (MMPA) นิทรรศการการจัดทำหนังสือคนประจำเรือ (Sea book) ฯลฯ

BEV บริษัทย่อยในกลุ่ม EA รับมอบ Certificate ISO/EC 17025 : 2017ยกระดับมาตรฐานศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เทียบเท่าระดับสากล

บจก. ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ BEV บริษัทย่อยในกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ได้รับมอบ  มอก.17025-2561 (ISO/IEC 17025-2017)ความสามารถของปฏิบัติการทดสอบ โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นประธานในพิธีมอบให้แก่ นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์

'กฎหมาย' เปิดทางบุคคล 2 คน จดทะเบียนตั้ง 'บริษัทจำกัด' เอื้อเปิดกิจการขนาดเล็ก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจระยะยาว

รัฐบาลได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอน อุปสรรคเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและทยอยมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่23) พ.ศ. 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทได้เริ่มมีผลบังคับ โดยผลของกฎหมายจะเอื้อให้เกิดการก่อตั้งธุรกิจง่ายขึ้น มีความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดำเนินงาน สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23)ฯ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 8 พ.ย. 65 กำหนดให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 66 เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็น อาทิ การลดจำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเป็น 2 คน จากเดิมที่กำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 3 คน ซึ่งเกณฑ์ในเรื่องนี้จะทำให้มีการจัดตั้งธุรกิจได้ง่ายเอื้อต่อการเกิดธุรกิจขนาดเล็กหรือวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) มากขึ้น

กฎหมายยังมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดวิธีประชุมกรรมการให้สามารถดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย ส่วนการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้นได้กำหนดวิธีบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็น 2 กรณี ตามชนิดใบหุ้น โดยกรณีผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อมีการลดขั้นตอนการพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ส่วนกรณีหุ้นชนิดผู้ถือ ได้กำหนดให้มีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

'อลงกรณ์' มั่นใจประชาธิปัตย์คัมแบ็ค ประชาชนขานรับนโยบายธนาคารหมู่บ้านชุมชน2ล้านตอบโจทย์ใหญ่ 5 ข้อ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเงินสะพัด 4 ปี 3.6 ล้านล้านบาท

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความมั่นใจถึงอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์วันนี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะกลับมาเป็นพรรคทางเลือกหลักของประเทศอีกครั้งหนึ่งด้วยผลงาน นโยบายและความสามารถในการบริหารที่พิสูจน์แล้ว4ปียุคอุดมการณ์-ทันสมัย”ทำได้ไว ทำได้จริง”โดยเฉพาะนโยบายธนาคารหมู่บ้าน-ธนาคารชุมชน 2 ล้านบาทของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการขานรับดีมากจากเวที”ฟัง คิด ทำ”ระดับหมู่บ้านและชุมชนเพราะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและเป็นเมกกะโปรเจคทางเศรษฐกิจที่กระจายเม็ดเงิน 160,000 ล้านบาทลงไปถึงฐานรากคือหมู่บ้านและชุมชน 80,000แห่งใน77จังหวัดทั่วประเทศสามารถตอบโจทย์ 5 ข้อของประชาชนและประเทศได้แก่
1. แก้หนี้ แก้จน สร้างงาน สร้างเงิน สร้างอาชีพ
2. สร้างระบบการออมและสินเชื่อชุมชน
3. สร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชน
4. วางโครงสร้างระบบการเงินฐานรากใหม่
5. กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ

“เป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการวางรากฐานของระบบสถาบันการเงินระดับหมู่บ้านและชุมชนในรูปแบบธนาคารหมู่บ้านและธนาคารชุมชนพร้อมกันทั่วประเทศ76จัวหวัดและกรุงเทพมหานครด้วยทุนประเดิมเริ่มต้นแห่งละ2ล้านบาทจำนวน 8 หมื่นหมู่บ้านและชุมชนคิดเป็นเงิน 160,000 ล้านบาทโดยในทางเศรษฐศาสตร์เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ5รอบซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างน้อย 9 แสนล้านบาทต่อปี หรือ 3.6 ล้านล้านบาทใน 4 ปีแรกเป็นการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจและยังเป็นการวางรากฐานระบบการเงินใหม่ของประเทศในระดับฐานรากครอบคลุมทุกจังหวัด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top