Thursday, 2 May 2024
รถยนต์ไฟฟ้า

ล้ำหน้าไปอีกก้าว!! EA เปิดตัว EV Mini Truck MT30 รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกฝีมือไทย

คนไทยทำได้ EA เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% EV Mini Truck MT30 พร้อมจดทะเบียนเป็นรถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย ภายใต้นวัตกรรมไทย ยกระดับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบ New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

นับเป็นก้าวสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ด้านการคมนาคม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ออกแบบและพัฒนา ‘EV Mini Truck MT30’ รถกระบะไฟฟ้าฝีมือคนไทย 100% สำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษในภาคขนส่ง 

ทั้งนี้ EV Mini Truck MT30 หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้ประกอบการที่สนใจการใช้งานรถไฟฟ้า ที่คำนึงถึงการลดต้นทุนค่าขนส่งและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด (Li-Ion Battery) 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ผลิตโดย อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที (30-80%) ด้วยเทคโนโลยี DC Fast Charge จาก EA Anywhere ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่ม EA ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้การใช้งานยานยนต์เชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพสูงสุด 

ดาวกระจาย!! ค่ายรถ EV จีน สะเทือนบัลลังก์ ‘ญี่ปุ่น-ตะวันตก’

ค่ายรถยนต์จีนกำลังบุกตลาดโลกต่อเนื่อง หวังต่อกรกับแบรนด์ดังจากค่ายรถยนต์ยุโรป รวมถึงกระโดดเข้ามากวาดตลาดที่กำลังเติบโตอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบไม่หยุด

ในประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในหมุดหมายของค่ายรถยนต์จีน และพร้อมเข้ามากระชากส่วนแบ่งออกจากอกค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ที่เดิมครองตำแหน่งเบอร์ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาดถึง 80% มาช้านาน 

โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดจีนค่ายดังอย่าง BYD  ประกาศที่จะสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้าสาขาต่างประเทศแห่งแรกของบริษัทที่ไทย โดยเลือกที่ทำเลที่จังหวัดระยองในการสร้างโรงงาน เพื่อผลิตรถยนต์ป้อนตลาดในอาเซียน 

ด้าน Great Wall Motor ค่ายรถยนต์จากจีนอีกแห่ง ที่มาเปิดโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ในระยองเช่นกันก็เพิ่งบรรลุเป้าหมายผลิตรถยนต์คันที่ 1 หมื่นได้สำเร็จ ส่วน Hozon New Energy ค่ายรถยนต์จากเซี่ยงไฮ้ขอชิมลางด้วยการเปิดโชว์รูมแห่งแรกในไทยที่เซ็นทรัล พระราม 2

ไม่เพียงแต่ค่ายรถที่เข้ามาเปิดโชว์รูม หรือสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในไทยเท่านั้น!! 

ในตลาดเมืองไทยเอง ก็ยังมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาจำหน่ายด้วย โดยปัจจุบันมียอดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากตัวเลขล่าสุดพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2565 ไทยนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนแล้วถึง 59,375 คัน ยอดเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 176% และทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของตลาดส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน รองจากเบลเยียม และอังกฤษ

สาเหตุที่ตลาดรถยนต์ของไทยเป็นที่ดึงดูดใจของค่ายรถยนต์จากจีน สืบเนื่องจากที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลกจนได้รับสมญาว่าเป็น ‘ดีทรอยต์แห่งเอเชีย’ 

นอกจากนี้ ไทยยังเป็นชาติแรกในภูมิภาคนี้ที่รัฐบาลอนุมัติเงินสนับสนุนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงเงินตั้งแต่ 15,000 - 180,000 บาท รวมกับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแล้ว รวมมูลค่าสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท เพื่อกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้นทดแทนรถยนต์น้ำมัน 

ในภาคการผลิต รัฐบาลไทยยังให้ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจนถึงสิ้นปี 2023 แลกกับการที่บริษัทรถยนต์จีนจะมาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไปโดยมีเป้าหมายว่า 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้ไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก และดึงดูดค่ายรถยนต์อื่นๆ นอกจากจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สอดคล้องกับกระแสการขับเคลื่อนสู่สังคมปลอดคาร์บอนที่เป็นวาระของโลก คาดการณ์ว่าไทยจะมีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 2.7 ล้านคันภายในปี พ.ศ. 2583

ตอบคำถามอายุของรถ EV สั้นกว่ารถทั่วไปจริงหรือ?

ในยุคปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) นั้น ถือเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางทั่วโลก ตั้งแต่ในระดับของผู้คนทั่วไป แวดวงธุรกิจต่างๆ วงการวิชาการ ไปจนถึงระดับนโยบายภาครัฐ รวมถึงระหว่างประเทศด้วย นั่นเพราะการตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาเรื่องพลังงานที่มีอยู่จำกัด หรือที่เรียกว่า Non-Renewable Energy ซึ่งก็คือพลังงานน้ำมัน ที่วันหนึ่งจะหมดไปนั้น ทำให้ผู้คนหลากหลายฝ่ายทั่วโลกพยายามที่จะคิดหาทางออกจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่จะมาถึงนี้

ความคิดในการผันตัวออกจากการพึ่งพาพลังงานน้ำมันไปสู่พลังงานที่สะอาดและยั่งยืนกว่า จึงนำไปสู่การพูดคุยถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ทดแทนรถยนต์ทั่วไปที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งท้ายที่สุด การพูดคุยในเรื่องนี้ได้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ จนทุกวันนี้เราสามารถเห็นรถ EV วิ่งอยู่บนท้องถนนได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้คนทั่วไปที่มีสถานะเป็นผู้บริโภค การเปลี่ยนมาใช้รถ EV นั้นถือว่ามีอุปสรรคอยู่พอสมควร นั่นเพราะความไม่แน่ใจในเรื่องความคุ้มค่าและอายุการใช้งาน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากภาพจำที่เห็นว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปนั้นมีอายุสั้น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องแบตเตอรี่ ที่ในกรณีของรถยนต์ทั่วไปนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่อยู่ตลอด ๆ จึงอาจทำให้หลายคนมีความคิดว่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV นั้นจะมีอายุการใช้งานที่สั้น เช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าปกติอื่น ๆ วันนี้ จึงอยากชวนมาเข้าใจถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้กัน

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจว่ารถยนต์หรือยานยนต์ไฟฟ้า (EV) นั้นถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงไม่กี่สิบปีให้หลังนี้ ในขณะที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงนั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างยาวนานมากกว่าร้อยปี อีกทั้งยังมีการปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดๆ เรียกได้ว่าทุกวันนี้เครื่องยนต์สันดาปมีการพัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์แบบแล้ว ในขณะที่เทคโนโลยี EV นั้นยังคงอยู่ในช่วงแรกเริ่มเท่านั้น

อย่างไรก็ตามการพัฒนาขีดความสามารถของ EV นั้นก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดๆ จนปัจจุบันนั้นมีการทดลอง ทดสอบ และตรวจสอบ จนสามารถผลิตและนำรถยนต์และยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ได้จริง และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับรถยนต์ทั่วไป ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปและน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น รถ EV จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ให้ทัดเทียมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่องของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของ EV 

สถาบันทดลองพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ (National Renewable Energy Laboratory; NREL) ของกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและสรุปเป็นข้อเสนอแนะถึงผู้ผลิต EV ว่า “เพื่อแข่งขันกับรถยนต์ธรรมดา รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric-Driven Vehicles; EDVs) และแบตเตอรี่ของ [รถนั้น] จะต้องมีสมรรถนะใช้งานได้ 10 ถึง 15 ปี ในสภาพอากาศและในวัฏจักรการใช้ที่แตกต่างออกไป” [1]

โดยอีกหนึ่งมาตรฐานที่ทางผู้ผลิต EV ต้องยึดถือ โดยเฉพาะผู้ผลิตสัญชาติอเมริกา นั่นก็คือ การรับประกันแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายของรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ กำหนดให้แบตเตอรี่ของรถ EV จะต้องได้รับการรับประกันคุณภาพให้มีอายุการใช้งานอยู่ที่ 8-10 ปี หรือเทียบเท่าระยะทาง 100,000-150,000 ไมล์ (ประมาณ 160,000-240,000 กิโลเมตร) [2] ซึ่งแม้ประเทศอื่นอาจจะไม่ได้มีการออกกฎหมายเช่นเดียวกันนี้ แต่ผลของกฎหมายนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของผู้ผลิตอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

หากจะยกตัวอย่างผู้ผลิตที่ถือเป็นหนึ่งในผู้นำเจ้าสำคัญของเทคโนโลยี EV นั่นก็คือ เทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors) ซึ่งในปีค.ศ. 2019 อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าแบตเตอรี่ของรถ Tesla Model 3 นั้นสามารถรองรับการใช้งานได้ถึง 300,000-500,000 ไมล์ (ประมาณ 482,000-804,000 กิโลเมตร) เลยทีเดียว [3] ซึ่งเมื่อคำนวณด้วยตัวเลขการใช้รถทั่วไปของชาวอเมริกันจากกระทรวงคมนาคมนั้นเท่ากับ 22-37 ปี [4] อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าตัวเลขที่ผู้ผลิตโฆษณาโดยมากแล้วจะต้องจะมีความเกินจริงอยู่ โดยตัวเลขจริงๆ นั้นจะอยู่ที่ 30-37 เปอร์เซ็นต์ [5] อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถ Tesla Model 3 จึงน่าจะอยู่ที่ราว 15-25 ปี

ตัวอย่างของเทสลานั้นถือเป็นกรณีที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ตามมาตรฐานของฝั่งผู้ผลิตที่ได้กล่าวไปนั้น เราอาจจะอุ่นใจได้ว่าโดยทั่วไปแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV นั้นจะมีอายุใช้งานอย่างต่ำคือ 10 ปีโดยประมาณ ซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงตัวเลขก็อาจจะมีความแตกต่างไปจากนี้ได้ จากปัจจัยต่างๆ ของผู้ใช้เอง โดย 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถ EV นั้นก็คือ ความร้อน พฤติกรรมการชาร์จ และพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้นั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อย่างความร้อนก็อาจเกิดจากการใช้งานที่หนักเกินไป หรือการชาร์จที่ปล่อยให้แบตเตอรี่หมดบ่อยครั้ง (deep discharges) หรือรวมทั้งการเลี้ยงให้เต็มอยู่ตลอดเวลาเกินไป (Overcharging) [6] อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้นั้นสามารถเรียนรู้ให้ไม่เกิดผลเสียได้หากผู้ใช้ทำความเข้าใจและปรับพฤติกรรมให้ถูกต้อง

จับตา!! 8 ปีข้างหน้า 50% ของรถยนต์ใหม่ EV ครองตลาด | UNLIMITED ประเทศไทย EP.2

คนไทยพร้อมหรือยังกับการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
จับตา!! 8 ปีข้างหน้า 50% ของรถยนต์ใหม่ EV ครองตลาด
.
UNLIMITED ประเทศไทย เรื่องสนุกอุตสาหกรรม 
ดำเนินรายการโดย ดร. ตั้น กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
.
🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES Y WORLD
YouTube: THE STATES TIMES Y WORLD
TikTok: THE STATES TIMES Y WORLD
.
#UNLIMITEDประเทศไทย
#เรื่องสนุกอุตสาหกรรม
#อุตสาหกรรมไทย
#รถยนต์ไฟฟ้า
#รถEV

BZ4X รถ EV คันแรกจากค่ายโตโยต้า พร้อมบุกตลาดไทย ในราคาเปิดตัว 1,836,000 บาท

โตโยต้า ไม่ยอมน้อยหน้าค่ายอื่น เปิดศึกชิงพื้นที่รถอีวี ด้วยการเปิดตัว Toyota bZ4X รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าล้วน 100 % คันแรกของค่าย 

BZ4X เป็นรถแนว SUV ขับเคลื่อน 4 ล้อ 4WD กับขุมกำลัง 218 แรงม้า แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 337 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ของรถ เร่งแรงได้ดั่งใจ เหยียบ 0-100 กม. ได้ภายใน 6.9 วินาที วิ่งได้ระยะทางสูงสุด 411 กิโลเมตร ต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง กับแบตเตอรี่ Lithium-ion ความจุ 71.4 kWh รองรับการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC สูงสุด 6.6 kW และการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC สูงสุด 150 kW นั่นทำให้การใช้ Fast Charge อัดประจุจาก 0 – 80% ได้ภายในเวลา 30 นาที  

แบตเตอรี่ลูกนี้ ทางค่ายโตโยต้า ก็ได้เคลมไว้ว่า สามารถเก็บประจุไฟได้มากถึง 90% แม้จะใช้งานไปแล้วมากกว่า 10 ปีก็ตาม นอกจากนี้แบตเตอรี่ก็ยังมีฉนวนหุ้มระบบไฟฟ้าแรงดันสูงกันน้ำถึง 3 ชั้น และระบบล็อคที่ข้อต่อสายไฟ 2 ชั้น ทำให้ผู้ขับขี่สามารถขับลุยไปได้อย่างปลอดภัย

พวงมาลัยเป็นพาวเวอร์ไฟฟ้าหุ้มหนัง EPS (Electric Power Steering) รัศมีวงเลี้ยวแคบสุดที่ 5.7 ม. ปรับระดับได้ 4 ทิศทาง สูง-ต่ำ และใกล้-ไกล รวมทั้งเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่ด้วย ปุ่มควบคุมเครื่องเสียงที่พวงมาลัย

EQS 500 4MATIC AMG Premium เบนซ์ไฟฟ้า ประกอบในไทย เปิดราคาไว้ 7,900,000 บาท

เมอร์เซเดส-เบนซ์ EQS 500 4MATIC AMG Premium ยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า 100% รุ่นแรกที่ประกอบในโรงงานเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ที่ผสานทั้งเทคโนโลยี ดีไซน์ ฟังก์ชันการใช้งาน และการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนซึ่งเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้เปิดไลน์การผลิตภายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการไปแล้ว

โดยรถยนต์คันนี้รังสรรค์ขึ้นด้วยแพลตฟอร์มของยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ในทุกรายละเอียด ทั้งการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม เรื่อยไปจนถึงดีไซน์ภายนอกและภายในที่สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นยานยนต์สำหรับโลกอนาคตจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ มาพร้อมขุมพลังไฟฟ้า 100% จากมอเตอร์ไฟฟ้าคู่พร้อมความจุของแบตเตอรี่ขนาด 108.4 kWh ให้กำลังสูงสุด 449 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 828 นิวตันเมตร ให้อัตราเร่งที่ยอดเยี่ยมจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงในเวลา 4.8 วินาที พร้อมทำความเร็วสูงสุดได้ 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง 

GWM แจงลูกค้าอย่าตกใจเปลี่ยนแบต 6 แสน ชี้ แค่ประเมินเบื้องต้น ยันจากนี้จะประสานประกันทุกเคส

GWM ชี้แจง ค่าเปลี่ยนแบต Ora Good Cat กว่า 6 แสนบาท ระบุ เป็นการประเมินเบื้องต้น จริงๆ เปลี่ยนแค่ฝาครอบพอ จัดตั้ง HOTLINE สายด่วนเพื่อรับปัญหาเกี่ยวกับแบตโดยเฉพาะ พร้อมส่งคนจาก สนง.ใหญ่คุยประกันทุกเคสเกี่ยวกับแบต

ตามที่มีข่าวเกี่ยวกับรถยนต์ ORA GOOD CAT ที่แผงครอบแบตเตอรี่ใต้ท้องรถได้รับความเสียหาย หลังจากที่บริษัทประกันภัยได้ประเมินมูลค่าการซ่อมแล้วพบว่ามูลค่าการซ่อมมากกว่า 70% ของทุนประกัน ทางบริษัทประกันภัยจึงเสนอคืนทุนประกันเต็มจำนวนให้กับลูกค้านั้น

ล่าสุดทาง เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทุกท่านทราบดังนี้

ในกรณีอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของรถไฟฟ้าและเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูกค้า เกรท วอลล์ มอเตอร์ ถือเป็นเรื่องสำคัญและมีการกำหนดขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ โดยทีมผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญและช่างเทคนิคได้เข้าทำการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่โดยใช้เครื่องมือพิเศษเฉพาะทาง โดยการตรวจสอบนี้จะครอบคลุม 3 ด้าน การทดสอบระบบแรงดันไฟภายในแบตเตอรี่และการทำงานของแบตเตอรี่ การตรวจสอบการรั่วไหลของระบบหล่อเย็น (Coolant) ภายในแบตเตอรี่ การตรวจสอบการรั่วไหลของฝุ่นและอากาศเข้าในแบตเตอรี่

สำหรับเคสนี้ จากการทดสอบด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง เราพบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ส่งผลกับตัวแบตเตอรี่ภายในใดๆ ทั้งสิ้น จึงวิเคราะห์ให้ทำการเปลี่ยนเฉพาะฝาครอบแบตเตอรี่ที่ได้รับความเสียหายจากการกระแทกเท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายจะยังอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของบริษัทประกัน ซึ่งราคาที่มีการส่งให้บริษัทประกันเพื่อคำนวณความเสียหายในเบื้องต้นนั้น เป็นราคาของการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทั้งลูก ซึ่งเป็นการประเมินเบื้องต้นจากการสังเกตจากลักษณะภายนอกเท่านั้น

ซึ่งทางบริษัทฯ ต้องขออภัยกับการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ที่ก่อให้เกิดความกังวลกับทางลูกค้าและผู้ที่ได้รับข่าวสารมา ณ ที่นี้ด้วย

เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและลดความกังวลของลูกค้าของเรา บริษัทฯ ขอชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานและเริ่มดำเนินการ 'ในทันที' ดังต่อไปนี้

ลูกค้าที่เกิดปัญหาอุบัติเหตุและแบตเตอรี่ได้รับความเสียหาย ทาง เกรท วอลล์ มอเตอร์ สำนักงานใหญ่ จะเข้าไปร่วมพูดคุยและเจรจาแก้ปัญหากับบริษัทประกันให้กับลูกค้าใน 'ทุกเคส'

จัดตั้ง HOTLINE สายด่วนเพื่อรับปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่โดยเฉพาะ

‘อลงกรณ์’ ดันไทยเป็นฮับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของอาเซียน (ASEAN Ev Conversion Hub) เสนอแผนปั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแนวใหม่ แนะรัฐออก 8 มาตรการส่งเสริมการแปลงรถยนตร์เบนซินดีเซลเป็นรถไฟฟ้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ‘อนาคตประเทศไทยภายใต้ความท้าทายใหม่’ ในงาน ‘We Change ... BEV Conversion’ โดยมุ่งเน้นถึงทิศทางแนวโน้มอุตสาหกรรม แนวทางสนับสนุนของภาครัฐ องค์กร เพื่อลดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ซึ่งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) ร่วมกับ บริษัท สื่อสากล จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ได้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล แผนการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน ตลอดจนสร้างกระแสความรับรู้มาตรการส่งเสริมภาครัฐ มุมมองการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าและจักรยายนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจรายย่อยและประชาชนทั่วไป โดยมี นายสุเมฆ ปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนา ณ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 The 39th Thailand International MOTOR EXPO 2022 ห้องประชุมจูปีเตอร์ 8-9 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็คเมืองทองธานี

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวปาถกถาถึงศักยภาพและอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย โอกาสและความท้าทายของสถานการณ์สำคัญของโลก และการตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Chang) โดยรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ 

โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) กำหนดนโยบาย 30@30 >> การผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030โดยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) 

Tesla บุกทุบตลาดไทยเริ่มต้นเพียง 1.75 ล้านบาท!! | TIME TO KNOW EP.5

TIME TO KNOW EP.5

Tesla บุกตลาดไทย มาในราคาน่าคบหา

.

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

‘บิ๊กตู่’ หนุน ไทยเป็นฮับ EV ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมตั้งเป้าผลิต 250,000 คันต่อปี ภายในปี 2568

(19 ธ.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ โดยในปี 2568 วางแผนที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เป็นจำนวน 250,000 คันต่อปี ซึ่งจะทำให้ภายในปี 2573 สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท

นายอนุชา กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมยานยนต์ไทย และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ โดยตั้งเป้าให้ปี 2568 จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้จำนวน 250,000 ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 10% ของจำนวนการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศ และในปี 2573 จะเพิ่มจำนวนการผลิตเป็น 750,000 คันต่อปี หรือ 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 2,500,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) 375,000 คัน รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicle: HEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (Plug-In Hybrid Electric Vehicle: PHEV) 375,000 คัน ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ GDP ของประเทศไทย เป็นจำนวนเงินถึง 200,000 ล้านบาท และเพิ่มอัตราการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ถึง 30,000 อัตราต่อปี

นายอนุชา กล่าวว่า รัฐบาลได้พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจน ออกมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือแพคเกจรถยนต์ EV มาตรการลดภาษี EV ปี 2565 - 2568 ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมการดำเนินนโยบายของรัฐบาล 

นายอนุชา กล่าวว่า โดยรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เคยออกมาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิต รถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ปี 2563 ได้แก่ กรณีที่มีขนาดการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และหากมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สามารถได้รับสิทธิเพิ่ม กรณีขนาดการลงทุนน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565 มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน มีปริมาณการผลิตจริงมากกว่า 10,000 คันต่อปี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top