Thursday, 2 May 2024
พรรคประชาธิปัตย์

‘ศิริโชค’ เย้ย ‘นักการเมือง’ ขยันอวยตัวเอง ทั้งที่คะแนนนิยมรูด ลือ! ขอซบพรรคคู่แข่ง

นายศิริโชค โสภา ว่าที่ผู้สมัครส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา โพสตข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ผมรู้สึกตลกกับนักการเมืองบางคน ที่ชอบโพสต์เชียร์ตัวเอง หรือจ้างให้นักข่าวเขียนเชียร์ตัวเอง และส่งไปตามกลุ่มต่าง ๆ แต่ก็เข้าใจได้ครับ เพราะตอนนี้คะแนนเสียงตกมาก อย่าว่าแต่อันดับ 2 เลย ตกไปถึงอันดับ 3 อันดับ 4 โน่น หัวคะแนนที่เคยสนับสนุน ตอนนี้ถอยออกไปเกือบหมดแล้ว เพราะแกสร้างวีรกรรมไว้เยอะ  

พวกประเภทปากกล้า ขาสั่น นี่ผมชอบจังครับ สร้างภาพว่าคะแนนเสียงดี แต่ดันไปขอลงสมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ทำไมครับความลับไม่มีในโลกนี้ 

ปชป.รอวันฟื้น!! เชื่อ! จะกู้วิกฤตศรัทธาคืนมาได้อีกครั้ง แม้กระแสนิยม ‘หัวหน้าพรรค’ ตกต่ำสุดขีด

เมื่อพลพรรคประชาธิปัตย์สามัคคีกันลุกขึ้นสู้ “เขาจะกลับมาฟื้นตัวเสมอ”

แม้มีคนกล่าวว่า สถานการณ์เวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ตกต่ำสุดขีดแล้ว ตายแล้ว ไปที่ไหนก็กระแสไม่ค่อยจะมี อันเป็นการสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้มาพียง 52 ที่นั่งจากที่เคยได้เกิน 100 มาแล้ว แถมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์สูญพันธุ์ ไม่มี ส.ส.เลยแม้แต่คนเดียว ภาคใต้รังของประชาธิปัตย์ก็ได้มาแค่ 21 ที่นั่ง อันเกิดจากคำพูดเพียงประโยคเดียวของ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเวลานั้น “ไม่เอาประยุทธ์” ในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งคงคิดว่าเป็นวรรคทองที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งได้ อันอาจจะเกิดจากการประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์ว่า คนไทยไม่เอาเผด็จการ ไม่เอาประยุทธ์แล้ว

แต่วรรคทองดังกล่าวกลับเป็นหอกกลับมาทิ่มแทงพรรคประชาธิปัตย์จนถึงทุกวันนี้ และหลังเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ก็นำทีมร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จนถึงทุกวันนี้ อภิสิทธิ์รับผิดชอบด้วยการลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลาออกจาก ส.ส. และมี 'จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์' ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคแทน

นั้นคือประเด็น และเหตุผลที่คิดกันว่า พรรคประชาธิปัตย์ตกต่ำ คนไม่เลือกแล้ว แต่ถ้าย้อนกลับไปมองในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเจอประสบการณ์ตกต่ำมาแล้วหลายครั้ง และเมื่อไหร่ก็ตามที่พรรคประชาธิปัตย์กลับมาสามัคคีกัน สร้างเนื้อตั้งตัวใหม่ ประชาธิปัตย์ก็จะกลับมาฟื้นเหมือนเดิน

ย้อนกลับไปเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งขึ้นโดยบุคคลคณะหนึ่ง มี 'ควง อภัยวงศ์' เป็นหัวหน้าพรรค ประกาศเจตนารมณ์ และจุดยืนชัดเจน 10 ข้อ ที่โดดเด่น เช่น ไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงสนับสนุนผลักดันให้มีการกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารในท้องถิ่น อันถือเป็นนโยบายที่ก้าวหน้า และทันสมัยที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

พรรคประชาธิปัตย์ก้าวเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ล้มแล้วลุกตามสถานการณ์ทางการเมือง

จนถึงปี 2522 ผลการเลือกตั้งไม่น่าเป็นที่พอใจนัก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตกต่ำ ผลการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครพรรคประชาธิปัตย์ได้มาเพียง 1 คน คือ พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ในเวลานั้นรับผิดชอบด้วยการลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ ได้รับเลือกให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค ทำหน้าที่กอบกู้พรรค พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - 2525 หลังหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กระแสความนิยมตกต่ำอย่างรุนแรงและสมาชิกในพรรคเกิดความแตกแยกกัน 

พันเอกพิเศษถนัด คอร์มันตร์ เป็นนักกฎหมาย เป็นนักการทูต เป็นนักการเมืองที่ฉะฉานนักข่าวถ้าไม่แน่จริง ไม่ชัดเจนในประเด็น ไปถาม พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ จะถูกย้อนถามกลับมา ทำเอา “นักข่าวก็ไปไม่เป็น” เหมือนกัน สมัยนั้นต้องระดับ 'สุทธิชัย หยุ่น' ถึงจะเอาอยู่ แต่ก็ถูกพันเอกพิเศษถนัด คอร์มันตร์ ถามย้อนกลับเอาไม่น้อยเหมือนกัน แต่ด้วยความเขี้ยวของสุทธิ หยุ่น ก็ถือว่า 'เอาอยู่' 

พันเอก(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ต้องเข้ารับภาระในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค เพื่อประคองพรรคให้อยู่รอดต่อไปได้

กล่าวกันว่า พันเอก (พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นการบริหารที่ยาก เป็นการบริหารท่ามกลางความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกับอีกขั้วการเมืองในพรรค คือขั้วของ 'พิชัย รัตตกุล' ซึ่งในขณะนั้นนายพิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ด้วย เนื่องจากมีสภาพเหมือนคู่แข่งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่คนละรัฐบาล และต่างขั้วกัน โดยกล่าวกันในวงสนทนาว่า ถ้ามีผู้ใดถามถึง พิชัย กล่าวกันว่า พันเอก(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอ ๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆนี้”

หมดยุคของพันเอก(พิเศษ) ในปี 2525 พิชัย รัตตกุล ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ นำพาพรรคให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ด้วยผลการเลือกตั้งที่คว้าชัยมาถึงหลัก 100 ที่นั่ง ถือว่า พรรคประชาธิปัตย์กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่พิชัยก็ก้าวพลาดจนได้ เมื่อนำพาพรรคเข้าร่วมรัฐบาล แต่กลับไม่ทำตามข้อตกลงกับกลุ่ม 'เฉลิมพันธ์-วีระ' ในการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีให้กับกลุ่ม ส.ส.ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ความขัดแย้งก่อตัวขึ้นอีกครั้งสะสมมาเรื่อย ๆ จนมาแตกหักในวันที่ 10 มกราคม 2530 อันเป็นวันเลือกตั้งหัวหน้าพรรค มีการแข่งขันกันสองขั้ว ขั้วหนึ่งมี 'ชวน หลีกภัย' เสนอตัวเป็นหัวหน้าพรรค อีกขั้ว มี 'เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์' ลงชิง ต่างฝ่ายต่างมีผู้สนับสนุน อันนำมาซึ่ง 'กบฏ 10 มกรา' แถลงข่าวไล่เตะ ไล่ถีบกันรายวัน

'อลงกรณ์' มั่นใจประชาธิปัตย์ภาคกลางได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น เร่งเดินหน้าฟื้นศรัทธาประชาชนพร้อมชูธงนำประเทศก้าวข้ามความขัดแย้งฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจการเมือง

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมนาสมาชิกและเครือข่ายแกนนําพรรคประชาธิปัตย์ 26 จังหวัดภาคกลางและบรรยายพิเศษในหัวข้อ” นโยบายและผลงานพรรคประชาธิปัตย์กับการเลือกตั้งครั้งหน้า”ระหว่างวันที่ 16- 17 ธันวาคมนี้ที่จังหวัดเพชรบุรี

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของประเทศอยู่มา76ปีถือเป็นสถาบันทางการเมืองหลักผ่านร้อนผ่านหนาวเป็นฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลปกป้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและเมื่อเป็นรัฐบาลได้สร้างผลงานเป็นรูปธรรมมาหลายยุคหลายสมัยในการวางรากฐานเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในช่วง30ปีที่ผ่านมา(2535-2565)ตั้งแต่ยุคหัวหน้าพรรค นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันครอบคลุมการพัฒนาประเทศทุกมิติ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ การพัฒนาท้องถิ่น การกระจายอำนาจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาการศึกษาและการสาธารณสุข เช่นการจัดตั้ง กระทรวงแรงงาน กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โครงการนมโรงเรียนและอาหารกลางวัน องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพสต. ) กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มหาวิทยาลัยภูมิภาค ถนนสี่เลน รถไฟทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิ โฉนดชุมชน การปฏิรูปที่ดิน กองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โครงการประกันรายได้เกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม77จังหวัด คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน7,255ตำบล และการสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกกว่า8.5ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา เป็นต้นและในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติทางการเมืองและทางเศรษฐกิจเช่นต้มยำกุ้งและแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารจนประเทศรอดพ้นปลอดภัยจากวิกฤติหลายต่อหลายครั้ง

 

‘อลงกรณ์’ ปลื้ม ปชช.โหวตเชื่อมั่น ‘ประชาธิปัตย์’ ชู เป็นสถาบันการเมืองหลัก ไร้ประวัติทุจริต

‘อลงกรณ์’ ขอบคุณประชาชนโหวตเชื่อมั่นพรรคประชาธิปัตย์ ยืนหนึ่งสถาบันทางการเมืองหลักของประเทศ พร้อมยินดีกับพรรคภูมิใจไทยและ ‘อนุทิน’ ที่ประชาชนเชื่อมั่น เตรียมนำขนมหม้อแกงเมืองเพชรเป็นขนมใจพบหารือปมปัญหา 2 พรรค

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคและที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ เขียนแสดงความเห็นในไลน์กรณีซูเปอร์โพลเปิดเผยผลสำรวจภาพจดจำ “ที่สุดแห่งปีและที่สุดของพรรคการเมือง” วันนี้ว่า ขอขอบคุณซูเปอร์โพลและพี่น้องประชาชนที่โหวตจดจำพรรคประชาธิปัตย์เป็นที่สุดของพรรคการเมืองแห่งปีในฐานะสถาบันทางการเมืองหลักของประเทศและเป็นพรรคขวัญใจของเกษตรกร ไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริตและนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นผู้นำพรรคการเมืองที่ประชาชนเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาปากท้อง รายได้และหนี้สินของประชาชนอันดับที่3

“กำลังใจของพี่น้องประชาชนที่มอบให้ในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อนำประเทศฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจและก้าวข้ามความขัดแย้งทางการเมืองให้สำเร็จโดยเร็วให้สมกับความไว้วางใจของประชาชน

พร้อมกันนี้ ขอแสดงความยินดีกับพรรคภูมิใจไทยและนายอนุทิน ชาญวีระกุล หัวหน้าพรรคที่ได้รับการโหวตเป็นพรรคการเมืองแห่งปีในภาพการจดจำการบริหารวัคซีนโควิดและผู้นำอันดับหนึ่งที่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาปากท้องรายได้และหนี้สินของประชาชน

ก็ถือโอกาสวันดี ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยขอบิณฑบาตปมปัญหา 2 พรรค เพราะประชาชนไม่อยากเห็นความขัดแย้งทางการเมือง สัปดาห์หน้าจะเอาขนมหม้อแกงเมืองเพชรไปฝากพร้อมจับเข่าสนทนากันครับ” นายอลงกรณ์เขียนทิ้งท้ายในที่สุด

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง 'ที่สุดแห่งปี ที่สุดแห่งพรรคการเมือง' กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,190 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 14 – 17 ธ.ค.2565 เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมายาวนานที่สุด พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 56.3 รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 20.4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 18.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 4.4 ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล เป็นต้น 

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ถูกคาดหวังให้ช่วยเหลือเกษตรกร พบ 5 อันดับแรกที่มากที่สุดคือ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 43.0 รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 39.8 พรรคเพื่อไทยร้อยละ 30.7 พรรคพลังประชารัฐร้อยละ 26.9 และพรรคก้าวไกล ร้อยละ 9.6

‘จักษ์ พันธ์ชูเพชร’ อดีต กปปส. ซบ ปชป. ลั่นศรัทธาอุดมการณ์ พร้อมขอ ลงส.ส.เขต

(21 ธ.ค. 65) ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ดร.จักร พันธ์ชูเพชร อดีตแกนนำ กปปส. เดินทางเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมให้สัมภาษณ์ถึงการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตนตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในนามพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เรียบร้อยแล้ว ทั้งยังได้มีโอกาสเข้าพบและถ่ายรูปคู่กับหัวหน้าพรรค ซึ่งตนสนใจที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตในนามพรรคประชาธิปัตย์ และพร้อมที่จะเดินหน้างานการเมืองไปกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยความศรัทธาในอุดมการณ์ของพรรคและหัวหน้าพรรค ส่วนพรรคจะพิจารณาอย่างไรก็ขอให้เป็นดุลพินิจของพรรคต่อไป

พิษณุโลก ปชป.เปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก ตัวเต็งร่องหน "จุรินทร์"ปัดตอบแคนดิเดทนายกฯ

วันที่ 25 ธันวาคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์/รองนายกรัฐมนตรี/และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายจุติ ไกรฤกษ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายนราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต ในพื่นที่จังหวัดสุโขทัย และพิษณุโลก เดินทางมาที่ห้องประชุมโรงแรมท๊อปแลนด์พลาซ่า โดยมีแฟนพันธ์แท้-สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ร่วมสัมมนาเพื่อตรียมพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง โดยไฮไลท์สำคัญ คือ การเปิดตัวผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ จ.พิษณุโลกแบบบัญชีรายชื่อ คือ นายจุติ ไกรฤกษ์ และ แบบแบ่งเขตทั้ง 5 เขตเลือกตั้ง ปรากฏว่า พอแนะนำตัวประกาศรายชื่อว่าที่ผู้สมัคร ปชป.แบบแบ่งเขต 5 คน ขึ้นเวที กลับยืนบนเวทีเพียง 4 คนเท่านั้น หายไป 1 คน 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ฝากไว้คือ ค่าตอบแทนของ อสม., ยกฐานะ รพ.สต.,ค่าตอบแทนผู้สูงอายุ ฯลฯ นโยบายสำคัญ คือ ผลงานประกันราคาข้าว ซึ่งคนพิษณุโลกปลูกข้าวจำนวน 78,000 ราย โอนเงินให้ชาวนาตลอดระยะเวลา 3 ปี อุดหนุนชาวนาทั้งสิ้น 4,200 ล้านบาท เฉลี่ย 5,300 บาทต่อราย  ส่วนเรื่องการเมืองนั้น หากจะยุบสภาไม่เกินวันที่ 23 มีนาคม 2566 หลังจากนั้นคือ รัฐบาลจะอยู่ครบเทอมเพื่อเลือกตั้งใหม่ 7 พฤษภาคม  พิษณุโลก คือ เมืองหลวง ภาคเหนือตอนล่าง การเลือกตั้งรอบนี้ พิษณุโลกมี 5 เขตเลือกตั้ง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้ประกาศตัวผู้สมัคร ส.ส.แบ่งเขตในเขต 1 คือ รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร อดีตรองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อดีตที่ปรึกษา กระทรวงแรงงาน และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เขต 2. นายวันชัย ทิมชม อดีตสาธารณสุขอำเภอ หลายอำเภอของจังหวัดพิษณุโลก  3.นายพงษ์มนู ทองหนัก รอง นายก อบจ.พิษณุโลก 4.นางสาวมุทิตา นุชทองคำ  และ เขต 5 นายคณิศร มาดี อดีต ผู้สมัคร ส.ส.ปชป.พ่ายแพ้ไปเพียงกว่า 2,000 คะแนน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายก อบต.หนองกระท้าว อำเภอนครไทย แต่วันนี้กลับไม่ได้เดินทางมาโชว์ตัวบนเวทีแต่อย่างใด  

‘จุรินทร์’ บุกพิษณุโลก เปิดตัว 5 ผู้สมัคร ส.ส. มั่นใจ ‘ประกันรายได้’ มัดใจเกษตรกร เตรียมดันพิษณุโลกเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่าง

‘จุรินทร์’ ควง ‘จุติ-นราพัฒน์’ เปิดตัว 5 ผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก สู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า มั่นใจ ‘ประกันรายได้’ มัดใจเกษตรกร เตรียมดันพิษณุโลกเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่าง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรค ดูแลภาคเหนือ และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ทั้ง 5 เขตการเลือกตั้ง ได้แก่ นายจักษ์ พันธ์ชูเพชร อดีตผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร นายพงษ์มนู ทองหนัก รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก นางสาวมุธิตา ทองคำนุช อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ นายคณิศร มาดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระท้าว และนายวันชัย ทิมชม  สาธารณสุข 5 อำเภอ ที่ใกล้ชิดชาวพิษณุโลก และยังมีนายจุติ ที่จะลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ โดย บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีประชาชนชาวพิษณุโลกมาให้การต้อนรับ พร้อมให้กำลังใจมอบดอกไม้ คล้องพวงมาลัยให้นายจุรินทร์ ขอถ่ายรูปเซลฟี่ และอวยพรให้นายจุรินทร์เป็นนายก รัฐมนตรีสมัยหน้าดังกึกก้องทั้งห้องประชุม

โดยนายจุรินทร์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวช่วงหนึ่งว่า วันนี้ถือเป็นโอกาสดีเป็นโอกาสพิเศษที่ได้นำคณะพรรคประชาธิปัตย์มาพบชาวพิษณุโลกพร้อมกันๆ ซึ่งเราให้ความสำคัญกับพิษณุโลกเพราะ 1. พิษณุโลกคือเมืองหลวงของภาคเหนือตอนล่าง  2. ชาวพิษณุโลกกับพรรคประชาธิปัตย์ผูกพันทางการเมืองยาวนาน  3. ผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ผูกพันกับชาวพิษณุโลกตลอดมาโดยเฉพาะตั้งแต่มาร่วมรัฐบาลชุดนี้

เก่าแก่ที่สุด!!

รู้จัก ‘พรรคประชาธิปัตย์’ หรือชื่อย่อ ปชป. (Democrat Party) สถาบันการเมืองเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2489 โดยนายควง อภัยวงศ์ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึง 76 ปี และผ่านสถานการณ์การเมืองมาแล้วทุกรูปแบบ

'นิพนธ์' ยืนยัน พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยทิ้งชาวประมง แก้ปัญหามาโดยตลอด ล่าสุดตั้งงบประมาณ พันกว่าล้าน เพื่อนำเรือออกนอกระบบ

นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรค และผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถึง 'ยุทธศาสตร์ 3 ส' ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ใช้ในการหาเสียง และเป็น นโยบายในการพัฒนา ประเทศในทุกด้าน ถ้าพรรคสามารถเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งในสมัยหน้าว่าเป็น 'ยุทธศาสตร์' ที่มีการ ครอบคลุม ทั้งหมด จาก 'ยุทธศาสตร์ 3 ส' คือ สร้างเงิน,สร้างคน ,สร้างชาติ

ส่วนในกรณีของการช่วยเหลือชาวประมง นั้น พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญในเรื่องของอาชีพการทำประมงที่มีผู้ประกอบอาชีพประมงในประเทศ 23 จังหวัด ล่าสุด มีการตั้งงบประมาณ จำนวน 1,806 ล้าน เพื่อนำเรือประมงออกนอกระบบจำนวน 1,007 ลำ เพื่อเป็นการช่วยชาวประมง ที่ไม่สามารถนำเรือไปทำการประกอบการประมงได้ ตามกฎหมาย ไอยูยู ซึ่งการนำเรือที่ไม่ถูกต้องออกนอกระบบ เพื่อเป็นการช่วยให้ได้รับเงินชดเชยเพื่อนำไปประกอบอาชีพประมงหรืออื่น ๆ เป็นการสร้างความสมดุล ระหว่างเรือประมงกับสัตว์น้ำที่มีอยู่ เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพประมง

“ประชาธิปัตย์” ไม่ใช่”ตะเกียงไร้น้ำมัน” ที่ ”พรรคการเมืองคู่แข่ง” จะเข้ามา ”ตีป้อมค่าย” เพราะ ปชป.วันนี้ไม่ใช่ปชป.ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 อย่างแน่นอน

 ถึงแม้ “บัญญัติ บรรทัดฐาน” นักการเมืองรุ่น”ลายคราม”ของประเทศไทย และของพรรค”แม่ธรณีบีบมวยผม” จะไม่ออกมา”ร่ายกลอน” เรื่อง”ลิงกินกล้วย” หรือพูดเรื่องการเลือกตั้งในปี 2566  ที่จะถึงในอีกไม่ช้าว่า ที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการเลือกตั้งในระบบ”ธนาธิปไตย” ที่จะมีการ”ใช้เงิน” ในการ”ซื้อเสียง” เป็นจำนวน”มหาศาล”  ประชานทั่วประเทศ ที่ติดตามการ”บริหารประเทศ”ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในตำแหน่ง”นายกรัฐมนตรี” ก็เห็นและรู้อย่างชัดเจนว่า ที่ผ่านมา เพื่อ”การอยู่รอด” และเพื่อการ”เอาชนะ” ต่อการ”อภิปรายไม่ไว้วางใจ” มีการ”ใช้เงิน”เป็น”ยุทธปัจจัย” จำนวน”มหาศาล” เพื่อ”ซื้อเสียง” ใน สภาผู้แทน
ดังนั้นเมื่อยังกล้าที่จะ”ซื้อเสียง” ในสภาผู้แทนอย่าง”โจ๋งครึม” แบบที่ถูก”นิยาม”ว่า”ใช้”กล้วยแจกลิง”เป็น”สวนๆ” โดยมี”กลุ่มทุน” ที่อยู่เบื้องหลัง เพื่อให้” บิ๊กตู่” ไปต่อ ในตำแหน่ง”นายกรัฐมนตรี” จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าในการ”เลือกตั้ง” ที่จะมาถึง จะมีการ”แจกกล้วย” ให้กับ”ประชาชน” เพื่อให้เลือก สส.ของ พรรคใดพรรคหนึ่ง เพื่อที่จะเป็น”นั่งร้าน” ให้”บิ๊กตู่” ก้าวขึ้นไปสู่”หอคอยงาช้าง” เป็น “นายกรัฐมนตรี” อีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3
      โดยข้อเท็จจริง และโดยที่ไม่ต้อง”เหนียมอาย” ทั้ง”นักการเมือง” และ”ประชาชน” ที่เคย”ซื้อเสียง” และเคย”ขายเสียง” ในการ”เลือกตั้ง”ที่ผ่านมาทุกครั้ง ว่าการ”เลือกตั้ง” มีการ”ใช้เงิน” เพื่อการ”ซื้อเสียง” หารือ”แจกเงิน” ทั้งใน”รูปแบบ” การ”สัมมนา” การ”จัดเลี้ยง” และจ่ายเป็น”รายหัว” เพื่อเป็นค่า”เดินทาง” มาฟังการ”ปราศรัย” ที่ต้องยอมรับความจริงว่า การ”เลือกตั้ง” แต่ละครั้ง แต่ละพรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้ง ล้วนต้อง”ใช้เงิน” จำนวนมาก ในการทำผิด”กฎหมาย” การเลือกตั้ง
     เพียงแต่ ครั้งนี้การใช้เงิน การใช้”อำนาจ” จะเป็นการ”อำมหิต” กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะเป็นการ”ต่อสู้”ของพรรคการเมือง หลายพรรค ที่ทุกพรรค ต้องการ”กวาด” จำนวน สส.ให้มากที่สุด เพื่อการสร้าง”สมการ” ของการเป็นผู้”จัดตั้งรัฐบาล” หรือการได้”เข้าร่วม” เป็น”รัฐบาล” เพราะไม่มี พรรคการเมือง พรรคไหน ที่อยากจะเป็น”ฝ่ายค้าน” ด้วย”เหตุผล” คือ”อดยากปากแห้ง” นั่นแหละ
    ดังนั้น พรรคที่”นายทุน” หรือ”กลุ่มทุน” ให้การ”อุ้มชู” จึงเป็นพรรคที่”ได้เปรียบ” ในการเข้าสู่”สนามเลือกตั้ง” ครั้งนี้ เพราะมีการเห็นถึง”ปฏิบัติการ” แจกกล้วย” ในสภาฯมาแล้ว และที่เป็นข่าวปรากฏเป็น”ระยะๆ” ของการ”ใช้เงิน” ในการสร้าง”พลังดูด” สส. ที่มี”ชื่อชั้น” มาเข้าสังกัดพรรคที่เรียกว่าเป็นการ”ตกปลาในบ่อเพื่อน”มีการใช้”ยุทธปัจจัย”ถึง 30 กิโล,50 กิโล เป็นข้อ”แลกเปลี่ยน” ในการ”เปลี่ยนพรรค”
     จึงไม่แปลก ที่หลายพรรคการเมือง ทั้งที่เป็นพรรคที่มีอยู่แล้ว และพรรคการเมืองที่”เพิ่งตั้งไข่” จึง”จัดทัพ” มุ่งหน้ามายัง”ภาคใต้” ที่เป็น”ฐานที่มั่นสุดท้าย” ของ”พรรคประชาธิปัตย์” โดยมองว่า”ภาคใต้” เป็น”จุดอ่อน” ของการ”เลือกตั้ง” ในครั้งนี้ เป็นการ”หลีกเลี่ยง” การ”แข่งขัน” ใน สนามของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( อิสาน) และ”ภาคเหนือ” ซึ่งเป็น”ที่มั่น” ที่”เข้มแข็ง” ทั้งในเรื่อง”ทุน” และ”คน” ที่เป็น สส.
    มีบางพรรคที่เพิ่ง”ตั้งไข่” และ”ตกปลาในบ่อเพื่อน” ถึงกับออกมา”พูดว่า” ภาคใต้พรรคเราได้ สส.ตามที่ต้องการแน่  โดยประเมินว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มี”ทั้งกระแส” และ”กระสุน” และ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์” เป็น “หัวหน้าพรรค” ที่แม้แต่”คนในพรรค” ก็มองว่า”ไร้เสน่ห์” ทุกพรรคจึง”หมายมั่นปั้นมือ” ที่จะเข้ามา”แชร์ตลาด” สส. ในภาคใต้ ซึ่งมี” ที่นั่ง” อยู่ 58 ที่นั่ง
    ส่วนจะเป็นการ”ประเมิน” ที่”ถูกต้อง” หรือ”ผิดพลาด” อย่างไร ในการ”เลือกตั้ง”ครั้งนี้ ล้วนเป็นผลดีกับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ”ยิ่งมายิ่งเด่นชัด” ว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรค ที่เข้ามาเพื่อ”ล้มประชาธิปัตย์” ใช้”กลยุทธ์” หรือ”ยุทธวิธี” แบบไหน เช่นบางพรรคที่เป็นพรรคที่เป็น”คู่แข่ง”เดิม ใช้วิธี”สะสมกระสุน” โดยไม่สนใจ”กระแส” เพื่อการ”ยิงสลุต” อย่างเดียว ส่วนพรรคใหม่”บางพรรค” ก็ใช้”บริการ”คนของ”ประชาธิปัตย์” ที่ถูก”ดูดออกไป” ทำการ”แย่งชิง” กลุ่ม”หัวคะแนน” โดยนักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์กลุ่มนี้เป็น”ไผ่กอเดียวกับประชาธิปัตย์”ที่ทำตัวเป็น”ด้ามพร้า” เพื่อ”ฆ่ากอไผ่” ที่เป็นที่มาของตนเอง และ “กลยุทธ์” ที่ใช้ใน”สนามเลือกตั้ง” ด้วยการ”ตกปลาในบ่อเพื่อน” และอาศัย” กระแสของหัวหน้าพรรค” พร้อมด้วย”กระสุน” ที่มี”บางคน” ในพรรค ออกมา”โอ้อวด” ว่ามีจำนวน “มหาศาล”
      เจ้าถิ่น อย่าง”ประชาธิปัตย์” จะแก้เกมอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะในการเลือกตั้งครั้งนี้”ประชาธิปัตย์” ต้อง”ปิดประตูแพ้” ใน”ภาคใต้”ด้วยการที่จะต้องได้ สส.อย่างน้อย 35 ที่นั่ง หรือทั้งประเทศทั้ง สส.เขต และสส.บัญชีรายชื่อ จะต้องได้ 80 เป็นอย่างต่ำ  ที่สำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้”ประชาธิปัตย์” มีการ”ถอดบทเรียน” ของการ”พ่ายแพ้” ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ที่เป็น”บทเรียน” ที่สำคัญ และทำการปิด”จุดอ่อน” ทุกจุด ที่เคย”ผิดพลาด”มา
    


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top