Wednesday, 3 July 2024
ประเทศไทย

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: ไทย เข้าร่วม RCEP เขตการค้าเสรีใหญ่สุดในโลก

ประโยชน์มหาศาล ไทยเข้าร่วม RCEP เขตการค้าเสรีใหญ่สุดในโลก ครอบคลุมประชากรกว่า 2,300 ล้านคน ดึงดูดการลงทุนและเปิดตลอดไทยสู่ตลาดการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก โดยไทยเซ็นเข้าร่วมเมื่อปี 2563 และมีผล 1 มกราคม 2565

14 เรื่อง ดี๊ดี ที่ 'รัฐบาล' มีให้ ภาคตะวันตก

ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ สำหรับภาคตะวันตก อันประกอบไปด้วยจังหวัด กาญจนบุรี, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี และราชบุรี ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งผลักดันโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน รวมถึงการยกระดับการท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมานี้ มีหลากโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนแนวทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากมาย

>> จังหวัดกาญจนบุรี

1. Skywalk กาญจนบุรี แลนด์มาร์กแห่งใหม่ริมแม่น้ำแคว บนความสูง 12 เมตรจากพื้นถนน และความยาวของ Skywalk กาญจนบุรี อยู่ที่ 150 เมตร ตลอดริมแม่น้ำ ตัวพื้นของ Skywalk กาญจนบุรี ทำจากกระจกใสแข็งแรง ตลอดทางเดินสามารถมองเห็นแม่น้ำด้านล่าง

2. จัดระเบียบเรือนแพและปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำแคว เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

3. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

4. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี มีพื้นที่ผ่าน 3 จังหวัด คือ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม และ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 96.41 กิโลเมตร 

>> จังหวัดตาก

5. มอบสิทธิมอบสุขในที่ดินทำกิน หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 5 ป่า ประกอบด้วย ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน / ป่าแม่ละเมา / ป่าแม่สอด / ป่าท่าสองยาง และ ป่าแม่ระกา พร้อมทั้งมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ในพื้นที่จังหวัดตาก ให้กับประชาชนในพื้นที่ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน จำนวน 1,231 เล่ม

6. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมกันผลักดัน ให้ ‘ไม้กลายเป็นหิน’ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย จังหวัดตาก ถูกบันทึกสถิติโลกว่าเป็น ‘ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก’ ลง Guinness World Records ได้สำเร็จ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเยาวชน ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจด้านแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญในประเทศไทย

7. สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย หรือที่ชาวเมียนมาเรียกแม่น้ำตองยิ่น แห่งที่ 2 บริเวณฝั่งไทยที่บ้านวังตะเคียนใต้ หมู่ที่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก

>> จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
8. รถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 5,807 ล้านบาท ภายใต้โครงการรถไฟทางคู่สายใต้ระหว่างนครปฐม - ชุมพร

>> จังหวัดเพชรบุรี

9. โครงการประตูระบายน้ำคลอง D9 ซึ่งรัฐบาลนี้เป็นผู้อนุมัติ เพราะรัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้ โดยโครงการนี้จะเป็นการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว ทั้งช่วยป้องกันน้ำท่วมและใช้เพื่อการเกษตร

>> จังหวัดราชบุรี

10. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมริมน้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี

11. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและแพทย์แผนไทย เช่น น้ำพุร้อน อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน

12. พัฒนาศักยภาพแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง โรงพยาบาลวัดเพลง โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวชาวไทยเนื่องจากมีระยะเวลาการเดินทางที่สะดวก

13. นำร่อง BCG Model ด้านเกษตรกรรม ประกอบด้วยด้านพืช ด้านประมง ด้านปศุสัตว์ ด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ รายชนิดสินค้า เช่น มะพร้าวน้ำหอม, อ้อยโรงงาน, สุกร, โคนม, กุ้งก้ามกราม, พืชผัก เป็นต้น

14. ปรับปรุงเส้นทางถนนเฉลิมพระเกียรติ ทางหลวงหมายเลข 3291 ช่วงตั้งแต่สี่แยกเจดีย์หัก ถึงบริเวณทางเข้าวัดหนองหอย ระยะทางเกือบ 9 กิโลเมตร เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

เปิด 18 ผลงาน 'รัฐบาล' 8 ปีพัฒนา 'ภาคกลาง'

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน แก้ไขปัญหาสะสมเรื่องความไม่สงบในประเทศ ออกมาตรการทางเศรษฐกิจ มีการจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มารดาประชารัฐ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการชิมช็อปใช้ โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจับต้องได้ทั้งสิ้น และคนที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนไทยทุกคน

ในส่วนภาคกลาง มีการประกาศระเบียงเศรษฐกิจภาคกลาง-ตะวันตก ประกอบด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อผลักดันการลงทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งและโลจิสติกส์ เชื่อมโยงระหว่างภาคตะวันออกและตะวันตก และภาคตะวันตกกับภาคใต้ตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน

เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาการเกษตร การท่องเที่ยว และการพัฒนาอุตสาหกรรมมูลค่าสูง โดยสามารถพัฒนาศักยภาพในการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC  มีโครงการที่สามารถจับต้องและเอื้อประโยชน์ต่อชาวภาคกลางดังนี้

1. โครงการทางพิเศษสายศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหาคร เพื่อขยายโครงข่ายทางพิเศษไปทางตะวันตกของ กทม

2. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา

3. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี

4. โครงการก่อสร้างทางหลวงชนบท สาย ฉ และ ค ผังเมือง รวมเมืองชัยนาท จ.ชัยนาท

5. โครงการถนนสาย ค ผังเมืองรวมเมืองนครสวรรค์ (บริเวณถนนมหาเทพ)

6. โครงการขยายถนนราชพฤกษ์ระยะที่ 2 (ตอนที่ 2) ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 - คลองมหาสวัสดิ์)

7. โครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ – ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ - ใต้) ตอน NS1

8. โครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ – ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ - ใต้) ตอน NS2

9. โครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ – ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ - ใต้) ตอน NS3

10. โครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ – ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ - ใต้) ตอน CD Road

11. ทางหลวงหมายเลข 367 ช่วงเลี่ยงเมืองกาญจนบุรี

12. สร้างทางเดินลอยฟ้าริมแม่น้ำแควเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่

13. เชื่อมเส้นทางกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี โยงเศรษฐกิจพิเศษชายแดนกับพื้นที่เศรษฐกิจหลัก เพื่อหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างกันเชื่อมท่าเรือทวาย-แหลมฉบัง-สีหนุวิลล์

14. พัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรี จากท่าเรือทวาย-ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา ไปจนถึงท่าเรือวังเตา ประเทศเวียดนาม

15. พัฒนาด่านชายแดนไทย-เมียนมา บ้านพุน้ำร้อน ด่านเจดีย์สามองค์ และด่านสิงขร 

16. สร้างโครงข่ายถนนเพิ่มเติมเพื่อลดความแออัดทางการจราจรจากภาคเหนือ

17. สร้างเส้นทางคู่ขนานกับทางหลวงหมายเลข 32

18. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน

จริง ๆ แล้วโครงการพัฒนาภาคกลางในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชายังมีอีกมาก แต่ยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้เห็นว่าพ่อแม่พี่น้องชาวภาคกลางได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร

‘พงษ์ภาณุ’ ชี้!! รายได้ท่องเที่ยวไทยยังกระจุกตัว แนะใช้แพลตฟอร์มระดับโลก หนุนเที่ยว ‘เมืองรอง’

(14 พ.ค. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของไทย ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 66 โดยระบุว่า...

แม้ประเทศไทยจะเผชิญกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในระดับสูง แต่การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยว ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ภาคการท่องเที่ยวนับเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งในอดีตช่วงที่การท่องเที่ยวประเทศไทยเติบโตสุดขีด เคยสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 2 ล้านล้านบาท และจากคนไทยเที่ยวไทยอีกราว 1 ล้านล้านบาท รวมเป็น 3 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็น 20% ของจีดีพี ขณะเดียวกัน ก็มีการจ้างงานถึง 10 ล้านคน แต่หลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้รายได้ในส่วนนี้หายไปเกือบหมด ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก

นายพงษ์ภาณุ ระบุว่า ภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย เชื่อว่า การท่องเที่ยวไทยจะกลับมาคึกคัก และสร้างรายได้เข้าประเทศได้เช่นในอดีต พร้อมทั้งเป็นปัจจัยหนุนหลักให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศ และ ส่งผลดีต่อไปยังตลาดแรงงาน รวมถึงเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ที่จะได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยว เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่เงินไหลตรงไปยังกลุ่มรากหญ้าจริงๆ ซึ่งจะแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ

แต่ทว่า ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวไทยกระจุกตัวอยู่เพียง 7 จังหวัดเท่านั้น ประกอบด้วย กรุงเทพฯ, ภูเก็ต, ชลบุรี, เชียงใหม่, ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี และกระบี่ โดยจังหวัดเหล่านี้มีครองสัดส่วนรายได้ถึง 80% ส่วนอีก 20% กระจายไปยังอีก 70 จังหวัดที่เหลือ

อย่างไรก็ตาม จากการท่องเที่ยวที่กระจุกตัวอยู่เพียงในเมืองหลัก แม้ว่าจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัดนั้นๆ แต่ก็มีผลเสียและปัญหามากมายเช่นกัน ทั้งด้านความแออัด ด้านการกระจายรายได้ที่ไม่สมดุล ด้านการจราจรที่ติดขัด และด้านความปลอดภัย

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลพยายามกระจายการท่องเที่ยว ผ่านนโยบายที่เรียกว่า ‘การท่องเที่ยวเมืองรอง’ ทั้งการไปสร้างแหล่งท่องเที่ยว การมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 

“จากการที่ได้คุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวของจีน พบว่า นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทยนั้น เขากังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะฉะนั้น หากรัฐบาลต้องการกระจายการท่องเที่ยวไปยังเมืองรอง สิ่งที่ต้องเข้ามาดูแลข้อแรก คือ เรื่องความปลอดภัย ข้อสอง ความสะดวกในการเดินทาง และข้อสาม เรื่องการตลาดที่ต้องโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยว อาหารและกิจกรรมที่รองรับนักท่องเที่ยว ผ่านระบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นต้นว่า การนำข้อมูลบ้านพักในภาคอีสานของไทย เข้าไปอยู่ใน Air BNB แพลตฟอร์มท่องเที่ยวระดับโลก พร้อมกับการรับรองความปลอดภัย ความสะอาด และการต้อนรับที่อบอุ่นจากเจ้าของบ้าน หากข้อมูลข่าวสารพวกนี้เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มระดับโลกได้ เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การท่องเที่ยวเมืองรองเกิดได้” นายพงษ์ภาณุ กล่าว

‘รัสเซีย’ ชี้ ‘ก้าวไกล’ เปรียบเสมือน หุ่นเชิดของ ‘สหรัฐฯ’ หวั่น ก้าวไกล ทำกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-จีน-รัสเซีย

(18 พ.ค. 66) สำนักข่าว RT ของประเทศรัสเซีย รายงานข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งประเทศไทย โดยเรียกพรรคก้าวไกลว่าเป็น ‘พรรคโปรตะวันตก’

ไบรอันได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นผลลัพธ์ของความพยายามของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ทุ่มเทเงินหลายล้านเหรียญมาเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้พรรคการเมืองที่เป็นหุ่นเชิดของตัวเองได้ขึ้นมามีอำนาจ”

ไบรอันมองว่า หากพรรคก้าวไกลยังเดินตามนโยบายต่างประเทศในทางที่เคยแสดงท่าทีไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน และประเทศไทยกับประเทศรัสเซียจะถูกกระทบอย่างรุนแรง

‘ไทย’ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ ‘เมียนมา’ หลังพายุไซโคลน ‘โมคา’ เข้าถล่มรัฐยะไข่ เสียหายหนัก

เมื่อไม่นานมานี้ ที่ประชุม ครม. อนุมัติหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาการ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา กรณีพายุไซโคลน ‘โมคา’ (Mocha) ซึ่งก่อตัวขึ้นในอ่างเบงกอลได้เคลื่อนตัวเข้าพื้นที่ด้านตะวันตกของเมียนมา บริเวณรัฐยะไข่ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดพายุฝนตกหนัก น้ำท่วมเฉียบพลัน ดินโคลนถล่มและกระแสไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของชาวเมียนมาอย่างกว้างขวาง

ต่อมาในวันที่ 12 พ.ค. 66 สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศของไทย แจ้งว่าทางการเมียนมาได้เตรียมความพร้อม ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว และขอรับการสนับสนุนจากไทยในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน 

ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ได้พิจารณาแล้วว่า พายุไซโคลนที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงใกล้เคียงกับระดับซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่รุนแรงมากกว่าพายุไซโคลนนาร์กีส ที่เคยเกิดขึ้นกับเมียนมาในปี 2551 และมีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินชาวเมียนมาอย่างกว้างขวางและเฉียบพลัน ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างทันท่วงที จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนอย่างยิ่ง

ส่วนงบประมาณที่จะใช้สำหรับให้การช่วยเหลือนั้น จะใช้จ่ายจากงบประมาณของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับการจัดสรรไว้อยู่แล้ว จึงไม่มีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อ ครม. ชุดต่อไป

‘บิ๊ก บลจ.บัวหลวง’ ชี้!! ถึงเวลาที่ไทยต้องสวมบท ‘รจนา’ เลือกข้างระหว่าง ‘จีน - สหรัฐฯ’ หลังมะกันไม่ขาย F-35 ให้

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 66 นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘ไม่ขาย ก็ไม่ซื้อ’ มีเนื้อหาว่า…

สหรัฐฯ ปฏิเสธไม่ยอมขาย F-35 ให้ไทย เพราะไม่ผ่านการอนุมัติจากสภาของเขา ซึ่งน่าจะมาจากการที่เราซ้อมรบกับจีนบ่อยขึ้น และเราไม่เข้าร่วมขบวนการนาโต้ 2

แต่นี่ไม่ใช่ข่าวร้ายสำหรับไทย เป็นข่าวดีด้วยซ้ำ เพราะ F-35 เนี่ยะมันมีปัญหาเยอะ เช่น บางทีก็บินไม่ขึ้น หลายครั้งที่เครื่องยนต์มีปัญหา ระบบนำร่องไม่เสถียร ฯลฯ เรียกว่าซ่อมมากกว่าใช้ (อันนี้ข้อมูลมาจากผู้รู้จริง จะลองหาเพิ่มในกูเกิ้ลก็ได้)

ถ้าไม่ติดว่าโยกงบที่จะซื้อ F-35 ไปใช้อย่างอื่นไม่ได้ ก็อาจจะเล็งไปที่ SU-35 จะดีกว่า

ผู้สันทัดกรณีระบุว่า “SU-35 ของรัสเซียนี่น่ะหลายชาติอยากได้มาก เนื่องจากถ้ามีไว้ก็เรียกได้ว่าน่านฟ้าเป็นของเขาเพียงผู้เดียว ขนาด F-35 เห็นแล้วต้องรีบหลบ เพราะ SU-35 มีเรดาร์ขั้นเทพ จะพรางตัวก็ขั้นเซียน ยิงได้ไกลโคตรจนเป้าหมายตายทั้งที่ยังไม่เห็นหน้าในจอเรดาร์”

ส่วนเรื่องการเมืองในไทยยุคนี้ ต้องขอย้ำว่า อย่าไปอินอะไรมากนัก ข่าวสารที่ได้รับต่าง ๆ ก็ไม่แน่ว่าใครเป็นคนเผยแพร่ให้แฟนคลับเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ให้เขาตกลงกันเล่นเถิดเทิงตั้งรัฐบาลกันไปตามลำบากเหอะ พวกเราคั่วป๊อปคอร์นกินไป ดูไป บันเทิงใจดีออก

แต่ถ้าจะดูทิศทางการเมืองที่ถูกต้อง ก็ขอให้ดูที่การต่อสู้ของมหาอำนาจสองฝั่งที่กำลังรุกคืบมาแถวนี้แล้ว โดยที่กระแสโลกที่ ‘ไม่เอานาโต้ ไม่เอากองทัพสหรัฐฯ’ กำลังแพร่กระจายอย่างฉุดไม่อยู่… แหม มันสาแก่ใจอีช้อยยิ่งนัก

ผู้สันทัดกรณีระบุอีกว่า “ไทย พม่า ลาว คือจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้อาเซียนรอด มีรัสเซียกับจีนคอยโอบอุ้ม กับพร้อมลงมือทันทีหากฝ่ายตรงข้ามเขยิบ”

สรุปคือ สองขั้วมหาอำนาจขยายอิทธิพลและเป้าหมายมาที่อาเซียนแล้ว แบบไม่มีใครยอมใคร ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนต่างเลือกข้างแล้ว

เหลือแต่พี่ไทยนี่แหละ ซึ่งมันชัดขึ้นทุกทีว่าเราถูกกดดันให้เลือกข้าง จะเล่นบทเดิมเป็นนางวันทองสองใจอีกไม่ได้ ต้องเป็นรจนาเสี่ยงพวงมาลัยเลือกระหว่าง ‘หยางหยาง’ กับ ‘คริส อีแวนส์’

แหม ก็มันหล่อคนละแบบ จะให้ตัดใครไปได้ลงเล่า!?

ทุนยักษ์ใหญ่

รัตนาวะดี (Gulf), เจียรวนนท์ (CP Group), จิราธิวัฒน์ (Central Group) และ สิริวัฒนภักดี (TCC Group) คือกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ที่กุมสัดส่วนหุ้นไทยรวมกันถึง 20%
 

‘ติวเตอร์ภาษา’ ชี้!! ประเทศที่คนไทยควรกลัว ไม่ใช่ ‘อเมริกา’ แต่เป็น ‘จีน’ ที่กำลังบุกยึดพื้นที่ทำกิน แย่งงานคนไทยทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 66 ได้มีผู้ใช้ติ๊กต็อกท่านหนึ่ง ชื่อ ‘krudewtoeic’ หรือ ‘ครูดิว’ ซึ่งเป็นติวเตอร์สอนภาษาชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์คลิป อธิบายเรื่องที่คนไทยกลัวประเทศสหรัฐอเมริกา จะเข้ามาตั้งฐานทัพและแทรกแซงประเทศไทย ซึ่งตอนนี้เป็นกระแสในโลกโซเชียลอย่างมาก โดยระบุว่า…

ประเทศที่คนไทยกลัว มีอยู่ 2 ประเทศ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน คนไทยกลัวว่า อเมริกาจะมาตั้งฐานทัพในประเทศไทย ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้

แต่สิ่งที่กำลังเกิดจริงในตอนนี้ คือ การที่ประเทศจีนได้ตั้งฐานทัพอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศไทย จนเกิดการกระจายตัวของเหล่าคนจีน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตลอดจนถึงการที่คนจีนมาเปิดร้านอาหารแข่งกับคนไทย ในย่านการค้าที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับคนไทย อย่างย่านเยาวราช ห้วยขวาง และรัชดา รวมถึงในอีกหลายๆ พื้นที่ของประเทศ อีกทั้งยังอาจไม่ได้เสียภาษีให้กับประเทศไทยอีกด้วย

“คำถามคือ ระหว่างสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว คนไทยเราควรจะกลัวอะไรมากกว่ากัน คิดสิคะ คิด หากถามดิฉัน ดิฉันกลัวคนจีนค่ะ เพราะเขามาแล้ว แต่คนไทยยังเถียงกันเรื่องอเมริกากันอยู่เลย เพราะอะไร ดิฉันไม่เข้าใจ?” ครูดิว กล่าวทิ้งทาย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top