Saturday, 29 June 2024
ประเทศไทย

'สาวลาว' อึ้ง!! ไทยสร้างสะพานเลี่ยงเมืองหนองคาย เอ่ยชม "สุดยอด เยี่ยมๆ ไม่คิดว่าจะสร้างไวขนาดนี้"

เมื่อไม่นานมานี้ ยูทูบเบอร์ช่อ ‘หนอมแน้ม - NOMNAEM Channel’ ได้เผยแพร่วิดีโอโดยใช้ชื่อว่า 'สาวลาวสุดอึ้ง ไม่คิดว่าหนองคายจะสร้างถนนแบบนี้ด้วย...สุดยอดมาก ปี 2023' โดยเนื้อหาในคลิปวิดีโอเป็นการชื่นชมถนน หนทางของประเทศไทย ที่เจริญขึ้นผิดหูผิดตาจากแต่ก่อน และยังชื่นชมหลายสิ่งหลายอย่างของไทยอีกด้วย

หนอมแน้ม (เจ้าของช่อง) เดินทางจากฝั่งลาวผ่านจังหวัดหนองคาย มุ่งหน้าไปยัง อุดรธานี เพื่อทำธุระ (หาหมอ) ซึ่งระหว่างทางก็กลัวว่าน้ำมันรถที่เติมจากฝั่งลาวจะไม่พอเดินทาง แต่เมื่อเธอนึกได้ก็สบายใจ โดยเธอบอกว่า "ปั๊มน้ำมันในไทยมีเยอะมาก ไม่กังวลเรื่องการเดินทาง" 

ขับรถไปสักพัก เธอก็เอ่ยชมเกาะกลางถนนของไทย "ต้นไม้เยอะ สะอาดงามตา" และก็นึกถึงเมื่อครั้งที่เคยมาเที่ยวในกรุงเทพ เธอบอกว่าในปี 2023 นี้อยากจะไปเที่ยวที่กรุงเทพอีกสักครั้ง ก่อนจะแวะเติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท.

เมื่อแวะเติมน้ำมันแล้วก็ขับรถกันต่อ โดยเมื่อขับผ่านเขตการก่อสร้างสะพาน เธอก็เอ่ยชมอีกครั้งว่า "เยี่ยมๆ ไปเลย" เนื่องจากมีการก่อสร้างที่พัฒนาระบบขนส่งของไทยให้เจริญมากขึ้น แถมยังจัดการจราจรได้ดี ไม่ได้ปิดถนนจนสัญจรไปมาไม่ได้

เปิดหลักฐานความพยายามให้สยามเกิด Thailand Spring เรื่องจริง!! อันตรายพุ่งเป้าต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

หลักฐานความพยายามในการทำให้เกิด Thailand Spring จากบทความ ‘ประชาชนคือป้อมปราการ’ โดย ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

มีนักการเมือง นักเคลื่อนไหว หลายคนที่พยายามถามหาหลักฐานการที่มีกล่าวหาว่า มีต่างชาติให้การสนับสนุนความพยายามในการจาบจ้วง ล่วงละเมิดสถาบันฯ ครั้งนี้จึงขอนำหลักฐาน ซึ่งเป็นบทความชื่อ ‘ประชาชนคือป้อมปราการ' ของคุณภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งได้ลงใน Post Today เมื่อหลายปีแล้วมาเล่าเพื่อให้ผู้อ่านได้พอเห็นภาพและเกิดความเข้าใจในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องและเป็นไปดังนี้

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา การบ่อนทำลายสถาบันสูงสุดเกิดขึ้นมากผิดปกติ เปิดเผย ไม่เกรงกลัว กลุ่มต่อต้านกษัตริย์ไม่เพียงเคลื่อนไหวในประเทศเท่านั้น แต่ยังไปเคลื่อนไหวในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐ ด้วยการป้อนชุดข้อมูลที่ดูเหมือนจริงแต่เป็นความเท็จ ส่วนหนึ่งเป็นผลงานของนักล็อบบี้จากสำนักงานกฎหมายที่มีชื่อเสียงและบริษัทประชาสัมพันธ์ ที่ถูกใครบางคนจ้างไว้ 3 บริษัท บริษัทละ 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 30.3 ล้านบาทในขณะนั้น) เพื่อไปล็อบบี้สมาชิกรัฐสภาและรัฐบาลอเมริกันเพื่อผลทางการเมืองของตน อย่างไรก็ดี ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น คือ เกิดกระแสต่อต้านสถาบันกษัตริย์ในหมู่นักการเมืองอเมริกันมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ฝ่ายที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ไทยในสหรัฐทวีความเข้มแข็งมากขึ้น มีการสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบหลากหลาย เขียนบทความภาษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากข้อเขียนของคนอเมริกัน 2 คน คนหนึ่งคือ เจ.เค. แห่งคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ (Council on Foreign Relations) อันทรงอิทธิพลในสหรัฐ ที่ เจ.เค. ได้เขียนบทความโจมตีสถาบันกษัตริย์ และยกย่องเชิดชูฝ่ายตรงข้ามกษัตริย์สลับกันมาหลายปีแล้ว อีกคนหนึ่งคือ เอ.เอ็ม.เอ็ม. ที่ยอมรับว่าได้รับการว่าจ้างให้มาทำงานด้านนี้ และเป็นคนที่นำเอาคดีของ โจ กอร์ดอน และ อำพล ตั้งนพกุล หรือ ‘อากง’ มาเขียนโจมตี ม.112 เพื่อให้พาดพิงไปถึงพระมหากษัตริย์ไทย ในความเป็นจริง คนพวกนี้ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย แต่ได้รับข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์ชาวไทยสายสาธารณรัฐที่คนไทยรู้จักดี

ในกลางปี พ.ศ. 2556 นักล็อบบี้พวกนี้วางแผนผลักดันให้มีการอภิปรายเชิงวิชาการในที่ประชุมประจำปีของสมาคมเอเชียศึกษา (Association of Asian Studies) ซึ่งมีคนไทยที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์มีอิทธิพลอยู่ การอภิปรายดังกล่าวมีเป้าหมายมุ่งโจมตีสถาบันกษัตริย์ไทยเป็นการเฉพาะ รวมทั้งมีแผนตีพิมพ์หนังสืออีกเล่มหนึ่งโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ ที่ผู้เขียนอ้างหลักฐานจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย รัฐสภาของสหรัฐ ที่ดูเผิน ๆ แล้วน่าเชื่อถือ หรือเลือกเฉพาะส่วนที่สนับสนุนความคิดของตน เพื่อหาทางทำลายความเชื่อถือพระมหากษัตริย์ไทยองค์ปัจจุบัน (ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ในขณะนั้น)

ก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในวาระครบ 7 รอบ 84 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักล็อบบี้อเมริกันได้ส่งชุดข้อมูลที่ปั้นแต่งขึ้นจนทำให้สมาชิกสภาหลงเชื่อได้ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐพยายามหลีกเลี่ยงไม่ส่งหนังสือถวายพระพรตามที่เคยปฏิบัติมา จนสภาสูงต้องส่งหนังสือถวายพระพรแทน สะท้อนให้เห็นว่า นักล็อบบี้ยิสต์อเมริกันทำงานให้กับนายจ้างอย่างได้ผล ทำให้รัฐสภาชุดก่อนเข้าใจผิดและต่อต้านสถาบันกษัตริย์ไทย ตกทอดมาถึงสภาใหม่ชุดที่ 113 ในปัจจุบัน (พ.ศ.2556)

ไม่เพียงแต่เท่านั้น สถาบันบางแห่งของสหรัฐ เช่น กองทุนแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National Endowment for Democracy) ยังจัดสรรเงินงบประมาณของรัฐคิดเป็นเงินไทยกว่า 1,500 ล้านบาท และอีกโครงการเป็นเงิน 200-300 ล้านบาท ให้กับกลุ่มต่อต้านสถาบันกษัตริย์ ตามที่กลุ่มพวกนี้ร้องขอมาโดยอ้างว่าเพื่อนำไปใช้ในการให้ความรู้ประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่กลับนำไปสร้างสื่อและเว็บไซต์ ปลุกระดม โฆษณาชวนเชื่อให้คนไทยบางกลุ่มต่อต้านสถาบันสูงสุด

ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ แยก 'น้ำเค็ม-น้ำจืด' พระมหากรุณาธิคุณของในหลวง ร.9 เพื่อคลายทุกข์คนเมืองคอน

(11 เม.ย.66) เพจเฟซบุ๊ก 'ภักดี คาเฟ่' ได้โพสต์เรื่องราวน่าประทับใจจากโครงการประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ตั้งอยู่ใน บ้านบางปี้ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ผ่านมุมมองคนในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ ว่า...

อดแปลกใจไม่ได้ที่หมู่นี้จะเห็นเด็กวัยรุ่นเดินเข้ามาดื่มกาแฟที่ร้านและก็เป็นธรรมดาที่ผมจะอดใจไม่ได้ ที่จะพูดคุยด้วย 

อยากรู้ครับว่าเด็กๆ วัยรุ่นสมัยนี้เขามีความคิดความอ่านเป็นอย่างไรกันบ้าง 

และผมก็อดแปลกใจไม่ได้กับแนวความคิดของน้องทั้งสองคนนี้ การศึกษาไม่ต้องพูดถึงครับ น้องผู้หญิงจบ ป.โท น้องผู้ชายจบวิศวะ น้องเป็นคนนครศรีธรรมราช น้องเล่าว่า…

"เมื่อก่อนนี้จะทำไร่ทำนาค่อนข้างลำบากครับ สาเหตุเพราะไม่มีน้ำ ขาดแคลนน้ำในการที่จะใช้เพาะปลูกครับ ส่วนมากจะเป็นน้ำเค็มครับ จนมาทุกวันนี้ครับ วันที่ผมมี ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เพราะอะไรถึงมีเหรอครับ…

‘อดีตผู้ว่าการ ธปท.’ เศร้าใจ!! หลังหลายพรรคออกนโยบาย ไร้ความรับผิดชอบต่อ ปชช.

“เห็นนโยบายไร้ความรับผิดชอบแบบนี้แล้วเศร้าใจค่ะ นอกจากการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็นแล้ว ยังเป็นการสร้างนิสัยให้ประชาชนขาดวินัยทางการเงิน คอยแต่จะแบมือรับ แทนที่จะติดอาวุธให้ประชาชนมีทักษะ มีความสามารถในการยกระดับความเป็นอยู่ของตัวเองให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน มากกว่าเงินช่วยเหลือจากนักการเมือง” นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว

 

ไขข้อสงสัย!! ใครทำ 'GDP ไทย' สู้เพื่อนบ้านไม่ได้ สวนกระแสข่าวจอมปลอม จ้องโจมตี 'รัฐบาลลุงตู่'

(16 เม.ย.66) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 'LVanicha Liz' ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ GDP ของไทย โดยระบุว่า...

ดูชัดๆ #ใครทำให้GDPไทยสู้เพื่อนบ้านไม่ได้  

เมื่อปี่พาทย์บรรเลงเริ่มฤดูกาลเลือกตั้ง บางกลุ่มการเมืองก็จะต้องลงทุนลงแรงแข่งขันกันจนหน้ามืดตาลาย เพราะ “stake มัน very high” คล้ายกับว่าถ้าอดอยากปากแห้งต่ออีก ๔ ปี อาจถึงขั้นล้มละลายหายไปจากวงการแน่ๆ จึงมีการออกมาเผยแพร่ (สาด/พ่น?) ข้อมูลผิดบ้างถูกบ้างบิดเบือนหลอกลวงบ้างออกสู่สาธารณะ

ประชาชนผู้มีอำนาจแค่ ๑ วันต่อ ๔ ปี จึงต้องวิเคราะห์ก่อนรับข้อมูลข่าวสารให้ดี มิฉะนั้นหากเลือกพรรคการเมืองผิด อาจจะต้องคิดจนประเทศพัง

หนึ่งในประโยคฮิตที่มีการนำออกมากระจายสู่โซเชียลคือ “อยู่มา ๘ ปี ทำ GDP โตได้แค่ ๒% ยังจะอยู่ต่ออีกหรือ”

ซึ่งจากการวิเคราะห์ตลอดมา พบว่าน่าจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปมาก จึงสืบค้นดูว่าข้อมูลมีที่มาที่ไปอย่างไร พบในเฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทย ส.ส. ผู้หนึ่งกล่าวไว้ดังนี้  

“GDP ตกต่ำตลอด ๘ ปี: ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์แต่งตั้งตัวเองเข้ามาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ตลอด ๘ ปีที่ผ่านมาผลคือ... กราฟร่วง แนวโน้มเศรษฐกิจไทยติดลบ หนึ่งจุดห้า ถึง ศูนย์ ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย ตลอด ๘ ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ยเพียงแค่ประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือเวียดนาม ซึ่งมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่แตกต่างจากไทย กลับสามารถคงระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในระดับ ๕%-๘% ต่อปี แปลว่า วันที่เรายังไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจไทยก็ย่ำแย่อยู่แล้ว เมื่อเจอกับวิกฤตโรคระบาดและผู้นำที่ไม่มีความรู้ในการบริหารเศรษฐกิจ กราฟก็ยิ่งดิ่งเหวเข้าไปใหญ่”

https://m.facebook.com/pheuthaiparty/photos/a.153985257967754/4657213287644906/

ผู้เขียนสืบค้นจาก Google ด้วยคำว่า Thailand GDP ก็ได้กราฟเปรียบเทียบมาให้เลย ๓ ประเทศ โดยไทยมี GDP สูงสุดในกราฟ และมีการเติบโตทิ้งห่างจากเพื่อนบ้านอีกสองประเทศเป็นช่วงกว้างขึ้นทุกที การทิ้งห่างมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตมากกว่า ซึ่งการทิ้งห่างจะสังเกตได้โดยเส้นกราฟของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตกว่า จะไต่ขึ้นชันกว่า 

เพื่อตรวจสอบข้อความในเฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทย ที่ระบุว่า “วันที่เรายังไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจไทยก็ย่ำแย่อยู่แล้ว” เป็นจริงหรือไม่ ผู้เขียนนำช่วงเติบโตดีที่สุดของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ (พรรคเพื่อไทย) กับช่วงเติบโตดีที่สุดของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนวิกฤตโควิดมาเปรียบเทียบกับเวียดนาม (ซึ่งฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลชอบนำมาใช้เป็นตัวอย่างความเติบโต) พบว่ากราฟ GDP ช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไต่ขึ้นชันกว่าช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ และอัตราส่วนของการเพิ่มขนาดเศรษฐกิจช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ สูงกว่าเวียดนาม ขณะช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่ำกว่าเวียดนามเกือบครึ่ง

ตกลง “วันที่เรายังไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจไทยก็ย่ำแย่อยู่แล้ว” ก็คงย่ำแย่ตอนพรรคเพื่อไทยบริหารนี่เอง เพราะอัตราการเติบโตต่ำกว่าเวียดนาม   

สรุปว่าข้อกล่าวอ้างที่ว่า GDP ตกต่ำตลอด ๘ ปีนั้น ในช่วงก่อนวิกฤตโควิด หลักฐานแสดงไปในทางตรงกันข้าม

ส่วนในช่วงหลังจากวิกฤต ตัวเลข post-crisis GDP จะไม่ใช่สิ่งสะท้อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ถูกต้อง เพราะการฟื้นฟูความเสียหายต่างๆ ในช่วงวิกฤตเข้ามาทำให้เกิดส่วนเพิ่มของ GDP อ้างอิงบทความ “Does high GDP mean economic prosperity?” ของ Investopedia
https://www.investopedia.com/articles/economics/08/genuine-progress-indicator-gpi.asp

การที่ประเทศต่างๆ จะมีอัตราการเพิ่ม GDP ในช่วง post-crisis ที่แตกต่างกัน มันแล้วแต่กลไกการฟื้นฟูในแต่ละประเทศ ว่าจะทำอะไรช่วงไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้งบประมาณของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิดซึ่งรัฐบาลเปลี่ยนมาอยู่ภายใต้ระบอบเลือกตั้ง ถูกฝ่ายค้านกดดันตัดทอนอย่างเข้มข้นจนไม่อาจเป็นไปตามที่วางแผนมากนัก ทำให้มีผลเหนี่ยวรั้ง GDP ของไทยด้วย การนำมาเป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจร่วมกับตัวเลขก่อนวิกฤต เหมารวม ๘ ปีจึงทำให้เกิดภาพที่บิดเบี้ยวไม่สะท้อนความเป็นจริง

เมื่อตรวจสอบในมิติที่ละเอียดขึ้น ให้ครอบคลุมการเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่เฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทยระบุไว้ พบว่าประเทศที่ GDP สูงและเติบโตดีมากที่สุดในกลุ่มคืออินโดนีเซีย ตามมาด้วยไทย ส่วนประเทศที่เหลือนั้น GDP โตอยู่ข้างใต้เส้นกราฟของไทย ลักษณะกราฟการเติบโตของประเทศที่มีแนวโน้มดี (อินโดนีเซียและเวียดนาม) คือช่วงปลายโค้งขึ้นและตลอดเส้นไม่ค่อยสะดุด (อ้างอิงภาพของ Our World in Data)
https://ourworldindata.org/grapher/gross-domestic-product?tab=chart&country=IDN~BRN~KHM~LAO~MYS~PHL~THA~VNM~SGP

ตรงนี้เองที่มีข้อสังเกตว่า เส้น GDP ของไทยเริ่มชันตีคู่ขึ้นมาขนานอินโดนีเซียในสมัย พล.อ.เปรม โดยมีแรงส่งไปยังรัฐบาลต่อๆ ไปชัดเจน จากนั้นเกิดการสะดุดครั้งใหญ่ในวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นช่วงที่นายทักษิณ (บิดาแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย) เข้ามาเป็นรองนายกฯ จากนั้นเมื่อนายทักษิณเข้ามาเป็นนายกฯ เอง เส้น GDP ไทยเริ่มทิ้งตัวห่างลงมาจากอินโดนีเซีย หลังสมัยนายทักษิณ เส้น GDP สะดุดเรื่อยๆและทิ้งตัวห่างลงมาจากอินโดนีเซียมากขึ้นๆ จนเข้ามาสู่สมัย พล.อ.ประยุทธ์ (คสช.) เส้น GDP จึงเริ่มโค้งขึ้นอีกครั้ง จากนั้นทุกประเทศก็เข้าสู่วิกฤตโควิด และประสบสภาวะ GDP สะดุดเหมือนๆ กัน มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่เงื่อนไขและสถานการณ์ของแต่ละประเทศ

ณ จุดนี้ น่าจะเข้าใกล้คำตอบแล้วว่า #ใครทำให้GDPไทยสู้เพื่อนบ้านไม่ได้

ข้อพิสูจน์ที่น่าจะเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ว่าเหตุใด GDP ไทยเริ่มจะสู้เพื่อนบ้านไม่ได้ตั้งแต่สมัยนายทักษิณก็คือ ในยุคของนายทักษิณ มีการดำเนินการที่ทำให้เสถียรภาพทางการเมืองซึ่งมีผลต่อความมั่นคงของชาติตกต่ำดิ่งเหวลงไปจน Political Stability index อยู่ใต้ระดับ ๐ (percentile rank ต่ำกว่า ๕๐%) เป็นครั้งแรก ซึ่งมีผลเสียหายลากยาวถึงปัจจุบัน อันเนื่องมาจากยังคงมีภัยความมั่นคงของชาติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่งมาแก้ไขได้บางส่วนและดีขึ้นเรื่อยๆในสมัย พล.อ.ประยุทธ์ (อ้างอิงกราฟ Political Stability ของ Trading Economics) ซึ่งสอดคล้องกับเส้น GDP ที่เริ่มโค้งขึ้นก่อนวิกฤตโควิด
.
เสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงของชาติมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของชาติ ตามคำอธิบายที่ว่า “หากไร้ซึ่งสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคมที่มั่นคงและปลอดภัยแล้ว ก็ยากที่จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจใดๆ ความมั่นคงของชาติเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ...”
https://www.fso.gov.hk/eng/blog/blog20210418.htm
.
ยกตัวอย่างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจ ก็อยู่บนหลักที่ว่าประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองโดยทั่วไปจะดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศได้ดีกว่า
https://www.investmentmonitor.ai/features/fdi-drivers-and-political-stability

กราฟ FDI ของ Trading Economics แสดงชัดว่า FDI ของไทยเริ่มตกหลังจากเสถียรภาพทางการเมืองของไทยลดลงต่ำกว่า ๐ ในสมัยที่นายทักษิณบริหาร และเริ่มจะกลับมาดีขึ้นในสมัย พล.อ.ประยุทธ์

สำหรับสาเหตุที่ว่าทำไม Political Stability index ของไทยลดลงต่ำกว่า ๐ (percentile rank ต่ำกว่า ๕๐%) ในสมัยนายทักษิณนั้น กราฟ “ผลกระทบจากการลดงบประมาณทางการทหารยุคทักษิณ” ให้คำตอบที่ชัดเจน
-------------------------------------------------------------------

เลือกตั้ง 66 ตัวกำหนดจุดยืนไทย ในขณะ 'จีน-สหรัฐฯ' ขับเคี่ยวกัน หากได้ผู้นำอ่อนประสบการณ์ อาจเป็นการชักศึกเข้าบ้าน

                  

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เรื่องที่สำคัญมาก ๆ เรื่องหนึ่งที่คนไทยไม่ได้ใส่ใจ ด้วยคิดว่า เป็นเรื่องไกลตัวคือ “ตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในเกมช้างชนกัน (ระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน) ในบริบทของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก” อันที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวคนไทยมาก ๆ เพราะที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ตำแหน่งที่ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ดีที่สุดในทวีปเอเชีย

                          

การเลือกตั้งครั้งนี้ส่งผลถึงผู้ที่จะมาเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งต้องมีความรู้ ความสามารถ เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมีแนวคิดตลอดจนวิธีที่จะทำให้ประเทศชาติ บ้านเมือง รอดพ้นจากผลกระทบจากเกมช้างชนกันครั้งนี้ไปได้อย่างดีที่สุด กล่าวคือ ประเทศชาติ บ้านเมือง และคนไทยทั้งหมดทั้งมวลจะเดือดร้อนจากเหตุการณ์นี้อย่างน้อยที่สุด... เพราะการเจรจา ไม่สามารถใช้ที่ปรึกษาแทนได้ ต้องเป็นระดับ ผู้นำต่อผู้นำ…ซึ่งต้องเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์ชีวิตสูง เพราะเดิมพันหนนี้สูงมากด้วยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิดความผิดพลาดจะร้ายแรงและรุนแรงมาก จนไม่อาจจะคาดคิดได้

                       

ในอดีตไม่กี่สิบปีก่อน ประเทศไทยเกือบจะเต็มไปด้วยซากปรักหักพังเหมือนเช่นประเทศยูเครนในปัจจุบัน เพราะในช่วงสงครามเวียดนาม ไทยได้ส่งทหารไปร่วมรบกับสหรัฐ ยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพที่อู่ตะเภา ตาคลี อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา ฯลฯ รวมทั้งที่ดอนเมือง เพื่อให้สหรัฐฯได้ขนระเบิดไปทิ้งที่เวียดนาม กัมพูชา และลาว จนทำให้ลาวเป็นประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในโลก (โดยเครื่องบินของสหรัฐฯนำระเบิดมาทิ้งในดินแดนลาว ระหว่างปี ค.ศ. 1964-1973 กว่า 5.8 แสนเที่ยว หนักรวมกว่า 2 ล้านตัน)

                   

เมื่อสหรัฐฯ พ่ายแพ้ในการทำสงครามเวียดนาม ต้องขนทหารสหรัฐฯ กลับ โดยทิ้งให้ประเทศไทยต้องปากกัดตีนถีบในการช่วยเหลือตัวเองเพื่อป้องกันประเทศ ในช่วงนั้นไทยเราไม่สามารถหนีภาพการเป็นสาวกประเทศที่สวามิภักดิ์สหรัฐฯ อย่างที่สุดไม่ได้ และเวียดนามก็ประกาศบุกไทยเพื่อเป็นการแก้แค้นที่ไทยยอมให้สหรัฐฯ ตั้งฐานทัพในประเทศ

                 

เมื่อสหรัฐฯ ขนทหารออกจากประเทศไทยไป รัฐบาลไทยก็ต้องช่วยตัวเองในการป้องกันประเทศ แต่ก็ไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เพียงพอต่อการต้านกองทัพเวียดนาม (ซึ่งขณะนั้นถูกจัดให้มีความแข็งแกร่งอันดับที่ 4 ของโลก ในขณะที่กองทัพไทยในยุคนั้นยังไม่ติด 20 อันดับแรกเลย) รัฐบาลไทยจึงร้องขอต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ขอใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่สหรัฐขนกลับไม่หมด แต่คำตอบจากรัฐบาลสหรัฐฯ คือ ไม่อนุญาตให้รัฐบาลไทย นำอาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ ไปใช้ในการป้องกันประเทศ พร้อมทั้งจัดการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ตกค้างในไทยกลับประเทศจนหมด

เปิดภาพสุดล้ำค่า!! ‘มุมพระปรางค์ 8 องค์’ ผลงานชนะเลิศ Wiki Loves Monuments 2022

เมื่อวันที่ 19 เม.ย.66 ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ‘Kriengsak Jirasirirojanakorn’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

Winner! 
I won 1st place in the International Wiki Loves Monuments 2022 Competition, the World’s largest photo contest!

https://www.wikilovesmonuments.org/2022_winners/
https://commons.wikimedia.org/wiki/Wiki_Loves_Monuments_2022_winners
https://www.facebook.com/WikiLovesMonuments

ภาพถ่ายข้างกำแพงพระบรมมหาราชวัง ถ่ายจากข้างสนามหลวงทิศใต้ มุมที่เห็นพระปรางค์ 8 องค์ (พระอัษฏามหาเจดีย์) เรียงแนวเป็นมุมมอง perspective (จริงๆ มีช่างภาพได้ถ่ายมุมนี้มาเยอะแล้ว) ได้แสงแดดตอนบ่ายแก่ๆ ฉาบภาพออกในโทนสีอุ่น ตัดกับท้องฟ้าสีฟ้า กับความบังเอิญที่มีคุณลุงใส่หน้ากากขี่จักรยานผ่านมาในจังหวะที่แนวพระปรางค์เรียงเป็นเส้นนำสายตาไปหาคุณลุงพอดี

หลังจากส่งภาพประกวด Wiki Loves Monuments Thailand 2022 ได้รางวัลที่ 1 ระดับประเทศเมื่อธันวาคมปีที่แล้ว ทาง WLM Thailand ได้ส่งภาพรางวัล 10 อันดับแรกของประเทศไทยเข้าประกวดระดับ International ที่มีภาพส่งประกวดมากกว่า 150,000 ภาพ จาก 36 ประเทศโดยที่แต่ละประเทศคัดเลือกภาพส่งรอบสุดท้ายรวม 337 ภาพ

29 มีนาคม ได้รับ email จาก Wikimedia Commons ว่ารูปผมมีโอกาสติดใน 15 อันดับแรก (มีเพียง 10 อันดับแรกที่ได้รางวัล) ส่ง form มาให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและเกี่ยวกับภาพ และบอกจะเริ่มประกาศผลถอยหลังตั้งแต่อันดับ 25 ลงมาตั้งแต่ตี 1 เมื่อวานนี้ 

‘คุณหญิงกัลยา’ หนุนยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เตรียมพร้อมมุ่งหน้าสู่เป้าหมายการศึกษาโลก

(21เม.ย.66) ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ ‘2 ทศวรรษแห่งการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษา’ พร้อมด้วย ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ รักษาการประธานกรรมการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 23 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาและได้มุ่งปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของโลกทำให้กระทบถึงการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมาระดมความคิดกันว่าอยากจะเห็นประเทศไทยพัฒนาคนไปในทิศทางใด จึงจะทำให้เด็กมีความสุขและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้

โดยเรื่องนี้เป็นภาระของคนรุ่นเราที่ต้องทำให้ได้ภายในเวลารวดเร็ว สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาโลก คือ เด็กต้องเรียนอย่างมีความสุข ระหว่างเรียนมีรายได้ เรียนจบแล้วมีอาชีพ สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ทันสมัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเราจะไปถึงตรงจุดนั้นได้เร็วได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและการประเมินคุณภาพการศึกษา

‘บิ๊กตู่’ เผย!! จุดพลิกฟื้นความสัมพันธ์ ‘ไทย-ซาอุฯ’ สำเร็จในรอบ 32 ปี คุยกันแบบตรงไปตรงมาครั้งแรกกับ MBS ตั้งแต่ปี 62 ในงาน G20

(24 เม.ย. 66) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้ให้สัมภาษณ์ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ ในรายการข่าวเจาะย่อโลก ทางช่องไทยพีบีเอส โดยช่วงหนึ่ง ‘บิ๊กตู่’ ได้พูดถึงประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสพบกับเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (MBS) มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2562 ในการประชุม G20 ที่นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวันนั้นทั้งสองได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและซาอุดีอาระเบีย จนนำมาสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญด้านความสัมพันธ์ของสองประเทศจวบจนปัจจุบันนี้

พล.อ.ประยุทธ์ ได้เล่าว่า “ตอนนั้นเราต่างคนต่างมอง ผมก็สงสัยว่าท่านเป็นใคร ท่านก็สงสัยว่าผมเป็นใคร จนกระทั่งได้มีการพูดคุยกันแนะนำตัวกันว่าผมมาจากประเทศไทย ส่วนท่านก็มาจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องขอบคุณทาง ‘บาห์เรน’ ที่ก่อนหน้านี้พยายามเชื่อมสัมพันธ์ให้เรากับซาอุฯ กลับมาคบกันให้ได้ด้วย”

แน่นอนว่า บทสนทนาในวันนั้น เป็นบทสนทนาของผู้มีอำนาจสูงสุดของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าชายซาอุฯ ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจในประเทศทุกด้านอย่างชัดเจน และด้วยท่าทีที่ตรงไปตรงมาของทั้งคู่ การพูดคุยในวันนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและซาอุดีอาระเบียขึ้นอีกครั้งในรอบ 32 ปี

“ท่านคุยกับผมวันนั้นเลยว่า เรากลับมาสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันอีกครั้งดีกว่า เรื่องเก่า ๆ เลิกหมด อะไรต้องแก้ไขก็แก้กันไปให้ได้ เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไป จนทุกวันนี้เกิดการลงทุนจากทางซาอุฯ หลายแสนล้าน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานทดแทน พลังหมุนเวียนต่าง ๆ สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศชาติได้อย่างมหาศาล” พลเอกประยุทธ์ กล่าวทิ้งท้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top