Wednesday, 26 June 2024
ประเทศไทย

'บิ๊กตู่' ผลักดัน นโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยกระดับ 'ไทย' เมืองศูนย์กลางด้านสุขภาพของโลก

(26 ก.พ.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมให้ความสำคัญกับระบบสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะการส่งเสริมนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (เมดิคอลฮับ) เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็น เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก 

โดยนายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้สำเร็จตามแผน และผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (ปี 2560 - 2569) ได้ดำเนินการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนี้ 

'กินหรู-อยู่แพง-รวยทางลัด' ค่านิยมที่คนรุ่นใหม่ เลือก หากไม่สมหวัง!! จะวกกลับมาโทษ "เศรษฐกิจไทยไม่ดี"

(26 ก.พ.66) รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ระบุข้อความว่า...

วันก่อนไปธุระกับครอบครัวที่เซ็นทรัลพระราม 9 ในวันธรรมดา เสร็จธุระประมาณ 11.30 น. ปรึกษากันว่าจะทานอาหารกลางวันที่ร้านไหนดี ในที่สุดเลือกร้านซูชิแบบสายพานร้านหนึ่ง แม้จะหวาดเสียวว่า จะมีคนเลียนแบบคลิปญี่ปุ่นที่แชร์กันสนั่นใน social media ก็ตาม

ร้านนี้มีโต๊ะไม่น้อยกว่า 30 โต๊ะ ขณะเราเข้าไปโต๊ะยังว่างโล่ง แต่เมื่อถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษ ไม่ทราบผู้คนมาจากไหนนั่งกันเต็มทุกโต๊ะ หันซ้ายหันขวา มีแต่คนในวัยตั้งแต่ต่ำกว่า 40 ลงมาทั้งสิ้น ดูแล้วผมน่าจะอายุมากที่สุดในร้าน ราคาอาหารร้านนี้เฉพาะซูชิที่วิ่งบนสายพานมีจาน 4 สี 4 ราคา มีราคาจานละ 40 บาท 60 บาท 80 บาท และ 120 บาท มองไปเห็นแต่ละโต๊ะมีจานเปล่าหลากสีซ้อนกันเป็นชั้นๆสูงๆ เต็มไปหมด มีแต่โต๊ะผมที่รู้สึกจะมีจำนวนจานน้อยที่สุด 

เมื่อทานอาหารเสร็จเดินออกมาเห็นคนยืนเข้าแถวยาวรอโต๊ะว่าง มองไปที่ร้านอื่นก็เห็นมีคนรอโต๊ะกันหลายร้าน โดยเฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่นแน่นทุกร้าน สัปดาห์ที่แล้วไปที่อาคารธนิยะก็เป็นภาพแบบเดียวกัน ทั้งร้านอาหารในอาคารและนอกอาคาร มีผู้คนแน่นร้านเกือบทุกร้าน ร้านอาหารที่ธนิยะมีราคาสูงกว่าร้านซูชิสายพานอยู่บ้าง อาหารบางจานราคาสูงจนผมไม่กล้าสั่ง แต่เห็นโต๊ะอื่นๆ ล้วนเป็นคนรุ่นใหม่ในวัยทำงานสั่งกันเต็มไปหมด หรือว่าคนรุ่นใหม่เขาสั่งอาหารกันแบบไม่ต้องดูราคาก็ไม่ทราบได้ 

ภาพที่บรรยายไว้ข้างต้นเป็นภาพที่ส่งสัญญานชัดเจนว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มฟื้นแล้ว แตกต่างจากภาพที่เห็นในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาดั่งฟ้ากับเหว แน่นอน คนยากคนจนในประเทศเรายังมีอยู่มาก ช่วงห่างของความเหลื่อมล้ำก็ยังไม่ลดลง แต่คงไม่มีคนอดตายอย่างที่อภิปรายกันในสภา เลิกพูดกันได้แล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังดิ่งเหว หรือคนกำลังจะอดตายกันหมดแล้ว เพราะมันไม่ใช่ 

ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลโดยตรงทั้งหมด แต่ภาวะเศรษฐกิจก็ยังคงเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ถูกนำมาใช้ในการโจมตีรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย การทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูญที่ว่ากันว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ล้วนถูกนำมาใช้อ้างเป็นต้นเหตุของการที่เศรษฐกิจไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น 

คำอธิบายปฏิกิริยาและปรากฏการณ์ของคนรุ่นใหม่ในระยะที่ผ่านมาคือ ผู้ใหญ่ต้องพยายามเข้าใจเขา พวกเขาเพียงต้องการชีวิตที่ดีขึ้น แต่ ณ ขณะนี้พวกเขามองไม่เห็นอนาคตของตัวเองแต่อย่างใดเลย  

"ชีวิตที่ดีขึ้น" ที่จริงแล้วคืออะไร คือชีวิตที่วันๆ ออกไปทานอาหารแบบโอมากาเสะ หรืออาหารแพงๆ ในร้านหรูๆ ขับรถหรู ใช้ของแพง นาฬิกาแพงๆ แล้วถ่ายรูปมาลงอวดกันใน social media อย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่น่าแปลกใจที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำเว็บพนันออนไลน์ หวยออนไลน์ ธุรกิจฟอกเงิน มีบ้านหรู รถหรู ใช้ของหรู ล้วนมีอายุไม่เกิน 30 ปี พวกเขาคงเลือกอาชีพที่ผิดกฎหมาย หรือหมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมาย ก็เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นกระมัง

จะว่าไปในประเทศเรา หากมีความขยันและมุมานะพอ และรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ใช้เงินใช้ของที่สอดคล้องกับฐานะทางการเงินของเรา ทุกคนก็มีความสุขได้ ความพอเพียงไม่ได้หมายความว่าให้หยุดการขนขวายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น แต่หมายถึงการมีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก ไม่ใช้เงินเกินฐานะตัวเอง 

ข้ออ้างอีกอย่างที่ได้ยินบ่อยๆ ก็คือต้องการการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่า ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่า สังคมที่ดีกว่าในบริบทของคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่สังคมที่ยึดหลักจริยธรรม รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เคารพสิทธิของผู้อื่น แต่หมายถึงสังคมที่เท่าเทียมกัน สังคมที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นไปได้ยาก กระทั่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศทุนนิยม ซึ่งดูเหมือนเป็นระบบเศรษฐกิจที่คนรุ่นใหม่นิยมชมชอบ และความเชื่อของคนรุ่นใหม่คือ ความเท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันทหาร เพราะนั่นคืออุปสรรคสำคัญ พวกเขาเชื่อเช่นนั้นจริงๆ 

ครม. วาง 4 ยุทธศาสตร์พัฒนา ‘รบ.ดิจิทัล’ ปี 66-70 มุ่งดันดัชนี EGDI ไทย ขึ้นอันดับ 40 ของโลก

ครม.เห็นชอบแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.66-70 ตั้งเป้าดันดัชนี EGDI ไทยขึ้นอันดับ 40 ของโลก กำหนด 4 ยุทธศาสตร์ ยกระดับบริการภาครัฐสะดวก โปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน

ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบและอนุมัติ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป

(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการบริหารงานของภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล และสามารถยกระดับการให้บริการประชาชนให้มีความสะดวกและเปิดเผยมากขึ้น โดยมีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นความสำคัญ (Focus Area) 10 ด้าน 

ได้แก่ (1) ด้านการศึกษา (2) ด้านสุขภาพและการแพทย์ (3) ด้านการเกษตร (4) ด้านความเหลื่อมล้าทางสิทธิสวัสดิการประชาชน (5) ด้านการมีส่วนร่วม โปร่งใส และตรวจสอบได้ของประชาชน (6) ด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (7) ด้านสิ่งแวดล้อม (8) ด้านแรงงาน (9) ด้านท่องเที่ยว และ (10) ด้านยุติธรรม โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 
(1) เพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลสาธารณะของรัฐที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ สามารถอำนวยความสะดวกในการให้บริการและเป็นที่ยอมรับของประชาชน 

(2) เพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการบริหารจัดการและการดำเนินงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว มีการบูรณาการแบบไร้รอยต่อ เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 

(3) เพื่อเป็นกรอบทิศทางให้หน่วยงานภาครัฐจัดทาแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของไทย

2. ตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมาย คือ ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการออนไลน์ภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และอันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E - Government Development Index: EGDI) ของไทยไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 40 ของโลก ซึ่งปัจจุบันอันดับของไทยอยู่ที่ 55 ของโลก

3. กลไกการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติจะต้องอาศัยกลไกการขับเคลื่อนสำคัญ คือ 
(1) กลไกด้านนโยบาย ที่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล 

(2) กลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินกิจกรรม หรือโครงการร่วมกันภายใต้แผนดังกล่าว

(3) กลไกด้านงบฯ กำหนดเกณฑ์ในการอนุมัติงบฯ เพื่อให้การจัดสรรงบฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

(4) กลไกการติดตามและประเมินผลโครงการ มีการพัฒนาชุดข้อมูลการดำเนินโครงการฯ ต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวในการรวบรวมข้อมูล เพื่อตรวจสอบติดตามและประเมินผลโครงการของแผนรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ยุทธศาสตร์ 4 ข้อสำคัญ คือ
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น เช่น ภาครัฐดำเนินการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง โดยภายในปี 2570 ร้อยละความสำเร็จของการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านสำคัญคิดเป็นร้อยละ 100 ประกอบด้วยการพัฒนาที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบริการพื้นฐาน (Common Services) และด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Foundation) รวม 14 โครงการ เช่น โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ โครงการพัฒนาศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ

- ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย เพื่อประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างครบถ้วน ณ จุดเดียว (One - Stop Service) โดยภายในปี 2570 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จในด้านสำคัญคิดเป็นร้อยละ 100 ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นความสำคัญ (Focus Area) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน และด้านสิ่งแวดล้อม รวม 8 โครงการ เช่น โครงการแพลตฟอร์มระบบสุขภาพดิจิทัลแห่งชาติ โครงการแผนที่สิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของไทย (E - Workforce Ecosystem) โครงการพัฒนาระบบบูรณาการข้อมูลสิทธิสวัสดิการเพื่อการวิเคราะห์และอำนวยความสะดวกในการให้บริการ

- ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างมูลค่าเพิ่มและอานวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ เพื่อผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการดิจิทัลของภาครัฐ โดยภายในปี 2570 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการภาคธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จในด้านสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 100 ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นความสำคัญ (Focus Area) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตร ด้าน SMEs ด้านแรงงาน และด้านท่องเที่ยว รวม 7 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร โครงการหนึ่งรหัสหนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs)

กระตุ้นเที่ยวใต้!! เปิดตัว e-book 'คู่มือเส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อมุสลิม' ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้

รัฐบาล เปิดตัว e-book ‘คู่มือเส้นทางท่องเที่ยว ที่เป็นมิตรต่อมุสลิม และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร’ ส่งเสริมการท่องเที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้ เชื่อมโยงมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ 

(2 มี.ค.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันภาคธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสลามทั่วโลกที่กำลังเติบโต และเป็นกลุ่มที่มีกำลังใช้จ่ายสูง ให้เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ รัฐบาลโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เปิดตัวคู่มือเส้นทางท่องเที่ยว ‘Muslim Friendly & Gastronomy Tourism Routes’ หรือ คู่มือเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อมุสลิมและการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เพื่อเป็นอีกทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่แสวงหาการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ อีกทั้ง ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้ตลอดเส้นทางการท่องเที่ยวใน 14 จังหวัดภาคใต้

น.ส.รัชดา กล่าวว่า คู่มือเส้นทางท่องเที่ยว Muslim Friendly & Gastronomy Tourism Routes นี้ เป็นการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เชื่อมโยงกับ 3 ประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาะบาตัม อินโดนีเซีย โดยมี 2 เส้นทางท่องเที่ยว คือ...

1. เส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อมุสลิม (Muslim Friendly Tourism Route) เป็นการนำเสนอสถานที่ที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม โดยไม่ขัดต่อหลักศาสนา อีกทั้งนักท่องเที่ยวทั่วไปก็สามารถแวะได้เพื่อสัมผัสวัฒนธรรมอาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวมุสลิม และ 2. เส้นทางท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism Route) เส้นทางนี้นอกจากจะนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปแล้ว ยังนำเสนอร้านอาหารท้องถิ่นและเป็นที่นิยมของแต่ละแห่ง ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นผ่านอาหารในแต่ละมื้ออย่างเต็มอิ่ม

อยากมาอีก!! 'รอนนี่' ประทับใจ แข่งสนุกเกอร์ที่ปทุมธานี ชม!! คนอัธยาศัยดี อาหารอร่อย แม่น้ำสวย

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.66) ที่มารีน่าแจ๊สคอนโด (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ในฐานะเจ้าภาพจัดการแข่งขัน พร้อมด้วย สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย และ บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด ร่วมต้อนรับ รอนนี่ โอซุลลิแวน (Ronnie O'Sullivan) นักสนุกเกอร์อาชีพชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักในสไตล์การแทงเร็วและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในฐานะนักสนุกเกอร์ที่เก่งที่สุดตลอดกาล รอนนี่ โอซุลลิแวน ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อแข่งขันสนุกเกอร์รายการ ปทุมธานี 6 แดง ชิงแชมป์โลก 2023 'Pathum Thani 6 Red World Championship 2023' ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 6 - 11 มีนาคม 2566 ที่สนามแข่งขันธรรมศาสตร์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 

รอนนี่ โอซุลลิแวน กล่าวว่า รู้สึกประทับใจทุกครั้งที่เดินทางมาประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้เดินทางไม่ได้ การที่ได้เดินทางมาประเทศไทยทำให้รู้สึกดีมาก เพราะว่าได้พบเพื่อนที่ประเทศไทยและชอบอาหารไทย วันนี้ได้ทานหลายเมนูเช่นกุ้งแม่น้ำเผา ลาบปลาตะเพียน เป็นต้น ที่อร่อยและชอบมาก 

สำหรับการแข่งขันที่สนามประเทศไทยรู้สึกแปลกใหม่ รู้สึกว่าได้ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่าง ๆ ทำให้ต้องคิดมากขึ้นในการเล่น พบว่าคนปทุมธานียิ้มแย้มแจ่มใสอัธยาศัยดี หากครั้งหน้าถูกเชิญมาแข่งอีกก็มา เพราะที่นี่อากาศดีมีแม่น้ำที่สวยในส่วนของการเล่นสามารถเล่นได้ทั้งมือซ้ายและขวา แต่จะถนัดขวามากที่สุด และจะเล่นมือซ้ายในมุมที่ต้องการมากกว่ามือขวา 

ด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการจัดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ ทรงมีพระมหกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานถ้วยรางวัลในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในส่วนของการแข่งขันสนุกเกอร์ในประเทศไทยเรา เมื่อพระราชทานมา เราต้องจัดให้สมพระเกียรติ สิ่งที่ทางจังหวัดปทุมธานีพยายามจัดทั้งขบวนแห่ รวมถึงให้เกียรติทุกชาติที่มาร่วมแข่งขัน หวังอย่างยิ่งว่าในปีต่อ ๆ ไปเราจะมีการจัดแบบนี้เป็นประเพณีสืบต่อไป 

ขณะที่ นางสาวณัชชารัตน์ วงศ์หฤทัย (มิงค์ สระบุรี) กล่าวว่า ในปีนี้การจัดการแข่งขัน 6 แดงชิงแชมป์โลกถือว่ายิ่งใหญ่มาก ๆ รวมถึงได้รับเกียรติจาก รอนนี่ โอซุลลิแวน มาร่วมการแข่งขันด้วย จัดได้ดีมาก ๆ  และหนูได้มีความสุขที่ได้ลงรายการนี้  

ระดับบิ๊กๆ ทั้งนั้น!! 'ต่อตระกูล' ย้ำข่าวดี!! นักธุรกิจจีนทั่วโลกนับพันมาไทย ประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกที่ศูนย์สิริกิติ์ 24-26 มิ.ย.นี้

(10 มี.ค.66) นายต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า...

ข่าวดีๆ วันศุกร์ ไทยดึงนักธุรกิจจีน 4,000 คนจากทั่วโลก มาร่วมประชุมในประเทศไทย ปีนี้ ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2566 ในงานการ ประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention-WCEC) ครั้งที่ 16 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดขึ้นโดยหอการค้าจีน-ไทย

สำหรับเป้าหมายงานนี้จัดขึ้น เพื่อสืบสานจิตวิญญาณของนักธุรกิจชาวจีนและมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังนักธุรกิจชาวจีนรุ่นใหม่ในยุคใหม่ เพื่อเป็นกำลังหลักในการพัฒนาคุณภาพสูงของความทันสมัยสไตล์จีนและความเจริญรุ่งเรืองของชาวจีนในอนาคต และสร้างคุณูปการใหม่ให้กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

โดยประเทศไทยเป็นประเทศศูนย์กลางของอาเซียนและเป็นประเทศที่มีนักธุรกิจชาวจีนอาศัยมากที่สุด มีรากฐานอุตสาหกรรมและการค้าที่แข็งแกร่ง และโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ มีความร่วมมืออย่างกว้างขวางกับจีนและโลกในด้านอุตสาหกรรม การพาณิชย์ การเกษตร เทคโนโลยีขั้นสูง พลังงาน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

ปัจจุบันรัฐบาลไทยกำลังส่งเสริมการเชื่อมโยงในเชิงลึกระหว่าง 'ไทยแลนด์ 4.0' เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และ 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง-BRI' ของจีน รวมถึงการเชื่อมโยงโอกาสจากการพัฒนาอ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า การพัฒนาเขตการค้าเสรีไห่หนาน ระเบียงเศรษฐกิจปักกิ่ง เทียนสิน เหอเป่ย์ และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงของจีน นอกจากนี้ จากความก้าวหน้าของ RCEP ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตัวเลือกลำดับแรกสำหรับการลงทุนของนักลงทุนชาวจีน

ย้อนดูผลงานประเทศไทย กับ อันดับด้านต่าง ๆ ในเวทีโลก

ย้อนดูผลงานประเทศไทย กับ อันดับด้านต่าง ๆ ในเวทีโลก

ประมวลผลการจัดอันดับในช่วงปี 2562-2565 ใน 5 มิติ ที่สะท้อนศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกได้อย่างเด่นชัด!!

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ (ไทย)
 

เปิดใจให้เมืองไทย ฉายภาพ 'ไทยเที่ยวไทย' ผ่านมุมมองอดีตปลัด ก.ท่องเที่ยวฯ ประสบการณ์ที่คนไทยควรช่วยกันสะท้อน จนต่างชาติอยากตามรอย

(12 มี.ค.66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้มุมมองถึงภาพรวมพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 66 โดยเน้นย้ำให้คนไทยหันมา 'ไทยเที่ยวไทย' มากขึ้น ไว้อย่างน่าสนใจ...

นายพงษ์ภาณุ มองว่า เรื่องของการท่องเที่ยวเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงเพิ่มพูนศักยภาพของบุคคลได้อย่างมาก แม้บางคนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย แต่เปล่าเลย กลับกันการท่องเที่ยวมีความจำเป็น และสร้างประโยชน์ให้กับชีวิตผู้คนได้อย่างมหาศาล 

นายพงษ์ภาณุ กล่าวอีกว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่สำคัญที่ภาคการท่องเที่ยวกำลังกลับมา แต่ไม่ใช่แค่ต่างชาติมาเที่ยวไทย คนไทยก็ควรเที่ยวไทยมากขึ้น เพราะหากดูจากสถิติแล้วคนไทยในปัจจุบันนั้นยังเที่ยวไทยน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่คนไทยนั้นทำงานเก็บเงินกันซะเป็นส่วนใหญ่ แต่แทนที่จะได้มีโอกาสออกไปท่องเที่ยว โดยเฉพาะเที่ยวไทย 

"เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยเที่ยว เพราะว่าคนไทยมองการท่องเที่ยว เป็นการฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นกับชีวิต อยากจะเก็บเงินเพื่อออมไว้ให้ลูกหลาน ซึ่งพฤติกรรมนี้มีมานานแล้ว และผมไม่อยากให้คนไทยทำงานหนักเกินไป ควรหาเวลาเติมความสุขให้ชีวิตตัวเองบ้าง เพราะที่ผ่านมาคนไทยนั้นทำงานหนักมาก ถึงเวลาที่คนไทยควรใช้เงินส่วนนี้มาหนุนความสุขให้ชีวิต ขณะเดียวกันนี่ก็จะเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ หนุนเมืองรองอื่น ๆ ในประเทศให้ต่างชาติได้เห็นคุณค่าไปในตัว"

เกี่ยวกับเรื่อง 'เมืองรอง' นายพงษ์ภาณุ เล่าต่อว่า เมืองรอง คือ เสน่ห์ที่ไม่ได้แพ้เมืองหลัก ล่าสุดตนได้ทราบยอดจองการเดินทางและที่พักในหลายๆ เมืองของไทยเพิ่มขึ้นมาไม่แพ้กรุงเทพฯ ซึ่งมองว่า ไทยต้องผลักดันให้เมืองรองเหล่านี้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะประเทศไทยมีอีกหลายพื้นที่ และหลายสิ่งอย่างให้ท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ แต่เริ่มต้นที่คนไทย เที่ยวไทย เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ จากเมืองรองเหล่านั้น แล้วสะท้อนไปสู่สายตาชาวต่างชาติจนอยากตามมา

"อย่าลืมว่า การท่องเที่ยวไทยไม่ว่าจะภาคไหน หรือพื้นที่ไหน ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยเรื่องราวใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆ เป็นการเปิดโลก เพื่อสร้างประสบการณ์ในการต่อยอดในชีวิตบนพื้นที่ประเทศไทย เป็นสิ่งที่มอบคุณค่าชีวิตให้กับทุกคนที่มีโอกาสมาเยี่ยมเยือน ซึ่งผมขอย้ำว่าไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย แต่เป็นประสบการณ์อันดี คุ้มค่า และน่าส่งต่อให้สายตาชาวโลกได้เห็น"
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top