Saturday, 29 June 2024
ประเทศไทย

‘เศรษฐา’ นำทีม พท. ถก ‘หอการค้าฯ-สภาหอการค้าฯ’ ฟุ้ง!! ถ้าได้เป็น รบ. พร้อมเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจทันที

(21 มี.ค.66) แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบาย และประธานกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคพท. นายกิตติ ลิ่มสกุล รองหัวหน้าพรรค นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่กรุงเทพฯ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาคกรุงเทพฯ นายวราวุฒิ ยันต์เจริญ กรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่กรุงเทพฯ นายดนุพร ปุณณกันต์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง กรุงเทพฯ นายจักรพงษ์ แสงมณี นายทะเบียนพรรคและคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคพท.น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย พรรคพท.ร่วมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายเศรษฐา กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจเป็นแนวทางที่ทุกพรรคการเมืองให้ความสำคัญ พรรคพท.ซึ่งดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจในอดีต สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตสำหรับคนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไป จะกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ส่วนจำนวนเงินจะบอกอีกครั้ง  ไม่ใช่ 500-600 บาทแน่นอน ซึ่งจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้เป็นทวีคูณ 

นอกจากนี้จะใช้นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามปรัชญา ‘นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ เพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สร้างรายได้ต่อไร่ให้กับเกษตรกร 3 เท่า เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำในทุกพื้นที่ หากพรรคพท.ได้รับโอกาสจากประชาชน เราจะดำเนินการตามนโยบายโดยไม่เสียวินัยการเงินการคลัง สร้างเม็ดเงินภาษีสู่ประเทศแม้จะเป็นกลุ่มชายขอบของสังคมหรือกลุ่มรายได้น้อย 

ทั้งนี้ 8 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยบอบช้ำไปมาก เรายินดีปรับปรุงแก้ไข ขอให้ภาคเอกชนสบายใจได้ สิ่งที่ดีเราจะสานต่อและพร้อมฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

นพ.พรหมินทร์ กล่าวว่า หลักการของพรรคพท.ในการผลักดันเศรษฐกิจมี 3 ด้านหลัก ๆ คือ 

1.ภาครัฐจัดเก็บภาษีจากกำไรในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน 20% ดังนั้นภาครัฐถือเป็นหุ้นส่วนกับประชาชนในการนำเงินภาษีมากระตุ้นเศรษฐกิจ 

2.เพิ่มกำลังซื้อและเพิ่มอำนาจการจับจ่ายของประชาชน ผ่านการยกฐานเศรษฐกิจด้านล่างขึ้น ค้าขายจะดีขึ้น กำลังซื้อเพิ่ม การผลิต การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีจะเพิ่มขึ้นเพื่อมาดูแลประชาชนได้ดีขึ้น

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ สำเร็จในรอบ 32 ปี ขึ้นแท่นคู่ค้ารายใหญ่ ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจรอบด้าน

(22 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีกับความสำเร็จหลังการฟื้นความสัมพันธ์ประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เปิดโอกาสความร่วมมือ เพิ่มตัวเลขการค้าระหว่างกัน โดยในปี 2565 มีมูลค่าการค้ารวม 323,113.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 37.64%

ทั้งนี้ ช่วงต้นปี 2565 รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเป็นผลสำเร็จ เปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว, ด้านแรงงาน, ด้านอาหาร รวมถึงความร่วมมือใน ด้านสุขภาพ, ด้านพลังงาน, ด้านการศึกษาและศาสนา, ด้านความมั่นคง, ด้านกีฬา และด้านการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ฝ่าย โดยภาคเอกชนไทยสนใจลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าตกแต่งภายใน ส่วนซาอุดีอาระเบียสนใจลงทุนด้านพลังงานในพื้นที่ EEC ซึ่งซาอุดีอาระเบียพร้อมลงทุนสูงถึง 300,000 ล้านบาทใน EEC

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ขยายความร่วมมืออีกหลายฉบับ จับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างภาครัฐซาอุดีอาระเบีย และภาคเอกชนไทย มากกว่า 500 คู่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดมูลค่าการค้าใหม่ 3 หมื่นล้านบาท และสร้างการลงทุนระหว่างกันมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2566

ในช่วงต้นปี 2566 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 1 ปีฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ตัวเลขการค้าของสองฝ่ายมีมูลค่ารวมกว่า 323,113.42 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขทางการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 37.64% ทำให้ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 17 ของไทยในตลาดโลก และอันดับที่ 2 ในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ย้อนไทม์ไลน์ความสัมพันธ์ ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ รอยร้าวฉานที่กำลังถูกผสานให้เชื่อมต่อกันอีกครั้ง

หากย้อนอดีตกลับไป จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน กรณีความสัมพันธ์ไทย – ซาอุดีอาระเบีย คือ การที่เจ้าหน้าที่ทูตซาอุดีอาระเบียถูกลอบสังหารกลางเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2532 โดยที่ตำรวจไทยไม่สามารถสืบสวนจับคนร้ายมาดำเนินคดีได้

ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 คนร้ายได้ลงมือฆ่าเจ้าหน้าที่การทูตซาอุดีอาระเบียอีก 3 ศพรวดในเวลาเดียวกัน และในเดือนเดียวกัน ‘นายมูฮัมหมัด อัลรูไวลี’ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียและเป็นสมาชิกราชวงศ์ของตระกูลอัล-ซะอูด ได้หายตัวไปอย่างลึกลับ จนทำให้มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลชุดหนึ่ง ข้อหา ‘อุ้ม’ นายอัลรูไวลีไปเค้นข้อมูล เพราะเชื่อเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตายของเจ้าหน้าที่การทูตของซาอุดีอาระเบียที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

กรณีนี้ ทำให้ทางการซาอุดีอาระเบียไม่พอใจอย่างยิ่ง จนถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย ห้ามประชาชนของซาอุดีอาระเบียเดินทางมาประเทศไทย และลดระดับความร่วมมือระดับสูงในทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบียไม่ได้เลวร้ายลงเพียงเพราะคดีฆาตกรรมเท่านั้น แต่ยังเกิดจากกรณีที่คนงานไทย ‘นายเกรียงไกร เตชะโม่ง’ ซึ่งไปทำงานในวังของเจ้าชายแห่งซาอุดีอาระเบีย แล้วได้ลักลอบโจรกรรมเพชรกลับประเทศไทย แต่ตำรวจไทยก็ยังไม่สามารถติดตามเพชรของกลางหลายรายการส่งกลับคืนให้ซาอุดีอาระเบียได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเพชร ‘บลูไดมอนด์’ ซึ่งเป็นเพชรเม็ดใหญ่ที่สุด

ความสัมพันธ์กลับเลวร้ายลงไปอีก เมื่อของกลางส่วนหนึ่งที่ติดตามกลับมาได้ มีการเอาไปปลอมแปลงก่อนนำกลับไปคืนให้ซาอุดีอาระเบีย ทั้งหมดจึงเป็นเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ของไทยกับซาอุดีอาระเบียสะบั้นลงทันที

และในสมัยรัฐบาลของ ‘นายกทักษิณ ชินวัตร’ จะหมดอำนาจ เขาได้เสนอเงินจำนวน 2 หมื่นล้านบาท ให้แก่รัฐบาลซาอุฯ เพื่อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพื่อให้แรงงานไทยกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ยังไม่ทันได้รับการตอบรับหรือปฏิเสธก็มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจในประเทศไทยเสียก่อน

และเมื่อปี 2563 ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ‘นายดอน ปรมัตถ์วินัย’ ให้สัมภาษณ์ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2563 ว่าตนเองได้เดินทางเยือนประเทศบาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน พร้อมทั้งกล่าวว่า การเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียนั้น เป็นการเดินทางเยือนตามคำเชิญของฝ่ายซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีการนัดหมายกันไว้ล่วงหน้าและยังถือเป็นการเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในรอบ 30 ปี

ระหว่างการเยือนได้มีการหารือกับ ‘เจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟัรฮาน อัลซะอูด’ รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย กับ ‘นายอาดิล บิน อะหมัด อัล-นูบีร’ รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านกิจการต่างประเทศและอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย  โดยประเด็นหลักที่ได้มีการพูดคุยกันคือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ รัฐมนตรีดอน ปรมัตถ์วินัย ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “การเยือนครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากซาอุดีอาระเบียเป็นอย่างดี และถือเป็นพัฒนาการในทางบวกที่จะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งสองประเทศต่อไป”

และในปี 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไป เยือนซาอุฯ ตามคำเชิญของ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมานฯ มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งซาอุดีอาระเบีย การฟื้นความสัมพันธ์ครั้งนี้ ถือเป็นความสัมพันธ์ทางการทูตที่พัฒนาขึ้นสู่ระดับสูงสุด หลังจาก 32 ปี ไทยมีตัวแทนซาอุฯ แค่ระดับอุปทูต ซึ่งจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ทุกด้านยกระดับตามไปด้วย เช่น ด้านแรงงาน, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, การลงทุน, การส่งออกอาหารฮาลาล การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวมุสลิมในไทย การสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชาวมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ความสัมพันธ์กับองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ ‘โอไอซี’ แม้การส่งแรงงานไปซาอุฯ อาจไม่ได้มากเท่าเดิม แต่ก็รับทราบว่า ซาอุฯ ยืนยันจะใช้แรงงานไทย

วันนี้ (22 มี.ค. 66) ด้านโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอนุชา บูรพชัยศรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยินดีกับความสำเร็จหลังการฟื้นความสัมพันธ์ประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ช่วงต้นปี 2565 เป็นผลสำเร็จ เปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว, ด้านแรงงาน, ด้านอาหาร รวมถึงความร่วมมือใน ด้านสุขภาพ, ด้านพลังงาน, ด้านการศึกษาและศาสนา, ด้านความมั่นคง, ด้านกีฬา และด้านการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ฝ่าย โดยภาคเอกชนไทยสนใจลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าตกแต่งภายใน

ทีมเศรษฐกิจก้าวไกล กร้าว!! ขอมุ่งโตอย่างเป็นธรรม ปัก 3 เป้า ‘ชีวิตมั่นคง-แข่งขันเป็นธรรม-ลุยโกลบอล'

‘ก้าวไกล’ เปิดตัวทีมเศรษฐกิจ ประกาศ 7 วาระสู่อนาคต ปักธงสร้างเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม ตั้ง 3 เป้าหมาย รากฐานชีวิตคนไทยมั่นคง - กติกาแข่งขันเป็นธรรม - พาธุรกิจไทยบุกตลาดโลก

(22 มี.ค.66) พรรคก้าวไกลเปิดตัวแกนนำหลักทีมเศรษฐกิจ 7 คน ซึ่งมีส่วนผสมที่หลากหลายอย่างลงตัว ทั้งในแง่อาชีพ มีทั้ง ส.ส. นักวิชาการ ข้าราชการ นักธุรกิจ ในแง่ช่วงวัย มีทั้งคนรุ่นใหม่ รุ่นกลาง รุ่นเก๋า และในแง่มิตินโยบายเศรษฐกิจ ที่ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจภาคเมือง เศรษฐกิจภาคชนบท เศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมไฮเทค

โดยทั้ง 7 คน ประกอบด้วย (1) วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร (2) สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล (3) วรภพ วิริยะโรจน์ (4) อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล (5) ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร (6) เดชรัต สุขกำเนิด และ (7) ศิริกัญญา ตันสกุล

ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล คือการเติบโตอย่างเป็นธรรม (Inclusive Growth) ด้วยการทำให้เศรษฐกิจเติบโต แต่ขณะเดียวกันดอกผลของการพัฒนาต้องถูกกระจายอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะทำแบบนี้ได้ มีเป้าหมาย 3 เรื่อง คือ การสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจให้มั่นคง (Firm Ground) การสร้างกลไกภาครัฐและกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรม (Fair Game) และ การทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตพุ่งทะยานรองรับความท้าทายใหม่ๆ ของโลก (Fast Forward Growth)

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยด้านนโยบายสาธารณะ National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ประเทศญี่ปุ่น ประกาศวาระ ‘เปลี่ยน Made in Thailand เป็น Made with Thailand’ โดยกล่าวว่า นโยบาย Made in Thailand ถูกใช้มาตั้งแต่ยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คือการชวนคนเข้ามาลงทุน ลดแลกแจกแถม มีมาตรการภาษีสร้างแรงจูงใจ ทำให้จีดีพีประเทศโตขึ้น แต่คนไทยได้ส่วนแบ่งดอกผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และนโยบายนี้ไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ที่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ไม่ได้ยึดติดกับดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เกี่ยวข้องกับหลายพื้นที่ทั่วโลก เช่น การผลิตสมาร์ทโฟน ซึ่งประเทศไทยตกขบวนไปแล้ว มีการออกแบบในสหรัฐอเมริกา ใช้ชิปจากไต้หวัน ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จากญี่ปุ่น จอภาพจากเกาหลีใต้ ประกอบในจีนและอินเดีย ใช้สิทธิบัตรจากสวีเดน ดังนั้น ประเทศไทยต้องไม่ยึดติดกับคำว่า ‘In’ หรือการลงทุนในดินแดน แต่ต้องคิดใหม่ว่าจะทำอย่างไรให้ คนไทย การผลิตแบบไทย สิทธิบัตรไทย เข้าไปเชื่อมโยงเป็นส่วนผสมหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของโลก เปลี่ยนจาก Made in Thailand เป็น ‘Made with Thailand’

“พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ให้เป็นหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจ เราต้องคิดใหม่ เปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนยุทธศาสตร์ รวมถึงเปลี่ยนผู้ทำนโยบายเท่านั้น ถึงจะเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยได้” วีรยุทธกล่าว

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล อดีตผู้พิพากษาศาลสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อดีตกรรมการบริษัทเอกชนสินค้าไลฟ์สไตล์แบรนด์ไทย Moshi Moshi ประกาศวาระ ‘เปิดโอกาส เปิดตลาด SME’ โดยกล่าวว่า ปัจจุบันไทยมี SME 3 ล้านราย จ้างงานถึง 1 ใน 3 ของประเทศ แต่ที่ผ่านมา SME อ่อนแอลงเรื่อยๆ พรรคก้าวไกลเสนอนโยบาย 5ต ทำให้ SME กลับมาเข้มแข็งเป็นพลังของเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย (1) ‘เติมทุน’ คือทุนตั้งตัว 100,000 บาท และทุนสร้างตัว 1,000,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น โดยภายใน 4 ปีภายใต้รัฐบาลก้าวไกล ตั้งเป้าจะสร้างผู้ประกอบการ SME ที่เข้มแข็งกว่า 1 ล้านราย (2) ‘เติมตลาด’ เพื่อให้ SME เข้าถึงตลาดได้มากขึ้น (3) ‘ตั้งสภา’ SME ให้สามารถรวมกลุ่มกันได้ มีปากเสียงทัดเทียมกับทุนใหญ่ รวมถึงกำหนดนิยาม SME ให้เข้มงวดมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาบริษัทขนาดใหญ่แตกบริษัทขนาดย่อยมาแข่งขัน (4) ‘ตัดรายจ่าย’ โดยปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคลในระบบก้าวหน้า ให้ SME เสียภาษีอัตราต่ำลง และเมื่อรัฐบาลก้าวไกลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสำเร็จ SME สามารถนำค่าจ้างลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าเป็นเวลา 2 ปี และ (5) ‘แต้มต่อ’ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทขนาดใหญ่ที่สนับสนุน SME สร้างระบบบริษัทใหญ่ช่วยบริษัทเล็ก เติบโตไปด้วยกัน รวมถึงนโยบายหวยใบเสร็จ อุดหนุนสินค้าจากร้านรายย่อย ลุ้นได้เงินล้านทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

วรภพ วิริยะโรจน์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ประกาศวาระ ‘ทลายทุนผูกขาดเพื่อลดค่าครองชีพ’ โดยกล่าวว่า การเปิดโอกาสให้ SMEs จำเป็นค้องทลายทุนผูกขาด ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสุราที่มีมูลค่า 500,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งพรรคก้าวไกลจะแก้กฎหมายให้ประชาชนมีสิทธิ์เติบโตไปแข่งขันกับเจ้าสัวได้ การผูกขาดพลังงานหรือค่าไฟฟ้า ซึ่งพรรคก้าวไกลจะเสนอให้ยุติการผูกขาดสายส่ง เปิดเสรีธุรกิจไฟฟ้า, ปลดล็อกหลังคา เปิดให้บ้านเรือนใช้ ระบบ Net Metering ได้ ประชาชนติดตั้งโซลาร์บนหลังคา กลางวันไม่ได้ใช้ไฟฟ้าก็ขายคืนเข้าระบบ และจัดสรรก๊าซธรรมชาติของอ่าวไทยใหม่ให้คนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่กลุ่มทุนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ พรรคก้าวไกลจะยกเครื่องกฎหมายแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่ เปลี่ยนที่มาและเพิ่มอำนาจในการยุติการควบรวม และสั่งให้มีการแยกกิจการที่ผูกขาดได้เหมือนกับประเทศที่ทลายทุนผูกขาดได้สำเร็จ

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกาศวาระ ‘UNLOCK เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ โดยกล่าวว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยมีมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท มีคนทำงานในอุตสาหกรรมราว 900,000 คน พรรคก้าวไกลพร้อมพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยให้เทียบเท่านานาอารยประเทศ โดยจะเข้าไปแก้ปัญหาที่ฝังรากลึกทั้งหมด 4 อย่าง ประกอบด้วย (1) เติมงบประมาณ โดยต้องมีทิศทางการใช้จ่ายที่ชัดเจนไปในทางเดียวกัน ผ่านการเติมเงินกองทุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคนตัวเล็กในการแสดงความสามารถ และกองทุนนี้ต้องทำหน้าที่เหมือนกองทุนตั้งตัวของ SME (2) สร้างสวัสดิการให้แก่คนทำงานสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งคนเบื้องหน้าและเบื้องหลังหลายส่วน เช่น คนยกของ คนจัดไฟ ทุกคนต้องมีสวัสดิการรองรับ ให้มีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดี รองรับความไม่แน่นอน (3) เพิ่มทักษะความรู้และคุณภาพแก่คนในอุตสาหกรรม รวมถึงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในจังหวัดต่างๆ โดยนำพื้นที่ราชพัสดุหรือพื้นที่ทหารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และ (4) ให้เสรีภาพแก่คนทำงาน ทบทวนแก้ไขกฎหมายที่กดทับวิธีคิดสร้างสรรค์ เช่น กฎหมายเซ็นเซอร์

สวนนงนุชพัทยา ปรับภูมิทัศน์สถานทูตภูฏาน 1 ใน 13 สวนมิตรภาพฉันพี่น้อง

วันนี้ 22 มี.ค.66  สวนนงนุชพัทยา นำโดย นายกัมพล ตันสัจจา  ประธานสวนนงนุชพัทยา ได้นำทีมนักจัดสวนมากกว่า 100 คน เข้าปรับปรุงภูมิทัศน์สถานเอกอัครราชทูตภูฏาน ประจำประเทศไทย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งที่ 2 บนเนื้อที่ 3 ไร่ ในแนวคิด Friendship Garden จัดสวนแห่งมิตรภาพ ฉันพี่น้อง โดยมี นายคินซัง ดอร์จี (H.E.Mr. Kinzang Dorji) เอกอัครราชทูตภูฏาน ประจำประเทศไทย ให้การต้อนรับ

 

นายกัมพล ตันสัจจา กล่าวว่าไทยกับภูฏาน มีความสัมพันธ์ทางการทูตมายาวนาน ที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2561 สวนนงนุชพัทยา ได้เข้ามาปรับภูมิทัศน์ภายในสถานทูตแห่งนี้มาแล้ว และในวันนี้ได้เข้ามาปรับภูมิทัศน์อีกครั้ง ภายใต้แนวคิด Friendship Garden ในการจัดสวนแห่งมิตรภาพ ฉันพี่น้อง ที่เจริญเติบโตและมั่นคง ดั่งต้นไม้ที่ปลูกขึ้นทุกต้นในสถานที่แห่งนี้ สำหรับการปรับปรุงภูมิทัศน์ในครั้งนี้ นับเป็นสถานทูตแห่งที่ 2 ของปี 2566

 

ทั้งนี้สวนนงนุชพัทยา ได้เริ่มดำเนินการจัดสวนในสถานทูต ตั้งแต่ปี 2560 รวมเป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี และยังคงมุ่งมั่นในการจัดสวนแห่งมิตรภาพตลอดไป

 

โดยมี 13 สวนสถานทูตประจำประเทศไทย ที่ทางสวนนงนุชพัทยา เข้าไปดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ ได้แก่ สถานทูตฝรั่งเศส,สถานทูตอินโดนีเซีย,สถานทูตภูฎาน ,สถานทูตปากีสถาน,สถานทูตลาว,สถานทูตเนปาล,สถานทูตกัมพูชา,สถานทูตพม่า,สถานทูตรัสเซีย,สถานทูตเบลเยียม,สถานทูตอุซเบกิสถาน, สถานทูตสวิตเซอร์แลนด์และสถานทูตอิหร่าน
 

‘กัมพูชา’ โวย ‘ไทย’ ก๊อปท่ามวย ‘หนุมานข้ามลงกา’ งัดหลักฐานโชว์ ลั่น!! นครวัดมีมาเป็น 1,000 ปีแล้ว

(25 มี.ค. 66) เริ่มต้นจากการที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Thai Fight : King Of Muay Thai’ โพสต์ภาพ ‘หนุมานข้ามลงกา’ โดยเป็นงานประติมากรรมมวยไทยคาดเชือกของ นายสุริศักดิ์ พ้นภัยพาล ภายใต้แนวคิด มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทย มาตั้งแต่โบราณนานนม เดือดร้อนถึงเฟซบุ๊กแฟนเพจกัมพูชาที่ชื่อว่า ‘WORLD KUN KHMER Promotion’ ได้นำภาพดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับประติมากรรมบนกำแพงวัด พร้อมกล่าวว่า ‘หนุมานกุนขแมร์’ นั้นมีมานานกว่า 1,000 ปี เท่ากับจะบอกว่า ไทยนั้นไปขโมยของพวกเขามา

โดยทางเพจ WORLD KUN KHMER Promotion อ้างเหตุผล 4 ข้อ แปลเป็นไทยได้ดังต่อไปนี้

1.) ทั้งหมดมาจากพราหมณ์ ซึ่งนับตั้งแต่เกิดรัฐไทยในปี 1238 ไทยนับถือศาสนาพุทธ ไม่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีเพียงกษัตริย์ขอมแห่งอาณาจักรเขมรเท่านั้นที่นับถือศาสนาพราหมณ์ก่อนศาสนาพุทธด้วยซ้ำ
2.) ประเทศไทยไม่เคยมีประติมากรรมหนุมาน ที่แสดงศิลปะการต่อสู้และสงคราม ยกเว้นประติมากรรมวัดในอาณาจักรเขมร
3.) ไทยเคยรุกรานและยึดครองนครวัด ดังนั้น ไทยจึงได้จำลองแบบประติมากรรมในเมืองพระนคร ทั้งหมดมาจากประติมากรรมขอม
4.) ที่ผ่านมามีนักปราชญ์ชาวเขมรจำนวนมากมายังสยาม ชาวเขมรดั้งเดิมที่นั่นได้ฝึกฝนพวกเขาจนพัฒนาศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่า ‘มวยไทย’ จนถึงทุกวันนี้


ที่มา : https://www.facebook.com/MGR.SPORT/posts/pfbid066eNRxVLeseCB22QaYE3jRfwog8KrAPxBfkphC373ck6qniubkTvCbwv5UBQFEPtl

‘ธนาคารโลก’ เชื่อ!! ศก.ไทยฟื้นตัว ดันจีดีพีปี 66 โต 3.6% ชี้!! ท่องเที่ยวยังเด่น ลุ้นโกย 27 ล้าน นทท.เข้าประเทศ

‘เวิลด์แบงก์’ เคาะจีดีพีไทยปีนี้โต 3.6% อานิสงส์บริโภคภายในประเทศ-ท่องเที่ยวหนุนเต็มสูบ ลุ้นต่างชาติทะยาน 27 ล้านคน ส่งออกโคม่าติดลบ 1.8% ซมพิษเศรษฐกิจโลก หนุนปฏิรูปเศรษฐกิจ ช่วยดันเติบโตระยะยาว

(2 เม.ย. 66) นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำประเทศไทย ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) กล่าวว่า เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2566 ยังคงขยายตัวได้ที่ระดับ 3.6% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 2.6% โดยต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค ที่ส่วนใหญ่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ได้เร็วกว่าไทย โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตดีขึ้นต่อเนื่อง มาจากภาคการท่องเที่ยว ที่ได้รับอานิสงส์จากการที่จีนเปิดประเทศ โดยคาดว่าปีนี้ยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะเพิ่มขึ้นเป็น 27 ล้านคน คิดเป็น 68% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และการบริโภคภายในประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการคลัง โดยเฉพาะการตรึงราคาพลังงาน ที่ช่วยพยุงให้การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันเสถียรภาพทางการคลังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี จากสัดส่วนหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยปัจจุบันอยู่ที่ราว 60% ต่อจีดีพี และคาดว่าจะลดลงเหลือราว 59% ต่อจีดีพี เนื่องจากอัตราการใช้จ่ายของภาครัฐที่ลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการตรึงราคาพลังงานเป็นหลัก ขณะที่การส่งออกไทยในรูปเงินดอลล่าร์สหรัฐ ปีนี้คาดว่าจะหดตัวที่ 1.8% โดยได้รับผลกระทบชัดเจนจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4/2565 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 3.2%

ทั้งนี้ มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวที่ 3.7% และปี 2568 ที่ระดับ 3.5% โดยประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไม่ได้สูงมากนัก นั่นเพราะในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาการปฏิรูปเศรษฐกิจไทยค่อนข้างช้า แต่มองว่ายังมีโอกาสที่ไทยจะเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจให้ดีขึ้นในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากยังมีศักยภาพและเสถียรภาพด้านการเงิน และการคลัง ที่จะสามารถนำสิ่งนี้มาใช้ในการปฏิรูปเศรษฐกิจได้อย่างจริงจัง

“ประเด็นสำคัญในการเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจของไทย เพื่อเพิ่มรายได้จากภาษี โดยเฉพาะภาคบริการ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง รายได้ดี และใช้แรงงานที่มีทักษะสูง แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยมีกฎเกณฑ์ กติกาในภาคบริการที่ค่อนข้างเยอะ ถือเป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย ทำให้การลงทุนในส่วนนี้ยังมีข้อจำกัด ส่วนภาคการท่องเที่ยว ก็ต้องมีการเพิ่มมูลค่า เพิ่มการลงทุนด้านการท่องเที่ยวไม่ใช่เฉพาะในเมืองหลัก อย่างกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือภูเก็ต เท่านั้น รวมทั้งต้องยกระดับมาตรการการให้บริการด้านการท่องเที่ยว เราคิดว่าภาคการท่องเที่ยวอาจจะยังไม่ใช่เครื่องมือหลักที่จะทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น แต่ก็ยังเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญรวมถึงต้องเร่งปฏิรูปการลงทุนของภาครัฐ ที่ต้องเน้นคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ตลอดจนประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ต้องมีการปฏิรูปเรื่องสวัสดิการที่พุ่งเป้า เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และคนจนให้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเรื่องระบบการศึกษาก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องมีการปฏิรูปในวงกว้าง เพื่อเสริมทักษะให้กับเยาวชน หรือคนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน เรื่องนี้ที่ผ่านมาไทยไม่ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง” นายเกียรติพงศ์ กล่าว

เตือนใจไทยทั้งผอง ‘บิ๊กตู่’ ยกพระราชนิพนธ์ ร.6 ‘ไร้รักไร้ผล’ เตือนใจ อย่าให้ความขัดแย้ง-ความไม่สงบ ทำชาติเสียหาย

(5 เม.ย.66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงวาระ วันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 136 ปี กระทรวงกลาโหมซึ่งอยู่คู่บ้านคู่เมืองมาอย่างยาวนาน ด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงก่อตั้งมา เราในฐานะเป็นลูกเป็นหลาน ก็ต้องช่วยกันรักษาธำรงไว้ ความเข้มแข็งเกียรติยศเกียรติศักดิ์ ของกองทัพเหล่าทัพ และของกระทรวงกลาโหม  

“พวกเราต้องรักบ้านรักเมือง ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อบ่อเกิดของความสงบเรียบร้อย ของบ้านเมือง ตนเคยพูดไปแล้วว่าหากบ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย มีปัญหามากๆ จะทำให้โอกาสหลายๆ อย่างหายไปทันที ในมุมมองของต่างประเทศ” นายกฯ กล่าว  

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ‘ไร้รักไร้ผล’ จำได้ไหม จำไม่ได้กันหมดแล้ว ให้ลองไปเปิดฟังดูก็แล้วกัน ‘อันชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล หากชาติย่อยยับและอับจน ประชาชนจะสุขอยู่ได้อย่างไร’ ไปคิดดู ฝากทุกคนด้วย ฝากประชาชนทุกคนช่วยกันคิดด้วย ก็แล้วกัน ทำให้บ้านเมืองเราสงบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น เพื่อเราจะก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างสมศักดิ์ศรีและสง่างาม เพราะวันนี้มุมมองต่างๆ ของหลายประเทศ และขอให้ติดตามพัฒนาการด้าน ความมั่นคงของทุกประเทศด้วยโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน หากบ้านเมืองเราสงบเรียบร้อย เราก็จะสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่
ได้อย่างเต็มที่ ในทุกมิติทั้งความมั่นคง สิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพ ช่วยกันก็แล้วกัน ขอให้ช่วยกันนำพาบ้านเมือง ไปสู่ความปลอดภัยสันติสุข อย่าให้เกิดวิกฤตการณ์อะไรต่างๆ ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหายก็แล้วกัน ในช่วงนี้เราช่วงต่อๆ ไป 

เคลียร์ชัด!! 'หนี้สาธารณะ' มุมมองที่หลายคนอาจเขิน หากนำไปแถแบบไม่เข้าใจ

หลายคนอาจจะยังคงสงสัยกับคำว่า ‘หนี้สาธารณะ’ และอาจเคยได้ยินว่า ‘คนไทย’ มีหนี้ต่อหัวสูงมาก แต่เคยรู้หรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้วการกู้หนี้สาธารณะ นับเป็นการลงทุนในระยะยาวอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลตอบแทนสูง 

สำหรับเรื่องนี้ นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘เศรษฐกิจติดบ้าน’ ทางช่อง Thai PBS เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ดดยบางช่วงบางตอนได้ระบุว่า…

“หนี้สาธารณะ คือ หนี้ของประเทศจริงๆ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ ตามคำนิยาย พ.ร.บ.หนี้ของไทยค่อนข้างกว้าง รวมตั้งแต่ หนี้ของกระทรวงคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวที่จะกู้เงินให้ประเทศได้ หนี้รัฐบาลกลาง หนี้รัฐวิสาหกิจ ถึงแม้บางแห่งจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่การก่อหนี้ก็จะนับเป็นหนี้สาธารณะด้วยเช่นกัน รวมถึงหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ด้วย” 

“คำนิยามหนี้สาธารณะของไทยกว้างมาก กว้างกว่าประเทศอื่นๆ เยอะ ไม่ใช่ว่าประเทศไม่มีเงินจึงต้องก่อหนี้ แต่เพราะจริงๆ แล้ว การก่อหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ คือการก่อหนี้เพื่อการลงทุน และเพื่อโครงการที่เป็นสังคม สาธารณะประโยชน์”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top