Saturday, 25 May 2024
ก้าวไกล

‘ศาลรธน.’ ชี้!! การกระทำผิดต่อสถาบัน ถือเป็นการทำผิดต่อความมั่นคงของประเทศ

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การที่พรรคก้าวไกล เสนอให้ย้ายมาตรา 112 ออกจากความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐนั้น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 พระมหากษัตริย์ กับประเทศไทย ดำรงอยู่คู่เป็นเนื้อเดียวกัน หากผู้ใดกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงถือเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย"

‘ศาลรธน.’ ชี้ การเสนอย้าย ม.112 ออกจากความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ถือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การที่นายพิธา และพรรคก้าวไกล เสนอให้ย้ายมาตรา 112 ออกจากความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ถือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ และเป็นความผิดที่ร้ายแรงในระดับเดียวกันกับลักษณะอื่น”

หนึ่งในคำวินิจฉัยจาก ‘ศาล รธน.’ กรณีพรรคก้าวไกลเสนอแก้ ม.112 ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การเสนอให้ความผิด ม.112 ยอมความได้ มาตรา 139/1 และ วรรคสอง ให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ร้องทุกข์และเป็นผู้เสียหาย ถือเป็นความมุ่งหมายให้การกระทำ ม.112 เป็นการลดสถานะ และไม่ให้ความคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ จนกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชนโดยตรง”

‘ศาล รธน.’ วินิฉัย!! พรรคก้าวไกลเสนอแก้ ม.112 หวังผลการเลือกตั้ง-เจตนาบ่อนทำลาย-ล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การที่นายพิธาและพรรคก้าวไกล เสนอแก้ 112 เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง ถือเป็นการดึงสถาบันฯ ลงมาเพื่อหวังผลในการได้คะแนนเสียงและประโยชน์ในทางการเมือง อันจะเป็นผลให้สถาบันฯ ตกเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน ส่อเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายที่อาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ ได้ในที่สุด”

‘ศาล รธน.’ วินิจฉัย!! พรรคก้าวไกลเสนอแก้ 112 และเป็นนายประกันให้ผู้ต้องหาคดี 112 เข้าข่ายแล้วล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“พฤติการณ์เรียกร้องของ นายพิธา ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคที่เป็นกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ตลอดจน สส. ที่เรียกร้องให้แก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 รวมทั้งไปเป็นนายประกันให้กับผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 สะท้อนให้เห็นความมุ่งหมายในการยกเลิกมาตรา 112 อันเป็นการลดการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์”

‘ศาล รธน.’ วินิจฉัย!! พิธาติดสติ๊กเกอร์ ‘ยกเลิกม.112’ ส่อเจตนาบ่อนทำลายการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“กิจกรรมปราศรัยใหญ่ก้าวไกล เมื่อ 24 มี.ค.66 จ.ชลบุรี นายพิธา ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกลในขณะนั้น ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นติดสติ๊กเกอร์ในกิจกรรมของกลุ่มทะลุวังว่า ‘ยกเลิกม.112’ สะท้อนทัศนคติที่พร้อมจะยกเลิก 112 เพื่อทำให้บทบัญญัติที่คุ้มครองกษัตริย์หมดสิ้นไป เป็นการกระทำที่เซาะกร่อนบ่อนทำลาย”

‘ศาล รธน.’ วินิจฉัย!! หากปล่อยก้าวไกลเดินหน้าแก้ 112 จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“แม้การขอเสนอแก้ไข 112 จะผ่านพ้น แต่การรณรงค์ให้แก้ไขหรือยกเลิกยังคงอยู่ ทั้งการชุมนุม จัดกิจกรรม และการใช้สื่อออนไลน์ หากยังปล่อยให้นายพิธา และพรรคก้าวไกล กระทำการดังกล่าวต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

‘ศาล รธน.’ วินิจฉัย!! ‘พิธาและพรรคก้าวไกล’ ใช้เสรีภาพที่มีเพื่อล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองตามคำวินิจฉัยศาลฯ สะท้อนการใช้สิทธิหรือเสรีภาพการปกครองเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จึงสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าวและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”

ย้อนเหตุการณ์ 'ชาวเน็ตกัมพูชา' โผล่เคลม 'พิธา' เป็นคนเขมร  พร้อมงัดหลักฐาน อาจเป็นผู้สืบทอดทางสายเลือดมารดา

ดูเหมือนว่า 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสการเมืองไทยยิ่งทวีความร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีเรื่องให้ลุ้นไม่เว้นแต่ละวัน แต่เรื่องใหญ่และเป็นที่พูดถึงมากที่สุดก็คงไม่พ้นเหตุการณ์ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือครองหุ้นสื่อไอทีวีหรือไม่? ซึ่งผลที่ออกมาก็ขัดใจคนบางกลุ่ม และถูกใจคนบางกลุ่ม เพราะศาลมองว่าไอทีวี ไม่ได้ทำหน้าที่สื่อ ไม่มีรายได้ เป็นผลให้นายพิธาได้หวนสู่ตำแหน่ง สส. ผู้ทรงเกียรติอีกครั้ง

ส่วนอีกเหตุการณ์ก็เป็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายพิธาและพรรคก้าวไกล หยุดการกระทำ การพยายามแก้ไข ม.112 และชี้ว่าการเสนอนโยบายแก้ ม.112 ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่มีในการล้มล้างการปกครอง 

จาก 2 เหตุการณ์ที่กล่าวมา ก็ถือว่า นายพิธาและพรรคก้าวไกล ต้องเจอกับคดีใหญ่ ๆ ซึ่งอาจจะผลต่อเส้นทางการเมืองในประเทศไทย เพราะหากศาลตัดสินมีความผิด โทษหนักที่สุดก็คือ หมดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ทางฟากโหวตเตอร์ หรือคนที่สนับสนุนพรรคก้าวไกลก็ต้องมาคอยลุ้น คอยเชียร์เอาว่านายพิธาและพรรคก้าวไกลจะเป็นอย่างไรต่อไป

แต่ว่า…คงไม่เพียงแค่ผู้สนับสนุนในไทยเท่านั้นที่คอยลุ้นคอยเชียร์ เพราะนายพิธาก็มีแรงเชียร์ (แรงเคลม) ส่งตรงจากประเทศกัมพูชาด้วยเช่นกัน 

หากย้อนไปช่วงหลังเลือกตั้งปี 66 ทันทีที่ผลออกมาว่าพรรคก้าวไกลได้เก้าอี้ สส. มาเป็นอันดับ 1 และนายพิธาขึ้นแท่นว่าที่นายกฯ คนที่ 30 ของไทย ชาวเน็ตกัมพูชารายหนึ่งได้ออกมาโพสต์บอกว่า ‘ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ มีเชื้อสายเป็นคนเขมร พร้อมกับแนบหลักฐานรูปในอินสตาแกรมของ ‘นายพิธา’ ที่เคยโพสต์ไว้ตั้งแต่ปี 2558

พร้อมเขียนข้อความแปลไทยได้ว่า “การเมืองไทยจะขึ้น ๆ ลง ๆ ก็ยังไม่พ้นเลือดคนพระตะบอง ในการเลือกตั้งเมื่อวานนี้ พิธา ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้คะแนนสูงที่ 1 อาจเป็นผู้สืบทอดสายเลือดมารดา (ตามภาพ IG ของ Tim Pita ที่โพสต์พร้อมรูปถ่ายของโรงเรียนเก่าพระตะบอง ในปี 2559 คุณยายของเขาเคยอาศัยอยู่ในบ้านนี้เกือบศตวรรษ)”

“ขณะเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์ยังมีเหลนของ ควง อภัยวงค์ ที่ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งในกรุงเทพฯ แต่ล้มเหลว นายควง อภัยวงค์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินเจ้าฟ้าคฑาธร ชุ่ม อภัยวงศ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพระตะบอง นายควง อภัยวงศ์ ผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ที่เก่าแก่ที่สุดของไทย และยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 3 สมัยอีกด้วย”

นอกจากนี้ก็มีชาวเน็ตฝั่งกัมพูชาหลายคนออกมาโพสต์โต้เช่นกันโดยแปลไทยได้ว่า “การที่พิธาทำแบบนี้ไม่ถูกต้อง เป็นการขายชาติ”

อย่างไรก็ตาม ก็มีชาวเน็ตฝั่งกัมพูชา ออกมาคอมเมนต์วิจารณ์กันสนั่น พร้อมพากันมองว่ารูปที่แนบมาเป็นบ้านเกิดของ ทิม พิธา และรูปที่มีการตำข้าวเปลือกนั้น เป็นการช่วยคุณยายของเขาเองอีกด้วย

‘ภูมิธรรม’ ซัด!! 'ก้าวไกล' อย่าหมกมุ่นแก้แต่ 112 ย้ำ!! จุดยืน ‘พท.’ อะไรที่นำสู่ความขัดแย้ง ไม่แตะ

(5 ก.พ. 67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีการวิเคราะห์กันว่าหากยุบพรรคก้าวไกล จะทำให้ยิ่งยุบยิ่งโต ว่า ยิ่งยุบยิ่งโตเป็นเพียงวาทกรรม จะยุบแล้วจะโต จะยุบแล้วจะเล็ก หรือจะอะไรต่างๆ ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ตนว่าอย่าไปคาดการณ์อะไร เพราะตอนนี้จะยุบหรือไม่ ยังไม่รู้ หากจะยุบ จะยุบแบบไหน ทุกอย่างมีปัจจัย ย้ำว่ายิ่งยุบยิ่งโตเป็นแค่วาทกรรม อย่าให้ความสำคัญมาก เราให้ความสำคัญกับความเป็นจริงดีกว่า 

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม จะพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วางหลักในเรื่องนี้ไว้? นายภูมิธรรม กล่าวว่า “ต้องนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาดู หากชัดเจนว่าการพูดถึงหรือดำเนินการเรื่องนี้เป็นเรื่องการล้มล้างการปกครอง ก็ชัดเจนว่ามติศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร เราคงต้องดูรายละเอียด” 

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยมีจุดยืนต่อประเด็นความผิดตามมาตรา 112 อย่างไร? นายภูมิธรรม กล่าวว่า “จุดยืนเรื่องมาตรา 112 ของพรรคเพื่อไทยชัดเจน เราพูดมาตั้งแต่ต้นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งใหม่ได้ เพราะมีประชาชนหลายส่วนเห็นต่างกัน จุดยืนของเราคือเรื่องอะไรที่มีความอ่อนไหวที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่และยังมีความเห็นต่างกัน ต้องหาข้อสรุปให้ได้ก่อน ถ้ายังหาข้อสรุปไม่ได้ไม่ควรหยิบยกขึ้นมา พรรคเพื่อไทยชัดเจน จะเห็นว่าในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเราจึงไม่แตะเรื่องมาตรา 112 จนกว่าทุกอย่างจะชัด และเชื่อว่าถ้ายังคงเป็นเช่นนี้ ไม่ควรไปแตะต้อง เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่นอกเหนือการเมือง”

“เมื่อสภาพสังคมเป็นเช่นนี้ ไม่ควรหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาและไปกระทบกระเทือนสถาบัน และหน้าที่ของรัฐบาลขณะนี้คือ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหาวิกฤติประเทศ วิกฤติเศรษฐกิจ ที่ต้องสนใจและแก้ปัญหา ตนเคยตอบกระทู้ของนายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ถามในเรื่องนี้ว่าทำไมต้องไปหมกมุ่นเรื่องนี้ ทำไมไม่มาสนใจเรื่องที่จะแก้ปัญหาให้ประชาชน” นายภูมิธรรม กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อลดขอบเขตการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ? นายภูมิธรรม กล่าวว่า “นายปิยบุตรเป็นนักกฎหมาย ต้องไปถามรายละเอียดกับนายปิยบุตร ตนเป็นนักรัฐศาสตร์ไม่เข้าใจรายละเอียดที่นายปิยบุตรพูด และยังไม่ได้เห็นรายละเอียดดังกล่าว แต่ส่วนตัวคิดว่าทุกอย่างต้องมีเหตุผลรองรับ กลไกทางการเมืองทั้งหมดเป็นเรื่องของหลักการอยู่แล้ว คือ การกระจายอำนาจและรับผิดชอบซึ่งกันและกัน ตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นเรื่องของสภา ไม่ใช่ความเห็นของคนใดคนหนึ่ง และความเห็นคนใดคนหนึ่งไม่ใช่สาระที่จะต้องเอามาเป็นเรื่องที่สังคมต้องเอามาดำเนินการ หากมีความเห็นอะไรก็เสนอเข้าสภา ถ้าสภาพิจารณาอย่างไรถือเป็นความเห็นของตัวแทนประชาชน”

เมื่อถามย้ำว่า ส่วนตัวเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมากไปหรือไม่? นายภูมิธรรม กล่าวว่า “ตนยังไม่ได้ดูรายละเอียด แต่คิดว่าท่านก็ทำหน้าที่ของท่าน ทุกองค์กรมีหน้าที่ตามสถานการณ์ ตามเงื่อนไข หากเหมาะสมก็ดำเนินการไป เป็นที่ยอมรับ แต่หากมีปัญหาก็จะหยิบยกขึ้นมา และต้องไปพิจารณาต่อว่าจะจัดการอย่างไรให้เหมาะสม แต่ส่วนตัวมองว่าโดยพลวัตของการเปลี่ยนแปลง ทุกองค์กรทุกหน่วยงานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คงต้องไปรอดูตรงนั้น”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top