Sunday, 5 May 2024
การเมือง

‘Thailand Spring’ ความพยายามที่ไม่มีวันสำเร็จ ตราบที่คนไทยยังยึดมั่นใน 3 สถาบันหลักของแผ่นดิน


‘Thailand Spring’ ไม่ใช่ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) ที่ผู้เขียน มโน จินตนาการ ขึ้นมาเอง แต่ด้วยเหตุการณ์ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองอันเป็นที่รักยิ่งของเราในห้วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา มีรูปแบบลักษณะความเป็นไปที่เป็นเช่นนั้น ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้นำเสนอดังต่อไปนี้

หลังจากเหตุการณ์ Arab Spring เมื่อราว 12 ปีก่อน อันเกิดจากสาเหตุมากมายหลายสาเหตุในประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง อันได้แก่ ลัทธิอำนาจนิยม ระบอบเผด็จการ ปัญหาโครงสร้างประชากร ปัญหาพลังงานในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 2000 การทุจริตของนักการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การว่างงาน ภาวะเงินเฟ้อ ความยากจน ฯลฯ 

โดยมีเป้าหมายคือ ลัทธิอิสลามนิยม ประชาธิปไตย การเลือกตั้ง เสรีภาพทางการค้า สิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ฯลฯ ด้วยวิธีการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การดื้อแพ่งขัดขืน การต่อต้านและการเดินขบวนประท้วงของประชาชน การนัดหยุดงาน การจลาจล การเคลื่อนไหวบนอินเทอร์เน็ตในสื่อสังคมออนไลน์ การประท้วงเงียบ การก่อจลาจล การเผาตนเอง การปฏิวัติ-รัฐประหาร การกบฏ และสงครามกลางเมือง ฯลฯ

ผลที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ Arab Spring ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ อาทิ : 

‘ตูนีเซีย’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2010 รัฐบาลถูกโค่นล้มเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2011 ทำให้ นายกรัฐมนตรี Ghannouchi ลาออก ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali ต้องลี้ภัยไปซาอุดีอาระเบีย มีการยุบสภาการเมือง เกิดการสลายตัวของพรรค RCD ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ของตูนิเซียและมีการตรวจสอบทรัพย์สินของพรรค มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2011

‘อียิปต์’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2011 ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ถูกโค่น ต่อมาภายหลังถูกตัดสินว่า มีความผิดในข้อหาคอร์รับชัน (รวมทั้งครอบครัวของเขา และอดีตรัฐมนตรีของเขา) และถูกดำเนินคดีในข้อหาสั่งการให้ปราบปรามสังหารผู้ประท้วง หน่วยสืบสวนความมั่นคงของรัฐ การยุบพรรค NDP ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ของอียิปต์ การยึดทรัพย์สินให้ตกเป็นของรัฐ การยกเลิกภาวะฉุกเฉินที่ใช้มา 31 ปี  

‘ลิเบีย’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (การประท้วงครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011) รัฐบาลถูกโค่นล้มเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เกิดวิกฤติขึ้น Muammar Gaddafi ผู้นำเผด็จการถูกกองกำลังกบฏสังหาร เกิดการก่อจลาจลด้วยการแทรกแซงทางทหารที่ได้รับคำสั่งจากสหประชาชาติ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบในเวลาต่อมา  

‘ซีเรีย’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2011 (การประท้วงครั้งใหญ่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2011) ประธานาธิบดี Bashar al-Assad เผชิญหน้ากับการต่อต้านของพลเรือน ทำให้เกิด การจลาจลในเมือง เกิดการแปรพักตร์ครั้งใหญ่ของทหารจากกองทัพซีเรียและมีการปะทะกันระหว่างทหารของรัฐบาลและผู้แปรพักตร์ การก่อตัวของกองทัพซีเรียเสรีนำไปสู่สงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นมา 

 

เหตุการณ์ Arab Spring มีทั้งทำเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เปลี่ยนแปลงปานกลาง เปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย อาทิ ซาอุดีอาระเบีย ตามแต่ขนาดของความขัดแย้งและการประท้วง ซึ่งต่อมา Wael Ghonim ผู้นำเหตุการณ์ Arab Spring ในโลกโซเชียลของอียิปต์ ได้ออกมากล่าวว่า มีความท้าทายที่เข้าขั้นวิกฤตอยู่ 5 เรื่อง ในการเผชิญต่อสื่อสังคมออนไลน์เช่นทุกวันนี้ 

ความดีที่ถูกมองข้าม เทียบมุมมองนักการเมืองที่ดีในทัศนะของคนอินเดีย ในขณะที่ไทยยังชิงอวด ‘ความเก่ง’ เหนือ ‘ความดี'

 

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเลือกตั้งในบ้านเรา ระบอบประชาธิปไตยที่ดีจะอยู่รอดได้หรือไม่ แล้วเราคนไทยเคยนึกถึงนิยามของ ‘นักการเมืองที่ดี’ แล้วหรือยัง? ทุกวันนี้ทุกพรรคการเมืองในสนามเลือกตั้งบ้านเราล้วนแล้วแต่ขาย ‘ความเก่ง’ และแทบไม่มีพรรคการเมืองไหนขาย ‘ความดี’ เลย จึงขอนำเสนอบทความนี้ ซึ่งการกล่าวถึง นักการเมืองที่ดีในทัศนะของคนอินเดีย

ชาวอินเดียจะได้รับประโยชน์มากมายจากงานวิจัยในเรื่อง ‘ใครคือนักการเมืองที่ดี’ เพราะเราเคยถามกันไหมว่า ‘นักการเมืองที่ดีเป็นอย่างไร?’ อย่างไรก็ตาม ในประเทศอย่างเรา (อินเดีย) การถกเถียงกันเรื่องการเมืองเป็นเรื่องปกติที่แผงขายน้ำชาริมถนนและบนรถไฟ แต่เราบังเอิญหลีกเลี่ยงคำถามนี้ การอภิปรายเหล่านี้ส่วนใหญ่มีนัยยะเชิงวิพากษ์ มีการแบ่งขั้วตามอุดมการณ์ทางการเมืองที่ใคร ๆ มอบให้ และส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ว่าด้วย ‘การเลือกคนที่เลวที่น้อยกว่า’ แล้วอะไรล่ะที่ขัดขวางไม่ให้เราปล่อยตัวปล่อยใจไปกับความจริงที่สำคัญของคำถาม?

ผู้คนต่างพากันคลั่งไคล้ในความคิดที่ว่า รัฐบาลปล่อยให้พลเมืองไม่มีการศึกษา เพราะมันง่ายที่จะปกครองพลเมืองที่ไร้การศึกษา แต่ในปัจจุบันด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ต อุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลได้ถูกทำลายลง และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เพียงแค่สัมผัสสมาร์ทโฟน สิ่งนี้น่าจะทำให้พลเมืองของประเทศหนึ่งหลงระเริงกับการคอร์รัปชั่น อัตราการเกิดอาชญากรรมสูง และทุกสิ่งที่ไม่ถูกต้องในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อค้นหานักการเมืองที่เหมาะสมเป็นตัวแทนของพวกเขา

บางคนบอกว่า ‘นักการเมืองสมัยนี้ไม่ดีพอ’ สำหรับบางคน ‘การเมืองไม่เคยสร้างประโยชน์อะไรเลย’ และในขณะที่ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งบอกว่าเป็นพวกที่ ไม่ยุ่งกับการเมือง" แม้ว่าก่อนหน้านี้จะบ่งชี้ว่าผู้คนกำลังหมดความสนใจในการเมือง แต่การเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วสู่ยุคดิจิทัลทำให้ผู้คนหันไปสนใจเรื่องการเมืองในทันที แม้ว่าจะมีทั้งเรื่องแย่และแย่กว่าก็ตาม

ระบอบประชาธิปไตยของอินเดียที่ปรารถนาจะเป็นมหาอำนาจและศูนย์กลางความรู้ของโลกได้พยายามดิ้นรนเพื่อให้ทันกับธรรมชาติของการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป คนอินเดียเคยยกย่องชื่นชมนักการเมืองรุ่นแรกที่เติบโต และเป็นผลพวงของการต่อสู้เพื่อเอกราชกับการปกครองของอังกฤษ เราบูชาเสน่ห์และวิธีการของมหาตมะ คานธี ความเรียบง่ายของศาสตรี ความมุ่งมั่นของพาเทล ความรู้และวิสัยทัศน์ของอัมเบดการ์ ความซื่อสัตย์ของชอมธารี จรัล ซิงห์ และคนอื่น ๆ เรามีชีวิตอยู่ในความถวิลหาผู้นำที่เป็นไอดอลในสมัยก่อน แต่ไม่เต็มใจที่จะพัฒนาผู้นำสำหรับอินเดียในอนาคต หากรัฐบาลชุดก่อน ๆ หรืออย่างน้อยที่สุดพรรคการเมืองได้ลงทุนเพื่อหาผู้ที่เหมาะสมลงแข่งขันในการเลือกตั้ง ประเทศจะได้ประโยชน์มากมายจากมัน แต่เราจะไปจุดนั้นได้อย่างไร?

ประเทศที่พัฒนาแล้วได้มาถึงจุดที่พวกเขาอยู่ เพราะพวกเขาเข้าใจถึงความสำคัญของการวิจัยและได้ลงทุนกับมัน เราต้องเข้าใจว่าความรู้มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ความรู้เกี่ยวกับกลไกที่ยั่งยืนในการระบุประเภทผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เหมาะสมจะให้ผลลัพธ์ดังที่คาดหวัง แต่ในอินเดีย ทั้งประชาชนและพรรคการเมืองไม่ได้ทำงานเพื่อริเริ่มวาทกรรมว่า 'ใครเป็นนักการเมืองที่ดี' เป็นเพียงตำนานหรือสามารถกำหนดคุณลักษณะของ 'นักการเมืองที่ดี' ได้จริงหรือไม่?

งานวิจัยก่อนหน้านี้โดย ศ. Rainbow Murray (สำนักการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิทยาลัย Queen Mary มหาวิทยาลัยแห่ง London) ในปี ค.ศ. 2010 และ ค.ศ. 2015 และ Reuven Hazan & Gideon Rahat ในปี ค.ศ. 2010 แสดงให้เห็นว่า บรรดาพรรคการเมืองใช้เกณฑ์อัตวิสัยหลายอย่างในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง เช่น ฝีปาก ความฉลาด และความสามารถพิเศษ พวกเขาอาจเลือกผู้สมัครตามตัวแปรที่ไม่มีความชัดเจน เช่น ความภักดีต่อพรรค ความสัมพันธ์ในครอบครัว และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ศ. Murray ให้เหตุผลว่าการใช้ตัวแปรอื่นแทน เช่น 'ความสำเร็จทางการศึกษา' และ 'เส้นทางอาชีพ' เพื่อวัดความเก่งกาจและความสามารถพิเศษเป็นการสร้างปัญหา เนื่องจากการศึกษาที่ใช้เกณฑ์เหล่านี้อาจพบว่า เป็นการยากที่จะแยกแยะระหว่างผู้ที่ได้รับสถานะทางสังคมสูงระหว่างผู้ที่บรรลุและผู้ที่ได้รับมาโดยสิทธิพิเศษ การวิจัยของ ศ. Murray ทำให้เธอสรุปได้ว่า ผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเลือกตั้งคือ บุคคลที่มีความรู้จริง และพิสูจน์ได้สามารถจัดการปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้คนต้องเผชิญและอุทิศตนเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านั้น บุคคลนั้นควรมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่โดดเด่น และควรสามารถต่อสู้เพื่อให้ได้เหตุผลและสามารถเจรจาประนีประนอมได้เมื่อจำเป็น ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่า คุณสมบัติที่เธอระบุสำหรับนักการเมืองที่ดีคือ ความรู้ ทัศนคติในการแก้ปัญหา ความตั้งใจในการทำงาน และทักษะในการสื่อสารและได้รับสนับสนุนที่ดี

กกต. แจ้ง 10 ข้อห้ามทำในช่วงเลือกตั้ง ฝ่าฝืนเจอโทษหนัก ‘เพิกถอนสิทธิ-ยุบพรรค’

(7 เม.ย.66) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เน้นย้ำเกี่ยวกับ ‘ข้อห้าม’ ไม่ให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการ

1.จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด

2.ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์หรือสถาบันอื่นใด

3.ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ

4.เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด

5.หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิด ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง

ถอดรหัส 'การเมือง' สไตล์ ์ Anthony Eden ไม่ใช่แกงถุงสำเร็จรูป ที่แกะหนังยางแล้วทานได้เลย

การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการเสนอนักการเมืองหน้าใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่มากมายหลายคน แต่ความเป็นจริงแล้ว การทำงานทางการเมืองอย่างมีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องสั่งสมทักษะและประสบการณ์มากมายหลายเรื่อง รวมทั้งคุณงามความดี (ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด) นโยบายประชานิยม ขายฝัน ใครก็พูดได้ เขียนได้ แต่จะทำได้หรือไม่ โดยไม่ทำให้ชาติบ้านเมืองมีปัญหา นั่นคือเรื่องที่สำคัญที่สุด

วันนี้จึงขอนำเอาเรื่องราวของเซอร์ Anthony Eden (12 มิถุนาน ค.ศ. 1897 - 14  มกราคม ค.ศ. 1977) หนึ่งในนายกรัฐมนตรีผู้มากความสามารถและประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ด้วยมีนายกรัฐมนตรีเพียงไม่กี่คนที่มีประสบการณ์เทียบเท่ากับเซอร์ Anthony Eden นายกรัฐมนตรีผู้นี้ได้เลย มาบอกเล่าให้ผู้อ่านได้พิจารณาประกอบในการเลือกพรรคและคนที่ดีที่ใช่ เพื่อให้บ้านเราอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราก้าวต่อไปได้

ก่อนที่จะได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี Eden เป็นทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยอายุยังน้อยในปี ค.ศ. 1915 โดยเริ่มเป็นนายทหารยศร้อยตรีเมื่ออายุเพียง 17 ปี เมื่อสงครามสงบลงในปี ค.ศ. 1919 เขาอายุเพียง 23 ปี มียศเป็นร้อยเอกและได้รับเหรียญกล้าหาญ Military Cross

เขาเป็น ส.ส. นานถึง 32 ปี และเป็นรัฐมนตรีอีก 14 ปี ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่มีนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรคนใดที่มีประสบการณ์มากกว่าเขา เว้นแต่เพียง เซอร์ Winston Churchill นายกรัฐมนตรีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้นที่มีประสบการณ์มากกว่าเขา

Eden ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นเวลา 12 ปีในช่วงเวลาที่สำคัญ ได้แก่ :
ค.ศ. 1935 - ค.ศ. 1938 ภายใต้นายกรัฐมนตรี Neville Chamberlain ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1945 ในรัฐบาลผสมของเซอร์ Churchill ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1951 - ค.ศ. 1955 ภายใต้นายกรัฐมนตรี เซอร์ Churchill อีกครั้งหนึ่ง

ก่อนที่เขาจะได้สืบต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากเซอร์ Churchill ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1955 และชนะการเลือกตั้งทั่วไปในอีกหนึ่งเดือนถัดมา งานเมืองของเขาก่อนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นยาวนานและประสบความสำเร็จมากมาย

Eden มีกิตติศัพท์ในระดับโลกจากการดำเนินนโยบายจำยอมสละ เขาพยายามหลีกเลี่ยงสงครามโดยการโอนอ่อนผ่อนปรนให้แก่ชาติก้าวร้าวอย่างเยอรมนี ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็น 'บุรุษแห่งสันติภาพ' ซึ่งสามารถชะลอการเกิดมหาสงครามสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

เขาเป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการรับราชการในช่วงสงครามที่ยาวนานและรูปลักษณ์และเสน่ห์ที่โด่งดังของเขา

เสถียรภาพทางการเมือง แรงส่งเศรษฐกิจเหงียนพุ่ง หนึ่งในคำตอบ!! ทำไม ศก.เวียดนาม โตสุดในอาเซียน?

ในช่วงการเลือกตั้งครั้งนี้ สิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาคือ การมองประเทศอย่างรอบด้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาประกอบ จึงขอนำข้อมูลจาก Quora ซึ่งเป็นบทความที่สรุปมุมมองของนักธุรกิจต่างชาติวิจารณ์ประเทศต่าง ๆ ใน ASEAN แล้วสรุปว่า เวียดนามมีเศรษฐกิจที่เติบโตมากที่สุดใน ASEAN ตามรายละเอียดดังนี้

บริษัทของเราต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่อยมาก และเราพบว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีความโชคดีที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด อันเนื่องมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

1.เสถียรภาพทางการเมืองทำให้ศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคงด้วย หลังจากเวียดนามมีการปฏิรูป Đổi Mới โดย Nguyễn Văn Linh เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (18 ธันวาคม พ.ศ. 2529 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2534) ในขณะนั้น เป็นการเน้นตลาดเสรี แต่ยังคงใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ แต่ลดความเข้มงวดตามแบบนิยมสังคมนิยม รัฐบาลเวียดนามได้ทำให้เกิดความ 'สะดวก' ในการทำธุรกิจและการไหลเข้าของนวัตกรรมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ หลังสงคราม เวียดนามเชื้อเชิญกลุ่มทุนที่ร่ำรวยจากเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุด เสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในเอเชีย และได้รับเงินกู้จากธนาคารทุนดั้งเดิมเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

2.รัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้ผู้พลัดถิ่นถือสองสัญชาติหรือหลายสัญชาติเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการปรองดองและเยียวยา สิ่งนี้ได้สร้างการไหลเข้าของเงินทุนจากชาวเวียดนามพลัดถิ่น ซึ่งขณะนี้มีความมั่นใจที่จะนำเงินที่หามาอย่างยากลำบากกลับคืนสู่เศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูง

3.เวียดนามอาจเป็นประเทศที่ไม่มีการปิดกั้นอย่างแท้จริงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่มีอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ หรือข้อพิพาททางการทูต ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ ทั้งนี้ผู้นำของเวียดนามได้ทำการศึกษากฎหมายของเพื่อนบ้านที่ประสบความสำเร็จมากกว่า และเรียนรู้ว่า สิ่งใดใช้แล้วได้ผล และสิ่งใดที่ไม่ควรนำมาใช้ในประเทศของตน เวียดนามเชื้อเชิญกลุ่มทุนนิยมโดยตรง และยอมให้กองทุนลอตเตอรี่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่ห้ามการพนันอื่น ๆ โดยเด็ดขาด

4.ผู้นำเวียดนามมีความมั่นใจและมองการณ์ไกล ด้วยชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ในการได้รับเอกราชและพลังผลักดันในอินโดจีน ผู้นำของพวกเขาเบื่อหน่ายกับสงคราม และในยุค 80 ตระหนักว่าการเป็นศัตรูกับเพื่อนบ้านนั้นไม่มีประโยชน์ พวกเขาทำการรณรงค์ทางด้านการทูต และเข้าสู่ ASEAN ในปี ค.ศ. 1995 สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาส เช่น การนำเข้าปุ๋ยและการส่งออกข้าวจาก/ไปยังอินโดนีเซียที่ทำกำไรมากมาย และการนำเข้าต้นกล้าจากไทยเพื่อเพิ่มคุณภาพของพันธุ์ข้าว และการหลั่งไหลเข้ามาของครูชาวฟิลิปปินส์เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งนำมาซึ่งการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ และจำนวนประชากรที่เฟื่องฟูในช่วงทศวรรษที่ 90 ถึงปี 2000

5.เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ดีในอดีตกับเพื่อนบ้านที่ใหญ่ที่สุดอย่างอินโดนีเซีย เป็นที่ทราบกันว่าในช่วงสงครามประกาศเอกราชของเวียดนาม อินโดนีเซียเสนอเกาะของตนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม และ UNHCR ร่วมกับชาวเวียดนามก็เคารพในการสนับสนุนด้วยการคืนที่ดินให้กับรัฐบาลอินโดนีเซียในช่วงทศวรรษที่ 90

‘บิ๊กป้อม’ ขอบคุณผลโหวตอันดับ 1 ก้าวข้ามความขัดแย้ง ยอมรับเดินช้า-ขาไม่ดี แต่พร้อมลงพื้นที่ไปทุกจังหวัด

(18 เม.ย.66) นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ โฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีที่สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในหัวข้อ ‘นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในสายตาประชาชน’ ที่ยกให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ เป็นอันดับ 1 ของนายกรัฐมนตรี ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และเป็นอันดับ 1 ของนายกรัฐมนตรีที่สามารถประสานงานจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างราบรื่น ว่า พล.อ.ประวิตร กล่าวขอบคุณประชาชนที่ร่วมกันโหวตให้ตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความโดดเด่นในทั้งสองด้านดังกล่าว ซึ่งผลโพลที่ออกมาสอดคล้องกับแนวคิด ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ ที่ตนเองและพรรคพลังประชารัฐชูธงนำมาโดยตลอด พร้อมให้ความมั่นใจว่า จะพาคนไทยออกจากวังวนความขัดแย้งได้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อเดินหน้าพลิกโฉมประเทศไทยต่อไป

นายชาญกฤช กล่าวว่า แนวคิดการก้าวข้ามความขัดแย้งของหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นความมุ่งมั่นที่พยายามทำลายกำแพงความแตกแยก และเป็นการประกาศเริ่มต้นประเทศไทยใหม่ ซึ่งได้เสียงตอบรับที่ดีจากสังคม โดยเฉพาะใจความสำคัญในจดหมายเปิดใจของ พล.อ.ประวิตร ได้พูดถึงแนวทางสมานฉันท์ที่น่าสนใจ คือ ภายหลังการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาคัดเลือกนโยบายที่ทุกพรรคการเมืองใช้ในการรณรงค์หาเสียง เพื่อนำมาปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง โดยไม่ได้เกี่ยงว่าเป็นพรรคใหญ่ พรรคเล็ก หรือเป็นพรรคการเมืองฝ่ายใด หากนโยบายเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน เพราะเชื่อว่านโยบายของทุกพรรคการเมืองผ่านการกลั่นกรองมาในระดับหนึ่งแล้ว และมองว่า การเมืองไม่มีผู้ชนะเด็ดขาด และไม่มีฝ่ายใดต้องแพ้ราบคาบ ทุกคนทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกัน ร่วมมือกันฟื้นฟูและพัฒนาประเทศให้เดินไปข้างหน้าอย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก จึงหมดเวลาที่คนไทยจะทะเลาะกันเอง

นายชาญกฤช ยังให้ความมั่นใจด้วยว่า พล.อ.ประวิตร มีความพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะอยู่ในวัย 78 ปี ก็ไม่ถือเป็นอุปสรรค ดังคำสัมภาษณ์ของ พล.อ.ประวิตร ที่เปิดเผยถึงกลยุทธ์ในการทำงานที่ประสบความสำเร็จ ผ่านเทคนิคการบริหาร คือ ‘ช้า เร็ว หนัก เบา’ โดยยอมรับว่า ตัวเองเดินช้า แต่คิดเร็ว ทำเร็ว ตัดสินใจเร็ว เป็นคนหนักแน่น ไม่หูเบา ส่วนที่เบา คือ เป็นคนไม่มีภาระ ไม่มีครอบครัว ไม่มีห่วง จึงทำงานเพื่อประชาชนและส่วนรวมได้อย่างเต็มที่

เช็กจุดยืน 10 พรรคการเมืองในเรื่อง มาตรา 112 ใครกั๊ก-ใครชัด มาดูกัน!!

“มาตรา 112 ไม่ใช่คดีการเมือง ไม่มีปัญหา คนในประเทศส่วนใหญ่ไม่เดือดร้อน” 
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ 

“ผมมองมาตรา 112 ว่าไม่มีปัญหา”
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย 

“มาตรา 112 ไม่มีปัญหา ที่มีปัญหา เพราะคนเข้าไปมีปัญหาเอง”
จุติ ไกรฤกษ์ ตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ 

ชำแหละ!! 5 เขตเลือกตั้ง ‘เมืองคอน’  ใครจะเสยคางใคร หลังรู้เชิงกันแล้ว 

ชำแหละ 5 เขตเลือกตั้งเมืองคอน มวยยก 3 แลกหมัดกันสนุกแน่ หลังรู้เชิงกันแล้ว จับตายกสุดท้ายใครจะเสยคางใคร

หลังมีความสุขกับช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ เรามาทบทวนกันอีกครั้งสำหรับ 10 เขตเลือกตั้งของนครศรีธรรมราช ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 20 กว่าวัน ก็จะได้เวลาประชาชนพิพากษา 14 พฤษภาคม...ถ้าหากเรียกเป็นภาษามวย ก็ถือว่าเข้าสู่ยกที่ 3 เข้าให้แล้ว

>> เขต 1 
เมืองในเขตเทศบาลนคร ที่มี ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ เป็นแชมป์อยู่ในนามพรรคพลังประชารัฐ ถ้ามองผิวเผินเหมือนจะเป็นการแข่งขันกันของ 4 พรรคใหม่ คือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ส่ง ‘พูน แก้วภราดัย’ ลูกชายของ ‘น้อย-วิทยา แก้วภารดัย’ ส่วนประชาธิปัตย์ ส่งอดีตผู้ว่าฯ ‘ราชิต สุดพุ่ม’ พรรคพลังประชารัฐ ส่ง ‘ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ’ และ พรรคภูมิใจไทย ส่งอดีตนักการธนาคาร ‘จรัญ ขุนอินทร์’ 

แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปในรายละเอียด น่าจะเป็นการต่อสู้กันระหว่าง ‘ดร.รงค์’ กับ ‘ราชิต’ เป็นหลัก ซึ่งราชิต อาศัยฐานเดิมของประชาธิปัตย์ ที่มีทุนเดิมอยู่บ้างแล้วอย่างน้อยเขตละ 10,000 เพียงแต่จะทำอย่างไรให้คะแนนต่อยอดไปถึง 30,000 นั้น หมายถึงหาเพิ่มอีก 20,000 คะแนน ซึ่งความเป็นอดีตนายอำเภอเมือง และสายสัมพันธ์กับชุมชนในฐานะอดีตนักปกครอง ก็น่าจะพอฟัดพอเหวี่ยงกับ ดร.รงค์ ที่มีฐานเสียงเดิมในฐานะแชมป์ หลังจากในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา มีทั้งจุดด้อย และจุดเด่น จนเมื่อได้ ‘โกเก้า’ เกรียงศักดิ์ ภู่พันธุ์ตระกูล ผู้กว้างขวางในวงการเมืองเข้ามาจับมือกับ โกจู๋-วิฑูรย์ อิสระพิทักษ์กุล ช่วยกันประสานมือทำคะแนนให้กับ ดร.รงค์ จึงทำ ดร.รงค์ เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวขึ้นมาทันที แต่ราชิตก็ได้ ‘ลุงนึก’ สมนึก เกตุชาติ อดีตนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราชเข้ามาช่วย ทำให้แข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาลุงนึกไม่เอาประชาธิปัตย์เลย แต่คราวนี้หนีไปพ้นเมื่อญาติสนิทลงชิง

ฉะนั้น ราชิต คงต้องหาตัวช่วยที่เข้มแข็งเข้ามาช่วยทำงาน ทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ที่มีบารมีพอฟัดพอเหวี่ยงกับสองโกเพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย ‘ล้มรงค์’ ซึ่ง ดร.รงค์ก็เป็นนักวิชาการสายรัฐศาสตร์ชั้นเชิงทางการเมืองก็ไม่ธรรมดา เอาเป็นว่า ‘รู้เขารู้เรา’

>> เขต2 
ถือเป็นเขตปลอด ส.ส.เก่า คือ ไม่มีเจ้า แต่ ‘สายัณห์ ยุติธรรม’ ย้ายจากท่าศาลา มาลงเขตนี้ และย้ายพรรคจากพลังประชารัฐมาอยู่กับ ‘ลุงตู่’ ที่รวมไทยสร้างชาติ เพื่อเปิดทางให้น้องชาย ‘อำนวย ยุติธรรม’ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในบ้านเกิดท่าศาลา ซึ่งสายัณห์แม้จะเป็นอดีต ส.ส.แต่คนละเขต แม้เขตใหม่จะเป็นฐานเดิมอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด สายัณห์ต้องสร้างฐานใหม่ย่านพระพรหม ซึ่งก็มีอัตราเสียงอยู่ไม่น้อย 

ทว่าแม้เจ้าตัวจะยืนยัน 4 ปีมีผลงาน และคนรู้จัก แต่เมื่อมาดูคู่แข่งแล้ว จะพบว่า ประชาธิปัตย์ลงตัวที่ ‘นายกหนึ่ง’ นายทรงศักดิ์ มุสิกอง อดีตนายกฯ ปากนคร ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะได้สร้างขึ้นมาสืบทอดเจตนารมณ์-อุดมการณ์ของประชาธิปัตย์ต่อไป ส่วนด้าน พรรคพลังประชารัฐ ‘สจ.สุภาพ ขุนศรี’ ยอมหลีกให้ ดร.รงค์ มาลงเขตนี้ โดยสจ.สุภาพ ออกจาก เครือข่ายผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่แล้ว จะต้องอาศัยเครือข่ายของสามี สายนักเลง นักการพนัน แต่เป็นคนต่างถิ่น เอาเป็นว่าเขตนี้ ‘สายัณห์-สจ.สุภาพ’ หายใจรดต้นคอกันเป็นแน่แท้ ส่วนทรงศักดิ์ อยู่ที่องคาพยพของประชาธิปัตย์ จะช่วยกันหอบหิ้วได้แค่ไหน ถ้าประชาธิปัตย์ตั้งเป้าว่านครศรีฯจะต้องได้ 7+ ‘แทน-ชัยชนะ เดชเดโช’ จะต้องออกแรงมากกว่านี้ นายกฯ หนึ่งถึงจะเข้าวิน

กล่าวสำหรับพระพรหมแล้ว ถือว่าทุกคนใหม่หมด สจ.สุภาพ มาจากเขตเมือง นายกฯ หนึ่งมาจากปากนคร สายัณห์มาจากท่าศาลา โอกาสจึงเป็นของทุกคน สายัณห์อยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะมีฐานเดิมอยู่บ้างในบางตำบล

>> เขต 3 (หัวไทร-ปากพนัง) 
แม้ ‘เท่ห์-พิทักษ์เดช เดชเดโช’ ลูกชายของ ‘เจ้ต้อย-กนกพร เดชเดโช’ นายกฯอบจ.นครศรีฯ น้องชายของแทน-ชัยชนะ เดชเดโช จะเปิดตัวทีหลัง แต่ก็มาแรงแซงขึ้นที่ 1 อย่างรวดเร็ว วิ่งฉิวนำหน้า ขณะที่ ‘มานะ ยวงทอง’ จากภูมิใจไทย ที่เปิดตัวมาร่วมปี และเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันแล้ว แต่ม้าตีนต้นเริ่มแผ่วปลายกับการบริหารจัดการในบางเขต-บางโซน แม้บางเขตจะยังเหนียวแน่นกับเครือญาติก็ตาม แต่บางองคาพยพเริ่มเปลี่ยนค่ายบ่ายหน้าไปค่ายสีฟ้า 

ส่วนพลังประชารัฐ ส่ง ‘สัณหพจน์ สุขศรีเมือง’ ซึ่งเป็นแชมป์เก่า ดูภาพรวมแล้วไม่หวือหวา กระสุนยังไม่ออก ก็เหนื่อยหน่อย ฐานคะแนนเดิมเริ่มถูกแย่ง-ถูกแบ่งแยก สถานการณ์ปัจจุบันเงียบไปนิดหนึ่ง ส่วนรวมไทยสร้างชาติส่ง ‘นนทิวรรธน์ นนทภักดิ์’ คนสนิทของวิทยาลงประชัน ซึ่งนนทิวรรธ์ มีฐานเสียงที่หน้าแน่นอยู่ในตลาดปากพนัง เป็นด้านหลัก แต่โซนหัวไทรยังเป็นจุดบอด ถ้ามีเวลาให้เตรียมตัวมากกว่านี้ และใช้เครือข่ายวิทยาเดินเครื่อง ก็น่าสนใจ เพราะเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวที่เป็นคนพื้นที่ เกิดที่ปากพนัง ขณะที่ พิทักษ์เดช เกิดที่ร่อนพิบูลย์ แต่มีภรรยาคนปากพนัง, สัณหพจน์ เกิดที่เชียรใหญ่ แต่เคยคลุกคลีกับธุรกิจกุ้งในวัยหนุ่ม, มานะ เกิดที่เชียรใหญ่ ไม่ค่อยได้อยู่ในพื้นที่ทำธุรกิจกล่องกระดาษอยู่สมุทรสาคร และชลบุรี ในช่วงโควิดระบาดหนักเขาจึงบริจาคกล่องกระดาษทำเตียงสนามจำนวนมาก และผันตัวเองมาลง ส.ส.

>> เขต 3 
ไม่ควรมองข้าม ‘มนตรี เฉียบแหลม’ จากเพื่อไทย ที่คนเริ่มเบื่อพรรคโน้นพรรคนี้ และมองหาพรรคใหม่ เพื่อไทยจึงเป็นตัวเลือกอยู่ไม่น้อย น่าเสียดายว่า เพื่อไทยเปิดตัวเขาให้ลงเขตนี้ช้าไป แต่กระแสเพื่อไทยพอมี คะแนนพรรคมีแน่นอน และตัวเลขไม่น่าเกลียดด้วย ฉะนั้นเขต 3 ด้วยเครือข่ายที่มากกว่า เหนียวแน่นกว่า ถึงกว่า ท้ายที่สุดแล้ว ‘โกเท่ห์’ จะเข้าป้าย แต่ตัองระวัง-หลีกเลี่ยงข้อสุ่มเสี่ยง

>> เขต4 (ชะอวด-เชียรใหญ่-เฉลิมพระเกียรติ)
น่าจะเป็นเขตที่สู้กันดุเดือด มีคู่แข่งหลักอยู่ 5 พรรค แชมป์เก่าคือ ‘อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ’ ยังสังกัดพรรคพลังประชารัฐเหมือนเดิม และมั่นใจในผลงาน บทบาทหน้าที่ที่ผ่านมา สองปี ส่วน ประชาธิปัตย์ ส่ง ‘ยุทธการ รัตนมาศ’  อดีตรองนายกฯ อบจ.นครศรีธรรมราช เคยมีข่าวโด่งดังในตำแหน่งนายกสมาคมกีฬานครศรีธรรมราช

สมาคมทนายฯ จี้ ‘ส.ว.’ เคารพเจตนารมณ์ประชาชน ชี้ ควรยกมือโหวตนายกฯ จากพรรคที่ได้ ส.ส. มากที่สุด

(24 เม.ย.66) นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า ประเทศไทยยังคงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตทางการเมืองอีกครั้ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ถูกออกแบบโดยเผด็จการที่มีเจตนาต้องการสืบทอดอำนาจ ได้เขียนกำหนดไว้ในมาตรา 272 ให้ ส.ว. มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลการลงมติของ ส.ว. จะนำไปสู่วิกฤตได้ ดังนี้

(1) กรณี ส.ว. งดออกเสียงให้กับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองเสียงข้างมาก แต่รวบรวมเสียงได้ไม่ถึง 376 เสียง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อได้รับเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้ง 2 สภา จึงเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนไม่ได้ ผลที่จะเกิดขึ้นคือรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์จะเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไป

(2) กรณี ส.ว. ออกเสียงให้กับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองเสียงข้างน้อย ซึ่งแม้จะทำให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่อาจจะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ เพราะพรรคเสียงข้างมากไม่เอาด้วย ผลที่จะเกิดขึ้นคือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จะเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลไว้

‘ดร.หิมาลัย’ แนะ หยุดใช้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ หวั่นเด็กรุ่นใหม่ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ชี้!! ผู้ใหญ่ควรป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง อย่าให้เด็กถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 66 ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้ประสานงานพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้ร่วมเวทีเสวนา ‘ชังชาติ : วาทกรรมสังคม’ ซึ่งจัดโดยสภาพัฒนาเยาวชนกรุงเทพมหานคร ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) 

โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นางสาวนดา บินร่อหีม รองประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย, นายวรัญญู วอทอง ที่ปรึกษาของประธานสภาพัฒนาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และนายณภณต์ เพิ่มความประเสริฐ รักษาการแทนนายกองค์การนักศึกษา มจธ. ซึ่งมี นายธารินทร์ เดชบุญช่วย รองประธานสภาพัฒนาเยาวชนกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดำเนินการ

ภายหลังการเสวนา ดร.หิมาลัย ได้ตกผลึกเสียงสะท้อนของผู้ร่วมเสวนาและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยแสดงความเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมควรจะหยุดใช้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ เพราะจะนำไปสู่ความแตกแยก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่ไม่ควรจะใช้คำนี้กับเด็ก ๆ ที่มีความเห็นต่าง และควรหยุดนำเด็ก ๆ ไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองจนเกิดความแตกแยก และทำให้เกิดช่องว่างทางความคิด ซึ่งจะนำไปสู่การต่อต้านและไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย

ทั้งนี้ ผู้ใหญ่ควรเปิดกว้างและอดทน รับฟังความคิดเห็นของเด็กรุ่นใหม่ในมุมมองแตกต่างให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อใจในการกล้าพูดกล้าคุย เพราะหากมีสิ่งใดที่เด็กสะท้อนออกมาแล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ถูกหรือยังเข้าใจผิดอยู่ ผู้ใหญ่จะได้ชี้แนะในสิ่งที่ถูกที่ควรได้อย่างทันท่วงที ไม่ปล่อยให้เกิดเป็นความเชื่อผิด ๆ ที่จะส่งผลเสียต่อสังคมและตัวเด็กเองในอนาคต

อย่างไรก็ดี การชังชาติมีข้อดี คือ มันเห็นจุดบกพร่องก็เลยต้องพัฒนา ต้องแก้ไข ข้อเสียคือ เราจะมองไม่เห็นความดีที่เรามีอยู่เลย ผู้ใหญ่ต้องเปิดใจฟัง และร่วมเปลี่ยนแปลงแก้ไขมันไปด้วยกัน เราไม่จำต้องเห็นตรงกัน เราต้องทำให้ความน่าชังในสังคมนี้มันลดลง ยังไงวันนี้เราก็ยังต้องไปต่อด้วยกัน เพราะทุกคนก็รักชาติ 

ขณะเดียวกัน ในส่วนของประเด็นที่มีเยาวชนถามในเวทีเสวนาถึงการแก้ไขมาตรา 112 นั้น ดร.หิมาลัย ให้ความเห็นว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งก่อนอื่นต้องแยกเป็น 2 ประเด็น ข้อแรก ผู้ใหญ่ที่รู้ขอบเขตกฎหมายที่ควรทำหรือไม่ควรทำ ต้องอธิบายให้ความรู้กับเด็ก ๆ แทนที่จะใช้เด็กเป็นเครื่องมือ และข้อสอง ในบริบทของกฎหมาย ต้องยอมรับว่ากฎหมายแต่ละฉบับก็มีความล้าสมัย หรือไม่สมดุลอยู่แล้วในแต่ละยุคสมัย แต่กรอบของกฎหมายมีการออกแบบให้สามารถปรับแก้หรือยืดหยุ่นได้ด้วยตัวของกฎหมายนั้น ๆ อยู่แล้ว หากไม่มีการล้ำเส้นสิ่งที่ควรจะเป็น

เพราะฉะนั้น ผู้ใหญ่ต้องอธิบายให้เยาวชนเข้าใจ อย่าใช้เด็กเป็นเครื่องมือในทางที่ผิดหรือตกเป็นเหยื่อทางการเมือง ทุกคนควรเคารพกฏหมายและกติการ่วมกันของสังคม หากจะแก้ไขให้ใช้แนวทางการแก้ไขทางรัฐสภาสามารถแก้ไขได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้แก้ไขกฏหมายไปแล้วไปหลายฉบับเนื่องจากเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top