เสถียรภาพทางการเมือง แรงส่งเศรษฐกิจเหงียนพุ่ง หนึ่งในคำตอบ!! ทำไม ศก.เวียดนาม โตสุดในอาเซียน?

ในช่วงการเลือกตั้งครั้งนี้ สิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาคือ การมองประเทศอย่างรอบด้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาประกอบ จึงขอนำข้อมูลจาก Quora ซึ่งเป็นบทความที่สรุปมุมมองของนักธุรกิจต่างชาติวิจารณ์ประเทศต่าง ๆ ใน ASEAN แล้วสรุปว่า เวียดนามมีเศรษฐกิจที่เติบโตมากที่สุดใน ASEAN ตามรายละเอียดดังนี้

บริษัทของเราต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่อยมาก และเราพบว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีความโชคดีที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด อันเนื่องมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

1.เสถียรภาพทางการเมืองทำให้ศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคงด้วย หลังจากเวียดนามมีการปฏิรูป Đổi Mới โดย Nguyễn Văn Linh เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (18 ธันวาคม พ.ศ. 2529 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2534) ในขณะนั้น เป็นการเน้นตลาดเสรี แต่ยังคงใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ แต่ลดความเข้มงวดตามแบบนิยมสังคมนิยม รัฐบาลเวียดนามได้ทำให้เกิดความ 'สะดวก' ในการทำธุรกิจและการไหลเข้าของนวัตกรรมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ หลังสงคราม เวียดนามเชื้อเชิญกลุ่มทุนที่ร่ำรวยจากเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุด เสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในเอเชีย และได้รับเงินกู้จากธนาคารทุนดั้งเดิมเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

2.รัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้ผู้พลัดถิ่นถือสองสัญชาติหรือหลายสัญชาติเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการปรองดองและเยียวยา สิ่งนี้ได้สร้างการไหลเข้าของเงินทุนจากชาวเวียดนามพลัดถิ่น ซึ่งขณะนี้มีความมั่นใจที่จะนำเงินที่หามาอย่างยากลำบากกลับคืนสู่เศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูง

3.เวียดนามอาจเป็นประเทศที่ไม่มีการปิดกั้นอย่างแท้จริงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่มีอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ หรือข้อพิพาททางการทูต ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ ทั้งนี้ผู้นำของเวียดนามได้ทำการศึกษากฎหมายของเพื่อนบ้านที่ประสบความสำเร็จมากกว่า และเรียนรู้ว่า สิ่งใดใช้แล้วได้ผล และสิ่งใดที่ไม่ควรนำมาใช้ในประเทศของตน เวียดนามเชื้อเชิญกลุ่มทุนนิยมโดยตรง และยอมให้กองทุนลอตเตอรี่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่ห้ามการพนันอื่น ๆ โดยเด็ดขาด

4.ผู้นำเวียดนามมีความมั่นใจและมองการณ์ไกล ด้วยชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ในการได้รับเอกราชและพลังผลักดันในอินโดจีน ผู้นำของพวกเขาเบื่อหน่ายกับสงคราม และในยุค 80 ตระหนักว่าการเป็นศัตรูกับเพื่อนบ้านนั้นไม่มีประโยชน์ พวกเขาทำการรณรงค์ทางด้านการทูต และเข้าสู่ ASEAN ในปี ค.ศ. 1995 สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาส เช่น การนำเข้าปุ๋ยและการส่งออกข้าวจาก/ไปยังอินโดนีเซียที่ทำกำไรมากมาย และการนำเข้าต้นกล้าจากไทยเพื่อเพิ่มคุณภาพของพันธุ์ข้าว และการหลั่งไหลเข้ามาของครูชาวฟิลิปปินส์เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งนำมาซึ่งการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ และจำนวนประชากรที่เฟื่องฟูในช่วงทศวรรษที่ 90 ถึงปี 2000

5.เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ดีในอดีตกับเพื่อนบ้านที่ใหญ่ที่สุดอย่างอินโดนีเซีย เป็นที่ทราบกันว่าในช่วงสงครามประกาศเอกราชของเวียดนาม อินโดนีเซียเสนอเกาะของตนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม และ UNHCR ร่วมกับชาวเวียดนามก็เคารพในการสนับสนุนด้วยการคืนที่ดินให้กับรัฐบาลอินโดนีเซียในช่วงทศวรรษที่ 90

6.ชาวเวียดนามตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้รับประโยชน์จากโครงการวีซ่าพิเศษและทุนการศึกษาในประเทศตะวันตกและประเทศในเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และจีน เวียดนามสั่งการการศึกษาตามสายงานและอนุญาตให้แคมเปญสันติภาพและกลุ่มภารกิจต่าง ๆ จากองค์กรศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์เปิดโรงเรียนและโรงพยาบาล

7.สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกานำโอกาสมาสู่เวียดนามมากขึ้น เนื่องจากเวียดนามมีความใกล้ชิดและการเปลี่ยนแปลงการลงทุนภาคอุตสาหกรรมจากจีน ข้อตกลงการค้าเสรีของอาเซียนยังช่วยให้เวียดนามสามารถเข้าสู่ตลาดอาเซียนด้วยราคาที่สามารถแข่งขันได้

8.แม้ว่าฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศสมัยใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออินโดนีเซียในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุด แต่ชาวเวียดนามมีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากกว่าและมีความขัดแย้งทางสังคมในระดับที่น้อยกว่า ความทรงจำเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองของพวกเขายังคงปรากฏให้เห็น พวกเขาภูมิใจกับพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์และพวกเขาห่วงใยเหยื่อที่อาศัยอยู่ท่ามกลางพวกเขา

ถนนในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 

ทั้ง 8 ข้อที่ได้นำเสนอมานี้ หลายข้อก็ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา แต่ไม่สามารถก้าวข้าม ก้าวพ้นได้จนทุกวันนี้ เพราะรัฐบาลที่อยูได้นาน แน่นอนย่อมสร้างผลงานได้ดีด้วยความต่อเนื่อง หากไม่รื้อหรือยกเลิกโครงการต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งในบ้านเราส่วนใหญ่นิยมทำกันมากเพื่อจะได้สร้างงานใหม่ (สำหรับพรรคพวกและผองเพื่อน) เพื่อให้นำมาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน ส่วนเวียดนามไม่มีการเลือกตั้งมานานหลายทศวรรษแล้ว ปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวคือ ‘พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม’

แม้ว่า ความขัดแย้งในประเทศที่มีการใช้กำลังอาวุธเข้ารบกันระหว่างรัฐบาลไทยและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจะจบลงตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ด้วยนโยบาย 66/23 และ 65/25 อันเป็นผลงานของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี แต่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยก็เป็นตัวสร้างวงจรอุบาทว์ให้เกิดขึ้นตลอดมา โดยเฉพาะการทุจริตโกงกินของนักการเมืองและพรรคการเมือง ด้วยความเชื่อของคนไทยที่ว่า ‘ความเก่ง’ นั้นสำคัญกว่า ‘ความดี’ ซึ่งเป็นหลักใหญ่ที่ทำให้บ้านเมืองของเราก้าวไม่พ้น ก้าวไม่ข้ามวงจรอุบาทว์ไปได้

หากสังคมไทยอยากให้ประชาธิปไตยที่มีความยั่งยืน และทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าวัฒนาถาวรตลอดไปแล้วนั้นไม่ยากเลย เพียงแต่ช่วยกันปฏิบัติตามพระบรมราชโชวาทของ ล้นเกล้าฯ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า “...ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...” เช่นนี้แล้ว บ้านเมืองของเราก็จะมีความสงบสุขร่มเย็น และมีประชาธิปไตยที่มีความยั่งยืน และทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าวัฒนาถาวรตลอดไป