Thursday, 2 May 2024
เผด็จการ

เสถียรภาพทางการเมือง แรงส่งเศรษฐกิจเหงียนพุ่ง หนึ่งในคำตอบ!! ทำไม ศก.เวียดนาม โตสุดในอาเซียน?

ในช่วงการเลือกตั้งครั้งนี้ สิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาคือ การมองประเทศอย่างรอบด้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาประกอบ จึงขอนำข้อมูลจาก Quora ซึ่งเป็นบทความที่สรุปมุมมองของนักธุรกิจต่างชาติวิจารณ์ประเทศต่าง ๆ ใน ASEAN แล้วสรุปว่า เวียดนามมีเศรษฐกิจที่เติบโตมากที่สุดใน ASEAN ตามรายละเอียดดังนี้

บริษัทของเราต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่อยมาก และเราพบว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีความโชคดีที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด อันเนื่องมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

1.เสถียรภาพทางการเมืองทำให้ศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคงด้วย หลังจากเวียดนามมีการปฏิรูป Đổi Mới โดย Nguyễn Văn Linh เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (18 ธันวาคม พ.ศ. 2529 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2534) ในขณะนั้น เป็นการเน้นตลาดเสรี แต่ยังคงใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ แต่ลดความเข้มงวดตามแบบนิยมสังคมนิยม รัฐบาลเวียดนามได้ทำให้เกิดความ 'สะดวก' ในการทำธุรกิจและการไหลเข้าของนวัตกรรมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ หลังสงคราม เวียดนามเชื้อเชิญกลุ่มทุนที่ร่ำรวยจากเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุด เสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในเอเชีย และได้รับเงินกู้จากธนาคารทุนดั้งเดิมเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

2.รัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้ผู้พลัดถิ่นถือสองสัญชาติหรือหลายสัญชาติเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการปรองดองและเยียวยา สิ่งนี้ได้สร้างการไหลเข้าของเงินทุนจากชาวเวียดนามพลัดถิ่น ซึ่งขณะนี้มีความมั่นใจที่จะนำเงินที่หามาอย่างยากลำบากกลับคืนสู่เศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูง

3.เวียดนามอาจเป็นประเทศที่ไม่มีการปิดกั้นอย่างแท้จริงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่มีอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ หรือข้อพิพาททางการทูต ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ ทั้งนี้ผู้นำของเวียดนามได้ทำการศึกษากฎหมายของเพื่อนบ้านที่ประสบความสำเร็จมากกว่า และเรียนรู้ว่า สิ่งใดใช้แล้วได้ผล และสิ่งใดที่ไม่ควรนำมาใช้ในประเทศของตน เวียดนามเชื้อเชิญกลุ่มทุนนิยมโดยตรง และยอมให้กองทุนลอตเตอรี่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่ห้ามการพนันอื่น ๆ โดยเด็ดขาด

4.ผู้นำเวียดนามมีความมั่นใจและมองการณ์ไกล ด้วยชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ในการได้รับเอกราชและพลังผลักดันในอินโดจีน ผู้นำของพวกเขาเบื่อหน่ายกับสงคราม และในยุค 80 ตระหนักว่าการเป็นศัตรูกับเพื่อนบ้านนั้นไม่มีประโยชน์ พวกเขาทำการรณรงค์ทางด้านการทูต และเข้าสู่ ASEAN ในปี ค.ศ. 1995 สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาส เช่น การนำเข้าปุ๋ยและการส่งออกข้าวจาก/ไปยังอินโดนีเซียที่ทำกำไรมากมาย และการนำเข้าต้นกล้าจากไทยเพื่อเพิ่มคุณภาพของพันธุ์ข้าว และการหลั่งไหลเข้ามาของครูชาวฟิลิปปินส์เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งนำมาซึ่งการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ และจำนวนประชากรที่เฟื่องฟูในช่วงทศวรรษที่ 90 ถึงปี 2000

5.เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ดีในอดีตกับเพื่อนบ้านที่ใหญ่ที่สุดอย่างอินโดนีเซีย เป็นที่ทราบกันว่าในช่วงสงครามประกาศเอกราชของเวียดนาม อินโดนีเซียเสนอเกาะของตนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม และ UNHCR ร่วมกับชาวเวียดนามก็เคารพในการสนับสนุนด้วยการคืนที่ดินให้กับรัฐบาลอินโดนีเซียในช่วงทศวรรษที่ 90

‘เพนกวิน’ ชี้ นโยบายการศึกษา ‘เพื่อไทย’ คิดแบบเผด็จการ แนะ ควรถามผู้เรียนก่อน อย่ายัดเยียด-มองเด็กเป็นหุ่นยนต์

(24 เม.ย. 66) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ ‘เพนกวิน’ แกนนำม็อบราษฎร โพสต์เฟซบุ๊ก ‘เพนกวิน – พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak’ พร้อมภาพกราฟิกจากเพจ ‘นักเรียนเลว’ ที่หยิบยกคำพูดของ น.ส.ณหทัย ทิวไผ่งาม ประธานคณะทำงานด้านนโยบายการศึกษา พรรคเพื่อไทย ที่ระบุว่า…

“เราก็พูดกันถึงเรื่องของความเหลื่อมล้ำ ถ้าเราเปิดให้ไปแต่งชุดที่เป็นไปรเวทเนี่ย มันจะไม่สร้างความเหลื่อมล้ำมากกว่านั้นเหรอ เพราะว่าเวลาไปโรงเรียนเนี่ย ก็จะดูแล้วว่าคุณใส่เสื้อยี่ห้ออะไร คุณใส่กางเกงรองเท้าอะไรล่ะ แล้วทรงผมคุณจะเป็นยังไง”

‘รศ.อัศวิณีย์’ หวั่น สถานศึกษากลายเป็นที่บ่มเพาะความแตกแยก สอนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยวิธีเผด็จการ อ้างสิทธิเพื่อละเมิดผู้อื่น

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย 66 รศ.อัศวิณีย์ หวานจริง อดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ภาควิชาศิลปะไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว ชื่อ ‘Asawinee Wanjing’ ถึงเรื่องการให้ความสำคัญกับสถานศึกษา ก่อนจะกลายเป็นแหล่งบ่มเพราะเผด็จการในคราบนักประชาธิปไตย สร้างความแตกแยกให้ประเทศชาติบ้านเมือง โดยระบุว่า…

“วันใดที่การศึกษา เป็นเพียงสถานสร้างวิชา ละเลยคุณธรรม บ่มเพาะความก้าวร้าว พัฒนาการต่อต้าน สร้างความแตกแยก ชี้นำคำลวง ให้โกหกกลายเป็นถูก สอนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยวิธีเผด็จการ สนับสนุนใช้อำนาจกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ให้สิทธิเสรีภาพในการละเมิดผู้อื่น ใครใคร่ละเลยปล่อยเยาวชนตกเป็นเครื่องมือ บำเรอความใคร่อุดมการณ์ จินตนาตนเป็นนักสู้ ผู้สอนแอบหลังเด็กบังหน้า อ้างวิชาการ ไปปะทะและทำลาย ใครหมดความหมายย้ายคนใหม่ ทนอยู่ได้ อยู่รักษาตัวให้รอดเป็นยอดดี

ผู้บริหารปิดตา ไม่มอง ไม่รู้ ไม่ดู ไม่เห็น ไม่ฟัง ไม่ได้ยิน เพื่อไม่เดือดร้อน เพราะภาระงานมาก เร่งทำ Ranking หารายได้บริหารงบ ปล่อยแกนนำนักศึกษาจะนำไหนก็นำไป ขอให้จ่ายครบจบส่งออก คืนปัญหาสู่สังคม ไปกัดเซาะโครงสร้าง สถาบันแตกร้าว สุดท้ายพุพองในบ้าน ให้ครอบครัวคอยเยียวยา เมื่อนั้นคือ ความอัปยศทางการศึกษา เข้าสู่กลียุคอย่างแท้จริง

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะให้ความสำคัญกับสถานศึกษา ก่อนจะกลายเป็นแหล่งบ่มเพราะสร้างปัญหา การละเลยเห็นประกายไฟเป็นเรื่องเล็กน้อยปล่อยให้ลุกลาม สุดท้ายก็จะไม่เหลืออะไรเลย

‘ชาวเน็ต’ แฉ!! ติ่งส้มไล่ด่าคนเห็นต่าง-ใช้คำพูดหยาบคาย ซัด!! เรียกร้องสิทธิของตัวเอง แต่ไม่เคารพสิทธิคนอื่น

เมื่อไม่นานนี้ ได้มีผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่ง ชื่อ ‘benzsan1996’ หรือ ‘คุณเบนซ์’ ได้โพสต์คลิปวิดีโอตอบกลับความคิดเห็นที่มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์ไว้ว่า “ทีแรกก็ติ่งส้มแต่เราเห็นต่างเรื่อง ม.112 เราโดนรุมด่าหนักมาก อยู่ดี ๆ ก็ได้เป็นสลิ่มเฉยเลย”

เจ้าของช่องติ๊กต็อกได้ตอบกลับคอมเมนต์นี้ โดยกล่าวว่า…

“ใช่ค่ะ โดนแบบนี้กันเยอะมาก ซึ่งเบนซ์ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตอนแรกเบนซ์ก็เห็นดีด้วยนะ กับการออกมาประท้วงเรื่องการไล่ลุงตู่ เพราะตอนแรกเบนซ์ไม่ชอบลุงตู่ เพราะเราไม่เห็นผลงานเขาไง เลยคิดว่าจะอยู่ต่อไปทําไมก็ไม่รู้ แต่พอไป ๆ มา ๆ กลายเป็นว่านอกจากไล่ลุงตู่อย่างเดียว ก็เริ่มมาจาบจ้วงสถาบันฯ วิจารณ์กันรุนแรงมาก จะมาอ้างว่าไม่เคยจาบจ้วง ไม่เคยเอาพระมหากษัตริย์มาโหนไม่ได้นะคะ เพราะพวกคุณทําจริงๆ แต่พวกคุณไม่ยอมรับความเป็นจริงว่าพวกคุณทําจริง ๆ”

“จะบอกไว้ให้นะคะ ว่าคนที่เป็นแบบเบนซ์ ที่เขาเคยเห็นด้วยกับกลุ่มผู้ชุมนุม พอเขาคิดต่างเรื่อง ม.112 เขากลับโดนด่าแบบสาดเสียเทเสีย ซึ่งมีเยอะมากค่ะ ถ้าคุณจะไล่ลุงตู่ แล้วคุณไม่ไปต้องแตะต้องเรื่องพระมหากษัตริย์ คุณอาจจะทําให้ลุงตู่ออกจากเก้าอี้ไปตั้งนานแล้วก็ได้ และการที่หลาย ๆ คนเขาถอยออกมาจากม็อบกันเยอะ ๆ เพราะพวกคุณทั้งนั้นเลย เมื่อมีคนเห็นต่าง คุณก็ว่าเขาโง่ มีคนคิดเห็นไม่เหมือนกับคุณ คุณก็ว่าเขาเป็นสลิ่ม คุณเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยของคุณเป็นวิธีแบบ ‘เผด็จการ’ และคุณใช้คําพูดหยาบคายมาก ๆ ซึ่งไม่เข้าใจว่าทำแบบนั้นทําไม? เวลาคุณจะพูดหรือจะโต้แย้งกับใคร คุณคิดได้แค่คําหยาบคายหรือ? ใช้คําพูดที่มีเหตุผลไม่ได้หรือ เอาเหตุผลมาคุยกันไม่ได้หรือ?”

“เบนซ์เคยอยู่ในจุดที่เห็นด้วยนะคะ และสงสารคนที่โดนตํารวจฉีดน้ำใส่หรือถูกจับกุม เบนซ์เคยอยู่ ณ จุดนั้น แต่พอเราเห็นเขาแตะต้อง ม.112 เขาแตะต้องพระมหากษัตริย์ เรารู้สึกไม่โอเคเลย แล้วเมื่อเราไปพูดคุยเรื่องนี้ด้วยเหตุผล ก็โดนแย้งกลับมาว่า แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์มีไว้เพื่ออะไร สําคัญอะไร? คือคุณไม่มีเหตุผลแล้วอะ ความคิดของคุณมันไม่โอเคแล้ว และเมื่อเราเห็นว่าความคิดของเราไม่เหมือนกันแล้ว เราเลยถอย พอเราถอยเราก็ถูกคุณด่าเสียๆ หายๆ อีก เพราะฉะนั้น คุณควรจะคิดดีๆ ว่าสิ่งที่คุณต้องการคืออะไรกันแน่ พอเราออกมาบอกว่า เราเคยอยู่ในจุดที่เคยเป็นติ่งส้มนะ พวกคุณก็มาก้าวก่ายความคิดของเรา มากล่าวหาว่า การที่เรามีความคิดแบบนี้ เราไม่เคยมาเป็นติ่งส้มจริง ๆ หรอก หาว่าเราอยู่ฝั่งลุงตู่”

“นี่คือตัวตนของฉัน ความคิดของฉัน มันไม่ใช่ตัวของคุณ แค่นี้คุณยังไม่เคารพสิทธิคนอื่นเลย ต้องการเรียกสิทธิของตัวเอง แต่ไม่เคารพสิทธิคนอื่น นี่หรือคือ ‘ประชาธิปไตย’ คิดดีๆ นะจ๊ะ”

‘จีน’ ฉุน!! ‘รมว.ตปท.เยอรมนี’ เรียก ‘สี จิ้นผิง’ ว่า “จอมเผด็จการ” ชี้ เป็นความคิดที่ไร้สาระ-ละเมิดศักดิ์ศรี-ยั่วยุทางการเมืองชัดเจน

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 66 ‘จีน’ ตำหนิ ‘อันนาเลนา แบร์บ็อค’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีอย่างดุเดือด หลังเรียกประธานาธิบดี ‘สี จิ้นผิง’ เป็น ‘เผด็จการ’ โดยตราหน้าความคิดเห็นดังกล่าวว่าเป็น ‘การยั่วยุทางการเมืองอย่างเปิดเผย’ ที่ไร้สาระเป็นอย่างยิ่ง

ปักกิ่งคือคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี แต่เยอรมนีเผยแพร่นโยบายใหม่ในเดือนกรกฎาคม ลดพึ่งพาและหันมาประชันขันแข่งกับจีนแน่วแน่กว่าเดิม หลังจากใช้เวลาถกเถียงกันภายในรัฐบาลมานานหลายปีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่จะใช้กับจีน

แบร์บ็อค ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้เยอรมนีใช้แนวทางสายแข็งกร้าวยิ่งขึ้นกับจีน แสดงความคิดเห็นเรียก สี จิ้นผิง เป็นเผด็จการ ขณะให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวฟ็อกซ์ นิวส์ เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ระหว่างเดินทางเยือนสหรัฐฯ

ในระหว่างให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสงครามยูเครน เธอบอกว่า “หากปูตินชนะในสงครามนี้ มันจะเป็นสัญญาณสำหรับพวกเผด็จการคนอื่นๆ ในโลกใบนี้ อย่างเช่น สี จิ้นผิง อย่างเช่นประธานาธิบดีจีน หรือไม่? ดังนั้น เพราะฉะนั้น ยูเครนจำเป็นต้องชนะในสงครามนี้”

จีนเคลื่อนไหวตอบโต้ เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา บอกว่าพวกเขานั้น “ไม่พอใจอย่างมาก” และได้แสดงออกอย่างจริงจังไปถึงฝ่ายเยอรมนีผ่านช่องทางทางการทูตต่างๆ เรียบร้อยแล้ว

“ความคิดเห็นนี้ไร้สาระเป็นอย่างยิ่ง และล่วงละเมิดศักดิ์ศรีทางการเมืองของจีนอย่างร้ายแรง และเป็นการยั่วยุทางการเมืองอย่างเปิดเผย” เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวระหว่างแถลงสรุปประจำวัน

คณะรัฐมนตรีเยอรมนีให้การอนุมัติแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับจีน ซึ่งเป็นเอกสารความยาว 64 หน้า เมื่อเดือน ก.ค. โดยเน้นย้ำในแผนยุทธศาสตร์ว่า ต้องการรักษาความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนกับจีนต่อไป แต่ขณะเดียวกัน ต้องการลดการพึ่งพาจีนในภาคอุตสาหกรรมสำคัญ ด้วยการสร้างห่วงโซ่อุปทานให้หลากหลายขึ้น เพื่อเป้าหมายคือการลดความเสี่ยง มิใช่การตัดขาดจากห่วงโซ่เศรษฐกิจของจีนเสียทีเดียว

นโยบายใหม่เกี่ยวกับจีนของเยอรมนี เป็นการรักษาสมดุลระหว่าง 2 จุดยืนที่แตกต่างกันภายในรัฐบาลผสม โดยเรียกปักกิ่งเป็นทั้ง “คู่หู คู่แข่งขัน และคู่ปรับในเชิงระบบ”

แบร์บ็อค จากพรรคกรีนส์ ผลักดันให้ใช้แนวทางแข็งกร้าวกับจีน และให้ความสำคัญอย่างยิ่งในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ส่วน ‘โอลาฟ โชลซ์’ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จากพรรคโซเชียล เดโมแครต สนับสนุนให้ใช้ท่าทีที่เป็นมิตรทางการค้ามากกว่า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top