Tuesday, 7 May 2024
POLITICS

'ดร.เอ้' ยัน!! นายกฯ เดินทางไปต่างแดน เป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องหมั่นโฟกัสเรื่องใหญ่ ไม่ใช่แค่รับมาแล้วก็เงียบไป

เมื่อไม่นานมานี้ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้โพสต์วิดีโอในช่องติ๊กต็อก @aesuchatvee พร้อมระบุแคปชันว่า “นายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ ‘IGNITE Thailand’ มุ่ง 8 เป้าหมายพัฒนาประเทศ ในงาน ไม่มีเรื่อง ‘เป้าหมายการศึกษา’ และ ‘การพัฒนาทักษะคนไทย’ แม้แต่ข้อเดียว น่าเสียใจ” 

โดยภายในวิดีโอได้พูดและแนะนำถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรให้ความสำคัญ ไม่น้อยกว่าการไปเยือนต่างประเทศ โดยกล่าวว่า… “สําหรับการเดินทางไปต่างประเทศของนายกฯ คนใหม่เป็นสิ่งจําเป็น เพราะต้องแนะนําตัวและนโยบายของประเทศตอนนี้ว่าเป็นอย่างไร ผมว่าเรื่องพวกนี้มีความจําเป็น แต่ท่านต้องไม่ฉาบฉวย มีภาพท่านที่ออกมาในลักษณะที่มีคนร้องเรียนทีนึง เมื่อไปดู แล้วก็หาย ไปอีกตรงหนึ่ง ท่านก็หาย กลายเหมือนกับว่า ไม่ได้โฟกัสอะไร…”

ดร.เอ้ กล่าวต่อว่า “จริง ๆ แล้วท่านต้องโฟกัส และต้องจัดอันดับเรื่องของปัญหา ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ประเทศไทยไม่พ้นความยากจน ประเทศไทยมีปัญหาหลายเรื่องที่มาจากเรื่องของการศึกษา แต่ท่านไม่พูดเลย”

ดร.เอ้ ได้ยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ที่กำลังจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ ‘ลอว์เลนซ์ หว่อง’ ที่ได้พูดเรื่องการศึกษามาเป็นเรื่องแรก ๆ 

ดร.เอ้ ระบุต่อว่า “แต่นายกฯ เศรษฐาไม่พูดเลย ท่านไปดูตรงไหน ท่านก็พูดแต่เรื่องฉาบฉวย แต่ความสามารถในการแข่งขัน การสร้างคนซึ่งเป็นเรื่องที่จําเป็นที่สุด ท่านไม่เคยพูด”

สุดท้ายดร.เอ้ ได้พูดถึงประเด็นที่นายกฯ เดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งว่า “เรื่องท่านไปต่างประเทศ ผมไม่ว่า แต่งานที่สําคัญที่สุดคือ ‘เรื่องของรากลึกของสังคมไทย’ เรื่องการศึกษา ท่านไม่พูดเลย อีกทั้งเรื่องการแก้ปัญหา ท่านต้องไม่โยนให้กับกระทรวงอื่น แต่ท่านต้องแสดงบทบาทผู้นําว่าท่านหยิบจับอะไรมันก็สําเร็จ ไม่ใช่จับแล้วปล่อย ๆ แบบนี้ ผมว่าท่านจะต้องปรับปรุง”

‘อดีตผู้ว่าอัศวิน-สส.รทสช.’ เตรียมลงพื้นที่คลองโอ่งอ่าง ถามหา “ชัชชาติ...สิ่งดีๆ คลองโอ่งอ่าง...หายไปไหน?”

(11 มี.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรครวมไทยสร้างชาติ แจ้งกำหนดการ ของอดีตผู้ว่า กทม.พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพคลองโอ่งอ่างในปัจจุบัน หลังมีการแชร์และพูดถึงกันในโซเชียลมีเดียที่ระบุว่าเปลี่ยนไปจากเดิม

โดยกำหนดการดังกล่าว แจ้งว่า สส. เกรียงยศ สุดลาภา สส.บัญชีรายชื่อ นายทะเบียนสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง จะลงพื้นที่คลองโอ่งอ่าง ถามหา “ชัชชาติ…สิ่งดีๆ คลองโอ่งอ่าง….หายไปไหน“

สืบเนื่องจาก นายเกรียงยศ สุดลาภา สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้หารือ ในสภาฯ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ถึงกรณีทำไม! กทม.จึงปล่อยทิ้งคลองโอ่งอ่าง ให้กลับสู่สภาพเดิม จนหมดคุณค่าความเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร และเมินจัด ‘ถนนคนเดิน’ ทั้งที่สร้างรายได้ให้ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่

โดยทั้ง 2 ท่าน จะลงพื้นที่ ในวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 ในเวลา 10.30 น. เดินสำรวจ และรับเรื่องร้องเรียน จากผู้ค้า และ เวลา 11.30 น. จะมีการสอบถามเพิ่มเติม

'ธนาธร' ไม่สะเทือน หาก ‘ก้าวไกล’ ถูกปิดฉาก รอโกยคะแนนเห็นใจ ปิดปาก 'แม้ว' กลับเชียงใหม่

เมื่อไม่นานมานี้ ที่ร้านพริ้มเพลิน จังหวัดปทุมธานี ในการสัมมนาของกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ในฐานะวิทยากร ให้สัมภาษณ์ถึงการอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 ว่า สส.พรรคก้าวไกล มีวิจารณญาณ โดยตนเองคิดว่านายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล พิจารณาและไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน มีข้อมูลเพียงพอที่จะอภิปรายเพื่อเสนอแนะให้รัฐบาลแก้ไขในด้านต่างๆ

เมื่อถามว่ามั่นใจในพรรคก้าวไกลหรือไม่ ว่าข้อมูลอภิปรายจะแน่นพอในการตรวจสอบรัฐบาล นายธนาธร กล่าวว่า ตั้งแต่เปิดสภาชุด 2566 มา ตนเองเห็นแต่คุณภาพของ สส. พรรคก้าวไกล เทียบพรรคอนาคตใหม่ ปี 2562 กับก้าวไกล ปี 2566 สส.มีคุณภาพกว่าเยอะมาก อยากเชิญชวนให้ประชาชนติดตามการประชุมสภา เพื่อดูว่า สส. ที่เลือกมาแต่ละคนทำผลงานมากน้อยเท่าไหร่ หากฟังทุกสิ่งที่ สส.ก้าวไกล เสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการในด้านต่างๆ ตนเองเชื่อว่าจะเห็นความมุ่งมั่นทำงานที่หนักหน่วง มีคุณภาพ “ดังนั้น ผมไว้เนื้อเชื่อใจ สส.ชุดนี้ครับ”

เมื่อถามว่ามองว่าในการอภิปรายควรมีประเด็นใดบ้าง นายธนาธร กล่าวว่า ตนเองไม่รู้เลยว่าจะอภิปรายอะไรบ้าง แต่เชื่อว่า นายชัยธวัช พิจารณาถี่ถ้วน ไม่ใช่แค่ประเด็นเกมการเมือง แต่เน้นคุณภาพ

เมื่อถามว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเริ่มพิจารณาการยุบพรรคก้าวไกลสัปดาห์นี้ มองเรื่องนี้อย่างไรในฐานะที่พรรคอนาคตใหม่ก็เคยถูกยุบ นายธนาธร ระบุว่า การยุบพรรคไม่ทำให้พรรคก้าวไกลหนักใจ เพราะพรรคก้าวไกลและพรรคอนาคตใหม่ผ่านการยุบพรรคมาแล้ว เชื่อว่าผู้สนับสนุนเข้าใจและพร้อมจะเดินทางต่อ การยุบพรรคจะทำให้คนเห็นอกเห็นใจถึงความไม่เป็นธรรม ความไม่ถูกต้องที่ดำรงอยู่ในประเทศ

เมื่อถามว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ นายธนาธร หัวเราะ พร้อมกล่าวว่า แล้วแต่ประชาชน แต่คณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกล มุ่งมั่นทำงานทุกวันให้ดีที่สุด เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่าพวกเราตั้งใจจริงที่จะเปลี่ยนประเทศให้ประเทศไทยดีกว่านี้ ให้ประชาชนเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี

ส่วนประเด็นเรื่อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะกลับไป จ.เชียงใหม่ มองว่าเป็นสองมาตรฐานหรือไม่ นายธนาธร พูดทันทีว่า “โห ผมไม่มีความเห็นคิดในเรื่องนี้” เคยตอบไปแล้ว การบังคับใช้กฎหมายต้องเสมอภาค มีนักโทษคดีการเมืองเป็นพันคน เข้าใจว่ามีหลายสิบคนที่ยังอยู่ในคุก พวกเขาไม่ใช่เป็นคนที่ลักขโมยหรือฆ่าข่มขืนใคร พวกเขาเป็นนักโทษทางความคิด การพูดคิดอ่านเขียนไม่ควรเป็นอาชญากร

เมื่อถามว่า มีประชาชนไปรอต้อนรับ นายทักษิณ จะเป็นเป้าให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่ นายธนาธร กล่าวสั้นๆ ว่า “ขอให้ไปถามพรรคเพื่อไทยดีกว่า”

‘พปชร.’ เดินหน้าวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน หวังเป็นที่ยอมรับของ ปชช. เตรียมให้ สส.ลงพื้นที่มากขึ้น - จ่อเป็นคนกลางเชื่อมการเมือง 2 ฝ่าย

(11 มี.ค. 67) สิ้นเสียงของ ‘ลุงป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของ พปชร. ประกาศปรับลุคเคลื่อนทัพทางการเมืองใหม่ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาถูกสังคมส่องสปอตไลต์ตลอด ไปถอดรหัสผ่านมุมมองของนักการเมืองระดับเก๋าเกม โลดแล่นอยู่บนถนนเส้นนี้กว่า 30 ปี โดย นายวราเทพ รัตนากร ผู้อำนวยการ พปชร. และแกนนำอีกคนของ พปชร. สะท้อนให้เห็นถึงจุดประสงค์ของการประกาศดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้สนับสนุนพรรค พปชร.

ขณะนี้กำลังวางยุทธศาสตร์ทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนมากขึ้น ทั้งฐานะพรรคร่วมรัฐบาล มี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร. เป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้า พปชร. เป็น รมช.สาธารณสุข พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ประธานที่ปรึกษา พปชร. เป็น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะ 2 กระทรวงหลัก เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก ทั้งหมดขึ้นอยู่กับนโยบายนำเสนอไปแล้วถูกใจประชาชนหรือไม่ แต่ไม่ได้ทิ้งด้านเศรษฐกิจ พลังงาน ท่องเที่ยว

ซึ่งมีผู้มีประสบการณ์ผ่านมาแล้วหลายกระทรวง มีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เข้ามาดูควบคู่กันไป อาจเรียกได้ว่าด้านเศรษฐกิจมีผู้เชี่ยวชาญไม่น้อยไปกว่าพรรคอื่น ไม่อยากพูดว่าเหนือกว่าพรรคอื่น

บนเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งให้ พปชร. เพื่อกลับมาในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

ซึ่งเป็นเรื่องปกติของทุกพรรคการเมืองต้องมีความพร้อม ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมตลอดเวลา เพราะไม่มั่นใจการเมืองในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่ไม่ถึงขั้นว่าพร้อมวันนี้

ฉะนั้นเป้าหมายปี 67 ทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมคิดนโยบาย ปี 68 ประกาศชัดเจนเดินไปข้างหน้าอย่างไรให้ประชาชนยอมรับมากขึ้น

โดยให้ผู้สมัคร สส.ที่ไม่ได้รับเลือก ติดพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน หลายเขตเป็นผู้ที่มีศักยภาพ มีโอกาสในการเลือกตั้งครั้งหน้า และ สส. 39 เขต กระจายทั่วทุกภาค ไปขยายฐานเพิ่ม

โดยเฉพาะความเห็นที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว ยังมองไม่เห็นคนกลางที่สามารถเชื่อมทั้ง 2 ฝ่าย และอาจมีฝ่ายที่ 3 ที่คิดว่าทั้ง 2 ขั้วก็ไม่ถูกต้อง

แต่รัฐบาลมีความตั้งใจ ถ้าไม่สำเร็จ ขอแค่ได้เริ่มสัก 50%

วางให้ชัดเจนในส่วนที่สามารถยอมรับกันได้ โดยเฉพาะการแก้ไขรธน. กติกาในการ บริหารประ เทศที่ออกมาเป็นที่ยอมรับแค่ไหน

ทั้งนี้ การสลายขั้วทางการเมืองกับการแสดงความคิดเห็นต้องแยกกัน สลายขั้วอาจเป็นพรรค และผู้สนับสนุน แต่สลายขั้วทางความคิด อาจเป็นเรื่องยาก

ฉะนั้นความคิดต่างกันได้ แต่ต้องยอมรับกติกาเลือกตั้ง ปล่อยฝ่ายชนะได้บริหารประเทศ ฝ่ายแพ้ก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ยกเว้นเกิดทุจริต คงต้องปล่อยให้ระบบจัดการ

ขณะนี้เริ่มเห็นปรากฏการณ์ที่ฝ่ายค้าน และรัฐบาลยอมรับในบางเรื่องที่ถูกต้อง ยอมรับความเห็นของพรรคตรงข้าม ตรงนี้ขึ้นอยู่กับสังคมที่สามารถชี้นำ และบีบฝ่ายที่ไม่มีเหตุผลหรือทำไม่ถูกต้อง

ภาพรวมรัฐบาลอยู่ตลอดรอดฝั่งครบเทอม 4 ปี หรือไม่ นายวราเทพ บอกว่ารัฐบาล พรรคการเมือง สส. ล้วนอยากให้อยู่ครบวาระ รวมถึงผมด้วย เพื่อทำให้การเมืองต่อเนื่อง

เชื่อว่าทุกคนอยากเห็นสภาฯ และรัฐบาลได้ทำงานแก้ไขปัญหาให้ประชาชน มากกว่าต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเร่งด่วนในขณะนี้

“ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก่อน 4 ปี พรรคร่วมรัฐบาลยังสามัคคี ไม่มีความขัดแย้ง

แต่ปัจจัยภายนอกที่คนเห็นอยู่ และคิดได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ด้วยโครงสร้างปัจจุบันบอกว่าพรรคการเมืองยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะพรรคแกนนำมีเสียงไม่เกินกว่าครึ่งหนึ่ง”

‘รัฐบาลสลายขั้ว’ ตรงกับนโยบาย พปชร. ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ ทั้งรัฐบาล และ พปชร.ต้ องปรับบทบาทอย่างไร เพื่อให้เดินไปสู่รัฐบาลสลายขั้ว สร้างความปรองดอง นายวราเทพ บอกว่า เราเป็นพรรคอันดับ 3 สนับสนุนเต็มที่ และมีจุดยืน ทำให้สังคมเกิดความสงบ

แต่การขับเคลื่อนต้องรอพรรคเพื่อไทย แกนนำอันดับ 1 โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ที่กำลังดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการแก้ รธน.หรือการทำประชามติแก้ รธน.

การเคลื่อนไหวของ ‘ลุงป้อม’ ยังถูกจับตามีโอกาสกลับมาเป็นรองนายกฯ เพราะตามโควตาพรรค พปชร.เหลืออีก 1 เก้าอี้รัฐมนตรี นายวราเทพบอกว่า มองเชิงการเมืองอาจคาดการณ์ได้ อาจมีการวิพากษ์วิจารณ์

แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของหัวหน้า พปชร. และต้องหารือตกลงร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคแกนนำ ที่ยังไม่มีการพูดคุยอย่างเป็นทางการ หรือเป็นกิจจะลักษณะ

กระแสที่จะกลับมาเป็นนายกฯ ช่วงหลังวุฒิสภาอภิปรายทั่วไปรัฐบาล นายวราเทพบอกว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะมี อาจมีคนคิด แต่ในส่วนของ พปชร.ผมไม่เคยได้ยิน

เพราะทางการเมืองกำลังจะเกิดปรากฏการณ์ยุบ 2 พรรค มีการทาบทาม สส.ของทั้ง 2 พรรคเข้าร่วมงานกับพรรค พปชร.อย่างไร นายวราเทพ บอกว่า เรื่องนี้อยู่นอกเหนือจากความเป็นทางการ
ผมยังไม่ได้ยินกรณีนี้ มีหรือไม่มี เราพูดยาก อาจมีก็ได้ แต่เขาคงไม่อยากให้มีการพูดถึง มันเป็นเรื่องอนาคต ยังไม่รู้ผลจะเป็นอย่างไร

‘ลุงป้อม’ เคลื่อนไหวทางการเมืองลักษณะนี้ ได้รับสัญญาณพิเศษอะไร นายวราเทพ บอกว่า ไม่มีสัญญาณพิเศษ แต่อยากเห็นพรรคต่างจากในอดีต เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วทิ้งงานของพรรค ไม่มีใครรับผิดชอบ พอยุบสภาฯ ถึงกลับมาหาประชาชน หากผลงานรัฐบาลดีอาจได้รับการรับเลือก แต่ถ้าผลงานไม่ดีอาจแพ้เลือกตั้ง

คราวนี้เราต้องทำงานคู่ขนานกับการร่วมรัฐบาล พปชร.ต้องเคลื่อนไหวตลอดให้ประชาชนสัมผัสได้

งานงอก!! ครูวัดธาตุทองฯ ถูกโซเชียลแฉพฤติกรรมไม่เหมาะสม พบ 'ดิจิทัลฟุตพรินท์-หลักฐานบันทึก' เพียบ พร้อมถึงมือตำรวจ

(10 มี.ค.67) จากกรณี 'โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง' ได้มีแนวทางในการสุ่มสอบปากเปล่าเด็กนักเรียนด้วย ‘คีย์เวิร์ด’ ซึ่งปรากฏพบคำต่างๆ ที่คุ้นเคยกับกลุ่มการเมืองต่อต้านสถาบันฯ เช่น ‘112-ขบวนเสด็จ’ และหลากคำคุ้นจากกลุ่มการเมืองกลุ่มนี้ จนมีการสืบค้นไปถึง 'ครู' ผู้ริเริ่มแนวนี้นั้นว่าเป็นใครและมีการเผยแพร่ถึงพฤติกรรมที่ไม่ค่อยเข้าท่ามากมายลงในโซเชียลนั้น

ล่าสุด มีการเปิดเผยจากแอดมินเพจหนึ่งที่ได้ส่งบันทึกข้อความตักเตือนพฤติกรรมไม่เหมาะสมของครูคนดังกล่าว ซึ่งในมุมหนึ่งก็มักชอบเสี้ยมแซะสถาบันฯ อยู่บ่อยครั้งด้วย แชร์ไปให้แก่บุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคมมากมาย เพื่อให้รู้ถึงพฤติกรรมครูคนดังกล่าว

เพราะ ครูคนนั้น ไม่ธรรมดา เมื่อถึงคราวจำเป็นและคราวคับขันที่ต้องเจอเข้ากับตัวเอง ก็รู้จักสู้ด้วยหลักฐาน เรียกร้องหลักฐาน ซึ่งตอนที่เขาเคยถูก ผอ.โรงเรียนคนเก่าตักเตือน ก็ได้ไปอุทธรณ์ว่า ผอ.โรงเรียนคนเก่า กล่าวหาเขาโดยไม่มีหลักฐานกับทางศึกษาธิการกรุงเทพมหานคร และหัวหมอบอกว่า ผอ.โรงเรียนท่านนั้นไม่มีหลักฐาน ชี้แค่ว่าเป็นอำนาจในการบริหาร ทางศึกษาธิการกรุงเทพมหานครเลยยกข้อกล่าวครูคนนั้นไป  

อย่างไรก็ตาม แอดมินเพจคนดังกล่าว ก็ได้ส่งดิจิทัลฟุตพรินท์ของครูคนนั้นที่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งหมด เป็นหลักฐานตามบันทึกตักเตือนพฤติกรรมของอดีต ผอ.ไปให้บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมไทยที่มั่นใจว่าจะไปขยายผลต่อได้ ซึ่งทราบมาว่ามีการจัดเรียงหลักฐานแยกเป็นหมวดหมู่ บันทึกวันที่และ URL ไว้ครบถ้วนหมด

แน่นอนว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าจะให้จบง่ายแต่แรก ทาง อดีตผอ.โรงเรียน ไม่ควรพลาดในการเก็บหลักฐานดิจิทัลฟุตพรินท์ให้ครบหมด เพราะนั่นทำให้ไม่สามารถตักเตือนคนหัวหมอแบบนี้ได้

อย่างไรก็ตามบันทึกเหล่านั้นอยู่และมีดิจิทัลฟุตพรินท์พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของครูคนนั้น ที่มีคนส่งไปทั่วแล้ว คงเหลือเพียงแค่ต้องตรวจสอบหลักฐานทั้งหมดก่อนว่าจริงหรือปลอม ซึ่งงานนี้ 'ปอท.' และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คงช่วยตรวจสอบดูให้ทั้งหมดได้ไม่ยาก

'ธำรงศักดิ์' โพสต์ภาพหนังสือ 'ณัฐพล' เป็นทางเลือกให้ ป.เอกรุ่นแรก ม.รังสิต อ่าน!! ด้านศิษย์เก่าสวน!! เมืองไทยฉิบหาย เพราะมีพวกอ้างเสรีภาพทางวิชาการแบบนี้

(10 มี.ค.67) ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความพร้อมภาพหนังสือที่ปรากฏว่ามี 'ขุนศึกศักดินา พญาอินทรี' ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ซึ่งอ้างอิงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก 'การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)' ของนายณัฐพล ใจจริง ที่กำลังถูกสังคมจับจ้องในฐานะของวิทยานิพนธ์ที่เปื้อนความบิดเบือนทางประวัติศาสตร์ไทย ผ่านทางเฟซบุ๊ก 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' พร้อมระบุข้อความว่า...

"ผมกำลังพิจารณาว่าควรเลือกเล่มใดของการเมืองไทยทศวรรษ 2490 ให้นักศึกษาปอเอกสิงห์รังสิตรุ่นแรกในวิชาของผม บังคับอ่าน วิชาสัมมนาการเมืองการปกครองไทย เลือก ยาก มากๆ เพราะต้องเลือกเล่มเดียว รักเล่มนี้แต่ก็เสียดายเล่มโน้น"

#รัฐศาสตร์ปอเอกสิงห์รังสิต #สิงห์รังสิต  #อาจารย์โยYo #การเมืองไทย #การเมืองการปกครองไทย

ภายหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ ก็มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นจำนวนมาก ในเชิงของการไม่เห็นด้วย...

โดยหนึ่งในนั้นได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'Jom Thanachit' ที่เคยเป็นลูกศิษย์ของ อ.ธำรงศักดิ์ ได้มาตอบคอมเมนต์ไว้อย่างน่าสนใจด้วย ดังนี้...

"ออกตัวแรงขนาดนี้ …ทำไมอาจารย์ไม่ไปช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ อ.ณัฐพล ที่ราชสกุลรังสิตฟ้องร้อง 50 ล้านบาทด้วยเลยหละครับ …

"น่าเสียดายครับที่ครั้งหนึ่งผมเคยนับถืออาจารย์ในในฐานะผู้มีความรู้ อาจารย์ก็เคยสอนหนังสือผมมากับมือสมัย ป.ตรี  

"เลิกทำแบบนี้เถอะครับด้วยความเคารพ ...บ้านเมืองเราฉิบหาย ไม่ใช่เพราะสถาบันกษัตริย์หรอกครับ แต่คงเป็นเพราะคนบางกลุ่มชอบสนับสนุนแนวคิดที่ว่า "การกระทำความผิดใดก็แล้วแต่ถือเป็นเสรีภาพและสิทธิที่สามารถกระทำได้"

"เหมือนนิยายลวงโลกบางเล่มที่ 'บิดเบือนข้อมูล' กล่าวหา กรมขุนชัยนาทนเรนทรว่า "สนับสนุนการรัฐประหารอย่างแข็งขัน" ทำให้ผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น เสื่อมเสียพระเกียรติ …แต่ท่านกลับบอกว่าเป็น "เสรีภาพทางวิชาการ" แล้วท่านก็ร่วมลงชื่อ 'คัดค้านการตรวจสอบ' วิทยานิพนธ์ ของ อ.ณัฐพล โดยมีรายชื่ออยู่ในลำดับที่ 18 

"สิ่งที่ท่านทำมันร้ายแรงมากกว่าการรัฐประหารครั้งใดในประวัติศาสตร์การเมืองเสียอีก"

‘ผู้ว่าฯนครศรี’ ลงพื้นที่ แก้ภัยแล้ง ให้เกษตรกร  กำชับทุกส่วนให้รายงานตรง เพื่อแก้ปัญหาน้ำ อย่างเร่งด่วน

ทีมข่าว #นายหัวไทร รายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่9 มีนาคม ชลประทาน เขต 15 ได้ทยอยนำเครื่องสูบน้ำ ชนิด Hydroflow ขนาด 24 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง เพื่อติดตั้งบริเวณปากคลองชักน้ำสาย 2 เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ ชลประทาน และ เครื่อง  ขนาด  32 นิ้ว จำนวน 4  เครื่องตามที่มีการตกลงในที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 มีนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุม เพื่อให้ทางชลประทาน นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ เข้าไปสูบน้ำให้ทันกับความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเป็นช่วงเวลาของการทำข้าวนาปี

ทั้งนี้จากรายงานของชลประทาน แจ้งว่า เครื่องสูบน้ำ ขนาด 16”^12”จำนวน 3 เครื่อง จุดติดตั้ง ม. 11 บ้านหนำหย่อม ต. เชียรเขา อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. นครศรีธรรมราช จำนวน 1 เครื่อง ม. 7 บ้านดอนสำราญ ต. เชียรเขา อ. เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2 เครื่อง รวม 3 เครื่อง

ทั้งนี้ตามข้อตกลงในการประชุมร่วมระหว่างตัวแทนชาวบ้านกับชลประทาน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สำนักงานชลประทานที่ 15 จะทยอยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ พร้อมเดินเครื่องสูบน้ำต่อเนื่อง ตามแผนต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเดินเครื่องต่อเนื่องทั้งหมด 51 เครื่อง ในพื้นที่โซนลุ่มน้ำปากพนัง แต่จนถึงเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ติดตั้งไปได้แค่ 11 เครื่อง จากเป้าหมาย 51 เครื่อง บางเครื่องติดตั้งแล้ว แต่ไม่ได้เดินเครื่อง ด้วยเหตุผลไม่มีงบค่าน้ำมัน

ติดตั้งแค่ 11 เครื่อง จากเป้าหมายวางไว้ 51 เครื่อง
-ต.เขาพังไกรครบแล้ว 4 เครื่อง
-ต.หัวไทร 2 เครื่อง
-ต.เชียรเขา 5 เครื่อง

-ควนชลิก 6 เครื่อง ยังไม่ติดตั้ง
-รามแก้ว 4 เครื่อง ยังไม่ติดตั้ง
-ต.แหลม ไม่อยู่ในแผนจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำมัน

ตั้งแต่เมื่อวาน (9 มีนาคม) ทางสำนักงานชลประทานที่ 15 ซึ่งรับผิดชอบโซนลุ่มน้ำปากพนัง มีนายก่อพงศ์ เจ้ยแก้ว เป็นผู้อำนวยการชลประทานสำนัก15กลมชลประทาน ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้ครบตามเป้าหมาย โดยมีรองอธิบดีกรมชลประทาน เดินทางไปตรวจสอบด้วยตัวเอง และเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำทันที และสูบน้ำทั้งคืน ตลอดคืนที่ผ่านมา

นอกจากติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้เกษตรกรแล้ว ทางชลประทานยังดำเนินการขุดลอด กำจัดผักตบชวาในคลองส่งน้ำ (คลองไส้ไก่) ด้วย เพื่อส่งน้ำได้สะดวกขึ้น

นายไพโรจน์ รัตนรัตน์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราชกล่าวว่า ความเดือดร้อนที่ภาคเกษตรกรรมเขตลุ่มน้ำปากพนังได้รับผลกระทบจากการเปิดปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิในเขตลุ่มน้ำปากพนัง ปัญหาเกิดขึ้นมากมายมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทั้งหน้าร้อน และหน้าฝน ปีนี้แล้งจัด กรมชลประทานไม่ได้ขับเคลื่อนในทุกเรื่องเพื่อเป็นการป้องกัน คำตอบเดียวที่ได้รับ "ขาดงบประมาณ"ในการแก้ปัญหา

แต่ละปีคลองระบายน้ำแต่ละสาย (คลองไส้ไก่) น้ำแห้งขอด กรมชลปิดประตูระบายน้ำทำให้ทางทิศเหนือน้ำท่วมขัง-เน่า ขาดการบริการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ 

”พวกเรากำลังเตรียมส่งเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นถวายฏีกาเพื่อขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและจริงจังกับเกษตรกรลุ่มน้ำปากพนัง“

ผู้สื่อข่าวรายงานในที่ประชุมที่มีผู้ว่าฯเป็นประธานได้มีการซักถามเกี่ยวกับเรื่องของการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังพร้อมทั้งมีการสอบถามว่าผู้ใดเป็นคนพูดว่าไม่มีงบประมาณซึ่งในที่ประชุมได้มีการพยายามชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจนกระทั่งนายขจรเกียรติ รักพาณิชย์มณี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชได้สั่งการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน พร้อมกำชับให้รายงานผลการปฏิบัติต่อนายอำเภอในแต่ละพื้นที่เพื่อให้ทันกับความต้องการใช้น้ำของเกษตรกรในพื้นที่และหากพบปัญหาให้รายงานด่วนตรงมายังผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชทันที
 

‘อัครเดช’ นำคณะกมธ.ฯ ลงพื้นที่ จ.พังงา แหล่งแร่ลิเธียม เตรียมเร่ง ให้ผลิตแบตฯป้อน ยานยนต์ไฟฟ้า ตามนโยบายรัฐบาล 

(10 มี.ค.67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร นำคณะกมธ.ฯลงพื้นที่จังหวัดพังงา เพื่อติดตามโครงการสำรวจและผลิตแร่ลิเธียมในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน โดยมีนายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและให้ข้อมูลกับคณะกมธ.

นอกจากนี้ คณะกมธ.ฯยังได้ลงพื้นที่เขตแหล่งแร่เรืองเกียรติ ตำบลกะใหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อดูสถานที่จริงพร้อมรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้รับอาชญาบัตรสำรวจแร่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ นำโดย นายวิชัช ไตรรัตน์ นายก อบต.กะใหล ได้ชี้แจงรายละเอียดสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานคณะกมธ.ฯให้สัมภาษณ์ว่า ได้หารือกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา ตลอดจนผู้อำนวยการอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ในเรื่อง การนำแร่ลิเธียมซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากเป็นโครงการที่สำคัญรัฐบาลให้สนับสนุนในการผลิตเพื่อนำมาป้อนอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ จากการประชุมหารือกับหลายฝ่าย และลงไปดูแหล่งแร่ลิเธียมที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานได้ประกาศเป็นแหล่งแร่ลิเธียมในตำบลกะไหล พบปะกับผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ ข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าทางจังหวัดพังงามีนโยบายจะทำเหมืองแร่ลิเธียมให้ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ของจังหวัดด้านการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของจังหวัดพังงา เพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อจำนวนมาก

นายอัครเดช กล่าวว่า คณะกมธ.ฯได้รับทราบข้อมูลจากผู้สำรวจเหมืองแร่ที่ได้รับอาชญาบัตรสำรวจแร่ลิเธียมพบว่าใบอนุญาตในการสำรวจขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และขณะนี้มีนักลงทุนหลายราย สนใจเข้ามาลงทุนสำรวจแต่ยังติดขัดในข้อกฎหมาย ติดขัดในเรื่องผู้รับสิทธิ์สำรวจกฎหมายไม่อนุญาตให้สำรวจซ้ำซ้อนกันได้คณะกมธ.จึงรับข้อร้องเรียนดังกล่าวเพื่อนำกลับมาหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยว เพื่อแก้ไขปัญหาให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต้นน้ำของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสามารถทำได้จริงตามนโยบายสำคัญที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้คณะกมธ.ฯจะมาหารือเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

ประธานคณะกมธ.กล่าววย้ำว่า ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่พวกเขาอยากให้ทางรัฐบาล และส่วนราชการได้สนับสนุนให้มีการสำรวจขุดเจาะแร่ลิเทียมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างงานให้กับชุมชน จังหวัดและประเทศ พวกเขามีความเป็นห่วงว่าถ้าทำไม่จริงจัง ในอนาคตเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป แร่ลิเธียมมูลค่าอาจจะลด ขณะที่แร่ลิเธียมมีมูลค่าสูงจึงอยากให้รัฐบาลสำรวจขุดเจาะเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ประชาชน ไม่ได้คัดค้านแต่เป็นห่วงว่าในระหว่างที่ดำเนินโครงการต้องทำ CSR และควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว

“การขุดเจาะสำรวจแร่ลิเธียมทราบว่ามีหลายจังหวัด ในจังหวัดราชบุรี ก็มีการสำรวจ ของจังหวัดพังงาได้ดำเนินการมา 3 ปีแล้วสำรวจขุดเจาะได้กว่า 200 หลุม มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากพอสมควรว่า สามารถทำเป็นอุตสาหกรรมเปิดเหมืองนำแร่ลิเธียมมาผลิตเป็นแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่าการลงทุน อย่างไรก็ตามคณะกมธ.ฯจะนำข้อมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมในการเร่งและแก้ไขปัญหา ให้ประชาชนในพื้นที่ต่อไป”นายอัครเดชกล่าว

อ.เจษฎ์ หวั่น สงครามกลางเมือง คนไทยฆ่ากันเอง เพราะถูก ปลุกปั่น ยุยง ที่จะรุกเร้าไปสู่จุดนั้น

จากรายการ ‘เข้มข่าวใหญ่’ ช่อง PPTV HD 36 ออกอากาศเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 67 รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยได้ระบุว่า ...

พวกบุกขบวนเสด็จ เนี่ยอาจจะเล่นกับความรู้สึกแบบตรงๆกับประชาชนนะ แต่คุณทักษิณเล่นกับความรู้สึกเชิงลึก ชั้นได้รับสิทธิพิเศษจะทําไมอ่ะ ถ้าฉันจะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาพรรคหนึ่งเป็นส่วนแยกไปจากพรรคเพื่อไทย คือพรรคไทยรักษาชาติ แล้วฉันจะให้พรรคการเมืองนี้เสนอทูลกระหม่อมเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้วันหนึ่งบอกว่า ทูลกระหม่อมฯ เป็นที่มาจากการเลือกตั้งเป็นพระบรมวงที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วพระมหากษัตริย์พระองค์ท่านมาจากการเลือกตั้งยังไงเหรอ นี่ไม่ใช่การทําลายเหรอครับ

คุณทักษิณไม่จบไม่จบสิ่งที่ทําทั้งหมดเหล่านี้ และ มันจะยิ่งซึมลึกเข้าไปใหญ่ เพราะไม่ยอม เข้าไปอยู่ในคุก ไม่รับผิดไม่รับโทษมันทําให้พระบรมราชโองการที่โปรดเกล้ามาเนี่ย ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่ไหนมันยังเหลืออีกหนึ่งปีถูกไหมครับ และอย่าลืมว่าคุณทักษิณบอกว่าจะไม่ยอมติดคุกแม้กระทั่งนาทีเดียว

แล้วมันก็เป็นเช่นนั้นแต่ในพระบรมราชโองการจะต้องไปติดคุกหนึ่งปีนะแต่ พลพรรคทั้งหลายมาใช้กฎหมายไม่ต่างกันกับที่พรรคก้าวไกล ทำนะ ความชั่วร้ายทั้งหลายมันอยู่ในรายละเอียดครับ บาง เทวดาอาจจะอยู่ในหลักการนะเออ แต่นางมารและพญามารเนี่ยมันอยู่ในรายละเอียด อาจารย์คิดว่าคุณทักษิณเป็นภัยคุกคามสถาบันมากกว่า ก้าวไกล ผมว่าใช่ คุณทักษิณไม่ใช่แต่แค่ว่าทําให้คนรู้สึกว่าเอ๊ะ ตกลงสถาบันพระมหากษัตริย์นี่เป็นยังไง คนรู้สึกไปถึงสถาบันชาติด้วย ตกลงชาติบ้านเมืองอยู่กันยังไง เชื่อมั้ยผมไปทานก๋วยเตี๋ยวผมไปซ่อมรถคนบรรดาที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้นบอกผมว่า อาจารย์ผมมานั่งนึกคิดกันละ หนูมานั่งลองดูแล้วนะ เนี่ยหนูก็รวยอย่างเดียวพอจบเออแล้วทํายังไงรู้มั้ย เอาเงินไปซื้อเสียงสิคะ แล้วก็กลายเป็นส.ส.ค่ะ แล้วก็เป็นรัฐมนตรีค่ะแล้วก็ ไต่เต้าไปเป็นนายกฯค่ะ แล้วทุกอย่างนะ ก็จะได้หมดเลย  

ความมั่นคง มีความมั่นคงของชาตินะ แล้วศาสนาด้วย คนคิดกันว่า ยังไง ทําดีได้ดีมีที่ไหน ทําชั่วได้ดีมี ถมไปตกลงทําดี จะไปได้ดีเมื่อไหร่ตกลงทําชั่วแล้วจะไม่ได้ชั่วเลยหรือ หนูก็ว่าหนูก็ทําดีมาตลอดชีวิตทําไมถูกกลั่นแกล้งตลอด

แล้วอย่างนั้นเนี่ยล่ะ มันก็เซาะกร่อน บ่อนทําลายสถาบันชาติ  ถ้าปล่อยได้พักโทษ รอบนี้มาเนี่ย โอ้โห มันก็จะทําให้การเมืองไม่ได้เงียบนะ ไม่ได้นิ่ง แล้วบ้านเมืองเนี่ยลองคิดดูนะครับ ว่าเป็นภัยคุกคาม สังคมมันมีภัยคุกคามอยู่ทั้งหมดเลยผมถึงได้บอกว่า

ณ จุดนี้ มันไม่ใช่เรื่องทหาร ไม่ใช่เรื่องกองกําลังกับประชาชนนะ มันจะกลายเป็นเรื่องประชาชนกับประชาชน ประชาชนแต่ละหมู่เหล่า และท้ายที่สุด ผมคิดอย่างนี้ ถ้ามันมีเรื่องบางประการ มีสิ่งบางอย่างที่ประชาชนหวงแหนร่วมกัน แล้วมีใครคิดจะทําลายผมว่าต้องลุกมาฆ่ากันตาย ก็ต้องลุกมาฆ่ากันตาย เมื่อไม่รู้จะทํายังไงไม่รู้จะแก้ด้วยอะไร ถ้าใช้เสรีภาพเนี่ย ฆ่ากันตายก็เป็นเสรีภาพนะ แล้วกฎหมายจะอยู่ตรงไหน

นั่นจึงเป็นเหตุ ถ้าถามผมนะ ว่าเอาล่ะ ด้วยน้ำพระราชหฤทัย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯไม่ต้องปิดถนนอะไรกันแล้วเนี่ยครับ มันอาจจะไม่ได้แล้วล่ะ เพราะอะไร ไม่ใช่เพราะว่าอยากให้พระองค์ท่านเสด็จสัญจรไปมาได้สะดวก อะไรแบบนั้นนะ แต่ไม่อยากให้คนไทยลุกขึ้นมาฆ่าแกงกัน 

การถวายความอารักขา การถวายความปลอดภัยสูงสุด แด่พระบรมวงษ์ชั้นสูงเนี่ย ไม่ได้เป็นไปเพื่อพระองค์ท่านนะ แต่เป็นไปเพื่อไม่ให้บ้านเมืองมันลุกร้อนลุกขึ้นมาฆ่ากัน แม้กระทั่งในประเทศที่เป็นประธานาธิบดีเนี่ย การที่เค้ารักษาประธานาธิบดีเค้า ก็เพราะเค้าไม่อยากให้บ้านเมืองลุกร้อนเป็นไฟลุกขึ้นมาฆ่ากันไม่ใช่แต่เพียงแค่ คนคนนั้นที่ได้รับความคุ้มครอง มันต้องมองให้ลึก มันต้องมองให้ซึ้ง

‘ธนกร’ หนุน กมธ.นิรโทษกรรม แต่ย้ำ ไม่ยกโทษให้พวกคนผิด ม.112 เพราะไม่ใช่คดีทางการเมือง แต่เป็นการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงของคนไทย

(9 มี.ค.67) นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ได้ข้อยุติเริ่มนับเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยจะเชิญทุกฝ่ายการเมืองที่มีคดีความจากการชุมนุม มาแสดงความคิดเห็น ว่า ตนเห็นด้วย หากจะเริ่มนับ 1 ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยเฉพาะความเห็นต่างทางการเมือง ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติ ซึ่งอาจจะต้องดูข้อกฎหมายเกี่ยวกับแต่ละคดีประกอบอย่างละเอียด เพราะหลายเหตุการณ์ที่เกิดการชุมนุมทางการเมืองขึ้น ยอมรับว่า ไม่ได้ชุมนุมโดยสงบ มีการใช้อาวุธทำลายสิ่งของและสถานที่ราชการด้วย จึงต้องดูให้ละเอียดรอบคอบเพราะเป็นคดีอาญา การเชิญตัวแทนกลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ มาร่วมประชุมแสดงความเห็นถือเป็นนิมิตหมายที่ดีทางการเมือง

นายธนกร ย้ำว่า ขอสนับสนุน กมธ.นิรโทษกรรมฯ ที่ยังไม่พิจารณาคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะไม่ใช่คดีการเมือง แต่เป็นคดีหมิ่นประมาทอาฆาตมาตร้ายพระมหากษัตริย์ ไม่ควรเหมารวมกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ รวมกับความเห็นต่างทางการเมือง และเชื่อว่า หากมีการรวมคนที่ทำผิดมาตรา 112 ให้รับการนิรโทษกรรม ตนเองและคนไทยทั้งชาติไม่มีใครยอมได้แน่นอน

“ขอให้กมธ.นิรโทษกรรมพิจารณาให้ดี ให้รอบคอบ ไม่ควรหยิบเอาคดีทำผิดหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ มาพิจารณารวมกับคดีการเมือง เพราะไม่เกี่ยวกัน แม้ว่าจะมีบางพรรค พยายามชี้ให้เห็นว่าเป็นความเห็นต่างทางการเมืองก็ตาม ซึ่งความจริงแล้ว สถาบันฯอยู่เหนือการเมือง ไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นการสร้างชุดข้อมูล สร้างความเข้าใจที่ผิดๆให้กับบางกลุ่มและประชาชน จึงจำเป็นที่ กมธ.นิรโทษกรรม จะต้องมีจุดยืนทางกฎหมาย หากมีการเหมารวมและยกโทษให้กับผู้กระทำความผิดมาตรา 112 เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศ ไม่มีใครยอมได้” นายธนกร ระบุ

‘นิพนธ์’ ลุยญี่ปุ่นเจรจาคู่ค้า ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง ต่อยอด-แตกไลน์ เพิ่มการผลิตอาหารแมว-สุนัข ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

(9 มี.ค.67) นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีต สส.สงขลา และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ว่างเว้นจากภารกิจทางการเมือง ก็เดินสายพบคู่ค้าฝนต่างประเทศ เสนอขายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และขอบคุณคู่ค้าที่ให้การสนับสนุนด้วยดีเสมอมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นิพนธ์ว่างเว้นจากภารกิจทางการเมือง เพราะไม่ได้เป็น สส.ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ไม่ได้เป็นนายกฯอบจ. และไม่ได้มีตำแหน่งในการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จึงมีเวลาว่างมากพอในการเดินสายต่อยอดธุรกิจ

น้องเพชญ สรรเพชญ บุญญามณี ก็เข้มแข็งพอในการดูแลตัวเองในทางการเมืองกับการทำหน้าที่สืบทอดต่อจากบิดาในฐานะ สส.สงขลา โดยพ่อยังทำหน้าที่แค่พี่เลี้ยงอยู่ห่างๆ เป็นลมใต้ปีกให้เหาะเหินไปได้ จึงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง จะมีห่วงอยู่ก็แต่ประชาธิปัตย์จะเดินต่อไปอย่างไรท่ามกลางพายุฝนหนัก พายุหมุน พายุฤดูร้อน ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ที่มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นหัวหน้าพรรค มีเดชอิศม์ ขาวทอง เป็นเลขาธิการพรรค แต่เมื่อขับอาสาเข้ามาแล้ว ก็ต้องทำเต็มกำลังความสามารถในการฟื้นฟูพรรค พลิกหาอุดมการณ์พรรคที่จางหายไปบ้าง พร้อมระดมทุกสรรพกำลังมาช่วยกันหอบหิ้วประชาธิปัตย์หนีตกชั้นในดิวิชั่น 1-2-3 และถีบตัวไปในระดับพลีเมี่ยลีก ตามความใฝ่ฝันของ “ดร.เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคภาค กทม.

แต่ถนนสายประชาธิปัตย์ในสถานการณ์นี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบให้พลพรรคเดินไปอย่างสะดวกโยธินแน่นอน มันเป็นถนนที่ขรุขระ เต็มไปด้วยโขดหินแหลมที่พร้อมจะทิ่มแทง เจาะยางได้ตลอดเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นโขดหินที่แหลมคมจากก้าวไกล ปลายหอกจากภูมิใจไทย

กล่าวถึงนิพนธ์ นอกจากทำงานการเมืองตามที่ชอบแล้ว ยังเคยเป็นทนายความ เพราะเรียนจบนิติศาสตร์ จากรั้วรามคำแหง และยังทำธุรกิจอีกหลายอย่าง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง และธุรกิจผลิตอาหารกระป๋อง เป็นต้น

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นิพนธ์จึงเดินสายไปพบคู่ค้าที่ประเทศญี่ปุ่น และขอบพระคุณที่สนับสนุน และขยายการตลาดผลิตภัณฑ์จากบริษัทของนิพนธ์ได้มีโอกาสเยี่ยมประธานบริษัทคู่ค้าที่เมือง Kurume, Fukuoka ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และเป็นมิตรภาพอันดียิ่ง
“ปีแรกเริ่มธุรกิจส่งออกอาหารกระป๋อง 1-2 ตู้คอนเท็นเนอร์ แต่ธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว 4-5 ปีผ่านไปการค้าขายเพิ่มเป็น 100 ตู้ คอนเท็นเนอร์ มีสินค้าที่เราผลิต วางจำหน่ายอยู่ในทุกซุปเปอร์มาเก็ต เป็นความภูมิใจที่เคยตั้งความหวังไว้เมื่อ 18 ปีที่แล้วเมื่อก่อตั้ง SIF สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด ว่าเราต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน จำหน่ายในญี่ปุ่นให้ได้” นิพนธ์ กล่าวกับ #นายหัวไทร อย่างภาคภูมิใจ

บริษัทSIF สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟูดส์ จำกัด ตั้งอยู่ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ผลิตปลากระป๋อง แช่ในน้ำมัน เพื่อการบริโภคของคน และกำลังแตกลาย ขยายไปสู่การผลิตอาหารสัตว์ อาหารแมว อาหารสุนัข

ลูกค้ารายหนึ่งที่นิพนธ์ไปพบรับปากรับคำจะช่วยขยายตลาดอาหารแมว อาหารสุนัข ที่ตลาดกำลังเติบโตมากในญี่ปุ่น และอนาคตคู่ค้ากำลังจะขยายตลาดเข้าไปในเมืองใหญ่ “เข้าโตเกียว” มีทั้งอาหารคน อาหารแมว และอาหารสุนัข

สำหรับอนาคตทางการเมืองของนิพนธ์ เขายังเลี่ยงที่จะตอบ แค่พูดสั้นๆว่า “กำลังประเมินสถานการณ์ เพราะการเมืองเปลี่ยนตลอดเวลา แต่ตอนนี้ยังสนุกกับการทำธุรกิจ แต่มีขาเชียร์ให้กลับไปลงชิงนายกฯอบจ.สงขลา

ย้อนทำเนียบ 279 'นักวิชาการ-ภาคประชาชน' ผู้ข้องใจในวิทยานิพนธ์ล้มเจ้า 'ณัฐพล ใจจริง'

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 5 มี.ค.67 ศาลอาญายกฟ้อง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีนายณัฐพล ใจจริง ยื่นฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องที่ ศ.ดร.ไชยันต์ ได้วิพากษ์วิจารณ์นายณัฐพล ว่าใช้ข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริงมาอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ และพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างกระแสความรู้สึกให้ผู้อ่านเกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์

คณะกรรมการสอบสวนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญและเป็นกลาง ขึ้นมาตรวจสอบวิทยานิพนธ์ดังกล่าวตั้งแต่เดือน มี.ค.64 โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ส่งผลการสอบสวนให้ท่านประธานคณะกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว เรื่องดังกล่าวได้ถูกนำเข้าสู่สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาฯ ได้มีมติรับรองผลการสอบสวนวิทยานิพนธ์แล้ว

แต่จนแล้วจนรอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ยังไม่มีการประกาศผลการสอบสวนออกมาเพื่อเปิดเผยให้สังคม

หลายคนอาจจะคิดว่า เพราะเรื่องนี้เพิ่งมีการเรียกร้องกันหรือไม่? หรือมีเพียงแค่ผู้สันทัดกรณีด้านประวัติศาสตร์การเมืองเฉพาะกลุ่มออกมาตีแผ่ ดูเหมือนไม่ใช่ประเด็นสำคัญแต่อย่างไร? ทำให้อะไรๆ ก็ดูล่าช้าไปเสียหมด โดยเฉพาะจากทางฟากฝั่ง จุฬาฯ

ต้องบอกเลยว่า ไม่ใช่!!

เพราะอันที่จริงเรื่องนี้ ใช่ว่าจะไม่มีใครหรือภาคส่วนใดออกมาทักท้วง หากแต่เสียงทักท้วงนั้น ดูจะไม่ดังพอให้นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งใจและใส่ใจในการออกมาเผยผลสอบสวนนายณัฐพล ใจจริง เพื่อปกป้องเสรีภาพและมาตรฐานทางวิชาการอย่างจริงจัง จนเลยเถิดมาถึงศาลฯ ที่มีคำยกฟ้อง อ.ไชยันต์ ที่เซซัดให้สังคมในวันนี้ เริ่มรวมตัวกันกดดันทั้ง จุฬาฯ และ ณัฐพล แบบยกใหญ่ ว่าเจตนาแห่งการบิดเบือนที่สร้างความแปดเปื้อนไปสู่สถาบันฯ ผ่านวิทยานิพนธ์นี้ คืออะไรกันแน่?

...ว่าแล้ว THE STATES TIMES ก็ขอพาย้อนไปช่วงปี 2564 ซึ่งตอนนั้นมี 279 'นักวิชาการ-ภาคประชาชน' ออกมาร่วมคัดค้านในวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ซึ่งหากพหากพิจารณารายชื่อแล้ว แต่ละท่านก็ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางสังคมทั้งสิ้น โดยทั้งหมดได้ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง จุฬาฯ ความว่า…

เรียน นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง ปีการศึกษา 2552 เรื่อง ‘การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)’ โดยเริ่มต้นจากการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งได้ตรวจสอบการอ้างอิงในเล่มวิทยานิพนธ์ดังกล่าว จนร้องเรียนมายังบัณฑิตวิทยาลัย และนำไปสู่การออกคำสั่งระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ การดำเนินการเพื่อถอดถอนปริญญา การตั้งกรรมการสอบแบบปิดลับ การเคลื่อนไหวโจมตีของสมาคมและเครือข่ายต่างๆ อาทิ สถาบันทิศทางไทย กลุ่มจุฬาฯพิทักษ์ธรรม มาจนกระทั่งการฟ้องร้องคดีแพ่งของตัวแทนราชสกุลรังสิตต่อนายณัฐพลผู้เขียน รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันผู้ตีพิมพ์เผยแพร่

นักวิชาการ 239 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 25 คน และบุคคลในสาขาอาชีพอื่นอีก 15 คน ดังมีรายชื่อข้างท้ายจดหมายฉบับนี้รู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งกับการดำเนินการตั้งแต่ต้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอเสนอข้อคิดเห็นประกอบการพิจารณาและตัดสินใจของผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้มีอำนาจหน้าที่ในกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1. ความบริสุทธิ์ใจและจรรยาบรรณทางวิชาการของผู้เขียน - นับตั้งแต่ที่ศาสตราจารย์ไชยันต์ ไชยพร ได้ทำหนังสือถึงบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งปัญหาความคลาดเคลื่อนของข้อเท็จจริงในวิทยานิพนธ์ในปี 2561 นายณัฐพล ผู้เขียนมิได้นิ่งนอนใจหรือบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยง แต่ได้ตรวจสอบเอกสาร ทำหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และขอปรับแก้ข้อความที่ผิดพลาดดังกล่าวในทันที แต่ตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแก้ไขวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติแล้วจะกระทำมิได้ กระนั้นเมื่อสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันตีพิมพ์หนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี ซึ่งนายณัฐพลเรียบเรียงปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ของตน นายณัฐพลก็ได้แก้ไขจุดผิดพลาดที่ศาสตราจารย์ไชยันต์ท้วงติงด้วย   

ข้อเท็จจริงตามลำดับข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจและความรับผิดชอบทางวิชาการของผู้เขียนที่จะแก้ไขความผิดพลาดทั้งในวิทยานิพนธ์และหนังสือที่ตีพิมพ์ในภายหลัง ฉะนั้น การตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล จึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้สัดส่วนกับความผิดพลาดที่นายณัฐพลได้แก้ไขตามข้อท้วงติงแล้ว 

2. น้ำหนักของความผิด และผลกระทบต่อข้อเสนอของงานวิจัย - ในการให้สัมภาษณ์หลายกรรมหลายวาระของศาสตราจารย์ไชยันต์ รวมถึงในข้อเขียนของบุคคลต่าง ๆ และล่าสุดคือคำฟ้องของตัวแทนราชสกุลรังสิต ล้วนกล่าวไปในทางเดียวกันว่านายณัฐพลปั้นแต่งความเท็จในวิทยานิพนธ์ของตนว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร แทรกแซงการเมืองโดยเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี อันเป็นการหยิบยกความผิดพลาดเพียงประเด็นเดียวมาโจมตีและขยายผลเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ซ้ำร้ายยังเป็นความผิดพลาดที่นายณัฐพลได้ยอมรับและแก้ไขแล้วในหนังสือ ‘ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี’ แล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ในวิทยานิพนธ์  

ที่สำคัญไปกว่านั้นคือความผิดพลาดในการอ้างอิงและการตีความไม่ได้ผันแปรโดยตรงกับสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล อันที่จริงแล้วกระทั่งงานวิชาการจำนวนมากของนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากลก็พบข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนเช่นกัน เช่น งานของ Fernand Braudel และ Edward Said ทว่าตราบเท่าที่ข้อผิดพลาดเหล่านั้นไม่ได้กระทบต่อข้อเสนอหลักของงานวิชาการ งานเหล่านั้นก็ยังทรงพลังทางปัญญาอยู่จนถึงปัจจุบัน 

นอกจากนี้การประเมินสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของงานทางวิชาการไม่สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงเท่านั้น เพราะข้อความในวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลเป็นผลของการตีความหลักฐานและการใช้เหตุผล การพิจารณาว่าข้อความในวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลในกรณีนี้ผิดพลาดหรือไม่จึงไม่สามารถใช้วิธีการเทียบคำต่อคำในระหว่างวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลและหลักฐานที่นายณัฐพลอ้างอิง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่าการประเมินสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของงานทางวิชาการต้องการความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของงานเขียนทางวิชาการ รวมถึงความเข้าใจที่ว่าความรู้ทางวิชาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งที่เป็นผลมาจากแสวงหาและการสั่งสมความรู้ผ่านกระบวนการค้นคว้า พิสูจน์ตรวจสอบ ยืนยันและหักล้างข้อเท็จจริง และเป็นผลมาจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางวิชาการ   

การโยงเรื่องวิชาการกับการล้มล้างสถาบันและกล่าวหาว่านายณัฐพลว่ามีเจตนาบิดเบือนหลักฐาน จึงเป็นผลของอคติส่วนตัวและความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้ตรวจสอบ ทั้ง ๆ ที่วิทยานิพนธ์และหนังสือของนายณัฐพลไม่ได้เสนอหรือแม้แต่ชี้นำให้มีการยกเลิกหรือล้มล้างสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด การโจมตีและโฆษณาขยายผลเช่นนี้จึงไม่เป็นธรรมต่อนายณัฐพลอย่างยิ่ง 

3. เสรีภาพทางวิชาการ - การดำเนินการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านมาหาได้ทำให้การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการรัดกุมยิ่งขึ้นไม่ ในทางตรงกันข้ามสิ่งนี้สร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ โดยเฉพาะในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและสถาบันกษัตริย์ ซึ่งจะกระทบต่อการวิจัยด้านไทยศึกษาทั้งในและต่างประเทศ  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรมีจุดยืนที่แน่วแน่และชัดเจนในการรักษาและส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการของสมาชิกประชาคมทางวิชาการในระดับอุดมศึกษาทั้งของอาจารย์และนิสิต อันได้แก่เสรีภาพในการเรียนการสอนและการอภิปรายถกเถียง เสรีภาพในการดำเนินการวิจัยและการเผยแพร่และการตีพิมพ์ผลการวิจัย เสรีภาพในการแสดงความเห็นอย่างอิสระเกี่ยวกับสถาบันหรือระบบที่ตนทำงานและศึกษาอยู่ และเสรีภาพจากการเซ็นเซอร์เชิงสถาบัน ไม่โอนอ่อนไปตามกระแสสังคมและแรงกดดันจากกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด  

ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2564 ของ Quacquarelli Symonds (QS) หรือ QS World University Rankings 2021 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับที่ 208 แต่หากนำดัชนีเสรีภาพทางวิชาการ (Academic Freedom Index, AFi) ประจำปี 2564 ของไทยที่จัดทำโดย Global Public Policy Institute (GPPI) และ Scholars at Risk Network มาร่วมคำนวณด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยไทยโดยรวมจะมีคะแนนรวมลดลงอย่างแน่นอน 

นักวิชาการที่ดีต่างรู้ดีว่าความผิดพลาดในงานวิชาการเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และไม่ถือเป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการหากไม่ใช่ความผิดร้ายแรงอย่างเช่นการโจรกรรมหรือลักลอกงานวิชาการ (plagiarism) การสร้างข้อมูลหรือผลการทดลองที่ไม่มีอยู่จริง หรือการบิดเบือนแก้ไขผลการทดลองเพื่อสนับสนุนสมมุติฐานของงานวิจัย ด้วยเหตุนี้ ความผิดพลาดอื่นใดในการอ้างอิง การอ่านตีความหลักฐาน หรือการใช้เหตุผล จึงต้องไม่นำไปสู่ความผิดทางวินัยและอาญาใด ๆ การตรวจสอบความผิดพลาดดังกล่าวพึงกระทำด้วยมาตรการทางวิชาการ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์และการโต้เถียงทักท้วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ควรละเมิดมาตรฐานและจรรยาบรรณนี้ เพราะนั่นจะนำความเสื่อมเสียมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสายตาประชาคมทางวิชาการไทยและสากล  

อาศัยเหตุอันได้แสดงมาโดยลำดับ พวกเราจึงขอเรียนมายังท่านเพื่อโปรดพิจารณายุติการสอบสวนกรณีวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง เพื่อธำรงเกียรติภูมิแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ 

ขอแสดงความนับถือ

รายชื่อนักวิชาการ
1.  ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.  ศ. (พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
3. ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
4. ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ Graduate school  Cornell University
5. ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ  อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ 
8. ศ.บาหยัน  อิ่มสำราญ นักวิชาการอิสระ 
9. ศ.สรวิศ ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. ศ. (เกียรติคุณ) ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. รศ.ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. รศ. ดร.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15. รศ.ฉลอง สุนทราวณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการ 
17. รศ.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18. รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักประวัติศาสตร์ 
19. รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21. รศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
22. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
23. รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
24. รศ.ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
25. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. รศ.ดร.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28. รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29. รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
30. รศ.มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

31. รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32. รศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา ภาควิชาภาษาอังกฤษ 
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
33. รศ.ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ 
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34. รศ.ดร.วิศรุต พึ่งสุนทร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. รศ.ดร.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36. รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. รศ.ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39. รศ.ดร. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

40. รศ.ดร.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41. รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. รศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43. รศ.อภิญญา เวชยชัย อดีตอาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
44. รศ.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
45. รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ 
46. ผศ.ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
47. ผศ.กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ผศ.กุสุมา กูใหญ่ วิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
49. ผศ.ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

51. ผศ.คงกฤช ไตรยวงค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
53. ผศ.ดร.คารินา โชติรวี นักวิชาการ 
54. ผศ.ดร.คำแหง วิสุทธางกูร อดีตอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
55. ผศ.ดร.ชาญณรงค์  บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
56. ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
57. ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
58. ผศ.ดร.ซัมซู สาอุ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
59. ผศ.ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์ สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
60. ผศ.ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

61. ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
62. ผศ.ดร. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63. ผศ.ดร. วิลลา วิลัยทอง อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64. ผศ.ดร.เดโชพล เหมนาไล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
65. ผศ.ดร.โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
66. ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
67. ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
68. ผศ.ดร.ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
69. ผศ.ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
70. ผศ.ดร. ธนเดช เวชสุรักษ์ University of Rhode Island

71. ผศ.ดร.ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
72. ผศ.ธนิต โตอดิเทพย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
73. ผศ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
74. ผศ.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
75. ผศ.นวัต เลิศแสวงกิจ ทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
76. ผศ.ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
77. ผศ.นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
78. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
79. ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
80. ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

81. ผศ.ดร. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
82. ผศ.ปิยชาติ สึงตี สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
83. ผศ.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
84. ผศ.ดร.พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
85. ผศ.ดร.พงษ์ธร วราศัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
86. ผศ.พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
87. ผศ.ดร.พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88. ผศ.ดร.พรใจ ลี่ทองอิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
89. ผศ.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง School of Social Sciences  Waseda University
90. ผศ.พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

91. ผศ.ดร.พินัย สิริเกียรติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
92. ผศ.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
93. ผศ.พุฑฒจักร สิทธิ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
94. ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. ผศ.ดร.มาลินี  คุ้มสุภา การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
96. ผศ.มูนีเราะฮ์ ยีดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา
97. ผศ.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
98. ผศ.ยอดพล เทพสิทธา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
99. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล การจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
100. ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  

101. ผศ.ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102. ผศ.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
103. ผศ.วราภรณ์ เรืองศรี สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
104. ผศ.วิทยา อาภรณ์ สาขาวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
105. ผศ.ดร.วิทัศน์ ฝักเจริญผล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
106. ผศ.ดร.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
107. ผศ.วิระพงศ์ จันทร์สนาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
108. ผศ.วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล การพัฒนาชุมชน / มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
109. ผศ.วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
110. ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

111. ผศ.ดร.ศรันย์  สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
112. ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
113. ผศ.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
114. ผศ.ดร.สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115. ผศ.ดร.สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
116. ผศ.สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
117. ผศ.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
118. ผศ.สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
119. ผศ.สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
120. ผศ.สุวิมล รุ่งเจริญ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

121. ผศ.ดร.เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
122. ผศ.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
123. ผศ.หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
124. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
125. ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
126. ผศ.อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
127. ผศ.อัครยา สังขจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
128. ผศ.ดร.อัมพร หมาดเด็น สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
129. ผศ.อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ สาขาวิชาทัศนศิลป์และมีเดียอาร์ต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
130. ผศ.อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

131. ผศ.ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
132. ผศ.ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
133. Assistant Professor Connie Carter Social sciences California University
134. Assistant Professor Penchan Phoborisut Communication 
 California State University-Fullerton
135. อาจารย์ ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
136. อาจารย์กริช ภูญียามา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. อาจารย์กรวิทย์ ออกผล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา
138. อาจารย์ ดร.กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
139. อาจารย์ ดร.กัลยา เจริญยิ่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
140. อาจารย์กิติมา ขุนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

141. อาจารย์ ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
142. อาจารย์ ดร.จักรพันธ์ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
143. อาจารย์คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
144. อาจารย์คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
145. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
146. อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 
147. อาจารย์จิรธร สกุลวัฒนะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
148. อาจารย์จิรายุทธ์ สีม่วง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
149. อาจารย์จีรพล เกตุจุมพล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
150. อาจารย์ชัชวาล บุญปัน อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

151. อาจารย์ชนกนันท์ ปิ่นตบแต่ง เทคโนโลยีภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 
152. อาจารย์ ดร. ชัยพงษ์ สำเนียง ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
153. อาจารย์ฑภิพร สุพร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
154. อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี คณะศิลปศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนครพนม
155. อาจารย์ ดร.ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
156. อาจารย์ณัฐพล พินทุโยธิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
157. อาจารย์ ดร.ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์ สาขาการเมืองการปกครอง ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
158. อาจารย์ณิชภัทร์ กิจเจริญ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
159. อาจารย์ ดร.ณีรนุช แมลงภู่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
160. อาจารย์ ดร.ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการ New York University-Abu Dhabi                                                                                
161. อาจารย์ ดร.ตฤณ ไอยะรา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
162. อาจารย์ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
163. อาจารย์ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
164. อาจารย์ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
165. อาจารย์ทวีป มหาสิงห์ รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
166. อาจารย์ธนพงศ์ จิตต์สง่า ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
167. อาจารย์ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
168. อาจารย์ธนสักก์ เจนมานะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
169. อาจารย์ธนรัตน์ มังคุด สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
170. อาจารย์ ดร.ธนาพล ลิ่มอภิชาต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

‘อ.เจษฎ์’ ชี้!! ‘เซาะกร่อนบ่อนทำลาย’ คือกรอบใหญ่ที่พรรคก้าวไกลใช้ล้มล้างสถาบัน

จากรายการ ‘เข้มข่าวใหญ่’ ช่อง PPTV HD 36 ออกอากาศเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 67 รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีแก๊งทะลุวังป่วนขบวนเสด็จ และปฏิกิริยาของพรรคก้าวไกลต่อกรณีนี้

โดยบางช่วงบางตอน รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวว่า “แต่ละคนถือจิ๊กซอว์ และมีคนจำนวนหนึ่งทำกรอบไว้ให้ สังเกตเวลาเราต่อจิ๊กซอว์ ภาพมันจะไม่สมบูรณ์ ถ้ามันไม่มีกรอบ…”

เหตุการณ์แก๊งทะลุวังป่วนขบวนเสด็จ คำแถลงของพรรคก้าวไกล หรือสิ่งที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล ได้ออกมาพูด ล้วนแล้วแต่เป็น ‘จิ๊กซอว์’ ชิ้นเล็ก ๆ ในความหมายของ รศ.ดร.เจษฎ์

รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวเพิ่มว่า ทั้งหมดนี้ได้ร่วมกันทำกรอบไว้แล้ว เป็นคำตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวไว้ นั่นคือ ‘เซาะกร่อนบ่อนทำลาย’ ทุกสิ่งที่ทำ ที่เกิดขึ้น เช่น การพยายามเข้าหาขบวนเสด็จ แล้วพรรคก้าวไกลก็เรียงหน้ากันออกมา ร้อยเรียงถ้อยวาจา อ้างเสรีภาพอย่างนั้น อย่าล่าแม่หมดอย่างนี้ แต่ทั้งหมดนี้ร้อยเรียงกันแล้วแปลว่า ท่านไม่ได้ปราบบรรดาคนของท่าน แต่ท่านกำลังข่มขู่สังคม”

นอกจากนี้ รศ.ดร.เจษฎ์ ยังได้หยิบยกถ้อยคำของนายทักษิณ ชินวัตร ที่พูดไว้เมื่อครั้งที่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง และเพื่อไทยพ่ายแพ้พรรคก้าวไกล ระบุว่า “คุณทักษิณกล่าวว่า ก้าวไกลใช้สิ่งที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI แล้วทำปฏิบัติการข้อมูล หรือ IO นี่คืออาวุธของพรรคก้าวไกลในทุกวันนี้”

‘อัครเดช’ ดักคอ ‘ฝ่ายค้าน’ อภิปรายทั่วไป ‘2 วันพอ-ขอสาระ’ มั่นใจ!! ‘รมต.รทสช.’ ทุกคน ไม่หวั่นถูกจี้ ผลงานชัด พร้อมชี้แจง

(8 มี.ค.67) ที่พรรครวมไทยสร้างชาติ นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า การยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ของพรรคฝ่ายค้าน น่าจะยื่นเข้ามาวันที่ 3-4 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ ก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ ถ้าเป็นตามนี้ น่าจะใช้เวลาอภิปรายเพียงแค่ 2 วัน น่าจะเพียงพอ เนื่องจากรัฐบาลเพิ่งเข้ามาบริหารประเทศได้ 6 เดือน และยังไม่สามารถใช้งบประมาณปี 2567 เลย เพราะยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ในวาระ 2 - 3

ทั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดี ฝ่ายค้านจะได้ใช้เวทีของสภาฯ ชี้แนะและสอบถามการทำงานของรัฐบาล ทั้งการบริหารจัดการงบประมาณ และการบริหารประเทศ สิ่งสำคัญขอร้องให้ฝ่ายค้านนำเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์จริงๆ มาอภิปราย ไม่ต้องมาดรามากลางสภาฯ เพื่อเรียกร้องความเห็นใจ ชี้แนะได้แนะนำรัฐบาลได้ ในมุมมองของฝ่ายค้าน แต่ต้องไม่ดรามา ถึงจะเกิดประโยชน์กับประชาชน

เมื่อถามว่า ในส่วนของ รัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติอาจถูกอภิปรายด้วยกังวลหรือไม่ นายอัครเดช กล่าวว่า ไม่ได้กังวล เนื่องจากการทำงานของรัฐมนตรีพรรครวมไทยสร้างชาติ ทุกท่านได้ทำงานอย่างเต็มที่และมีผลงาน อีกทั้งรัฐมนตรีทุกท่านของพรรค พร้อมที่จะชี้แจงหากมีการอภิปรายพาดพิงถึงกระทรวงที่รับผิดชอบ และจะได้ถือโอกาสชี้แจงผลงานที่ทำมาในช่วงเวลา 6 เดือนด้วย

เมื่อถามว่า กระทรวงพลังงานอาจจะตกเป็นเป้าหมายในการอภิปรายของฝ่ายค้านด้วย โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า ไม่น่าเป็นห่วง รัฐมนตรีของพรรคทำงานอย่างเต็มที่ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา สังคมก็รับรู้อยู่แล้ว มั่นใจว่าจะตอบข้อซักถามของฝ่ายค้านในสภาฯได้อย่างแน่นอน เพราะการอภิปรายครั้งนี้ เป็นการอภิปรายทั่วไป จึงจำเป็นต้องซักถามถึงข้อสงสัยต่างๆ ที่ยังไม่เข้าใจ

"ที่ผมบอกว่าให้ฝ่ายค้านได้อภิปรายในเนื้อหาสาระตรงประเด็นเท่านั้น อย่าเสียเวลาไปดรามาในสภา เนื่องจากเป็นห่วงว่า จะใช้เวลาของสภาฯ เสียเปล่า ที่มีข่าวว่าวิปฝ่ายค้านจะขอเวลาอภิปรายถึง 3 วัน คิดว่าเวลา 2 วันในการอภิปรายสอบถาม และรัฐบาลชี้แจงก็เพียงพอ จึงขอให้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ และมีค่ามากที่สุด อีกทั้งการขอเปิดอภิปรายครั้งนี้ ก็ไม่ใช่ญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอีกด้วย" โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าว

‘อ.ไชยันต์’ กล่าวถึง ‘ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์’ คนแรกที่สะดุดตา ปม ‘ผู้สำเร็จราชการฯ’

จากจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยเรื่อง ‘การเมืองในรัชสมัย ร.9’ เพื่อบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วง 70 ปีแห่งการครองราชย์ ทำให้ อาจารย์ไชยันต์ กับ คณะต้องสำรวจวรรณกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เมื่อปี 2560 ณ ห้อง 102 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถูกใช้เป็นประชุม-อ่านหนังสือของ 3 นักวิจัย ประกอบด้วย ศ.ดร.ไชยันต์, ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ และ รศ.ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ รวมถึงผู้ช่วยวิจัย

ในระหว่างที่นั่งอ่านหนังสือด้วยกัน ศาสตราจารย์ผู้มีอาวุโสสูงสุดด้วยวัย 70 ปีเศษ ต้องสะดุดตา-สะดุดใจกับข้อความ 6 บรรทัดที่ปรากฏในหน้า 124 ของหนังสือ ‘ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ’ เขียนโดย ผศ.ดร. ณัฐพล ใจจริง (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2556)

ข้อความตอนหนึ่งระบุว่า…

“ผู้สำเร็จราชการฯ ได้เสด็จเข้ามานั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์...”

ศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวในครั้งนั้นว่า “อาจารย์สมบัติเป็นคนปิ๊ง ท่านก็สงสัย มันไม่น่า ในฐานะที่ท่านอายุเยอะ ท่านไม่เคยได้ยิน พอไม่เคยได้ยิน ผมก็เลยมีหน้าที่ต้องรับไปสืบค้น” 

และจากวันนั้นถึงวันนี้ก็นำมาสู่ปฏิบัติการพิสูจน์ความจริง-สืบสาวความผิดพลาด ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าสื่อในปัจจุบัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top