Wednesday, 22 May 2024
POLITICS NEWS

"บิ๊กติ๊ก” แจงปมถูกกล่าวหา “บัญชีทรัพย์สินเท็จ” กรณีบ้านที่ จ.พิษณุโลก-เงินฝากภรรยาต่อ​ ป.ป.ช.แล้ว อนุไต่สวนฯลุยรวบรวมหลักฐานเกี่ยวข้อง ก่อนสรุปสำนวน​ คาดใช้เวลาไม่นาน

รายงานข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ​ (ป.ป.ช.)​ แจ้งว่า​ สำหรับความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการ​ ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาแก่ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ถูกกล่าวหาว่าจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเท็จและเอกสารประกอบ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบ กรณีมิได้แจ้งถือครองบ้านใน จ.พิษณุโลก

 

 

พท.เหน็บ “ประยุทธ์” ไปเอาความมั่นใจจากไหนมา ถึงกล้าบอกเป็นนายกฯ อีกสมัย ซัดบริหารล้มเหลวทุกด้าน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวในขณะลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จ.ลพบุรีว่า ประชาชนเดือดร้อนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในวงกว้าง ขณะที่รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาลปมยึดคืนหน่วยงาน-ทวงคืนหน่วยงานกันไปมาจนวุ่นวาย น้ำท่วมมาเกือบเดือนยังไม่เห็นรัฐบาลออกมาตรการเยียวยาประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ข้าวหอมมะลิที่กำลังจะออกต้องจมน้ำ ส่วนที่พอขายได้ก็ขายในราคาถูก ไม่พอต้นทุนการผลิต วิกฤตเศรษฐกิจลามถึงโรงสีขาดสภาพคล่องจนต้องปิดกิจการ กระทบในห่วงโซ่การผลิตทั้งหมด รัฐบาลเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชน แต่ไม่ยอมแก้ไข เพราะสาละวนอยู่แต่กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ ต้องช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทันท่วงที ไม่ใช่ว่าพอทวงคืน 4 หน่วยงานกลับมาได้ ก็กระหยิ่มยิ้มย่องกอดคอกันต่อไป ละทิ้งและไม่สนใจแก้ปัญหา ทอดทิ้งประชาชน 

อนุทิน-พิพัฒน์ ติดตามคืบกระจาย วัคซีน-พื้นที่ท่องเที่ยว กระบี่ พังงารองรับเปิดเมือง-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 7-8 ต.ค. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กับ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเปิดเมืองฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ที่จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการติดตามการดำเนินงานตามแผนของรัฐบาลที่ทยอยเปิดพื้นที่ของจังหวัดต่างๆเพื่อรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติตามแนวทางที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กำหนดเป็น 3 ระยะ เริ่มตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 เป็นต้นไป  ภายใต้เงื่อนไขว่า 70% ของประชาชนในพื้นที่ที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวจะต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบโดส ขณะที่กลุ่ม 608 ต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 80% 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับภารกิจของรองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พร้อมคณะนั้น วันที่ 7 ต.ค. 2564 ที่จังหวัดกระบี่จะมีการตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างท่าอากาศยานกระบี่ จากนั้นจะมีการมอบวัคซีนป้องกันโควิด- 19  มีประชุมร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว โดยในการประชุมจะได้รับทราบจากรายงานของกรมทางหลวงชนบทถึงความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะลันตา หัวหิน-คลองหมาก และนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่จะรายงานความคืบหน้าความพร้อมการเปิดรับนักท่องเที่ยวตามนโยบายของส่วนกลาง  ซึ่งหลังการประชุมให้นโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว รองนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะจะเดินทางตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม ร.15 พัน1 อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เพื่อให้กำลังใจบุคลาการทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ต่อไป  

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ส่วนภารกิจวันที่ 8 ต.ค. 2564 ที่จังหวัดพังงา รองนายกรัฐมนตรีและคณะจะมีการมอบวัคซีนแก่จังหวัดพังงา และตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม ณ ศูนย์ศึกษาวิจัย ศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน  และบริเวณท่าเทียบเรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา บ้านท่าด่าน ตำบลเกาปันหยี อำเภอเมืองพังงา  และตรวจท่าเทียบเรือเกาะคอเขา บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า ก่อนจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ

“โฆษกรัฐบาลฯ” มั่นใจสถานการณ์น้ำ ไม่ซ้ำรอยปี 54 โว! เทียบอดีตสถิติความเสียหายภัยแล้ง-อุทกภัย ลดลงชัดเจน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สั่งการทุกหน่วยเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตั้งแต่ต้นปี และวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันภัยพิบัติจากสถานการณ์อุกทกภัย และปัญหาน้ำแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้สถิติความเสียหายภัยจากน้ำลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับปี 2554  ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินถึง 65 จังหวัด เสียหาย 69 ล้านไร่  ขณะที่ในปี 2564 ครบรอบ 10 ปี ข้อมูลจากจิสด้าพบว่า ปีนี้น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง  21 จังหวัด มีพื้นที่เสียหาย 1.33 ล้านไร่ ส่วนสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของไทย ปี 2564 น้ำมีระดับน้ำน้อยและมีพื้นที่เพียงพอรองรับปริมาณน้ำฝนอีกมาก  รวมทั้งได้พัฒนารูปแบบการจัดการน้ำโดยใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ รับน้ำนอง บรรเทาความเสียหาย ขขณะที่ปริมาณฝนที่ตกในกทม.ยังไม่มาก ทำให้สามารถบริหารจัดการระบายน้ำได้ และประเมินได้ว่ากทม.น้ำจะไม่ท่วมหรือรุนแรงเท่ากับปี 2554 

นายธนกร กล่าวว่า เปรียบเทียบสถานการณ์อุทกภัยในปี 2554 กับ 2564 ปริมาณฝนสะสม ทั้งประเทศ ในปี 2554 มีปริมาณฝนสะสม  1,948 มม. ปี 2564 ตั้งแต่ม.ค. - ปัจจุบัน มีปริมาณ 1,360 มม. น้อยกว่า อยู่ 588 มม. สำหรับปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปี 2554 รวม 23,605 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 95%  แต่ในปีนี้รวม 11,969 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 48% ปี ทำให้ปริมาณน้ำรวม 4 เขื่อนน้อยกว่าปี 2554 อยู่ 11,636 ล้าน ลบ.ม. ส่วนปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2554 อยู่ที่ 3,903 ล้าน ลบ.ม.ปี 2564  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,561 ล้าน ลบ.ม.  น้อยกว่า ปี 2554 อยู่ 1,342 ลบ.ม.ต่อวินาที

นายธนกร กล่าวว่า นอกจากนั้น มีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ.2561 – 2580 มีผลงานที่เป็นรูปธรรมในช่วงปี 61-64  สามารถขยายเขตประปาเมืองพื้นที่เศรษฐกิจ 559 แห่ง ปริมาณน้ำใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 1,203.92 ล้านลบ.ม. เขื่อนป้องกันตลิ่ง 59 กม. ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 135,17 ไร่  มีโครงการจัดทำแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาตอนล่าง อาทิ คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร การปรับปรุงระบบชลประทานเดิม การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ เป็นต้น ปัจจุบันขับเคลื่อนแล้ว 32%  ซึ่งการดำเนินการแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมามีความก้าวหน้า

โฆษกรัฐบาล มั่นใจสถานการณ์น้ำ ไม่ซ้ำรอยปี 54 โว เทียบอดีตสถิติความเสียหาย 'ภัยแล้ง-อุทกภัย' ลดลงชัดเจน เผย บิ๊กตู่ สั่งเฝ้าระวังตั้งแต่ต้นปี

วันที่ 7 ต.ค. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สั่งการทุกหน่วยเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตั้งแต่ต้นปี และวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันภัยพิบัติจากสถานการณ์อุทกภัย และปัญหาน้ำแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้สถิติความเสียหายจากน้ำลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินถึง 65 จังหวัด เสียหาย 69 ล้านไร่

นายธนกร กล่าวต่อว่า ขณะที่ในปี 2564 ครบรอบ 10 ปี ข้อมูลจากจิสด้าพบว่า ปีนี้น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง 21 จังหวัด มีพื้นที่เสียหาย 1.33 ล้านไร่ ส่วนสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของไทย ปี 2564 น้ำมีระดับน้ำน้อยและมีพื้นที่เพียงพอรองรับปริมาณน้ำฝนอีกมาก รวมทั้งได้พัฒนารูปแบบการจัดการน้ำโดยใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ รับน้ำนอง บรรเทาความเสียหาย ขณะที่ปริมาณฝนที่ตกในกทม.ยังไม่มาก ทำให้สามารถบริหารจัดการระบายน้ำได้ และประเมินได้ว่ากทม.น้ำจะไม่ท่วมหรือรุนแรงเท่ากับปี 2554

‘แรมโบ้’ อัด ‘กลุ่มไอลอว์’ อย่าออกมาให้ท้ายเข้าข้างคนฝ่าฝืนทำผิดกฎหมาย หากม็อบกล้าออกมาเคลื่อนไหวสร้างความเดือดร้อน แต่เหตุใดไม่กล้ารับผิด 

6 ตุลาคม นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกลุ่มไอลอว์ ฟ้องร้องนายกฯ และหลายหน่วยงาน พร้อมขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศข้อกำหนดในมาตรา 9 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินพร้อมเรียกค่าเสียหายจำนวน 4.5 ล้านบาท โดยนายเสกสกลกล่าวย้ำถึงความจำเป็นในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งที่ผ่านมาตนเองมองว่าสามารถทำให้สถานการณ์การระบาดคลี่คลายลงได้ ทำให้ประชาชนสูญเสียน้อยกว่าหลายๆ ประเทศในโลก

ทั้งนี้แม้ว่ากลุ่มไอลอว์ จะมองว่าการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน แต่ตนเองมองว่าการเคลื่อนไหวหรือแสดงออกทางการเมืองก็ถือว่าเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เช่นเดียวกัน เพราะเป็นการรวมกลุ่มที่มีคนเป็นจำนวนมาก และไม่ใช่การชุมนุมสงบสันติตามรัฐธรรมนูญ ซ้ำร้ายกับสร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย ใช้อาวุธระเบิด อาวุธปืน เผาทำลายทรัพย์สินราชการเสียหาย ตลอดจนใช้ปืน ระเบิดอาวุธนานาชนิดเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บสาหัสจำนวนหลายนาย

โฆษกรัฐบาล ยันไทยไม่ได้ขายน้ำมันแพงที่สุดในโลก

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สาเหตุมาจากความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นหลังจากทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่มีการปรับขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยในเรื่องนี้ จึงสั่งการให้ติดตามสถานการณ์ราคาพลังงานอย่างใกล้ชิด 

ล่าสุด คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ได้ออกมาตรการบรรเทาผลกระทบของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนี้ 1.ลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของ B7 จาก 1 บาท เหลือเพียง 1 สตางค์ ส่งผลให้ B7 มีราคาอยู่ที่ 30.29 บาท/ลิตร ซึ่งมาตรการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 5 ต.ค. 2564 เป็นต้นไป และ 2.ปรับลดสัดส่วนไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จากเดิมมีการผสมอยู่ 3 สัดส่วน คือ บี7 บี10 บี20 ให้เหลือ 2 สัดส่วน คือ บี6 และ บี20 พร้อมทั้งเห็นชอบค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา บี6 เท่ากับ 1.40 บาทต่อลิตร เพื่อใช้อ้างอิงในการกำกับดูแลความเหมาะสมของราคาขายปลีก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซล บี6 จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 28.29 บาท/ลิตร ในช่วงระหว่างวันที่ 11-31 ต.ค. 2564 

ราเมศ เผย “จุรินทร์ ออนทัวร์” จันทบุรี ตราด ขับเคลื่อนเชิงรุก “ผลไม้” เปิดด่าน

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเผยถึง กำหนดการ “จุรินทร์ออนทัวร์” ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค มีกำหนดการลงพื้นที่ภายใต้ โครงการ “จุรินทร์ออนทัวร์” พื้นที่จังหวัดจันทบุรี และ จังหวัดตราด ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 7 ถึง วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2564 

ในวันที่ 7 จุรินทร์ออนทัวร์ พื้นที่จังหวัดจันทบุรี เดินทางไปศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้ ตำบลวังตะโหนด อำเภอนายายอาม ติดตามสถานการณ์ราคาผลไม้พื้นที่ภาคตะวันออกและหารือร่วมกับทีมเซลล์แมนจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาผลไม้เชิงรุก และในวันที่ 8 จะมีการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนภาคตะวันออกเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเชิงรุก พร้อมกันนี้จะมีการพบปะสมาขิกสหกรณ์จังหวัดตราด 

หลังจากนั้นจะมีการติดตามความคืบหน้าในการยกระดับช่องทางการค้าทางธรรมชาติบ้านท่าเส้นสู่จุดผ่านแดนถาวร ด่านบ้านท่าเส้น อำเภอเมือง จังหวัดตราด ต่อจากนั้นก็จะพบปะเยี่ยมเยียนประชาชน  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเส้น

‘ณัฐวุฒิ’ ปล่อยคนหนุ่มสาวแสดงฝีมือเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาล แต่เล็งจัดคาร์ม็อบทิ้งทวนเดือนต.ค.อีกรอบ พร้อมประกาศจัดชุมนุมใหญ่ก่อนสิ้นปี รอแค่วันโควิดซาเท่านั้น

6 ต.ค. 64 -  นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กล่าวระหว่างไปร่วมกิจกรรมรำลึก 6 ตุลา 2519 เนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี ที่ลานประติมากรรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่า การต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตย แม้จะต่างยุคต่างสมัย แต่ก็ยังเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอำนาจนอกเครือข่ายยังคงมีอิทธิพลเหนือระบบการเมือง และพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย จึงมีการต่อสู้เกิดขึ้น การสูญเสียในช่วงที่ผ่านมาและการรำลึก 45 ปี จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่หมายถึงสังคมไทยที่จะต้องหาข้อยุติร่วมกันให้ได้ ซึ่งหากยังไม่ได้ข้อยุติในเรื่องนี้การต่อสู้ก็ยังคงอยู่ และเมื่อเวลาผ่านมาจนถึงวันนี้พลังของคนหนุ่มสาวและคนในอดีต จะเป็นพลังที่อำนาจรัฐเอาชนะไม่ได้ จึงอยากให้ฝ่ายรัฐยอมรับความเปลี่ยนแปลง เพราะถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคม และหากการเปลี่ยนแปลงอยู่ในส่วนที่ถูกต้อง ก็จะนำไปสู่อนาคตและสังคมที่ดีกว่า แล้วก็จะทำให้คนที่มีความเห็นต่างอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

นายณัฐวุฒิ เปิดเผยถึงการนัดชุมนุมในเดือนตุลาคม ด้วยว่า ในเดือนนี้จะมีกิจกรรมของคนหนุ่มสาวหลายวัน ดังนั้นกลุ่มตนเองต้องชะลอกิจกรรม เพื่อให้การเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาวเป็นจุดศูนย์รวมของการขับเคลื่อน และมองว่าข้อจำกัดเรื่องของ Covid-19 คงเป็นอุปสรรคในการนัดชุมนุมทางการเมือง คาร์ม็อบจึงเป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์ที่สุดในความคิดของตนตอนนี้ ซึ่งภายในเดือนตุลาคมก็น่าจะมีการจัดคาร์ม็อบอีกครั้งช่วงปลายเดือน มั่นใจว่าหากสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายลง จะเห็นการชุมนุมขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะนัดโดยใครหรือจัดขึ้นโดยฝ่ายไหนก็ตาม และเมื่อถึงวันนั้นก็จะเข้าร่วม ไม่ว่าจะในฐานะเป็นแกนนำหรือผู้เข้าร่วม และเมื่อประเมินจากบรรยากาศทางการเมืองแล้ว คาดว่าการชุมนุมใหญ่จะเกิดขึ้นในปีนี้แน่นอน ส่วนที่ขณะนี้แกนนำหลายคนถูกจับกุมและยังไม่ได้รับการประกันตัว แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการต่อสู้ เพราะคนที่ยังอยู่ก็ยังคงยืนยันอุดมการณ์เดิม และจะเป็นการสร้างพลังการต่อสู้ให้มากขึ้น

นายกรัฐมนตรีประชุมบอร์ด สสว. ตั้งเป้าเร่งช่วยเหลือ SME ให้เข้มแข็งเพื่อพลิกโฉมประเทศ SME ขอบคุณนายกฯ ช่วยส่งเสริมให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มูลค่ารวมกว่า 5 แสนล้านบาท

ณ ห้อง PMOC ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บอร์ด สสว.) ครั้งที่ 4/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้  

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมให้ SME มีความเข้มแข็ง เดินหน้าสู่ปี 2565 ให้ได้ จะหาแนวทางช่วย SME ที่มีศักยภาพ ให้เข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัย ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกัน เพื่อพลิกโฉมประเทศตามเป้าหมายระยะเวลาที่วางไว้ ทั้งนี้ รัฐบาลดูแลเรื่องงบประมาณในภาพรวมให้เพียงพออยู่แล้ว โดยมีการจัดกลุ่มคัดกรองและมาตรการที่เหมาะสม ได้แก่ 1. กลุ่ม SME เดิมที่มีความเข้มแข็ง หาก SME มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นวัตกรรมใหม่ที่จะสร้างรายได้ ก็จะมีมาตรการเชิงภาษีให้ความช่วยเหลือกับ SME ในกลุ่มนี้ เพื่อช่วยเร่งรัดเรื่องการวิจัยและพัฒนาที่นำมาสู่การผลิตให้มีมากขึ้น 2. กลุ่ม SME ที่มีการดำรงสภาพการจ้างงาน มีรายได้พอเพียง แต่กำไรไม่มากนัก ต้องหาแนวทางให้ดำรงสภาพการจ้างงานต่อไปได้ 3. SME ที่มีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องหาแนวทางช่วยเหลือส่งเสริม โดยรัฐบาลจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยในช่วงปลายปีนี้ รัฐบาลกำลังเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องโควิด การท่องเที่ยวและบริการ และจะพยายามผ่อนคลายให้มากที่สุด 

ในที่ประชุม ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน ได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญกับการจัดทำโครงการนำร่อง ONE ID และช่วยส่งเสริม SME ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมกว่า 5 แสนล้านบาท


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top