Sunday, 28 April 2024
NEWS

องอาจ – ผู้การแต้ม ดึง “ศปฉ. ปชป.” ลุยตรวจ ATK ชุมชน หลักสี่ จตุจักร 

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์และหัวหน้าทีมประสานข้อมูลผู้ติดเชื้อ ศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 พรรคประชาธิปัตย์ (ศปฉ.ปชป.) เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ศปฉ. ปชป. จัดกิจกรรม #ตรวจ(ATK)ก่อนติด ขึ้นที่แฟลตเคหะบางบัวซอยพหลโยธิน 49/1 เขตหลักสี่ จตุจักร โดยความร่วมมือจากโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ พร้อมด้วยทีมงาน ปชป. หลักสี่ จตุจักร นำโดย "ผู้การแต้ม" พลตำรวจตรีวิชัย สังข์ประไพ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค เข้าร่วมด้วย ซึ่งมีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจเข้ารับการตรวจกว่า 400 ราย สำหรับในช่วงบ่ายจะได้ไปดำเนินกิจกรรมต่อที่ชุมชนนครหลวง ซ.เสือใหญ่ รัชดา 36 ต่อไป 

ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดยังคงมีอยู่ แม้ตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อจะทยอยลดลงก็ตามทำให้ความต้องการในการช่วยเหลือเพื่อหาเตียงจึงน้อยลงตามไปด้วย ศปฉ. ปชป. จึงเห็นว่าควรมีบริการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วย Antigen test kit (ATK) เพื่อเร่งคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน และลดการแพร่กระจายเชื้อต่อไป โดยกิจกรรมดังกล่าว ศปฉ.ปชป. ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลเอกชนอย่างน้อย 4 แห่ง ในกรณีที่พบผลการตรวจ ATK เป็นบวก โรงพยาบาลที่มาให้บริการจะเป็นผู้ให้คำแนะนำที่เหมาะสมในการรักษาตัวต่อ พร้อมรับผู้ติดเชื้อเข้าไปดูแลใน Hospitel ต่อไป อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้พรรคได้มีการจัดตรวจเชิงรุก ATK ให้แล้วในเขตต่าง ๆ หลายพื้นที่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลพี่น้องประชาชนภายใต้สถานการณ์วิกฤตอย่างต่อเนื่อง

“บิ๊กบี้” สั่ง จัดชุด อส.กร. ดูแลเคียงข้างทุกพื้นที่กว่า 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ 

ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.ต.หญิง ปวีณา ศรีบัวชุม ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า จากนโยบายของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่เน้นย้ำให้หน่วยทหารระดมทรัพยากรทั้งกำลังพลและยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือประชาชนในทุกสถานการณ์ กองทัพบก โดยกรมกิจการพลเรือนทหารบกจึงได้จัดให้มี อาสาสมัครกิจการพลเรือน (อส.กร.) ซึ่งเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ ปี 2563 ปัจจุบันมี อส.กร. รวมทั้งสิ้น 26,000 คน ปฏิบัติหน้าที่ดูแลประชาชนใน 7,435 ตำบล (ตำบลละ 3 คน) และ ในปี 2565 ขยายการดูแลเป็น 75,000 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ ทั้งในส่วนภูมิภาค และในพื้นที่ชายแดน ทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยทหารในพื้นที่ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารและสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ โครงการทหารพันธุ์ดี, การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19, งานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เป็นต้น โดยผู้ที่รับหน้าที่เป็น อส.กร. นั้น เป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ, มีจิตอาสา,  มีความเสียสละ และร่วมเป็นเครือข่ายของกองทัพบกที่มุ่งปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนร่วมกับหน่วยทหาร 

ล่าสุดในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19  อส.กร. มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลชุมชน ร่วมกับ รพ.สังกัดกองทัพบก 37 แห่ง ทั่วประเทศ ในการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค, รณรงค์การฉีดวัคซีน, การช่วยประสานการคัดแยกกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่อยู่ในระบบการกักตัวในบ้าน (Home Isolation) และการกักตัวในชุมชน (Community Isolation) รวมทั้งช่วยประสานงานกับโรงพยาบาลในการช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงเมื่อมีอาการเร่งด่วนฉุกเฉินในชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบอีกด้วย ทั้งนี้ อส.กร. ทุกคนได้ผ่านการฝึกการอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด-19 เพื่อความปลอดภัยในขณะปฏิบัติภารกิจและสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน เป็นการป้องกันชุมชนจากโรคโควิด-19 ได้อีกทางหนึ่ง 
 

'เมเจอร์' รอลุ้น ศบค. เคาะ ผ่อนคลายโรงหนังเปิดให้บริการ หลังเตรียมพร้อม 'พนักงานฉีดครบโดส-เว้นระยะห่าง'

(27 ก.ย. 64) นายนรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป หรือ MAJOR เปิดเผยถึงความพร้อมการเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์ หาก ศบค.มีการประกาศคลายล็อกว่า…

บริษัทพร้อมเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยมาตรฐาน สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยยึดหลักมาตรฐานสาธารณสุข ด้วย 5 แผนแม่บท ‘สะอาด มั่นใจ ปลอดภัยทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นพนักงานได้รับวัคซีน 100% โดยบริษัทมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานทุกคนได้รับวัคซีน ภายใต้ โครงการ ‘I GOT VACCINATED’ #ฉีดวัคซีนแล้วนะ โดยพนักงานทุกคนของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม ทั้งพนักงานส่วนกลางและพนักส่วนปฏิบัติงานการให้บริการ

ขณะเดียวกันยังจะตรวจคัดกรองก่อนให้บริการ ลูกค้าที่เข้าใช้บริการต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ และพนักงานทุกคนจะต้องผ่านการตรวจ ATK ก่อนเริ่มงาน ทั้งพนักงานส่วนกลางและพนักงานระดับปฏิบัติงาน ซึ่งต้องตรวจ ATK เป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง

‘นิพนธ์’ ห่วงประชาชน 3 จชต.เดือดร้อน ลุยติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี เร่งเตรียมการภาคใต้เข้าฤดูมรสุม

ที่เขื่อนบางลาง หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจติดตามการควบคุมระดับน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนบางลาง เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลาและพื้นที่ใกล้เคียง

โดยมีรองผวจ.ยะลา  ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 17 หน.สนง.ปภ.ยะลา โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดยะลา นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมรายงานสถานการณ์ในพื้นที่

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนบางลาง ซึ่งในปีที่แล้วบริเวณนี้ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่มากกว่าปกติ วันนี้จึงลงมาเพื่อเตรียมความพร้อมซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะเยอะกว่าปีที่แล้ว ซึ่งขณะนี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพาดผ่าน ดั้งนั้น พื้นที่ภาคใต้ในช่วงปลายตุลาคม - ธันวาคม จะเข้าสู่ช่วงมรสุม จึงต้องวางแผนเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ก่อนน้ำมา ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ บูรณาการร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการวางแผนร่วมกันในการรับมวลน้ำที่จะเข้ามาในช่วงฤดูการมรสุม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุดไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิต ซึ่งการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการยับยั้งการสูญเสียและบรรเทาความเสียหายได้

นอกจากนี้ ได้ประสานไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองให้เร่งรัดจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างคันเขื่อนอีกฝั่ง(ชุมชนหมู่ที่2)ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากปีมาณน้ำจากต้นปีนี้มีการเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องประชาชนอีกด้วย

ทั้งนี้ จังหวัดยะลามีเขื่อนบางลางที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ให้เน้นย้ำหลักคิด"สร้างที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล" ถ้าทำควบคู่กันก็จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน  การสร้างที่ให้น้ำอยู่ ที่มาของน้ำหลัก ๆคือน้ำฝนในช่วงมรสุมหรือเข้าสู่ฤดูฝนต้องกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด พร้อมจัดทำทางให้น้ำไหล เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ลงสู่ทะเล อย่าให้กระทบต่อประชาชน บริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร มุ่งคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการวางแผนป้องกันน้ำหลากน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้อย่างเคร่งครัด  รวมทั้งเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือและกำลังคนที่พร้อมจะเข้าไปให้การช่วยเหลือบรรเทาภัยอย่างเต็มศักยภาพ ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนบางลาง (ข้อมูลวันที่ 25 ก.ย. 64) มีปริมาตรน้ำอ่าง 5,341 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุที่ระดับเก็บกัก

 

รัฐเริ่มผ่อนคลายฯ เหตุวิเคราะห์แล้วรอบด้าน เชื่อ!! 'เชื้อซา - บทเรียนตปท.' ช่วยไม่พลาดอีก

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษา ศบค. ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

ผมเห็นบางคนเขียนโพสต์ว่า เรารีบเปิด ผ่อนคลายมาตรการเร็วเกินไป ประเทศต่างๆ ไม่มีประเทศไหนเปิดแล้วรอดเลย ต้องกลับมาปิดใหม่อีก เหมือนมีคนวางยานายกและรัฐบาลให้ล้มเหลว 

แต่ผมว่า เราต้องดูปัจจัยแวดล้อมด้วย ประเทศที่เปิดไปส่วนใหญ่ (หรือทั้งหมด) คือ เปิดเพราะฉีดวัคซีนได้เยอะแล้ว เพราะฉีดไปก่อน แต่พอเปิดแล้ว มาเจอเดลตาอาละวาด เจาะทะลุวัคซีน และกระจายสู่คนที่ไม่ได้ฉีดเป็นวงกว้างอีก แต่ถ้าดูกันดีๆ สัดส่วนผู้เสียชีวิตจะไม่มากเท่าไหร่ คนเสียชีวิตส่วนมากก็คือ คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนที่ยังเหลืออยู่ 

แต่ไทยเรา ได้เห็นบทเรียนจากประเทศต่างๆ จึงค่อยๆ ผ่อนคลาย และหากจะเปิดประเทศ ก็เปิดเป็นพื้นที่ไป และมีความเข้มงวดกว่าประเทศอื่นๆ ที่ออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้เกือบเหมือนก่อนโควิด แถมตอนแรกยังไม่ใส่แมสก์ด้วย แถมของไทยเองรู้ตัวแล้วว่าเดลตาเป็นตัวปัญหา แพทย์ เช่น อ.ยง ท่านจึงศึกษาว่าต้องฉีดแบบไหนถึงจะป้องกันเดลตาได้ แล้วก็ใช้มาตรการทางสังคมเพิ่มด้วย

นราธิวาส-ชาวบ้านมะรือโบตก ร่วมผลิตเตียงไม้ไผ่ ส่งมอบให้แม่ทัพภาคที่ 4 สนับสนุนช่วยเหลือโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ ร่วมสู้ภัยโควิด 19 ไปด้วยกัน 

ที่เทศบาลตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ชาวบ้านในตำบล ได้ร่วมกันผลิตเตียงไม้ไผ่ จำนวนกว่า 50 เตียง มอบให้แก่ พลโทเกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 นำไปช่วยเหลือส่งต่อกระจายยังโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ ที่มีความขาดแคลนเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยโรคโควิด 19  ก่อนแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ร่วมประชุมหารือติดตามสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตก ร่วมกับผู้บริหารเทศบาลตำบลมะรือโบตก ณ ห้องรับรองสภาเทศบาลตำบลมะรือโบตก โดยมี ว่าที่ร้อยตรี จิรัสย์ ศิริวัลลภ นายอำเภอระแงะ และนายอับดุลรอฮิม เจะโซะ นายกเทศมนตรีตำบลมะรือโบตก พร้อมด้วยผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และส่วนราชการในพื้นที่ร่วมประชุม เพื่อกำหนดมาตรการแนวทางในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ 

โดยแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เน้นย้ำให้ประชาชนรักษามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด พร้อมขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการช่วยกับเฝ้าระวังป้องกันโควิด 19  โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ อสม.เจ้าหน้าที่ ผู้นำศาสนา และผู้นำในพื้นที่ โดยได้ชื่นชม และขอบคุณผู้นำศาสนาที่ได้ทำความเข้าใจแนวการปฏิบัติศาสนกิจของกับประชาชนในพื้นที่ภายใต้การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 อีกทั้งขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวตำบลมะรือโบตกที่ได้ร่วมมือร่วมใจช่วยกันทำเตียงไม้ไผ่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการระบาดของโรคโควิด 19 โดยกองทัพจะได้นำเตียงไม้ไผ่ที่ได้รับมอบในครั้งนี้ส่งต่อกระจายไปยังโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่อไป 

ด้านนายอับดุลรอฮิม เจะโซะ นายกเทศมนตรีตำบลมะรือโบตก กล่าวว่าการส่งมอบเตียงไม้ไผ่ในครั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ที่มีจำนวนประชาชนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามต้องประสบปัญหาขาดแคลนเตียง สำหรับรองรับผู้ป่วย ซึ่งชาวตำบลมะรือโบตก ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมร่วมสู้ภัยโรคโควิด19 ไปด้วยกัน ด้วยการตระหนักเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้ร่วมกันผลิตเตียงสนามจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามธรรมชาติคือไม้ไผ่ซึ่งมีความแข็งแรงคงทนถาวรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และที่สำคัญเป็นวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลมะรือโบตก โดยได้ผลิตเตียงสนามจากไม้ไผ่ จำนวน 50 เตียงส่งมอบให้แม่ทัพภาคที่ 4 นำไปมอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และโรงพยาบาลสนามในพื้นที่

'อดีตทูต​ฯ'​ ชี้กระแส​ Soft​ Power​ ไทย​ กำลังมา!! หลัง​ 'ลิซ่า'​ ดัน 'ลูกชิ้นยืนกิน'​ เป็นไวรัลทั่วโลก

นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Fuangrabil Narisroj ว่า... 

ลูกชิ้นยืนกิน By Lalisa นี่คือตัวอย่างของผลที่เกิดจาก Soft Power โดยใช้ศิลปินระดับโลกลูกหลานไทยบุรีรัมย์ เป็นสื่อ ! 

จริงอยู่ถึงแม้ว่าน้องลิซ่า จะเป็นผลผลิตการปั้นของเกาหลี แต่ด้วยความเป็น “คนไทย” ของน้องลิซ่า อันนี้ถือว่าเป็นความร่วมมือกันระหว่างเกาหลีและไทย 

ไทยเรามี “วัตถุดิบ” (ทรัพยากรบุคคล) ส่วนเกาหลีมี “พลังในการขับเคลื่อน” เมื่อรวมกันแล้วก็ = Soft Power ที่ทรงพลังทีเดียว

ช่วงนี้ต้องยอมรับว่า “พลัง” ของ Soft Power ไทยนั้นยังเป็นรองเกาหลี เพราะเกาหลีมีความพร้อมในทุกๆ​ ด้านมากกว่า มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเข้มแข็ง มี Unity มากกว่า เกาหลีตีโจทย์ทางด้าน Soft Power เก่งกว่า ก็ไม่เป็นไร ช่วงนี้ไทยเราก็อาศัยโดยสารร่วมขบวนรถไฟ Soft Power ของเกาหลีไปก่อน

ไว้เราโตจนมีศักยภาพเพียงพอ เราค่อยดำเนินการทำ Soft Power ด้วยตัวเราเอง ตอนนี้ขอให้ศึกษาวิธีการของเกาหลีเป็นตัวอย่างให้มากที่สุด เพราะเกาหลีถือว่าเป็นประเทศที่ผลักดันเรื่อง Soft Power เก่งที่สุดในโลก (ในสายตาผม) 

การที่เกาหลีทรงพลัง หรือถือเป็นมหาอำนาจทางด้าน Soft Power นั้น เขาได้ใช้ “ตัวหมากเบี้ย” หรือ เหล่าศิลปิน ดารา นักร้องที่เขาปั้นจนกลายเป็นศิลปินระดับโลกในการเป็น พรีเซนเตอร์ ในการขายสินค้าและบริการของเกาหลี จนขายดิบขายดี ไม่ว่า มือถือ รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ 

โดยให้ “ตัวหมากเบี้ย” (ศิลปิน ดารา นักร้อง) ขับเคลื่อนผ่าน MV / Concert / ภาพยนตร์ ทีวี ซีรีส์ เรื่องต่างๆ

แค่ศิลปิน ดารา นักร้อง มีภาพว่าใช้ของอะไร กินอะไร หรือแค่เอ่ยปากอยากกินอะไร แค่นี้เองแต่ผลที่ตามมามันกลายเป็น “พลังซื้อ” อันมหาศาลจากทุกมุมโลก

ลูกชิ้นยืนกิน ที่ลิซ่า พูดถึงน่ะเป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ เท่านั้น ส่วนเกาหลีใช้วิธีแบบนี้จนทำให้สินค้าเกาหลีขายดี เช่น ถ้าย้อนหลังไป 20 กว่าปี สมัยที่มือถือ Nokia / Motorola เป็นที่นิยมในตลาดนั้น ผู้คนยังไม่รู้จักหรือนิยมมือถือ Samsung เลย 

แล้วตอนนี้เป็นไง ? มือถือ Samsung ผงาดขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ​ ของโลกได้ เพราะเกาหลีเก่งในการสอดแทรกความนิยมแบรนด์สินค้าเกาหลีลงไปในทุกอณูของ Soft Power ที่เกาหลีเล่น

สำหรับไทยเราก็เริ่มแบบ “ตั้งไข่” ได้แล้ว แต่ยังเดินเตาะแตะอยู่ ถึงแม้ยังไม่แข็งแกร่งเท่าเกาหลี แต่เราก็สามารถอาศัย “โอกาสร่วม” กับเกาหลีไปพลางๆ​ ก่อน

ตอนนี้ผมนึกในใจอยากให้ ลิซ่า แค่บ่นอยากกิน อยากทำอะไร หรืออยากได้อะไรจากเมืองไทยอีกสักทีละอย่างสองอย่าง รับรองสินค้าหรือบริการตัวนั้นจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแบบเดียวกับ “ลูกชิ้นยืนกิน” 

ถ้าเกาหลีเขาขายสินค้าจากอุตสาหกรรมหลักของเขาเช่น มือถือ รถยนต์ ได้ ไทยเราก็ต้องขายสินค้าและบริการต่างๆ​ ให้ติดปากคนทั้งโลกได้เช่นกัน

ตอนนี้กีฬามวยไทยก็ไปไกลแล้ว ต้มยำกุ้ง แกงมัสมั่น ส้มตำ ก็ไปแล้ว

เราต้องหาทางผลักดัน “ลูกชิ้นยืนกิน” หรือ ของทานเล่น Snack ต่างๆ ให้ติดปากคนทั่วโลกจนอยากมาชิมได้เช่นกัน

“พันธมิตรจิตอาสา” รวมพลัง “4ส.12” ลุยบางลำพู ส่งอาหารด้วยใจช่วยชาวชุมชนวัดสามพระยา หลังมีผู้ติดเชื้อโควิดเกือบทุกบ้าน

วันที่ 26 กันยายน ที่ชุมชนวัดสามพระยา เขตพระนคร นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย รศ.ดร.นัฐโชติ รักไทยเจริญชีพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คุณวิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ บริษัท แอพพลิแคด จำกัด(มหาชน) คุณศรุต ทั่งทอง กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไฮโดรควิพ จำกัด คุณอัจฉริยา รัตนโชติพานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัทเรเวล่า โคออปเปอเรชั่น จำกัด ตัวแทนนักศึกษา สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่น 12 (สสสส.12)

พร้อมตัวแทนมูลนิธิสหชาติ ในนามกลุ่ม “พันธมิตรจิตอาสา” เป็นสะพานบุญ ส่งมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมทาน โครงการ “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจสู้ภัยโควิด-19” จากเครือบริษัท ซีพี และโลตัส พร้อมหน้ากากอนามัย ส่งต่อความห่วงใยถึงชาวชุมชนวัดสามพระยา โดยมี คุณสุธาทิพย์ วงษ์วิกย์กิจ คุณอำภา รอดผ่องผุด กรรมการชุมชน พร้อมชาวบ้านร่วมรับมอบ

คุณสุธาทิพย์ วงษ์วิกย์กิจ เปิดเผยว่า ชุมชนวัดสามพระยามีสภาพค่อนข้างคับแคบแออัด มีบ้านเรือน 85 ครัวเรือน มีสมาชิกพักอาศัย 250 คน พบการระบาดของเชื้อโควิด-19 เกือบทุกหลังคาเรือน มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 112 คน ได้ทำการรักษาจนหาย บางส่วนต้องย้ายออกไปพักนอกชุมชน ในช่วงที่มีการระบาดหนัก ชุมชนวัดสาพระยา เป็นศูนย์เเยกกักตัวในชุมชน (Community  Isolation) แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิตโดยตรงจากการติดเชื้อโควิด 4  คน และอีก 4 คนเสียชีวิตจากผลข้างเคียง ล่าสุดพบมีผู้ติดเชื้อโควิดใหม่จำนวน 3 คน

 

เรือยาววัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สายธารพระมหากรุณาธิคุณสู่ท้องถิ่นไทย | MEET THE STATES TIMES EP.24

???? เรือยาววัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สายธารพระมหากรุณาธิคุณสู่ท้องถิ่นไทย
???? น้ำคือชีวิต คำกล่าวที่ไม่เกินจริง! สายธารแห่งพระเมตตา ที่ประจักษ์แก่ไทยทั้งปวง

???? ในรายการ MEET THE STATES TIMES ข่าวคุยเพลิน

???? ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES

“คุณสมบัติ” ประธานกลุ่มอินเตอร์ลิ้งค์ฯ แชร์ประสบการณ์ Cabling & Networking Solution for University พร้อมวิทยากรชั้นนำเจาะลึก กับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 100 หน่วยงาน

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธาน กลุ่ม อินเตอร์ลิ้งค์ฯ มาแชร์ประสบการณ์ Cabling & Networking Solution for University พร้อมนำทีมวิทยากรชั้นนำมาเจาะลึกรายละเอียดการเลือกใช้สายสัญญาณ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คให้เหมาะกับกลุ่มเจ้าหน้าที่ไอทีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 100 หน่วยงาน

อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เกษตรศาสตร์, มหิดล, เทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, รังสิต, ขอนแก่น, ราชภัฏสงขลา, นอร์ทเชียงใหม่, บูรพา ฯลฯ

เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเห็นภาพจริงและไปประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งยังมีกิจกรรมแจกของรางวัล ได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนานตลอดทั้งงาน


???? LIVE จากสนง.ใหญ่ อินเตอร์ลิ้งค์ กรุงเทพฯ

ไขข้อข้องใจ!! ชนวนเหตุ ​'โละ​' ชื่อพระราชทาน​ 'ราชมงคล' ​​​ภาค 2 | MEET THE STATES TIMES EP.23

????ไขข้อข้องใจ!! ชนวนเหตุ ​'โละ​' ชื่อพระราชทาน​ ‘ราชมงคล' ภาค 2 ​​​!!
????เรื่องนี้ยังไม่จบ! คุยกับตัวจริง! เหตุถอดชื่อนามมงคลที่ได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9!!

ในรายการ MEET THE STATES TIMES

ไขข้อข้องใจไปกับศิษย์เก่าตัวจริง!! ‘คุณจุลินทร์ รังษีสิงห์พิพัฒน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าพณิชยการพระนคร’ ‘คุณบัณฑิต ปานรักษา นายกสมาคมนักเรียนเก่าช่างกลพระนครเหนือ’ และ ‘อาจารย์วรรณา มณีนุตร์ นายกสมาคมศิษย์เก่าโชติเวช’

ดำเนินรายการโดย หยกTHE STATES TIMES

ไทย..โชว์ ! ศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บนเวทีโลก GCA+20 ชูธง SDGs นำภาคประมงสู่การพัฒนายั่งยืน

(24 ก.ย.64)​ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้แทนประเทศไทย ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมฯ ผ่านระบบออนไลน์ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา อันเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับโลก (The Global Conference on Aquaculture 2020 : GCA+20) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยประเทศไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการกับนานาประเทศ พร้อมแสดงบทบาทและศักยภาพของประเทศไทยในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระดับสากล

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมง ในฐานะหน่วยงานผู้แทนประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับโลก (The Global Conference on Aquaculture GCA+20 ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2564 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในธีม “Aquaculture for Food and Sustainable Development” จัดโดยกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Ministry of Agriculture and Rural Affairs of the People’s Republic of China : MARA) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) และองค์การข่ายงานศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งเอเชียและแปซิฟิก (The Network of Aquaculture Centres in Asia-Pacific : NACA)

 

จับตาการประชุม 'The Quad' สหรัฐฯ-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น-อินเดีย พันธมิตร 4 เส้า กับยุทธศาสตร์โลกล้อมจีนของไบเดน

คงต้องจับตามองกับแทบไม่ควรกะพริบกันแล้ว ณ นาทีนี้ กับงานประชุมสุดยอดผู้นำ 4 ฝ่าย ที่จัดขึ้นในกรุงวอชิงตัน ดีซี ในวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2021 นี้ ที่มีชื่อเรียกว่า ‘พันธมิตร The Quad’ อันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น และอินเดีย ประเทศแกนนำหลักในย่านอินโด-แปซิฟิก ซึ่งทางประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้เปิดทำเนียบขาว เชิญผู้นำ 3 ชาติพันธมิตร มานัดพบกันแบบตัวต่อตัวทีเดียว 

การนัดประชุมพันธมิตร 4 เส้านี้เป็นที่น่าสนใจมากที่มาเกิดเอาในช่วงเวลานี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 15 กันยายน ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา-อังกฤษ-ออสเตรเลีย เพิ่งออกมาประกาศร่วมกันเป็นพันธมิตร AUKUS มีจุดประสงค์ในการส่งผ่านข้อมูลเทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์เชิงลึกให้แก่ออสเตรเลีย นำมาใช้พัฒนาเรือดำน้ำนิวเคลียร์ เพื่อรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก หรืออีกนัยยะหนึ่ง คือ ต้องการสกัดอิทธิพลทางทะเลของจีนในน่านน้ำย่านเอเชีย 

ข่าวการประสานมือเปิดตัวพันธมิตรกลุ่มใหม่ ยังเป็นที่ฮือฮาไม่ทันจางหาย มาวันนี้ มีการนัดประชุมกลุ่มพันธมิตร The Quad แบบจับเข่าคุยกันจริงๆ ถึงในทำเนียบขาว ถึงแม้ว่าหัวข้อสนทนาจะมีประเด็นทั่วๆ ไป อย่างความร่วมมือด้านวัคซีน Covid-19 หรือการร่วมมือด้านความมั่นคงทั้งในเชิงกายภาพ และบนโลกไซเบอร์ 

กฎใหม่ ‘อังกฤษ’ รับรองผู้ฉีดวัคซีนจากประเทศใหญ่ พร้อมข้ามกักตัว 10 วัน ทั่วโลกบ่น 'ไร้เหตุผล'

กฎการเดินทางใหม่ของอังกฤษที่รับรองเฉพาะการฉีดวัคซีนจากสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้ และอียู สร้างความไม่พอใจไปทั่วโลก โดยกฎการเดินทางในยุค Covid-19 ฉบับใหม่ของอังกฤษ เลือกที่จะปฏิเสธการรับรองวัคซีนที่ฉีดจากประเทศแถบละตินอเมริกา, แอฟริกา, เอเชียใต้ และอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งสร้างความไม่พอใจเป็นวงกว้าง โดยหลายคนมองว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติและไร้เหตุผล

ภายใต้กฎการเดินทางใหม่ที่ทางการอังกฤษประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer-BioNTech, Moderna หรือ Johnson&Johnson ในประเทศสหรัฐฯ, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้ หรือประเทศในสหภาพยุโรป (EU) เท่านั้นที่จะถือว่า ‘ได้รับวัคซีนครบแล้ว’ และได้รับการยกเว้นไม่ต้องกักตัวเป็นเวลา 10 เมื่อเดินทางเข้าอังกฤษจากประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีเหลือง

ขณะที่ผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วจากประเทศในแถบแอฟริกา, ละตินอเมริกา, เอเชียใต้ หรือประเทศอื่นๆ รวมทั้งอินเดีย จะถือว่า ‘ได้รับวัคซีนยังไม่ครบ’ และต้องกักตัว 10 วันเมื่อเดินทางจากประเทศในกลุ่มสีเหลืองมาถึงอังกฤษ

นอกจากนี้ ในยุโรปยังเกิดความไม่พอใจที่อังกฤษไม่ยอมรับว่าผู้ที่เคยป่วย Covid-19 และได้รับวัคซีนแล้ว 1 โดส เป็นผู้ที่ ‘ได้รับวัคซีนครบแล้ว’ และยังต้องกักตัว 10 วัน ขณะที่หลายประเทศในสหภาพยุโรปถือว่าคนกลุ่มนี้ได้รับวัคซีนครบแล้วและสามารถเดินทางท่องเที่ยวในสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อจำกัดเพียงแค่ต้องแสดงใบรับรองการฉีดวัคซีน

ทั้งนี้ ทางการอังกฤษกำหนดให้ผู้ที่หายป่วยจาก Covid-19 และมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติแล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนที่ต้องใช้ 2 โดส อาทิ Pfizer-BioNTech หรือ Moderna ให้ครบทั้งสองโดสก่อนด้วย 

ชาวบ้านนับพันคน เบียดแย่งบัตรคิวฉีดวัคซีน โวยวายลั่น จวกรพ.ไม่มีการจัดระเบียบ หวั่นเกิดคลัสเตอร์ใหม่ 

วันที่ 24 ก.ย. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงพยาบาลกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง ประชาชนจาก 11 ตำบล ใน อ.กันตัง ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนซิโนแวคเข็มแรก เนื่องในวันมหิดลกว่า 1,000 คน เดินทางไปเข้าคิวรอรับการฉีดวัคซีนซิโนแวคกัน ตั้งแต่เวลา 04.00 น. ทำให้ช่วงเช้าวันนี้ มีประชาชนไปเบียดเสียดกันเป็นจำนวนมาก และมีการจับกลุ่มพูดคุยกันโดยไม่มีการเข้าแถวให้เป็นระเบียบ หรือรักษาระยะห่าง ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำงานได้อย่างล่าช้า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top