Monday, 29 April 2024
NEWS FEED

'จอร์จ โซรอส' ดันบิตคอยน์ ทะลุ 55,000 ดอลลาร์ รับข่าวพ่อมดการเงิน เข้าลงทุนในบิตคอยน์

ราคาบิตคอยน์ เทรดที่เว็บไซต์อินเวสต์ติง ดอท คอม เมื่อเวลา 05.10 น. ของ 7 ต.ค. 64 ปรับตัวขึ้น 6.71 % เคลื่อนไหวที่ราคา 55,201.7 ดอลลาร์รับข่าวจอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินเข้าลงทุนในบิตคอยน์

การเคลื่อนไหวในแดนบวกของราคาบิตคอยน์ช่วงเช้าวันนี้ เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันพุธ (6 ต.ค.) ราคาบิตคอยน์ทะยานทะลุระดับ 55,000 ดอลลาร์และอยู่เหนือระดับ 1,800,000 บาท ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. ขานรับรายงานที่ว่า กองทุนของนายจอร์จ โซรอส เจ้าของฉายาพ่อมดการเงิน ได้เข้าลงทุนในบิตคอยน์

นอกจากนี้ บิตคอยน์ยังได้ปัจจัยบวกจากการที่นายแกรี เกนสเลอร์ ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ที่ยืนยันว่าสหรัฐฯ ไม่มีแผนที่จะสั่งระงับการซื้อขายสกุลเงินคริปโต

ขณะนี้ บิตคอยน์มีมูลค่าตลาดมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่ามูลค่าตลาดของบริษัทเฟซบุ๊ก ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลทั้งหมดมีมูลค่าตลาดรวม 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับมูลค่าตลาดของบริษัทแอปเปิล อิงค์

ก่อนหน้านี้ บิตคอยน์ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 64,889 ดอลลาร์ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา

หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงกรุณาประทานยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร แด่เรือนจำกลางเพชรบุรี 100,000 เม็ด

หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงกรุณาให้ "นางสาวชญาณิศา ฐาณิชณาณัณ" กรรมการผู้จัดการบริษัท เดอะไบบูรี่ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำเชิญยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรประทาน ให้ "นายทัตเทพ ชุมนุมมณี" ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเพชรบุรี เพื่อใช้ช่วยเหลือบรรเทาภัยเบื้องต้นในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส (โควิด-19) ที่กำลังแพร่ะบาดในเรือนจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ในเรือนจำ ผู้ต้องขังในเรือนจำกลาง และเรือนจำในเครือข่าย โดยมี "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล" ผู้ช่วยเลขานุการในองค์หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์" เป็นผู้อ่านหมายหนังสือประทานยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรทุกหมู่เหล่า 

"นายยุทธพงษ์ เอี้ยงอ้าย" เลขานุการในองค์หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า โดยแต่เดิม หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงมีความห่วงใยต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าเสมอมา ทรงจัดหาสิ่งของต่างๆที่พอจะช่วยเหลือ บรรเทาภัย และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้า และผู้ประสบภัยจากโรคระบาด โควิด-19 มาโดยตลอด ซึ่งตลอดช่วงเวลา 2 ปี ของการแพร่เชื้อโรคระบาดนี้ พระองค์ท่านมีรับสั่งให้คณะทำงานในส่วนพระองค์ แบ่งสายงานหาทางให้ความช่วยเหลือประชาชนทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล รวมทั้งต่างจังหวัดมาโดยตลอด ต่อมาครั้งนี้ ทรงมีดำริถึงเรือนจำว่าน่าจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องยาสมุนไพรไทย ฟ้าทะลายโจร ที่สามารถช่วยเหลือ รักษาอาการป่วยได้พอสมควร

"ตู่ นันทิดา" ไม่รอดดราม่าเตรียมขึ้นคอนเสิร์ต เจอชาวเน็ตเดือดน้ำท่วมไม่เห็นเงา งานนี้หลายคนต่อประเด็น พร้อมขยายวงดราม่า

มีดราม่าพุ่งใส่จนได้ สำหรับนักร้องและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ตู่-นันทิดา แก้วบัวสาย ที่ล่าสุดมีชื่อขึ้นคอนเสิร์ตดังคอนเสิร์ตหนึ่งในรูปแบบ Live Stream ซึ่งได้เริ่มจำหน่ายบัตรกันไปแล้ว โดยสาวตู่จะมาร่วมเสิร์ฟความสุข ความบันเทิงให้กับพี่น้องชาวไทยอย่างเต็มอิ่ม 

งานนี้หลังจากมีข่าวดังกล่าวออกไป ในโลกออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ก็ได้มีชาวเน็ตรายหนึ่งมาเปิดประเด็นการขายบัตรในครั้งนี้ พร้อมข้อความว่า “นายก อบจ. เปิดขายบัตรคอนเสิร์ตแล้วค่า กดให้ทันนะคะ กดให้ทัน #ตู่นันทิดา #นายกหายไปไหน”

รู้จัก ‘Long COVID’ อาการหลงเหลือ หลังติดเชื้อโควิด-19

เป็นโควิด-19 รักษาหายแล้ว แต่ทำไมยังป่วยอยู่ หลายคนมีข้อสงสัย เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วบางราย ยังรู้สึกมีอาการหลงเหลือต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว 

เรือดำน้ำสหรัฐฯ ชนวัตถุลึกลับ ขณะปฏิบัติภารกิจในน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำหนึ่งของสหรัฐฯ ได้ความเสียหายและลูกเรือบาดเจ็บนับสิบคน หลังชนเข้ากับวัตถุไม่สามารถระบุเอกลักษณ์ ระหว่างปฏิบัติการใต้น้ำในเอเชีย จากการเปิดเผยของกองทัพเรืออเมริกาในวันพฤหัสบดี (7ต.ค.)

ยูเอสเอส คอนเนตทิคัต เรือดำน้ำโจมตีเร็วพลังงานนิวเคลียร์ "ชนกับวัตถุหนึ่งระหว่างดำน้ำเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 2 ตุลาคม ขณะกำลังปฏิบัติภารกิจในน่านน้ำสากลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก" กองทัพเรือระบุในถ้อยแถลง

สำนักข่าว USNI News เว็บไซต์ที่รายงานข่าวกองทัพเรือโดยเฉพาะ ระบุว่ามีลูกเรือราว 10 กว่าคนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตามอาการบาดเจ็บของลูกเรือเหล่านั้นอยู่ในระดับ "เล็กน้อยจนถึงปานกลาง"

"อัครเดช" นำ กมธ.จัดระเบียบสายไฟฟ้าและสารสื่อสาร  ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการสายไฟลงดิน เตรียมจัดทำแนวทางชงสภาส่งรัฐบาลเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม 

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.จังหวัดราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารฯ สภาผู้แทนราษฎร และประธานอนุกรรมาธิการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารฯภาคกลาง ใต้ และตะวันออก พร้อมด้วยนาย ธนู งาเนียม ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน)ในฐานะกรรมาธิการฯ และคณะ เดินทางลงพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อตรวจติดตามและศึกษางานการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน และการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารให้เป็นระเบียบ โดยมี นายเดชอิศม์ ขาวทอง ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พล.ต ท.สาคร ทองมุนี นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ นายวัฒนา แพรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคใต้ล่าง นายไพศาล ไชยลี ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้าภาคใต้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมประชุมและลงพื้นที่ด้วย

ILINK ติดอันดับ “หุ้นยั่งยืน” ต่อเนื่อง 3 ปี!! พร้อมลุ้น Investor Relations Awards บนเวที “SET Awards 2021”

“วริษา อนันตรัมพร” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้นำเข้าและค้าส่งอุปกรณ์เครือข่ายส่งสัญญาณ เปิดเผยว่า

“ILINK ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ประจำปี 2564 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่บริษัทฯ จะเติบโต ต่อเนื่อง และยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนและนำแนวคิดต่อยอดที่คำนึงถึง มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และมีการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพ โปร่งใส และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนต่อไป”

‘เมอร์ค’ ตั้งราคา ‘โมลนูพิราเวียร์’ สูงเกินจริงถึง 40 เท่า

บริษัทเมอร์ค แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทยารายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการเปิดตัวยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่จุดประกายความหวังในการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ได้คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปกว่า 4.8 ล้านราย

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า เมอร์ค ได้ตั้งราคา ยาโมลนูพิราเวียร์ ที่เรียกเก็บจากรัฐบาลสหรัฐฯ สูงกว่าต้นทุนการผลิตถึง 40 เท่า

รายงานวิเคราะห์ราคายาโมลนูพิราเวียร์ที่จัดทำโดย Harvard School of Public Health และ King’s College Hospital พบว่า เมอร์ค มีต้นทุนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์เพียง 17.74 ดอลลาร์ต่อ 1 คอร์ส หรือราว 600 บาท แต่ได้คิดราคาจากรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงคอร์สละ 700 ดอลลาร์ หรือราว 24,000 บาท ซึ่งสูงกว่าต้นทุนถึง 40 เท่า

ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงกับบริษัทเมอร์คเพื่อสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 1.7 ล้านคอร์ส ด้วยวงเงิน 1,200 ล้านดอลลาร์ โดยมีราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์

ยา 1 คอร์สประกอบด้วยยาโมลนูพิราเวียร์ขนาด 200 มิลลิกรัม จำนวน 40 เม็ดสำหรับผู้ป่วย 1 คน โดยผู้ป่วยจะรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 เม็ด เป็นเวลา 5 วัน

รายงานดังกล่าวระบุอีกว่า ในช่วงเริ่มแรก รัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานหลายแห่งในการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ เพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ต่อมาในเดือนพ.ค. 2563 เมอร์คได้ซื้อลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและจำหน่ายยาโมลนูพิราเวียร์แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เมอร์คเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ยาโมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา และสามารถลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด-19 ในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ถึง 50%

การประกาศดังกล่าวของเมอร์ค ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกแห่จองซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จากเมอร์ค ซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะสามารถผลิตได้ 10 ล้านคอร์สภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้เมอร์คมีรายได้จากการจำหน่ายยาดังกล่าวสูงถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.4 แสนล้านบาท

“เฉลิมชัย” เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร เปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565 – 2566 สั่งทุกหน่วยงานเดินหน้าเต็มสูบ!!

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (zoom meeting) จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0

โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ลดความเหนื่อยยากของการใช้แรงงานในภาคการเกษตร มีการนำเอาเครื่องมือจักรกลและเครื่องมือทันสมัย โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยในตลาดโลก

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะและเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร สามารถนำกรอบข้อเสนอโครงการที่จัดทำไว้ ภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับนี้ไปปรับใช้เป็นข้อเสนอโครงการในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ

นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร

โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุก ๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอภายใน 3 ปี เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวว่า ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ขึ้น มีองค์ประกอบอนุกรรมการ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech

2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ

3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce และ

4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด เข้ามาช่วยขับเคลื่อนดำเนินการมุ่งสู่เกษตร 4.0

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะปี 2565 - 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำโดยคณะอนุกรรมการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งมี ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ เป็นประธานประกอบด้วย 6 ยุทธสาสตร์ 18 แผนงาน 63 โครงการ จะเป็นคานงัดและเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญในการปฎิรูปภาคการเกษตรตามนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

 

ชิลีคาดยอดส่งออก ‘ต้นคีไย’ พุ่ง หลังเป็นองค์ประกอบสำคัญวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ แต่หวั่นทรัพยากรร่อยหรอในเวลาอันสั้น

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ชิลีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไม่น้อย มีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 1.6 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 37,000 ราย ในขณะเดียวกัน ชิลีก็เป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 อยู่ในระดับสูง โดยประชากรมากกว่า 70% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

เมื่อพูดถึงวัคซีนโควิด-19 ก็จำเป็นต้องพูดถึง ‘ต้นคีไย (Quillay)’ พืชพื้นเมืองของชิลีที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ซึ่งเป็นความหวังของใครหลาย ๆ คน

บางคนเรียกต้นคีไยว่า ‘ต้นเปลือกสบู่ (Soapbark Tree)’ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Quillaja Saponaria เป็นพันธุ์ไม้หายากในป่าดิบที่มีถิ่นกำเนิดในชิลี ซึ่งชาวมาปูเช (Mapuche) หรือชนพื้นเมืองในชิลีใช้ในการทำสบู่และยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้นคีไยถูกนำมาใช้เพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดและวัคซีนมาลาเรียตัวแรกของโลก ตลอดจนสารทำให้เกิดฟองสำหรับผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเหมืองแร่

โดยโมเลกุลซาโปนิน (Saponin) 2 ตัว ซึ่งสร้างจากเปลือกกิ่งต้นคีไยที่มีอายุได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทโนวาแวกซ์ โดยนำมาใช้ทำสารเสริมที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

สำหรับสารเสริมของวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ที่เรียกว่า Matrix-M จะประกอบด้วยโมเลกุลซาโปนินที่สำคัญ 2 โมเลกุล หนึ่งในนั้นเรียกว่า QS-21 ซึ่งจัดหาได้ยากเพราะส่วนใหญ่พบในต้นคีไยที่มีอายุอย่างน้อย 10 ปี

ในบรรดาบริษัทยารายใหญ่ มีเพียงโนวาแวกซ์ และ GSK ผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันมาลาเรียรายแรกของโลก เพียง 2 เจ้านี้เท่านั้นที่ใช้ QS-21 เป็นส่วนผสมในการพัฒนายาและวัคซีน

โดยในอีก 2 ปีข้างหน้า โนวาแวกซ์วางแผนที่จะผลิตวัคซีนจำนวนหลายพันล้านโดส ซึ่งจะทำให้เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนต้นคีไยที่เหลืออยู่ในชิลีที่จะนำไปใช้สำหรับทำวัคซีนโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมจึงไม่แน่ใจว่า ทรัพยากรต้นคีไยในชิลีจะหมดลงเมื่อไร แต่เกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ในบางอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาสารสกัดจากคีไยอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ต้นไม้อื่นแทน เพื่อสงวนคีไยไว้สำหรับการทำวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ

จากการวิเคราะห์ของรอยเตอร์เกี่ยวกับข้อมูลการส่งออกจากผู้ให้บริการข้อมูลการค้า ImportGenius แสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรต้นคีไยอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น เพราะเดิมทีการส่งออกคีไยก็เพิ่มขึ้นเป็น 3,600 ตันต่อปีในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดอยู่แล้ว หากต้องมีการส่งออกคีไยเพิ่มเติมสำหรับวัคซีนก็อาจไม่เพียงพอ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top