Monday, 29 April 2024
NEWS FEED

ILINK ติดอันดับ “หุ้นยั่งยืน” ต่อเนื่อง 3 ปี!! พร้อมลุ้น Investor Relations Awards บนเวที “SET Awards 2021”

“วริษา อนันตรัมพร” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้นำเข้าและค้าส่งอุปกรณ์เครือข่ายส่งสัญญาณ เปิดเผยว่า

“ILINK ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ประจำปี 2564 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่บริษัทฯ จะเติบโต ต่อเนื่อง และยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนและนำแนวคิดต่อยอดที่คำนึงถึง มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และมีการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพ โปร่งใส และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนต่อไป”

‘เมอร์ค’ ตั้งราคา ‘โมลนูพิราเวียร์’ สูงเกินจริงถึง 40 เท่า

บริษัทเมอร์ค แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทยารายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการเปิดตัวยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่จุดประกายความหวังในการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ได้คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปกว่า 4.8 ล้านราย

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า เมอร์ค ได้ตั้งราคา ยาโมลนูพิราเวียร์ ที่เรียกเก็บจากรัฐบาลสหรัฐฯ สูงกว่าต้นทุนการผลิตถึง 40 เท่า

รายงานวิเคราะห์ราคายาโมลนูพิราเวียร์ที่จัดทำโดย Harvard School of Public Health และ King’s College Hospital พบว่า เมอร์ค มีต้นทุนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์เพียง 17.74 ดอลลาร์ต่อ 1 คอร์ส หรือราว 600 บาท แต่ได้คิดราคาจากรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงคอร์สละ 700 ดอลลาร์ หรือราว 24,000 บาท ซึ่งสูงกว่าต้นทุนถึง 40 เท่า

ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงกับบริษัทเมอร์คเพื่อสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 1.7 ล้านคอร์ส ด้วยวงเงิน 1,200 ล้านดอลลาร์ โดยมีราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์

ยา 1 คอร์สประกอบด้วยยาโมลนูพิราเวียร์ขนาด 200 มิลลิกรัม จำนวน 40 เม็ดสำหรับผู้ป่วย 1 คน โดยผู้ป่วยจะรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 เม็ด เป็นเวลา 5 วัน

รายงานดังกล่าวระบุอีกว่า ในช่วงเริ่มแรก รัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานหลายแห่งในการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ เพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ต่อมาในเดือนพ.ค. 2563 เมอร์คได้ซื้อลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและจำหน่ายยาโมลนูพิราเวียร์แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เมอร์คเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ยาโมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา และสามารถลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด-19 ในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ถึง 50%

การประกาศดังกล่าวของเมอร์ค ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกแห่จองซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จากเมอร์ค ซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะสามารถผลิตได้ 10 ล้านคอร์สภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้เมอร์คมีรายได้จากการจำหน่ายยาดังกล่าวสูงถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.4 แสนล้านบาท

“เฉลิมชัย” เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร เปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565 – 2566 สั่งทุกหน่วยงานเดินหน้าเต็มสูบ!!

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (zoom meeting) จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0

โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ลดความเหนื่อยยากของการใช้แรงงานในภาคการเกษตร มีการนำเอาเครื่องมือจักรกลและเครื่องมือทันสมัย โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยในตลาดโลก

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะและเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร สามารถนำกรอบข้อเสนอโครงการที่จัดทำไว้ ภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับนี้ไปปรับใช้เป็นข้อเสนอโครงการในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ

นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร

โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุก ๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอภายใน 3 ปี เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวว่า ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ขึ้น มีองค์ประกอบอนุกรรมการ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech

2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ

3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce และ

4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด เข้ามาช่วยขับเคลื่อนดำเนินการมุ่งสู่เกษตร 4.0

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะปี 2565 - 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำโดยคณะอนุกรรมการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งมี ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ เป็นประธานประกอบด้วย 6 ยุทธสาสตร์ 18 แผนงาน 63 โครงการ จะเป็นคานงัดและเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญในการปฎิรูปภาคการเกษตรตามนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

 

ชิลีคาดยอดส่งออก ‘ต้นคีไย’ พุ่ง หลังเป็นองค์ประกอบสำคัญวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ แต่หวั่นทรัพยากรร่อยหรอในเวลาอันสั้น

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ชิลีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไม่น้อย มีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 1.6 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 37,000 ราย ในขณะเดียวกัน ชิลีก็เป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 อยู่ในระดับสูง โดยประชากรมากกว่า 70% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

เมื่อพูดถึงวัคซีนโควิด-19 ก็จำเป็นต้องพูดถึง ‘ต้นคีไย (Quillay)’ พืชพื้นเมืองของชิลีที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ซึ่งเป็นความหวังของใครหลาย ๆ คน

บางคนเรียกต้นคีไยว่า ‘ต้นเปลือกสบู่ (Soapbark Tree)’ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Quillaja Saponaria เป็นพันธุ์ไม้หายากในป่าดิบที่มีถิ่นกำเนิดในชิลี ซึ่งชาวมาปูเช (Mapuche) หรือชนพื้นเมืองในชิลีใช้ในการทำสบู่และยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้นคีไยถูกนำมาใช้เพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดและวัคซีนมาลาเรียตัวแรกของโลก ตลอดจนสารทำให้เกิดฟองสำหรับผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเหมืองแร่

โดยโมเลกุลซาโปนิน (Saponin) 2 ตัว ซึ่งสร้างจากเปลือกกิ่งต้นคีไยที่มีอายุได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทโนวาแวกซ์ โดยนำมาใช้ทำสารเสริมที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

สำหรับสารเสริมของวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ที่เรียกว่า Matrix-M จะประกอบด้วยโมเลกุลซาโปนินที่สำคัญ 2 โมเลกุล หนึ่งในนั้นเรียกว่า QS-21 ซึ่งจัดหาได้ยากเพราะส่วนใหญ่พบในต้นคีไยที่มีอายุอย่างน้อย 10 ปี

ในบรรดาบริษัทยารายใหญ่ มีเพียงโนวาแวกซ์ และ GSK ผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันมาลาเรียรายแรกของโลก เพียง 2 เจ้านี้เท่านั้นที่ใช้ QS-21 เป็นส่วนผสมในการพัฒนายาและวัคซีน

โดยในอีก 2 ปีข้างหน้า โนวาแวกซ์วางแผนที่จะผลิตวัคซีนจำนวนหลายพันล้านโดส ซึ่งจะทำให้เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนต้นคีไยที่เหลืออยู่ในชิลีที่จะนำไปใช้สำหรับทำวัคซีนโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมจึงไม่แน่ใจว่า ทรัพยากรต้นคีไยในชิลีจะหมดลงเมื่อไร แต่เกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ในบางอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาสารสกัดจากคีไยอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ต้นไม้อื่นแทน เพื่อสงวนคีไยไว้สำหรับการทำวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ

จากการวิเคราะห์ของรอยเตอร์เกี่ยวกับข้อมูลการส่งออกจากผู้ให้บริการข้อมูลการค้า ImportGenius แสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรต้นคีไยอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น เพราะเดิมทีการส่งออกคีไยก็เพิ่มขึ้นเป็น 3,600 ตันต่อปีในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดอยู่แล้ว หากต้องมีการส่งออกคีไยเพิ่มเติมสำหรับวัคซีนก็อาจไม่เพียงพอ

สวีเดน-เดนมาร์ก ระงับฉีดโมเดอร์นากลุ่มอายุน้อย หลังพบผลข้างเคียงกล้ามเนื้อ-เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สวีเดนและเดนมาร์ก ประกาศระงับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นาในกลุ่มคนอายุน้อย หลังได้รับรายงานผู้มีอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นผลข้างเคียงชนิดหายากหลังฉีดวัคซีนดังกล่าว

หน่วยงานด้านสุขภาพของสวีเดนระบุเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า จะระงับการฉีดวัคซีนของโมเดอร์นาในกลุ่มผู้ที่เกิดตั้งแต่ปี 2534 หรือมีอายุไม่เกิน 30 ปี เนื่องจากได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ว่า กลุ่มคนอายุน้อยและเยาวชนมีภาวะหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเพิ่มสูงขึ้นหลังฉีดวัคซีนดังกล่าว ทั้งยังระบุว่า ภาวะดังกล่าวเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีนของโมเดอร์นาอย่างชัดเจนหลังฉีดวัคซีนโดสที่สอง แต่ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยมาก

ประชาธิปัตย์ขาขึ้น!! ‘เกษม มาลัยศรี’ อดีต ส.ส.-ส.ว.ร้อยเอ็ด ซบปชป. ยก ‘จุรินทร์’ เหมาะเป็นนายกฯ ชี้เกษตรกรอีสานชอบนโยบายประกันรายได้เกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามญี รมช.มหาดไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตร นายปริญญาพานิชภักดิ์ 3 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มอบบัตรสมาชิกพรรคให้กับ นายเกษม มาลัยศรี อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคชาติพัฒนา และอดีตส.ว. ปี 2543 หลังสมัครเป็นสมาชิกพรรค และมีผลวันนี้โดยนายจุรินทร์ ได้สวมเสื้อแจ็คเก็ตตราสัญลักษณ์พรรคประชาธิปัตย์ ให้นายเกษม พร้อมกล่าวขอบคุณที่ให้เกียรติมาร่วมงานกับพรรค

ด้านนายเกษม กล่าวว่า เหตุผลที่ตัดสินใจมาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะนายจุรินทร์ หัวหน้าพรรค พูดจริง ทำจริง ทำมากกว่าพูด ช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน จึงอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประชาธิปัตย์มาแก้ไขปัญหาประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมาเกษตกรทั่วประเทศมีรายได้ จากนโยบายประกันรายได้ถ้วนหน้า

 

รมว.แรงงาน เตือนนายจ้าง ลูกจ้าง ดูแลความปลอดภัยช่วงฝนตกหนัก ตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า ย้ำขับขี่ปลอดภัยรมว.แรงงาน เตือนนายจ้าง ลูกจ้าง ดูแลความปลอดภัยช่วงฝนตกหนัก ตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า ย้ำขับขี่ปลอดภัย

รมว.แรงงาน ห่วงการเกิดอุบัติเหตุความไม่ปลอดภัยในการทำงานจากผลกระทบฝนตกหนัก เตือนนายจ้าง ลูกจ้าง ดูแลความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 5 – 11 ตุลาคม 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความห่วงใยต่อนายจ้าง ลูกจ้าง ในเรื่องความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการจากสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงสั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เข้าไปดูแลเรื่องความปลอดภัยของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ โดยให้จัดส่งพนักงานตรวจความปลอดภัยในการทำงานเข้าตรวจสถานประกอบกิจการ และทำความเข้าใจกับนายจ้าง ลูกจ้าง ได้ดูแลสถานประกอบกิจการให้มีความปลอดภัยในการทำงาน ร่วมกันตรวจสอบเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้ารั่วและดูด เป็นต้น สำหรับสถานประกอบกิจการ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบขอให้เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดเหตุความไม่ปลอดภัย เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลันดินโคลนถล่ม ทำให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทรุดตัวหรือพังทลาย โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโครงสร้าง อาคาร สถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย

'ศรีสุวรรณ' จ่อร้องนายกฯตั้ง กก.สอบปศุสัตว์-กรมศุลกากรไม่ปฏิบัติตามคำแนะกฤษฎีกา

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้า-ส่งออกทั้งใน-นอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของในเขตปลอดอากรหลายพื้นที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำสินค้าใดๆ เข้ามาในพื้นที่ปลอดอากรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งออกนั้น ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้พื้นที่ปลอดอากรเป็นฮับ (Hub) ของภูมิภาค ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล

แต่ปรากฏว่ากรมปศุสัตว์ได้ออกมาคัดค้านเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าสินค้าปศุสัตว์ทุกประเภทจะต้องขอรับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ตาม ม.31 แห่ง พรบ.โรคระบาดสัตว์ 2558 เสียก่อน จนกลายเป็นข้อขัดแย้งและเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อผู้ประกอบการอย่างมาก ที่จะต้องเพิ่มภาระ ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และเวลา ไปกับการตรวจลงตราของกรมปศุสัตว์ ซึ่งกรณีนี้กรมศุลกากรได้มีการหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วหลายครั้ง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ก.ย.64 ที่ผ่านมา คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แนะให้กรมปศุสัตว์และกรมศุลกากรให้แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทางบริหารโดยการหารือร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน อันจะนำไปสู่การใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่คำนึงถึงประโยชน์โดยรวมของประเทศ

โดยแนะนำให้พิจารณาผ่อนปรนกฎเกณฑ์ในทางบริหารเพื่อลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ตลอดจนกำหนดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เป็นภาระจนเกินสมควรแก่ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าปศุสัตว์เข้าไปในเขตปลอดอากรตาม ม.152 แห่ง พรบ.ศุลกากร 2560 และเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยไม่กระทบต่อการคุ้มครองสุขภาพและอนามัยของประชาชนจากความเสี่ยงของการเกิดและแพร่กระจายของโรคระบาดสัตว์ แต่ทว่าจนบัดนี้ การนำเข้าสินค้าปศุสัตว์เพื่อนำมาพักไว้ยังเขตปลอดอากรเพื่อผ่านแดนส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียนก็ยังคงเป็นปัญหาเหมือนเดิม ไม่มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อเพื่อประโยชน์ในการด้านการค้า การลงทุน และความสามารถในการแข่งขันของประเทศแต่อย่างใด

'สภากาชาดไทย' ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 

พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ ฯ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เข้ารับฟังรายงานสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีจากนายสุทัศน์ นันโท จ่าจังหวัดลพบุรี รักษาการนายอำเภอชัยบาดาล โดยมีนางวัชราภรณ์ รุ่งสาคร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยคณะกรรมการ ฯ และกิ่งกาชาดอำเภอชัยบาดาล ให้การต้อนรับและร่วมรับฟังการบรรยาย พร้อมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมรถผลิตน้ำดื่ม สภากาชาดไทย บริการผลิตน้ำดื่มสะอาด ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ใช้อุปโภค บริโภค พร้อมทั้งมอบชุดธารน้ำใจ ฯ แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 20 ราย  ณ ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น

สภากาชาดฯ โต้ปม ‘ค้ากำไรวัคซีนโมเดอร์นา’ ย้ำชัด!! จัดหาโปร่งใสให้ปชช.ไม่คิดมูลค่า

จากกรณี น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์ลงบนเฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul โจมตี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ สภากาชาดไทย มีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐ ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งก็คือภาษีประชาชน ในการดำเนินงาน (และบางส่วนมาจากเงินบริจาค) แสวงผลกำไรจากวัคซีนโมเดอร์นา

ล่าสุด เฟซบุ๊ก สภากาชาดไทย ได้ชี้แจงประเด็นที่มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 โดยอ้างอิงข้อความในเฟซบุ๊กของผู้ใช้นาม Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล เรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna โดยเผยแพร่เอกสารมีเนื้อหาระบุว่า

"ตามที่มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 โดยอ้างอิงข้อความในเฟซบุ๊กของผู้ใช้นาม Sarinee Achavanuntakul – สฤณี อาชวานันทกุล ซึ่งเขียนข้อความทำนองว่าสภากาชาดไทยใช้เงินของตัวเองจองโควตาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna ผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อนำมาขายต่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั่วประเทศนั้น

ข้อความและข่าวดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อการดำเนินงานของสภากาชาดไทย ดังนั้น สภากาชาดไทยจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

1.) สภากาชาดไทยเป็นองค์กรการกุศลที่มีรายได้เป็นเงินบริจาคจากพี่น้องประชาชน และได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสภากาชาดไทยไม่ได้เป็นหน่วยงานภาครัฐโดยตรง

2.) เดือนเมษายน 2564 ท่ามกลางสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่มีการระบาดรุนแรงมากขึ้น สภากาชาดไทยได้ริเริ่มจัดหาวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชน โดยได้ติดต่อกับหน่วยงานกาชาดในต่างประเทศ และบริษัทผู้จำหน่ายวัคซีนเพื่อจัดหาหรือขอซื้อวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชนตามภารกิจของสภากาชาดไทย

3.) ผลการประสานงานกับ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาในประเทศไทย ได้ตกลงจะขายวัคซีน จำนวน 1 ล้านโดส ให้แก่สภากาชาดไทย แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อผ่านหน่วยงานของรัฐ คือ องค์การเภสัชกรรม จึงจะขายให้ได้เพราะเป็นนโยบายของบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top