ก่อนหน้านี้ ที่นักร้องนักแต่งเพลงชื่อดัง ‘เวสป้า วงสเตอ’ หรือ ‘อิทธิพล เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา’ ออกมาไลฟ์เปิดเผยว่า ตอนนี้ตนถูกอดีตต้นสังกัดฟ้อง 12 ล้าน เหตุละเมิดลิขสิทธิ์เพลงที่ตัวเองแต่ง โดยเป็นเจ้าของผลงานเพลงดังอย่าง ร้อยเหตุผล, ไม่อาจเปลี่ยนใจ, ทุกวินาที, โลกทั้งใบให้นายคนเดียว, เจ็บแปลบ และอีกมากมาย
ล่าสุด วันนี้ (7 ก.ค. 66) เวสป้า พร้อมด้วยทีมทนาย ได้ตั้งโต๊ะแถลงปมถูกอดีตต้นสังกัดฟ้องร้อง ว่า "ผมเขียนเพลงให้กับทุกค่าย ประมาณ 500 เพลง ตั้งแต่อายุ 12 ไม่เคยเซ็นสัญญาที่เป็นขายขาดกับใคร
ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงาน จะมีกฎหมายสร้างสรรค์และคุ้มครองสิทธิ์ให้กับศิลปินตามมาตรา15 ศิลปินเพลงจะมีสิทธิ์อยู่ 50 สิทธิ์ที่ 1. คือมีสิทธิ์ทำซ้ำ ดัดแปลง สิทธิ์ที่ 2. คือ สิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณะชน สิทธิ์ที่ 3. คือให้เช่าต้นฉบับสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เราจะเห็นว่าหลัง ๆ บางค่ายซื้อเอ็มวีของบางค่ายไปเปิด พอหมดสัญญาก็จบกัน สิทธิ์ที่ 4. ก็คือลิขสิทธิ์ก็เป็นต่อของผู้อื่น สิทธิ์ที่ 5.ก็เป็นสิทธิ์อนุญาตตามข้อ 123
ผมจะให้ดูสัญญาเพลงที่แท้จริง ที่คนสงสัยว่าผมเซ็นอะไร กับทางบริษัท จริง ๆ ไม่ใช่บริษัทเดียว แต่ทุกบริษัทก็เป็นแบบนี้ สัญญายุคนั้นจะมีแค่หน้าเดียวเท่านั้น ดูว่าเอกสารนี้ทำขึ้นโดยบริษัทอาร์เอส กับผม อิทธิพล เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา มาดูที่ว่ามีเพลงอะไรบ้าง คือนี้ผมเซ็นสองเพลงคือ ด้วยไอรัก กับ ไม่อาจเปลี่ยนใจ ผมไม่เคยขายลิขสิทธิ์ขาดนะครับ ผมย้ำอีกครั้งนึง เรามาดูข้อที่สองก่อนนะครับผู้ขาย ตกลงขายลิขสิทธิ์เนื้อร้อง ดังกล่าวตามข้อหนึ่ง อัตราเพลงละ 5,000 บาท
ข้อที่สองคือการซื้อขายนี้ ผู้ซื้อมีสิทธิ์จะนำ เนื้อร้องทำนองดังกล่าวไปผลิตเป็นแผ่นเสียง และนำไปทำโสตทัศนวัสดุ ขึ้นมาจำหน่ายในนามของผู้ซื้อเอง และข้อ 4 คือนำสัญญาว่าจ้าง จะไม่นำสิทธิ์เนื้อลองนี้ไปขายใครอีก ถ้าผิดสัญญาผมก็ต้องเสีย 100,000 บาท
เห็นไหมว่าลิขสิทธิ์ที่ผมเปิดให้ดู 5 สิทธิ์บริษัทได้จากผมไปแค่ 2 สิทธิ์ดัดแปลง คือสิทธิ์ทำซ้ำดัดแปลง โสตทัศนวัสดุ เพื่อออกจำหน่ายเท่านั้นและมิหนำซ้ำนะครับ ยังมีข้อตกลงตอนท้ายอีกว่าหากผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื้อร้องตามสัญญานี้นำเพลงหนึ่งเพลงใดไปให้คนอื่นร้อง เพื่อไปบันทึกเสียงโสตทัศนวัสดุ จะยินยอมตอบแทนให้แก่อีกเป็นจำนวนครั้งละ 5,000 บาท แต่ผู้ขายมีหน้าที่มารับค่าตอบแทนด้วยตัวเอง นั่นหมายความว่าถ้าผมไม่ไปรับด้วยตัวเองก็จะไม่ได้ แล้วก็มีลายเซ็นถูกต้อง จะเห็นได้ว่าอีก 3 สิทธิ ยังอยู่กับผม
เราถูกละเมิดการจัดเก็บลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ผับบาร์ คาราโอเกะ ห้องอาหาร สตรีมมิ่ง ผมจะบอกว่าสตรีมมิ่งจะกันค่าลิขสิทธิ์เอาไว้ ที่บอกให้รู้ ผมเป็นกรรมการบริษัทเอ็มซีที ลิขสิทธิ์ดนตรีแห่งประเทศไทยมาหลายสมัยด้วยการเลือกตั้ง
ผมอยากโดนฟ้อง เพราะปกติค่ายเพลงจะฟ้องคนที่ร้อง แต่ผมเขียนเพลงด้วย ผมโดนฟ้อง เพราะผมฟ้องเขาก่อน เรารวมตัวกัน 30 กว่าคน เราพยายามยื่นเรื่องไปที่ต่าง ๆ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
โดน 12 ล้าน จากต้นสังกัด 3 คดี คืองานไหลที่ชลบุรี งานนั้นร้อง 10 กว่าเพลง ถ้าจำไม่ผิดโดนปรับเพลงละ 4 แสน ละมีไปร้องที่ปลาทูแช็ก เขาลงคลิปเต็มในยูทูบ อันนี้โดนไป 2 กรณี ร้องที่ร้านด้วย และไปเผยแพร่ และอีกคดีไม่แน่ใจ
สัญญาเพลงเหมือนกันแต่ละปี ไม่เคยเหมือนกันเลย ในยุคที่อยู่อาร์เอส ไม่มีสิทธิ์เผยแพร่ แต่ยุคที่อยู่อาร์สยาม มีระบุว่ามีสิทธิ์เผยแพร่ สัญญาในแต่ละปีค่ายเพลงก็จะปรับตัว จากหน้าเดียวก็จะเป็นสองหน้า สามหน้าเพื่อให้มีการรัดกุมมากขึ้น เพราะว่ามันก็จะมีการฟ้องกันของครูเพลงต่าง ๆ พอบางคดีแพ้เขาก็จะมีการปรับขึ้นมา เราไม่ได้คู่สัญญานะ หลาย ๆ ค่ายที่เราไปเซ็น ไม่ได้คู่สัญญาเลย เขาจะเก็บเป็นฝ่ายเดียว แต่บังเอิญว่าผมไปแอบถ่ายเอาไว้ ผมเลยมีสัญญา
ความคืบหน้าคดีที่เป็นของตัวเอง จะเป็นเดือนกันยายน ฟ้องเขา เรืองละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณะชน 18 เพลง คือทนายเราก็เก่ง ไม่ต้องฟ้องทั้งหมด เพราะงานผมมีกว่า 200 กว่างาน จะได้ขึ้นความกันง่ายหน่อย พยานต่าง ๆ ก็จะขึ้นกัน ก็จบเร็วหน่อย คือถ้าผมหลุดก็หมายความว่าพี่น้องเราหลุด เรียกค่าเสียหาย 18 เพลง 5 ล้านบาท นี่เป็นเหตุผลให้เขาฟ้องกลับ
ถามว่ามีไกล่เกลี่ยกันบ้างหรือยัง ตอนนี้ก็มีพี่ชายคนนึง เป็นคนกลางได้ติดต่อมาแล้ว แต่ยังไม่ได้คุยกันจริงจัง คำว่าเรียกร้องอยากได้ส่วนแบ่ง ไม่ใช่สักทีเดียว เพราะเป็นสิ่งที่เราควรได้ ค่ายเพลงละเมิดนักแต่งเพลง แต่เราไม่เคยรู้ จนมีคนที่เก่ง ๆ มาชี้ทาง เพราะเราไม่ได้เซ็นขายขาด เรารู้ว่าเราได้ด้วยกัน เราได้มาตลอดตั้งแต่เทปซีดี พอเป็นดิจิทัลทำไมเราไม่ได้
ถามว่าที่ฟ้องมีโอกาสชนะยังไง มันเป็นของผมแน่นอน รอให้ศาลตัดสิน ผมยินดีเจรจาพูดคุย แต่ให้พี่น้องผมทุกคนยอมรับได้ ผมไม่ขอเอาตัวรอดคนเดียว ผมอยากให้มีผู้ใหญ่รับรอง"
ด้านทนาย เผยว่า "ทีมกฎหมายมองว่าเขามีสิทธิ์มากกว่านั้น เวลาศาลท่านพิจารณาหรือพิพากษาคดี ไม่ได้มองที่หัวสัญญา ว่าสัญญานี้ขายสิทธิ์ขาด หรือเป็นแบบไหน ถ้าจะต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ คู่สัญญาว่ามีประสงค์อย่างไร ที่เราดูจากข้อเท็จจริง มันไม่ได้เป็นการขายสิทธิ์ขาด ไม่ได้เป็นการโอนสิทธิ์ไปทั้งหมด
จริง ๆ สิทธิ์เขามีมากกว่านั้น ส่วนประเด็นที่สองในฐานะนักกฎหมาย ลิขสิทธิ์เจตนาของเขาคุ้มครอง ศิลปิน สร้างสรรค์ แต่วันนี้ทุกท่านจะเห็นเลยว่า ศิลปิน กลับถูกเอากฎหมายที่คุ้มครองเขา มาทำร้ายตัวเขาเอง นักกฎหมายไม่ได้ต่างกับศิลปิน ศิลปินผมคุยกับพี่ครั้งแรก พี่เวสป้าบอกว่า เพลงมันเหมือนเป็นเหมือนลูกพี่ แต่วันนี้พี่ถูกลูกพี่มาทำร้ายเอง นักกฎหมายก็เช่นกันกฎหมายมีเจตนาคุ้มครอง ความยุติธรรมแต่วันนี้สิงหาโดนเราใช้กฎหมายไม่ได้มันเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้"