Friday, 26 April 2024
LITE

28 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นวัน ‘พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส’ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันนี้ เมื่อ 73 ปีก่อน เป็นวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศในขณะนั้น)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง กำหนดให้วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นวันประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อใกล้ถึงเวลาพระฤกษ์ เวลา 09.30 น. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ทรงนำหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ไปยังวังสระปทุม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ลงนามในสมุดทะเบียนสมรส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชสักขี 2 คน คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี, พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามด้วย เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชปิตุลา

เมื่อสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออก ณ ชั้น 2 ของพระตำหนักแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ฯ ทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตามโบราณราชประเพณี พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และบุคคลที่ได้รับเชิญมาร่วมในพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญ ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของที่ระลึกเป็นหีบบุหรี่เงินขนาดเล็ก ประดับอักษรพระนามาภิไธยย่อ ภ.อ. และ ส.ก

27 เมษายน พ.ศ. 2523 เครื่องบินแบบ 2 ใบพัด ตกที่ทุ่งรังสิต สุดสลด สิ้นพระเถระผู้ใหญ่ถึง 5 รูป

วันนี้ เมื่อ 43 ปีก่อน เครื่องบินของ บ.เดินอากาศไทย บินจาก จ.อุดรธานี มายังกรุงเทพฯ ตกที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สาเหตุเกิดจากการสูญเสียการควบคุมเนื่องจากพายุฝน ส่งผลให้สูญเสียพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ถึง 5 รูป 

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2523 เที่ยวบิน TG 231 อุดรธานี-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเครื่องบิน 2 ใบพัด รุ่น HS-748 รหัส HS-THB บินออกจากท่าอากาศยานอุดรธานี จะไปลงที่ท่าอากาศยานดอนเมือง แต่เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายมีลมกระโชกแรง เกินที่นักบินจะควบคุมเครื่องให้ลงจอดได้อย่างปลอดภัย สุดท้ายเครื่องบินลำดังกล่าวได้เสียการควบคุมและตกลงมากระแทกกับพื้นดินบนท้องนา ทุ่งรังสิต บริเวณหมู่ที่ 4 ต.คลอง 4 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทำให้ผู้โดยสารบนเครื่อง จำนวน 53 คน เสียชีวิต 40 คน 

ก่อนเครื่องจะตก ซึ่งเหลือระยะทางอีกเพียงประมาณ 20 กิโลเมตรเศษ จนเมื่อ เครื่องบินได้ตั้งลำ และลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนามบินดอนเมือง กลับต้องมาเจอ 'พายุหมุน' และประกอบกับฝนตกหนัก จึงเสียหลักตกลงที่ท้องนาทุ่งรังสิต ทั้งนี้ ผู้ที่รอดชีวิตเป็นผู้ที่นั่งทางส่วนหางของเครื่องบิน เพราะส่วนหางของเครื่องบินยังอยู่ในสภาพดี

'ทหารตัวการปฏิวัติ-ล้มราชบัลลังก์' วาทกรรมหลอกเด็ก ที่พวกมักใหญ่ใฝ่สูง อยากทำตัวเทียมเจ้าประดิษฐ์ขึ้นมา

ในห้วงเวลาแห่งการหาเสียงเลือกตั้ง ได้เกิดวาทกรรมเรียกแขกขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะบางพรรคที่มุ่งเน้นมาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยกล่าวอ้างว่าต้องเกิดการปฏิรูป รวมไปถึงกองทัพก็ต้องปฏิรูปและย้ำว่าพวกตนเป็นแค่ปัญญาชน เป็นนักการเมืองตัวเล็กๆ ไม่ได้มีอาวุธไปบังคับหรือปฏิวัติใครได้ ไม่เหมือนกองทัพ ไม่เหมือนทหารที่มีอาวุธสามารถล้มล้างการปกครองได้

ฉะนั้นการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์และปฏิรูปกองทัพคือ สิ่งสำคัญเพื่อจะได้ให้สถาบันได้อยู่คู่คนไทย และกองทัพจะได้ไม่มีโอกาสยึดอำนาจ...ฟังแล้วโคตรทัชใจเลย...ก่อนที่ผมจะสำรอกออกมาว่า...มึงจะบ้าเหรอ !!! คนละเรื่องกัน แต่มึงดันทะลึ่งเอามารวมกันได้ เอาอย่างงี้ผมจะขอนำเอาเรื่องของการปฏิวัติยึดอำนาจราชบัลลังก์ของประเทศต่างๆ มาสำแดงว่า จริงๆ แล้วคนที่ยึดอำนาจจากกษัตริย์ไม่ใช่ทหาร แต่เป็น 'นักการเมือง' ให้ทราบโดยทั่วกัน

เริ่มที่ 'ฝรั่งเศส' ประเทศที่มีคนชอบยกตัวอย่างการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ค.ศ. 1792 เป็นโมเดลที่นักการเมืองปากกล้าหางจุกตูดบางจำพวกชอบนักชอบหนา แต่เอาเข้าจริงนี่คือโศกนาฏกรรมการล้มล้างกษัตริย์ที่เกิดขึ้นโดยนักการเมืองที่อยากเข้าไปปกครอง 

จริงอยู่ที่ 'พระเจ้าหลุยส์ที่ 16' ดำเนินนโยบายของประเทศผิดพลาดในหลายข้อ ทั้งด้านการทหารที่เอาตัวเข้ายุ่มย่ามวุ่นวายเรื่องอาณานิคมในประเทศที่ 3 จนนำไปสู่ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แต่ก็ได้ผ่านการแก้ไขมาทั้งร่างนโยบายเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจการคลังของประเทศ คือ พระ ขุนนาง และสามัญชน ต้องเสียภาษีตามฐานะของตนเอง โดยนาย 'ตูร์โกต์' ก่อนจะถูกปัดให้ตกไป มาถึง 'เนคเกร์' ซึ่งได้สร้างนโยบายใหม่ขึ้นมา นั่นคือ 'การไม่ขึ้นภาษี' แต่ใช้การกู้เงินโดยให้ดอกเบี้ยสูงแทนก็ก่อหนี้จนไม่มีปัญญาใช้คืน 

มาถึง 'กาลอน' ได้ทำแผนปฏิรูปการคลังถวายแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งมีสาระสำคัญ 5 ประการ คือ 1. ตัดรายจ่ายรัฐบาล 2. ส่งเสริมมาตรการที่ก่อให้เกิดการค้าเสรี 3. จัดให้มีการขายที่ดินของวัดได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 4. ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงาน และ 5. เก็บภาษีที่ดินจากผู้มีกรรมสิทธิ์ไม่มีการยกเว้นบุคคล แต่สภาสูงก็ผ่านร่างนี้ ย้ำว่า 'สภา' นะครับ ก่อนที่ นาย 'กาลอน'จะปลิวไป และมีท่านอื่นๆ มาปฏิรูปเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่าไม่รอด 

เพราะหลักๆ มันคือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจผสมกับในช่วงปีนั้นเกิดการคลาดแคลนอาหาร ทำให้เกิดความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า พร้อมกันนั้นเองการประชุม 'สภาฐานันดร' ที่บรรดาฐานันดรพระและขุนนาง ไม่ยอมอะไรสักอย่างเพื่อบ้านเมือง แถมยังกล่าวโทษไปที่กษัตริย์ ซึ่งช่วงนี้ล่ะที่มีการปรับเปลี่ยนสภาพของสภาจากเดิมให้กลายเป็น 'สมัชชาแห่งชาติ' ที่มีจุดหมายมุ่งตรงไปสู่การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ส่วนนอกสภาก็มีการปลุกปั่นโดยสิ่งพิมพ์ การกล่าวโจมตีสถาบันกษัตริย์อย่างบิดเบือน บ้าคลั่ง จนในที่สุด 'พระเจ้าหลุยส์ที่ 16' ก็ถูกจับประหารด้วยกิโยตินแม้ว่าพระองค์จะยินยอมรับการปฏิรูปและรัฐธรรมนูญ 

ถึงตรงนี้อาจจะเหมือนจุดสุดยอดในใจของใครบางคน แต่เอาจริงหลังจากที่ประหาร 'พระเจ้าหลุยส์ที่ 16' แล้ว ฝรั่งเศสก็เข้าสู่ยุคแห่งความโกลาหล การนองเลือด และสงครามที่มาจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จนถูกขนานนามว่าเป็น 'ยุคแห่งความหวาดกลัว' โดยการกวาดล้าง 'ฌีรงแด็ง' ของกลุ่ม 'ลามงตาญ' ที่มีผู้นำอย่าง 'มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์' ซึ่งต่อมาขึ้นครองอำนาจเบ็ดเสร็จราวกับตนเองเป็นกษัตริย์ 

อย่างไรเสีย ภายหลังเขาก็ถูกขั้วการเมืองของเขาเล่นงานโดยจัดการด้วย 'กิโยติน' เช่นเดียวกัน สุดท้ายความวุ่นวายทางการเมืองทั้งหลายก็สิ้นสุดลงโดย 'นโปเลียน โบนาปาร์ต' ได้ก่อรัฐประหารและตั้งตนเองเป็นกงสุลเอกเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 1799 ก่อนที่เขาอยากจะเป็นจักรพรรดิแล้วก็ถูกล้ม ตามมาด้วยการล้มจักรพรรดิอีกหลายรอบ 

จะว่าไปแล้ว ประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสที่ล้มแล้วก็ล้างกันไปหลายครั้งหลายครา ก็ล้วนมาจากการกระทำของ 'นักการเมือง' ผมย้ำตรงนี้นะครับว่า 'นักการเมือง' เป็นคนล้มกษัตริย์ใน 'ฝรั่งเศส' ส่วนทหารจะเข้าไปล้มความวุ่นวายของ 'นักการเมือง'

อีกกรณีอย่างประเทศอังกฤษ ประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ที่ยาวนานมากๆ แต่คุณรู้ไหมว่าช่วง ค.ศ. 1642-1649 ได้เกิดความขัดแย้งรุนแรงระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ นำโดย พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กับฝ่ายรัฐสภา นำโดย 'โอลิเวอร์ ครอมเวลล์' ซึ่งฝ่ายรัฐสภาได้ยื่นข้อเสนอ 19 ข้อ ให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พระเจ้าชาร์ลส์เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการลดทอนพระราชอำนาจอย่างชัดเจน และมุ่งไปสู่การล้มล้างการปกครองของอังกฤษ 

ชนวนเหตุนี้ ก่อให้เกิดสงครามระหว่างพระองค์และรัฐสภาที่กินเวลานารถึง 7 ปี ก่อนที่พระองค์จะพ่ายแพ้และถูกตัดสินประหารชีวิต จากนั้นอังกฤษก็เริ่มเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐ โดยมี โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เป็นประมุขแห่งรัฐ 

แต่สุดท้ายภายใต้ระบอบใหม่อังกฤษ ก็เข้าสูยุคแห่งความยุ่งเหยิง เพราะ ครอมเวลล์ ทำตนไม่ต่างจากกษัตริย์ แถมเพิ่มเติมด้วยความเป็นเผด็จการแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ทำให้เขามีความขัดแย้งกับรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นประจำ ก่อนที่เขาจะนำเอาตัวเองสร้างความเบ็ดเสร็จด้วยการเป็นเผด็จการด้านการทหารซ้ำเข้าไปอีก ทำให้ชาวอังกฤษเริ่มเสื่อมศรัทธาลงทีละน้อย กลุ่มสภา กลุ่มทหารเริ่มเอาใจออกห่างเขาเรื่อยๆ จนกระทั่งเขาตายลงในปี ค.ศ.1658 

จากนั้น 'ริชาร์ด ครอมเวล' ลูกชายของเขาก็ขึ้นครองตำแหน่งแทน ซึ่งนี่แทบไม่ต่างจากระบบกษัตริย์เลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยความที่เจ้าตัวขาดบารมี จึงเกิดพันธมิตรระหว่างขั้วอำนาจหลายกลุ่มในรัฐสภา ทั้งฝ่ายที่เคยเป็นปฏิปักษ์ ฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ ฝ่ายแกนนำทางการเมือง และกองทัพ ได้จับมือกันเพื่อสถาปนาสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษให้กลับคืนมา ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่า English Restoration 

จากนั้นกองทัพภายใต้การนำของ 'จอร์จ มองค์' (George Monck) ได้ขับ 'ริชาร์ด ครอมเวล' ให้พ้นจากตำแหน่ง และกราบบังคมทูลเชิญพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่เสด็จไปลี้ภัยอยู่ที่ฝรั่งเศส ให้กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1660 โดยขอให้พระองค์ทรงยอมรับเงื่อนไขที่จะให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ทุกคนที่กระทำผิดในช่วงสงครามกลางเมือง โดยไม่ครอบคลุมการกระทำผิดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับสงคราม หรือก็คือไม่ได้นิรโทษกรรมแบบสุดซอย

สรุปในกรณีนี้ คือ คนโค่นล้มกษัตริย์ในอังกฤษก็คือ 'นักการเมือง' และคนที่ก่อความวุ่นวายโดยไม่มีเหตุอันควรก็คือ 'นักการเมือง'

รู้จัก 'โสภาพรรณ สุมาวงศ์ สาลีรัฐวิภาค' กุลสตรีแสนเพียบพร้อม ผู้เป็นมารดาของหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ

‘โสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค’ ลูกสาวคุณพระ-ดาวจุฬาฯ สตรีผู้ที่มีความดี และความงามเหนือกาลเวลา บุตรสาวของพระมนูเวทย์วิมลนาท หรือมนูเวทย์ สุมาวงศ์ อดีตประธานศาลฎีกา กับคุณหญิงมนูเวทย์ วิมลนาท หรือแฉล้ม สุมาวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน Convent of the Holy Infant Jesus เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย แล้วเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการยกย่องเป็นดาวจุฬาคนแรก เป็น ‘ดาวจุฬา’ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งวงดนตรีสุนทรพร ได้แต่งเพลงดาวจุฬาฯ และครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งเพลงขวัญใจจุฬาฯ ซึ่งมีชื่อของท่านปรากฏในนั้นทั้งสองเพลง เนื่องจากเป็นผู้ที่มีผิวพรรณ หน้าตางดงาม มีความเป็นกุลสตรีเพรียบพร้อมและเรียนเก่ง ทั้งยังเข้าร่วมกิจกรรมของคณะและมหาวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ

เพลงดาวจุฬาฯ มีเนื้อร้อง ดังนี้

“ภายในจุฬาฯ เขตจามจุรีรั้วสีชมพู เห็นนางคนหนึ่งงามหรู สวยเป็นดาราที่รู้ทั่วไป แม่เป็นขวัญตาแก่ชาวจุฬาฯ สมค่าพึงใจ จะมองแห่งใด ถูกตาถูกใจ ไม่มีแห่งไหนลวงตา ชวนนิยม โฉมที่คนงามข่มคำกวี เฉิดฉวี รัชนี มิเทียมเทวี แม่เป็นศรีจุฬาฯ รูปสอางค์ รูปอย่างนางฟ้าสรรค์สร้างให้มา เกิดเป็นดาวจุฬาฯ เด่นดาราเหล่าจุฬาฯ ต่างก็พากล่าวว่านางสวยเฉิดฉันท์ ‘โสภาผ่องพรรณ’ แม่งามกว่าจันทร์ เหมือนขวัญจุฬาฯ สวยจนดาวอื่นอิจฉา เย้ยดวงดาราหมดฟ้ารวมกัน แม่งามละมุน เกิดมาคู่บุญเนื้ออุ่นลาวัลย์ เหล่าชายผูกพัน จุฬาฯ ใฝ่ฝันเพียงยิ้มเท่านั้นลานใจ ดาวสังคมนั้นยังงามไม่ข่มดาวจุฬาฯ งามหนักหนา แม้นใครมาเห็นดาวจุฬาฯ ตื่นผวาอาลัย กล่าวให้ซึ้ง พร่ำรำพึงมิได้ครึ่งทรามวัย ดาวจุฬาฯ คือใครอยู่ที่ใดเลิศวิไล เด่นปานใด เหล่าจุฬาฯ รู้ข่าวนั้น”

เพลงขวัญใจจุฬาฯ มีเนื้อร้อง ดังนี้

“(สร้อย) ขวัญเอยขวัญใจจุฬาฯ โฉมเจ้า ‘โสภาผ่องพรรณ’ สวยเอยสมเป็นมิ่งขวัญ ล้ำลาวัณย์ขวัญจุฬาฯ น่ารักเอย จอมใจจุฬาฯ เป็นยอดยุพากว่าใคร ขอเพียงฝากใจน้อมให้สุดา จอมเอยจอมใจพิลาศพิไลหนักหนา ขวัญเอยแม่ขวัญตา งามคู่จุฬาฯ เสมอเอย(สร้อย) บุญเอยบุญใด ถึงได้ขวัญใจอย่างนี้ โสภาผ่องศรีฤดีติดตา เธอเป็นจอมใจเป็นมิ่งฤทัยจุฬาฯ ขอเพียงแต่แม่ยุพาเป็นคู่จุฬาฯ เสมอเอย(สร้อย) ความดีความงามจงอย่ารู้ทรามเสื่อมไป ขอจงสดใสมิได้คลาดคลา อาภรณ์อันใดประดับไว้ในจุฬาฯ มิเทียบเท่าเยาวภา เป็นมิ่งจุฬาฯ เสมอเอย (สร้อย)”

หลังจากการสำเร็จการศึกษาได้เข้า Bank of America ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้สมรสกับพลโทณรงค์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรองเลขาธิการรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเศรษฐการ และเจ้ากรมพลังงานทหาร มีบุตร-ธิดาด้วยกันรวม 5 คน

26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลศิริราช

วันนี้ เมื่อ 135 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานกำเนิด ‘โรงพยาบาลศิริราช’ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีอายุยาวนานที่สุด

ย้อนเวลากลับไป ในปี พ.ศ.2424 เกิดอหิวาตกโรคระบาดหนัก ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวในที่ชุมชนขึ้นรวม 48 ตำบล ภายหลังเมื่อโรคร้ายทุเลา จึงได้ทำการปิดโรงพยาบาลลง แต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า การมีโรงพยาบาลนั้น จะสร้างประโยชน์สุข ให้แก่พสกนิกรได้ในระยะยาว

ต่อมา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2429 พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรก ณ บริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ( วังหลัง) ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

โรงพยาบาลใช้เวลาก่อสร้างอยู่ราว 2 ปี กระทั่งในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีเปิดโรงพยาบาลแห่งแรกนี้ และพระราชทานนามว่า ‘โรงศิริราชพยาบาล’ หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ‘โรงพยาบาลวังหลัง’ หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ‘โรงพยาบาลศิริราช’

‘อ.ประมวล’ แนะวิธีคิด ‘หากแฟนไปมีคนใหม่’ ให้มองสิ่งดีๆ ที่มีร่วมกันและขอบคุณที่เข้ามาเป็นบทเรียน

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้งานติ๊กต็อกชื่อ ‘june.s14’ ได้โพสต์วิดีโอของอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ หรือที่รู้จักกันในนาม ปราชญ์ปักษ์ใต้ ที่ได้พูดถึงในหัวข้อ ‘เมื่อแฟนไปมีคนใหม่’ โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างจากเรื่องที่เคยพบเจอกับตัวเอง ว่า…

สมัยสอนปริญญาโท ก็มีลูกศิษย์ชายหญิงมาเรียนด้วยกัน อาจารย์จำได้ว่าทั้งสองเคยเรียนกับตัวเองสมัยปริญญาตรี ก็รู้กันดีว่าทั้งสองคนเป็นแฟนกัน พอเห็นมาเรียนป.โทด้วยกันอีก อาจารย์ก็แซวว่าสงสัยจะแต่งงานกันตอนเรียน ป.โทนี่แหละ 

หลังจากนั้นไม่นานเพื่อนก็พาลูกศิษย์ผู้หญิงมาหาอาจารย์ พร้อมกับเล่าว่า ลูกศิษย์ผู้ชายทิ้งไปมีผู้หญิงใหม่แล้ว เมื่ออาจารย์ฟังเสร็จก็ไม่รู้จะทำยังไงดี แต่รู้สึกเจ็บปวดนะ เพราะเขาเป็นลูกศิษย์ เห็นเขาร้องไห้ก็เศร้าไปด้วย จึงได้ตัดสินใจกอดปลอบลูกศิษย์ไป

หลังจากกอดปลอบไปแล้ว ลูกศิษย์ผู้หญิงก็เลิกร้องไห้ แล้วก็ขอตัวกลับไป หลังเหตุการณ์นั้นผ่านไป อาจารย์ก็ได้มีโอกาสเจอลูกศิษย์ผู้หญิงและพูดคุยกัน ลูกศิษย์ผู้หญิงขอบคุณอาจารย์ที่กอดปลอบในครั้งนั้น และขอคำแนะนำจากอาจารย์ประมวล

อาจารย์ประมวลจึงแนะนำไปว่า “อย่ารู้สึกโกรธเคืองแฟน แต่ให้รู้สึกขอบคุณที่เขานำเอาข่าวสารอันประเสริฐ นั่นก็คือ ความหมายของความรักอันงดงามมามอบให้ จงรับอันนี้ไว้ แม้เขาจะจากไป แต่ก็ขอให้มีจิตที่รู้สึกดีกับเขา หรือหากอำนวยอวยพรเป็นถ้อยคำวาจาได้ ก็จงอวยพรให้เขาประสบความสำเร็จในชีวิต ให้เขามีความสุขในการครองชีวิตคู่ ถ้าทำความดีใดใดแล้วอยากแบ่งปันให้ผู้อื่น ก็ให้นึกถึงเขาเป็นคนแรก”

หลังจากได้คำแนะนำของอาจารย์ไปแล้ว ลูกศิษย์ผู้หญิงก็รับปากจะปฏิบัติตาม

เวลาผ่านไปได้ปีกว่าๆ ลูกศิษย์ผู้ชายก็โทรมาหาอาจารย์และขอนัดอาจารย์รับประทานอาหาร เมื่อถึงวันนัดอาจารย์ก็ไปร้านที่ตกลงกันไว้ แต่เนื่องด้วยวันนั้นฝนตกหนัก จึงทำให้อาจารย์ได้เห็นว่า ลูกศิษย์ชายหญิงทั้งสองคนเดินมาด้วยกัน โดยลูกศิษย์ผู้ชายกางร่ม เดินโอบลูกศิษย์ผู้หญิงเข้ามา ภาพที่เห็นสื่อได้ถึงความรักใคร่ดูแลกันและกัน เห็นแล้วอิ่มอกอิ่มใจ

25 เมษายน พ.ศ. 2148 วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของไทย

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ ทรงพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2098 พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา คือ พระสุพรรณกัลยา และสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่พระองค์ทรงพระเยาว์ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก และทรงขอสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรมเพื่อเป็นตัวประกันที่หงสาวดี 

จนพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระองค์จึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2098 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ณ เมืองแครง ประกาศอิสรภาพของชาติไทยโดยไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป และทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์สุโขทัย

24 เมษายน ของทุกปี กำหนดเป็น 'วันเทศบาล' ระลึกถึงการกำเนิดการปกครองส่วนท้องถิ่น

กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้วันที่ 24 เมษายน ของทุกปีเป็น 'วันเทศบาล' เพื่อระลึกถึงความสำคัญของการก่อกำเนิดเทศบาล และเพื่อให้พนักงานเทศบาลตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการประชาชน

ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดเทศบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใหม่ โดยจัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในรูปแบบสุขาภิบาล ที่สุขาภิบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2441 และได้ขยายการตั้งสุขาภิบาลออกไปในท้องถิ่นต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ต่อมา ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 กำหนดให้เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น จึงได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2467 และเกิดรูปแบบของเทศบาลตั้งแต่นั้นมา

การเรียกชื่อของเทศบาลนั้นแตกต่างกันตามจำนวนประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้แก่

‘ลิซ่า BLACKPINK’ ศิลปินหญิงคนแรกของโลก มียอดวิวบนติ๊กต๊อกทะลุ 1 แสนล้านวิว!!

เมื่อวันที่ 22 เม.ย.66 ทวิตเตอร์ของ World Music Awards ได้ทวีตข้อความ ระบุว่า ‘ลิซ่า วงแบล็กพิงค์’ ได้กลายเป็นศิลปินหญิงคนแรกของโลก ที่มียอดวิวบนแอพพลิเคชั่นติ๊กต็อก ทะลุ 1 แสนล้านวิว จาก #LISA


ที่มา : https://www.matichon.co.th/entertainment/interstars/news_3939465
 

23 เมษายน พ.ศ. 2159 โลกสูญเสียยอดกวีเอก ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) เกิดเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้แน่ รู้แต่ว่าเขาได้รับศีลล้างบาปในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1564 ซึ่งตามธรรมเนียมในสมัยนั้นการรับศีลของทารกมักจะทำกัน 3 วันหลังการเกิด วันที่ 23 เมษายนจึงถูกถือเอาเป็นวันเกิดของเขา

เชกสเปียร์เติบโตขึ้นในเมืองสแตรทฟอร์ดริมฝั่งเอวอน (Stratford-upon-Avon) วอร์วิกไชร์ (Warwickshire) ประเทศอังกฤษ รายละเอียดของชีวประวัติของเชกสเปียร์มีบันทึกไม่มากนักเนื่องจากเขามิใช่ชนชั้นสูง เรื่องราวในชีวิตช่วงแรกๆ ของเขาจึงมีแต่เพียงเรื่องที่ถูกบันทึกในเอกสารของทางการ เช่น การรับศีล และการแต่งงาน

พ่อของเขาจอห์น เชกสเปียร์ (John Shakespeare) ทำการค้าหลายอย่างและดูเหมือนจะมีปัญหาทางการเงินเป็นระยะ ขณะที่แม่ของเขาแมรี อาร์เดน แห่งวิล์มโคต (Mary Arden, of Wilmcote) มาจากครอบครัวเก่าแก่และเป็นทายาทที่จะได้รับมรดกเป็นที่ดินบางส่วน ทำให้เชื่อกันว่าการแต่งงานของทั้งคู่เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อยกฐานะของจอห์น เชกสเปียร์

เชื่อกันว่าเชกสเปียร์น่าจะเข้าเรียนในโรงเรียนไวยากรณ์ (Grammar School เป็นโรงเรียนสอนภาษาละตินและวรรณกรรมคลาสสิกในยุคกลาง ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นโรงเรียนระดับมัธยมของอังกฤษ) ในสแตรทฟอร์ด แต่ไม่ได้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

เมื่ออายุได้ 18 ปี เขาแต่งงานกับแอนน์ แฮทธาเวย์ หญิงซึ่งแก่กว่าเขา 8 ปี และตั้งท้องอยู่แล้วก่อนแต่งงานกับเขา หลังแต่งงานได้ 6 เดือนทั้งคู่ได้ลูกสาวคนแรกชื่อว่า ซูซานนา (Susanna) ในปี 1585 ทั้งคู่ได้ลูกแฝด แฮมเน็ต (Hamnet) และจูดิธ (Judith) ก่อนที่แฮมเน็ตลูกชายคนเดียวของครอบครัวเชกสเปียร์จะเสียชีวิตในอีก 11 ปีถัดมา

เชกสเปียร์เริ่มมีชื่อถูกอ้างถึงในฐานะนักเขียนในปี 1592 เมื่อเขาถูกวิจารณ์โดย โรเบิร์ต กรีน (Robert Greene) ผู้เป็นนักเขียนบทละครเช่นเดียวกับเชกสเปียร์ เชื่อกันว่าในขณะนั้นเชกสเปียร์ น่าจะเขียนเรื่องเฮนรีที่ 6 (Henry VI) ไปแล้ว 3 ตอน ในปี 1593 วีนัสแอนด์อดอนิส (Venus and Adonis) เป็นบทกวีชิ้นแรกของเชกสเปียร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ ซึ่งเป็นงานที่ทำขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเฮนรี ไรโอเธสลีย์ ที่ 3 เอิร์ลแห่งเซาแธมป์ตัน (Henry Wriothesley, the 3rd earl of Southampton)

ในปี 1594 เชกสเปียร์ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะละครลอร์ดแชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain’s Men) ซึ่งภายหลังกลายเป็นคณะละครในพระบรมราชูปถัมภ์ (King’s Men) เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (James I) ขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นคณะละครที่เชกสเปียร์ร่วมงานด้วยจนกระทั่งเขาเกษียณอายุ

'พงศ์พรหม' มอง!! 'คนรุ่นก่อน' หวังดี แต่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ส่วนคนรุ่นใหม่ อยากเปลี่ยนแปลง อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย

(22 เม.ย.66) นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Pongprom Yamarat' ระบุว่า...

คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ Gen X ปลาย Y ต้น แทบทุกคนบ่นเหมือนกันว่า คนรุ่นเราแม่งเหนื่อย แต่สู้ เพราะอะไรไม่รู้ที่ทำให้ทัศนคติเราดี

อาจเพราะเราโตมาด้วยการขึ้นรถเมล์ แต่ก็มีมือถือใช้บ้าง โตด้วยการกินข้าวแกงข้างถนน แต่ก็รู้จัก Starbucks ที่เมืองนอก

มันทำให้เรานั่งรถบีเอ็มก็ได้ รถเมล์ก็ดี ทำให้เรารู้จักความพอเพียง แต่ก็ไม่ปฏิเสธการว่าก็อยากจะหาเงินพันล้าน เพราะเราก็ทะเยอทะยานพอที่จะบอกว่า เราก็ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จด้วย

สิ่งที่คนรุ่นเราเจอปัญหามาก คือคนรุ่นก่อนเรา แม้จะน่ารัก แต่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกใบใหม่น้อยมาก เราจึงมักเจอคำพูดดีๆ แต่ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดนอกกรอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เอาหละ!! งั้นคนรุ่นเราเปลี่ยนให้...

ตอนนี้เราโตจนเป็นผู้บริหารตามองค์กรละ ไม่ก็เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างละ 

เราเจอปัญหาเพิ่มเติมจากคนรุ่นใหม่ แทนที่เขาจะขยันกว่าเรา เพราะโอกาสเขามีมากกว่าเรา แต่กลายเป็นว่า...

'อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย'

ซึ่งวนกลับมาเรื่องเดิม ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แถมท้อเร็ว ท้อง่าย ขาด Global mindset ที่มีในเด็กเวียดนาม, สิงคโปร์, จีน, อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี

แต่กลับบ่นเก่งกว่า...
...ทำไมไทยไม่เจริญ
...ทำไมถนนเราไม่เรียบ
...ทำไมต้นไม้ไม่เยอะๆ แบบเมืองนอก
...ทำไมไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ เยอะๆ

ผมมักเปรียบเทียบให้คน Gen X ปลาย Y ต้นฟัง ว่าคนอายุก่อนเกษียณวันนี้ ลงล่างไปจนอายุ 30 ต้น กำลังแบกภาระใหญ่ให้ประเทศไทย

เรามีคนรุ่นก่อนเราจำนวนไม่น้อยที่หวังดีต่อประเทศ แต่ไม่เข้าใจถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (คนดีๆ เก่งๆ ก็เยอะ ตรงนี้ต้องขออภัย)

เรามีคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ประเทศดีอย่างเมืองนอก แต่ความอดทนไม่พอ เพราะไม่เข้าใจว่า “ไม่มีความสำเร็จใดบนโลกใบนี้ที่ได้มาโดยไม่ต้องเหนื่อย”

22 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน 'คุ้มครองโลก' (Earth Day) ร่วมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้ ทุกวันที่ 22 เมษายน เป็นวัน 'วันคุ้มครองโลก' เพื่อให้ผู้คนบนโลกตระหนักถึงการกระทำต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

22 เมษายน ของทุกปีเป็น 'วันคุ้มครองโลก' (Earth Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ United Nations Environment Program (UNEP) เพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงการกระทำต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้เป็นคนแรกคือ เกย์ลอร์ด เนลสัน สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา 

โดยในปี พ.ศ. 2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้เห็นด้วย จากนั้นได้ออกทัวร์ทั่วประเทศเป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม 'วันคุ้มครองโลก'

‘เจ้านิโคร’ หมาจรเดินตามพระธุดงค์ไทย จากอินเดีย เดินทางไกลเกือบพันกิโลเมตร ก่อนลาจากไม่หวนคืน

(21 เม.ย.66) จากกรณีโซเชียลให้ความสนใจเหตุการเสียชีวิตของสุนัขตัวหนึ่ง ที่ชื่อเจ้านิโคร วิ่งตามคณะพระธุดงค์ไทยที่ประเทศอินเดีย ไล่กลับยังไงก็ไม่ยอม จนทางพระสงฆ์ท่านมีความเมตตา ตัดสินใจรับเลี้ยงและนำกลับมาอยู่วัดที่ประเทศไทยด้วย 
.
ต่อมาเกิดเรื่องเศร้า เมื่อเจ้านิโครเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวริมถนน ที่จังหวัดมหาสารคาม เพราะแอบเดินตามหลวงตามาบิณฑบาต เกิดพลัดหลง เดินเร่ร่อนจากสุรินทร์ไปถึงมหาสารคาม
.
ล่าสุดเพจ วัดหนองบัว - เวือดตระเปียงโชค เปิดประวัติเจ้านิโคร ถึงเส้นทางพรหมลิขิตที่ทำให้มาเจอกับคณะพระธุดงค์ไทย ในระหว่างอยู่ที่อินเดีย ดังต่อไปนี้
.
ประวัติชีวิตนิโคร ... ตอนที่ ๑ เช้าวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นปกติที่พระธุดงค์ตื่นเช้า ตี ๓ เก็บเต็นท์และบริขาร
.
เตรียมออกเดินจากเขตเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นวัดที่พระเจ้าสุทโธทนะ ถวายพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสด็จนิวัติเมืองของพุทธบิดา ... และเป็นวัดที่บรรพชาสามเณรราหุลอีกด้วย ... นิโคร เริ่มตามเรามาตั้งแต่จุดนี้
.
นิโครธาราม - ลุมพินี (ประสูติ) - ชายแดนโสเนาลี-กุสินารา (ปรินิพพาน) - แม่น้ำอโนมาเสาอโศกคู่ -มหาสถูปเลารียา - เสาอโศกนันดานการ์ -เสาอโศกอเรราช - มหาสถูปเกสรียา – เมืองไวสาลี - สถานที่ปลงอายุสังขาร - เมืองปัตตนะ - วัดอโศการาม สังคายนาครั้งที่ 3 - วิกรมศิลา - นาลันทา - ราชคฤห์ - เขาคิชกูฏ - ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (คยา) (สถานที่ตรัสรู้)

รวมระยะทาง เดินตามพระธุดงค์ ประมาณ 985 กิโลเมตร ผ่านพุทธสถานมากมาย ขออนุโมทนาบุญกับ นิโคร.


ที่มา : https://www.naewna.com/likesara/725821

21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งที่ 4 ของสยาม

วันนี้ เมื่อ 241 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมมีพระราชพิธีฝังเสาพระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง 'พระราชวังหลวง' ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ โดยการก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อพุทธศักราช 2325

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา

ละรุนแรงต่อ 'สตรีเพศ' ให้สมเกียรติเยี่ยง 'สุภาพบุรุษ'  ทิ้งกมลสันดานชั่วในร่าง 'บุรุษ' เตือนตนว่าอย่าหาทำ

เมื่อส่วนแรกพระคัมภีร์ หรือส่วนปฐมกาลเขียนไว้ว่า...

"...พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้คล้ายพระองค์ ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง" ทำให้นักวิชาการผู้ศึกษาไบเบิลหลายคนตั้งคำถาม "หรือพระเจ้าเองมีทั้งความเป็นชายและหญิงอยู่ในตัว?"

หากพระเจ้าได้สร้างมนุษย์ผู้ชายคนแรกขึ้นจากดิน ซึ่งนั้นก็คือ 'อดัม' และต่อมาก็ได้ใช้กระดูกซี่โครงของอดัมสร้าง 'อีฟ' นั่นจึงหมายความว่าทั้ง 'บุรุษ' และ 'สตรี' เคยเป็นหนึ่งเนื้อนาบุญเดียวกันมาก่อนใช่หรือไม่?

เรื่องดังกล่าวสอดคล้องต้องกันกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่สังฆอริยเจ้า 'พระพรหมคุณาภรณ์' (ป.อ. ปยุตฺโต) เคยเทศนาไว้ "...ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า แต่ละคนเกิดเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้าง หมุนเวียนไป แล้วแต่กรรมของตน ในแง่นี้ทุกคนเป็นมนุษย์ จึงไม่มีอะไรต่างกัน เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายจึงมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ส่วนการที่เรามามองแยกเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชายนี้ เป็นการมองในช่วงเวลาสั้นๆ ระยะหนึ่งๆ หรือเฉพาะหน้า แต่ความจริงแต่ละคนก็มีทั้งความเป็นหญิงและความเป็นชาย ที่จะเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ"

เมื่อเป็นเช่นนั้นจริง ปัจจุบันใยบุรุษจึงตั้งตนเป็นใหญ่ในโลก!!

หลังผ่านพ้นยุคหิน โลกโบราณถูกปกครองโดยนักรบ (กษัตริย์) ตามกลไกธรรมชาติซึ่งผู้แข็งแรงกว่าย่อมมีอำนาจดูแล ปกป้อง ผู้ด้อยกว่า ซึ่งในที่นี้ก็คือ สตรี (และเด็ก) นั่นเอง จึงไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าบุรุษยุคโน้นข่มเหงสตรี เพียงแต่เพศมีความสำคัญต่างกัน ชายออกรบ ล่า แสวงหาอาหาร (ความมั่นคง) ส่วนหญิงก็ดำรงบทบาทระดับสังคมย่อยลงมา อาทิ ดูแลบ้านช่องและกิจการภายในยามผู้นำออกศึกทุกกรณี

คาดว่าค่านิยมดูแคลนสตรีเพศเริ่มต้นมาจากการบิดเบือนคำสอนตามพระคัมภีร์ต่างๆ หลายกรรมหลากวาระ หวังสร้างความวุ่นวายเพื่อแย่งชิงอำนาจ แม้ในพระไตรปิฎกก็มีเป็นต้น "...ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้ไม่น่ายินดี เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีเขตแดน มีแต่ความกำหนัด คึกคะนอง ไม่มีเลือก เหมือนกับไฟที่ไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง" ตรงข้ามกับความจริงจากพระพุทธโอษฐ์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top