กระทรวงเกษตรฯ ร่วมไฮไลท์เอเปค 2022 ชูนโยบายเกษตรสร้างสรรค์สู่เกษตรมูลค่าสูง เล็งตลาดสินค้าเกษตรคาแรคเตอร์11 ล้านล้านบาท ผนึกภาครัฐภาคเอกชนจัดงาน “ตลาดนัดสินค้าเกษตร X คาแรคเตอร์”18 - 20 พ.ย.นี้ ที่ตลาดน้ำ “อ.ต.ก.” หวังเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและชุมชนอย่างยั่งยืน
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการแถลงข่าวกิจกรรม“ตลาดนัดสินค้าเกษตร X คาแรคเตอร์” (Agriproducts X Character Market) เพื่อร่วมไฮไลท์งานการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ นายโฆษิต สุวินิจจิต ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรฯ นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)
ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นางดวงใจ คูห์ศรีวินิจ นายกสมาคม TCAP และผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
โดยนายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นโยบาย “ตลาดนำการผลิต”และนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0” ของดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมุ่งพัฒนาการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลกและยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบคาแรคเตอร์มาเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์และสถาบันเกษตรกรรวมทั้งการส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตรรุ่นใหม่
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยความร่วมมือของ กรมส่งเสริมการเกษตร องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สมาคม TCAP จึงร่วมมือกันจัดงาน“ตลาดนัดสินค้าเกษตร X คาแรคเตอร์” ( Agriproducts X Character Market ) ระหว่าง วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565 ณ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสินค้า เกษตรให้เป็นอัตลักษณ์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร เพิ่มโอกาสทางด้านการตลาดให้กับเกษตรกร และสินค้าเกษตร ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และเป็นการส่งเสริมและสร้างช่องทางในการนำคาแรคเตอร์ (character) ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พัฒนาเกษตรกร/ผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้เกิดการนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนเพื่อให้เกิดการใช้งานคาแรคเตอร์ (character) กับสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชนทั่วประเทศ
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไป ว่าจากข้อมูลของสมาคมลิขสิทธิ์นานาชาติหรือ LIMA ระบุว่า สำหรับปี 2021 จากภาพรวมของสินค้าและบริการที่นำเอาลิขสิทธิ์ของผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในโลก ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ มีมูลค่า 315.5 พันล้าน เหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นมาจากปี 2019 ที่มีมูลค่า 292.8 พันล้านเหรียญ คือ ภายในสองปีเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 7.75 แม้จะเป็นช่วงที่มีสถานการณ์ระบาดของโคโรนาไวรัสทั่วโลกก็ตาม
ข้อมูลดังกล่าวยังระบุอีกว่า มูลค่าของค่าลิขสิทธิ์ผลงานสร้างสรรค์ในช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีมูลค่าราว 17.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจาก 10 ประเภท ของผลงานสร้างสรรค์ที่ถูกจำแนกไว้นั้น ประเภทที่มูลค่าสูงสุดถึง 129.9 พันล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของทุกประเภท ก็คือ คาแรคเตอร์นี่เอง เพราะคาแรคเตอร์เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่นำเอาไปใช้ได้ง่าย และเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายวิธีที่สุด ทั้งในรูปแบบการผลิตเป็นของเล่น เป็นภาพหรือลวดลายกราฟิกส์ที่เกี่ยวข้องบนเสื้อผ้าแฟชั่น หรืออยู่บนข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ทั่วไปรอบตัวเรา ที่น่าสนใจ คือ ในประเทศไทยมูลค่าการใช้คาแรคเตอร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ราวร้อยละ 20 (ร้อยละ 62 ของมูลค่ารวมโดยประมาณ) ติดต่อกันมาอย่างต่อ เนื่องหลายปีมาก ซึ่งจะสังเกตจากภาพการใช้คาแรคเตอร์มาส่งเสริมการขายและการตลาดของภาคธุรกิจในประเทศไทยได้ไม่ยากเลยในหลากหลายประเภทสินค้าที่ อยู่ในร้านสะดวกซื้อ ตามกิจกรรมการตลาดที่ประชาสัมพันธ์ออกมาตามสื่อต่าง ๆ หรือในการนำไปผลิตเป็นสินค้า ตลอดจนใช้ในการประชาสัมพันธ์การบริการต่าง ๆ ซึ่งเกือบทั้งหมดก็จะเป็นคาแรคเตอร์ชั้นนำ ที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศที่เรา รู้จักกันดีโดยแทบจะไม่มีคาแรคเตอร์ไทยไปแชร์ส่วนแบ่งตรงนี้ได้
โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถาม เพื่อซื้อหรือขอใช้ลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ จะขยายผลความร่วมมือนี้ให้กระจายไปสู่พี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการ ทั่วประเทศต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร โดยการเชื่อมโยงสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของประเทศไทย ที่มีนวัตกรรมด้านการเกษตร ที่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer, Smart Farmer ที่มีศักยภาพสามารถประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ รวมถึงสนับสนุนการขยายผลการใช้งานไปทั่วประเทศและภูมิภาคอาเซียน พร้อมทั้งวางบทบาทให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่ สำคัญสำหรับสตาร์ทอัพด้านการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายสู่ระดับโลกต่อไปโดยภายในงานมีสตาร์ทอัพ 3 ราย ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การสร้างรูปแบบตลาดใหม่ให้กับชีวิตคนเมือง พร้อมสร้างคุณค่าใหม่ให้กับสินค้าเกษตรได้อย่างยั่งยืน ได้แก่
“ส่งสด”เป็นการรวบรวมสินค้าเกษตรคุณภาพดีจากตลาดสด ให้ได้ของสด ของดี มีคุณภาพครบส่งตรงถึงครัวคุณ ร้านอาหาร และทุกธุรกิจที่ต้องการสินค้าเกษตร เป็นการเพิ่มช่องการขายสินค้าเกษตรให้ถึงมือผู้ใช้งาน
“วาริชธ์ “ที่มีบริการด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีครบถ้วนทุกมาตรฐานการผลิต ในการสร้างช่องทางตลาดออนไลน์ จนถึงการส่งออกไปต่างประเทศ ดังนั้นสินค้าเกษตรที่จะล้นตลาด สามารถมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและมีตลาดให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน