Wednesday, 26 March 2025
NEWS FEED

สตูล กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 5 จังหวัดสตูล จัดโครงการ 'ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจช่วยภัยแล้ง' ประจำปี 2568

(6 มี.ค. 68) ที่บริเวณหน้ากองบังคับการ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 5 (ค่าย ร.5 พัน 2) ค่ายสมันตรัฐบุรินทร์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล พ.อ.สุภชัย อินทรเนตร รอง ผอ.รมน.จังหวัด ส.ต.(ท.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจช่วยภัยแล้ง” ประจำปี 2568 และปล่อยขบวนรถบรรทุกน้ำช่วยภัยแล้ง พร้อมถังบรรจุน้ำอุปโภค บริโภค เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง โดยมีนางสาววาสิฏฐี สาระพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูลพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสตูล การประปาส่วนภูมิภาค อำเภอเมืองสตูล รวมถึงกำลังพลและยุทโธปกรณ์เข้าร่วม

สำหรับโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจช่วยภัยแล้ง” กองทัพบกได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 26 ปี โดยได้ใช้กำลังพล และทรัพยากรที่มีอยู่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เสียสละ ทุ่มเท เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสตูล จะเห็นได้ว่าระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะเป็นช่วงหน้าร้อน ที่จังหวัดสตูลนั้นประสบกับปัญหาภัยแล้งอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะประชาชนที่พักอาศัยในถิ่นทุรกันดาร พี่น้องกลุ่มเกษตรกร มักจะมีปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค ดังนั้นการขับเคลื่อนตามนโยบายของโครงการ“ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจช่วยภัยแล้ง” ในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการบําบัดทุกข์ บํารุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง

หนีไม่รอด!! หนุ่มเมียนมาค้ายา มุดกลับมาหวังหางานทำ หนีไม่พ้นระบบ Biometrics

(6 มี.ค.68) เวลา 13.00 น. ที่ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาคร  ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.อ.ปกฉัตร ชัยสุกวัฒน์ ผกก.ตม.จว.สมุทรสาคร, พ.ต.ท.เศรษฐพงศ์ ชูเมือง รอง ผกก.ตม.จว.สมุทรสาคร ,พ.ต.ท.ปิยะพงษ์ องอาจ รอง ผกก.ตม.จว.สมุทรสาคร ,พ.ต.ต.จิรายุ เชิดฉาย สว.ตม.จว.สมุทรสาคร พร้อมด้วยเจ้าหน้าฝ่ายสืบสวน ตม.จว.สมุทรสาคร 

พ.ต.อ.ปกฉัตร กล่าวว่าในห้วงหลังจากการมีผ่อนผันให้กลุ่มแรงงานต่างด้าว ตามมติ ครม. ให้ขึ้นทะเบียนบุคคลต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฏหมาย  จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ ตม.จว.สมุทรสาคร เพิ่มความเข้มงวดในการสอบตรวจสอบเอกสาร ต่อมาได้มี MR.MAUNG MAUNG หรือ นายเมา เมา อายุ 33 ปี สัญชาติเมียนมา ได้มาติดต่อขอรับการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลเจ้าหน้าที่ ตม.จว.สมุทรสาคร ได้ตรวจสอบพบประวัติเคยถูกจับกุมดำเนินคดี ในข้อหา จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) โดยการมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยกระทำเพื่อการค้า ศาลจังหวัดสมุทรสาคร พิพากษาจำคุก 2 ปี  สตม.ได้มีคำสั่งเพิกถอนการอยู่ในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 26 พ.ย.67 และ ลงประวัติเป็นบุคคลต้องห้าม (Blacklist) ห้ามเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และไม่อยู่ในเงื่อนไขการผ่อนผัน ตาม มติ ครม. จึงได้ทำการจับกุม ในข้อหาเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่ง พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย  

ผกก.ตม.จว.สมุทรสาคร กล่าวต่อว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ ผบช.สตม. และ พล.ต.ต.ชัยฤทธิ์ อนุฤทธิ์ ผบก.ตม.3 ได้มีมาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบเอกสารของคนต่างด้าวในการขอรับการจัดเก็บอัตลักษณ์ เพื่อขึ้นทะเบียนใหม่ และขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกลวงว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนบุคคลต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ผ่านการตรวจสอบประวัติ หากประชาชนพบเห็นหรือมีเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิด สามารถแจ้งข้อมูลมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
📍 ที่อยู่: อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ เลขที่ 904 หมู่ที่ 6 ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
📞 โทรศัพท์: ติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่
🌐 เว็บไซต์: www.immigration.go.th

เพชรบูรณ์ 'มณฑลทหารบกที่ 36' นำทัพสู้ภัยแล้ง ปล่อยขบวนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ขาดแคลน 

กองทัพบกโดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ 36 (มทบ.36) จับมือหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ประจำปี 2568 รับมือวิกฤติภัยแล้งที่เกิดขึ้นเร็วและรุนแรงกว่าทุกปี พร้อมปล่อยขบวนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

พิธีเปิดโครงการจัดขึ้นที่สนามหน้าแหล่งสมาคมนายทหารค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ โดยมี พลตรี ฐาวิรัตน์ ยังน้อย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 / ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มทบ.36 เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พ.อ.เกียรติอุดม นาดี รองเสนาธิการ พล.ม.1 นายวีรวัฒน์ วัฒนวงศ์พฤกษ์ ที่ปรึกษานายก อบจ.เพชรบูรณ์ ผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานทหาร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วม

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนหลักหลายแห่งต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้หลายพื้นที่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะเขตห่างไกลจากระบบชลประทาน เผชิญกับปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตรและการดำรงชีวิต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มทบ.36 ร่วมกับ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพลทหารม้าที่ 1 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 16 ส่วนราชการในจังหวัดเพชรบูรณ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งดำเนินโครงการนี้ โดยจัดเตรียมกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และขบวนรถบรรทุกน้ำ เพื่อแจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภคไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ได้แก่ ตำบลบ้านโตก ตำบลชอนไพร และตำบลป่าเลา ซึ่งเคยประสบภัยแล้งรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งน้ำที่นำไปแจกจ่ายจะถูกกระจายไปยัง แทงค์เก็บน้ำประจำหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้อย่างทั่วถึง

พลตรี ฐาวิรัตน์ ยังน้อย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36  เน้นย้ำว่า กองทัพบกและกองทัพภาคที่ 3 ให้ความสำคัญกับการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในจังหวัดเพชรบูรณ์“ภารกิจนี้ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกองทัพบก เราจะไม่ปล่อยให้ประชาชนต้องเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งเพียงลำพัง ขอให้กำลังพลทุกนายภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประชาชนที่กำลังเดือดร้อน และขอให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท เพื่อบรรเทาความทุกข์ของพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด” พลตรี ฐาวิรัตน์ กล่าว ทั้งนี้ โครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” จะดำเนินการต่อเนื่องตลอดฤดูแล้งนี้ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและทันท่วงที

สตูล ศรชล.จัดกิจกรรม 'มวลชนสัมพันธ์' ประจำปี 2568 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี

เมื่อวันที่ (5 มี.ค. 68) ที่เพ็ญทิพย์รีสอร์ท ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นาวาเอกแสนย์ไท บัวเนียม รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “มวลชนสัมพันธ์” ประจำปี 2568 โดยมีนาวาเอกรัฐพล แก้วกระจาย หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล ศรชล.ภาค 3 พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จัดโดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล ร่วมกับ ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ของหน่วย ได้มีโอกาสพบปะกับมวลชน สร้างความสัมพันธ์อันดี ความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของหน่วย อันจะนำไปสู่การได้รับข่าวสารและการนำเสนอข่าวสารที่สร้างสรรค์อันเป็นประโยชน์ต่อหน่วย

‘ดร.อานนท์’ เล่าชะตากรรมเหยื่อถูกปั่นให้ล้มเจ้า 4 กลุ่ม สุดท้ายเดียวดายหน้าบัลลังก์ ทั้งติดคุก - หนีคดี - ก้มกราบสารภาพ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich ว่า ชีวิตของเยาวชนและคนล้มเจ้า 4 กลุ่ม

ผมเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญคดีมาตรา 112 นับร้อยคดี ไปศาลมาเยอะมาก จึงได้เห็นว่าในวันที่มีคนจ่ายเงิน มีคนยุยง มีคนเชียร์ น้อง ๆ เหล่านี้ฮึกเหิมและกร่างมากแค่ไหน ขนาดไปกร่างกันหน้าศาล ไปกร่างกันหน้าบัลลังก์ ขว้างขวดน้ำใส่บัลลังก์ศาล ผมก็ได้แต่ถอนใจในอหังการ มมังการของน้อง ๆ 

แล้วผมก็ได้เห็นวันที่น้อง ๆ เหล่านี้เดียวดายหน้าบัลลังก์ หมดฤทธิ์ หมดเดช เหี่ยว หดหู่ สลดใจ ไร้ทางสู้ วันนี้ ผมได้เห็นน้อง ๆ เหล่านี้ออกเป็นสี่กลุ่ม 

กลุ่มที่หนึ่ง ติดคุกไปแล้ว มีอานนท์ นำภา เป็นต้น วันก่อนน้อง ๆ 12 คน รวม 16 คดี ถูกพิพากษาจำคุกไปแล้ว เข้าคุกไปแล้ว ไม่รอลงอาญา ขอประกันตัว เพราะคดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา ที่จำคุกไปแล้วเพราะทำผิดซ้ำซากนั่นแหละครับ ศาลยกคำร้องทั้งหมด 16 คดี 12 คน ก็นอนในคุกกันต่อไป น้องพวกนี้คือหนีคดีไม่ทัน

กลุ่มที่สอง หนีคดี ไปเป็นสัมภเวสีต่างแดน มีเพนกวิ้น ฟอร์ด ไมค์ รุ้ง เป็นต้น ไม่แน่ใจว่าใครจ่ายเงินให้ไปใช้ชีวิตในต่างแดน จะมีอนาคตต่อไปอย่างไร แล้วคนจ่ายเงินให้ใช้จ่ายให้เท่าไหร่ และจะจ่ายไปอีกนานแค่ไหน หรือน้อง ๆ มีเงินพอจะใช้ชีวิตสบาย ๆ ในเมืองนอกไปจนตายแล้วก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ ๆ กลับมาเหยียบแผ่นดินไทยยากครับ 

กลุ่มที่สาม สารภาพ รอติดคุก ทุกวันนี้ผมไปศาลลดลงครับ น้อง ๆ ไปหมอบสารภาพกลางศาลกันแทบทั้งหมด จนผมไม่ได้ต้องไปเป็นพยานที่ศาลอีกแล้ว สาเหตุที่น้อง ๆ หมอบกันมาก เนื่องจากให้ความร่วมมือสารภาพยังได้ลดโทษลงไปกึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย เมื่อวานก็มีอยู่คดี ของกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ อัยการโทรมาแจ้งว่าผมไม่ต้องไป ในเวลานี้กลุ่มนี้น่าจะกลุ่มใหญ่ที่สุด

กลุ่มที่สี่ ยังไม่ถูกดำเนินดดี กลุ่มนี้เกาะ ๆ คนอื่นไป ไม่ได้ลุกออกมานำจริง หรือไม่กล้าพอที่จะออกมาเอง ได้แต่ร่วมขบวนการ เป็นลูกขุนพลอยพยัก บางคนก็กลับใจได้ทัน ก็มีอยู่ แต่ไม่มากครับ

ชีวิตน้อง ๆ ทะลุวัง ทะลุแก๊ส ทะลุฟ้า รีเด็ม โมกหลวงริมน้ำ และกลุ่มล้มเจ้าอื่น ๆ ในเวลานี้เป็นเช่นนี้

ส่วนไอ้คนยุเด็ก กำลังแฮปปี้ที่ลูกชายติดทีมชาติใช่หรือไม่

ท่านสัญจัย จันทร์ผ่อง อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญาเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ คนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2568

สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม มอบโล่ประกาศกิตติคุณ ยกย่องเป็นคนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2567

(5 มี.ค.68) สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม ร่วมกับ มูลนิธิทำความดีเพื่อความดี และสมาคมภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล พร้อมด้วย 10 องค์กรสื่อ จัดงานมอบโล่ประกาศกิตติคุณ ภายใต้โครงการ "คนดีของแผ่นดิน" ประจำปี 2567 ให้กับบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ทำความดีในด้านต่างๆ โดยมี พล.อ.กิตติ รัตนฉายา และพล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศกิตติคุณ “คนดีของแผ่นดิน" ประจำปี 2567 พร้อมกล่าวให้โอวาท และแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับโล่กิตติคุณในครั้งนี้โดยมีท่านสัญจัย จันทร์ผ่อง อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ดร.นพดล เพิ่มพิทยา ทนายความ ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ คนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2568 ครั้งนี้ด้วย

นายอภิรัฐ กุนกันไชย นายกสมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม กล่าวว่า สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชนในการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางเผยแพร่ของทางสมาคมอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2567

โครงการ "คนดีของแผ่นดิน" ประจำปี 25667 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ บุคคล หรือองค์กร ซึ่งทำความดี ด้านต่างๆ ในช่วงปี 2567 เพื่อให้ ประชาชนและสังคม ได้รับรู้ ถึงบุคคล หรือองค์กร ซึ่งทำความดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมอบโล่ประกาศกิตติคุณ และการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารเพื่อ กระตุ้นบุคคลหรือองค์กร ให้ทำความดี และเป็นคนดีของแผ่นดิน อย่างภาคภูมิใจ และ เพื่อทำตามมติ คณะกรรมการสมาคม และ วัตถุประสงค์ ของ สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม

สำหรับบุคคลและองค์กร ที่ควรแก่การยกย่อง ให้เป็น "คนดีของแผ่นดิน" โดยมีคุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่ 
1. เป็นผู้มีความคิด และการกระทำที่สร้างสรรค์ 
2. เป็นผู้มีธรรมาภิบาล
3. เป็นผู้ทำความดีเพื่อความดีอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ประจักษ์

ซึ่งในครั้งนี้ สามารถสรรหา บุคคลหรือองค์กร ควรแก่การยกย่อง เป็นคนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2567 ได้ จำนวน 99 ท่าน

สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม โล่ประกาศกิตติคุณ คนดีของแผ่นดิน 

สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม มอบโล่ประกาศกิตติคุณ 99 ท่าน ยกย่องเป็นคนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2567

(5 มี.ค.68) สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม ร่วมกับ มูลนิธิทำความดีเพื่อความดี และสมาคมภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล พร้อมด้วย 10 องค์กรสื่อ จัดงานมอบโล่ประกาศกิตติคุณ ภายใต้โครงการ 'คนดีของแผ่นดิน' ประจำปี 2567 ให้กับบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ทำความดีในด้านต่างๆ โดยมี พล.อ.กิตติ รัตนฉายา และพล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศกิตติคุณ 'คนดีของแผ่นดิน' ประจำปี 2567 พร้อมกล่าวให้โอวาท และแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับโล่กิตติคุณในครั้งนี้

นายอภิรัฐ กุนกันไชย นายกสมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม กล่าวว่า สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชนในการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางเผยแพร่ของทางสมาคมอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2567

โครงการ 'คนดีของแผ่นดิน' ประจำปี 25667 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ บุคคล หรือองค์กร ซึ่งทำความดี ด้านต่างๆ ในช่วงปี 2567 เพื่อให้ ประชาชนและสังคม ได้รับรู้ ถึงบุคคล หรือองค์กร ซึ่งทำความดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมอบโล่ประกาศกิตติคุณ และการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารเพื่อ กระตุ้นบุคคลหรือองค์กร ให้ทำความดี และเป็นคนดีของแผ่นดิน อย่างภาคภูมิใจ และ เพื่อทำตามมติ คณะกรรมการสมาคม และ วัตถุประสงค์ ของ สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม

สำหรับบุคคลและองค์กร ที่ควรแก่การยกย่อง ให้เป็น 'คนดีของแผ่นดิน' โดยมีคุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่ 
1. เป็นผู้มีความคิด และการกระทำที่สร้างสรรค์ 
2. เป็นผู้มีธรรมาภิบาล
3. เป็นผู้ทำความดีเพื่อความดีอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ประจักษ์

ซึ่งในครั้งนี้ สามารถสรรหา บุคคลหรือองค์กร ควรแก่การยกย่อง เป็นคนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2567 ได้ จำนวน 99 ท่าน โดยมี  ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ท่านสัญจัย จันทร์ผ่อง อธิบดีอัยการคดีอาญา ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ สว. ชัชวาลล์ คงอุดม ทิน โชคกมลกิจ เปรมสุดา สันติวัฒนา ศิริ สาระผล ณพล บริบูรณ์ นภชนก เหมือนนามอญ ที่ปรึกษาสุทิสา สุโข คุณแม่ อำไพร สงค์สุข คุณพ่อ นิมิต สงค์สุข คุณนริศรา สงค์สุข นางสาวปิยนุช พาณิชย์พิศาล เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ คนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2568 ครั้งนี้ด้วย

สวนนงนุชพัทยา ทุ่มงบประมาณจัดกิจกรรมประกวดถ่ายภาพมากกว่า 1ล้านบาท เป็นปีที่3

(6 มี.ค.68) สวนนงนุชพัทยา โดยนายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา นายสุวิชา เปรมใจชื่น ประธานกรรมการบริหารบริษัท โฟโต้ ไฟล์ จำกัด นายจตุรงษ ภัทรโพธิแก้ว นายกสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ และนายวรรณพงษ์ สุรโรจน์ประจักษ์ National and lnternational Photo Competition Judge & Multi Award-Winning Photographer ร่วมกันแถลงข่าวการจัดกิจกรรมการประกวดภาพถ่ายสวนสวยครั้งที่ 3ในหัวข้อ“Wonderful Nongnooch Garden มหัศจรรย์ทั้งปี..ที่สวนนงนุชพัทยา 1ใน10 สวนสวยที่สุดในโลก”ร่วมประกวดชิงเงินรางวัลเกือบ1 ล้านบาท

นายกัมพล กล่าวว่าการจัดกิจกรรมในปีที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจาก ช่างภาพมืออาชีพ มือสมัครเล่น นักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งทางสวนนงนุชพัทยามีการพัฒนาและสร้างสิ่งใหม่ๆทำให้มีสวนสวยมากกว่า 60 สวน จึงเป็นโอกาสของผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพได้มาโชว์เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อชิงรางวัลกับทางสวนนงนุชพัทยาสวนสวยที่ได้รับการยกย่องจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก

โดยได้แบ่งหัวข้อในการประกวดออกเป็น 4หัวข้อดังนี้
 1. ภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพทั่วไปรวมถึงอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือและมีรางวัลพิเศษสำหรับภาพถ่ายเซลฟี่ตัวเองในปีนี้
 2. ภาพถ่ายทางอากาศด้วยอุปกรณ์โดรน(Drone)
 3. ภาพสร้างสรรค์จากปัญญาประดิษฐ์ Nongnooch’s AI-Based Imageให้มีการใช้ภาพถ่ายจริงที่เกิดขึ้นที่สวนนงนุชพัทยา ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี AI ที่สามารถป้อนคำสั่งทั้งจาก Keywords ต่างๆ ระยะเวลาประกวดระหว่างวันที่ 13 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม 2568 ผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดดูรายละเอียดและวิธีสมัครได้ที่ https://www.nongnoochpattaya.com/th

ONE ประกาศแบน ‘เคียมรัน-เฟอร์รารี’ หลังพบใช้สารกระตุ้น พร้อมเปลี่ยนการตัดสินที่ทั้งคู่เคยดวลกันเป็น ‘ไม่มีผลการแข่งขัน’

ONE ประกาศแบน เคียมรัน นาบาติ นักสู้ชาวรัสเซีย และ เฟอร์รารี แฟร์เท็กซ์ นักชกชาวไทย จากการแข่งขัน หลังทั้งคู่ถูกตรวจพบสารต้องห้ามเป็นบวก พร้อมเปลี่ยนการตัดสินในไฟต์ที่ ‘เคียมรัน’ ชนะ ‘เฟอร์รารี’ เป็น “ไม่มีผลการแข่งขัน”

เคียมรัน และ เฟอร์รารี โคจรมาปะทะกันในฐานะคู่เอกภาคอินเตอร์ ของศึก ONE ลุมพินี 95 เมื่อ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งไฟต์ดังกล่าวในวันนั้นเป็น ‘เคียมรัน’ ปิดเกมชนะน็อก ‘เฟอร์รารี’ จนหลับกลางอากาศ ตั้งแต่ยกแรก ส่งผลให้เพิ่มสถิติไร้พ่ายไฟต์ที่ 23 ให้กับตัวเอง

ล่าสุดหลังผ่านพ้นการแข่งขันไปได้ไม่ถึง 2 เดือน เจ้าหน้าที่จากองค์กรตรวจสารกระตุ้นระหว่างประเทศ (International Doping Tests & Management: IDTM) ระบุว่า จากการเก็บตัวอย่างของทั้งคู่ในช่วงการแข่งขันเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา 

โดยมีการตรวจพบสารต้องห้ามเป็นบวกตามอ้างอิงจากองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency: WADA) ซึ่งถือว่าผิดกฎระเบียบสากล โดยทางด้าน เคียมรัน มีผลตรวจสารต้องห้ามเป็นบวก 3 ชนิด ขณะที่ เฟอร์รารี ตรวจพบสารต้องห้ามเป็นบวก 2 ชนิด 

นำมาสู่การที่ ONE องค์กรศิลปะการต่อสู้ระดับโลก จึงประกาศลงโทษแบน ‘เคียมรัน’ จากการแข่งขันเป็นเวลา 1 ปี และลงโทษแบน ‘เฟอร์รารี’ 3 เดือน พร้อมเปลี่ยนการตัดสินในไฟต์ที่ทั้งคู่เคยดวลกันเป็น “ไม่มีผลการแข่งขัน”

สำหรับองค์กรตรวจสารกระตุ้นระหว่างประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวีเดน โดยในเดือน ก.ย.61 ได้ควบรวมกิจการกับองค์กรกีฬาปลอดสารต้องห้ามนานาชาติ (Drug Free Sport International: DFSI) เพื่อร่วมมือกันดำเนินงานต่อด้านการใช้สารต้องห้ามในวงการกีฬา ซึ่งปัจจุบันได้ทำงานร่วมกับองค์กรกีฬาชั้นนำมากกว่า 300 แห่งทั่วโลก อาทิ NFL, MLB, NBA, NASCAR, PGA Tour, LPGA และ NCAA

ในการแข่งขันของ ONE นอกจากจะมีการตรวจสอบด้านสุขภาพเพื่อความปลอดภัยของนักกีฬาทุกคนแล้ว ยังมีการตรวจหาสารต้องห้ามสำหรับนักกีฬาตามกฎระเบียบและมาตรฐานสากลเพื่อให้แน่ใจว่าการแข่งขันจะเป็นไปด้วยปลอดภัย ความเท่าเทียม และความยุติธรรมระดับสูงสุด

แฟนกีฬาการต่อสู้สามารถติดตามข่าวสารอัปเดตของ ONE ได้ที่เฟซบุ๊ก ONE Championship Thailand เว็บไซต์ ONEFC.com อินสตาแกรม ONEChampTh และ TikTok ONEChampTH

เชียงใหม่-รมช.เกษตรฯเปิด 'งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 5'

 

เมื่อวานนี้ (5 มี.ค.68) ณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 5 ซึ่งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์การผลิตข้าวสาลีและธัญพืชเมืองหนาวในประเทศประเทศไทย  และเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากธัญพืชเมืองหนาว โดยมี โดยมี นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว พร้อมด้วย นายศิริพงษ์ นำภา นายอำเภอสะเมิง ส่วนราชการ ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนและเกษตรกรชาวอำเภอสะเมิง เข้าร่วมงาน

นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา รัสเซียและยูเครน ส่งออกข้าวสาลี วัตถุดิบสำคัญในการผลิตขนมปังเป็นสัดส่วนสูงถึง 30% ของตลาดโลกโดยมีมากกว่า 50 ประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกจากทั้งสองประเทศนี้ อีกทั้งอินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ได้ประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลีเนื่องจากเกิดภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบทำให้เกิดความขาดแคลนข้าวสาลีทั่วโลก 

โดยในปีนี้กรมการข้าวและศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงได้มีการเปิดตัวข้าวบาร์เลย์ ที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เป็นรุ่นที่ 2 จนมีความเหมาะสมกับประเทศไทย มีความแข็งแรง ทนต่อโรค และให้ผลผลิตต่อไร่ที่ดี  ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือของไทยยังมีพื้นที่อีกมากสำหรับรองรับการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาว  ดังนั้น กรมการข้าวจึงได้นำนโยบายของกระทรวงเกษตรสหกรณ์ในการขยายผลการปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกข้าวในช่วงฤดูหนาว ไม่ว่าจะเป็นข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และมอลต์ เพราะได้ราคาที่สูงกว่า และปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในส่วนที่เป็นเมล็ดพันธุ์และผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยหากเกษตรกรสนใจก็สามารถมาซื้อเมล็ดพันธุ์ได้ที่กรมการข้าว หรือหากมีการรวมกลุ่มกันเป็นศูนย์ข้าวชุมชน หรือเกษตรกรแปลงใหญ่ กรมการข้าวก็จะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์มาให้ในราคาที่ถูกลง หรือไม่มีค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

นายอัครา กล่าวอีกว่า คาดว่าในอนาคตจะมีความต้องการธัญพืชเมืองหนาวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขณะนี้ พ.ร.บ.สุราชุมชน ได้ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาจากสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ เมื่อกฎหมาย พ.ร.บ.สุราชุมชน ได้รับการอนุมัติแล้ว  กรมการข้าวจะช่วยส่งเสริมในการนำเมล็ดธัญพืชจากศูนย์ข้าวชุมชนและเกษตรกรแปลงใหญ่มาแปรรูปเป็นสุราชุมชน และยังมีการประกันราคาให้อีกด้วย  

ในวันนี้ต้องขอขอบคุณหน่วยงานกรมการข้าวที่ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางด้านข้าวสาลีและธัญพืชเมืองหนาว รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการผลิตธัญพืชเมืองหนาวสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง ซึ่งมีศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง กองวิจัยและพัฒนาข้าว เป็นศูนย์หลักในการดำเนินการ และหน่วยงานราชการในพื้นที่ทุกภาคส่วนทึ่เกี่ยวข้อง

ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการผลิตธัญพืชเมืองหนาวสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงได้ในอนาคต

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ส่งเสริม ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานอย่างเหมาะสมและยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสม นั้น

กรมการข้าว เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ สำหรับการวิจัยในโครงการ “การพัฒนาศักยภาพการผลิตธัญพืชเมืองหนาวสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง” โดยศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงเป็นศูนย์หลักในการวิจัยและพัฒนาธัญพืชเมืองหนาวไทย ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

โดยทางโครงการ ฯได้จัดงาน“งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 5” ในวันที่ 5 มีนาคม 2568 ณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้างานทั้งหมด 1,300 ราย  ภายในงานมีกิจกรรม นิทรรศการด้านพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิต การสาธิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากธัญพืชเมืองหนาว การประกวดภาพถ่าย และการแข่งขันประกอบอาหารจากธัญพืช เมืองหนาว การสาธิตอาหารแนวใหม่สไตล์ฟิวชั่นล้านนา (Fusion Food Lanna) กิจกรรมกาดมั่ว ตลาดนัดล้านนา กิจกรรมชุมชนพบปะกันระหว่างนักวิจัย ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ ที่ใช้ประโยชน์ธัญพืชเมืองหนาว

ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การผลิตข้าวสาลีในประเทศไทยและเป็นการจัดแสดงเชื้อพันธุกรรมข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และโอ๊ตมากกว่า 700 พันธุ์ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ รวมทั้งเป็นการเปิดตัวข้าวบาร์เลย์สายพันธุ์ดีเด่น FNBL#140 เพื่อการทำมอลต์ ที่จะเตรียมรับรองพันธุ์ในปีงบประมาณ 2569 เนื่องจากไทยไม่มีพันธุ์รับรองข้าวบาร์เลย์ ตั้งแต่ปี 2528 นานมากกว่า 40 ปี โดยสายพันธุ์นี้ต้านทานโรคใบจุด รวมทั้งมีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุด 339 กก./ไร่ ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์เดิมร้อยละ 20 ที่รับรองพันธุ์ไว้ เมื่อปี 2528 และที่สำคัญมีคุณภาพเพื่อการทำมอลต์ตามมาตรฐานสากล

นายศิริพงษ์ นำภา นายอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าอำเภอสะเมิง เป็นอำเภอหนึ่งใน 25 อำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ มีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติ ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมพื้นถิ่น และเลื่องลือไกล จะเป็นเรื่อง บรรยากาศราวกับอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ จนเป็นที่มาของคำขวัญอำเภอคือ “สตรอเบอรี่รสเยี่ยม ภูเขาสูงเทียมฟ้า ดอกไม้นานาพันธุ์ บรรยากาศสวิส ฯ เศรษฐกิจพอเพียง” 

อำเภอสะเมิงมีพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ได้แก่ สตรอเบอรี่ กระเทียม กล้วยน้ำว้า ส้ม ดอกไม้เมืองหนาว ดอกเก็กฮวย หญ้าหวาน รวมถึงพืชผักปลอดสารพิษ นักท่องเที่ยวมักจะนิยมมาเที่ยวสัมผัส ไร่สตรอเบอรี่ ทุ่งดอกเก็กฮวย ช่วงตั้งแต่เดือน พ.ย.ไปจนถึง ก.พ.ของทุกปี รวมถึง ทุ่งข้าวสาลี ณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงแห่งนี้ ซึ่งแต่เดิมเรารู้จักในชื่อ โครงการในพระราชประสงค์ที่ 7 ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการวิจัยข้าวสาลีและธัญพืชเมืองหนาวอื่น ๆ

จึงเป็นการดี ที่ในการจัดงานครั้งนี้ อำเภอสะเมิงจะได้มีโอกาส เผยแพร่ผลงานด้านการเกษตร ที่เกี่ยวกับธัญพืชเมืองหนาว อีกทางหนึ่ง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจสืบต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top