Saturday, 22 March 2025
NEWS FEED

วัคซีนโควิด ChulaCov19 ผลิตในประเทศได้แล้ว ลุ้นขึ้นทะเบียนปลายปี หลังทดสอบในคนเสร็จ

จุฬาฯ เผยข่าวดี วัคซีนโควิด ChulaCov19 สัญชาติไทย ผลิตล็อตแรกในประเทศแล้ว เล็งยื่นขอ อย.อนุมัติทดสอบในคน คาดเริ่มได้เร็วๆ นี้ หากผลดีจ่อขึ้นทะเบียนปลายปี พร้อมพัฒนาต่อรุ่น 2 รับมือ ‘โอมิครอน’ 

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด “ChulaCov19” ชนิด mRNA สัญชาติไทย ว่า ภาพรวมถือว่าเป็นข่าวดี ซึ่งการพัฒนาระยะแรกเป็นการออกแบบวัคซีน และให้โรงงานในสหรัฐอเมริกาผลิตล็อตแรก มีข่าวดีว่า ผ่านการพิสูจน์ในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว มีความปลอดภัย กระตุ้นภูมิได้สูงเป็นที่น่าพอใจ ขนาดที่เราเลือกเมื่อเทียบกับวัคซีนไฟเซอร์ที่อนุมัติใช้ในไทย เราได้ภูมิที่สูงกว่าชัดเจน

ส่วนระยะที่ 2 คือ การผลิตวัคซีนในประเทศ โดยบริษัท ไบโอเน็ตเอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานในไทย สามารถผลิตวัคซีนล็อตแรกเรียบร้อยแล้ว ผ่านการประกันคุณภาพแล้ว ทีมวิจัยได้ส่งเอกสาร ข้อมูลต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอทดสอบในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก อย. คาดว่า จะได้รับคำตอบเร็วๆ นี้ หากทดสอบได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ น่าจะขอขึ้นทะเบียนวัคซีนได้ภายในปลายปี 2565

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์การบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 รวมถึงการรักษาสิทธิของประชาชนที่เป็นเจ้าข้องข้อมูลตามกฎหมาย

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนประชาสัมพันธ์ถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หากผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลพบการกระทำผิด การละเมิด หรือกระทบสิทธิตามกฎหมายก็สามารถดำเนินการทั้งในทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นี้ 

เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จนสร้างความเดือดร้อนหรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้ โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไปขึ้นมา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เล็งเห็นถึงความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรมและเกิดประสิทธิภาพ

เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอาชญากรรมและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้กำชับให้หน่วยงานต่างๆ ในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงสาระสำคัญของกฎหมาย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็พร้อมที่จะบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม เกิดประสิทธิภาพ สมกับเจตนารมณ์ที่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้นมา
โดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ย่อมาจาก คำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต สำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ซึ่งได้เลื่อนให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 

กฎหมายฉบับนี้จะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงได้สร้างมาตรฐานให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามนั้น มีโทษทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และโทษทางปกครองหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้  มี 3 ประเด็นหลัก ดังนี้

1.) เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ในการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ผู้เก็บรวบรวม ผู้ใช้ แจ้งไว้ตั้งแต่แรกแล้วเท่านั้น กล่าวคือ ต้องขออนุมัติจากเจ้าของข้อมูลก่อน เช่น หากแอปพลิชันหนึ่งจะเก็บข้อมูลบัตรเครดิตของเราไว้ในระบบ ก็ต้องมีข้อความให้เรากดยืนยันเพื่อยินยอม พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม และการใช้ หากเราไม่ยินยอมให้ใช้ข้อมูลบัตรเครดิต ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันนั้นก็ไม่สามารถ ใช้ข้อมูลบัตรเครดิตของเราได้ เป็นต้น

2.) ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือถูกเข้าถึงโดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น สถานพยาบาลจะต้องเก็บข้อมูลของผู้ป่วยให้เป็นความลับและไม่เปิดเผยให้กับผู้อื่น ธนาคารต้องเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น

3.) เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์การขอเข้าถึง การโอน การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตน เป็นต้น

หากมีการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบฯ ก็จะมีความผิดตาม มาตรา 79 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรโดยมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตามมาตรา 79 วรรคสอง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  อีกทั้งหากล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ ถ้าผู้นั้นนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น ตามมาตรา 80 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงมีความผิดในทางปกครอง ตามมาตรา 82-90 โดยมีโทษปรับทางปกครอง 500,000 - 5,000,000 บาท อีกทั้งผู้เสียหายอาจใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งหรือความผิดตามกฎหมายอื่นได้อีกด้วย

'อียู' เสียงแตก!! ร่างแซงก์ชันรัสเซียรอบใหม่ สมาชิกบางชาติขอยกเว้นคว่ำบาตรน้ำมัน

ฝ่ายบริหารของอียูเสนอร่างมาตรการแซงก์ชันรัสเซียรอบใหม่ให้ชาติสมาชิกพิจารณาเมื่อคืนวันอังคาร (3 พ.ค.) ทว่า ยังมีบางชาติไม่ต้องการร่วมวงคว่ำบาตรน้ำมันมอสโก หรือขอเวลาดำเนินการนานเป็นปี ขณะที่นักการทูตยุโรปเตือนว่า การยอมยกเว้นให้บางประเทศจะบ่อนทำลายมาตรการลงโทษนี้

เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) ตลอดจนถึงนักการทูตยุโรปหลายคนในบรัสเซลส์เผยว่า ชาติสมาชิกมีความเห็นแตกแยกกันในประเด็นการคว่ำบาตรน้ำมันเพื่อลงโทษที่รัสเซียรุกรานยูเครน และเพิ่งจะตกลงกันได้ในช่วงดึกวันอังคาร เนื่องจากสมาชิกชาติหนึ่งไม่เห็นด้วย

ตามกำหนดนั้น เอกอัครราชทูต 27 ชาติอียูจะประชุมกันในวันพุธ (4 พ.ค.) เพื่อตรวจสอบแผนการนี้อย่างรวดเร็ว โดยจะต้องมีการอนุมัติเป็นเอกฉันท์จึงจะสามารถบังคับใช้ได้

เจ้าหน้าที่อียูเผยว่า ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปคือแบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 6-8 เดือน โดยฮังการีและสโลวะเกียได้รับอนุญาตให้ยืดเวลาออกไปได้ 2-3 เดือน

ทว่า สโลวะเกีย ซึ่งพึ่งพิงน้ำมันดิบรัสเซียที่ส่งผ่านท่อลำเลียงดรูซบาเกือบ 100% เช่นเดียวกับฮังการี ระบุว่า จำเป็นต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะร่วมคว่ำบาตรได้

ทั้งนี้ โรงกลั่นน้ำมันของสโลวะเกียออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานกับน้ำมันรัสเซีย และจำเป็นต้องปรับปรุงทั้งหมดหรือเปลี่ยนข้อตกลงด้วยการนำเข้าจากประเทศอื่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทั้งยาวนานและมีต้นทุนสูง

เด่นสง่าริมเจ้าพระยา ‘วัดกาลหว่าร์’ วัดคริสต์คู่กรุงรัตนโกสินทร์ บนแผ่นดินพระราชทานจาก รัชกาลที่ 1 

วัดกาลหว่าร์ พ.ศ. 2564

วัดคริสต์คู่กรุงรัตนโกสินทร์
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 

บนแผ่นดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ให้ชาวคาทอลิกโปรตุเกสในสยาม

ตอบแทนพระราชินีมาเรียแห่งโปรตุเกสที่พระราชทาน "ปืน" 
ช่วยสยามรบในสงครามเก้าทัพ กับพระเจ้าปดุงแห่งกองบอง


ที่มา : https://www.facebook.com/532544466865594/photos/a.532552690198105/4407909315995737/


👍มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง

ก.อุตฯ เผยผลศึกษาผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมปี 2564 ยังแกร่งฝ่าโควิด-19 จากคุณภาพปัจจัยทุนและการบริหารจัดการ พร้อมเดินหน้าปี 2565 เสริมความเข้มแข็งภาคอุตสาหกรรมไทย ยกระดับผลิตภาพการผลิต 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงในช่วงที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพการผลิตอย่างใกล้ชิด โดยจากการสำรวจข้อมูลประจำปี 2564 ได้นำแบบแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการโรงงานรายปี (ร.ง.9) มาวิเคราะห์ความสามารถในการผลิตและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการภาคอุตสาหกรรม พบว่า ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความแข็งแกร่งจากคุณภาพปัจจัยทุนและการบริหารจัดการที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 0.34 และ 1.70 ต่อปี ตามลำดับ สะท้อนถึงคุณภาพปัจจัยทุนและการบริหารจัดการที่เป็นภูมิคุ้มกันหลักให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดได้ภายใต้สถานการณ์ที่ยากจะควบคุมของผลกระทบห่วงโซ่การผลิตโลกที่หยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

การที่จะรักษาความสามารถในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์ที่ไม่อาจควบคุมทั้งจากภาวะเศรษฐกิจโลก โรคระบาด หรือสงครามระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ จำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งในด้านประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมี 5 กลไกสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง คือ...

1. การพัฒนาทักษะแรงงาน 
2. การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/ กึ่งอัตโนมัติ 
3. การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการเงิน 
4. การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบรับจ้างออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ODM) และการออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของผู้ประกอบการ (OBM) ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น 
และ 5. การลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การจัดการ และการสร้างนวัตกรรมในสินค้า มีการจดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตรต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงมากให้กับสินค้าและเศรษฐกิจของประเทศ 

'รัสเซีย' สับขาหลอก ตีเมือง Lviv ชายแดนตะวันตกของยูเครน คาดขู่ 'ชาติตะวันตก' หยุดหนุนส่งอาวุธผ่านช่องทางโปแลนด์

ข่าวคืบหน้าการใช้กำลังทหารของรัสเซียในยูเครนล่าสุด มีรายงานว่า ขีปนาวุธรัสเซีย ได้ยิงเข้าไปในเมือง Lviv (ลวีฟ) ทางภาคตะวันตกของยูเครนติดกับชายแดนโปแลนด์ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม (2022) ที่ผ่านมา

การโจมตีของรัสเซียด้านตะวันตก เกิดขึ้นหลังจากที่โวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ ผู้นำยูเครนได้ออกมาเตือนว่า รัสเซียมีแผนการที่จะปิดเกมในภูมิภาคดอนบาส ทางด้านตะวันออกติดกับชายแดนรัสเซียให้ได้ในเร็ววันนี้ เพื่อต้องการผนวกดินแดนนี้ทั้งผืนไปเป็นของรัสเซีย 

ในขณะเดียวกัน กองทัพรัสเซียก็ยังกดดันอย่างหนักที่โรงงานถลุงเหล็ก Azovstal Steel Plant ที่มั่นจุดสุดท้ายของกองกำลังยูเครนในเมืองมาริอูโปล ท่าเรือทางตอนใต้ของยูเครน 

แต่ขณะที่หลายคนกำลังจับตาการโจมตีของรัสเซียทางฝั่งตะวันออก และ ตอนใต้ของยูเครน กองทัพรัสเซียก็สร้างความประหลาดใจด้วยการโจมตีเมือง Lviv ทางด้านตะวันตกสุดของยูเครนในวันนี้ โดยสร้างความเสียหายให้แก่โรงงานผลิตไฟฟ้า 3 แห่ง และสถานีจ่ายน้ำประปาอีก 2 แห่ง ทำให้บางพื้นที่ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วถึง 7 ราย

ซึ่งเป้าหมายของการโจมตีเมือง Lviv นอกจากจะเป็นการโจมตีแบบสับขาหลอกแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญาณเตือนถึงชาติตะวันตก ให้หยุดส่งอาวุธให้กับยูเครนผ่านช่องทางโปแลนด์ เนื่องจากจุดที่มีการยิงขีปนาวุธอยู่ห่างจากพรมแดนโปแลนด์เพียง 70 กิโลเมตรเท่านั้น

โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯปลื้ม ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเมืองสวยงามของไทย หลัง Forbes advisor จัดให้ อยุธยา เป็น 1 ใน 50 เมืองทั่วโลก ที่ควรเดินทางเยือนช่วงหลังโควิด – 19

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “Forbes advisor” เว็บไซต์ในเครือนิตยสาร Forbes จัดอันดับให้ "อยุธยา" เป็น 1 ใน 50 เมืองทั่วโลก ที่ควรเดินทางเยือนภายหลังการระบาดของไวรัสโควิด – 19

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบผลการจัดอันดับดังกล่าว ขอบคุณที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับสถานที่ที่สวยงามเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเชื่อมั่นว่า ด้วยเอกลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยที่หลากหลาย และได้รับความนิยมตลอดมา ประกอบกับศักยภาพการบริหารจัดการตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และการควบคุมโรคทางสาธารณสุข จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเดินทางในประเทศไทยอย่างคึกคักในเร็ววันนี้ 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 50 เมือง ทั่วโลก ที่ควรเดินทางเยือนในช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด – 19 และยังเป็น 1 ใน 8 แห่งของทวีปเอเชียที่ได้รับการจัดอันดับเท่านั้น ทั้งนี้ Forbes advisor ได้ยกย่อง "อยุธยา" ว่าเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงทศวรรษ 1700 ซึ่งเดินทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ

โดยสามารถไปเช้าเย็นกลับได้ แต่หากมีโอกาสค้างคืนก็จะได้เห็นภาพวัดต่าง ๆ ในช่วงเช้า และช่วงเย็น ที่เงียบสงบ ในส่วนของเมืองอื่นๆ ในเอเชียที่ได้รับการจัดอันดับ ได้แก่ ฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศภูฏาน อัสสัม ประเทศอินเดีย ลอมบก ประเทศอินโดนีเซีย ไทเป ไต้หวัน ประเทศอุซเบกิสถาน และโดฮา ประเทศกาตาร์

'สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา' ส.ส. พรรคก้าวไกล ชี้ ม.112 ใช้เล่นงานผู้เห็นต่างโดยไม่สนหลักความยุติธรรม หลังศาลสั่งถอนประกัน 'ใบปอ-เนติพร'

ต่อกรณีที่ เมื่อวานนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งเพิกถอนประกัน ใบปอ และ เนติพร นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับความมั่นคง ในคดีทำโพลเรื่องขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 โดยให้เหตุผลว่ากระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวด้วยการเข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย หรือเสื่อมเสียต่อสถาบันฯ เกี่ยวกับการไปทำโพลเหตุการณ์ชาวบ้านถูกสำนักงานทรัพย์สินฯไล่ที่นั้น

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.จังหวัดนครปฐม พรรคก้าวไกล กล่าวว่า การเพิกถอนประกันตัวด้วยเหตุผลเช่นนี้ ยิ่งตอกย้ำว่า คดีตามมาตรา 112 เป็นคดีนโยบายเพื่อเอาไว้เล่นงานผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยไม่สนใจหลักความยุติธรรม ซึ่งจะเห็นว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการนำคดี ม. 112 ไปใช้จับกุมคุมตัวนักกิจกรรมการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เหล่านั้น เป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การไปปล้นชิงฆ่าฟันใคร กระทั่งไม่ใช่คดีล่วงละเมิดคุกคามทางเพศที่ยังได้รับสิทธิประกันตัวเพื่อไปต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมอย่างครบถ้วน

"แต่พอเป็น คดี 112 กลับอ้างว่าเป็นคดีร้ายแรง จึงไม่ต้องสนใจหลักการยุติธรรมที่ต้องสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำตัดสินว่ามีความผิด ไม่ต้องสนใจสิทธิประกันตัว ทั้งที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่เคยหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน แต่กลับพยายามหาเหตุในการเอาพวกเขาเข้าไปอยู่ในเรือนจำอยู่ร่ำไป"

สุทธวรรณ กล่าวว่า กฎหมายใดก็ตามที่เป็นเหมือนใบเบิกทางให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจอย่างไรก็ได้เพื่อยึดเอาสิทธิเสรีภาพของประชาชนไปอย่างไม่มีเหตุผลและหลักการองรับ กฎหมายนั้นย่อมสมควรถูกแก้ไขหรือยกเลิก เพราะการใช้กฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือเล่นงานกันเช่นนี้ นอกจากไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการยุติธรรม ยิ่งเป็นเหตุให้เสื่อมศรัทธาลงไปเรื่อยๆแล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อประชาชนอีกด้วย

"ประเทศที่มีอารยธรรมไม่มีประเทศใดกักขังคนหนุ่มสาวไว้ในคุกเพียงเพราะพวกเขาคิดและตั้งคำถาม เพราะหมายถึงการกักขังอนาคตของตัวเองไว้ด้วยความมืดบอด การเพิกถอนประกันในครั้งนี้ แม้ด้วยอำนาจศาลอาจปิดปากผู้คนไว้ด้วยความกลัว แต่คงไม่อาจห้ามความกังขาสงสัยถึงความสมเหตุสมผลของคำสั่งได้"

สวนนงนุชพัทยา ร่วมกับ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ลงนาม MOU  ส่งเสริมการเรียนการสอนของนักศึกษา

วันนี้ (4 พ.ค.65) เวลา 11.30 น. ที่ ห้องลอยฟ้า 2  สวนนงนุชพัทยา รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์  ตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พร้อมด้วย นาย กัมพล ตันสัจจา  ประธานสวนนงนุชพัทยา  ได้ร่วมลงนาม MOU บันทึกความเข้าใจ  เพื่อร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักศึกษา ให้มีคุณภาพความรู้ ทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย


       

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ชี้ ‘นาโต’ เป็นผู้จุดชนวนสงครามยูเครนเอง เหตุความโกรธเกรี้ยวของปูติน อาจเกิดเพราะ“เสียงเห่าของนาโตที่หน้าประตูบ้านรัสเซีย”

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ตรัสในบทสัมภาษณ์ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (3 พ.ค.) ระบุต้องการพบประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียเพื่อพูดคุยเรื่องสงครามยูเครน พร้อมเปรียบเทียบการนองเลือดที่เกิดขึ้นว่าไม่ต่างจากการสังหารหมู่ที่รวันดา ขณะเดียวกัน ทรงชี้ว่าชนวนเหตุของสงครามครั้งนี้อาจมาจากพฤติกรรมขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่ไปข่มขู่รัสเซียถึงหน้าบ้าน

โป๊ปฟรานซิสได้ประทานสัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์ Corriere Della Sera ของอิตาลี โดยตรัสว่าพระองค์เคยส่งสาส์นถึงปูติน ราวๆ 20 วันหลังเกิดสงคราม เพื่อบอกกับเขาว่า “ข้าพเจ้ายินดีที่จะเดินทางไปมอสโก”

“เรายังไม่ได้รับคำตอบใดๆ และยังยืนกรานข้อเสนอนั้นอยู่ แต่ข้าพเจ้าเกรงว่า ปูติน อาจจะไม่สามารถ หรือไม่ต้องการที่จะพบกับข้าพเจ้าในเวลานี้”

“แต่เราจะไม่พยายามยับยั้งความรุนแรงป่าเถื่อนนี้ได้หรือ? เมื่อ 25 ปีก่อน เราก็ได้เห็นสิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นที่รวันดามาแล้ว”

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวทุตซี (Tutsi) โดยรัฐบาลฮูตูสุดโต่งระหว่างเดือน เม.ย.-ก.ค. ปี 1994 ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปราว 800,000 คน และถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งเลวร้ายที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 20

โป๊ปฟรานซิสทรงออกมาเรียกร้องสันติภาพในยูเครนอย่างต่อเนื่อง และทรงประณาม “สงครามที่โหดร้ายและขาดสติ” ครั้งนี้ โดยไม่ได้ทรงเอ่ยถึง ปูติน หรือมอสโกตรงๆ

“ข้าพเจ้ายังไม่ไปกรุงเคียฟในตอนนี้ ข้าพเจ้าคิดว่ายังไม่ควรที่จะไป ข้าพเจ้าจะต้องไปเยือนมอสโกก่อน และต้องได้พบกับ ปูติน ก่อน” โป๊ปตรัส


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top