Wednesday, 24 April 2024
ECONBIZ

GWM ฉลุยตลาดไทย!! วางแผนลงทุนต่อ 22,600 ลบ. ดันไทยศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ป้อนอาเซียน

GWM (เกรท วอลล์ มอเตอร์) ประกาศความสำเร็จในปีที่สองของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย พร้อมเฉลิมฉลอง การผลิตรถยนต์คันที่ 10,000 จากโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ที่จังหวัดระยอง

โดยรถยนต์คันที่ 10,000 คือ All New HAVAL JOLION Hybrid SUV

ปัจจุบัน GWM ลงทุนในไทยไปแล้วกว่า 12,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 3,000 ตำแหน่ง 

ทั้งนี้ GWM มีแผนที่จะลงทุนในไทยอีก รวมทั้งสิ้น 22,600 ล้านบาท โดยตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลาง R&D และเป็นศูนย์กลางการผลิตออกสู่ตลาดอาเซียน

นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายศูนย์อะไหล่และบอดี้พาร์ท เพื่อรองรับอัตราการขยายตัวของตลาดและยอดจำหน่ายที่โตต่อเนื่อง 

‘สุริยะ’ สั่ง กนอ.สำรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วม คลายกังวลให้นักลงทุน - ชุมชนใกล้เคียงนิคมฯ

‘สุริยะ’ สั่ง กนอ.สำรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วมในทุกนิคมฯ อย่างใกล้ชิด ด้าน ‘วีริศ’ มั่นใจ ทุกนิคมอุตสาหกรรมบริหารจัดการสถานการณ์ได้ แม้ปีนี้มีแนวโน้มปริมาณฝนมากกว่าปีก่อน 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งเตรียมมาตรการป้องกันน้ำท่วม เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยได้ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำชับไปยังนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 67 แห่งทั่วประเทศ ให้ติดตามและเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) และนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำและติดแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ที่พื้นที่อยู่ใกล้ทะเล อาจจะเกิดน้ำทะเลหนุนได้ในบางช่วง และยังอยู่ใกล้กับชุมชนอีกด้วย

“ผมได้สั่งการไปยัง กนอ.ให้กำชับทุกนิคมอุตสาหกรรมติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม รวมถึงกรณีที่อาจมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้นักลงทุน ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะแรงงานที่ต้องเดินทางมาทำงานในนิคมฯ นั้น ต้องหาแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้เท่าที่สามารถจะทำได้ ทั้งนี้ได้รับรายงานจาก กนอ.ว่าแต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างชัดเจน และบางนิคมอุตสาหกรรมยังมีการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันได้มีการติดตามข้อมูลการระบายน้ำจากทั้ง 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตรวจสอบระดับน้ำและปริมาณน้ำฝนตลอด 24 ชั่วโมง” นายสุริยะ กล่าว

'แบงก์ชาติ' สั่ง 'ธ.ทีเอ็มบีธนชาต' แจงข้อเท็จจริง ปมแอปพลิเคชัน 'ttb' ขัดข้อง กระทบผู้ใช้งาน

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้รับรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีที่ระบบ Mobile Banking ของธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ttb ขัดข้อง ระหว่างวันที่ 1 - 3 กันยายน 2565 ทำให้ลูกค้าไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้เวลานานในการทำธุรกรรมในช่วงดังกล่าว

ทั้งนี้ได้สั่งการให้ ttb เร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบให้ได้อย่างครบถ้วนและทันท่วงที ซึ่ง ttb ได้ขยายช่องทางให้บริการสำรองแก่ลูกค้า รวมทั้งขยายเวลาการให้บริการสาขานอกห้างและจัดเตรียม Call Center ให้พร้อมรองรับการให้ความช่วยเหลือและการทำธุรกรรมของลูกค้าอย่างเต็มที่ในทุกกรณี

แม้ปัจจุบันสถานการณ์การให้บริการ Mobile Banking เริ่มคลี่คลาย ธปท. ได้กำชับให้ ttb ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการให้บริการจะไม่สะดุดลงอีก พร้อมกับสั่งการดังนี้

'ดร.กอบศักดิ์' หวั่น!! สงครามเศรษฐกิจยกสอง G7-รัสเซีย 'ตาต่อตา ฟันต่อฟัน' คงตกตายตามกัน

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพและประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...

เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลัง G7 ประกาศนโยบายใหม่... 

Russian Oil Price Cap 

โดยหวังกดรายได้จากการส่งออกน้ำมันของรัสเซียให้ลดลง ไม่ให้มีเงินไปทำสงคราม พร้อมช่วยกดราคาพลังงานในตลาดโลก เพื่อช่วยลดปัญหาเงินเฟ้อ 

ท่านปูติน ก็ย้อนศร แลกหมัด โดยให้ประกาศว่า...

ท่อก๊าซของรัสเซีย Nord Stream 1 รั่วชำรุด คงไม่สามารถส่งก๊าซให้ยุโรปได้อย่างไม่มีกำหนด ทำให้เกิดผลพวงทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ตามมา มากมาย 

จากลมปากของทั้งสองฝ่าย ที่ยังรบกันทางเศรษฐกิจไม่เลิก สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและการเงิน อย่างกว้างขวาง

🎯 หุ้นสหรัฐ Dow Jones ที่ขึ้นดี ๆ 370 จุด เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

จากข้อมูลตลาดแรงงานที่ยังไปได้ดี ยังสร้างงานประมาณ 3.15 แสนตำแหน่ง แต่หลังจากท่านปูตินประกาศว่า คงไม่สามารถส่งก๊าซให้ได้ Dow ก็ตกลงมาระหว่างวันถึง -844 จุด!!! (แข่งกับสถิติท่านประธานเฟดที่มาเขย่าตลาด -1,008 จุด เมื่อไม่นานมานี้)

🎯 เงินยูโรที่อ่อนแล้ว ก็เริ่มอ่อนอีก 

ล่าสุดเช้านี้ไปแตะ 0.9904 ยูโร/ดอลลาร์ โดยหลายสำนักเช่น Goldman Sachs คาดว่า คงจะต้องอ่อนลง ต่อไปอีกระยะ

🎯 ราคา Gas Future ที่เหวี่ยงขึ้นลงไปมา 

ฆาตกรรมนักลงทุนในตลาด Future ที่ถูก Margin Call ขาลง ในช่วงที่ประกาศนโยบาย Price Cap และกำลังจะถูก Margin Call เช้านี้ หากราคาในยุโรปกระโดดขึ้นสูงอีกรอบ

🎯 ที่น่าสงสาร ก็คือ คนยุโรปตาดำดำ ซึ่งจะต้องแบกรับผลพวงจากสงคราม จากผู้นำของเขา ที่รบกันไม่ยอมหยุด 

ราคาไฟฟ้า ราคาก๊าซที่สูงลิ่ว เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้ร้านอาหารในยุโรปบางส่วนอาจจะต้องปิดกิจการ โดยร้านอาหารหนึ่งในไอร์แลนด์ให้สัมภาษณ์ว่า...

"ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มมากกว่า 4 เท่าจาก 2,370 มาเป็น 9,836 ยูโร ไม่แน่ใจว่า จะเปิดต่อได้อีกนานเท่าไร"

โรงงานในยุโรปกำลังจะต้องคิดถึงการปิดโรงงานลง เช่น โรงงานหลอมอะลูมินัม และโลหะอื่น ๆ ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากในการหลอม

ล่าสุด ก็อาจจะต้องปิดโรงงานลง กระทบต่อ Supply Chain ต่างๆ เช่นรถยนต์ เครื่องบิน ขนส่ง อาวุธ เครื่องจักรต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องมา และการจะกลับมาก็ยาก เพราะการจะเปิดได้ต้องใช้เวลาเริ่มหลายเดือน

🎯 สำคัญที่สุด ฤดูหนาวที่จะมาถึง

คงเป็นฤดูหนาวที่ลำเค็ญของคนยุโรป เพราะก๊าซที่มีอาจจะไม่พอสำหรับช่วงดังกล่าว

โดย Klaus Mueller, ประธาน FNA หน่วยงานกำกับด้านพลังงานของเยอรมันบอกว่า ในกรณีที่เยอรมันสามารถสำรองก๊าซไว้ได้ 95% ของถังเก็บ ก็จะสามารถใช้ได้เพียง 2.5 เดือน หากรัสเซียปิดท่อก๊าซลง

แต่ปัจจุบัน สำรองไว้ได้เพียง 85% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ต่อไปนอกจากราคาพลังงานจะสูงลิ่ว คนยุโรปอาจจะต้องแบ่งปันการใช้ก๊าซกัน

🎯 สุดท้าย นำไปสู่ความกังวลใจว่ายุโรป คงจะไม่สามารถหลีกเลี่ยง Recession ได้

จากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม บวกกับต้นทุนดอกเบี้ยที่จะเพิ่ม จากการสู้ศึกเงินเฟ้อของ ECB และการขาดแคลนก๊าซในช่วงต่อไป 

การถดถอยทางเศรษฐกิจที่จะเกิด อาจมาเร็วกว่าที่คิด และอาจจะลึกกว่าที่คิดไว้

🎯 ทั้งหมดจึงมีนัยยะต่อไปยังเสถียรภาพทางการเมืองของยุโรป

ล่าสุด เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ใน Czech Republic ได้มีการประท้วงใหญ่ที่มีคนประมาณ 7 หมื่นคนเข้าร่วม แสดงความไม่พอใจกับการที่รัฐบาลไม่สามารถที่จะควบคุมราคาพลังงาน และเงินเฟ้อได้

ช่วยจุดประกายให้กับประชาชนในประเทศอื่นๆ ที่กำลังลำบาก ไม่พอใจรัฐบาล ให้คิดเรื่องนี้เช่นกัน 

ซึ่งความลำบากเพิ่มขึ้นในช่วงหนาวมากกว่านี้ 

เมื่อธุรกิจต้องปิดตัวลง ก็จะกระทบต่อประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันจะนำมาซึ่งความไม่พอใจและการประท้วงในวงกว้างต่อไป 

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจ ในเพียง 2-3 วันที่ผ่านมา

หลังท่านปูตินประกาศไม่ส่งก๊าซ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ต้องเร่งประกาศมาตรการออกมาเพื่อลดผลกระทบ

- รัฐบาลเยอรมัน ตั้งวงเงินไว้ 6.5 หมื่นล้านยูโร เพื่อช่วยครัวเรือนรับภาระ
- รัฐบาลสวีเดน เตรียมเงินไว้ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้เกิดสภาพคล่องในตลาดทุน 
- รัฐบาลฟินแลนด์ เตรียมเงินไว้ 1 หมื่นล้าน เพื่อช่วยสภาพคล่องตลาดทุนเช่นกัน

นี่แค่เบื้องต้น และต่อไปคงต้องมีมาตรการออกมาช่วยเหลืออีก 

รถโดยสารไฟฟ้ายกระดับคุณภาพชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม EA ร่วม ‘ไทยสมายล์บัส’ สร้างเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ เชื่อมต่อทุกการเดินทาง ด้วยรถโดยสารไฟฟ้า

ถือเป็นอีกผลิตผลแห่งเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ จากกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ที่ปัจจุบันค่อยๆ เข้ามาช่วยเปลี่ยนระบบขนส่งสาธารณะภายในบ้านเรา เพื่อสังคมน่าอยู่ให้กับประเทศ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 

ไม่นานมานี้ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ให้บริการ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ได้เปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) ภายใต้แนวคิด ‘We Come To Change Fast 8 To Feel Good เรามาเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกให้ดีขึ้น’ โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด, นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ก พ้อยท์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ณ อู่บึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า ปัจจุบัน EA ได้มีการร่วมมือกับ ไทยสมายล์บัส โดยนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม EA อย่างรถโดยสารไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทยและได้นำเทคโนโลยี Fast Charge ที่เรียกว่า Ultra Fast Charge ซึ่งสามารถชาร์จรถขนาดใหญ่แบบนี้ได้ในเวลาเพียง 15-20 นาทีเข้ามาให้บริการ

นอกจากนี้ EA ยังร่วมมือกับบริษัทครอบครัวขนส่ง ซึ่งเดินเรืออยู่ในคลองแสนแสบ โดยเข้าไปช่วยเปลี่ยนให้เป็นเรือไฟฟ้าทั้งหมด และมีการทำหัวรถจักรไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ เป็นต้น

“สิ่งเหล่านี้ เป็นโครงข่ายของคมนาคมที่ทาง EA อยากช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่ไม่แพง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ช่วยประหยัดพลังงานจากรูปแบบเดิมๆ ในทางอ้อมก็ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลง ลดภาระของประชาชนทั่วไปได้ตามลำดับ”

'อลงกรณ์' เร่งเครื่อง 'เพชรบุรีโมเดล-เมืองสร้างสรรค์อาหาร' ทุกมิติ เดินหน้าเร็วโครงการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย

'อลงกรณ์' เร่งเครื่อง 'เพชรบุรีโมเดล-เมืองสร้างสรรค์อาหาร' ทุกมิติ เดินหน้าเร็วโครงการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย มอบ 'เกษตรฯ' ส่งเสริมทุกอำเภอ 'มกอช.' ทำไวได้จริง เปิดตัวร้านอาหาร Q ที่เพชรบุรีแห่งแรก ผู้ประกอบการแฮปปี้ ผู้บริโภคพอใจ พร้อมหนุนเกษตรปลอดภัย ใช้สินค้า Q

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า การขับเคลื่อน 'เพชรบุรี โมเดล' เป็นต้นแบบการปฏิรูปเมืองในทุกมิติมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะมิติการยกระดับศักยภาพจังหวัดในฐานะที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ขององค์การสหประชาชาติคัดเลือกให้เป็น 'เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร' (City of Gastronomy) และเพชรบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองเกษตร จำเป็นต้องเชื่อมโยงการพัฒนาภาคเกษตรภาคอาหารและผู้ประกอบการภายใต้นโยบาย 'มาตรฐานเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย' ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยส่งเสริมให้ร้านอาหารใช้มาตรฐานเกษตรปลอดภัยหรือตรา Q (Quality) เพื่อสร้างความมั่นใจของลูกค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค 

ล่าสุดทางสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ดำเนินการคิกออฟโครงการร้านอาหาร Q ที่เพชรบุรีเป็นแห่งแรก และมอบหมายให้ขยายโครงการให้ครบทุกอำเภอ ๆ ละ 1 แห่ง เป็นอย่างน้อย โดยร่วมมือกับจังหวัดเพชรบุรี หอการค้าจังหวัด สมาคมท่องเที่ยวและสถาบันเกษตรกรแบบบูรณาการทำงานเขิงรุกทุกภาคส่วนภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

BYD ปักธงไทย แห่งแรกในอาเซียน ทุ่ม 1.7 หมื่นล้าน ตั้งโรงงานผลิตรถ EV ใน EEC

BYD รถยนต์ EV สัญชาติจีน ที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก เซ็นสัญญาซื้อที่ดินตั้งโรงงานแรกในพื้นที่ EEC และถือเป็นแห่งแรกในอาเซียน ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท

Reporter Journey เผยว่า BYD รถยนต์ไฟฟ้าจีนพร้อมลงทุนใน EEC โดยวันที่ 8 กันยายน จะเซ็นสัญญาซื้อที่ดิน WHA นิคมฯ ระยอง 36 เพื่อสร้างโรงงานแห่งแรกในอาเซียนมูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท

รายงานจากบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 กันยายนนี้ บริษัทเตรียมจัดพิธีเซ็นสัญญาซื้อ-ขายที่ดินระหว่าง WHA Group และ บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด (BYD) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลกจีน ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตรถ EV แห่งแรกของ BYD ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นิคมอุตสาหกรรมระยอง 36 ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

'แอปฯ เป๋าตัง' คว้ารางวัล The Disruptor ตอกย้ำผู้นำดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งปี

แอปพลิเคชัน 'เป๋าตังค์' รับรางวัลด้านเทคโนโลยีชั้นนำแห่งปี ในงาน Techsauce Global Summit 2022 

โดยนายจักรกฤษณ์ กลิ่นสมิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้เป็นผู้แทนธนาคารรับรางวัลด้านเทคโนโลยีชั้นนำแห่งปี ในงาน Techsauce Global Summit 2022 ซึ่งแอปพลิเคชัน 'เป๋าตัง' ได้รับรางวัล The Disruptor จากความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิทัล ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มในทุกมิติ สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนเศรษฐกิจยั่งยืน

สำหรับ แอปฯ เป๋าตัง นั้น สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ทั้งในด้านการลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนเศรษฐกิจยั่งยืน เป็น Thailand Open Digital Platform ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท อินฟินิธัส บาย กรุงไทย (Infinitas by Krungthai) เปิดกว้างให้ทุกคนใช้งานโดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย สามารถเชื่อมต่อกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นในทุกวัน ผ่านบริการ G-wallet กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ช่วยขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งต่อมาตรการรัฐให้ถึงมือประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ

ต่างชาติหอบเงินลงทุน 7 ด.แรกกว่า 7 หมื่นลบ. ชี้ เกิดการจ้างงานคนไทยแล้วกว่า 3 พันคน

แรงงานไทยเฮ! รัฐบาล อวด ตัวเลขเงินลงทุนต่างชาติ 7 เดือนแรก สูงเกือบ 7.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่แรงงานไทยได้ประโยชน์จากการจ้างงานแล้วกว่า 3 พันคน

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในไทยสูงถึงกว่า 7 หมื่นล้านบาท ในช่วง 7 เดือนแรก ปี 2565 (มกราคม – กรกฎาคม) และคาดการณ์ว่าช่วงเดือนที่เหลือยังคงมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนเล็งเห็นศักยภาพของไทย และนโยบายการส่งเสริมการลงทุนที่ชัดเจน รวมถึงการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในทุกมิติ ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 ไทยอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 323 ราย โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และจีน ตามลำดับ คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้นกว่า 73,635 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 3,308 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 ช่วงเดือนเดียวกัน พบว่า มีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มเกือบ 28,925 ล้านบาท

‘สุริยะ’ เคาะ 4 แนวทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย เน้นสอดรับแผนพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน

กอช. เคาะ 4 แนวทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยฝ่าวิกฤตสู่ความยั่งยืน เน้นบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันนี้ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 มีการพิจารณา 4 เรื่องสำคัญที่จะขับเคลื่อนภาคการผลิตเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมีทิศทางที่สอดรับกับแผนพัฒนาประเทศในทุกระดับ รวมทั้งจะเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็วภายใต้การบูรณาการของทุกภาคส่วน 

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีเอกภาพภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอย่างรอบด้าน ครอบคลุม ตลอดห่วงโซ่มูลค่าในทุกมิติ โดยที่ประชุม กอช. ได้มีมติเห็นชอบใน 4 เรื่องสำคัญ ดังนี้

1. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570)

สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570)  โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี 2570 ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 : ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเดิม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มาตรการที่ 2 : กระตุ้นอุปสงค์เพื่อสร้างตลาดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศ และต่อยอดการสร้างหรือพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และมาตรการที่ 3 : สร้างและพัฒนา Eco System สําหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ กอช. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570) และมอบหมายให้ อก. นำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เสนอสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)/ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป

2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566-2570)
สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566- 2570) โดยตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรม  แห่งอาเซียน (Industrial Hemp Hub of ASEAN)  ภายใน 5 ปี ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 4 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง 2) ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ 3) ส่งเสริมด้านการตลาด และ 4) สร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ โดยแบ่งการดําเนินการเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะ 1 ปี : เร่งสร้าง Enabling และความมั่นคงทางวัตถุดิบ 2. ระยะ 3 ปี : ยกระดับการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์กัญชง และ 3. ระยะ 5 ปี : สนับสนุนการผลิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก ระยะ 5 ปี

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ กอช. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566-2570) และมอบหมายให้ อก. นํา (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เสนอ สศช./ ครม. เพื่อพิจารณาตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป

3. การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่อง การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยประเด็นพิจารณา 2 ประเด็น คือ 1. พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ กรอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ปี พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งเป็นแผนระดับ 3 ด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของประเทศไทย ภายใต้การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 10 กระทรวง 2. พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ การจัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการโรงงาน เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แก้ไขปัญหาการกระทําผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน รวมทั้งใช้เป็นเงินช่วยเหลือ อุดหนุนกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการโรงงาน หรือเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการเกิดอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ กอช. มีมติเห็นชอบในหลักการกรอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ปี พ.ศ. 2566-2570 และแนวทางการจัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

4. กลไกขับเคลื่อนการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ 
สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อให้การขับเคลื่อนการดําเนินงานของ กอช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อก. จึงเสนอที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้ กอช. เพื่อทําหน้าที่กําหนดกรอบและแนวทางการดําเนินงาน จัดทําและเสนอแนะนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค รวมทั้งประสานและบูรณาการการดําเนินงานในประเด็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อ กอช. เป็นระยะ ตามความเหมาะสม ประกอบด้วย 3 กลไกสำคัญ ดังนี้

'อรรถวิชช์' โอด 1 กันยา แก๊สหุงต้มขึ้น - FT ค่าไฟขึ้นกระชาก เหตุสำรองไฟเกินจำเป็น ผู้ค้าเอกชนรวย ประชาชนซวย ไร้มาตรการช่วยเหลือ

ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า กล่าวว่า เริ่ม 1 กันยายนนี้ ประชาชนอ่วมหนัก เดือดร้อนทั้งแผ่นดิน ดอกแรกคือแก๊สหุงต้ม ปรับขึ้นกิโลละ 1 บาท ทุกเดือน มาตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงตอนนี้แก๊สขึ้นมาแล้ว 6 รอบ ถัง 15 กิโล ที่คนใช้กันเยอะๆ ราคาขึ้นมารวมแล้ว 90 บาท ตอนนี้อยู่ถังละ 408 บาทแล้ว ร้านอาหารโดยเฉพาะร้านที่ต้องใช้แก๊สตลอดเวลา เดือดร้อนหนัก ถ้าไม่รีบแก้ บานปลายถึงราคาอาหารแน่ 

ดร.อรรถวิชช์ กล่าวอีกว่า ดอกสองคือ ค่าไฟฟ้า เพราะกันยายนนี้ ค่า FT ขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 93.43 สตางค์/หน่วย สูงกว่าต้นปีถึง 67 เท่า ทำค่าไฟพุ่งเป็นหน่วยละ 4.72 บาท สาเหตุไม่ได้มีแค่ค่าเงินบาทกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติ ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) อ้างเท่านั้น มันเกี่ยวไปถึงการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนด้วย

ดันไทย เป็นศูนย์กลาง ‘EV’ ในภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าหนุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนเต็มสูบ

เมื่อวันที่ 1 ก.ย. นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บอร์ด EV กำหนดนโยบาย 30@30 คือการตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) โดยรัฐบาลได้ออกมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านสิทธิประโยชน์และภาษีของรถ EV เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย เดินหน้าเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าสู่กลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งขณะนี้การส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนมีความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย 

นายอนุชา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้รายงานความคืบหน้าการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบัน (ณ 17 สิงหาคม 2565) มีโครงการที่ได้รับส่งเสริมในกิจการดังกล่าวแล้ว รวม 26 โครงการ จาก 17 บริษัท ได้แก่ 
1. โครงการผลิต Hybrid Electric Vehicle (HEV) จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ GWM, Honda, Mazda, MG, Mitsubishi, Nissan, Toyota 
2. โครงการผลิต Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ BMW, BYD, GWM, Mercedes Benz, Mazda, MG, Mitsubishi, Toyota 
3. โครงการผลิต Battery Electric Vehicle (BEV) จำนวน 15 โครงการ ได้แก่ BYD, FOMM, GWM, Honda, Horizon, Mazda, Mercedes Benz, MG, Mine Mobility (2 โครงการ), Mitsubishi, Nissan Skywell, Takano, Toyota 
4. โครงการผลิตรถบัสไฟฟ้า (E-bus) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ Absolute Assembly และสกุลฎ์ซี (เนื่องจากบางโครงการได้รับการส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 1 ประเภทในโครงการเดียวกัน ทำให้จำนวนโครงการเมื่อแยกตามรายประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว จะสูงกว่าจำนวนโครงการรวม) 

นายอนุชา กล่าวว่า เป็นมูลค่าการลงทุนรวม 80,208.6 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) รวมกำลังการผลิตจำนวน 838,775 คัน แยกเป็น HEV 38,623.9 ล้านบาท 440,955 คัน, PHEV 11,665.6 ล้านบาท 137,600 คัน, BEV 27,745.2 ล้านบาท 256,220 คัน และ Battery Electric Bus 2,173.8 ล้านบาท 4,000 คัน โดยบริษัทที่เริ่มการผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว ได้แก่ Absolute Assembly, BMW, FOMM, GWM, Honda, Mercedes Benz, MG, Mitsubishi, Nissan, Takano, Toyota และยังมีอีกหลายโครงการที่มีแผนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ

นายอนุชา กล่าวว่า จากนโยบายส่งเสริมโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ยังส่งผลให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนสำคัญสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าตามมา เนื่องจากเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ในประเทศ หากผู้ผลิตรถยนต์มีการผลิตหรือใช้ชิ้นส่วนสำคัญ เช่น Battery Management System (BMS), Drive Control Unit (DCU) และ Traction Motorในประเทศเพิ่มเติม ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม

ทีมวิจัย ม.เกษตรฯ เจ๋ง!! ใช้โปรตีนจากจิ้งหรีดพัฒนาขนมสุนัข ส่งเสริมผู้เลี้ยง-รองรับตลาดโต-พร้อมโกส่งออก

วช.หนุนทีมวิจัย มก. ใช้โปรตีนจากจิ้งหรีดพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวสำหรับสุนัข รองรับตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงที่กำลังเติบโตสูง เผยโปรตีนจากแมลงนอกจากได้รับการยอมรับว่าคุณภาพดีแล้วยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทีมวิจัยพร้อมผลักดันให้เกิดการจัดจำหน่ายทางการค้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศได้

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมสูงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เลี้ยงสุนัขส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีความรู้ในการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารสุนัขที่มีคุณภาพดี และยอมจ่ายแม้จะมีราคาที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงรวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 ให้กับโครงการ 'การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวสำหรับสุนัขที่ส่งเสริมสุขภาพและเพิ่มมูลค่าทางการตลาดโดยใช้แหล่งโปรตีนทดแทนจากจิ้งหรีด' ซึ่งมี ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เป็นหัวหน้าทีมวิจัย เพื่อศึกษากรณีการใช้จิ้งหรีดทองแดงลายมาเป็นวัตถุดิบอาหารสำหรับสุนัข และพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวสำหรับสุนัขโตเต็มวัย ตลอดจนสร้างมูลค่าให้กับห่วงโซ่อุตสาหกรรมจิ้งหรีดในประเทศไทย

ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น กล่าวว่า จากการศึกษาตลาดพบว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงของประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับขนมขบเคี้ยว (Treats) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุนัข และมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงเหมือนกัน โดยผู้เลี้ยงสุนัขส่วนใหญ่นิยมซื้อขนมสุนัขในรูปแบบของบิสกิตมากที่สุด ตามมาด้วยแบบกระดูกและแบบกัดแทะ และผู้เลี้ยงสุนัขเหล่านี้จะให้ขนมแก่สุนัขเกือบทุกวัน โดยเฉลี่ย 2 ครั้งต่อวัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ขนาดของตลาดขนมขบเคี้ยวสำหรับสุนัขมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากและผู้บริโภคยอมรับที่จะจ่ายในมูลค่าสินค้าที่สูง

ทั้งนี้ ตามหลักโภชนศาสตร์สัตว์จะกำหนดให้สุนัขควรได้รับปริมาณขนมขบเคี้ยวน้อยกว่าร้อยละ 10 ของความต้องการทางโภชนาการของสุนัขต่อวัน เนื่องจากการให้ขนมขบเคี้ยวที่มากเกินไปอาจทำให้สุนัขได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากนี้แหล่งวัตถุดิบหลักที่นิยมใช้ทำขนมขบเคี้ยวสำหรับสุนัขคือ ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรม เช่น เนื้อ กระดูกป่นและเนื้อเยื่อของสัตว์แห้ง ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไปอาจจะส่งผลต่อสุขภาพสัตว์ได้

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ทำให้พยายามคัดเลือกผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีและยังมีความประสงค์ที่จะใช้แหล่งโปรตีนที่ยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงมีความน่าสนใจที่จะเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากแมลง ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีสำหรับสุนัข เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงมีความยั่งยืน

‘บางจาก’ ร่วมทุนตั้งบริษัทผลิตน้ำมันเครื่องบิน จากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว คาดลงทุน 1 หมื่นลบ.

บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น, บมจ. บีบีจีไอ และ บริษัท ธนโชค ออยล์ ไลท์ ร่วมจัดตั้ง บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) เตรียมผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน จากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว คาดลงทุน 8 พันถึง 1 หมื่นล้านบาท

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า บางจากฯ , บีบีจีไอ และ ธนโชค ออยล์ ไลท์ ลงนามข้อตกลง ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) ด้วยงบลงทุน 8,000-10,000 ล้านบาท ในสัดส่วนการลงทุน 51% , 20%และ 29% ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF (Sustainable Aviation Fuel) จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหาร (Used Cooking Oil) เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย 

ทั้งนี้ บริษัท BSGF จะเริ่มดำเนินธุรกิจด้วยการก่อสร้างหน่วยผลิต SAF จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหาร (Used Cooking Oil) ภายในบริเวณโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ ช่วงปลายปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ.2567 ) ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 ล้านลิตรต่อวัน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนที่อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันทีโดยไม่ส่งผลต่อเครื่องยนต์ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบินลงได้ประมาณ 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (เทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเชื้อเพลิงการบินในปัจจุบัน) 

“BSGF พร้อมขยายเพิ่มกำลังการผลิตรองรับความต้องการใช้ SAF ในอนาคต ตามแนวโน้มความต้องการใช้ SAF ทั่วโลก สอดคล้องกับข้อกำหนดในสหภาพยุโรปที่กำหนดสัดส่วนการผสม SAF ในน้ำมันอากาศยานที่จะบินเข้าสู่สนามบินในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (จากการลงมติของสมาชิกสภายุโรป เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กำหนดไว้ที่ 2% ในปีค.ศ. 2025 และเพิ่มขึ้นเป็น 6%, 37% และ 85% ในปีค.ศ. 2030, 2040 และ 2050 ตามลำดับ) และสอดคล้องกับมาตรการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และสมาคมการบินระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ที่ให้การสนับสนุน เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2593” นายชัยวัฒน์ กล่าว

นายธนวัฒน์ ลินจงสุบงกช กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนโชค ออยล์ ไลท์ จำกัด กล่าวว่า บริษัท ธนโชคฯ มีความมั่นใจในการร่วมทุนครั้งนี้ ปัจจุบัน ธนโชคฯ มีความเชี่ยวชาญในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว โดยมีการลงพื้นที่จัดเก็บในชุมชน ป้องกันการนำกลับไปใช้ซ้ำหรือระบายทิ้งลงในพื้นที่สาธารณะหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยในปัจจุบัน กลุ่มธนโชคฯ มีเครือข่ายการเก็บรวบรวมน้ำมันใช้แล้วครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยศักยภาพการจัดเก็บและรวบรวมน้ำมันใช้แล้วประมาณ 17 ล้านลิตรต่อเดือน และสามารถเก็บเพิ่มร่วมกับบางจากฯให้ได้ 1 ล้านลิตร/วัน และจะยายพื้นที่รับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วทั้งผ่านเครือขายของบริษัทและของปั๊มบางจากฯ รวมเป็นกว่า 2 พันจุด รวมทั้งบางจากฯก็เตรียมแผนแจกกระป๋องเพื่อให้ประชาชนนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาจำหน่ายคืนที่ปั๊ม โดยน้ำมันใช้แล้วจะมีราคาถูกว่าน้ำมันปาล์มดิบ (ซีพีโอประมาณ 2 บาท/ลิตร โดยวันนี้ราคาซีพีโอ 34.50 บาท/ลิตร ราคาน้ำมันใช้แล้วอยู่ที่ประมาณ 32-33 บาท/ลิตร

เกษตรกรเฮ!!! 'จุรินทร์' พบบริษัทปุ๋ยยักษ์ใหญ่ของซาอุชื่อ'ซาบิค' เจรจานำเข้าได้อีก 1 แสนตันในเดือนสิงหาคม

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 8.30 น. นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  พร้อมด้วยผู้แทนภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์และผู้แทนภาคเอกชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการ พบหารือกับผู้บริหารบริษัท SABIC (Saudi Basic Industries Corporation) Mr.Yousef Abdullah Al-Benyan ตำแหน่ง CEO บริษัท SABIC และคณะ ที่บริษัท SABIC ประเทศซาอุดิอาระเบีย วานนี้ (30 ส.ค. 65)

นายจุรินทร์ กล่าวว่า SABIC ถือเป็นบริษัทผลิตปุ๋ยรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและเป็นรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย หารือกับ CEO ของ SABIC ซึ่งบริษัทนี้ทำธุรกิจหลายด้านโดยเฉพาะปิโตรเคมี ปุ๋ย เคมีภัณฑ์และอื่นๆทั้งอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้ว 50 ปี ถือเป็นอันดับหนึ่งในตะวันออกกลาง ค้าขายกับ 50 ประเทศทั่วโลก โดยไทยถือว่าเป็นหนึ่งในนั้นและหลังจากฟื้นความสัมพันธ์ บริษัท SABIC ให้ความสัมคัญกับประเทศไทยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย

ในเรื่องของปุ๋ยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียต้องการอำนวยความสะดวกการเจรจา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำเข้าปุ๋ยจากซาอุดีอาระเบียได้มากขึ้น อย่างน้อยนโยบายของตนตราบเท่าที่การแก้ปัญหาเรื่องราคาไม่ได้เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากและปุ๋ยทำจากแก๊สธรรมชาติ เมื่อราคาแก๊สในตลาดโลกยังสูง ส่งผลให้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกสูงขึ้นด้วย ซึ่งเราต้องนำเข้าปุ๋ยเกือบ 100% ต้นทุนการนำเข้าปุ๋ยในประเทศไทยจึงสูงขึ้นตามราคาปุ๋ยในตลาดโลกและราคาแก๊สในตลาดโลก รวมทั้งการขนส่งปุ๋ยเข้ามาต้องใช้น้ำมัน ทำให้ราคาปุ๋ยในประเทศมีราคาสูง แต่ในประเทศเราต้องแก้ปัญหา 2 ข้อ 1. เรื่องราคา 2. เรื่องปริมาณต้องไม่ให้ขาดแคลนสำหรับความต้องการใช้ของเกษตรกร

เรื่องราคาเราแก้ไขด้วยการจัดทำโครงสร้างราคาใหม่ โดยกรมการค้าภายในเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งทำเสร็จแล้วสอดคล้องกับต้นทุนที่เป็นจริงในการนำเข้า โดยดูจากใบอินวอยด์จริง ซื้อขายจริง ให้ยุติธรรมกับเกษตรกรที่เป็นผู้ใช้ปลายทางและผู้นำเข้า เรื่องปริมาณตอนนี้ถือว่าแก้ปัญหาลุล่วง เราเร่งเจรจากับซาอุดีอาระเบียนำเข้าปุ๋ย ซึ่งขณะนี้ทำสัญญาซื้อขาย นำเข้าปุ๋ยได้แล้วถึงเดือนกรกฎาคม จำนวน 323,000 ตัน และเดือนสิงหาคมนี้ มีการเจรจานำเข้าเพิ่มเติมอีก 102,000 ตัน รวมนำเข้าปุ๋ยจากซาอุฯ 425,000 ตัน และจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม อย่างน้อยปัญหาขาดแคลนปุ๋ยไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เรื่องราคายังต้องเป็นไปตามกลไกของราคาปุ๋ยในตลาดโลก 

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top