Tuesday, 1 July 2025
ECONBIZ NEWS

โฆษกแรงงาน โต้ ส.ส.มด ประกันสังคมจ่ายเยียวยาคนงานในแคมป์ไปแล้วกว่า 28 ล้านบาท  

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า ตามที่ ส.ส.มด นางสาววรรณวิภา ไม้สน ส.ส.พรรคก้าวไกล ออกมาให้ข่าวทางทวิตเตอร์และเพจ
เฟสบุ๊คส่วนตัวว่า วันนั้นบอกจ่ายเงินสดทุก 5 วัน วันนี้ บอกดีเดย์เริ่ม 23 นี้ สรุปว่าจะเยียวยาก็เกือบเดือน รัฐบาลชุดนี้เหลืออะไรให้เชื่อถือได้บ้าง ? นั้น ในเรื่องนี้ กระทรวงแรงงาน ขอชี้แจงรายละเอียด ดังนี้ กรณีการประกาศปิดแคมป์คนงานก่อสร้างตามประกาศ ศบค.นั้น กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้จ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเหตุสุดวิสัยโควิด-19 โดยตัดจ่ายระยะเวลา 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2564 ได้มีการจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำนวน 13,655 ราย เป็นเงิน 28,494,966.60 บาท

นางเธียรรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนการจ่ายเงินวันที่ 23 กรกฎาคมนั้น เป็นเงินของรัฐบาล ตาม พ.ร.บ.กู้เงินที่จะเยียวยาให้ลูกจ้างและนายจ้างเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเงินคนละส่วนกับของสำนักงานประกันสังคม การที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ออกมาให้ข่าวลักษณะดังกล่าวทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เข้าใจผิด ถ้าไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงให้มาสอบถาม ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยินดีต้อนรับทุกคน ในการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด

บทเรียนจากกิ่งแก้ว ภาพจำจากอดีตสู่แนวทางของโรงงานอุตสาหกรรมในวันข้างหน้า

จากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก “หมิงตี้” ซอยกิ่งแก้ว สมุทรปราการ เปลวไฟที่โหมกระหน่ำและควันสีดำที่พวยพุ่งสู่เบื้องสูงสร้างมลภาวะไปทั่วบริเวณเป็นรัศมีไกลหลายกิโลเมตร ความสูญเสียนอกจากทรัพย์สินของชาวบ้านนับหมื่นครัวเรือน ยังรวมไปถึงชีวิตของนักกู้ภัยที่หาญกล้าในการเข้าไปผจญเพลิงเพื่อจบการโหมของอัคคีภัยต้นเหตุ

หลายคนคาดการณ์ถึงสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ในครั้งนี้ไปอย่างหลากหลาย ทั้งส่วนที่เป็นการรั่วไหลของวาล์วถังเก็บวัตถุไวไฟ ทั้งส่วนของการเสื่อมซึ่งคุณภาพของท่อเชื้อเพลิง ทั้งส่วนการควบคุมในกระบวนการผลิต และอีกหลายเหตุผลอันนำไปสู่การประทุใหญ่ในครั้งนี้ แต่ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุอะไร ทุกสิ่งที่สูญเสียย่อมต้องมีคำตอบในการเยียวยา

เบื้องต้น “โรงงานเม็ดพลาสติก” คงต้องมาออกโรงในการเป็นผู้เยียวยาหลัก เพราะเหตุนั้นเกิดขึ้นจากโรงงาน ส่วนอื่น ๆ ก็คงไม่พ้นตัวจังหวัดสมุทรปราการเองที่ต้องมาตอบคำถามในเรื่องของการจัดทำผังเมืองในอดีต ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต และแน่นอนย่อมไม่พ้นจังหวัดที่ต้องออกมายอมรับความจริงในการที่จะต้องเยียวยาผู้ประสบภัยในครั้งนี้อย่างชัดเจนหลังจากจัดพื้นที่พำนักของผู้ประสบภัยไปแล้วในเบื้องต้น

แม้จะเป็นเผือกร้อนในการตอบคำถามของบางบุคคลที่ว่าทำไมโรงงานถึงมาตั้งอยู่ตรงนั้น? แต่คำถามนี้ก็ย้อนแย้งกันว่าแล้วทำไมชุมชนถึงไปอยู่ตรงนั้น? ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ล่วงมาแล้ว 32 ปี ไม่เคยมีบ้านเรือนไปตั้งอยู่ตรงนั้น หากเรามองพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมถึงโกดังเก็บสินค้ากระจายอยู่โดยทั่วไป หลายโรงงานเกิดขึ้นก่อนที่จะมีผังเมือง เมื่อมีผังเมืองบังคับใช้แล้วผู้ที่มีส่วนในการออกแบบผังเมืองจึงพยายามตีกรอบให้โรงงานที่มีอยู่แล้วเหล่านั้นเป็นเขตอุตสาหกรรม แบ่งเป็นสีต่าง ๆ ตามที่เห็นในผังเมืองของแต่ละจังหวัด และในหลายพื้นที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสีผังเมืองเช่นกัน รองรับการขยายตัวของเมืองในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะความเป็นชุมชนที่เข้ามารองรับกลุ่มพนักงานและผู้ที่ช่วยขับเคลื่อนตัวโรงงานนั่นเอง ดังนั้น การหาคำตอบจากอดีตไม่น่าจะใช่เหตุที่เราพึงมาโยนบาปใส่กัน

เราจะไปต่ออย่างไรในเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรม? โดยเฉพาะโรงงานผลิตเม็ดโฟมซึ่งเป็นจำเลยในครั้งนี้ ต้องยอมรับว่าโรงงานผลิตเม็ดโฟมนั้นอาจจะไม่ใช่อุตสาหกรรมหลักสำหรับการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมของประเทศ แต่เราก็ขาดเม็ดโฟมไม่ได้ ตราบใดก็ตามที่เรายังต้องการวัสดุเพื่อทำแพ็คเกจจิ้ง เพื่อทำตู้เย็น เพื่อทำฉนวนกันความร้อน ฯลฯ เมื่อเราขาดไม่ได้โรงงานเหล่านี้ก็ยังคงต้องมีอยู่ บางแห่งก็ยังคงอยู่ในชุมชนที่ขยับขยายไปไหนไม่ได้ เนื่องจากการย้ายโรงงานคือเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ต้องใช้ ท่ามกลางเศรษฐกิจแบบนี้การย้ายโรงงานคือความเสี่ยงของการปิดตัว การปิดตัวคือความเสี่ยงของการตกงานของพนักงานจำนวนมาก การย้ายไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมก็ไม่ใช่ทางออก เพราะเอาเข้าจริงชุมชนก็เริ่มเข้าไปล้อมนิคมอุตสาหกรรมเช่นกัน แต่ทางออกของเรื่องเหล่านี้ก็ใช่ว่าจะไม่มี

ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการทางมาตรฐานต่าง ๆ ที่เข้มงวดกับโรงงานทั้งที่มีอยู่แล้ว และก่อตั้งขึ้นใหม่ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA การรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA รวมไปถึงการประเมินต่าง ๆ ในยุค 4.0 ที่เข้มงวดกว่าในอดีต “แล้วยังไงล่ะ? วัวหายก็ล้อมคอกทุกที !!!” ประโยคสะท้อนความตระหนักรู้บางอย่างที่ไม่มีอยู่ของผู้ที่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับโรงงานอุตสาหกรรม ต้องยอมรับว่าการยึดโยงของชุมชมกับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยวันนี้มันแยกกันไม่ได้และมันไม่ใช่วัวหายล้อมคอก เนื่องจากชุมชนเขาเอาวัวไว้ในคอกตั้งนานแล้ว เพราะโรงงานฯ คือแหล่งรายได้ที่ทำให้ชุมชนมีอยู่

ดังนั้น จิตสำนึกแห่งความปลอดภัยร่วมกันต่างหากที่วันนี้เราต้องสร้าง แม้ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะควบคุมและดูแลโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งการผลักดันให้อุตสาหกรรมของประเทศก้าวไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างเข้มข้นแล้วก็ตาม แต่จำนวนโรงงานกว่า 60,000 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ หลายพันแห่งที่ตั้งอยู่กลางชุมชน คงไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการสร้างชุมชนรอบโรงงานอุตสาหกรรมให้แข็งแรงและอยู่ด้วยกันอย่างปลอดภัย ซึ่งนั่นน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของวันนี้ เพื่อเป็นแนวทางของโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนในวันข้างหน้าที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'วัชระ' ยื่นหนังสือทวงถาม 'โตโยต้า' ติดสินบนเจ้าหน้าที่ไทยนับพันล้าน จริงหรือไม่

(8 ก.ค.64 ) เวลา 13.00 น. นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่อาคารรัฐสภา กรณีที่ได้ส่งหนังสือไป เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ถึงนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายประมนต์ สุธีวงศ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีมีข่าวให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐไทย เพื่อให้ชนะคดีหรือกลับคำตัดสินกรณีภาษีประมาณ 350 ล้านดอลลาร์ ที่ทางการไทยเรียกเก็บจากการนำเข้ารถโตโยต้าพรีอุส และอ้างว่าเกี่ยวกับผู้พิพากษาอาวุโส 3 ท่านในศาลยุติธรรม สร้างความเสื่อมเสียให้กับกระบวนการยุติธรรมไทยเป็นอย่างมาก

นายวัชระ กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าเป็นความจริง อาจเป็นการแอบอ้างหรือเป็นการดิสเครดิตศาลยุติธรรม รู้สึกเสียใจที่ปรากฏเรื่องในทางลบเป็นอย่างยิ่งกับศาลยุติธรรม ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่จะมาลงทุนในประเทศไทยในอนาคต และมีผลกระทบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเพื่อให้ความจริงปรากฏ จึงขอให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยรายละเอียดในเรื่องที่ลูกค้าและประชาชนสงสัยในธรรมาภิบาลของบริษัทโดยด่วนที่สุด

ล่าสุดทางบริษัท โตโยต้า มีหนังสือตอบกลับมายังนายวัชระว่า บริษัทยึดมั่นที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งในไทยและประเทศอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างจริงจัง และกำลังให้ความร่วมมือกับการสอบสวนที่ยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงยังไม่สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้ เนื่องจากการสอบสวนยังคงดำเนินการไม่เสร็จ และตามที่บริษัทได้เคยแจ้งต่อสาธารณะไปก่อนหน้านี้ว่า ขอบเขต ระยะเวลา และผลสรุปของกรณีดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติ ดังนั้น จึงอาจเป็นการด่วนสรุปเกินไปที่จะคาดเดาผลของการสอบสวนที่ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่นั้น

จากการชี้แจงของบริษัทโตโยต้านี้ นายวัชระ ได้ถามกลับบริษัท โตโยต้า ว่าการที่อ้างว่าเรื่องอยู่ระหว่างการสอบสวน ใครเป็นผู้สอบสวน เป็นภาครัฐหรือเอกชน มีใครเป็นกรรมการสอบสวนบ้าง และเมื่อผลการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ จะเสร็จเมื่อใด มีการกำหนดระยะเวลาได้หรือไม่ และสิ่งสำคัญที่สุดที่บริษัทสามารถตอบได้ทันทีในขณะนี้ก็คือ มีการจ่ายเงินนับพันล้านบาทให้ใครจริงหรือไม่ ซึ่งบริษัทย่อมต้องมีข้อมูลในฝ่ายบัญชีอยู่แล้ว หากมีการจ่ายจริงก็ต้องบอกว่าจ่ายให้ใคร เป็นจำนวนเท่าใด หรือหากไม่ได้จ่ายก็ต้องบอกให้สาธารณชนได้ทราบ ทั้งนี้ หากยังไม่ได้คำตอบใด ๆ ก็จะไปยื่นหนังสือทวงถามอีกครั้งหนึ่งภายใน 30 วัน


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ม.หอการค้าฯ หวั่นล็อกดาวน์ ทำเศรษฐกิจเจ๊งหนัก

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจความเห็นภาคธุรกิจ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการล็อกดาวน์ เช่นเดียวกับโควิด-19 รอบแรก โดยมีส่วนที่ไม่เห็นด้วย 38.4% เนื่องจากกลัวกระทบและทำให้เศรษฐกิจแย่ลง กลัวว่าธุรกิจต้องหยุดดำเนินการ ส่วนที่เห็นด้วย 35.7% ต้องการให้เจ็บแต่จบ ขณะที่กลุ่มแน่ใจ 25.9% เพราะต้องการข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนกว่านี้ 

ส่วนการล็อกดาวน์นั้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร ในตอนนี้ยังตอบไม่ได้เพราะ ไม่ทราบว่าจะทำการล็อกดาวน์หรือไม่ และอย่างไร แต่ถ้าหากมีการล็อกดาวน์ 1 เดือนจะสร้างความศูนย์เสียในระบบเศรษฐกิจ 2-3 แสนล้านบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับความยืดเยื้อ และการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังคลายล็อกดาวน์ ดังนั้น จึงยังประเมินตัวเลขทางเศรษฐกิจไม่ได้

ทั้งนี้หากมีการล็อกดาวน์จริง รัฐบาลก็ควรเยียวและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่าน โครงการคนละครึ่ง ซึ่งเหมาะสมที่สุด โดยอาจเติมเงินในโครงการคนละครึ่ง ช่วยให้มีเงินหมุนเวียน ส่วนประชาชนที่มีกำลังซื้อน้อยก็เติมเงินด้วยโครงการ เราชนะ หรือ ม33เรารักกัน

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 43.1 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งอยู่ที่ 44.7 โดยดัชนีลดลงอย่างต่อเนื่องมาเป็น เดือนที่ 4 และต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในรอบ 22 ปี 9 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 37.3 ลดลงจาก 38.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ อยู่ที่ 40.0 ลดลงจาก41.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 52.1 ลดลงจาก 53.9

ลูกจ้าง-นายจ้าง เตรียมรับเงินเยียวยา 23 ก.ค.นี้ พร้อมโอนเยียวยาครั้งแรก 

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกประจำศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) เปิดเผยว่า สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนหรือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่ม โดยล่าสุด ครม. เห็นชอบอนุมัติงบประมาณสำหรับชดเชยเร่งด่วน จำนวน 2,519.38 ล้านบาท เพื่อเยียวยากลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการด้านก่อสร้าง  ที่พัก บริการด้านอาหาร ศิลปะ บันเทิง และนันทนาการ และผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ถูกปิดกิจการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยเริ่มโอนเงินเยียวยาครั้งแรกภายในวันที่ 23 ก.ค.นี้ 

ทั้งนี้จะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ หากนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล สำนักงานประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างแจ้ง หรือตามวิธีการอื่นๆ ที่กระทรวงแรงงานกำหนด ส่วนกรณีนายจ้างที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม สามารถลงทะเบียนนายจ้างและขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ตั้งแต่ตอนนี้จนถึงวันที่ 30 ก.ค.64 เพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม และจะได้เข้าเงื่อนไขของการเยียวยาในครั้งนี้

‘เฉลิมชัย’ เปิดแนวรุกสมุนไพรไทย ฝ่าแนวรบโควิด-19 จับมือกระทรวงสาธารณสุข และสภาการแพทย์แผนไทยระดม 6 พันคลีนิค เปิดสายด่วนใช้สมุนไพรและตำรับยาไทยร่วมรักษาผู้ป่วย พร้อมใช้ 3 แนวทาง ‘ป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู’ สู้โควิด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร แถลงวันนี้ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (7 ก.ค) ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โควิด-19" ระลอกใหม่ที่รุนแรงมากขึ้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้เร่งส่งเสริมพืชสมุนไพร และตำรับยาไทย เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19 โดยผนึกความร่วมมือกับสภาการแพทย์แผนไทย และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

จากข้อสั่งการดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดการประชุมหารือ โดยประสานกับ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมามี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรเป็นประธาน และมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบ ด้วยนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ พล.ร.อ.ชาญชัย เจริญสุวรรณ นายกสภาการแพทย์แผนไทย พันเอกนายแพทย์ พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา ประธานมูลนิธิจิตเป็นผู้ให้ใจเป็นนิพพาน นพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล ผู้อำนวยการกองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ รศ.ดร.ธัญญะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พท.ภ.บัญชา สุวรรณธาดา ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาการแพทย์ไทนร่วมสมัย ฯลฯ

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าพร้อมดำเนินแนวทางการแพทย์ทางร่วมระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทยโดยใช้สมุนไพรและตำรับยาไทยควบคู่กับยาแผนปัจจุบันซึ่งมี 3 แนวทางในการขับเคลื่อน

1.) แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโดยใช้เครื่องยาสมุนไพรและตำรับยาไทย

2.) แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาแผนปัจจุบัน เครื่องยาสมุนไพรและตำรับยาไทย

3.) แนวทางการฟื้นฟูผู้ป่ายหลังการรักษาโดยเฉพาะกรณี Long COVID Syndrome

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า สภาการแพทย์แผนไทยแจ้งว่าปัจจุบันมีคลีนิคแพทย์แผนไทย 6,000 คลินิก และแพทย์แผนไทยกว่า 30,000 คน รวมทั้งศูนย์ฮอตไลน์แพทย์แผนไทยที่มีอยู่ทุกภาค และยังมีคลีนิคจิตอาสาแพทย์แผนไทยอีก 60 แห่ง และคลังยาสมุนไพรและตำรับยาไทยของสภาการแพทย์แผนไทยที่พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

ในขณะที่รองอธิบดีกรมแพทย์แผนไทยแจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์แผนไทยประจำโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และมีการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม เช่น กรุงเทพ นครปฐม และเพชรบุรี

ทั้งนี้ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า ควรเริ่มทดสอบแนวทางการแพทย์ทางร่วมที่โรงพยาบาลสนาม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีความพร้อมมากที่สุดเป็นแห่งแรกตามข้อเสนอของ พอ.นายแพทย์พงศพศักดิ์ ตั้งคณา โดยให้มีการจัดกลุ่มผู้ป่วยตามกลุ่มยาและให้ตรวจเลือดผู้ป่วย ทั้งก่อนและหลังการบำบัดรักษาเพื่อวัดผลลัพธ์หากได้ผลดีจะขยายผลต่อไป

“จากนั้นได้มีการประชุมต่อเนื่องที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวานนี้ (วันที่ 6 ก.ค.) เป็นการประชุมร่วมระหว่าง ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี สาธารณสุขจังหวัด ทีมแพทย์แผนไทยเพชรบุรี พ.อ.นายแพทย์ พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา โดยนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเห็นด้วยและพร้อมดำเนินการในการรักษาผู้ป่วยตามแนวทางการแพทย์ทางร่วม

ทั้งนี้ในส่วนสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ยินดีที่จะดำเนินการทันทีที่มีคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุขให้สามารถดำเนินการทดสอบดังกล่าว โดย พ.อ.นายแพทย์ พงศ์ศักดิ์ แจ้งว่าพร้อมร่วมดำเนินการทดสอบและจะเป็นผู้สนับสนุนเครื่องยาและตำรับยาไทย เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย เบญจโลกวิเขียร (5 ราก) จันทน์ลีลา เป็นต้น"

ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรยังแถลงต่อไปว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมสมุนไพรไทยอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการฯ โดยขับเคลื่อนนโยบายผ่านแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยประกอบด้วย 5 ด้าน คือ

1.) ด้านยุทธศาสตร์สมุนไพรแห่งชาติ

2.) ด้านการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพร

3.) ด้านวัตถุดิบสมุนไพร

4.) ด้านส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร

และ 5.) ด้านส่งเสริมภาพลักษณ์และการตลาดสมุนไพร

ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาได้สนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร 64,917 ไร่ จำนวน 80 ชนิด แบ่งเป็น พื้นที่ที่มาตรฐาน GAP จำนวน 54,755 ไร่ พื้นที่ที่มาตรฐาน Organic Thailand จำนวน 13,162 ไร่ พร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 60 กลุ่ม และมีการจัดทำมาตรฐานสินค้า GAP และมาตรฐานพืชสมุนไพรตามกลุ่มของส่วนที่ใช้ของพืช จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 หัว เหง้า และราก ฉบับที่ 2 ใบ ส่วนเหนือดิน และทั้งต้น ฉบับที่ 3 ดอก พืช สมุนไพรแห้ง ฉบับที่ 4 ผล และเมล็ด และฉบับที่ 5 เปลือก และเนื้อไม้

นอกจากนี้กระทรวงเกษตรยังมีการพัฒนาบุคคลากรเพื่อตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพร รวมทั้งแผนดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 17025 เพื่อให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบมาตรฐาน GAP หรือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และได้จัดทำแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกพืชสมุนไพร (Land Suitability) จำนวน 24 ชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ไพล บัวบก กระชายดำ กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ว่านชักมดลูก กระเจี๊ยบแดง เก๊กฮวย ดีปลี บอระเพ็ด พญายอ เพชรสังฆาต มะระขี้นก มะลิ มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร เพื่อให้มีฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกสมุนไพรที่ชัดเจนสามารถส่งเสริมเกษตรกรได้ โดยมีฐานข้อมูลสมุนไพร ประกอบด้วย

1.) ข้อมูลพื้นที่ปลูกสมุนไพร จากกรมส่งเสริมการเกษตร

2.) ข้อมูล Land Suitability (แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกพืชสมุนไพร) จากกรมพัฒนาที่ดิน

3.) ข้อมูลพืชสมุนไพรที่ได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร

4.) ข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

“สมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจและพืชสุขภาพใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในการประกอบอาหารเป็นยารักษาโรค อาหารเสริมดูแลสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากมูลค่าการบริโภควัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 43,100 ล้านบาท ในปี 2560 เป็น 52,100 ล้านบาท ในปี 2462 ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ และมุ่งเน้นใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมากขึ้นทำให้เกิดแรงหนุนเรื่องธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้านสุขภาพ

รวมถึงโครงสร้างประชากรและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเรื่องสังคมผู้สูงอายุ และกระแสค่านิยมการบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ เกษตรกรจะมีรายได้แน่นอน และมั่นคงถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดในประเทศ และต่างประเทศ แทนการส่งออกสมุนไพรในรูปของวัตถุดิบ

โดยเฉพาะสถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ห่วงใยประชาชนจึงสั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนและร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ของรัฐบาลโดยใช้ 3 แนวทาง ป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู ด้วยสมุนไพรและตำรับยาไทยเสริมการแพทย์แผนปัจจุบัน

พร้อมกับชี้แนะว่าประเทศจีน คือ ตัวอย่างของประเทศที่ใช้สมุนไพรและตำรับยาจีนควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบันสู้กับโควิด-19 จนประสบความสำเร็จ ซึ่งสมุนไพรและตำรับยาไทยใช้มาหลายร้อยปีได้พิสูจน์แล้วว่า สามารถช่วยประชาชนคนไทยมาในแต่ละยุค แต่ละสมัยให้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ การเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันด้วยการแพทย์แผนไทยจะช่วยแก้ไขปัญหาโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี และควรทำพร้อมกันทั่วประเทศ” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ซีพี ออลล์ จ่อดำเนินการทางกฎหมาย ผู้นำเข้า-เผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านสื่อออนไลน์ ด้อยค่า 7-Eleven ส่งผลทำให้ชื่อเสียงบริษัทเสียหาย

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม CPALL ออกแถลงการณ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เรื่อง การดำเนินการทางกฎหมายกรณีการนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ข้อความหมิ่นประมาทบริษัท ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และสื่อออนไลน์ ลงวันที่ 6 กรกฎาคม

ระบุว่า ตามที่ปรากฏว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ข้อความ หมิ่นประมาท เกี่ยวกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ และยังปรากฏเพิ่มเติมว่า มีบุคคลบางกลุ่มได้ปลอม เลียนแบบ เผยแพร่ รวมถึงทำให้เสื่อมค่า (Dilution) ซึ่งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า 7-Eleven เครื่องหมายบริการของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม ซึ่งการกระทำของบุคคลดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัท และสร้างความสับสนและเข้าใจผิดต่อบริษัทเป็นอย่างมาก

บริษัทในฐานะองค์กรเอกชน และบริษัทมหาชน ได้ประกอบธุรกิจโดยสุจริต และยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อประเทศซาติ ประชาชน สังคมและชุมชน รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ประกอบการรายใหญ่ และรายย่อย เป็นสำคัญ บริษัทยินดีเป็นอย่างยิ่งและพร้อมรับการติซมในการดำเนินงานของบริษัทในทางสุจริตและอยู่บนพื้นฐานของความจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่บุคคลทั่วไปมีสิทธิในการกระทำได้

อย่างไรก็ตาม หากการติชมหรือวิพากษ์วิจารณ์การประกอบธุรกิจของบริษัท อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง หรือข้อความหมิ่นประมาท ประกอบกับการปลอม เลียนแบบ เผยแพร่

รวมถึงทำให้เสื่อมค่า (Dilution) ซึ่งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการของบริษัท อันส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และถูกทำให้เสื่อมเสียซึ่งความไว้วางใจต่อสาธารณะ

บริษัทก็มีความจำเป็นในการดำเนินการทางกฎหมายต่อบุคคลที่นำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ข้อความ หมิ่นประมาท และใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการของบริษัท โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก บริษัทต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินการทางกฎหมายของบริษัทเป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิ และประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทเท่านั้น


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เดลต้าเอฟเฟค กกร.ผวาหั่นจีดีพีปีนี้เหลือไม่ขยายตัว

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กกร. เดือนก.ค. 2564 ว่า ที่ประชุม กกร. มีมติให้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 เหลือขยายตัวได้ในกรอบ 0.0-1.5% จากเดิมที่เดือนมิถุนายน ประมาณการขยายตัวในกรอบ 0.5-2.0 % หลังจากเกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่รุนแรงและยาวนานขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ทำให้ต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการระบาด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ การจ้างงานและรายได้แรงงาน ในพื้นที่ควบคุม 

ขณะเดียวกันยังพบว่ายังได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการเดินทางและข้อจำกัดในการกักตัว คาดว่ายังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศตลอดช่วงไตรมาสที่สาม และอาจจะกระทบแผนการเปิดประเทศได้ Ffp ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโควิด-19 และมาตรการเพิ่มเติมของรัฐ

ส่วนการส่งออก คาดว่าจะขยายตัว 8-10% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิม 3% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด ภายใต้เงื่อนไขสามารถควบคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้ และการฉีดวัคซีนให้แรงงานภายใต้ ม.33 ได้ทั่วถึง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1-1.2%

'ดีพร้อม' จับมือ มหาวิทยาลัยรังสิต ปั้นนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ สู้ภัยโควิด-19 อวดโฉมเครื่องมือแพทย์ฝีมือคนไทย รับมือสถานการณ์ปัจจุบัน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยผลความสำเร็จการดำเนินงานระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ในการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทย เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน อาทิ ตู้แรงดันบวก อุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่อง (PAPR), เครื่อง Contactless Self Service Body Check up, ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล Tele-Health เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป จำนวน 50,000 คน หรือ 100,000 โดส

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ห่วงใยประชาชนและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งขับเคลื่อนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ดังนั้น ดีพร้อม (DIPROM) จึงผลักดันมาตรการเร่งด่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่จะเพิ่มความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนนี้ คือการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยรังสิต ในการร่วมดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 25% ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมนั้นจะสามารถรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้

ทั้งนี้ จากการเยี่ยมชมการดำเนินงานของทางมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมีการจัดระบบการให้บริการคัดกรองและการให้บริการฉีดวัคซีน โดยแยกพื้นที่อย่างชัดเจน ทำให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการให้บริการประชาชนด้านต่าง ๆ จึงได้นำต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมจากดีพร้อมมาใช้งานจริง ณ จุดบริการ ทั้งคลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ตู้แรงดันบวก สำหรับตรวจคัดกรอง (Swab Test) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถอยู่ภายในตู้ระหว่างการตรวจคัดกรองเชื้อจากประชาชนที่อยู่ภายนอกได้อย่างสะดวกและปลอดภัย อุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่อง PAPR สำหรับป้องกันระบบทางเดินหายใจแบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เครื่อง Contactless Self Service Body Check up เครื่องตรวจสุขภาพเบื้องต้น แบบลดการสัมผัส ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล Tele-Health สำหรับติดตามข้อมูลสุขภาพและระบบหุ่นยนต์ตรวจสุขภาพใช้ในการวัดความดันโลหิตและติดต่อแพทย์เฉพาะทางสำหรับปรึกษาอาการเบื้องต้น

โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ สามารถนำไปขยายผลสำหรับใช้ในการป้องกันและการตรวจคัดกรองบุคลากรในสถานประกอบการและภาคอุตสาหกรรม นอกเหนือจากต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 แล้ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทย ยังได้มีการต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ อาทิ เครื่อง Auto CPR, ชุด Smart Infusion Pump, ระบบ AI ในการวิเคราะห์โรคปอด, เครื่องช่วยพยุงผู้สูงอายุ สำหรับการใช้งานในสถานพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ รวมทั้งชุมชน ซึ่งเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพไทย โดยมีผู้ประกอบการที่มีความสามารถและพร้อมนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดผลิตในเชิงพาณิชย์โดยไม่มีลิขสิทธิ์ต้นแบบอีกด้วย นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติม

นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า มหาวิทยาลัยรังสิต รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง และได้เล็งเห็นถึงความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ จึงได้มุ่งมั่นที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์มาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สามารถรองรับกับความต้องการใช้งานที่หลากหลายได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิต โดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีบทบาทในการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาโดยตลอด โดยครั้งนี้ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ผลงานจากความร่วมมือกันได้ถูกนำมาใช้งานจริง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการประชาชนในมิติที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

รวมทั้ง ยังสามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ณ คลินิกเทคนิคการแพทย์ อาคารวิทยาศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาคารนันทนาการ 14 มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป จำนวน 50,000 คน หรือ 100,000 โดส ภายในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อมให้บริการตามเป้าหมาย

โดยปัจจุบันได้มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วประมาณ 15,000 คน ส่งผลให้ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งเพิ่มความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยทั้งด้านอุปโภคและบริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่คาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึงกว่า 300 ล้านบาทต่อเดือน และจะสูงถึงกว่า 700 ล้านบาทต่อเดือนเมื่อฉีดวัคซีนได้ครบตามเป้าหมาย 50,000 คน นายอาทิตย์ กล่าวทิ้งท้าย


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ครม.เห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สูงสุดรายละ 100,000 บาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารที่เปิดในห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ ภัตตาคาร ร้านที่มีลักษณะเป็นบูธ ไม่ใช่เป็นร้านแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น หาบเร่ แผงลอย รถเข็น โดยธนาคารออมสินจะสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท

โดยให้วงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุด 100,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก โดยไม่ต้องค้ำประกัน

ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามมาตรการครั้งนี้ รัฐบาลจะชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 100% สำหรับเอ็นพีแอล ที่ไม่เกิน 50% ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 2,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป ซึ่งมาตรการนี้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ครม.เห็นชอบไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมาณ 4 หมื่นราย


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top