Saturday, 5 July 2025
ECONBIZ NEWS

‘ทิพานัน’ ชูแอปฯ MyMo ช่วยหาบเร่-มนุษย์เงินเดือน เข้าถึงแหล่งเงินกู้สู้ภัยโควิดได้ง่ายขึ้น

“ทิพานัน” ย้ำหาบเร่ แผงลอย - มนุษย์เงินเดือน กู้เงินสู้ภัยโควิดได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ MyMo พร้อมชวนเยาวชนที่เริ่มอาชีพ - ผู้ต้องการซื้อแฟรนไชส์ กู้เงินตั้งตัวจาก ธ.ออมสิน ได้สูงสุด 300,000 บาท ปลอดชำระหนี้ได้ 6 เดือนแรก ยันนายกฯ ไม่ทิ้งผู้ค้ารายเล็กพร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการหน้าใหม่อย่างเป็นระบบ

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตผู้สมัครส.ส.กทม.เขตจอมทอง-ธนบุรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้นให้หน่วยงานต่างๆ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะทำให้รายได้ลดลงหรือตกงาน โดยได้อนุมัติงบประมาณให้ธนาคารของรัฐปล่อยสินเชื่อที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการและเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น ทั้งต่อยอดรายได้ในธุรกิจและลดภาระค่าครองชีพครอบคลุมในทุกกลุ่ม 

โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ขยายเวลาการลงทะเบียนกู้ สินเชื่อออมสินสู้ภัยโควิด-19 ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo จากธนาคารออมสินออกไปตั้งแต่วันนี้ - 30 กันยายน 2565 หรือจนกว่าวงเงินจะหมด ซึ่งเป็นสินเชื่อที่เปิดโอกาสให้กู้ได้ทั้งผู้ที่มีเงินเดือนประจำ พนักงาน-ลูกจ้างหน่วยงานเอกชน ผู้มีอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ผู้มีรายได้น้อย โดยมีอายุตั้งแต่ 19-70 ปี โดยให้กู้ในวงเงินที่จำเป็นไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระนานถึง 2 ปี รวมกับระยะเวลาปลอดชำระหนี้ 6 งวดแรกแล้ว ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย สามารถกำหนดระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมแต่ไม่เกิน 3 ปี เรียกว่าเป็นเงื่อนไขดีๆ ที่ให้ผู้เดือดร้อนได้มีเงินเข้าไปหมุนเวียนการค้าขายรายเล็กๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน

ก.อุตฯ เร่งออกมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า ‘สุริยะ’ สั่งเดินหน้าหนุนนโยบาย EV เต็มสูบ

“สุริยะ” เร่ง สมอ. ออกมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า เดินหน้านโยบาย EV เต็มสูบ ล่าสุดบอร์ด สมอ. ไฟเขียวเพิ่มอีก 19 มาตรฐาน คาดประกาศใช้ภายในปีนี้ รองรับเทคโนโลยีวีทูจี (Vehicle to Grid - V2G) ให้รถยนต์อีวีเป็นแหล่งไฟฟ้าสำรอง  

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ที่มีท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยการจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศใช้แล้วจำนวน 116 มาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจสอบรับรองที่มีความพร้อม เช่น ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้าน EV ให้เกิดการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ให้เป็นไปตามเป้าหมายการผลิตและการใช้ยานยนต์ไร้มลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle : ZEV ลดการใช้น้ำมัน ลดการปล่อยไอเสีย รวมทั้งลดฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วย

‘จีน’ ผนึก ‘เอเชีย’ ส่งเสริมค้าขายด้วยเงินท้องถิ่น ปูทางสร้างความแข็งแกร่งให้สกุลเงินในภูมิภาค

นายอี้ กัง ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน เปิดเผยว่า จีนจะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ ในเอเชียเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค

การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าและการลงทุนในไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยทางการเงินให้กับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียจากผลกระทบต่างๆ จากภายนอก โดยการแลกเปลี่ยนสกุลเงินแบบทวิภาคีในกลุ่มประเทศอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีมูลค่ารวมสูงถึง 3.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The People's Bank of China: PBOC) ได้ขยายข้อตกลงแลกเปลี่ยนสกุลเงินแบบทวิภาคีกับธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia: BI) เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อกระชับความร่วมมือทางการเงินและส่งเสริมการลงทุน

‘พีรพันธุ์’ ยกย่อง ‘ยิ้ม’ ผู้ปิดทองหลังพระตัวจริง อาสาช่วยสู้คดีค่าโง่โฮปเวลล์ โดยไม่เรียกเงินซักบาท

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า คนดีที่ยังมีในประเทศไทยและในโลก

วันก่อนผมเขียนชื่นชม “ยิ้ม” (นายสุทธิรักษ์ ยิ้มยัง) พนักงานนิติกร การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ “ปิดทองหลังพระ” ในคดีค่าโง่โฮปเวลล์ ที่เป็นผู้ช่วยคนสำคัญให้ผมทำงานแก้ไขปัญหาคดีค่าโง่โฮปเวลล์ให้พี่น้องชาวไทยจนสำเร็จ จนมีผู้คนชื่นชมและชมเชยยิ้มกันอย่างมากมายแบบที่ผมไม่คาดคิดมาก่อน

เมื่อวานผมได้ข่าวว่ายิ้มได้รับการเลื่อนระดับ ผมจึงโทรศัพท์ไปแสดงความยินดี ทำให้ได้พูดคุยเรื่องส่วนตัวกันเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสองปี 

ผมจึงได้ทราบจากยิ้มว่ายังมีทีมงานที่การรถไฟที่ผมไม่เคยพบมาก่อน “เสียสละและทุ่มเท” กันอย่างเงียบๆ มาเป็นปีแล้วโดยไม่เคยบ่นไม่เคยเรียกร้องใดๆ 

ไล่เลียงมาตั้งแต่เพื่อนที่มาช่วยขับรถรับส่งยิ้มที่ผมได้เล่าไปแล้ว ซึ่งต่อมากลายสภาพเป็นคนวิ่งเตรียมเอกสารและส่งเอกสารคำร้องต่างๆ ต่อศาลและทุกหน่วยราชการให้ทันเวลาด้วย ชื่อ สุขี ผ่องอำไพ ซึ่งได้รับการเลื่อนระดับพร้อมกับยิ้มด้วย และยังมีน้องๆ ที่มาช่วยยิ้มอีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็น “พู่” “พลอย” “บาส” และลูกจ้างเฉพาะงานอีกหลายคน 

คนเหล่านี้ทุ่มเทและเสียสละเวลาส่วนตัวและประโยชน์ที่พึงได้รับจากการทำงานนอกเวลาและทำงานในวันหยุดเสาร์อาทิตย์มาเป็นปี เพียงเพราะกลัวว่าจะค้นเอกสารและเตรียมข้อมูลให้ผมไม่ทัน เนื่องจากทุกอย่างมีกำหนดเวลาตามกฎหมาย แต่ยิ้มและคนเหล่านี้ไม่เคยบ่น ไม่เคยปริปากแพร่งพรายเรื่องนี้ให้ผมทราบมาก่อน 

ผมถามยิ้มว่าการรถไฟจ่ายค่าล่วงเวลาอย่างไร ยิ้มบอกว่าไม่ทราบ

อ้าว! ทำไมไม่ทราบ

คำตอบที่คาดไม่ถึง คือ เพราะยิ้มไม่เคยใช้สิทธิเบิกเงินค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดในคดีนี้เลย

และเมื่อยิ้มซึ่งเป็นหัวหน้าไม่ใช้สิทธิเบิกแล้ว น้องๆ ที่มาช่วยทำงานก็ไม่มีใครกล้าใช้สิทธิเบิกตามไปด้วย เลยไม่รู้ว่าจะได้ค่าตอบแทนนี้เท่าไหร่  

คนเหล่านี้มีเพียงเงินเดือนกันคนละเล็กคนละน้อย ยังต้องนั่งรถเมล์ ยังต้องดูแลพ่อแม่และครอบครัว แต่พวกเขา “เสียสละและทุ่มเท” กับการเตรียมข้อมูลเตรียมเอกสารต่อสู้กับผู้ที่จ้องจะตะครุบเงินแผ่นดินเป็นหมื่นๆ ล้าน โดยไม่คิดถึงผลตอบแทนของตัวเองเลยแม้แต่น้อยนิด ซึ่งตามปกติน่าจะมีอยู่เพียงในนิทานหรือในภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาเท่านั้น

รัฐเร่งเครื่องยานยนต์ไฟฟ้า ดันมาตรฐานอีวีเพิ่มรองรับ 

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุม กมอ. ได้เห็นชอบมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มอีก 19 มาตรฐาน เพื่อรองรับนโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของรัฐบาล หลังจากได้มีการประกาศใช้แล้วจำนวน 116 มาตรฐาน 

สำหรับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าที่ประกาศเพิ่มอีก 19 มาตรฐาน เช่น มาตรฐานจักรยานยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบการสื่อสารระหว่างรถยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า มาตรฐานระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบเบรกของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรฐานวิธีทดสอบที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ในปี 2565 สมอ. มีแผนจัดทำมาตรฐานอีกจำนวน 19 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานเรือไฟฟ้า ชิ้นส่วนสำหรับดัดแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า  ระบบจอดอัตโนมัติของรถยนต์  และระบบแบตเตอรี่ของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยจะเร่งดำเนินการออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านอีวีให้เป็นรูปธรรม 

พิษสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาสินค้าเกษตรพุ่ง

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ประเมินราคาสินค้าเกษตรในเดือนมีนาคม 2565 โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน เป็นสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด ราคา 8.58 – 9.02 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.12 – 8.41%

ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจในต่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ความต้องการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงสูงเกินกว่ากำลังการผลิต ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลต่ออุปทานน้ำมันของโลก ทำให้หันมาใช้พืชพลังงานอย่างปาล์มน้ำมันทดแทน จึงทำให้ราคาปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น 

ส่วนสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคา 11,503 – 11,850 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.50 – 3.54%, น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคา 18.65 – 18.80 เซนต์/ปอนด์ (13.32-13.45 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.65 – 1.45%, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคา 8.99 – 9.02 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.11 – 0.45 

‘CG บราซิล’ ยกย่อง Thailand Pavilion ยอดเยี่ยม นำเสนอเรื่องดี ร้อยเรียงเนื้อหางานเก่ง เต็มสิบไม่หัก

กลายเป็นอีกความน่าภาคภูมิใจ หลังจากเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 65 ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทาง General Elias Rodrigues Martins Filho-Commissioner General for Brazil Pavilion ได้เข้าเยี่ยมชมอาคารแสดงประเทศไทย โดยมี ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการฯ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (depa) ในฐานะ Thailand Pavilion Director และ ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมกำลังคนดิจิทัล ให้การต้อนรับ

ในการนี้ General Elias Rodrigues Martins Filho ได้กล่าวแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่อาคารแสดงประเทศไทยมียอดผู้เข้าชมผ่าน 1 ล้านคนไปเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมชมเชยว่าความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลจากการเตรียมการอย่างดีตั้งแต่แนวคิดในการนำเสนอ การร้อยเรียงข้อมูลที่ประยุกต์ “สายน้ำ” เป็นผู้ดำเนินเรื่องเพื่อสะท้อนการพัฒนาประเทศจากความรุ่งเรืองในอดีตสู่ปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต รวมถึงการออกแบบอาคาร การบริหารจัดการกิจกรรมตลอดระยะเวลาการจัดงาน ตลอดจนการคัดเลือกเยาวชนไทยมาทำหน้าที่ Thailand Pavilion Ambassador เพื่อส่งมอบความประทับใจให้กับผู้เข้าชมอาคารทุกคน

'กอบศักดิ์' ชวนคิด!! สงครามค่าเงิน เกมสงครามคู่ขนาน แนวรบที่น่าติดตามจากสงคราม 'ยูเครน-รัสเซีย'

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า สงครามค่าเงิน กับ รัสเซีย

อีกแนวรบที่น่าติดตาม จากสงครามยูเครน-รัสเซีย คือ สงครามค่าเงิน

เรียกว่าเป็น สมรภูมิ ที่ต่อสู้กันรุนแรงมากอีกสมรภูมิหนึ่ง

ซึ่งเป็นสนามรบที่จะมีนัยต่อไปอีกมาก เพราะค่าเงินที่สูงขึ้น หมายความว่า ต้นทุนของสินค้าต่างๆ ในรัสเซีย จะเพิ่มสูงขึ้น และจะมีนัยไปต่อถึงเงินเฟ้อที่ล่าสุดสูงถึง 8.73% ให้เพิ่มขึ้นได้อีก 7-10% สร้างความลำบากในการครองชีพให้กับคนรัสเซีย และบั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองของรัสเซีย

ล่าสุด สู้กันมา 4 วัน ยังสู้กันไม่จบ

ตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นมา ค่าเงินวิ่งอยู่ระหว่าง 120 รูเบิล/ดอลลาร์ และ 97 รูเบิล/ดอลลาร์ หรือเหวี่ยงขึ้นลงประมาณ 15-20%

หมัดที่ออกกันมา ก็เรียกว่าไม่ธรรมดา

เริ่มจากการ Sanctions ปกติ ที่ทำให้ค่าเงินอ่อนจาก 70 รูเบิล/ดอลลาร์ เป็น 85-90 รูเบิลต่อดอลลาร์

ตามมาด้วยการประกาศ Freeze เงินสำรองของรัสเซียที่อยู่ในโลกตะวันตก เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา 

ทำให้เงินสำรองรัสเซียที่สะสมไว้ตั้งแต่หลังการผนวกไครเมีย ที่เคยอยู่ที่ 3.5 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2015 เพิ่มเป็น 6.43 แสนล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน บางส่วนไม่สามารถนำออกมาสู้ศึกค่าเงินได้ 

ไม่น่าแปลกใจ หลังมาตรการดังกล่าว ค่าเงินรูเบิลทิ้งดิ่งจาก 85 รูเบิล/ดอลลาร์ไปสู่ระดับ 117 รูเบิล/ดอลลาร์ ทันที

และก็หมุนเวียน ขึ้นลงอยู่ระหว่าง 97-120 รูเบิล/ดอลลาร์

หลายคนถามว่า "ถ้าเงินสำรองถูกยึดแล้ว รัสเซียสู้อย่างไร"

คำตอบ "มาตรการ Capital Control" ในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง
- ปิดตลาดหลักทรัพย์ ไม่ให้นักลงทุนขาย เงินก็ติดอยู่ในนั้น
- การประกาศห้ามไม่ให้นักลงทุนต่างประเทศ ขายสินทรัพย์ในรัสเซีย
- การบังคับให้ผู้ส่งออก ต้องเอาเงินตราต่างประเทศ 80% ที่ได้มา ออกมาขายในตลาด ไม่ให้เก็บไว้
- การออกค่า Commission 30% สำหรับการแลกเปลี่ยนเงิน
- ล่าสุด คือการที่กำลังจะจ่ายชำระคืนหนี้ไม่ได้ ซึ่งอาจจะต้องประกาศหยุดการชำระหนี้ 

ศิริกัญญา’ ห่วงวิกฤต 'รัสเซีย-ยูเครน' ทำราคาน้ำมันพุ่ง หวั่น!! 2 มาตรการตรึงราคาภาครัฐท่าจะเอาไม่อยู่ 

‘ศิริกัญญา’ ห่วงวิกฤต 'รัสเซีย-ยูเครน' ทำราคาน้ำมันพุ่ง ซ้ำเติมปัญหาปากท้องประชาชน ย้ำ 2 มาตรการตรึงราคาเอาไม่อยู่ เหตุรัฐบาลเมินแก้กฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ ปิดประตูทางรอดทางการคลังของประเทศ

4 มี.ค. 65 ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แสดงความกังวลปัญหาค่าครองชีพของประชาชนที่จะมากขึ้น สืบเนื่องจากกรณีปัญหาสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ว่า ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกปรับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง เมื่อวานนี้ (3 มี.ค. 65) น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) พุ่งขึ้นมาปิดที่ 114.59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่ เดือน พ.ค. 54 ขณะราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) พุ่งขึ้นมาปิดที่ 119.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ยังไม่ต้องพูดถึงราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาอาหารสัตว์ และปุ๋ย ที่ตบเท้าเรียงแถวกันขึ้นพร้อมๆ กันย่อมกระทบกับเศรษฐกิจไทยและค่าครองชีพประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

“ถึงแม้ว่าสงครามอาจไม่ยืดเยื้อยาวนาน แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าจะจบลงในรูปแบบใด และการแซงก์ชั่นหรือคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจะจบลงพร้อมกับสงครามหรือไม่ ราคาพลังงานและสินค้าต่างๆ จะกลับมาเป็นปกติเมื่อใด รัฐบาลยังคงมีเป้าหมายที่จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาท/ลิตร และแย้มมาว่าจะอุดหนุนราคาน้ำมันเบนซินไปพร้อมๆ กัน แต่ ณ วันนี้ปั๊มต่างๆ ปรับราคาดีเซลขึ้นไปเกิน 30 บาทกันหมดแล้ว แม้จะเป็นเป้าหมายที่ดี แต่เริ่มเกิดความไม่มั่นใจว่าจะทำอย่างไร และยังมีคำถามคาใจที่ยังไม่มีคำตอบคือจะเอาเงินมาจากไหน ประชาชนส่วนนึงยังเฝ้ารอคำตอบชัดๆ ถึงมาตรการ” รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลระบุ

ศิริกัญญา ยังกล่าวต่อไปว่า มาตรการที่มีอยู่ตอนนี้มี 2 ส่วน ส่วนแรก คือใช้เงินจากกองทุนน้ำมัน ซึ่งติดลบอยู่ 20,000 ล้านบาทแล้วในปัจจุบัน ข่าวแว่วมาว่าจะใช้เงินอุดหนุนจากกองทุนเพิ่มอีกเป็น 4 บาท/ลิตร ในสถานการณ์ที่กองทุนยังกู้เงินจากสถาบันการเงินไม่ได้ เนื่องจากติดปัญหาการเปลี่ยนสถานะจากนิติบุคคลเป็นองค์การมหาชน จึงยังไม่ได้รับรองบัญชี ทำให้วงเงินที่ครม.เคยอนุมัติไว้ 30,000 ล้าน ยังไม่มีเม็ดเงินจริงๆ เข้ากองทุนเลยแม้แต่บาทเดียว ยังคงต้องลุ้นกันต่อว่าจะกู้ได้เมื่อไหร่ เพราะถึงแม้จะเปลี่ยนสถานะได้ กว่าจะกู้ผ่านก็ยังต้องใช้เวลาอีก 2-3 สัปดาห์สำหรับธนาคารในการดำเนินการ ข้อจำกัดคือเงินที่ใช้อุดหนุนอยู่จะตกราว 8,000 ล้านบาทต่อเดือน หากกู้เพิ่มได้จริง 30,000 ล้าน ก็ไม่เพียงพอ ส่วน ครม. ยังมีช่องให้อนุมัติเพิ่มได้อีกเพียง 10,000 ล้าน หลังจากนี้หากจะกู้เพิ่มคงต้องแก้กฎหมายกองทุนน้ำมันที่กำหนดเพดานการกู้ไว้

‘อุตตม’ จี้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ ให้ทันความเปลี่ยนแปลงโลก - ปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

นายอุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ก่อตั้งพรรคสร้างอนาคตไทยเปิดเผยว่า สวัสดีครับ เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้ให้สัมภาษณ์กับทางสถานีโทรทัศน์ TNN เรื่องทิศทางของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (Eastern Economic Corridor) ต่อจากนั้นก็มีโอกาสบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้านธุรกิจท่องเที่ยว ที่จัดโดยสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

ประเด็นหนึ่งที่ผมได้แชร์ความเห็นในทั้งสองกิจกรรมนั้น ก็คือทั้งอีอีซี และภาคการท่องเที่ยว จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

ซึ่งโจทย์สำคัญที่เรากำลังเผชิญในปัจจุบัน คือ โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีอยู่นั้น นับวันจะอ่อนพลังลง จนไม่สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสั่งสมของประเทศ เช่น ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน รวมทั้งไม่มีพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้หากเราเดินต่อด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิมๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราจะเผชิญกับการที่อนาคตของประเทศจะเต็มไปด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ตลอดจนไม่สามารถก้าวทันโลก และไม่สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับประชาชน

ผมขอสรุปประเด็นหลักๆ เกี่ยวกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ซึ่งไม่เอื้อต่อการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ดังนี้

1.) เศรษฐกิจฐานรากของประเทศยังไม่เข้มแข็ง ประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับฐานราก ยังต้องเผชิญปัญหาความยากจน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ขาดโอกาสในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เพียงพอกับการดำรงชีพ 

2.) เครื่องยนต์หลักในโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ภาคการส่งออก ซึ่งมีสัญญาณว่าจะเริ่มอ่อนกำลังลง เพราะความได้เปรียบของสินค้าเราในตลาดโลกลดลง เริ่มก้าวไม่ทันคู่แข่ง ความได้เปรียบเดิมๆ เช่น เรื่องค่าแรง ข้อเท็จจริงคือ ค่าแรงในประเทศนับวันสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันหลายประเทศในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ก็กำลังเร่งขึ้นมาเป็นคู่แข่งหรือแซงหน้าสินค้าส่งออกที่สำคัญของเราไปแล้ว

3.) นอกจากการส่งออกแล้ว การท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องยนต์หลักทางเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้เข้าประเทศมาโดยตลอด กล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวไทยมีศักยภาพสูงมาก ไม่แพ้ประเทศอื่น อย่างไรก็ดี ในโลกที่พฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การท่องเที่ยวต้องไม่พึ่งพาเพียงการโปรโมชั่น เพื่อหวังผลในเชิงปริมาณเป็นหลักเท่านั้น

4.) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา ไม่เพียงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เช่น ถนน ระบบราง การขนส่งทางน้ำ และอากาศ แต่เราต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่จะเป็นพลังในโลกยุคใหม่ด้วย

5.) ทั้งนี้ในระบบเศรษฐกิจใดๆ ก็ตาม คน คือหัวใจสำคัญ ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคน ให้สามารถตอบโจทย์การปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในโลกใหม่ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสถานการณ์

ประเทศไทยมีจุดแข็งในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ กำลังคน ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของจุดแข็งที่เรามีได้อย่างเต็มที่นั้น จำเป็นต้องอาศัยเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลัก และโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาด้วยเป้าหมายยุทธศาสตร์ ที่สอดคล้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

ด้านการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก มีความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีความสามารถพัฒนาการผลิตสินค้ามูลค่าสูงขึ้นกว่าเดิม ตลอดห่วงโซ่การผลิต นั้นคือ เป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งเป็นสินค้าและกระบวนการผลิตที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งในระดับเศรษฐกิจฐานรากไปพร้อมกัน ทำให้เกิดการจ้างงาน การสร้างอาชีพ และการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะชุมชนในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอย่างครอบคลุม

ขอยกตัวอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในระดับต้นๆ ของโลก แต่ขณะนี้ทั่วโลกกำลังมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้พลังงานสะอาด หรือพลังงานสีเขียว พลังงานไฟฟ้า ฯลฯ เราจึงสมควรเร่งกำหนดทิศทางการปรับเปลี่ยน ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ เพื่อให้ยังคงบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีโลกต่อไปได้ในอนาคต

โดยให้มีความชัดเจน ว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และที่เกี่ยวเนื่อง จะมีเป้าหมายอย่างไร และเกิดขึ้นในรูปแบบใด เพื่อให้ไทยจะยังเป็นที่น่าสนใจของลูกค้า นักลงทุน พันธมิตร ผู้ประกอบการ แต่หากไม่มีการปรับหรือยกระดับที่เหมาะสม การย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญก็อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถของเศรษฐกิจประเทศ รวมถึงอนาคตของบุคลากรจำนวนมากที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และที่เกี่ยวเนื่อง

ในทำนองเดียวกัน อุตสาหกรรมอื่นๆของประเทศ จำเป็นต้องได้รับการทบทวนยกระดับ ควบคู่ไปกับการสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะเป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ โลจิสติกส์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแพทย์ครบวงจร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สินค้าจากเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น

สำหรับการท่องเที่ยวนั้น ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ เราควรมุ่งเน้นพัฒนาการท่องเที่ยวที่จะมีบทบาทสูง ต่อการช่วยยกระดับความเข้มแข็งของชุมชนฐานราก โดยเราสามารถวางยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ให้เกิดการท่องเที่ยวภาคชนบทอย่างกว้างขวาง และมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับภาคเกษตร และการผลิตสินค้าชุมชน เพื่อให้โอกาสชุมชนนำศักยภาพทั้ง 3 ด้านที่มีอยู่ มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top