Thursday, 10 October 2024
ECONBIZ NEWS

‘แบงก์ชาติ’ เผย เงินสำรองคงคลังของไทย แข็งแกร่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ระหว่าง 'วาทกรรม' กับ ' การกระทำ' 

แบบไหนที่ 'ควร' ต้องเปิดหู เปิดตา เปิดใจ ยอมรับฟัง!! ในระหว่างที่บางกลุ่มก้อนของสังคมชิงฉายวาทกรรม ให้เกิดการมอง 8 ปี ประเทศไทย ว่า 'พังในทุกมิติ'

เป็นเช่นนั้นหรือไม่?

ลองมาย้อนสักดูตัวอย่างเล็ก ๆ เช่น เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ถูกฉายวนในสังคมมาสักพักใหญ่ ๆ กันอีกสักหลาย ๆ รอบ แล้วพิจารณาดูว่า...

อันดับของไทยที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกแบบนี้ 

หากมีใครมาพูดว่า 8 ปีประเทศไทย 'พัง' ก็คือพัง? ได้ง่าย ๆ ตามใจปากพูดได้เลยงั้นหรือ?

จากเฟซบุ๊ก 'Bangkok I Love You' ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย เนื้อหาดังนี้...

ปัจจุบันประเทศไทย มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 9,319,090.28 ล้านบาท นับเป็นอันดับที่ 13 ของโลก แซงหน้า สหรัฐอเมริกา 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้น เดือนธันวาคม ปี 64 อยู่ที่ 9,319,090.28 ล้านบาท

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565 โดยในปีนี้ ‘พี่น้องเจียรวนนท์’ แห่งเครือซีพี ยังครองแชมป์มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในไทยอีกสมัยไปด้วยทรัพย์สิน 2.65 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 9.33 แสนล้านบาท

Forbes รายงานว่า เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวกลับมาได้เนื่องจากโควิด-19 เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับลดจากจากจุดสูงสุดลง 3%

ไม่เพียงเท่านั้น ตั้งแต่จากการอันดับมหาเศรษฐีไทยครั้งล่าสุด อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหน่วยดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงถึง 12% ส่งให้มูลค่ารวมทรัพย์สินของมหาเศรษฐีไทยทั้ง 50 รายชื่อ ลดลงเกือบ 6% มาอยู่ที่ 1.51 แสนล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 5.31 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับการจัดอันดับปีที่ผ่านมา

สำหรับ 10 อันดับแรกของปีนี้ ยังคงมีการขึ้น-ลง สลับกันกับปีก่อนๆ ส่วนทั้ง 50 อันดับเป็นอย่างไรบ้าง คลิกดูได้ที่ https://www.forbes.com/lists/thailand-billionaires/?sh=56cd7d16223e

'เฉลิมชัย' ทำลายสถิติสำเร็จอีกครั้งส่งออกผลไม้ครึ่งปีแรกทะลุ 1 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 8 หมื่นล้าน ชื่นชมชาวสวนภาครัฐภาคเอกชนร่วมมือพัฒนาคุณภาพจนครองแชมป์ตลาดจีนเด็ดขาดเกือบ 50% แต่ห่วงลำไยทรุดสั่งฟรุ้ทบอร์ดปรับกลยุทธ์เร่งแก้ไข

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) แถลงวันนี้ (8 ก.ค.) ว่า การส่งออกผลไม้สดไปสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้พิธีสารระหว่างไทย-จีนในรอบ 6 เดือนแรกปีนี้มีปริมาณถึง 1,123,543 ตัน ทำลายสถิติการส่งออกในระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งส่งออกได้ 1,002,771 ตัน โดยเพิ่มขึ้นกว่า 120,000 ตัน หรือกว่า 10% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 81,282 ล้านบาท

ในขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการโดยเฉพาะผลกระทบจากมาตรการไดนามิคซีโร่โควิดของจีนในการป้องกันการแพร่ระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2564 เป็นต้นมา และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นส่งผลต่อค่าระวางขนส่งทางบกทางเรือทางอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาวะเศรษฐกิจทำให้มูลค่าการส่งออกผลไม้สดลดลง 2,900 ล้านบาท หรือลดลง 3.45% ส่วนหนึ่งเกิดจากการส่งออกลำไยลดลง เนื่องจากการปิดด่านบางด่านของจีนช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงต้นปีจากปัญหาโควิด-19 ในจีนจึงสั่งให้ฟรุ้ทบอร์ดปรับกลยุทธ์เร่งแก้ไขปัญหาลำไยซึ่งหล่นจากการส่งออกไปจีนเป็นลำดับ 3 รองจากทุเรียนและมะพร้าว

✨น้ำมันลด 3 บาท ‼

'ปตท.-บางจาก' ปรับลดราคาน้ำมัน
• กลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับลด 3 บาท/ลิตร 
- เว้น E85 ลด 1.80 บาท/ลิตร
• กลุ่มดีเซลราคาคงเดิม


มีผลวันพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 65) ตั้งแต่เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป 


ที่มา : https://www.facebook.com/ThaiPBS/photos/a.348532055084/10167090604630085/

กระทรวงเกษตรไทย-ญี่ปุ่น ตกลงขยายความร่วมมือมิติใหม่เชื่อม 4,200 องค์กร บนแพลตฟอร์ม FKII เพิ่มโอกาสการค้าการลงทุน 2 ประเทศ

'อลงกรณ์' เผยเน้นการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตการแปรรูปสู่เกษตรมูลค่าสูงรวมทั้งอาหารแห่งอนาคตและระบบโลจิสติกส์ความเย็นสินค้าเกษตร

รายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียววันนี้ (6 ก.ค.) แจ้งว่านายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว นายโชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และคณะพบหารือกับนายคูนิอากิ คาวามูระ (Mr. Kuniaki Kawamura) ประธานสภาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และภาครัฐ (The Council of Industry-Academia-Government Collaboration) ซึ่งมีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาในการเป็นแหล่งองค์ความรู้ การบูรณาการและนวัตกรรม (Filed for Knowledge, Integration & Innovation หรือ FKII) FKII อยู่ภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) โดยมีนายโอคูมะ ราเคชิ (Mr. Okuma Rakeshi) เป็นผู้อำนวยการ FKII และทีมงานร่วมประชุมที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว

นายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวว่าการเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นนโยบายของ ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีต้องการให้ขยายความร่วมมือทางด้านการเกษตรกับประเทศญี่ปุ่นในมิติต่างๆภายหลังจากนายเก็นจิโร คาเนโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น พร้อมคณะเข้าพบหารือกับดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในวาระครบรอบ 135 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ 

โดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอันดับ 2 ของไทย มีสัดส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 11.35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลกเป็นการสนองตอบต่อนโยบายเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของญี่ปุ่นซึ่งผลิตอาหารได้ 37% ของความต้องการในประเทศ ดังนั้นความร่วมมือระหว่าง 2 กระทรวงและภาคีภาคส่วนต่างๆจะช่วยเติมเต็มนโยบายของกันและกัน 

พร้อมกันนั้นนายอลงกรณ์ ได้แสดงความชื่นชม FKII ที่สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ในหลากหลายด้าน อาทิ เกษตรอัจฉริยะ อาหารสุขภาพ เกษตรกรรมยั่งยืน ฯลฯ โดยเฉพาะงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable agriculture) ที่ FKII มีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาถึง 72 กลุ่ม สอดคล้องกับแนวนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งอาหารของโลก 

‘ขาณุโมเดล’ ต้นแบบความสำเร็จ ‘ข้าว-ชาวนา’ ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาระดับโครงสร้างของภาครัฐ

แม้สังคมจะพยายามตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของ ‘ชาวนาไทย’ ที่ผ่านไปนานเท่าไร ก็ยังวนเวียนอยู่กับวังวน ‘หนี้สิน’ แต่คำตอบที่ได้มันก็จะยังวนเวียนเหมือนปัญหาใหญ่ของสินค้าเกษตรของไทยทุกตัว เช่น การโทษไปที่สถานการณ์โลก สงคราม โรคระบาด ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ จนนำมาสู่ความยากลำบากของชาวนาและเกษตรกร

ซึ่งมันก็เป็นส่วนหนึ่ง!!

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาที่แท้ และไม่มีใครแคร์จริง มันอยู่ที่ ‘โครงสร้าง’ ปัญหาโครงการทั้งระบบที่ไม่เคยถูกแก้ ก็จะแผ่วงในห่วงโซ่อุปทาน ให้ โรงสี และ ผู้ส่งออก อ่วมต่อไปเป็นทอด ๆ

แน่นอนว่า การแก้ปัญหาให้ได้ทั้งระบบ มันไม่ใช่แค่ประกาศนโยบายมาตัวเดียวแล้วครอบคลุม แต่ยังมีเรื่องที่ยิบย่อยที่บางครั้งก็ต้องใช้ทั้งแนวทางประชานิยม หรือบางครั้งก็ต้องลงไปวาดยุทธศาสตร์เฉพาะถิ่นเอาเอง

แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวดีเรื่องของข้าวที่มีปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 63 โดยรัฐบาลมีการปรับระบบการผลิตข้าว ให้เข้าสู่ ‘วงจรปกติ’ 

คำนี้สำคัญ!! เพราะเดิมทีไทยเรามีระบบการผลิต ที่มุ่งเน้นมาตรฐานคุณภาพ แต่มันดันไป ‘ล่มสลาย’ ช่วงนโยบาย ‘จำนำข้าว’ ที่ทำให้ชาวนาขาดความสนใจในจุดสำคัญนี้ไป

ช่างมัน!! เริ่มกันใหม่!!

เป้าหมายใหญ่ของรัฐบาลนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องการช่วยเรื่องราคาข้าวแบบชั่วครั้งชั่วคราว หากแต่ในระยะยาว การแก้ปัญหาที่เห็นผล คือ ชาวนาต้องยืนได้ด้วยตัวเอง และรัฐบาลไหนเข้ามารับไม้ต่อ ชาวนาก็ไม่ต้องรอความช่วยเหลือแบบเป็นครั้ง ๆ ไป 

ดังนั้นช่วงปี 2563 ยุทธศาสตร์ของภาครัฐ จึงอยู่ที่การรื้อระบบคิดของชาวนาออกจากวังวนเดิม วังวนของผู้รอรับการช่วยเหลือแบบจบเป็นครั้ง ๆ แต่รัฐมุ่งเข้าไปส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้, เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์, สนับสนุนเทคโนโลยี, มุ่งเน้นการผลิตที่คำนึงระบบนิเวศ รวมถึงการส่งเสริมข้าวสายพันธุ์ใหม่ ๆ 

>> ถ้าพูดให้เห็นภาพ คือ รัฐส่ง ‘คันเบ็ด’ แทนการให้ ‘ปลา’ แก่ชาวนามากขึ้น 

เมื่อระบบการผลิตข้าวได้มาตรฐานคุณภาพ โรงสี/ ผู้ส่งออก ก็สามารถกลับเข้าไปในตลาดที่เลิกซื้อข้าวของเรา เช่น ประเทศอิรัก จำนวนมากกว่าหนึ่งแสนตัน รวมไปถึงกลับมาเป็นประเทศผู้นำพันธุ์ข้าวชั้นดีแบบที่เคยเป็นในอดีต

ที่ผ่านมา ทั้งสำนักนายกรัฐมนตรี, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแม้แต่หน่วยงานอย่างกรมการข้าว ได้ทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันภาพใหญ่ให้เกิดขึ้นกับวงการข้าวไทย โดยใช้แนวทาง ‘ตลาดนำการผลิต’ ไว้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ก็เข้าไปเปลี่ยนแนวคิดชาวนา ให้เขาสร้างเป้าหมายใหม่ ๆ เช่น ต้องปลูกข้าวเพื่อสู้กับเวียดนาม ต้องสร้างมาตรฐานข้าวยั่งยืนเพื่อให้ข้าวเป็นบ่อแห่งความมั่งคั่งและยั่งยืนของชาวนา

เรียกว่าอดีตเคยใช้ ‘เหงื่อแลกเงิน’ ปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็นสร้างคุณค่าให้ ‘งานหรือผลผลิต’ ไปแลกเงิน 

'กรณ์' จี้นายกฯ บี้รมว.พลังงาน แฉ ซ้ำ ราคาหน้าโรงกลั่นถูกลง แต่หน้าปั๊มไม่ลด ปล่อยเพิ่มค่าการตลาดฟันกำไร

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้าเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี กำชับ 'รัฐมนตรีพลังงาน' ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดในช่วงนี้เนื่องจากมีความหละหลวมในการดูแลประชาชนอย่างมาก  เนื่องจากเดือนที่ผ่านมานี้สังคมกดดันท่านรัฐมนตรีเรื่อง 'ค่าการกลั่น' ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ น้ำมันแพง  ของแพง วันนั้นท่านออกมาสัมภาษณ์ว่า ‘คิดมาก่อนแล้ว เตรียมมาตรการไว้เป็นชุด’ แต่แล้วถึงวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรชัดเจน ส่วน 3-4 วันที่ผ่านมานี้ ท่านได้ปล่อยให้ผู้ขายนํ้ามันเพิ่ม ‘ค่าการตลาด’ (รายได้ของผู้ค้าน้ำมัน) ในกรณีของเบนซินขึ้นมาสูงเกินมาตรฐานปกติอย่างมาก

"วานนี้ (5 ก.ค.) ค่าการตลาด Gasohol95 E10 สูงถึง 3.42 บาทต่อลิตร ส่วน Gasohol 91 อยู่ที่ 3.62 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดปกติไม่ควรเกิน 2 บาท และที่น่าสนใจคือ หากเทียบกับวันที่ พรรคกล้า ได้ออกมากระทุ้งรัฐบาลครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.เราจะเห็นว่า ราคานํ้ามันที่รับจากโรงกลั่นน้ำมันถูกลง แต่ราคาหน้าปั้มยังอยู่ในระดับเดิม แทนที่คนไทยเรา จะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ถูกลง กลับกลายเป็นผู้ค้าเอาไปเป็นรายได้ของตนเอง ซึ่งผู้ค้าใหญ่สุดก็คือ ปตท. นั่นเองรัฐมนตรีพลังงาน ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้อย่างไรครับ" หัวหน้าพรรคกล้า ตั้งข้อสังเกต

'ก.เกษตรฯ' จับมือญี่ปุ่น ดันนโยบายผลิตภัณฑ์จากแมลง ส่งเสริมการ 'สร้างงาน - อาชีพ - รายได้' ให้เกษตรกรไทย

รายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียววันนี้ (5 ก.ค.) แจ้งว่านายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว, นายโชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ, นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ, นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และคณะ เดินทางไปมหาวิทยาลัยทากะซากิ (Takasaki City University of Economics) ในจังหวัดกุนมะ เพื่อร่วมประชุมหารือกับ ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ (Takeshi Mizuguchi) อธิการบดีมหาวิทยาลัย และคณะ เมื่อวานนี้ เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาอาหารแห่งอนาคต (Future Food) 

โดย มหาวิทยาลัยทากะซากิได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับบริษัท ฟิวเจอร์นอท อิงค์ (Futurenaut Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารจากแมลง โดยใช้ผงจิ้งหรีดนำเข้าจากประเทศไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าแปรรูป เช่น ขนมแคร็กเกอร์ โปรตีนแท่ง เป็นต้น

โดยนายเรน ซากุไร (Ren Sakurai) CEO บริษัทฟิวเจอร์นอท และ ดร.อะกิฮิโร อีจิมะ (Akihiro Iijima) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ได้นำเสนอข้อมูลของบริษัทตลอดจนพาชมห้องปฏิบัติการทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

สำหรับการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ มีสื่อมวลชนญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมาก โดยติดตามทำข่าวและสัมภาษณ์นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ, ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ อธิการบดี และนายเรน ซากุไร ซีอีโอ บริษัทฟิวเจอร์นอท

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) กล่าวว่า พอใจต่อความสำเร็จในการเจรจาหารือโดย ท่านอธิการบดี ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ และนายเรน ซากุไร ซีอีโอ บริษัทฟิวเจอร์นอท พร้อมจะทำความตกลงลงนามเอ็มโอยู กับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ด้านแมลง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาแมลงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนทางเลือกใหม่ ภายใต้นโยบายอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และนโยบายฮับแมลงโลกของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยังสอดรับกับแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) ที่ประกาศให้ 'แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก' และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติอีกด้วย

JSL ชี้แจง!! จ่ายชดเชย 16% ของยอดทั้งหมดแค่บรรเทา ยันจะจ่ายให้ครบตามกฎหมาย แต่ยังขาดกระแสเงินสด

(5 ก.ค.65) เพจเฟซบุ๊ก 'JSL Global Media เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย' มีการชี้แจงเรื่องเงินชดเชยของพนักงาน ระบุว่า...

เรื่องเงินชดเชยของพนักงาน ทางบริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจและยังมีความตั้งใจที่จะจ่ายให้ครบจำนวนตามที่กฏหมายกำหนดไว้ แต่เนื่องด้วยภาวะการขาดกระแสเงินสดฉับพลันและยังไม่สามารถหาเงินมาให้ทันกับค่าชดเชยที่ต้องจ่ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ทางบริษัทจึงจำเป็นต้องแจ้งพนักงานทุกคนตามความเป็นจริงเรื่องจำนวน % ที่บริษัทสามารถจ่ายให้ได้ ณ วันนั้น

อย่างไรก็ดี บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องเงินชดเชยที่ขาด และได้พยายามหลายวิธีการเพื่อหาเงินมาจ่ายให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพราะทราบความเดือดร้อนของพนักงานทุกคน ตามกระบวนการที่ควรจะเป็นคือบริษัทและพนักงานต้องมีการคุยเจรจากันก่อนที่จะไปถึงกระบวนการของสำนักงานแรงงาน แต่ด้วยข้อจำกัดที่บริษัทมีขณะนั้น เราจึงไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดการจ่ายชดเชยที่เหลือได้ ทางบริษัทต้องขออภัยในความล่าช้าและทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจนเกิดเหตุการณ์ตามข่าว ทางบริษัทขอชี้แจงกระบวนการการจัดสรรงบประมาณในการจ่ายชดเชยที่จะมีการดำเนินการต่อไปดังนี้ 
 

'กรณ์' ผิดหวัง ประชุม สมช.ไร้ธงแก้น้ำมันแพงชัด!! แต่กลับตั้ง คกก.ซ้อน ครม.เศรษฐกิจ อีก 2 ชุด

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ไลฟ์สดผ่านเฟซบุคส่วนตัว หลังทราบผลประชุม สมช. มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในช่วงเย็นของวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยระบุว่า รู้สึกอึดอัดผิดหวังกับผลการประชุมในวันนี้มาก เนื่องจากไม่มีมาตรการอะไรที่ชัดเจน นอกจากการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทับซ้อน ครม.เศรษฐกิจ อีก 2 ชุด โดยมีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานอย่างละชุด แทนที่จะให้ ครม.เศรษฐกิจทำหน้าที่เองให้เต็มที่ 

นายกรณ์ กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พรรคกล้าได้เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาแก้ไขปัญหาราคาน้ำ พร้อมเสนอทางออกให้มากมาย นำไปสู่การประกาศโรงกลั่นบริจาคเงินเข้ากองทุนน้ำมันเดือนละ 8,000 ล้านบาท เป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับ 24,000 ล้านบาท จนถึงวันนี้เงียบ ไม่รู้ว่าได้ดำเนินการไปแค่ไหนอย่างไร รวมถึงที่นายกรัฐมนตรี เรียก รมว.พลังงานฯ และ รมว.พาณิชย์ เข้าพบปัญหามันควรจะจบนับตั้งแต่วันนั้น เพราะข้อมูลของทั้งสองท่านต้องมีครบถ้วน และมีอำนาจเต็มในการดำเนินการ ขนาดพวกเราไม่ได้เป็นรัฐบาล ยังสามารถติดตามข้อมูลจากทางราชการ เพื่อประเมินสถานการณ์ นำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาได้

“การตั้งกรรมการมีคนนั่งล้อมวงตามวัฒนธรรมการทำงานราชการไทย ไม่มีใครกล้าพูดหรือเสนออะไร ท่านนายกฯ นั่งหัวโต๊ะว่าอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น ซึ่งมันไม่ได้นำไปสู่การมีข้อสรุปหรือนโยบายใด ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้กับประชาชนได้ ขอย้ำว่า ประชาชนเดือดร้อน น้ำมันแพง ของแพง มันเป็นภาระกับประชาชนโดยตรง  มันไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ได้ด้วยการตั้งคณะกรรมการชุดแล้วชุดเล่า จริง ๆ การแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องยาก มันมีมาตรการและทางออกที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่มีคนในวงการทำให้ดูสลับซับซ้อนเพื่อที่สุดท้ายจะทำให้ไม่มีคำตอบ” นายกรณ์ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top