Saturday, 10 May 2025
TheStatesTimes

‘อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์’ เผย!! ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์’ ที่ ‘รัสเซีย’ จะสร้างให้ ‘เมียนมา’ ชี้!! ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ SMR เล็ก ทันสมัย ไม่กระจายกัมมันตรังสี มาที่ไทย

(8 มี.ค. 68) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า …

"โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่รัสเซียจะสร้างให้เมียนมา น่าจะเป็นแบบนี้ครับ"

ตอนนี้ กำลังเป็นข่าวฮอตเลย กับเรื่องที่ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ของประเทศเมียนมา และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้ลงนามร่วมกันที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งห่างจากชายแดนไทยที่จังหวัดกาญจนบุรีแค่ 132 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ แค่ 300 กิโลเมตร ทำเอาหลายต่อหลายคนกังวลว่า จะเกิดผลกระทบอะไรตามมาหรือเปล่าถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น ?

ปัญหาคือตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง มีเพียงแค่บอกว่า จะมีขนาดกำลังการผลิต 110 เมกะวัตต์ และใช้เทคโนโลยีของรัสเซียเอง ตามบันทึก MOU เพื่อพัฒนาการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้อย่างสันติ ที่ลงนามไปตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2565 แล้ว

ผมก็ได้สอบถามไปทางผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์ ของจุฬาฯ คือ อาจารย์ดิว (ผศ. ดร. พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์) ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ .. 

อาจารย์ดิว ให้ความเห็นว่า แม้ตอนนี้จะยังไม่มีรายงานถึงชนิดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เมียนมาจะใช้ แต่ก็น่าจะเป็นเครื่อง RITM-200N จำนวน 2 เครื่อง (เครื่องละ 55 เมกะวัตต์) ตามแบบที่รัสเซียไปเซ็นสัญญาสร้างให้กับประเทศอุซเบกิสถาน เมื่อปีที่แล้ว (มิถุนายน 2024) เพราะปรกติจะไม่ค่อยมีการออกแบบดีไซน์เครื่องกันใหม่บ่อยๆ อย่างมากก็เอาแบบเดิมนี้ไปปรับขยายกำลังการผลิต

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ชุดโมดุลาร์ ขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า SMR (small modular reactor) คล้ายกับที่ผมเคยติดตามคณะทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ไปดูงานที่เกาะไหหลำ ประเทศจีนมาแล้ว และไทยเรากำลังสนใจอย่างยิ่งที่จะนำเอามาใช้ผลิตไฟฟ้าบ้าง

โรงงานไฟฟ้าที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ SMR นี้ มีขนาดเล็กและทันสมัยมาก อุปกรณ์หลักทุกอย่างอยู่ในชุดโมดุลเดียวกัน และติดตั้งอยู่ภายใต้อาคารหลังเดียวได้ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่ได้สูงมากนัก (เช่น เหมาะกับการจ่ายไฟฟ้าในกับเมืองๆ เดียว หรือกับพวกศูนย์เดต้าเซนเตอร์ ของบริษัทเทค ) ทำให้สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ง่ายและในวงแคบ แค่ระดับไม่เกิน 1 กิโลเมตรเท่านั้น .. จึงมั่นใจได้ว่า ไม่ได้จะเกิดอันตรายในวงกว้าง เหมือนอย่างโรงไฟฟ้าโบราณ แบบเชอร์โนบิล ที่จะแพร่กระจายกัมมันตรังสีมาถึงไทยเราได้

(แต่ๆๆ อันนี้เป็นเทคโนโลยีที่สร้างโดยรัสเซีย และให้เมียนมาดูแลต่อ ซึ่งก็ยังมีสงครามกลางเมืองกันอยู่ .. ถึงจะมีหน่วยงานสากล อย่าง IAEA มากำกับ ผมก็รับประกันความปลอดภัยไม่ได้เต็มปากเต็มคำนะครับ ฮะๆ)

เอาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ RITM-200N ที่รัสเซียขายและติดตั้งให้กับอุซเบกิสถาน มาให้อ่านด้านล่างนี้ครับ

- ภายหลังจากที่มีการเยือนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซียไปยังอุซเบกิสถานแล้ว เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2024 หน่วยงานกลางว่าด้วยพลังงานปรมาณู (หรือ Rosatom) ของประเทศรัสเซีย ได้ลงนามสัญญาเพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ (small modular reactor nuclear power plant หรือ SNPP) ที่ออกแบบโดยรัสเซีย ในประเทศอุซเบกิสถาน นับเป็นการส่งออกโรงไฟฟ้า SNPP ขั้นสูงเป็นครั้งแรกของโลก และจะลงมือสร้างโดยทันที โครงการนี้จะใช้เงินจากอุซเบกิสถาน โดยไม่กู้จากรัฐบาลรัสเซีย

- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะสร้างขึ้นในอุซเบกิสถาน จะกลายเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าพื้นฐาน สำหรับระบบพลังงานของประเทศ โดยเครื่องปฏิกรณ์หน่วยแรก มีกำหนดจะเริ่มทำงานในปลายปี 2029 และเครื่องต่อไปจะค่อยๆ ถูกเปิดใช้งานทีละหน่วย ตามประมาณการความต้องการพลังงานของอุซเบกิสถาน ที่จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ภายในปี 2050 โดยอุชเบกิสถานสนใจทั้งโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็กนี้ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่

- โครงการนี้ จะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 330 เมกะวัตต์ ในภูมิภาค Jizzakh ของอุซเบกิสถาน และโรงไฟฟ้าจะใช้เครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ 6 เครื่อง แต่ละเครื่องมีกำลัง 55 เมกะวัตต์ (รวมเป็น 330 เมกะวัตต์) โดยมีบริษัท AtomStroyExport (ASE) ของรัสเซียเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างหลัก และให้บริษัทอื่นๆ ในประเทศเมียนมา เข้าร่วมโครงการก่อสร้างนิวเคลียร์อย่างกว้างขวางด้วย
(บริษัท AtomStroyExport เป็นบริษัทรับเหมาหลักของรัสเซีย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Rosatom มีประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งทั่วโลก เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Kudankulam ในอินเดีย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Bushehr ในอิหร่าน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Akkuyu ในตุรกี และมีบทบาทสำคัญในการสร้างโรงไฟฟ้า SNPP ในอุซเบกิสถาน ซึ่งเป็นโครงการส่งออก SNPP แห่งแรกของโลก )

- ได้มีการสำรวจทางวิศวกรรมบนบริเวณที่จะสร้าง เพื่อยืนยันความเหมาะสมสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่ง ASE กล่าวว่างานก่อสร้างบนสถานที่ จะเริ่มในเดือนกันยายน 2024 โดยเริ่มจากการสำรวจที่ดิน และการจัดตั้งค่ายก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน 

- สำหรับเครื่องปฏิกรณ์ตามข้อตกลง จะใช้เครื่องปฏิกรณ์ RITM-200 แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งมีอายุการใช้งาน 60 ปี งานออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เริ่มขึ้นในปี 2001 โดยบริษัทวิศวกรรมนิวเคลียร์ OKBM Afrikantov ในเครือของ Rosatom 

- ข้อดีสำคัญที่สุดของ RITM-200 คือ มีการติดตั้งหน่วยผลิตไอน้ำขนาดเล็ก รวมเอาไว้อยู่ในเครื่องปฏิกรณ์ (ไม่ได้แยกส่วน เหมือนพวกเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุอันตรายลง) มีแกนเครื่องปฏิกรณ์ที่มีพลังงานสูง และมีเครื่องกำเนิดไอน้ำ ที่มีพื้นผิวแลกเปลี่ยนความร้อน ขนาดกะทัดรัด นอกจากนี้ ระบบความปลอดภัยและควบคุมของเครื่องนั้น เป็นไปตามข้อกำหนดล่าสุด ด้านความปลอดภัยโดยธรรมชาติและการปกป้องสิ่งแวดล้อม และใช้งานง่าย

- ตั้งแต่ปี 2012 มีเครื่องปฏิกรณ์ RITM-200 จำนวน 10 เครื่อง ได้ถูกผลิตขึ้นสำหรับเรือตัดน้ำแข็งนิวเคลียร์อเนกประสงค์ ห้าลำของรัสเซีย ตาม Project 22220 โดยเครื่องปฏิกรณ์ 6 เครื่อง ได้ติดตั้งบนเรือตัดน้ำแข็ง Arktika, Sibir และ Ural ซึ่งใช้งานอยู่ ขณะที่มีการก่อสร้างอีก 2 ลำ คือเรือ Yakutia และ Chukotka ที่กำลังจะเสร็จสิ้น

- เครื่องปฏิกรณ์ RITM-200 ยังจะถูกติดตั้งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ลอยน้ำ เพื่อจ่ายพลังงานให้กับเหมือง Baimsky GOK ใน Chukotka อีกด้วย และมีการดัดแปลงการออกแบบของเครื่องปฏิกรณ์รุ่นนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ของโรงไฟฟ้า SNPP ของสาธารณรัฐ Yakutian หนึ่งในเขตปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย 

- โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ชนิด SNPP นั้นกำลังเป็นที่ต้องการ โดยมีหลายประเทศที่มีความสนใจในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ ที่ออกแบบโดยรัสเซีย ซึ่งเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2024 รัฐบาลรัสเซียได้อนุมัติร่างข้อตกลงเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กในเมียนมา ข้อตกลงดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะสร้าง SNPP ที่มีกำลังไฟฟ้าขั้นต่ำ 110 เมกะวัตต์ในประเทศนี้ และโรงไฟฟ้านี้จะติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ของรัสเซีย

- โรงไฟฟ้า SNPP ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์ RITM-200 นั้น ไม่ใช่เทคโนโลยีเดียวที่ประเทศอื่นๆ สนใจ ปลายเดือนพฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา อเล็กซีย์ ลิคาเชฟ ได้จัดการประชุมตามปกติกับ อจิต คุมาร โมฮันตี้ ประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูของอินเดียและเลขานุการของรัฐบาลอินเดีย กระทรวงพลังงานปรมาณู พวกเขาได้พบกันที่ Seversk ณ สถานที่ก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานสาธิตที่จะประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์ BREST-300-OD แบบนิวตรอนเร็ว ระบายความร้อนด้วยตะกั่ว และหน่วยแปรรูปเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วและการผลิตเชื้อเพลิงใหม่/การผลิตเชื้อเพลิงใหม่ บนสถานที่ ซึ่งสร้างขึ้นภายใต้โครงการ Proryv (ภาษารัสเซีย แปลว่า 'การพัฒนา') ซึ่งตามการจำแนกประเภทของ IAEA เครื่อง BREST-OD-300 นี้ ถูกจัดประเภทเป็นเครื่องปฏิกรณ์กำลังต่ำ (สูงสุด 300 เมกะวัตต์)

จากต้นแบบ!! ของประเทศที่มี ‘เสรีภาพ-ความก้าวหน้า’ กลับกลายเป็นสมรภูมิของความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ศาสนา

(6 มี.ค. 68) ในช่วงแรกของการอพยพ ผู้อพยพชาวมุสลิมบางกลุ่มพยายามเผยแพร่ศาสนาโดยใช้วิธีที่สร้างความขัดแย้งในพื้นที่สาธารณะ พวกเขานำลำโพงติดตั้งบนรถยนต์และขับไปตามเมืองต่างๆ เปิดเสียงอาซาน (เสียงเรียกละหมาด) และบทสวดจากอัลกุรอานผ่านวิทยุและเครื่องกระจายเสียง สิ่งนี้กลายเป็นชนวนให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชนท้องถิ่น เพราะมองว่าเป็นการรบกวนพื้นที่สาธารณะ และเป็นการพยายาม "บังคับ" ให้ศาสนาอิสลามเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคน

ในบางเมืองของสวีเดน ประชาชนได้ร้องเรียนถึงหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้ระงับการกระทำดังกล่าว โดยมองว่าสวีเดนเป็นประเทศฆราวาสที่แยกศาสนาออกจากรัฐ และการเปิดเสียงอาซานผ่านลำโพงในที่สาธารณะ เป็นการละเมิดความสงบสุขของประชาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้อพยพบางส่วนกลับมองว่านี่เป็น "สิทธิทางศาสนา" ของพวกเขา และถือว่าเป็นการ "ต่อสู้เชิงอุดมการณ์" ระหว่างศาสนาอิสลามกับวัฒนธรรมตะวันตก
ศาลชารีอะห์และการบังคับใช้กฎศาสนาในชุมชนมุสลิม

แม้ว่ากฎหมายชารีอะห์จะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายของสวีเดน แต่ก็มีแรงกดดันจากบางกลุ่มในสังคมมุสลิมที่ต้องการให้มี "กฎหมายคู่ขนาน" ซึ่งหมายถึงการที่ชาวมุสลิมสามารถดำเนินชีวิตภายใต้กฎศาสนาได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ ตัวอย่างเช่น กรณีของการแต่งงานในเด็ก การหย่าร้างที่ให้สิทธิฝ่ายชายมากกว่าหญิง หรือแม้แต่การลงโทษตามหลักศาสนาในชุมชนบางแห่ง

ปัญหาคือ ในบางพื้นที่ของสวีเดน โดยเฉพาะในเขตที่มีประชากรมุสลิมหนาแน่น กฎหมายชารีอะห์ถูกใช้กันอย่างลับๆ แม้ว่าจะผิดกฎหมายของสวีเดนก็ตาม มีรายงานว่ามี "ศาลชารีอะห์" ที่ดำเนินการตัดสินคดีความในหมู่ชาวมุสลิมเอง โดยไม่ขึ้นต่อระบบยุติธรรมของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเมิดหลักนิติรัฐอย่างร้ายแรง

สตรีมุสลิม: เสรีภาพหรือการกดขี่?

อีกหนึ่งประเด็นร้อนในสังคมสวีเดนคือเรื่อง การสวมฮิญาบและบุรกา แม้ว่ากฎหมายสวีเดนจะอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถเลือกแต่งกายตามหลักศาสนาได้ แต่ในบางชุมชนมุสลิมกลับมีการกดดันผู้หญิงให้สวมใส่ชุดคลุมโดยที่พวกเธอไม่มีทางเลือก มีรายงานว่าเด็กหญิงบางคนถูกกลั่นแกล้งหากพวกเธอไม่สวมฮิญาบไปโรงเรียน หรือแม้แต่ผู้หญิงที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมสวีเดน ก็อาจถูกครอบครัวและสังคมรอบตัวประณามว่าผิดหลักศาสนา

เรื่องนี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับ เสรีภาพที่แท้จริง เพราะในขณะที่สวีเดนให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่กลับมีบางชุมชนที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือกดขี่สมาชิกของตนเอง ทำให้เกิดสังคมคู่ขนานที่ขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตยของประเทศ

ความขัดแย้งทางการเมืองและแนวโน้มในอนาคต

การเมืองสวีเดนเองก็แบ่งออกเป็นสองขั้วในเรื่องนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนเสรีภาพทางศาสนามองว่า ทุกคนควรมีสิทธิในการปฏิบัติตามศาสนาของตนเอง รวมถึงการแต่งกายตามหลักศาสนา แต่ฝ่ายขวากลับมองว่า นี่คือการปล่อยให้วัฒนธรรมที่ขัดกับหลักเสรีภาพเข้ามาแทรกแซงประเทศ และเชื่อว่าการให้สิทธิที่มากเกินไปกับกลุ่มศาสนาหนึ่ง อาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม

สิ่งที่ทำให้ปัญหานี้ร้อนแรงขึ้นไปอีกคือ บางเมืองในยุโรป เช่น ในฝรั่งเศสและเดนมาร์ก ออกกฎหมายห้ามสวมบุรกาและนิกอบในที่สาธารณะ โดยให้เหตุผลว่าเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่สตรี ในขณะที่สวีเดนยังคงลังเลที่จะเดินตามแนวทางนี้ เนื่องจากกลัวว่าจะละเมิดสิทธิมนุษยชน

แต่คำถามคือ เสรีภาพที่สวีเดนปกป้องอยู่นี้ เป็นเสรีภาพของทุกคนจริงหรือ? หรือเป็นเพียงเสรีภาพที่เอื้อให้บางกลุ่มสามารถบังคับใช้กฎของตนเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักการประชาธิปไตยของประเทศ?

หากแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไป สวีเดนอาจต้องเผชิญกับความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้น เพราะเมื่อศาสนาและกฎหมายของรัฐเดินไปคนละทาง จุดปะทะก็อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ปัญหาที่เกิดขึ้นในสวีเดนไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของศาสนา แต่เป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย เมื่อมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากเข้ามาตั้งรกรากโดยไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมของพื้นที่และความแตกต่างทางวัฒนธรรม ย่อมนำไปสู่ความท้าทาย ทั้งสำหรับผู้มาใหม่ที่ต้องปรับตัว และสำหรับชุมชนเดิมที่ต้องหาวิธีอยู่ร่วมกัน

ความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากศาสนาอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่อยู่ที่ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างสองฝ่าย—ฝ่ายหนึ่งมองว่าควรเปิดรับความหลากหลายเต็มที่ ในขณะที่อีกฝ่ายกังวลว่าหากไม่มีการปรับตัวเข้าหากัน อัตลักษณ์และหลักการของสังคมเดิมอาจถูกสั่นคลอน ความไม่ลงรอยเหล่านี้ทำให้เกิดการต่อต้านและความหวาดระแวงกันในหลายระดับ

ทางออกของปัญหานี้ไม่ใช่การปิดกั้นหรือกีดกันศาสนาหรือวัฒนธรรมใด แต่เป็นการหาจุดสมดุลระหว่างเสรีภาพของแต่ละกลุ่มกับความเป็นปึกแผ่นของสังคมโดยรวม ทุกฝ่ายจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าหากัน โดยเคารพกฎหมายและคุณค่าของประเทศที่ตนอยู่ หากรัฐไม่สามารถสร้างแนวทางที่ทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล ความแตกแยกก็อาจขยายตัวมากขึ้นจนยากจะควบคุม

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องมองปัญหานี้ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ด้วยความหวาดกลัวหรืออคติ เพราะท้ายที่สุดแล้ว การอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขคือเป้าหมายของทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากที่ใด

รัสเซียไม่ใช่ศัตรูของประชาชนยุโรป ศัตรูตัวจริงของพวกคุณ(ประชาชนยุโรป) คือผู้นำของพวกคุณเองนั่นแหละ

(9 มี.ค. 68) อินฟลูทวีตในเอ็กซ์ ข่าวแถลงการณ์ของปูติน ต่อประเทศในยุโรป ที่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดทางทีวีช่องหนึ่งของโครเอเชีย

ปูตินแถลงต่อยุโรปว่า ”รัสเซียไม่เคยเป็น และจะไม่เป็นศัตรูของยุโรป“

“พวกเรา(รัสเซีย) ไม่ต้องการทรัพยากร หรือความมั่งคั่งจากยุโรป พวกเรามีทรัพยากรของตนเอง และมีความมั่งคั่งในระดับหนึ่ง ว่าไปแล้วรัสเซียเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ในเชิงความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติ”

”พวกเราไม่ได้ต้องการดินแดนของพวกคุณ ดูจากแผนที่สิ! แผ่นดินรัสเซียนั้นกว้างใหญ่ขนาดไหน ขนาดของพื้นที่รัสเซียกว้างใหญ่เป็นเท่าตัวของทั้งยุโรปเสียอีก แล้วทำไมพวกคุณถึงคิดว่าพวกเราจะมายึดเอาแผ่นดินของคุณไป อีกอย่างพวกเราเอาไปทำประโยชน์อะไร”

“ทำไมพวกคุณถึงคิด(ไปเอง) ว่ารัสเซียเป็นศัตรูของยุโรป? พวกเราไปสร้างความเสียหายอะไรไว้ให้แก่พวกคุณ?”

“ใช่พวกเราไหม ที่เคยขายแก๊ส และวัตถุดิบเพื่อการผลิตในราคาที่ถูกกว่า ”มิตรประเทศ“ ที่กำลังขายให้พวกคุณอยู่ในปัจจุบัน? ”

“ใช่พวกเราไหม ในอดีตที่ยอมพลีชีพกว่า 20 ล้านคนในสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อช่วยพวกคุณจัดการกับนาซี?”

“ใช่พวกเราไหม ที่เป็นประเทศแรกที่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ แก้สถานการณ์โรคระบาด(โควิด19) ในยุโรป?“

”ใช่พวกเราไหม ที่ให้ความช่วยเหลือทุกครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติกับประเทศในยุโรป?“

แน่นอนว่า “คำตอบ” ของทุกคำถามข้างต้นคือ“ใช่เป็นรัสเซีย”

“แล้วเช่นนั้น รัสเซียได้ไปทำอะไรไว้กับยุโรป จนพวกคุณถึงได้เกลียดชังเราได้ถึงปานนั้น?”

ปูตินปิดแถลงการณ์ว่า คนยุโรปน่าจะถึงเวลาถามตัวเองแล้วว่าใครกันแน่ ที่เป็นศัตรูของพวกเขา

”รัสเซียไม่ใช่ศัตรูของประชาชนยุโรป ศัตรูตัวจริงของพวกคุณ(ประชาชนยุโรป) คือผู้นำของพวกคุณเองนั่นแหละ!!

มัทฉะ : ชาเขียวพรีเมียมที่กลายเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

(6 มี.ค. 68) ช่วงนี้กระแสการดื่มมัทฉะ (Matcha) มาแรงจนทำให้เกิดการขาดตลาดและราคาขายบางร้านก็พุ่งสูงขึ้นภายในชั่วข้ามคืน แต่รู้ไหมว่ามัทฉะไม่ใช่แค่เครื่องดื่มชาเขียวทั่วไป แต่เป็นสินค้าที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลก ตั้งแต่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ไปจนถึงตลาดสุขภาพและความงาม มูลค่าตลาดมัทฉะเติบโตอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืน

ปัจจุบันตลาดมัทฉะทั่วโลกมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโตที่อัตราเฉลี่ยประมาณ 8-10% ต่อปี หรือมูลค่าตลาดมัทฉะจะทะลุ 5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2028 แล้วตลาดนี้ใหญ่ขนาดไหนเดี๋ยวเราไปรู้จักกันค่ะ
ที่มาของมัทฉะมีต้นกำเนิดจาก ประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ก่อนที่ญี่ปุ่นจะนำไปพัฒนาเป็นพิธีชงชาสไตล์เซน
ประเทศผู้นำในการปลูกญี่ปุ่นยังเป็นผู้นำ และกว่า 80% ของมัทฉะเกรดพรีเมียม ผลิตในญี่ปุ่น โดยจังหวัดอุจิ (Uji) และชิซึโอกะ (Shizuoka) เป็นแหล่งปลูกสำคัญ 

ปัจจัยหลักที่ผลักดันการเติบโต
-เทรนด์สุขภาพ มัทฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเผาผลาญไขมัน และเพิ่มพลังงานโดยไม่ทำให้ใจสั่นเหมือนกาแฟ
-การขยายตัวของร้านคาเฟ่ ที่เน้นเครื่องดื่มมัทฉะในเมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น นิวยอร์ก ลอนดอน และโตเกียว
-อุตสาหกรรมความงาม แบรนด์เครื่องสำอางนำมัทฉะมาใช้เป็นส่วนผสมหลักในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
มูลค่าตลาดมัทฉะทั่วโลก
เติบโตที่อัตราเฉลี่ยประมาณ 8-10% ต่อปีและคาดว่าจะ แตะ 5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2028
ประเทศที่บริโภคเยอะที่สุด
1. จีน เป็นผู้นำเข้ามัทฉะรายใหญ่และเริ่มเป็นผู้ผลิตเองในบางพื้นที่
2. ญี่ปุ่น ที่ประเทศต้นกำเนิดของมัทฉะคุณภาพสูง
3. สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดมัทฉะที่ใหญ่ที่สุดนอกเอเชีย
4. เกาหลีใต้ ที่เทรนด์เครื่องดื่มและสกินแคร์ทำมาจากมัทฉะ
5. เยอรมนี เป็นประเทศยุโรปที่มีการบริโภคมัทฉะสูง
ยอดสั่งซื้อในไทยปี 2567 เพิ่มขึ้นราว 78% จากปี 66

‘มาดามน้ำชา’ เผย!! พระองค์ท่าน ทรงเป็นกลาง ทางการเมือง ลั่น!! อย่าดึง ‘สถาบันเบื้องสูง’ ลงมาทำเป็น ‘คอนเทนต์’ 

(9 มี.ค. 68) มาดามน้ำชา TikToker ชื่อดัง โพสต์คลิป ย้ำ!! ‘ในหลวง’ ไม่เคยแบ่งแยกสี ไม่เคยแบ่งแยกคนในชาติ ทรงรักพสกนิกร เท่ากันทุกคน โดยระบุว่า ...

ฝากอินฟลูเบอร์ใหญ่ ... อย่า!! 

อย่านําลุงตู่ อย่าเอ่ยถึงในหลวง ว่ามาเกี่ยวโยงอะไรกับการเมือง ยุทธศาสตร์ชาติ รัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวค่ะนะคะ 

ในหลวงพระองค์ท่านเป็นกลางทางการเมือง
อยู่นอกอยู่เหนือหลุดพ้นแล้ว ซึ่งการเมือง
ลุงตู่ท่านเป็นผู้นํา เราก็จริงนะคะก่อนหน้านี้ แต่ตอนนี้ท่านเป็นองคมนตรี แล้ว
ท่านเป็นผู้ชายที่นั่งอยู่ในดวงใจของพวกเรา ภาคภูมิใจในตัวลุงตู่
อย่านํามาสร้างเป็นคอนเทนต์นะคะ

มันไม่ถูกนะคะสังคมมันจะแตกแยก
การเมืองก็คือการเมืองนะคะ 

สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเมืองเลย

พระองค์ท่านไม่รู้ด้วยซ้ําว่าลูกในชาติสีไหน
พระองค์ท่านรักลูกในชาติเท่ากันหมดทุกคน
ลูกในชาติเนี่ย แหละที่จําแนกสีกันเอง 

เพราะบางสีเช่นสีส้มเนี่ย
คุกคามกฎหมายที่คุ้มกันพระองค์ท่าน
เราก็เลยไม่ชอบสีส้ม 

ลูกทั้งชาติเนี่ย ทุกคนเค้าก็รักในหลวง เพราะฉะนั้นเราอย่านําในหลวงมายึดโยงกับการเมืองนะคะ 

อย่าทําแบบนั้นเลยเชื่อพี่เถอะมันไม่ดี
หนูเก่งหนูก็ไปสร้างคอนเทนต์อย่างอื่น
หนูไปเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติที่มันถูก

แต่อย่านําสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ
มาเกี่ยวกับว่ารัฐธรรมนูญ

อย่าดึง ‘ในหลวง’ มาเกี่ยวกับการเมืองค่ะ 

‘สถาบันพระมหากษัตริย์’ เป็นของคนไทย ดวงใจทั้งประเทศ

‘โรงพยาบาลสุไหงโกลก’ ขาดแคลนเลือด!! เปิดรับบริจาค คนไข้บาดเจ็บหนัก ต้องการด่วน!!

(9 มี.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Arnond Sakworawich’
โพสต์ข้อความ ระบุว่า ...

โรงพยาบาลสุไหงโกลกขาดแคลนเลือดครับ คนไข้ที่บาดเจ็บหนักกำลังถูกลำเลียงขึ้นเฮลิคอปเตอร์ส่งต่อ
ทางโรงพยาบาลต้องการเลือดมาช่วยชีวิตครับ

ทหารในพื้นที่แจ้งข่าวมาที่อานนท์

ด่วน!!!ธนาคารเลือดโรงพยาบาลสุไหงโกลกเปิดรับบริจาคเลือด วันนี้ตั้งแต่เวลา 9:00 น เป็นต้นไป

ขอให้ทุกคนปลอดภัย

อัสลามมูอาลัยกุ้ม

สันติภาพเกาะกุมปลายด้ามขวาน

ขอสันติสุขจงมีแด่พี่น้องร่วมแผ่นดินทุกท่านครับ

‘แยม ฐปณีย์’ โพสต์เฟซ!! ชวนกิน ‘ขนมจีนแกงใต้’ อุดหนุนได้ ในงาน ‘แจ๋ว แซบเฟอร์’ เซ็นทรัลเวสต์เกท

(9 มี.ค. 68) ‘แยม ฐปณีย์ เอียดศรีไชย’ ผู้สื่อข่าวภาคสนามชื่อดัง ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ...

ข่าวก็ต้องทำใน The Reporters

ขนมจีนแกงใต้ก็ขาย บ้านพี่แยม Baan P'Yam

มาพบกันที่งาน #แจ๋วแซบเฟอร์ เซ็นทรัลเวสต์เกทค่ะ

#ขายขนมจีนหาเงินไปทำข่าว  

‘แพทองธาร’ เผย!! ต่างชาติชื่นชมบูธ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ITB Berlin 2025 ชี้!! เป็นการขยายโอกาส ให้กับผู้ประกอบการด้าน ‘การท่องเที่ยวเมืองรอง’ 

(9 มี.ค. 68) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ แล้ว ภายหลังเดินทางเข้าร่วมเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ที่กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 3-8 มีนาคมที่ผ่านมา

นายกรัฐมนตรี ได้สรุปผลการเดินทางเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ว่า งานนี้ถือเป็นงานท่องเที่ยว ที่มีหลายประเทศเข้าร่วมงาน โดยตนเองได้เดินไปดูงาน พร้อมกับได้มีโอกาสในช่วงทำงานโรงแรมเคยได้ไปร่ววมงานนี้ ส่วนตัวรู้สึกว่างานนี้เป็นงานที่สร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการโรงแรม บริษัททัวร์ท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ต่างประเทศได้มาเจอกัน ซึ่งปีนี้บูธของประเทศไทยทำได้ดีมากๆ สวยงามและได้รับคำชมจากประเทศอื่นๆ ว่าของประเทศไทยจัดได้สวยงามมาก ดังนั้นจึงขอชื่นชมกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดงานนี้อย่างเต็มความสามารถ และในงานนี้ยังได้มีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการโรงแรม กิจการเจ้าของกิจการจังหวัดเล็กๆ ในทุกภาคได้ไปร่วมงานนี้ เช่น จังหวัดน่าน ตรัง และอีกหลายจังหวัดที่มีตัวแทนได้เข้าร่วม โดยได้นำแพ็คเกจไปขาย และได้พบเจอกับผู้ค้าด้วยกัน จากประเทศอื่นๆด้วย ซึ่งทุกคนบอกว่าเป็นโอกาสที่ดีมากที่ได้ไปร่วมงานนี้และได้มีโอกาสขายโรงแรมตัวเอง และขายความน่าสนใจจังหวัดของตัวเอง

นายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่าได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมบูธอื่นๆ และได้เห็นว่าบูธท่องเที่ยวไทยจะต้องมีการปรับปรุงในด้านใดบ้าง หรือการนำเสนอประเทศไทยให้น่ามาท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นจะต้องทำอย่างไรโดยไปดูเรื่องข้อดีข้อเสียต่างๆและดูจุดแข็งจุดอ่อน ซึ่งส่วนตัวคิดว่างานนี้ดีมากๆ ที่ประเทศไทย ได้มีตัวแทนจากหลายจังหวัด ไปช่วยกันขายและไปแนะนำ ว่าอาจจะไม่ใช่มีแค่เมืองหลักที่ชาวต่างชาติจะรู้จัก แต่ยังมีเมืองหลวงที่น่าสนใจ ที่น่าเที่ยวอีกจำนวนมากดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมงานนี้

ส่วนเวลาที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปต่างประเทศได้มีโอกาสสำรวจสินค้าไทย จะมาต่อยอดอย่างไรได้บ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเวลาเดินห้างได้เห็นสินค้าของแต่ละประเทศ ก็รู้สึกว่าไม่ได้เห็นสินค้าแค่ท้องถิ่นแต่ยังเห็นสินค้าประเทศอื่นๆที่นำไปขายเช่นของไทยที่ได้นำไปขายก็รู้สึกว่าได้ราคาดีมาก ดังนั้นช่วงว่าง ระหว่างเกษตรกร ไปถึงหน้าร้านในต่างประเทศมีช่องว่างเยอะมาก จึงเป็นแนวทางที่จะเพิ่มรายได้กับเกษตรกรซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อไปถึงมีการผ่านรอยต่อดังนั้นจึงคิดว่าถ้าสามารถมีการเพิ่ม การถนอมสินค้า และเพิ่มจำนวนสินค้าได้ ตรงจุดนี้จึงต้องเป็นนวัตกรรม ที่ควรจะต่อยอดและลงทุน อีกอย่างคือ คือ งานวิจัยต่างๆ ที่จะทำให้สินค้าเกษตรที่ดีขึ้น เช่น ผลไม้หรือของสด ซึ่งก็เห็นแล้วว่าประเทศอื่นๆ ก็ขายเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าวก็เช่นกันก็มาจากทุกประเทศ ทั้งญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศก็ขาย ดังนั้นไทยจะต้องมีวิธี หรือมาตรฐานของไทย ซึ่งเคยพูดไปก่อนหน้านี้แล้วว่าจะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ ไทยมีความพิเศษอย่างไรที่จะนำไปขายท่ามกลางการแข่งขันจำนวนมาก ทำไมต้องซื้อของไทย ดังนั้นต้องเพิ่มเรื่องดังกล่าวอีกจำนวนมาก

‘ทรัมป์’ เล็ง!! ถอนทหาร 35,000 นาย ย้ายจาก ‘เยอรมนี’ ไป!! ‘ฮังการี’

(9 มี.ค. 68) โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังพิจารณาสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ในยุโรปด้วยการ ถอนทหารอเมริกัน 35,000 นายออกจากเยอรมนี ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง จะเป็นการเปลี่ยนเกมด้านความมั่นคงของ NATO และอาจทำให้สัมพันธ์สหรัฐฯ–ยุโรปเดือดพล่านยิ่งขึ้น

แหล่งข่าวจากทำเนียบขาวเผยว่า “ทรัมป์หงุดหงิดกับยุโรป เพราะพวกเขาดูเหมือนจะเร่งสถานการณ์ไปสู่สงคราม” ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะทรัมป์เคยส่งสัญญาณหลายครั้งว่า สหรัฐฯ จะไม่คุ้มกันประเทศที่ไม่ลงทุนด้านความมั่นคงของตัวเองอย่างจริงจัง

ฮังการี - เป้าหมายใหม่ของกองกำลังสหรัฐฯ?

The Telegraph รายงานว่า เป้าหมายที่เป็นไปได้ของการโยกย้ายครั้งนี้คือ "ฮังการี" ประเทศที่รักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียมาโดยตลอด และเพิ่งสร้างแรงกระเพื่อมใน EU ด้วยการวีโต้มาตรการสนับสนุนยูเครนเมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา

วิกเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี เป็นหนึ่งในผู้นำยุโรปที่มักค้านการคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งทำให้หลายฝ่ายสงสัยว่า การที่ทรัมป์อาจย้ายทหารไปที่นั่นเป็นการเดินเกมในลักษณะใดกันแน่ เพราะหากเกิดขึ้นจริง ก็หมายความว่าสหรัฐฯ กำลังส่งสัญญาณถึง NATO ว่า “จ่ายเยอะ—ได้เยอะ, จ่ายน้อย—จัดการตัวเอง”

โฆษกด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ไบรอัน ฮิวจ์ส ให้ความเห็นว่า "แม้ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ แต่การโยกย้ายกำลังทหารเป็นเรื่องที่กองทัพสหรัฐฯ พิจารณาอยู่เสมอ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน" ซึ่งฟังดูเหมือนแถลงการณ์กลาง ๆ แต่แปลเป็นภาษาชัด ๆ ได้ว่า "เรากำลังหาทางออกที่ดีที่สุดให้ตัวเอง"

NATO สะเทือน!! ทรัมป์ไม่สนใจ สมาชิกที่จ่ายไม่ถึงเป้า

ทรัมป์ย้ำหลายครั้งว่า ประเทศสมาชิก NATO ต้องเพิ่มงบประมาณกลาโหมให้เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งในปี 2024 มีเพียง 23 จาก 32 ประเทศ เท่านั้นที่ทำได้ โดย โปแลนด์ เป็นประเทศที่ลงทุนหนักสุดที่ 4.1% ของ GDP ขณะที่สหรัฐฯ ใช้ 3.4% ซึ่งทรัมป์มองว่า "เป็นภาระที่อเมริกันชนไม่ควรต้องแบก"

ทรัมป์เคยพูดตรง ๆ ว่า "ถ้าคุณไม่จ่าย ผมก็ไม่ช่วย" และถึงขั้นบอกว่า “ถ้าประเทศไหนใน NATO ไม่ยอมจ่าย ผมจะปล่อยให้รัสเซียจัดการเอง” ซึ่งนับว่าเป็นคำเตือนที่ชัดเจน และอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมทรัมป์ถึงสนใจย้ายกำลังไปประเทศที่ "จริงจัง" เรื่องงบกลาโหมมากกว่า

เยอรมนีอาจต้องรับมือเอง หากทรัมป์เดินหน้าถอนกำลัง

หากแผนนี้เดินหน้าจริง เยอรมนีอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายทางความมั่นคงแบบไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากฐานทัพสหรัฐฯ หลายแห่งในเยอรมนี เช่น Ramstein Air Base และ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำยุโรป ล้วนเป็นหัวใจสำคัญของ NATO ในยุโรป

การถอนกำลังออกจากเยอรมนีจะเป็นการตัดแรงสนับสนุนที่สำคัญสำหรับ NATO และอาจทำให้เยอรมนีต้อง เร่งเพิ่มงบกลาโหม และพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ในการปกป้องประเทศของตนเอง

ในขณะที่ยุโรปกำลังจับตาว่าสหรัฐฯ จะดำเนินนโยบายนี้อย่างไร สัญญาณจากทรัมป์ดูเหมือนจะชัดเจนว่า “อเมริกาไม่ใช่ผู้คุ้มกันฟรี ๆ อีกต่อไป” และ NATO อาจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top