Friday, 18 April 2025
NEWS

กฟผ. ยืนยันเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศปลอดภัยจากแผ่นดินไหว มีเทคโนโลยี ICOLD ตรวจสอบล้ำสมัย เฝ้าระวังพฤติกรรมเขื่อนแบบเรียลไทม์

(18 เม.ย. 68) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันเขื่อนขนาดใหญ่ภายใต้การดูแลมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยสูงสุด โดยได้รับการออกแบบให้รองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พร้อมดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจสอบพฤติกรรมเขื่อนตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนได้ผ่านแอปพลิเคชัน 'EGAT ONE'

นายชวลิต กันคำ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา และส่งผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนในหลายจังหวัดของไทย ทำให้ประชาชนบางส่วนเกิดความกังวลต่อความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศ ซึ่ง กฟผ. ขอยืนยันว่าเขื่อนทุกแห่งได้รับการออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวไว้ล่วงหน้าแล้ว อีกทั้งมีระบบเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และติดตามพฤติกรรมเขื่อนด้วยเครื่องมือวัดเฉพาะทางตามมาตรฐานสากลขององค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศ (ICOLD)

จากการตรวจวัดของเครื่องมือวัดอัตราเร่งพบว่า เขื่อนขนาดใหญ่ของ กฟผ. ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ โดยมีค่าที่ตรวจวัดได้อยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าที่ออกแบบไว้ ตัวอย่างเช่น

เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ (ห่างศูนย์กลางแผ่นดินไหว 546.36 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00074g 

เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (ห่าง 482.82 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00457g 

เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี (ห่าง 820 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00473g 

เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี (ห่าง 809.8 กม.) ตรวจวัดได้ 0.02590g

ในขณะที่เขื่อนทุกแห่งของ กฟผ. ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแผ่นดินไหวที่มีอัตราเร่งถึง 0.1–0.2g ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าที่เกิดขึ้นจริงหลายเท่า

ด้านมาตรการดูแลความปลอดภัย เขื่อนและอ่างเก็บน้ำของ กฟผ. ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มงวดใน 3 ระดับ ได้แก่

ตรวจสอบแบบประจำ – ดำเนินการทุกสัปดาห์ โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะทางติดตามข้อมูลจากเครื่องมือ

ตรวจวัด ตรวจสอบแบบเป็นทางการ – ทุก 2 ปี โดยคณะกรรมการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน 

ตรวจสอบกรณีพิเศษ – เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น แผ่นดินไหวรุนแรง น้ำหลาก หรือฝนตกหนัก

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว กฟผ. ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน EGAT ONE รองรับทั้งระบบ iOS และ Android สำหรับติดตามสถานการณ์น้ำ ข้อมูลเขื่อน และการแจ้งเตือนต่าง ๆ โดยตรงจาก กฟผ. ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

‘เอกนัฏ’ ดันมาตรฐานใหม่บันไดเลื่อน-ทางเลื่อนอัตโนมัติ คุมเข้มความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล รองรับแผ่นดินไหว

(18 เม.ย. 68) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภท 'บันไดเลื่อน' และ 'ทางเลื่อนอัตโนมัติ' ต้องเป็นไปตามมาตรฐานใหม่ เพื่อยกระดับความปลอดภัยของประชาชน โดยจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน คาดมีผลจริงภายในเดือนตุลาคม 2568

“ผมได้สั่งการให้ สมอ. เร่งผลักดันให้บันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติเป็นสินค้าควบคุมตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามบิน รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และอาคารสำนักงานต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคที่ภัยแผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป มาตรฐานใหม่จึงต้องครอบคลุมถึงการรองรับเหตุแผ่นดินไหวด้วย” นายเอกนัฏ กล่าว

ด้านนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า มาตรฐานฉบับใหม่นี้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (ISO) ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ โดยเฉพาะในด้าน ความปลอดภัยและระบบไฟฟ้า พร้อมเทคโนโลยีระบบตรวจจับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว เมื่อเกิดเหตุระบบจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติทันที

จุดเด่นของมาตรฐานใหม่ ได้แก่

1.ระบบตรวจจับแผ่นดินไหวเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า หยุดทำงานทันทีเมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือน

2.มีโครงสร้างยึดติดแนวดิ่งป้องกันการเคลื่อนหลุดออกจากฐาน

3.ความยาว-ระยะเคลื่อนตัวสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของอาคาร

4.หยุดทำงานอัตโนมัติหากระบบเบรกขัดข้อง ความเร็วผิดปกติ หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติด

5.ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่สาธารณะ

โดย ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย จะต้องขอรับใบอนุญาต มอก.3778 เล่ม 1–2567 ให้แล้วเสร็จก่อนจำหน่าย โดยหากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย โดยเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา สมอ. ได้จัดสัมมนาเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 92 ราย

ทั้งนี้ มาตรการใหม่นี้ไม่เพียงแต่ยกระดับความปลอดภัยของประชาชนในชีวิตประจำวัน แต่ยังเป็นการปรับมาตรฐานของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์ภัยธรรมชาติ และเพิ่มความมั่นใจในการใช้โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะของประชาชนทั่วประเทศ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพแก่สตรี แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พร้อมมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการด้อยโอกาส มอบจักรยานให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ชนบท และนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี

(18 เม.ย.68) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก นางชุติมา ตันติศิริวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการ นางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ และ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม มีความรู้ความสามารถ แต่ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ จำนวน 6 ราย พร้อมมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการด้อยโอกาส จำนวน 10 ราย และมอบจักรยาน แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน จำนวน 2 โรงเรียน รวมจำนวน 20 คัน พร้อมกระบอกน้ำขนาด 1 ลิตร รวมมูลค่าการดำเนินการช่วยเหลือชาวชลบุรีในครั้งนี้ทั้งสิ้น 184,072 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยยี่สิบบาทถ้วน) พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้นำทีมหน่วยแพทย์ฯ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น ฯลฯ โดยมี นายพงศ์ธสิษฐ์ ปิจนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นายนัธทวัฒน์ ธนโชติชัยพัชร์ ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี และนางสาวอัญชลี จงคดีกิจ (ปุ๊-อัญชลี) อาสาสมัครศิลปินมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี

นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรีและครอบครัว มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ แก่ สตรี บุรุษ พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความรู้และความสามารถ ฐานะยากจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ โดยเราได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก

ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

“ฉาวรักคนดัง vs ปัญหาชาติ?” ดร.อานนท์สะกิดสังคม เลิกสนใจเรื่องใต้สะดือคนอื่น หันมาสนอนาคตประเทศ

(18 เม.ย. 68) จากกรณีเรื่องฉาวสะเทือนวงการบันเทิง เมื่ออดีตแฟนของสาวรายหนึ่ง ออกมาแฉ ‘โตโน่’ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ นอกใจดาราสาว ‘ณิชา’ ณัฏฐณิชา ไปซุ่มคบหากับแฟนของตัวเองทั้งที่มีแฟนอยู่แล้วทั้งคู่ และมีการเปิดคลิปเสียงหน้ารถ และข้อความสุดสยิวย้ำถึงความสัมพันธ์ จนกลายเป็นเรื่องราวสุดฮอตในโลกโซเชียลมีเดีย ณ ขณะนี้ 

ทำให้ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Arnond Sakworawich แสดงความเห็นต่อกระแสข่าวดังกล่าวว่า

“สังคมไทยถ้าสนใจข่าวใครมีเพศสัมพันธ์กับใคร ใครนอกใจใครลดลงไปบ้างก็คงจะดี
ไม่มีประโยชน์อะไรเท่าไหร่ ล้วนเป็นเรื่องของอวัยวะเพศของพวกเขา สนใจปัญหาชาติบ้านเมือง เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก สงครามการค้า อะไรแบบนี้บ้างก็ดีนะครับ” 

โดยข้อความดังกล่าวได้รับการแชร์ต่อและมีการแสดงความเห็นอย่างหลากหลาย บางส่วนเห็นด้วยกับแนวคิดที่ชี้ให้สังคมหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่อีกฝ่ายยังคงให้ความสนใจต่อประเด็นดราม่าในวงการบันเทิง

POLITICS

สมรภูมิเขต 1 นครศรีฯ คึกคักเตรียมพร้อมรับเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคการเมืองเข้าสู่โหมดสร้างฐาน หลายตัวเต็งเริ่มขยับสับเปลี่ยน

จับตาเขต 1 นครศรีฯ ‘ดร.รงค์’ ย้ายไปรวมไทยสร้างชาติ ‘สส.หนึ่ง’ โยกมาลงชน ขณะที่ ‘ราชิต’ ขอพัก ส่วน ‘หมอผึ้ง’ ผันมาเขต 2 

เขต 1 นครศรีธรรมราช เป็นเขตเลือกตั้งหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการเลือกตั้งปี 70 เพราะเป็นเขตเมือง ประชากรมีความรู้ ตื่นตัวทางการเมืองสูง 
 
น่าสนใจมากยิ่งขึ้นถ้า ‘ราชิต สุดพุ่ม’ สส.พรรคประชาธิปัตย์เขตนี้ไม่ไปต่อตามที่เป็นข่าว เพราะมีปัญหาด้านสุขภาพในห้วงเวลาที่อายุมากขึ้นตามลำดับ เขตเลือกตั้งที่ 1 ของนครศรีฯก็จะเหลือตัวเต็ง ‘ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ’ อดีต สส.พลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งปี 64 ตามด้วย ‘จรัญ ขุนอินทร์ จากพรรคภูมิใจไทย ที่คราวที่แล้วแพ้ให้กับผู้ว่าฯราชิต แต่ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าทำงานการเมืองในเขตนี้อยู่ 

ยังมี ‘แมน-ปกรณ์ อารีกุล’ จากพรรคประชาชน ถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นทำงานการเมือง เลือกตั้งคราวที่แล้วแมนมีคะแนนมาอันดับสอง ถีบ ดร.รงค์ลงไปอยู่อันดับสาม และสำหรับเขตนี้ยังมี ‘มนตรี เฉียบแหลม’ จากพรรคเพื่อไทย ที่ยังประสงค์จะลงเขตนี้ เมื่อ ‘บุณฑริกา ยอดสุรางค์’ อาจจะถอยไปเล่นการเมืองท้องถิ่น เพื่อเริ่มบันไดขั้นแรกของเวทีการเมือง 

กล่าวสำหรับ ดร.รงค์ แม้จะดูเป็นตัวเด่น แต่ก็ไม่ได้ปลอดโปร่งเสียทีเดียว เมื่อ ดร.รงค์ได้ตัดสินใจเดินออกจากพลังประชารัฐแล้ว เมื่อพรรคตัดสินใจเลือก ‘ฮูวัยดีย๊ะ อูเซ็ง พิศสุวรรณ’ น้องสาวของ ดร.สุรินทร์ ลงสมัครแทน ดร.รงค์แม้จะยังมุ่งมั่นทำงานด้านนิติบัญญัติ แต่ก็ต้องหาพรรคใหม่สังกัด 

ดร.รงค์ มีทางเลือกอยู่ 3 พรรค คือภูมิใจไทย รวมไทยสร้างชาติ และพรรคกล้าธรรม สำหรับพรรคภูมิใจไทย ดร.รงค์ไม่น่าจะเลือก เพราะต้องไปเบียด จรัญ ขุนอินทร์ คนรู้จักกันอีก พรรคกล้าธรรม เข้าใจว่าสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าจะรุกภาคใต้หนัก ทำลายฐานภูมิใจไทย ยิ่ง ‘วันนอร์-วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประกาศวางมือทางการเมือง โอกาสของพรรคกล้าธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีอยู่สูง อย่าลืมว่า รอ.ธรรมนัส แม้จะเป็นคนพะเยา แต่ไปโตอยู่นราธิวาส ดร.รงค์ก็รู้จักมักคุ้นกับ รอ.ธรรมนัสดี ตั้งแต่สมัยอยู่พรรคพลังประชารัฐมาด้วยกันแล้ว น่าจะคุยกันเข้าใจง่ายกว่า 

พรรครวมไทยสร้างชาติ น่าจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของ ดร.รงค์ เพราะระดับผู้นำส่วนใหญ่ก็เคยร่วมงานกันมาในพรรคพลังประชารัฐ จึงรู้จักกันดี ตั้งแต่ชุมพร สุราษฎร์ นครศรีฯ และพัทลุง ซึ่งอาจจะคุ้นเคยกันมากกว่าสายกล้าธรรมอีก 

ผม #นายหัวไทร ค่อนข้างมั่นใจว่า ดร.รงค์จะเลือกร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ เคยส่ง พูม แก้วภราดัย ลูกชายของวิทยา แก้วภราดัย มาก่อน ก็ไม่ยาก พรรคจะส่งใคร เมื่อมีคนเสนอตัวมากกว่าหนึ่งคน ก็ใช้วิธีการทำโพลล์ ซึ่งถ้าทำโพลล์ ดร.รงค์ก็น่าจะผ่าน 

แต่ให้จับตา ‘สส.หนึ่ง-ทรงศักดิ์ มุสิกอง’ สส.ประชาธิปัตย์ เขต 2 อาจจะย้ายเขตมาลงเขต 1 แทนผู้ว่าฯราชิตที่อาจจะขอพัก ซึ่งเขต 1 ดร.รงค์ก็จะชนตรงกับ สส.ทรงศักดิ์ 

เขต 2 ก็จะว่างจาก สส.เก่า ประชาธิปัตย์เจ้าของพื้นที่เดิมจะส่งใครมาลงแทน ก็มีข่าวแว่วๆให้ได้ยินว่า อาจจะโยก 'โกเท่-พิทักษ์เดช เดชเดโช' จากเขต 3 มาลงเขต 2 ก็ต้องหาคนใหม่ไปลงเขต 3 อีก 

กล่าวสำหรับเขต 2 ข่าวที่ยืนยันได้ ‘หมอผึ้ง-นันทวัน วิเชียร’ จากพรรคภูมิใจไทย จะโยกจากเขต 9 มาลงเขต 2 เปิดทางให้ ‘สายัณห์ ยุติธรรม’ ย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย และลงสมัคร เขต 9 แทน เพราะสายัณห์เป็น สส.เขต 9 มาก่อน 

การเมืองเริ่มเข้าสู่โหมดสร้างฐาน มีการสับเปลี่ยน โยกตัวกันอย่างมีนัยยะสำคัญ 

‘วิชัย ทองแตง’ เชื่อมั่นคนไทยรับมือสงครามการค้าได้ ยก ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ ของในหลวง ร.9 คือหนทางพ้นวิกฤต

เมื่อวันที่ (16 เม.ย. 68) นายวิชัย ทองแตง นักธุรกิจและนักลงทุนชื่อดัง ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับการขึ้นภาษีของโดนัลด์ ทรัมป์ พร้อมการเตรียมรับมือ TRUMP WAR ว่า…  
ผมติดตามข่าวสารการเมืองในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ที่ Donald Trump สามารถช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี มาครองได้เป็นครั้งที่ 2 คนทั่วไปเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า เป็น Trump 2.0 

ทว่า ปรากฎการณ์ครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เมื่อ Trump ได้ประกาศ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ให้ขึ้นภาษีศุลกากร (Tariff) จนช็อคไปทั้งโลก ครอบคลุม 185 ประเทศทั่วโลกจาก 193 ประเทศ กล่าวขานกันว่ากลายเป็น TRADE WAR ที่เข้มข้นรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ทำให้ตลาดหุ้น รวมทั้งตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกร่วงอย่างหนัก ทุกประเทศต้องปรับตัวและปรับกลยุทธเพื่อความอยู่รอด ที่กระทบุรุนแรงที่สุดน่าจะเป็น ประเทศจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ แม้ Trump จะมีประกาศเลื่อนเวลาออกไป 90 วัน นับแต่วันที่ 8 เมษายน 2568 สะท้อนให้เกิดการปรับตัวขึ้นของตลาดฯ แต่ก็ยังไม่สามารถคลายกังวลได้ว่า สถานการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร คำถามที่ดังที่สุดที่ทั่วโลกกังวลคือ จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) หรือไม่ และสภาวะเช่นนี้จะดำรงอยู่ยาวนานขนาดไหน "บางคนคิดเลยเถิดไปถึงว่า สงครามการค้านี้จะก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือไม่ 

ในฐานะที่เคยเป็นนักธุรกิจ ที่คร่ำหวอดในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้มายาวนานปัจจุบันแม้จะล้างมือไปแล้วเมื่อตอนอายุครบ 70 ก็อดไม่ได้ที่จะเป็นห่วงประเทศชาติอันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน ผมจึงได้สั่งให้ทีมงานติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และต้องยอมรับว่าวิกฤติครั้งนี้มันน่าห่วงจริง ๆไม่น่าเชื่อว่าคนชื่อ Trump เพียงคนเดียว จะสามารถสร้างความปั่นป่วนโกลาหลให้เกิดขึ้นกับโลกทั้งใบได้เพียงคำกล่าวไม่กี่ประโยค 

คนไทยพร้อมรับมือมั้ยครับ ? ส่วนตัวผมยังเชื่อว่า คนไทยยังขาดความพร้อมหลายด้านโลกการเงินมันซับซ้อนครับ ยิ่งเราเป็นประเทศเล็ก อำนาจต่อรองมีไม่มาก ความสามามารถในการแข่งขัน(Competitiveness) ของเรายังไม่แกร่งพอ ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกอยู่ไม่ใช่น้อย ในท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี ที่ AI กำลังมา Disrupt เกือบทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้ เมื่อมาประจวบเหมาะกับ TRUMP WAR จะยิ่งทำให้เราป้องกันตัวได้ยากขึ้นในการวางแผนเผชิญวิกฤติ 

ทุกท่านอย่าเพิ่งสิ้นหวังนะครับ ประเทศไทยยังมีจุดแข็งบางอย่างที่ทำให้เราหลุดพ้นวังวนที่เชี่ยวกรากเหล่านั้นได้ ขอเพียงมี "สติ" 

ยังพอจำกันได้มั๊ยครับ ในช่วงวิกฤติการเงินในเอเชีย เมื่อปี พ.ศ.2540 ประเทศไทยได้น้อมนำเอา "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้ในการแก้ปัญหา ทำให้เราผ่านวิกฤตินั้นมาได้ อันที่จริงพระองค์ท่านตรัสไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แล้วครับ ปรัชญานี้ยังคงดำรงอยู่ เป็นแก่นแกนอยู่กลางใจพสกนิกรชาวไทยทุกคน ลองไปหาอ่านกันดูอีกครั้งนะครับ เป็นหลักปรัชญาที่ทำให้พวกเราเข้าใจการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลางโดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้นกันกันที่ดีความสนใจของผม ทำให้ผมยอมรับเป็นประธานกิตติมศักดิ์ "มูลนิธิครอบครัวพอเพียง" เพื่อสนับสนุนส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจปรัชญานี้ และประพฤติปฏิบัติตนตามครรลองอย่างเหมาะสม จนท่านดร.จงรักษ์ วัชรินทร์รักษ์ อดีตอธิการบดี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ผู้ล่วงลับ) ได้ให้เกียรติเรียนเชิญเป็นผู้บรรยายวิชา "ศาสตร์แห่งแผ่นดิน" ในช่วงปฐมนิทศนักศึกษา 

ผมและครอบครัวยึดถือ และนำเอาหลักปฏิบัติของปรัชญานี้ มาใช้อย่างต่อเนื่องและยาวนานแล้วครับ อยากให้รัฐบาลน้อมนำมาสื่อสาร ถ่ายทอดอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง จะเป็นการดีมากอย่างน้อยฉุดรั้งและตักเตือนให้คนไทยมีสติ มีความหวัง ไม่ตื่นตระหนก หวาดกลัวต่อสงครามอารยะแบบไร้อารยะ ที่มนุษย์บางประเภทกำลังเบ่งพองซึ่งอำนาจของตน

พี่น้องครับ ลูกหลานครับ การประกาศ TRUMP WAR ครั้งนี้ ได้ให้บทเรียนสำคัญแก่เราอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสนามรบ หรือ สนามการค้า ทุกอย่างล้วนมาจากเป้าหมายเรื่อง เงินและผลประโยชน์ ถามว่า ประเทศไทย และปวงชนชาวไทย ปรารถนาเช่นเดียวกันนี้หรือเปล่า อย่าลืมว่าเรามี"ภูมิคุ้มกัน" ที่พ่อหลวงทรงสังสอนเป็นแนวปฏิบัติที่ส่งผลต่อความผาสุกและยังยืน เชื่อหรือไม่ครับ ลูกชายคนเล็กของผมเรียนจบด้านธุรกิจากมหาวิทยาลัย ABAC แต่เขาเลือกทางเดินชีวิตของเขาเอง ด้วยการมาขออนุญาตคุณพ่อ คุณแม่ว่า เขาขอเป็นเกษตรกร... เน้นด้วยว่า บนแนวทาง "ศาสตร์พระราชา" คุณแม่เขาบอกว่า เราต้องยอมเขาเลยนะพ่อ เชื่อได้ว่าเขาจะเป็นคนที่มีความสุขที่สุด เพราะเขาจะอยู่กับธรรมชาติและความพอเพียง โดยเหตุนี้ "สวนสมดุล" จึงก่อกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.พ.ศ. 2562 เขาทุ่มเทใส่ใจต่อแปลงวนเกษตร ที่ปลอดจากสารเคมีทั้งปวง พร้อมเปิดร้านกาแฟ ออแกนิก เล็ก ๆ อยู่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ริมแม่น้ำแม่กลอง โดยขอย้ายสำมะโนครัวจากการเป็นคนคนกรุงเทพ ไปเป็นคนแม่กลอง และเปิดวิสาหกิจชุมชนเล็ก ๆ ร่วมกับชาวบ้านที่นั่น 

วันนี้เขาค้นพบว่า "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" คือ ปรัชญาที่ดีที่สุดที่จะช่วยจรรโลง และผดุงสังคมไทยให้ปลอดภัย และเป็นสุข ไม่ว่าวิกฤตจะเกิดขึ้นสักกี่ครั้งก็ตาม 

ฝากทุกท่านให้ศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้นะครับ

‘เทพไท’ มองท่าที ‘ไชยชนก’ อาจนำไปสู่ การเอาคืน!! หลังฉีกหน้ารัฐบาล กลางสภาฯ ทำ ‘เพื่อไทย’ เสียรังวัด!! อาจมีการปรับครม. ตัดพรรคร่วม ยุบสภาฯ หลังสงกรานต์

(12 เม.ย. 68) นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส. นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง ‘ทักษิณเอาคืนเนวิน’ ระบุ …

การที่นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ได้ประกาศจุดยืนไม่เอากาสิโนกลางที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นการฉีกหน้านางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แบบชัดๆ เต็มๆ ทำให้พรรคเพื่อไทยเสียรังวัด และโกรธเคืองเป็นอย่างมาก

เห็นจากท่าทีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกมาถามว่า ระหว่างนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กับนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคจะเชื่อใคร และการที่นายไชยชนกบอกว่า เป็นลูกนายเนวิน นางกรุณาต้องการสื่ออะไร นายอดิศร เพียงเกษ สส.อาวุโส ได้เขียนกลอนไล่ส่งพรรคภูมิใจไทยออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าต้องรักษามารยาททางการเมืองบ้าง ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจแทนนายใหญ่ ที่เก็บตัวเงียบไม่แสดงท่าทีใดๆ

แม้ว่านายอนุทินได้ออกมาขอโทษต่อนางสาวแพทองธารแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเป็นแผลที่ฝังลึกอยู่ในใจ เป็นรอยร้าวระหว่างพรรคภูมิใจไทยกับพรรคเพื่อไทย ยากที่จะประสาน เหมือนกับคำโบราณที่กล่าวว่าอันถ้วยโถโอร้าวเอากาวติด ถึงสนิทก็ยังเห็นว่าเป็นแผล เชื่อว่าหลังจากเทศกาลสงกรานต์นี้ผ่านพ้นไปแล้ว จะมีการเอาคืนจากนายทักษิณอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะมีปรากฏการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น คือ

1.นายทักษิณต้องความเข้าใจกับหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์นิยมให้ชัดเจนว่า จะทำงานทางการเมืองร่วมกัน และประสานประโยชน์กันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากัน

2.จะมีการปรับครม. หรือ ปรับพรรคร่วมรัฐบาลออก ยึดกระทรวงหลักกลับมาเป็นโควต้าของพรรคเพื่อไทย เพื่อกระชับอำนาจ เตรียมการรับมือกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

3.ถ้าหากสถานการณ์ทางการเมืองเดินมาถึงทางตัน จำเป็นต้องยุบสภา คืนอำนาจกับประชาชน เป็นการล้มกระดาน หรือล้างไพ่ใหม่

ขอให้จับตาดูปรากฏการณ์ทางการเมืองหลังสงกรานต์นี้ให้ดีว่า จะเดินไปสู่ 3 ขั้นตอนนี้หรือไม่ และนายทักษิณจะเอาคืนพรรคภูมิใจไทยอย่างไร

ECONBIZ

‘ทีดีอาร์ไอ’ หนุนแนวคิด ‘พีระพันธุ์’ ปฏิรูปกองทุนน้ำมันฯ สู่ระบบ SPR ยกเลิกอุดหนุน แก้ปัญหาน้ำมันแพงอย่างยั่งยืน

(18 เม.ย. 68) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ออกโรงสนับสนุนนโยบายของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ผลักดันแนวคิดเปลี่ยนระบบสำรองน้ำมันจากรูปแบบการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาเป็นการจัดเก็บน้ำมันจริงในรูปแบบ "คลังสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์" หรือ SPR (Strategic Petroleum Reserve)

ดร.อารีพร อัศวินพงศ์พันธ์ นักวิชาการนโยบายพลังงาน ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ระบบ SPR มีข้อได้เปรียบเหนือกว่ากองทุนน้ำมันฯ แบบเดิมที่ใช้กลไกการอุดหนุนราคาน้ำมัน เพราะช่วยให้รัฐบาลบริหารจัดการราคาขายปลีกน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอิงต้นทุนจริง ไม่ต้องแทรกแซงหรือใช้งบประมาณจำนวนมากเหมือนในอดีต ทั้งยังสามารถรับมือกับวิกฤตพลังงานจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น สงครามหรือภัยธรรมชาติ

“วัตถุประสงค์หลัก คือ รองรับวิกฤตด้านพลังงานจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น สงคราม การปิดเส้นทางขนส่ง หรือภัยธรรมชาติ เพื่อให้ประเทศมีน้ำมันเพียงพอในภาวะฉุกเฉิน”

จากข้อมูลปี 2567 พบว่าคลังน้ำมันของไทยมีความจุรวม 16,545 ล้านลิตร แบ่งเป็นน้ำมันดิบ 7,500 ล้านลิตร และน้ำมันสำเร็จรูป 9,000 ล้านลิตร ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการสำรองในระดับ 90 วันตามมาตรฐานของระบบ SPR ที่ต้องการสำรอง 14,000 ล้านลิตร (น้ำมันดิบ 12,000 ล้านลิตร และน้ำมันสำเร็จรูป 2,000 ล้านลิตร)

ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอแนะให้รัฐเริ่มต้นจากการสำรองน้ำมันขั้นต่ำ 30 วัน และค่อย ๆ ขยับเพิ่มเป็น 60-90 วัน เพื่อไม่ให้เกิดภาระต้นทุนสูงเกินไปกับภาคเอกชน และสามารถทยอยปรับโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม

“ภาครัฐควรจัดทำแผนเป็นลำดับขั้น เริ่มจากการตั้งเป้าสำรองขั้นต่ำที่ 30 วันของปริมาณการใช้น้ำมันต่อวันในประเทศ และขยายเป็น 60-90 วัน ในระยะกลางและระยะยาว”

แนวทางสำคัญในการสร้าง SPR คือการเปลี่ยนการเก็บค่าภาคหลวงจากเงินสดเป็นน้ำมันจริง โดยอาศัยกฎหมายปิโตรเลียมที่เปิดช่องให้ผู้รับสัมปทานสามารถชำระค่าภาคหลวงเป็นน้ำมันได้ ซึ่งหากจัดเก็บในอัตรา 12.5% จากปริมาณส่งออกปิโตรเลียมเฉลี่ย 19 ล้านลิตรต่อวัน จะได้น้ำมันสำรองราว 2.4 ล้านลิตรต่อวัน

อีกทางเลือกคือการนำส่วนอุดหนุนที่เคยเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ และภาษีบางส่วน มาใช้จัดซื้อและบริหารน้ำมันสำรอง โดยให้เอกชนเป็นผู้รับภาระแทนรัฐ ซึ่งต้องมีการชดเชยที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นมากในระยะยาว

นายพีระพันธุ์ ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานได้จัดทำร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบ SPR เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าหากดำเนินการได้สำเร็จ จะเป็นการวางรากฐานสำคัญในการบริหารจัดการน้ำมันของประเทศอย่างมีเสถียรภาพ และลดความผันผวนของราคาน้ำมันในอนาคต

‘วินท์ สุธีรชัย‘ ชี้ สัญญารับซื้อไฟสีเขียวบางส่วนทำก่อน ’พีระพันธุ์‘ คุมพลังงาน เชื่อมั่น ปัญหาพลังงานจะถูกแก้ไขอย่างเต็มที่ตามกฎหมายให้อำนาจ

(18 เม.ย. 68) จากกรณีที่นายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน จึงตั้งกระทู้ถามสดถึงแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจำนวน 5,200 เมกะวัตต์ ที่กำลังจะเซ็นสัญญาเร็วๆ นี้ ว่าเหตุใดจึงไม่ยกเลิกโครงการเหมือนกับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบสองจำนวน 3,600 เมกะวัตต์ที่ถูกเบรกโครงการไว้ เนื่องจากมองว่ามีปัญหาเรื่องความโปร่งใสและไม่คุ้มค่าเหมือน ๆ กัน  

ล่าสุดนายวินท์ สุธีรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) และกรรมการปรับปรุงและยกร่างกฎหมาย กระทรวงพลังงาน ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าว ว่า นั่งฟังที่ พี่ตุ๋ย (ท่าน พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) ตอบกระทู้สดในสภาเรื่องเกี่ยวกับสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาด เข้าใจได้ว่า: 

กฎหมายที่เกี่ยวกับประชาชน (เช่น กฎหมายอาญา) และ กฎหมายที่เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐ (เช่น กฎหมายมหาชน) จะมีความแตกต่างกัน โดยกฎหมายที่เกี่ยวกับประชาชนจะระบุสิ่งที่ห้ามทำ เช่น ทิ้งขยะผิดกฎหมาย ดังนั้นอะไรที่ไม่ได้ระบุไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับประชาชน ประชาชนสามารถทำได้ แต่กฎหมายที่เกี่ยวกับหน่วยงานรัฐ หากไม่ได้ให้อำนาจไว้ หน่วยงานรัฐไม่สามารถใช้อำนาจเกินที่กฎหมายระบุไว้ได้เพราะถือว่ามีความผิด 

ดังนั้นการที่กฎหมายให้อำนาจองค์กรอิสระในการจัดซื้อจัดจ้างพลังงานสะอาด แต่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในการกำกับพลังงานไฟฟ้าไว้เพียงน้อยนิด จึงทำให้การแก้ปัญหาพลังงานไฟฟ้าเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก (อาจจะเป็นเพราะในอดีตเคยมีแผนจะทำให้ กฟผ. กฟภ. และ กฟน. กลายเป็นเอกชนและเข้าตลาดหลักทรัพย์ จึงมีการลดอำนาจการกำกับพลังงานไฟฟ้าของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลง) 

อย่างไรก็ดี พี่ตุ๋ย รู้ถึงความน่าสงสัยในการจัดซื้อจัดจ้างพลังงานสะอาดที่เกิดขึ้นโดยการเซ็นสัญญาจากองค์กรอิสระซึ่งเกิดก่อนท่านจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และได้พยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้ตามที่กฎหมายมอบอำนาจไว้ให้: 

1. แก้ปัญหาระยะสั้น ได้ระงับการจัดซื้อจัดจ้างพลังงานสะอาด 2,100 เมกะวัตต์ ที่ัยังไม่ได้มีการเซ็นสัญญา ผ่านการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)  

2. แก้ปัญหาระยะกลาง ทางกฤษฎีกามีความเห็นไม่ให้ระงับการจัดซื้อจัดจ้างพลังงานสะอาด 5,203 เมกะวัตต์ เนื่องจากในส่วนที่ไม่ใช่ชีวมวลเซ็นต์สัญญาเสร็จสิ้นไปแล้ว 83 สัญญา เหลือเพียง 19 สัญญา ที่ยังไม่ได้เซ็น ดังนั้น รมว.พลังงาน จึงต้องหาทางระงับสัญญาด้วยวิธีอื่นโดยใช้วิธีตรวจสอบหาข้อผิดกฎหมายในสัญญาซึ่งจะทำให้สัญญาทั้งหมด ทั้งที่เซ็นไปแล้วและยังไม่ได้เซ็นเป็นโมฆะไปตามกฎหมาย 

3. แก้ปัญหาระยะยาว ปัญหาหลักๆ อยู่ที่กฎหมายซึ่งเขียนในช่วงที่มีแผนจะนำ สามการไฟฟ้า(กฟผ. กฟภ. และ กฟน.) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นเอกชน ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องมีการแก้กฎหมายใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันที่ หน่วยงานต่างๆยังเป็นของรัฐไทย เพื่อให้รัฐบาลสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากธุรกิจของเอกชนกลายมาเป็นความมั่นคงของรัฐไทยและให้ประชาชนมีพลังงานในราคาต่ำที่สุดใช้ ไม่ใช่เพื่อให้เอกชนไม่กี่รายสร้างกำไรให้กับตนเอง 

ขอเป็นกำลังใจให้พี่ตุ๋ยในการทลายทุนผูกขาดพลังงานไฟฟ้า(ซึ่งทำให้ท่านถูกโจมตีจากทุกทิศทาง) และเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากธุรกิจเอกชนให้กลับมาเป็นความมั่นคงของรัฐไทยและประชาชนให้ได้นะครับ 

'อดีตรัฐมนตรีอลงกรณ์' วิเคราะห์โอกาสในวิกฤติของไทยภายใต้สถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์เขียนบทวิเคราะห์โพสต์ในเฟสบุ้คเรื่องโอกาสและภัยคุกคามจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนโดยแบ่งเป็นยุคทรัมป์1.0และ2.0ด้วยมุมมองของผู้มีประสบการณ์เจรจากับสหรัฐและจีนรวมทั้งเข้าร่วมการประชุมAPECและอาเซียน+3+6โดยเคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติราชการรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและยังติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ-การเมืองระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องจึงนำมาเสนอเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไปโดยมีเนื้อหาตอนที่ 1 ดังนี้

สงครามการค้าสหรัฐกับจีนยุคทรัมป์ 1.0-2.0 :โอกาสในวิกฤตของไทย (1)
โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์
13 เมษายน 2025

ก่อนจะวิเคราะห์ถึงปัญหาและโอกาสในวิกฤตของไทยในสงครามภาษีการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนและประเทศต่างๆในปี 2025 ควรจะต้องทราบถึงสงครามครั้งแรกในยุคทรัมป์ 1.0 เมื่อ 7 ปีที่แล้วเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจก่อนที่จะวิเคราะห์โอกาสในวิกฤติที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายทรัมป์ 2.0

เปิดศึกเทรดวอร์(Trade War)

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ.และจีนที่เริ่มขึ้นในปี 2018 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ 1.0 สร้างความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างสองมหาอำนาจ โดยมีเหตุการณ์และผลกระทบสำคัญดังนี้
1.การเริ่มต้นมาตรการภาษี (มีนาคม 2018) สหรัฐฯ ใช้ มาตรา 301ของกฎหมายการค้า เพื่อลงโทษจีนในประเด็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาและบังคับถ่ายโอนเทคโนโลยี  

ทั้งยังประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องจักร ในขณะที่จีนตอบโต้ด้วยภาษีสินค้าสหรัฐฯ เช่น ถั่วเหลือง เนื้อสุกร และรถยนต์

2. การขยายวงภาษี (2018-2019) ทั้งสองฝ่ายทยอยเพิ่มภาษีสินค้ากว่า 3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของจีนถึง 25% ในปี 2019 ส่วนจีนตอบโต้ด้วยการลดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ

3.เปิดศึกเทควอร์(Tech War) สหรัฐฯเปิดสงครามเทคโนโลยี(Tech War)กับจีน(2019-2020) สหรัฐฯ ประกาศแบน Huawei และ ZTE จากตลาดสหรัฐฯ รวมถึงจำกัดการเข้าถึงชิปเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้จีนเร่งพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ เช่น ชิป 5G

เจรจาหย่าศึกดีลแรก

ข้อตกลงระยะที่หนึ่ง (Phase One Deal มกราคม 2020) จีนตกลงซื้อสินค้าสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 2 ปี สหรัฐฯ ยกเลิกภาษีบางส่วน แต่ยังคงภาษีส่วนใหญ่ไว้

ผลกระทบของคลื่นสงคราม

1. ผลกระทบต่อสหรัฐฯ ผู้บริโภคและธุรกิจ ต้นทุนสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า เกษตรกร สูญเสียตลาดส่งออกถั่วเหลืองและเนื้อสุกรหลักในจีน อุตสาหกรรมบางส่วน ได้รับการปกป้อง เช่น เหล็ก แต่บริษัทที่พึ่งห่วงโซ่อุปทานจีนเสียหาย  

2. ผลกระทบต่อจีน เศรษฐกิจชะลอตัว การส่งออกลดลง เร่งการพึ่งพาตลาดในประเทศ  
การย้ายฐานการผลิต บริษัทต่างชาติกระจายความเสี่ยงไปยังเวียดนาม อินเดีย เม็กซิโก  
เร่งพัฒนานวัตกรรม ลงทุนสูงในเทคโนโลยีหลัก (Semiconductor, AI) เพื่อลดพึ่งพาต่างชาติ  

3. ผลกระทบระดับโลก

องค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์การค้าโลกลดลง 0.5% ในปี 2019 ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก หลายบริษัทปรับโครงสร้างการผลิตใหม่  

4. ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้าสะท้อนการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและอำนาจระหว่างสหรัฐฯ-จีน  ได้ส่งผลต่อประเด็นอื่น เช่น ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ สถานะของไต้หวัน  

ไทยกับผลกระทบ ประโยชน์ 2 ทาง

จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนครั้งแรก (2018–2020) ทำให้ไทยได้รับประโยชน์หลายด้านจากการปรับตัวของห่วงโซ่อุปทานโลกและการแสวงหาทางเลือกใหม่ของนักลงทุน 
1. การขยายตัวของการลงทุนตรงจากต่างชาติ (FDI) บริษัทที่ย้ายฐานการผลิตจากจีน  หลายบริษัทข้ามชาติเลือกไทยเป็นฐานผลิตแทนจีนเพื่อเลี่ยงภาษีสหรัฐฯ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น ฮาร์ดดิสก์ ชิปเซมิคอนดักเตอร์) และยานยนต์ ข้อมูลจาก BOIระบุว่าในปี 2019 การลงทุนต่างชาติในไทยเพิ่มขึ้น 68%จากปีก่อนโดยจีนและญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนหลัก  

ตัวอย่างเช่นบริษัทจีนเช่น BYD (รถยนต์ไฟฟ้า) และ Haier (เครื่องใช้ไฟฟ้า) ขยายการผลิตในไทย  
2. การเติบโตของการส่งออก 2 เด้ง สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าไทยแทนจีน
สินค้าไทยที่ได้ประโยชน์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ (ครองส่วนแบ่งตลาดโลก 40%) ยางพารา ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป จีนเพิ่มนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยหลังจีนลดซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ไทยส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ยางพารา น้ำตาลและผลไม้ เช่น ทุเรียนเพิ่มขึ้น  

การส่งออกไทยไปสหรัฐฯ เติบโต 4.5%ในปี 2019 ส่วนการส่งออกไปจีนเพิ่ม7%

3. การเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานใหม่ฐานผลิตในภูมิภาคอาเซียน 
ไทยถูกมองเป็น "China +1" ของนักลงต่างประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาการผลิตในประเทศเดียว การลงทุนใน EEC (ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก)เช่นโครงการรถไฟความเร็วสูง และนิคมอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น EECdดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีและโลจิสติกส์  

4. ประโยชน์ต่อภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.เกษตรกรรม
จีนเพิ่มการซื้อยางพารา มันสำปะหลัง และน้ำตาลจากไทยเพื่อทดแทนการนำเข้าจากสหรัฐฯ  
2.อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
การลงทุนจากจีนและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ไทยเป็นฐานส่งออกไปอาเซียนและตลาดอื่น  

5. การเสริมบทบาททางการค้าในภูมิภาค
1.ความเป็นกลางทางการเมือง
ไทยได้ประโยชน์จากการเป็นพันธมิตรทั้งสหรัฐฯ และจีน ส่งเสริมการเป็น "ฮับการค้า" ในอาเซียน  
2.ข้อตกลงการค้า
ไทยใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) เพื่อส่งออกสินค้าไปจีนโดยได้ภาษีพิเศษ  

6. ผลกระทบทางอ้อม
1.ค่าเงินบาทที่อ่อนตัว
ช่วงสงครามการค้า ค่าเงินบาทอ่อนค่าสัมพัทธ์กับดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งเสริมการส่งออก  
2.การจ้างงาน
อุตสาหกรรมที่ขยายตัวช่วยดูดซับแรงงาน โดยเฉพาะในเขต EEC  

สรุป
สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ไม่เพียงส่งผลทางเศรษฐกิจโดยตรง แต่ยังเปลี่ยนโฉมภูมิทัศน์การค้าโลก กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ปรับกลยุทธ์การค้าและลดการพึ่งพาซัพพลายเชนจากแหล่งเดียว ขณะเดียวกัน ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและอิทธิพลระหว่างสองมหาอำนาจที่ยังคงดำเนินต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนยังส่งผลให้ไทยได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต การขยายการส่งออก และการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย แม้จะเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ไทยสามารถใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและเสริมตำแหน่งทางการค้าในภูมิภาคได้อย่างมีนัยสำคัญ.

:เกี่ยวกับผู้เขียน
นายอลงกรณ์ พลบุตร
ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์
ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์
ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมต
อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติราชการรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
อดีต ส.ส.6สมัย

LITE

‘ณิชา’ สวยสะกดทุกสายตา!! ควงกระเป๋า Tote Bag จาก Fundaoera ลุคหรูดูแพงสุดปัง

กระเป๋า Tote Bag  ที่รังสรรค์จากวัสดุหนังเเท้ โดดเด่นด้วยโลโก้สีทอง 𝘛𝘩𝘦 𝘐𝘯𝘧𝘪𝘯𝘪𝘵𝘺 𝘋𝘰𝘶𝘣𝘭𝘦 𝘊𝘳𝘰𝘴𝘴 อันเป็นเอกลักษณ์ ช้อปได้ที่ FUNDAO Store ทุกสาขา

SOS FLAGSHIP STORE ลดจัดเต็ม!! 70% ลดหนักจัดเต็มทั้งร้าน ตั้งแต่วันที่ 14-30 เม.ย. 68

เซลล์ส่งท้ายร้าน SOS FLAGSHIP STORE ก่อนประกาศปิดให้บริการ ลดจัดเต็มทั้ง 4 ชั้น สูงสุด 70% สาขา Flagship store วันที่ 30 เม.ย. จะเปิดให้บริการวันสุดท้าย โปรปังแบบนี้มีเฉพาะสาขาสยามสแควร์เท่านั้นนะ

18 เมษายน พ.ศ. 2398 ‘รัชกาลที่ 4’ ลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ เปิดประตูการค้าสู่โลกตะวันตก จุดเริ่มต้นเศรษฐกิจยุคใหม่ของสยาม

ในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรสยาม หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและการทูตระหว่างประเทศ คือการลงนามใน “สนธิสัญญาเบาว์ริง” (Bowring Treaty) กับสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

ก่อนการลงนามในสนธิสัญญา สยามยังมีระบบการค้าแบบผูกขาดภายใต้การควบคุมของพระคลังสินค้า โดยการค้าระหว่างประเทศถูกจำกัดอยู่เฉพาะกับบางชาติ และถูกควบคุมอย่างเข้มงวดทั้งด้านภาษีและระเบียบราชการ

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลของโลกในขณะนั้น ได้เร่งขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการค้าไปทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะหลังจากที่อังกฤษประสบความสำเร็จในการเปิดประเทศจีนให้ทำการค้ากับชาติตะวันตกผ่าน “สงครามฝิ่น” ซึ่งนำไปสู่การลงนามใน “สนธิสัญญานานกิง” กับจีน ทำให้อังกฤษมองเห็นโอกาสในการขยายเครือข่ายการค้าไปยังภูมิภาคอื่น ๆ

สยามในขณะนั้นถือเป็นประเทศที่มีความมั่นคงและเป็นอิสระจากการตกเป็นอาณานิคม แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง อีกทั้งยังตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้าระหว่างอินเดีย จีน และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงมีความสนใจที่จะสานสัมพันธ์กับสยามในเชิงเศรษฐกิจและการทูต เพื่อให้สามารถเข้าถึงทรัพยากร ท่าเรือ และตลาดการค้าในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยบริบทของการล่าอาณานิคมและการแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจในยุคนั้น การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับสยามจึงเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของอังกฤษในการสร้างอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยไม่ต้องใช้กำลังทหาร

สนธิสัญญาเบาว์ริง มีชื่อเรียกตาม เซอร์จอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring) ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้แทนของอังกฤษในการเจรจา มีสาระสำคัญหลายประการ ได้แ

1.  ยกเลิกการผูกขาดการค้า โดยพระคลังสินค้า เปิดโอกาสให้พ่อค้าต่างชาติสามารถค้าขายกับเอกชนในสยามโดยตรง
2. กำหนดอัตราภาษีนำเข้า-ส่งออกแบบคงที่ ช่วยให้การค้าระหว่างประเทศมีความแน่นอนและโปร่งใส
3. อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษตั้งถิ่นฐานและมีสถานกงสุลในกรุงเทพฯ
4. กำหนดสิทธิ “เอกสิทธิ์ทางกฎหมาย” (extraterritoriality) ที่ให้อังกฤษมีอำนาจพิจารณาคดีความของชาวอังกฤษในสยามด้วยตนเอง

การรลงนามในสนธิสัญญาครั้งนั้น ช่วยให้สยามเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจ สามารถส่งออกสินค้า เช่น ข้าว น้ำตาล และไม้สัก ไปยังตลาดโลก รวมถึงการปฏิรูประบบราชการและเศรษฐกิจ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษี การศึกษา และระบบเงินตราให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และเป็นการเปิดประตูสู่โลกตะวันตก สนธิสัญญานี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดประเทศ และการมีปฏิสัมพันธ์กับชาติตะวันตกในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น

ทั้งนี้ สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่เพียงแต่เป็นข้อตกลงทางการค้าที่สำคัญ แต่ยังเป็นหมุดหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลระยะยาวต่อการพัฒนาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสยาม แม้ว่าสนธิสัญญานี้จะถูกวิจารณ์ในภายหลังว่าเอื้อประโยชน์ต่อชาติตะวันตกมากกว่าสยาม แต่ในบริบทของยุคสมัย ก็ถือว่าเป็นก้าวแรกของการปรับตัวเพื่อธำรงเอกราชและเข้าสู่ยุคสมัยใหม่อย่างสง่างาม

PODCAST

‘ตำรวจลับราชวงศ์หมิง’ จุดเริ่มต้น ‘ราชวงศ์หมิง’ ล่มสลาย | THE STATES TIMES Story EP.162

ประวัติศาสตร์จีนในยุค ‘ราชวงศ์หมิง’ ได้ถือกำเนิดตำรวจลับขึ้นเพื่อใช้จัดการขุนนางฉ้อฉลและคอยปกป้ององค์จักรพรรดิ แต่กลุ่มตำรวจลับนี้เอง ที่กลับกระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม จนต้องเกิดกลุ่มตำรวจลับใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อใช้ปราบปราม ทว่า กลับกลายเป็นวัฏจักรอันน่าอดสู และทำให้ราชวงศ์หมิงมีอายุได้เพียง 200 ปี เท่านั้น

วันนี้ THE STATES TIMES Story ได้รวบรวมเรื่องราวของตำรวจลับแห่งราชวงศ์หมิงมาเล่าสู่กันฟัง ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังกัน…

ไขปริศนา 1 มกราคม: วันปีใหม่เกิดขึ้นได้อย่างไร? | THE STATES TIMES Story EP.161

ทำไมวันที่ 1 มกราคม ถึงกลายเป็นวันปีใหม่? 🎆
รู้หรือไม่ว่า วันปีใหม่มีที่มาจากประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่ยุคบาบิโลเนีย จนถึงปฏิทินเกรกอเรียนที่เราใช้กันในปัจจุบัน 🌍
มาดูกันว่าทำไมโลกถึงเลือกวันนี้เพื่อเริ่มต้นปีใหม่!

📖 อ่านเพิ่มเติม: https://thestatestimes.com/post/2023122702

ตำนานวันปีใหม่ไทย เปลี่ยนผ่านจาก 1 เมษา สู่ 1 มกรา | THE STATES TIMES Story EP.160

รู้หรือไม่? ประเทศไทยเคยเริ่มต้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน! 
จากบทเพลง 'เถลิงศก' สู่ 'พรปีใหม่' เพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยร้องรับพรกันในวันปีใหม่ทุกปี 🎶
มาร่วมย้อนรอยตำนานการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ไทย ที่สะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และน้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ไทย 💛

VIDEO

ป้าหมาย ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ผ่านมุมมอง ‘วีระศักดิ์ โควสุรัตน์’ | CONTRIBUTOR EP.30

เมืองไทยมีดี มีจุดขายที่งดงามในภาคการท่องเที่ยว แต่จะพอใจเพียงเท่านี้ พอใจเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ลูกเดียว อาจจะไม่ยั่งยืน

มิติใหม่ของการท่องเที่ยวไทย ต้องปรับประยุกต์ เพื่อสร้างการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายในแต่ละเขตแดน เมือง จังหวัด ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องร้อยห่วงโซ่ของ ‘ความยิ้มแย้ม-ความยืดหยุ่น-ไม่หย่อนยาน’ 
รวมถึงปรับแนวทางสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวใต้วิธีคิดที่ทันโลก

เพราะนี่คือวาระสำคัญของอนาคตการท่องเที่ยวไทยในวันข้างหน้า 
ในวันที่ ‘หินก้อนใหญ่’ ยังกดทับ ‘หญ้าสีเขียว’ ในบางพื้นที่อยู่

ปลดล็อกร่างทอง ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ไปด้วยกันกับ Contributor EP นี้ กับผู้ที่เข้าใจระบบนิเวศการท่องเที่ยวยั่งยืนแบบถ่องแท้ได้จาก... คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ถึงเวลาสร้าง ‘ไทย’ ให้เติบใหญ่ในยุคดิจิทัล l รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก

ความ ‘เท่า’ ที่ยากจะ ‘เทียม’ หากระบบการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับที่และทิศทางไทยยังคงหลงอยู่กับนโยบาย

ประชานิยมที่คอยกระตุกกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงแค่ครั้งคราว

กลับกันประเทศไทย ในวันที่เริ่มตั้งตัว ต้องหาทางตั้งทรงแบบยกแผงต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะผลักดันอนาคตชาติเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในทุกภาคส่วนระบบการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และอื่นๆ ให้เกิดรากอันแข็งแกร่ง เพื่อเป็นฐานรองรับให้ ‘คนในชาติ’ กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ

Contributor EP นี้ ขอกระตุกมุมคิดคนไทยให้ร่วมมองความเจริญแห่งอนาคตที่ถูกทิศผ่านมุมคิดของ... 
รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ที่ขอเป็นตัวแทนพูดดังๆ ถึงทุกภาคส่วน ว่า…

ถึงเวลาแล้วที่ ‘ประเทศไทย’ ต้องปฏิรูป!!

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ | CONTRIBUTOR EP.28

ค่านิยม ‘ท้าทาย’ กฎหมายของคนในยุคนี้ ยุคที่ใคร ‘แหก’ กฎได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งยกย่องกันแบบผิดๆ ว่า 'เจ๋ง' และดูเก่งในสายตากลุ่มก้อนความคิดเดียวกัน ... เริ่มลุกลาม!!

แต่เมื่อ 'กฎหมาย' คือ กฎที่คนส่วนใหญ่ ทำตาม!!

ผู้ใด 'ท้าทาย' ก็ต้องพร้อมรับผิดชอบในทุกการกระทำ

และนี่คือเรื่องราวของอีกหนึ่งผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่อยากฝากบอกถึง 'นักแหกกฎ' ให้ปลดความคิดสุดระห่ำออกไปจากระบบคิด และจงเชื่อเถอะว่าชีวิตของพวกคุณจะไม่มีวันถูกหล่อเลี้ยงได้อย่างยั่งยืนผ่านคำยกย่องผิดๆ

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี 

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์

Y WORLD

ซักด่วน !!! ใช้ผ้าขนหนูเกิน 3 วัน เหมือนเช็ดตัวด้วยโถส้วม !!! | Y WORLD EP.75

Y WORLD ตอนนี้ แค่หัวข้อก็อึ้งกันแล้วค่ะ แค่ไม่ได้ซักผ้าขนหนู 3 วัน ก็สกปรกขนาดนี้เลยหรอ ? ส่งผลอย่างไรบ้าง และควรแก้ยังไง คลิปนี้มีคำตอบค่ะ 

‘Roman Charity’ ภาพวาดที่ไม่ได้ลามก แต่คือความกตัญญู | Y WORLD EP.74

Y WORLD ตอนนี้พาคุณไปชมภาพวาดหญิงสาวกำลังป้อน ‘นม’ ของตัวเองให้ชายชรา ที่บอกเลยว่า 'เห็นครั้งแรก ก็คิดดีไม่ได้จริงๆ' แต่แท้จริงแล้ว ภาพนี้ไม่ได้เป็นสื่อลามกอนาจาร แต่คือการแสดงความกตัญญู เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามชมกันได้เลยค่ะ

ปลิดชีพ "ชาย" ขู่ฆ่า "โจ ไบเดน" แม้ไม่มี112 | Y WORLD EP.73

Y WORLD ตอนนี้จะพาคุณไปฟังเรื่องราวการ "ปกป้องผู้นำ" ของตนขั้นสุดแบบสหรัฐอเมริกา ในกรณีที่ FBI ปลิดชีพ 'ชาย’ ขู่ฆ่า 'โจ ไบเดน' แม้สหรัฐอเมริกาจะไม่มีกฎหมายมาตรา 112 แบบประเทศไทย แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากใครมาหมิ่นหรือคิดร้ายผู้นำในประเทศของเขา โดนดีทันที เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปรับชมกันเลย

SPECIAL

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568

ผีร้ายทำลายชาติ
ประเทศใด ชาติใดก็ตาม
ถ้ารัฐส่งเสริมให้มีการพนัน
ไม่ว่าประเภทใด
ก็เรียกว่าเปิดประตู
แห่งความเสื่อมความเสีย
ให้เกิดขึ้นแก่คนในชาตินั้น

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568

การพนันเป็นอบายมุข
นำมาแต่ความเสื่อมเสีย แก่ตัวเองและหมู่คณะ
ตลอดแก่พระพุทธศาสนา

.....นำมาแต่ภัยเวร
นำมาแต่ความประมาท

เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรม จึงไม่ควรเล่นการพนัน

หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2568

ความจริงนั้นก็เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของเรา
เราจะหนีหรือจะสู้ ความจริงก็อยู่นั่น
ถ้าเรากลัวความจริง ความจริงก็เป็นโทษแก่เรา
แต่ถ้าเรารู้ความจริง ความจริงก็เป็นประโยชน์แก่เรา

INFO & TOON

เศรษฐกิจในยุค 'ทรัมป์' ป่วนโลก

‘ดร.อมรเทพ จาวะลา’ แนะแนวทางการรับมือเศรษฐกิจยุค ‘ทรัมป์’ ป่วนโลก พร้อมคู่มืออยู่รอด มีอะไรต้องเตรียมพร้อมบ้างไปดูกัน 

บิล เกตส์ ฟันธง!! 3 อาชีพที่ปลอดภัย ไม่ถูก AI แย่งงาน

ยุค AI กำลังจะครองโลก!! หลายอาชีพส่อตกงาน ส่วนอาชีพไหนจะไปรอดในมุมมอง ‘บิล เกตส์’ ไปดูกัน

🌍💸 ประเทศที่ประชากรรวยที่สุดในโลก ปี 2025

อันดับ 1 คือ ลักเซมเบิร์ก ตามด้วย สวิตเซอร์แลนด์ และ ไอร์แลนด์ สิงคโปร์ ตัวแทนอาเซียน ติดท็อป 5 ด้วย

หลายประเทศในลิสต์นี้อาจตัวเล็ก แต่เศรษฐกิจกลับทรงพลัง เพราะโฟกัสที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ 💼📈

อ่านแล้วอยากให้ไทยโตแบบยั่งยืนบ้างเนอะ 🇹🇭✨

COLUMNIST

‘พีระพันธ์’ เริ่มภารกิจดับไฟน้ำมันกลางพายุการเมือง เรือหลวงหลงทิศเจอคลื่นคาสิโนถาโถม สูตร ‘อุ้งอิ้ง’ x ‘เนวิน’ อาจไม่รอดฝั่ง

(18 เม.ย. 68) จากโพสต์ล่าสุดของเพจเฟซบุ๊ก ปราชญ์ สามสี ได้ตีแผ่ภาพสถานการณ์การเมืองไทยผ่านลีลาภาษาสะท้อนอารมณ์ชวนติดตาม โดยพุ่งเป้าไปที่บทบาทของ พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เพิ่งได้รับมอบหมายภารกิจ ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองร้อนฉ่า

พีระพันธ์ร้อยลีลาเริ่มภารกิจดับไฟราคาน้ำมัน แต่ติดอยู่กลางรัฐบาลผสมสูตร 
'อุ้งอิ้ง x เนวิน' ที่หัวเรือใหญ่ดูจะพากันล่องทะเลการเมืองแบบไม่มี GPS — แถมมีหินโสโครกชื่อว่า 'คาสิโน' โผล่มาเป็นอุปสรรคใหญ่เบ้อเร่อ!

ลูกแรกหักหลบทันอย่างเท่ ลูกสองลูกสามนี่สิ...อุ่ย ส่วนใหญ่จม!

กรกฎาคมนี้รู้กันว่าเรือรอดหรือร่วง พีระพันธ์ที่เคยนั่งเป็น ผู้ช่วยรปภ.ใหญ่มาก่อน น่าจะเข้าใจเกมทำใจดีสู้เสือ ใส่ชูชีพแต่เนิ่น ๆ แอบประคองพวงมาลัยให้....แต่กับกัปตันคนนี้ที่พาเลี้ยวซ้ายเฉี่ยวขวาแถมมีเรือลำอื่นแอบหนีตัดหน้า ก็ไม่รู้ว่าควรจะเกาะให้แน่น หรือต้องผูกสลิงเตรียมโดด!

ที่แน่ ๆ ก๊วนเสี่ยหนู-เนวิน ทิ้งเรือไปนั่งเรือยางแล้ว แต่จะถึงฝั่งไหมไม่มีใครกล้าฟันธง โดยเฉพาะตอนนี้ที่นายเรือดูจะหรี่ตาเขียวใส่ พร้อมตั้งข้อหา 'ทรยศกลางทะเล'

หรือท้ายที่สุด...พีระพันธ์จะกลายเป็นนักว่ายน้ำดีเด่นในพายุการเมือง? หรือ ประคองเรือหลบ คาสิโนได้ .. อันนี้ก็ต้องลองลุ้นกัน

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#7 ‘ทหารเกาหลีใต้’ พันธมิตรร่วมรบของสหรัฐฯ และเวียตนามใต้

สงครามอินโดจีนเป็นสงครามที่มีการระดมกำลังทหารจากพันธมิตรทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐอเมริกาตัดสินใจส่งกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติการรบโดยตรง จากเดิมที่มีการส่งเพียงที่ปรึกษาทางทหาร สำหรับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรแล้ว สงครามเวียตนามเป็นความพยายามของหลายชาติในการหยุดยั้งกระแสการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากขั้วตรงข้ามในสงครามเย็นของสหรัฐฯ คือ สหภาพโซเวียตและจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวียตนามใต้ถือเป็นจุดที่ร้อนแรงในบริบทของสงครามเย็น เช่นเดียวกับความขัดแย้งทั้งหมด จึงมีการระดมกำลังทหารจากชาติพันธมิตรร่วมอุดมการณ์โลกเสรีอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และไทย 

สงครามเวียดนามเป็นภารกิจทางทหารครั้งใหญ่ครั้งแรกของเกาหลีใต้นับตั้งแต่การลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกสงครามเกาหลีในปี 1953 กองทหารเกาหลีทั้งหมดในเวียดนามเป็นอาสาสมัคร การมีส่วนร่วมของกองทัพเกาหลีใต้ในสงครามเวียดนามเริ่มต้นขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงปี 1965 และสิ้นสุดลงเมื่อกองทหารรบสหรัฐฯ ชุดสุดท้ายออกจากเวียตนามใต้ ทหารและนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลีชุดแรก (ซึ่งเรียกทั่วไปว่า ‘ROK’) เริ่มมาถึงหลังจากกองทหารรบสหรัฐฯ ชุดแรกมาถึงเวียตนามใต้หลายเดือนก่อนหน้าแล้ว ผู้สังเกตการณ์ทางทหารยืนยันว่า “ทหารเกาหลีใต้” สู้รบด้วยความกล้าหาญ โดยหลายคนบอกว่า ดุเดือด ยุทธวิธี และเทคนิคของพวกเขามักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า โหดร้ายโดยไม่จำเป็น แต่ความกล้าหาญและมีวินัยของพวกเขานั้นไม่เป็นที่สงสัยเลย แม้แต่จากศัตรูของพวกเขา ความสำเร็จและการมีส่วนสนับสนุนของกองกำลังเกาหลีในเวียตนามใต้นั้น ไม่ได้รับการยกย่องและไม่ได้รับการชื่นชมมากนักนอกแวดวงทหาร สำหรับชาวอเมริกันหลายคนที่เคยร่วมรบกับพวกเขา ความสามารถในการต่อสู้ของ “ทหารเกาหลีใต้” ถือเป็นตำนาน กองกำลังเกาหลีใต้มีอัตราการสร้างความสูญเสียชีวิตให้กองกำลังคอมมิวนิสต์ในอัตราที่สูงมาก และสามารถจับกุมเชลยสงครามได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์อีกเป็นจำนวนมาก การกระทำดังกล่าวทำให้กองกำลังคอมมิวนิสต์ไม่กล้าเข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่ของ “ทหารเกาหลีใต้” และสามารถขัดขวางภารกิจของเวียตกงในพื้นที่ปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

มุมมองของสหรัฐฯ คือ คนร่วมสมัยเชื่อว่ากองกำลังเกาหลีใต้มีประสิทธิภาพในการสู้รบเทียบเท่ากับกองกำลังสหรัฐฯ จึงช่วยแบ่งเบาภาระของกองกำลังสหรัฐฯ ในพื้นที่ปฏิบัติการของเกาหลีใต้ แน่นอน สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของกองกำลังเกาหลี ตั้งแต่ปี 1965 ถึงปี 1973 ทหารบกและทหารนาวิกโยธินของเกาหลีใต้ 320,000 นายถูกส่งมาประจำการประจำการในเวียตนามใต้ ตัวเลขดังกล่าวรองจากทหารสหรัฐฯ และเวียดนามใต้เท่านั้น และมากกว่าทหารพันธมิตรทั้งหมดรวมกัน ทหารเกาหลีใต้ 5,099 นายเสียชีวิตและอีก 10,962 นายได้รับบาดเจ็บในสงครามครั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 1965 รายงานของ CIA อธิบายปัญหาหลักของเวียดนามใต้ไว้ดังนี้ “เวียตกงยังคงได้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่อง ... โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มชายฝั่งทะเล รัฐบาล [เวียตนามใต้] อยู่ในฝ่ายรับอย่างชัดเจน ความสงบยังคงหยุดชะงัก และคาดว่าความมั่นคงในพื้นที่ชนบทจะลดลงต่อไป” การตอบสนองต่อการประเมินของ CIA ได้มาในรูปแบบของ “กองพลเสือ” แห่งกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี และ “กองพลมังกรน้ำเงินที่ 2”  ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี หน่วยรบของเกาหลีใต้รับผิดชอบหลักในการสร้างความสงบและรักษาความปลอดภัยในจังหวัดชายฝั่ง (บิ่ญดิ่ญ ฟูเอียน คานห์ฮวา และนิญถวน) ในกองพลที่ 2 พวกเขารับหน้าที่นี้ด้วยความเข้มแข็ง พื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะทางใต้ของ Qui Nhon ลงไปจนถึง Phan Rang ยังคงค่อนข้างปลอดภัยตั้งแต่นั้นมา ภายใต้การจับตามองของ “ทหารเกาหลีใต้” 

ในเดือนกันยายน 1966 เกาหลีใต้ส่ง “กองพลม้าขาวที่ 9” ไปปฏิบัติการในพื้นที่ชายฝั่งทางใต้ ทำให้กองพลที่ 2 ทำให้ “กองพลมังกรน้ำเงินที่ 2” สามารถเคลื่อนพลไปทางเหนือเพื่อช่วยเหลือทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในจังหวัดกวางนาม ผู้สังเกตการณ์ทางทหารของสหรัฐฯ ได้บันทึกว่า ในเวียตนามใต้ กองกำลัง ROK ปฏิบัติหน้าที่อย่างโดดเด่นและกล้าหาญ และได้รับสถานะที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นตำนานทั้งในหมู่มิตรและศัตรู และทหารร่วมสมัยบางคน แม้จะมีการกล่าวหาว่า “ทหารเกาหลีใต้” ใช้ยุทธวิธีที่ก้าวร้าวเกินไปหรือรุนแรงเกินไป เรื่องเล่าและตำนานมากมายเกี่ยวกับวินัยที่เข้มงวด ความแข็งแกร่ง และความสามารถทางการทหารของ “ทหารเกาหลีใต้” โดยได้รับการกล่าวขานว่ามี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยิ่งในการทำสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบ กลยุทธ์ และการปฏิบัติการของหน่วยขนาดเล็ก และการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เป็นตำนานที่ทหารอเมริกันได้นำเล่าขานบ่อยครั้งด้วยความประทับใจ อาทิ “เอกสารของศัตรูที่ยึดมาได้ซึ่งสั่งให้หน่วย NVA [กองทัพเวียดนามเหนือ] หลีกเลี่ยงการปะทะกับ “ทหารเกาหลีใต้” ทั้งหมด เว้นแต่จะมั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะได้รับชัยชนะ” ในขณะที่เรื่องราวที่แต่งขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวกับหน่วยที่เวียดนามเหนือกลัวอย่างแท้จริงนั้นมักจะมีเรื่องเล่าของผู้เล่าเอง แต่เรื่องราวเกือบทุกเรื่องล้วนมีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ทหารเกาหลีใต้” 

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’ 

ตลอดเดือนเมษายน 2568 พบกับเรื่องราวของมหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน  
ในโอกาสครบ 50 ปีแห่งการสิ้นสุดสงคราม วันที่ 30 เมษายน 2518

ประชากรรัสเซียในภาวะวิกฤต หลังอัตราการเกิดลดลงต่อเนื่อง ท่ามกลางความท้าทายในบริบทเศรษฐกิจ สงคราม และภูมิรัฐศาสตร์

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัสเซียกำลังเผชิญกับวิกฤตประชากรที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ซึ่งเป็นวิกฤติประชากรที่ลึกซึ้งและต่อเนื่อง หลายฝ่ายมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติในระยะยาว อัตราการเกิดที่ลดลง สัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และอัตราการอพยพของแรงงานฝีมือสูงล้วนบ่งชี้ถึงปัญหาที่ฝังรากลึกและยังหาทางแก้ไม่ได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ค.ศ. 2023 ที่อัตราการเกิดลดลงถึงระดับต่ำสุดในรอบ 200 ปี ปรากฏการณ์นี้ไม่เพียงสะท้อนถึงปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ แต่ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามในยูเครน และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของสังคมรัสเซีย 

โดยในปี ค.ศ. 2023 มีเด็กเกิดใหม่ในรัสเซียเพียงประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีเด็กเกิดเพียง 616,200 คน เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ค.ศ. 2022 ที่มีมากกว่า 635,000 คน หรือมากกว่านั้นในช่วงก่อนโควิด สื่ออิสระและนักวิชาการบางส่วนได้ชี้ว่า จำนวนการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจาก 1) สถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน 2) ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคต 3) ความไม่มั่นคงทางสังคมและการเมืองจากสงครามในยูเครน 4) ค่านิยมใหม่ที่ไม่เน้นการสร้างครอบครัวในคนรุ่นใหม่  

ถึงแม้จะผ่านพ้นช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ไปแล้ว แต่จำนวนผู้เสียชีวิตในรัสเซียยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้สงครามในยูเครนยังได้คร่าชีวิตประชาชนและทหารรัสเซียจำนวนมาก (ตัวเลขไม่เป็นทางการระบุหลักแสนราย) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างประชากรโดยเฉพาะในกลุ่มชายหนุ่มวัยแรงงาน นอกจากนี้หลังการประกาศระดมพลบางส่วนในเดือนกันยายน ค.ศ. 2022 (partial mobilization) มีชายชาวรัสเซียหลายแสนคนอพยพออกนอกประเทศ โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาและทักษะสูง เช่น โปรแกรมเมอร์ วิศวกร นักวิจัย ฯลฯ ทำให้รัสเซียสูญเสียทรัพยากรมนุษย์สำคัญ ซึ่งอาจกระทบต่ออัตราการเกิดในระยะยาว นักประชากรศาสตร์ชี้ว่า หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง รัสเซียอาจเห็นจำนวนประชากรลดลงจากราว 143 ล้านคนในปัจจุบัน เหลือเพียง 130 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 หรืออาจต่ำกว่านั้นในสถานการณ์เลวร้าย สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และคาดการณ์เชิงยุทธศาสตร์ «ИСАП» ของรัสเซียรายงานว่า รัสเซียกำลังเข้าสู่ “ยุคประชากรหดตัว” «эпоха демографического сжатия» ซึ่งเป็นผลจากทั้งการเกิดที่น้อยเกินไป การเสียชีวิตที่มาก และการย้ายถิ่นออก 

แม้รัฐบาลรัสเซียจะพยายามส่งเสริมการเกิดอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการสวัสดิการต่าง ๆ เช่น เงินอุดหนุน “ทุนมารดา” «материнский капитал» แต่แนวโน้มอัตราการเกิดกลับยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างในมิติ เศรษฐกิจ และ สังคม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 

1) ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงขึ้น เงินเฟ้อ ค่าอาหารและที่อยู่อาศัยพุ่งสูง โดยเฉพาะหลังจากรัสเซียเผชิญกับการคว่ำบาตรระหว่างประเทศจากกรณีสงครามในยูเครนรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไม่เพียงพอในการดูแลลูกมากกว่าหนึ่งคนโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่อย่างมอสโกหรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจครอบครัวต้องเผชิญกับภาระที่หนักกว่าภูมิภาคอื่น ๆ หลายเท่า ค่าเช่าหรือค่าผ่อนชำระอพาร์ตเมนต์มีราคาเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศถึง 2–3 เท่า ค่าเลี้ยงดูเด็กในศูนย์รับเลี้ยงหรือโรงเรียนอนุบาลเอกชนสูงจนครอบครัวรายได้ปานกลางเข้าไม่ถึง ค่าจ้างพี่เลี้ยงเด็กในมอสโกเฉลี่ยอยู่ที่ 60,000–80,000 รูเบิล/เดือน (ราว 700–900 ดอลลาร์) ซึ่งเทียบเท่าหรือสูงกว่าค่าแรงเฉลี่ยในหลายภูมิภาคของประเทศ รายงานจาก Институт демографии НИУ ВШЭ ระบุว่า “ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเลี้ยงดูเด็กหนึ่งคนในมอสโกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 18 ปีสูงกว่า 11 ล้านรูเบิล (ประมาณ 125,000 ดอลลาร์)” ซึ่งเป็นอัตราที่ “ไม่สอดคล้องกับรายได้ของชนชั้นกลางทั่วไป”นักประชากรศาสตร์อย่างเอเลนา ซาคาโรวา «Елена Захарова»  จาก Russian Academy of Sciences ชี้ว่า“ในระบบเศรษฐกิจที่เสี่ยงและมีต้นทุนการดำรงชีวิตสูงเช่นนี้ ครอบครัวจำนวนมากไม่สามารถ ‘แบกรับ’ ค่าใช้จ่ายของเด็กแม้แต่หนึ่งคนได้” จากข้อมูลของธนาคารกลางรัสเซีย «Банк России» ปี ค.ศ. 2023 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 7.4% แต่ในหมวดสินค้าเด็กเพิ่มขึ้นมากกว่า 10–15% ในบางเขตเมืองราคานม ผ้าอ้อม ของใช้เด็ก และบริการทางการแพทย์พุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและสาธารณสุขที่เพิ่มสูงส่งผลให้ครอบครัวรุ่นใหม่ลังเลในการมีลูกหรือมีลูกเพิ่ม รายงานของ РАНХиГС (Russian Presidential Academy of National Economy and Public Administration) ชี้ว่า “ระดับรายได้ต่ำและความรู้สึกถึงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่เลื่อนการแต่งงานและการมีบุตร” ปัจจัยข้างต้นนำไปสู่การเลื่อนหรือยกเลิกแผนการมีบุตร โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง การลดขนาดครอบครัวลงเหลือลูกคนเดียว หรือไม่แต่งงานเลย และภาวะ “urban childfree” ที่กำลังขยายตัวในหมู่คนหนุ่มสาวในเขตเมืองที่เลือกเส้นทางการงาน ความมั่นคง และเสรีภาพ มากกว่าการมีบุตร 

2) การเปลี่ยนแปลงของค่านิยมและโครงสร้างครอบครัว การแต่งงานล่าช้าและการเลือกที่จะอยู่คนเดียว (Singlehood) กลายเป็นเรื่องปกติในหมู่คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะในเขตเมือง การให้ความสำคัญกับอาชีพและความมั่นคงส่วนบุคคลมากกว่าการมีครอบครัวและลูกหลาน รวมถึงอัตราการหย่าร้างสูงโดยรัสเซียมีอัตราการหย่าร้างสูงติดอันดับต้น ๆ ของโลก ส่งผลต่อทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่มองว่าครอบครัวไม่มั่นคง อเล็กซานเดอร์ ซินเนลนิโคฟ «Александр Синельников» นักสังคมวิทยาชาวรัสเซียชี้ว่า“ความคิดเรื่องครอบครัวในรัสเซียเปลี่ยนจาก ‘การมีลูกเพื่ออนาคตชาติ’ เป็น ‘จะมีลูกเมื่อรู้สึกว่าตัวเองมั่นคงเพียงพอ’ ซึ่งในเงื่อนไขปัจจุบัน แทบไม่มีใครรู้สึกเช่นนั้น” 

3) การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับครอบครัว พบว่าในรัสเซียสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในเขตเมืองชั้นนอกและในภูมิภาคห่างไกล ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นมีน้อยทำให้พ่อแม่โดยเฉพาะผู้หญิงทำงานลำบากเมื่อมีลูก การสนับสนุนทางรัฐจำกัด แม้จะมีนโยบายให้ “ทุนมารดา” «Материнский капитал» ที่ให้เงินสนับสนุนแก่ครอบครัวที่มีลูกคนที่สองหรือสาม และถูกขยายเพิ่มเติมในยุคของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แต่ผลลัพธ์ยังไม่ยั่งยืนแต่ระบบสนับสนุนอื่น ๆ เช่น ค่าดูแลเด็กหรือการลางานเพื่อเลี้ยงดูบุตรยังไม่เพียงพอในทางปฏิบัติ รวมถึงมีการเสนอสิทธิพิเศษด้านที่อยู่อาศัย เงินสนับสนุนการศึกษา และลดภาษีสำหรับครอบครัวที่มีลูกหลายคนซึ่งถึงแม้จะมีนโยบายเหล่านี้ แต่ปัญหาในระดับโครงสร้างยังไม่สามารถแก้ได้ เช่น ความไม่มั่นคง การอพยพแรงงาน และการขาดความเชื่อมั่นในอนาคต 

สงครามในยูเครนกับวิกฤติประชากรของรัสเซีย สงครามในยูเครนมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อประชากรทั้งในยูเครนและรัสเซียรวมถึงในระดับภูมิภาคและโลก มันส่งผลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรและอัตราการเกิดในรัสเซียและยูเครนอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในแง่ของการย้ายถิ่นฐาน การสูญเสียชีวิต และการแยกครอบครัว โดยมีผลดังนี้ 

1) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สงครามทำให้ประเทศสูญเสียการผลิตในระยะยาวส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ในรัสเซีย เช่น มอสโก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สงครามทำให้ราคาสินค้าพื้นฐานเพิ่มขึ้น และรัสเซียต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกส่งผลให้มีปัญหาภายในเรื่องห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการ ประชาชนได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนสินค้าและบริการบางประการ 

2) ผลกระทบต่อประชากรในด้านการย้ายถิ่นฐาน หลังจากการประกาศสงครามและมาตรการคว่ำบาตรหลายครั้ง ทำให้จำนวนประชากรรัสเซียเริ่มลดลง เนื่องจากการย้ายถิ่นฐานของผู้เชี่ยวชาญทางการงานและเยาวชนที่มองหาความมั่นคงทางการเงินและอาชีพในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่ดีกว่า 

3) ผลกระทบทางสังคม สงครามในยูเครนทำให้มีการสูญเสียชีวิตของพลเรือนและทหารจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้มีการสูญเสียครอบครัวและมีผลกระทบทางอารมณ์ต่อผู้ที่รอดชีวิต หลายครอบครัวต้องแยกจากกันเนื่องจากสงคราม ทำให้เกิดการสูญเสียในหลายมิติ ทั้งด้านอารมณ์และการทำงาน การขาดแคลนทรัพยากรสำหรับครอบครัวที่ยังคงอยู่ในเขตสงคราม เด็กจำนวนมากต้องเผชิญกับความทรงจำที่รุนแรงจากสงคราม รวมถึงการสูญเสียทั้งครอบครัวและทรัพย์สิน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิตใจในระยะยาว 

4) การลดลงของอัตราการเกิดในยูเครนและรัสเซีย การที่ประชากรจำนวนมากในทั้งสองประเทศต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ การสูญเสียชีวิต และการย้ายถิ่นฐานส่งผลต่อการตัดสินใจที่จะมีบุตรในอนาคต อัตราการเกิดลดลงในทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ของรัสเซีย ในแง่สังคมและเศรษฐกิจการมีบุตรในประเทศที่ประสบปัญหาทางการเงินและสงครามกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น การมีบุตรไม่ได้ถูกมองว่าเป็นทางเลือกหลักสำหรับเยาวชนในประเทศเหล่านี้ 

5) ผลกระทบทางการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ สงครามนี้ได้ผลักดันให้ประชาชนในทั้งสองประเทศมีอัตลักษณ์และความภักดีทางการเมืองที่แตกต่างกัน โดยมีบางกลุ่มที่สนับสนุนการบูรณภาพของอาณาเขตในขณะที่บางกลุ่มเรียกร้องให้เกิดความเป็นอิสระ ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองในรัสเซียและยูเครนและการแทรกแซงจากต่างประเทศและการปฏิรูปโครงสร้าง โดยประเทศตะวันตกได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนยูเครนทั้งทางการเงินและทางการทหาร ซึ่งมีผลกระทบต่ออำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซีย 

6) ความขัดแย้งในเชิงอารยธรรม สงครามทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมรัสเซีย-ยูเครน การสนับสนุนจากโลกตะวันตกให้แก่ยูเครนทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่าง "อารยธรรมตะวันตก" และ "อารยธรรมรัสเซีย" ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตีความอัตลักษณ์ของทั้งสองชาติ 

แนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลรัสเซีย 
รัฐบาลรัสเซียพยายามรับมือกับวิกฤตประชากร โดยเฉพาะอัตราการเกิดที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ได้นำไปสู่การกำหนดนโยบายส่งเสริมครอบครัวในหลากหลายมิติ โดยหนึ่งในนโยบายหลักที่มีบทบาทชัดเจนที่สุดคือ นโยบาย "Mother Capital" «Материнский капитал» "Mother Capital"ถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อัตราการเกิดของรัสเซียตกต่ำหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ภายใต้การนำของประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ครอบครัวมีลูกคนที่สองและสาม  หลักการคือ ครอบครัวที่มีลูกคนที่สองขึ้นไปจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐซึ่งสามารถนำไปใช้ในวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ซื้อที่อยู่อาศัย ชำระค่าเล่าเรียนของบุตร นำไปสะสมในกองทุนบำนาญของมารดา ในปี ค.ศ. 2020 ได้มีการขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เริ่มให้สิทธิตั้งแต่ลูกคนแรก เพิ่มจำนวนเงินสนับสนุน และเพิ่มทางเลือกในการใช้เงินทุน เช่น การสร้างบ้านในเขตชนบท อย่างไรก็ตามนโยบายนี้มีข้อจำกัด แม้ช่วงแรกมีผลกระตุ้นอัตราการเกิดในระดับหนึ่ง (ช่วงปี 2007–2015) แต่ไม่สามารถรักษาผลลัพธ์ระยะยาวได้ การมีบุตรยังคงถูกมองว่าเป็นภาระทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ค่าครองชีพสูง นักวิชาการบางรายชี้ว่า นโยบายนี้มีลักษณะ "เงินจูงใจชั่วคราว" ที่ไม่สามารถแก้ไขโครงสร้างทางสังคมที่ลึกซึ้งได้ เช่น ความไม่มั่นคงในการจ้างงาน หรือปัญหาที่อยู่อาศัยในระยะยาว นอกจากนี้รัฐบาลยังมีมาตรการจูงใจเพิ่มเติมด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา และภาษี เช่นโครงการจำนองพิเศษสำหรับครอบครัวที่มีลูก «семейная ипотека» อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเพียง 5% การสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถกู้เงินเพื่อซื้อหรือสร้างบ้านโดยมีรัฐช่วยประกัน บางส่วนของ Mother Capital สามารถนำไปใช้เพื่อชำระค่าเล่าเรียนในระดับก่อนและหลังมหาวิทยาลัย สนับสนุนการศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยมีทุนการศึกษาสำหรับครอบครัวที่มีบุตรหลายคนลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาสำหรับครอบครัวที่มีลูกหลายคน บางภูมิภาคมีการมอบ สถานะ “ครอบครัวใหญ่” «многодетная семья» ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษในเรื่อง ค่าขนส่ง อาหารกลางวันในโรงเรียน รวมถึงการเข้าสถานพยาบาลหรือศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน  

สรุป วิกฤตประชากรของรัสเซียเป็น “สัญญาณอันตราย” ต่อเสถียรภาพของรัฐ การพัฒนาเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ในระยะยาว การลดลงของประชากรกำลังท้าทายอุดมการณ์ “รัสเซียที่เข้มแข็ง” ที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินพยายามสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตลอดสองทศวรรษ  

ซึ่งวิกฤตประชากรในรัสเซียไม่สามารถอธิบายได้เพียงจากปัจจัยเชิงประชากรศาสตร์เท่านั้น หากแต่เป็นผลพวงจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจ โครงสร้างสังคม และค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างลึกซึ้ง ความไม่มั่นคงในชีวิตประจำวัน ค่าครองชีพที่พุ่งสูง และการขาดระบบสนับสนุนจากรัฐล้วนหล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่ลังเลที่จะสร้างครอบครัว หลายฝ่ายมองว่าการแก้ไขวิกฤตประชากรของรัสเซียไม่สามารถพึ่งนโยบายการเงินเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบสวัสดิการและโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย

WORLD

‘อันวาร์’ โพสต์ภาพคุย ‘ทักษิณ’ ที่กรุงเทพฯ ถกแนวทางสร้างสันติภาพเมียนมา ย้ำอาเซียนต้องเดินหน้าต่อ

ดาโต๊ะ เสรี อันวาร์ อิบราฮิม (Dato’ Seri Anwar Ibrahim) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานหมุนเวียนของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เผยผ่านเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา เขาได้เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เพื่อหารืออย่างไม่เป็นทางการกับกลุ่มที่ปรึกษาของประธานอาเซียน ซึ่งรวมถึงการพบปะกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

ในโพสต์ดังกล่าว อันวาร์ได้เผยแพร่ภาพขณะหารือกับ ดร.ทักษิณ พร้อมระบุว่า การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค โดยเฉพาะวิกฤตในประเทศเมียนมา ซึ่งยังคงเป็นประเด็นเร่งด่วนด้านมนุษยธรรมและสันติภาพ

“การอภิปรายเหล่านี้เปิดโอกาสให้เราหารือถึงหนทางสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในเมียนมา รวมถึงการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างมีประสิทธิภาพแก่พลเมืองของตน” นายกรัฐมนตรีมาเลเซียระบุ

นอกจากนี้ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 18 เมษายน อันวาร์ยังได้ประชุมทางไกลเป็นเวลา 40 นาที กับอูมาน วิน ไข ตาน ตัวแทนรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของเมียนมา (NUG) เพื่อหารือถึงความต้องการด้านมนุษยธรรมที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศ ซึ่งกำลังเผชิญกับความขัดแย้งทางการเมืองและการทหารอย่างต่อเนื่อง

นายอันวาร์กล่าวว่า การเจรจากับทั้ง NUG และสภาบริหารแห่งชาติเมียนมา (SAC) ได้รับการตอบรับโดยไม่มีการคัดค้าน ถือเป็นพัฒนาการเชิงบวกในความพยายามสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างทุกฝ่าย

“ความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นยังคงเป็นหัวใจสำคัญ กระบวนการนี้ต้องดำเนินต่อไปภายใต้กรอบของอาเซียน เราจะเจรจาต่อรองกับทุกฝ่ายเพื่อสันติภาพ ความปรองดอง และความเป็นอยู่ที่ดีของชาวเมียนมา” อันวาร์ระบุ

ทั้งนี้ การพบปะกับ ดร.ทักษิณ ถือเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวสำคัญของผู้นำมาเลเซีย ในการใช้บทบาทผู้นำอาเซียนเพื่อผลักดันทางออกจากวิกฤตเมียนมา โดยมีแนวโน้มว่าการเจรจาเชิงสร้างสรรค์ในลักษณะนี้จะเดินหน้าต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของวาระประธานอาเซียนปี 2568

‘อินโดนีเซีย’ ขยับหมากใหม่จับมือ ‘รัสเซีย’ เป็นพันธมิตรการค้า หวังเปิดทางลงทุนเพิ่มแรงขับเศรษฐกิจ-ลดผลกระทบมาตรการภาษีสหรัฐฯ

(18 เม.ย. 68) จากรายงานของสำนักข่าวซินหัว เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา อนินทยา บักรี ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย (KADIN) เปิดเผยกับสื่อท้องถิ่นว่า อินโดนีเซียกำลังเบนเป้าหมายทางเศรษฐกิจไปยังรัสเซีย ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นตลาดใหม่ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ท่ามกลางความท้าทายจากมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ

บักรีระบุว่า การสร้างความร่วมมือทางการค้ากับรัสเซียจะเปิดประตูสู่โอกาสการลงทุนที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากรัสเซียเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษในอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันกำลังเปิดรับการลงทุนจากนานาประเทศ

“อินโดนีเซียจะยังคงเดินหน้าค้นหาแนวทางและตลาดใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนซึ่งกันและกันกับพันธมิตรทั่วโลก” บักรีกล่าว

ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีการนำเข้าสินค้าจากรัสเซียในหลายหมวดหมู่ อาทิ น้ำมันปาล์ม เครื่องจักร ยางพารา รองเท้า กาแฟ และชา ในขณะที่รัสเซียนำเข้าปุ๋ยและอาหารทะเลหลากหลายชนิดจากอินโดนีเซีย

ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 เมษายน อินโดนีเซียและรัสเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์รัฐบาลอินโดนีเซียในการขยายตลาดการค้า และยกระดับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับประเทศคู่ค้า รวมถึงรัสเซียด้วย

การเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนถึงทิศทางใหม่ของอินโดนีเซียในการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ และลดการพึ่งพาตลาดเดิม ท่ามกลางความผันผวนของภูมิรัฐศาสตร์โลก

‘สหรัฐฯ’ ประกาศคว่ำบาตรน้ำมัน ‘อิหร่าน’ มุ่งเป้าสกัดโรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กของจีน

(17 เม.ย. 68) รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ โดยมุ่งเป้าไปที่การส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งคราวนี้รวมถึงการคว่ำบาตรโรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กของจีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Teapot Refinery" เป็นครั้งแรก

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า โรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กแห่งหนึ่งของจีนได้ซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตร และนับเป็นโรงกลั่นน้ำมันจีนแห่งที่สองที่ถูกดำเนินมาตรการลงโทษจากฝั่งสหรัฐฯ

ที่ผ่านมา โรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กของจีนมักไม่ถูกรวมอยู่ในรายชื่อเป้าหมายของการคว่ำบาตร เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับระบบการเงินของสหรัฐฯ ค่อนข้างน้อย ต่างจากบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของรัฐบาลจีนที่ได้หยุดซื้อน้ำมันจากอิหร่านไปก่อนหน้านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ

ที่ผ่านมา โรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กของจีนมักไม่ถูกรวมอยู่ในรายชื่อเป้าหมายของการคว่ำบาตร เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับระบบการเงินของสหรัฐฯ ค่อนข้างน้อย ต่างจากบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของรัฐบาลจีนที่ได้หยุดซื้อน้ำมันจากอิหร่านไปก่อนหน้านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้คว่ำบาตร บริษัทและเรือบรรทุกน้ำมันหลายแห่ง ที่มีบทบาทในการขนส่งน้ำมันของอิหร่านไปยังจีน ผ่านเครือข่ายลับที่เรียกว่า “กองเรือเงา (Shadow Fleet)” ซึ่งถูกใช้ในการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและเลี่ยงมาตรการจากนานาชาติ

จีนในฐานะ ผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอิหร่าน ยังคงมีบทบาทสำคัญในตลาดพลังงานโลก โดยเฉพาะโรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กที่ยังคงเป็นลูกค้าหลักของอิหร่านผ่านระบบการค้าทางเลือกที่ใช้ เงินหยวน แทนดอลลาร์สหรัฐ และอาศัยเครือข่ายตัวกลางเพื่อลดการตรวจสอบจากสหรัฐฯ

สำหรับมาตรการล่าสุดนี้สะท้อนถึงความพยายามของรัฐบาลวอชิงตันในการปิดช่องโหว่ทางเศรษฐกิจของอิหร่าน และกดดันจีนให้ร่วมมือในประเด็นการบังคับใช้คว่ำบาตรระดับโลก

© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top