Friday, 26 April 2024
PODCAST

‘ผู้นำ’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา | THE STATES TIMES STORY ตอนพิเศษ

เรื่องราวจากหนังสือ ‘ผู้นำ’ บรรณธิการโดย อัศวินโต๊ะกลม เป็นหนังสือที่รวบรวมผลงานและการทำงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ของไทย ตลอดกว่า 8 ปีที่ผ่านมา เป็นผู้พลิกโฉมประเทศไทยไปตลอดกาล ให้สามารถโลดแล่นต่อไปได้อย่างไม่อายใคร นอกจากนี้ยังเป็นนายกรัฐมนตรี ‘สองแผ่นดิน’ ที่มีความโดดเด่นในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความยึดมั่นในผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ

💙ผู้นำ ตอนที่ 1 : ผู้นำช่วงวิกฤติ

💙ผู้นำ ตอนที่ 2 : สร้างคน สร้างพลเมืองดี

💙ผู้นำ ตอนที่ 3 : ประชาชน ประเทศชาติ คือหัวใจของ ‘ประชารัฐ’

💙ผู้นำ ตอนที่ 4 : รู้เท่าทัน ทำทันที เห็นผลเป็นรูปธรรม

💙ผู้นำ ตอนที่ 5 : ‘ลุงตู่’ คือหมอใหญ่ นำทีมผ่าตัดเศรษฐกิจไทย

💙ผู้นำ ตอนที่ 6 : ‘กลยุทธ์ 3 แกน’ สร้างอนาคตไทยให้ก้าวหน้า

💙ผู้นำ ตอนที่ 7 : ‘ลุงตู่’ สุดยอด ‘ผู้นำ’ พาประเทศฝ่าฟันทุกวิกฤต

💙ผู้นำ ตอนที่ 8 : ก้าวข้าม ‘วิกฤตซ้อนวิกฤต’ พาประเทศมุ่งสู่ ‘โอกาส’

💙ผู้นำ ตอนที่ 9 : ‘ผู้นำ’ ยุคดิจิทัล พาไทยเข้าสู่ยุค 4.0

💙ผู้นำ ตอนที่ 10 : 'ลุงตู่' ผู้นำที่ฉันอยาก 'เดินตาม'

 

 

 

‘มาเหนือเมฆ’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา | THE STATES TIMES STORY ตอนพิเศษ

หนังสือ 'มาเหนือเมฆ' เรื่องราวบนเส้นทางการเมืองและผลงานของ 'ลุงตู่' พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทหารเสือราชินีผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย 

รวบรวมบทความที่นักคิด นักวิเคราะห์ นักเขียนรับเชิญหลายท่านมาช่วยกันเติมแต่ง ได้แก่ คุณรุ่งเรือง ปรีชากุล อดีตบรรณาธิการบริหารสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, คุณทิวา สาระจูฑะ บรรณาธิการนิตยสารสีสัน, รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุณนิติพงษ์ ห่อนาค ศิลปินและนักแต่งเพลง และ คุณ พ.สิทธิสถิตย์ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์/นิตยสาร

บรรณาธิการโดย คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา

💙ตอนที่ 1 : ‘ลุงตู่’ เป็นมากกว่าผู้นำ

💙ตอนที่ 2 : ชีวิตนี้ ขอทำเพื่อชาติและประชาชน

💙 ตอนที่ 3 : ‘ลุงตู่’ ฮีโร่ผู้กอบกู้วิกฤต

💙ตอนที่ 4 : ปณิธานแน่วแน่ “ประเทศไทยต้องดีกว่าเดิม”

💙ตอนที่ 5 : ‘ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี’ พาไทย ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน’

💙ตอนที่ 6 : ‘EEC’ หัวใจสำคัญ ยุคไทยแลนด์ 4.0

💙ตอนที่ 7 : พัฒนา ‘ระบบคมนาคม’ เสริมแกร่งไทยทุกมิติ

💙ตอนที่ 8 : ‘เทคโนโลยี-ดิจิทัล’ กุญแจสำคัญขับเคลื่อน ‘เศรษฐกิจไทย’

💙ตอนที่ 9 : ฟื้นสัมพันธ์ ‘ไทย-ซาอุฯ’ เริ่มทศวรรษแห่งความร่วมมือ

💙ตอนที่ 10 : ผลงานชิ้นโบแดง เจ้าภาพ ‘เอเปก 2022’

 

‘บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์’ วีรบุรุษสงครามโลก | THE STATES TIMES Story EP.143

‘บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์’ ผู้ได้รับการยกย่องจากนานาชาติ ในฐานะ ‘วีรบุรุษ’ ผู้ปิดทองหลังพระและมีมนุษยธรรม จากวีรกรรมที่ได้ช่วยเหลือเชลยศึกที่ถูกเกณฑ์มาสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 

ทว่าเรื่องราวของ ‘บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์’ กลับไม่ถูกเป็นที่พูดถึงในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง วันนี้ THE STATES TIMES Story จึงได้หยิบยกเรื่องราว และความกล้าหาญของวีรบุรุษท่านนี้ มาบอกเล่าให้ทุกท่านได้รับทราบกัน จะเป็นอย่างไร เชิญรับฟัง…

‘กบฏ ร.ศ. ๑๓๐’ คณะก่อการหัวก้าวหน้า ผู้มิได้อยากเปลี่ยนเป็น ‘ระบอบประชาธิปไตย’ | THE STATES TIMES Story EP.142

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป จากคำบอกเล่าและบันทึกของผู้ก่อการว่า กบฏ ร.ศ.๑๓๐ เป็นการรวมตัวกันของนายทหารหนุ่มหัวก้าวหน้า ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่มาถูกจับได้เสียก่อน จึงกลายเป็น ‘กบฏ’

แต่เชื่อหรือไม่ว่า…ความเป็นจริงที่ถูกบันทึกไว้อย่าง ‘เป็นทางการ’ ช่างขัดแย้งกับบันทึกนี้คนละทิศละทาง และวันนี้ THE STATES TIMES Story จะมาไขความจริง เชิญรับฟังได้เลย…

‘คนโคราช’ ไม่ใช่ ‘ลาว’ สำเนียงโคราช ‘เหน่อ’ เฉพาะตัว | THE STATES TIMES Story EP.141

มรดกตกทอดจาก ‘สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ’ มาจนถึง ‘กรมหมื่นเทพพิพิธ’ ทำให้รู้ว่าคนโคราช ไม่ใช่ ‘ลาว’ และสำเนียงโคราชมีความเหน่อเฉพาะตัว   

ปัจจุบันภาษาและสำเนียงโคราชที่เป็นเฉพาะก็มีอยู่หลายอำเภอ แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะหลายอำเภอก็พูดอีสาน แต่ทว่า ‘ภาษา’ และ ‘สำเนียงโคราช’ มีความคล้ายความเหน่อของคนภาคตะวันออก แต่ภาษาแตกต่างออกไป

ส่วนจะมาที่มาที่ไปอย่างไร ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Story เรื่องจริง ฟังเพลิน

‘เจ้าฟ้ากุ้ง’ กวีเอกแห่งยุคบ้านเมืองดี | THE STATES TIMES Story EP.140

หลายคนคงคุ้นชื่อ ‘เจ้าฟ้ากุ้ง’ หรือ ‘เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์’ หรือจากคำให้การชาวกรุงเก่าว่า ‘เจ้าฟ้านราธิเบศร์’ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นเจ้าฟ้าที่ทรงโลดโผนเข้าขั้นศิลปิน เป็นผู้ที่ถูกวางไว้ให้ปกครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) เพราะเป็นผู้ที่มีพระปรีชาสามารถฉลาดหลักแหลมสมกับเป็น ‘กวีเอก’ แห่งยุค ‘บ้านเมืองดี’ ทรงเป็นกวีเอกของกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยฝากถ้อยคำ ‘พระเสด็จโดยแดนชลฯ’ ใช้เห่เรือจนมาถึงปัจจุบัน

แต่เพราะเหตุใด ถึงไม่ปรากฏชื่อ ‘เจ้าฟ้ากุ้ง’ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา…THE STATES TIMES Story มีคำตอบ!!

‘ขุนหลวงท้ายสระ’ ผู้ออกกฎห้ามจับปลาตะเพียน | THE STATES TIMES Story EP.139

‘สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ’ หรือ ‘สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9’ หรือ ‘พระเจ้าท้ายสระ’ หรือ ‘พระเจ้าภูมินทราชา’ หรือ ‘พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์’ หรือ ‘ขุนหลวงท้ายสระ’ ที่เราคุ้นเคยดีจากละครเรื่องพรหมลิขิต เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 30 ในสมัยอยุธยา 

นอกจากพระราชกรณียกิจที่เห็นเป็นประจักษ์แล้ว ยังมีตำนานกล่าวขานเล่าลือว่า ‘ขุนหลวงท้ายสระ’ โปรดเสวย ‘ปลาตะเพียน’ มาก จนถึงขั้นออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษคือปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท

'เจ้าฟ้าพร' หรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์ยุคชิงราชสมบัติ | THE STATES TIMES Story EP.138

 

เปิดพระราชประวัติ 'พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ' กษัตริย์ในยุคแห่งการชิงราชสมบัติ ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนาดินแดนลังกา และเป็นยุคแห่งวรรณคดีดังมากมาย

'คนัง' เงาะป่าผู้ทะยานด้วยวาสนา มาเป็นมหาดเล็กพิเศษ | THE STATES TIMES Story EP.137

เมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2448 ในหลวง ร.5 ทรงมีรับสั่งให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ไปแสวงหาเด็กเงาะป่าที่มีอายุ 6-7 ขวบ เพื่อจะนำมาเลี้ยงดูให้การศึกษาในพระนคร . เจ้าหน้าที่พาเด็กชายคะนังออกจากป่าพัทลุงมายังเมืองสงขลา ถวายรายงานให้ในหลวง ร.5 ทรงทราบ โปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ) เป็นผู้ดูแล อบรมสั่งสอนเพื่อปรับสภาพร่างกาย ความคิด ชีวิตความเป็นอยู่ กิริยา มารยาท

'พม่า' ชวน 'ญวน' ตีเมืองไทย!! | THE STATES TIMES Story EP.136

เมื่อ พ.ศ. 2366 พม่าขอญวนเป็นไมตรี ชวนตีเมืองไทย หวังทำสงครามกระหนาบสองด้าน แต่ญวณไม่รับไมตรี ตีเมืองไทย อย่างไรก็ตาม แม้ญวนจะรักษาสัมพันธไมตรีกับไทย ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับพม่าทำสงครามกับไทย แต่ญวนก็ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับไทยในทุกเรื่อง เพราะต่างก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนกันอยู่ นั่นคือ ดินแดนประเทศราชอย่างเขมรและลาว ซึ่งญวนถือว่าเป็นเมืองขึ้นของทั้งสองฝ่ายมาแต่โบราณ และญวนก็ไม่ยอมเสียเปรียบไทย โดยคิดขยายอำนาจญวนมายังเขมรและลาวเสมอ จึงเป็นเหตุให้ทำสงครามสู้รบกันในสมัยรัชกาลที่ 3

Jikininki จิกินินกิ หรือเปรตญี่ปุ่นกินศพ | THE STATES TIMES Story EP.135

ตำนานของผีที่มีที่มาจากนักบวชท่านหนึ่งที่เต็มไปด้วยความโลภ เมื่อชาวบ้านนำศพมาให้ทำพิธีก็คิดหวังแต่ผลประโยชน์ เมื่อตายไปต้องกลายมาเป็นเปรตที่คอยลงมาแอบกินศพคนตาย ชาวบ้านแถวนั้นจึงมีประเพณีทิ้งศพไว้ที่บ้าน แล้วอพยพไปนอนอีกหมู่บ้านหนึ่ง รุ่งเช้าจึงกลับมาอยู่บ้านตามปกติเพราะกลัวว่าจะเจอกับผีที่มากินศพ

'บาทหลวงกาเบรียล อามอร์ธ' นักบวชปราบผีแห่งสำนักวาติกัน | THE STATES TIMES Story EP.134

บาทหลวงกาเบรียล อามอร์ธ (Gabriele Amorth 1925-2016) เป็นพระในนิกายคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญในการทำพิธีขับไล่ภูติ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคปัจจุบัน ได้ทำการไล่ผีมาแล้วกว่า 60,000 ครั้ง ในระหว่างที่ปฏิบัติศาสนกิจ...

รัฐธรรมนูญที่ไม่เคยประกาศใช้สมัยรัชกาลที่ 7 'ฉบับพระยากัลยาณไมตรี' | THE STATES TIMES Story EP.133

เปิดร่างรัฐธรรมนูญสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ไม่เคยมีการประกาศใช้ ฉบับแรกเป็นของพระยากัลยาณไมตรี 'ฟรานซิส บี. แซร์'

โดยรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรี ร่างนั้นมีเพียง 12 มาตรา เรียกว่า “Outline of Preliminary Draft” เสร็จสิ้นในปี 2467 แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว

พระเพทราชา 'พระเอก' หรือ 'ผู้ร้าย' ? | THE STATES TIMES Story EP.132

พระเพทราชา ผู้ได้รับการขนาน ว่า 'พระมหาบุรุษ' กลายเป็นนักบุญผู้ทรงศีลสุขุมล้ำลึก ต้องการปกปักพระศาสนา ช่วยกอบบ้านกู้เมืองให้พ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส พระเพทราชา จึงกลายเป็นพระเอกขี่ม้าขาว ในสายตาของนักการศึกษาด้านพุทธศาสน์และนักประวัติศาสตร์สายอนุรักษนิยม

แต่ทว่าอีกมุมหนึ่ง นักประวัติศาสตร์เชิงรัฐประศาสนศาสตร์ กลับมองว่าการสังหารโหดชาวต่างชาติ โดยเฉพาะฝรั่งเศส และการขับไล่ฝรั่งดั้งขอให้พ้นหูพ้นตานั้น นำไปสู่ 'การแช่แข็งสยามประเทศ' อยู่ช่วงระยะหนึ่ง และต้องใช้เวลาอีกนานทีเดียว กว่าจะก้าวเดินให้ทันเพื่อนบ้านโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการศึกษา นั้น เกิดจากวิสัยทัศน์ 'ล้าหลังคลั่งชาติ' แท้เชียว

การทำรัฐประหารของ พระเพทราชา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ | THE STATES TIMES Story EP.131

'พระเพทราชา' ทำรัฐประหาร 'สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แรกเริ่มเกิดจากจุดมุ่งหมายของพระเพทราชาจะกระทำการรัฐประหารเพื่อกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสโดยการนำของ 'ออกญาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน' ซึ่งกำลังชักนำอยุธยาไปเป็นเมืองขึ้น แล้วจะยกให้พระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่การณ์ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะการประชุมเพื่อยึดอำนาจในตึกพระเจ้าเหานั้นถูกออกหลวงสรศักดิ์ผู้เป็นบุตรชายควบคุม เพื่อยกราชบัลลังก์ให้แก่พระเพทราชา เป็นการจบราชวงศ์ปราสาททองเข้าสู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top