Wednesday, 9 July 2025
POLITICS NEWS

'ก้าวไกล' ล่า 50,000 ชื่อตาม พ.ร.บ. ประชามติ RESET ประเทศไทย เลือกตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่

'ก้าวไกล' เปิดแคมเปญ 'RESET ประเทศไทย เลือกตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่' ล่า 50,000 ชื่อตาม พ.ร.บ. ประชามติ ชงนายกฯ จัดประชามติพร้อมเลือกตั้งปีหน้า ถามประชาชนเรื่องให้มี สสร. เลือกตั้ง มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประหยัดงบ ดักคอ ส.ส.รัฐบาล-ส.ว. เคยรับหลักการให้มี สสร. มาแล้ว 

เมื่อ 7 กันยายน 2565 ที่รัฐสภา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงภายหลังรัฐสภามีมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ ที่เสนอโดยภาคประชาชน ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. เพียง 23 เสียง จาก 250 เสียง ความตอนหนึ่งว่า...

ผลการลงมติของรัฐสภาวันนี้น่าผิดหวังเป็นพิเศษ เพราะแม้รัฐธรรมนูญ 2560 มีปัญหาเยอะมาก แต่ข้อเสนอปิดสวิตช์ ส.ว. เป็นข้อที่พื้นฐานที่สุด และ เป็นมาตราที่ขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตยมากที่สุด แต่ในเมื่อไม่สามารถตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ ทันการเลือกตั้งที่จะมาถึง พรรคก้าวไกลจึงจำเป็นต้องเรียกร้องให้ ส.ว. ไม่นำตัวเองเข้ามาเป็นผู้ชี้ขาดในการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกฯ หลังเลือกตั้ง แต่ควรเคารพและยึดตามเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่จะถูกสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้ง

พิธา กล่าวต่อว่า จุดยืนที่พรรคก้าวไกลประกาศต่อประชาชนมาตลอด คือการแก้ไขวิกฤติทางการเมืองครั้งนี้ ต้องไม่ใช่แค่ 'ปะผุ' หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราแล้วจะเพียงพอ แต่ต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ที่ผ่านมาการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การร่างฉบับใหม่ผ่านช่องทางรัฐสภา เจอทางตันทุกครั้ง

พรรคก้าวไกลจึงเห็นว่าต้องหา 'ไพ่ใบใหม่' ที่ยังไม่มีใครเคยใช้ ด้วยการเปิดตัวแคมเปญชื่อ 'RESET ประเทศไทย เลือกตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่' ที่จะอาศัยช่องทางตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ 2564 มาตรา 9(5) เชิญชวนประชาชนอย่างน้อย 50,000 คน ร่วมลงชื่อเสนอต่อ ครม. ให้มีการจัดทำประชามติเพื่อถามประชาชน 1 คำถามสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน?” โดยจะเริ่มรณรงค์ทันทีจนกว่าได้รายชื่อครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด ในระยะเวลาที่เร็วที่สุด

“เพื่อประหยัดงบประมาณ และเพื่อให้การเลือกตั้งที่จะมาถึง ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนรัฐบาล แต่คือการเปลี่ยนกติกาประเทศ เราจะเสนอให้จัดประชามติในวันเดียวกับวันเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะต้องเกิดขึ้นไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2566” พิธากล่าว

รัฐสภาโหวตคว่ำ 4 ร่างรัฐธรรมนูญรวด ล้มข้อเสนอตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ

วันที่ 7 ก.ย. 65 การประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จำนวน 4 ฉบับ คือ ของพรรคเพื่อไทย 3 ฉบับ และของประชาชน 64,151 รายชื่อ อีก 1 ฉบับ ปรากฏไม่มีร่างใดได้คะแนนเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 364 คน จากจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งหมด 727 คน

โดยร่างที่ 1 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม มาตรา 43 เกี่ยวกับสิทธิบุคคลและชุมชน ที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และคณะเป็นผู้เสนอ ผลโหวต เห็นชอบ ส.ส. 342 คะแนน ส.ว. 40 คะแนน ไม่เห็นชอบ ส.ส. 99 คะแนน ส.ว. 153 คะแนน งดออกเสียง ส.ส. 2 คะแนน ส.ว. 26 คะแนน

ร่างที่ 2 ร่างแก้ไขมาตรา 25 มาตรา 29 มาตรา 34 เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพประชาชน ที่ นพ.ชลน่าน และคณะเป็นผู้เสนอ ผลโหวต เห็นชอบ ส.ส. 338 คะแนน ส.ว. 8 คะแนน ไม่เห็นชอบ ส.ส. 103 คะแนน ส.ว. 196 คะแนน งดออกเสียง ส.ส. 2 คะแนน ส.ว. 15 คะแนน

ร่างที่ 3 ร่างแก้ไขมาตรา 159 และ 170 เกี่ยวกับคุณสมบัติและที่มาของนายกฯ ที่ นพ.ชลน่าน และคณะเป็นผู้เสนอ เห็นชอบ ส.ส. 337 คะแนน ส.ว. 9 คะแนน ไม่เห็นชอบ ส.ส. 100 คะแนน ส.ว. 192 คะแนน งดออกเสียง ส.ส. 6 คะแนน ส.ว. 18 คะแนน

'แสนยากรณ์' ยกเหตุผล 4 ป. ควรแก้ ม.272 ยกเลิกอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ หากไม่ผ่าน เสี่ยงเกิดวิกฤติการเมือง หลังเลือกตั้ง

นายแสนยากรณ์ สิงห์วีรธรรม โฆษกพรรคกล้า ในฐานะคณะรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 อภิปรายในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ก่อนลงมติว่า จากที่ได้ฟังการอภิปรายของท่านสมาชิกรัฐสภา ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อาจจะมีกระทบกระทั่ง เห็นต่างกันบ้าง แต่อยากจะย้ำว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นร่างที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างกันมา จึงอยากให้พิจารณาในแง่ของหลักการ พร้อมทั้งสรุปข้อสังเกตเป็น 4 ป. คือ 1.) "ประชามติ" แม้ทั้งรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วงจะผ่านการเห็นชอบการประชามติ แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐธรรมนูญจะแก้ไขไม่ได้ ต้องยอมรับว่า ตลอดระยะเวลาบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 5 ปีกว่า มีเนื้อหาหลายส่วนที่เป็นปัญหาต้องแก้ไข ซึ่งสถานการการเมืองตอนนี้ ผันผวนไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยสถานะนายกรัฐมนตรีอย่างไร ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่หรือไม่ หรือจะยุบสภาในอีกไม่กี่เดือนนี้หรือไม่ จึงเห็นตรงกัน ว่าควรเร่งแก้ไขยกเลิก การใช้เสียง ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ก่อนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะเกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหามากมายหลายอย่างตามมา

นายแสนยากรณ์ กล่าวต่อว่า 2.) "ปฏิบัตินิยม" ถ้ากลับไปดูคะแนนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา คะแนนในสภาผู้แทนราษฎร 251 ต่อ 244 เสียง นั่นหมายความว่า ใช้คะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎร ก็มากเพียงพอจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจเรื่องนี้ เพราะเมื่อมีเสียงวุฒิสภาเข้าไปร่วมโหวตเลือกนายกฯ ด้วย ทำให้ประชาชน จำนวนไม่น้อย รู้สึกว่ากระบวนการไม่ได้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย ทั้งที่จริงใช้แค่เสียงในสภาผู้แทนราษฎรก็พอแล้ว แต่หากไม่ได้เสียงข้างมาก แล้วใช้เสียงวุฒิสภาลากเข้าไปจัดตั้งรัฐบาล สุดท้ายคงอยู่ได้แค่ไม่กี่เดือน เพราะเสียงไม่ถึงในสภาผู้แทนราษฎร ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจทันที

นายแสนยากรณ์ กล่าวว่า 3.) "ประชาธิปไตย" รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ทั้งคำปรารภหลายวรรค บททั่วไปมาตรา 2 ระบุชัดเจนถึงระบอบการปกครองและการยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย แต่ถ้ายังคงให้ใช้เสียง ส.ว. ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี อาจจะเป็นกระบวนการที่ขัดต่อกฎหมายและระบอบการปกครองเสียเอง และ 4.) "ปรองดอง" โดยหวังกับสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะสมาชิกวุฒิสภา เพราะอำนาจนี้ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยมองว่า ส.ว.เป็นกลไกสืบทอดอำนาจ เป็นปัญหาความไม่เข้าใจกัน เป็นปัญหาความขัดแย้งการเมือง

'พิธา' เตรียมดันนโยบายดูแลสูงวัยทั่วประเทศ หลังรัฐสร้างปัญหา ออกกฎหมายขัดกันมั่ว

หัวหน้าพรรคก้าวไกล รับหนังสือจากกลุ่ม 'นักกฎหมายทนายความประชาชนสี่ภาค' เตรียมผลักดัน นโยบายรองรับสังคมสูงวัย หวั่นคนแก่ถูกทอดทิ้ง

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยส.ส. จากพรรคก้าวไกล รับหนังสือจากกลุ่มนักกฎหมายทนายความประชาชนสี่ภาค ซึ่งเดินทางมาร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาเบี้ยผู้สูงอายุที่เกิดขึ้น โดยพิธาได้อธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นโดยยกตัวอย่าง กรณีผู้สูงอายุถูกรัฐสั่งฟ้องคืน 'เงินคนแก่' และตัวอย่างที่ยกไปนั้นไม่ใช่ตัวอย่างเดียวที่เกิดขึ้น แต่ยังมีตัวอย่างของผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่ต้องคืนเงินให้กับรัฐ เนื่องจากความผิดพลาดของการออกกฎหมายที่ขัดกันและการดำเนินการของรัฐที่ไม่รอบคอบถี่ถ้วน หากรัฐไม่สามารถจัดการระบบและกฎหมายที่ขัดกันได้ ปัญหานี้จะกลายเป็นปัญหาคุกคามผู้สูงวัยทั่วประเทศ วันนี้ตนจึงเดินทางมารับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มทนายที่พบปัญหาโดยตรง

หนึ่งในตัวแทนกลุ่มนักกฎหมายทนายความประชาชนสี่ภาค ได้ยกตัวอย่างปัญหาสำคัญของคดีลูกความผู้สูงอายุที่ตนเป็นทนายความไว้ว่า "ที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้เรียกเงินคืนจากผู้สูงอายุที่รับเงินจากบำเหน็จบำนาญจากบุตรชายที่เสียชีวิต ผมจึงเข้าไปเป็นทนายความยื่นฟ้องศาลปกครอง เมื่อศาลปกครองรับฟ้อง พิจารณาหลังจากนั้นผมได้ยื่นฟ้องศาลปกครองต่อกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานโดยตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง หลังจากยื่นฟ้องศาลปกครองรับฟ้อง คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ

'อนุทิน' พอใจ นโยบายเลือกตั้งเป็นรูปธรรมแล้ว พร้อมเดินหน้าหาเสียง เน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตปชช.

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงทิศทางการเดินหน้าของพรรคภูมิใจไทย ในช่วงก่อนเข้าโค้งสุดท้ายการเลือกตั้ง ว่า ที่ผ่านมาพรรคภูมิใจไทย ทำนโยบายที่หาเสียงไว้เป็นรูปธรรมแล้ว ทั้งเรื่องกัญชาเพื่อการแพทย์ แกร๊บถูกกฎหมาย ปลดผู้ค้ำประกันหนี้ กยศ. เพิ่มค่าตอบแทน อสม. และอีกหลายนโยบาย 

จากนี้ เรามุ่งมั่นจะต้องทำให้ดีขึ้น เป็นเฟส 2 ของการเดินหน้านโยบายขอเพียงให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เราลุยได้แน่นอน ก่อนอื่นต้องขอเริ่มจากสิ่งที่เห็นกันอยู่ตรงหน้า หรือ อสม. ที่ต้องดูแลให้ดีกว่าเดิม ในอดีตรับเดือนละ 1,000 บาท แล้วมาได้เพิ่มอีก 500 บาท ช่วงที่มีโควิด-19 ระบาด เงินที่จ่ายไปทดแทนมาด้วยประสิทธิภาพในการทำงานที่คุ้มค่า อสม. คือจุดแข็งของประเทศไทย องค์การอนามัยโลก ยังต้องมาศึกษาการขับเคลื่อนงานของ อสม. ถึงเวลาแล้วที่ต้องทำให้ อสม. มีค่ายิ่งกว่าคำว่ามวลชนด้านสุขภาพ

'ดร.ปริญญา' โพสต์ขอคืนสิ่งที่คสช. ยึดไปในปี 2557 คืนอำนาจเลือกนายกฯ ผ่าน ส.ส. ให้ประชาชน

'ดร.ปริญญา' โวยคสช.ยึดอำนาจไปตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว รธน.ประกาศใช้ 5 ปีแล้ว ถึงเวลาคืนอำนาจเลือกนายกฯ ผ่าน ส.ส. ตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ ปลุกสว. 84 คน ถ้ายอมตัดอำนาจตนเองจะถูกบันทึกและจดจำยิ่งกว่าทุกครั้ง

7 ก.ย. 65 - ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

ขอแค่สิ่งที่ คสช.ยึดไปในปี 2557 #คืนให้ประชาชน
#คืนอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีผ่าน ส.ส.ให้ประชาชน
ตัดอำนาจ ส.ว.#เลือกนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐประหารทุกคณะล้วนแต่อยากให้ ส.ว.ที่ตัวเองเลือก #มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งสิ้น เพื่อเป็นหลักประกันในการ #สืบทอดอำนาจต่อไปหลังเลือกตั้ง แต่ไม่เคยมีใครทำสำเร็จจนกระทั่ง คสช.ที่ยึดอำนาจไปตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว

ที่คราวนี้ทำสำเร็จก็เพราะฝีมือ #อาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์ ที่สรุปบทเรียนจากร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2534 ที่อาจารย์มีชัย ก็เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญ ตอนนั้นอำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีอยู่ในร่างแรกเลย ผลคือถูกนักศึกษาประชาชนประท้วงจนต้องยอมแก้ในวาระสองตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไป

ในคราวนี้อาจารย์มีชัย จึงเอาอำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีแยกออกมา แล้วเรียกว่าเป็น #คำถามเพิ่มเติม หรือคำถามพ่วง แล้วก็ไม่ยอมถามตรงๆ ว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่ ส.ว.ที่ คสช.เลือกจะมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี แต่ไปใช้ถ้อยคำว่า “ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา” คนจำนวนมากอยากให้มีเลือกตั้งเสียที อ่านคำถามเพิ่มเติมแล้วนึกไม่มีอะไร เมื่อโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็โหวตรับคำถามพ่วงด้วย

อย่าลืมว่าตอนนั้นคนที่ค้านจะรณรงค์ค้าน หรือบอกประชาชนเรื่องนี้ก็ทำไม่ค่อยได้เพราะจะถูกจับ อีกทั้ง #พลเอกประยุทธ์ ก็แถลงสองวันก่อนถึงวันลงประชามติว่า #จะไม่สืบทอดอำนาจ แล้วผลประชามติในเรื่องนี้ ซึ่งทำกันแบบมัดมือชก ก็ไม่ได้ชนะขาดลอยแต่ประการใด เพราะมีคนเห็นชอบ 58% เท่านั้น

'อัษฎางค์' ยก 15 ผลงานใหญ่ '8 ปี ประยุทธ์' ก้าวไปไกล จนก้าวไกล ก้าวตามไม่ทัน

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก 'เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค' โดยระบุว่า...

8 ปีประยุทธ์ ก้าวไปไกลจนก้าวไกล ก้าวตามไม่ทัน 

อัษฎางค์ ขอยก 15 ผลงานเรื่องใหญ่ๆ ที่รัฐบาลประยุทธ์สร้างสรรค์เอาไว้ จนก้าวไปไกลสุดสายตา จนพรรคชื่อก้าวไกลแต่ย่ำอยู่กับที่ก้าวไม่ไปไหนไกลและคนใจบอด 3 นิ้วไม่สามารถจะเห็นได้

15 ผลงานรัฐบาลประยุทธ์
•1 First S-curve การส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การต่อยอด-ยกระดับ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีศักยภาพ

•2 EEC โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเป็นพื้นที่การลงทุนและแหล่งบ่มเพาะ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ 

•3 EECi พัฒนาเมืองแห่งนวัตกรรม หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็น 'ซิลิคอนวัลเลย์' 'เมืองใหม่อัจฉริยะ' ด้วยนวัตกรรมของเมืองไทย

•4 EECd เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล

•5 5G โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล โดยในปี 2564 ความเร็วเฉลี่ยอินเตอร์เน็ตบ้านของไทย ที่ 308 ล้านบิทต่อวินาที (Mbps) ถือว่าแรงเป็นอันดับ 1 ของโลก 

•6 Digital Government การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่ 'รัฐบาลดิจิทัล' เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ โครงการเน็ตหมู่บ้าน 74,987 หมู่บ้าน ทั้งประเทศ โครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ำ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ 

•7 Prompt Pay พัฒนาระบบ 'พร้อมเพย์' เพื่อสนับสนุนการชำระเงินและโอนเงินแบบทันที พัฒนาระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (Citizen Portal) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการติดต่อขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ 

'สร้างอนาคตไทย' แถลงตั้ง 'ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์' เป็นประธานพรรค เตรียมเปิดตัว 8 ก.ย.นี้

วันนี้ (7 ก.ย. 65) ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต พรรคสร้างอนาคตไทย จัดประชุมใหญ่เตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้ง โดยมีผู้บริหารพรรค อาทิ ดร.อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคใต้ นายสุพล ฟองงาม รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคอีสาน นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรค และประธานกรุงเทพฯ ดร.สันติ กีระนันทน์ รองหัวหน้าพรรค และประธานฝ่ายนโยบาย นายวิเชียร ชวลิต รองหัวหน้าพรรค และผู้อำนวยการพรรค นายกำพล ปัญญาโกเมศ รองหัวหน้าพรรค และประธานฝ่ายวิชาการ นายนริศ เชยกลิ่น รองหัวหน้าพรรค และโฆษกพรรค และนายวัชระ กรรณิการ์ รองเลขาธิการพรรค และประธานภาคกลาง พร้อมด้วยว่าที่ผู้แสดงเจตจำนงเป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรคทั่วประเทศกว่า 300 คน เข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ ยังได้จัดประชุมกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรควาระพิเศษ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการแต่งตั้ง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นั่งเป็นประธานพรรคสร้างอนาคตไทย

ดร.อุตตม กล่าวว่า ที่ประชุม กก.บห.ครั้งที่ 11/2565 ได้รับทราบเรื่องการสมัครเป็นสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทยของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมาชิกเลขที่ 10021971 ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2565  และที่ประชุมมีมติเอกฉันท์แต่งตั้ง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานพรรคสร้างอนาคตไทย เพื่อเป็นผู้นำอุดมการณ์และร่วมกับสมาชิกพรรคขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของพรรคสร้างอนาคตไทย ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (8 ก.ย.65) ทาง ดร.สมคิด จะเดินทางเข้ามาร่วมประชุมกับผู้บริหารพรรค และว่าที่ผู้แสดงเจตจำนงเป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรคทั่วประเทศ 

ด้านนายสนธิรัตน์ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ ถือเป็นการประชุมใหญ่ระหว่างผู้บริหารพรรค และว่าที่ผู้แสดงเจตจำนงเป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรคทั่วประเทศครั้งแรกของพรรค เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจถึงอุดมการณ์ และเจตจำนงการทำงานของพรรคที่ทุกคนต้องขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งเป็นการประกาศตัวให้ประชาชนทั้งประเทศมั่นใจว่าพรรคมีความพร้อมที่จะเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ และปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจได้ว่าพรรคมีนโยบาย และชุดความคิดที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาได้อย่างแน่นอน และขอยืนยันว่าตอนนี้ไม่ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อใด จะวันนี้หรือพรุ่งนี้พรรคสร้างอนาคตไทยก็พร้อมลงสู่สนามเลือกตั้งในทันที

‘ทิพานัน’ วอนอย่าด่วนวิจารณ์เอกสาร 'มีชัย' ปม 8 ปี เตือนสติฝ่ายค้าน ควรรอศาลชี้ขาด อย่าตีรวนรายวัน

รองโฆษกรัฐบาล วอนอย่าด่วนวิจารณ์เอกสารความเห็น 'มีชัย' ปม 8 ปี เผยแพร่ในโลกโซเชียล ชี้แจงกรณี ‘พล.อ.ประยุทธ์' ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา เตือนสติฝ่ายค้านต้องเชื่อมั่นศาลหลังยื่นคำร้องเอง หยุดตีรวนกดดันศาลทำสังคมสับสนรายวัน

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่เอกสารที่อ้างว่าเป็นคำชี้แจงของท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ส่งเป็นเอกสารถึงศาลรัฐธรรมนูญว่า ขอให้สังคมหยุดวิพากษ์วิจารณ์เพราะเอกสารดังกล่าวยังไม่มีการรับรองว่าเป็นเอกสารจริงและเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวยังไม่ได้เป็นข้อสรุปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในประเด็นปัญหาวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี จึงขอให้สังคมใช้วิจารณญาณก่อนการวิพากษ์วิจารณ์ 

น.ส. ทิพานัน กล่าวว่า หลังมีเอกสารดังกล่าวเผยแพร่ในโซเชียล อาจทำให้สังคมสับสนว่าจะเป็นคำวินิจฉัยของศาล จึงต้องขอชี้แจงว่า หากศาลต้องการข้อมูลหรือคำชี้แจงของท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นไปในฐานะพยาน ตามกระบวนพิจารณาของศาล โดยศาลรัฐธรรมนูญได้อาศัยอำนาจตามพรป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 27 ที่กำหนดให้การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญใช้ระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจค้นหาความจริง การพิจารณาของศาลต้องเป็นไปโดยรวดเร็ว และในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาคดีได้ ซึ่งคำชี้แจงหรือหลักฐานของบุคคลที่ส่งมายังศาล เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการพิจารณา ยังไม่ใช่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 72 และ 73 ของพรป. นี้

‘โรม’ ทวงสำนึก ส.ว. ‘หยุดสืบทอด-หวง’ อำนาจ คืนอำนาจสู่ประชาชน ช่วยยุติระบบอันบิดเบี้ยว

‘โรม’ ถามหาสำนึก ส.ว. หยุดสืบทอดอำนาจ ชี้ กรณี ‘สิบตำรวจโทหญิง’ แสดงให้เห็นชัดแล้วว่า ส.ว. ที่ผ่านมาไม่มีคุณวุฒิ คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ พร้อมเสนอแก้ไข ม.272 ปิดสวิตช์ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรีสืบทอดอำนาจ

ในการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่าง รธน. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลได้ลุกขึ้นอภิปรายสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายประเด็น โดยเฉพาะข้อเสนอที่ให้มีการแก้ไข ม.272 ปิดสวิตช์ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรีสืบทอดอำนาจ

***หนุนเพิ่มสิทธิเสรีภาพประชาชน ควบคู่ปฏิรูปศาลและหน่วยงานยุติธรรมให้ทำตามหลักกฎหมาย***

รังสิมันต์กล่าวว่า ตนและพรรคก้าวไกลมีจุดยืนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดที่เพิ่มสิทธิและเสรีภาพประชาชนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น...

- คำนิยาม “สิทธิเสรีภาพ” ให้หมายรวมถึงที่ประเทศไทยได้มีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
- เพิ่มเติมข้อความว่าการประกันตัวว่าต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว การคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีหากไม่ใช่กรณีที่โทษร้ายแรงจะต้องมีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น
- การระบุรายละเอียดของสิทธิในกระบวนการยุติธรรมว่าต้องสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง พิจารณาโดยเปิดเผย ให้โอกาสจำเลยในการสู้คดีอย่างเพียงพอ ผู้เสียหายได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างเป็นธรรม
- เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ที่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม เสรีภาพเหล่านี้จะถูกจำกัดมิได้
- สิทธิชุมชน ให้การทำโครงการที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะต้องศึกษาและประเมินผลกระทบอย่างรอบด้านโดยประชาชนและชุมชนได้มีส่วนร่วม
- เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธจะจำกัดได้ก็ด้วยกฎหมายเฉพาะเรื่องการชุมนุมสาธารณะ หรือในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงเท่านั้น
- เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมืองให้การจัดตั้งไม่ยุ่งยากซับซ้อน การเข้าร่วมเป็นสมาชิกไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะมาหาเรื่องยุบพรรคไม่ได้ถ้าไม่ใช่กรณีล้มล้างการปกครองเท่านั้น 

“สิทธิและเสรีภาพต่างๆ เหล่านี้ อันที่จริงแล้วบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ก็ควรจะเพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ก็อย่างที่เราเห็นกันว่าศาลและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมนั้นบิดเบือนกฎหมายที่มีอยู่ไปขนาดไหน ผมเชื่อว่าหากเราปฏิรูปให้องค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งหลายมีความยึดโยงกับประชาชนได้ การจะใช้กฎหมายเท่าที่มีอยู่เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงเลย” รังสิมันต์ กล่าวเสริม

***ยืนยันหลักการนายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง***

ในเรื่องของคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.พรรคก้าวไกลตั้งแต่ในอดีตสมัยยังเป็นพรรคอนาคตใหม่ยืนยันสนับสนุนหลักการนี้มาโดยตลอดว่าผู้ที่คู่ควรได้เป็นผู้นำประเทศ ต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากประชาชนผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งตามระบบในประเทศไทยที่เราใช้หมายถึงผู้ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. มิใช่เป็นใครบางคนที่รังเกียจการเลือกตั้ง แต่ก็หวังอยู่ในอำนาจต่อโดยดูดเอาผู้มีอิทธิพลกลุ่มต่างๆ มาช่วยหาเสียงแทนตัวเอง

***ถามหาสำนึก ส.ว. เลิกหวงอำนาจ คืนอำนาจกลับสู่ประชาชน***

ประเด็นสุดท้าย ตามร่างที่ยื่นเสนอเข้ามาโดยภาคประชาชนที่เข้าชื่อกันเป็นจำนวนทั้งสิ้น 64,151 คน เนื้อหาไม่มีอะไรซับซ้อนให้ยกเลิกบทเฉพาะกาล มาตรา 272 ที่ให้ ส.ว. ชุดแรก 250 คน มีวาระ 5 ปี ที่มาจากการคัดเลือกโดย คสช. มีอำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ซึ่ง ส.ว. ชุดนี้ทั้งหมด ยกเว้นประธานสภาที่งดออกเสียงตามมารยาท ก็ใช้อำนาจนี้ยกมือโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สืบทอดอำนาจหลังยุคคณะรัฐประหารต่อไป ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 เป็นต้นมา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top