Saturday, 27 April 2024
เศรษฐกิจโลก

ถอดบทเรียนวิกฤตศรัทธาพา ‘ปอนด์’ ป่วย สู่ 3 ทางรอดค่าเงินบาท ที่ไม่ควรเดินตามรอย

ถือเป็นการปรับลดค่าเงินปอนด์อย่างรุนแรงเป็นผลโดยตรงจากนโยบายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังคนใหม่ ตามที่นายกฯ Liz Truss ได้หาเสียงไว้ว่าจะทั้งเพิ่มเงินกู้อย่างมหาศาล และจะปรับลดภาษีพร้อมกัน ท่ามกลางความกดดันที่มีอยู่เดิมจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งอังกฤษขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้วถึง 8% ของ GDP และอาจจะเพิ่มเป็น 10% ได้ด้วยนโยบายของนายกฯ คนใหม่ ในขณะที่หนี้สาธารณะอยู่ที่กว่า 100% ของ GDP อยู่แล้ว

วันนี้เงินปอนด์อยู่ที่ประมาณ 1.08 ต่อดอลลาร์ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่อ่อนค่าที่สุดเป็นประวัติศาสตร์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สาเหตุคือวิกฤติศรัทธา นักลงทุนสูญเสียความไว้วางใจในนโยบายรัฐบาล นี่คือสิ่งที่น่ากลัวที่สุด ไทยเราเองกำลังจะเข้าสู่ฤดูการเลือกตั้ง คือเข้าสู่ช่วงลดแลกแจกแถม เราจึงต้องตระหนักในความรับผิดชอบทางการคลัง 

วันนี้เราเป็นประเทศที่มีส่วนต่างดอกเบี้ยที่กว้างมากที่สุดในอาเซียนเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยของอเมริกา หากทำอะไรให้เกิดวิกฤติศรัทธาขึ้นมาเราจะเสี่ยงที่จะถูกตลาดเงินกดดันให้ต้องเพิ่มดอกเบี้ยอย่างแรง ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับผู้ประกอบการและประชาชนที่เป็นหนี้ อย่าคิดว่าทำอะไรก็ได้ เราเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกที่วันนี้เปราะบางมาก ความน่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่น เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ลอกเลนส์ นักเศรษฐศาสตร์โลก จากเวที World Economic Forum คาด ศก.6-12 เดือนข้างหน้าสุดท้าทาย แต่ไม่ใช่ให้แตกตื่น

ไม่นานมานี้ นายสันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท Sea Group โพสต์ข้อคิดเกี่ยวกับทิศทางอนาคตเศรษฐกิจโลกลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้อย่างน่าสนใจ ระบุว่า...

รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นตัวแทนกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จากทั่วโลกของ World Economic Forum (WEF) ไปเสวนารอบพิเศษเรื่องทิศทางอนาคตเศรษฐกิจโลก (Special Agenda Dialogue on the Future of the Global Economy) 

เลยเอาข้อคิดที่สำคัญมาฝากครับ (ยาวนิดนะครับ)

ควรเตรียมรับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่จีนอาจเป็นม้ามืด

ไม่ว่าจะถึงขั้น Recession ไหมหรือจะนิยามเศรษฐกิจถดถอยว่ายังไง สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า คือเศรษฐกิจโลกอาการไม่เบาแน่ 

รายงานสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 22 คนทั่วโลกพบว่า ส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่าทั้งธุรกิจและคนวางนโยบายควรต้องเตรียมรับมือ Global Recession ในปี 2566 (2023) จากการที่ธนาคารกลางในเศรษฐกิจขนาดใหญ่หลายแห่งขึ้นดอกเบี้ยพร้อมๆ กันเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่อาจจะยังดื้อดึงไม่ลงง่ายๆ 

โดย 90% ของนักเศรษฐศาสตร์ในแบบสำรวจมองว่ายุโรปอาการหนักแน่ๆ ตั้งแต่ปลายปีนี้จากวิกฤติพลังงานที่ทำให้เศรษฐกิจซบเซาพร้อมเงินเฟ้อสูง (Stagflation)

นอกจากนั้น หลายคนมองเศรษฐกิจอเมริกาจะแย่ลงอย่างชัดเจนในปีหน้าเมื่อฤทธิ์ยาขมจากดอกเบี้ยสูงออกผลเต็มที่ (ดอกเบี้ยเป็นเหมือนยาแรงที่ใช้เวลากว่าจะออกฤทธิ์)

แต่อย่างไรก็ตาม มีบางคนเหมือนกันที่มองว่าจีนอาจเป็นม้ามืด เพราะต่อไปอาจผ่อนคลายนโยบายซีโร่โควิดเปิดให้มีการเดินทางรวมถึงต่างประเทศได้มากขึ้น และอาจปล่อยยาแรงมากระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในต้นปีหน้า

แต่ทั้งนี้อย่างเก่งก็แค่ช่วยบรรเทาอาการทรุดของเศรษฐกิจโลกไม่พอที่จะพยุงเศรษฐกิจโลกคนเดียวในเวลาที่อเมริกาและยุโรปต่างชะลอตัว

จากท่องเที่ยวไปส่งออก แล้วกลับไปท่องเที่ยวใหม่

แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะแย่ไปหมด

ก่อนโควิด ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว เป็นหัวหอกของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทย

แต่พอโควิดมาท่องเที่ยวแห้งเหือดกลายเป็นการส่งออกสินค้ากลับมาเป็นตัวละครหลักผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยในปีที่ผ่านมา 

ตั้งแต่นี้ไปเราอาจกลับไปหนังม้วนเก่าคือท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นพระเอกอีกครั้ง 

สถานการณ์ด้านพลังงานในยุโรป เป็นหนึ่งในโอกาสสำคัญที่อาจทำให้การเดินทางมาพักผ่อนหรือทำงานในประเทศไทย มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า อันเป็นช่วงที่ภาคการส่งออกอ่อนแอลงจากกำลังซื้อที่ลดลงของเศรษฐกิจใหญ่ๆ 

ประเทศที่พึ่งพาทั้งส่งออกและท่องเที่ยวอย่างไทยจะได้อย่างเสียอย่าง ส่งออกจะกลายเป็นตัวฉุดและเราก็ต้องกลับไปพึ่งการท่องเที่ยวเป็นพระเอกเช่นเคย

การดูแลให้ท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจึงจะยิ่งสำคัญในปีหน้า

กำลังซื้อลดลง คนจนเพิ่มขึ้น นโยบายต้องช่วยคนตัวเล็ก

ปัญหาค่าครองชีพดูแค่ตัวเลขเงินเฟ้อไม่ได้ 

เงินเฟ้อเป็นเสมือนภาษีของคนรายได้น้อย 

นักเศรษฐศาสตร์กว่า 80% ในแบบสำรวจมองว่ากำลังซื้อคนจะลดลงเพราะรายได้และค่าแรงจะไม่สามารถปรับตามเงินเฟ้อได้ทำให้เงินในกระเป๋าลดลง 

และ 90% ของนักวิเคราะห์กลุ่มนี้มองว่าคนจนจะเพิ่มขึ้นหลังจากนี้เพราะเงินเฟ้อที่มาจากราคาพลังงานและอาหารกระทบคนรายได้น้อยมากกว่าคนรายได้สูง

แม้ตัวเลขเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวลงในปีหน้าแต่ปัญหาค่าครองชีพยังอาจจะไม่ได้หายไปเพราะรายได้คนไม่ได้ปรับขึ้นตามและราคาสินค้าจำนวนมากอาจไม่ได้ปรับลงเมื่อราคาพลังงานลดลง

มาตราการช่วยกลุ่มคนตัวเล็กของรัฐจึงจะมีบทบาทสำคัญมาก รัฐบาลต่างๆ ในวันนี้อาจไม่ได้มีเงินในกระเป๋าตังค์มากพอที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อีกรอบ จึงต้องใช้นโยบายการคลังที่ยิงแม่นตรงจุดมากขึ้นช่วยคนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้จริงๆ

ประเทศต่างๆ ควรฉวยโอกาสที่คนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นในยุคหลังโควิด เอาเทคโนโลยีมาปรับช่วยคนเล็ก เช่น ส่งเสริมอีคอมเมิร์ซให้ช่วย SME ขยายตลาดใหม่ กระจายความเสี่ยง ใช้ฟินเทคช่วยให้คนเข้าถึงบริการการเงิน เช่น สินเชื่อ ประกัน ได้ดีขึ้น ไม่ต้องหันไปพึ่งเงินนอกระบบ เป็นต้น

โลกแตกแยกขึ้น ธุรกิจเร่งรีบปรับตัวต่อโลกใหม่มากขึ้น

รัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดหลังทำงานได้ 38 วัน เหตุออกนโยบายเศรษฐกิจที่ประชาชนไม่ยอมรับ

เมื่อวานมีประเด็นร้อนในสหราชอาณาจักร เมื่อรัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดออก หลังจากทำงานได้ เพียง 38 วันเท่านั้น!!

ส่วนชนวนเหตุสำคัญ คือ การออกนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับ

อย่างไรงั้นหรือครับ?

ปัญหา คือ นโยบายนี้เป็นนโยบายที่นายกรัฐมนตรีมีส่วนร่วม 100% ในการคิดและนำเสนอ 

ดังนั้นการปลดรัฐมนตรีคลัง อาจไม่พอ!! ในการปกป้องตำแหน่งตนเอง เพราะตลาดเงินไม่ได้ไม่พอใจตัวบุคคล แต่ไม่พอใจนโยบาย และถึงแม้นายกฯ อังกฤษ จะได้เพิ่งประกาศกลับลำนโยบายบางส่วน ก็อาจจะไม่ช่วยให้เธออยู่ต่อได้ 

IMF มองจีนคลายล็อกโควิดทำยอดติดเชื้อพุ่ง เชื่อ!! กระทบเศรษฐกิจ 'ภูมิภาค-โลก'

ไอเอ็มเอฟเตือนการผ่อนคลายมาตรการโควิดของทางการจีนจะทำให้มีผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วราว ‘ไฟป่า’ ในช่วง 3-6 เดือนนี้ ในขณะที่รัฐบาลยังไม่สามารถจัดหาวัคซีน และยาต้านไวรัสที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชน

“ช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้จะเป็นช่วงที่ยากลำบากของจีน” นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ กล่าวกับรายการ Face the Nation ของสถานีโทรทัศน์ CBS ที่ออกอากาศเมื่อช่วงสุดสัปดาห์

นางจอร์เจียวา ขยายความว่า จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่แพร่กระจายรวดเร็วราว ‘ไฟป่า’ นี้  จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจในจีน เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน และเศรษฐกิจโลก

เมื่อปลาย พ.ย. ก่อนทางการจีนประกาศยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ นางจอร์เจียวาเปิดเผยว่าไอเอ็มเอฟอาจปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนลงอีกหลังจากเพิ่งประกาศปรับลดไปแล้วหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้นเนื่องจากข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด รวมถึงวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์

เมื่อเดือน ต.ค. ไอเอ็มเอฟตัดสินใจปรับลดประมาณการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2023 เนื่องจากสงครามในยูเครนและดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้นเพราะธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ พยายามจะควบคุมราคาที่สูงขึ้น

>> ไอเอ็มเอฟปรับลดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 3.2% ในปี 2022 และ 4.4% ในปี 2023

ทว่าเมื่อกลาง ธ.ค. หลังรัฐบาลจีนประกาศยกเลิกมาตรการโควิดเป็นศูนย์ ธนาคารมอร์แกน สแตนลีย์ ของสหรัฐฯ ปรับคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2023 เพิ่มจาก 5% เป็น 5.4%

นางจอร์เจียวา กล่าวกับ CBS ด้วยว่า ภาวะล็อกดาวน์ที่ยืดเยื้อในจีนและปัจจัยลบอื่น ๆ ในประเทศในปี 2022 จะทำให้จีนมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ ‘ใกล้เคียงหรือต่ำกว่า’ อัตราการเติบโตเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 3.2%  

ไอเอ็มเอฟเป็นองค์กรนานาชาติที่มีประเทศสมาชิก 190 ชาติ สมาชิกเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อพยายามเพิ่มเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก หน้าที่หลักหน้าที่หนึ่งคือทำหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจ

>> ‘ยากลำบากกว่า’ ปี 2023

ในการสัมภาษณ์กับ CBS นางจอร์เจียวาเตือนด้วยว่าชาติต่าง ๆ ราว 1 ใน 3 ของทั้งโลกจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยปีนี้

เธอบอกว่าปี 2023 จะ ‘ยากลำบากกว่า’ ปีที่แล้ว ขณะที่เศรษฐกิจทั้งในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน เติบโตช้าลง

“เราคาดการณ์ว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย” นางจอร์เจียวา บอกกับรายการ Face the Nation ของสถานีโทรทัศน์ CBS 

“แม้กระทั่งประเทศที่ไม่ได้มีภาวะเศรษฐกิจถดถอย คนหลายร้อยล้านคนก็จะรู้สึกเหมือนอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย”

สถานการณ์นี้เกิดขึ้นขณะที่มีสงครามในยูเครน, ราคาข้าวของต่าง ๆ แพงขึ้น, อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และการระบาดของโควิดในจีน ล้วนส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก 

ไอเอ็มเอฟคาดว่าในปี 2023 เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจหลีกเลี่ยงภาวะติดลบได้ แต่ในสหภาพยุโรป ครึ่งหนึ่งของชาติสมาชิกจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจหดตัว ส่วนเศรษฐกิจจีนจะลดความเร็วในการเติบโตลง

>> นักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนก็มองคล้ายกัน

คาทรีนา เอลล์ นักเศรษฐศาสตร์บริษัทด้านเศรษฐกิจ Moody's Analytics ในซิดนีย์ บอกว่า แม้ว่าจะยังไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยระดับโลกในปีนี้ แต่ความเสี่ยงก็สูงมาก อย่างไรก็ดี ยุโรปจะต้องตกอยู่ในภาวะนั้น ขณะที่สหรัฐฯ ตกอยู่ในสถานะหมิ่นเหม่ 

เอเชียเผชิญปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากสงครามยูเครน และครัวเรือนและบริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 

‘เพื่อไทย’ ยก 5 ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย เตือนรัฐบาลหาทางรับมือก่อนเศรษฐกิจย่ำแย่

(3 ม.ค. 66) จุฑาพร เกตุราทร โฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และ ผู้ประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ว่าพรรคเพื่อไทยได้เตือนไว้ก่อนแล้วว่าเป็นสัญญาณเศรษฐกิจที่ไม่ดี และแนวโน้มจะทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้น่าจะไม่สดใส ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ทีมเศรษฐกิจจึงขอเตือน 5 ปัจจัยเสี่ยงดังนี้ 

1. ปัญหาหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน หนี้จากธุรกิจหลังสถานการณ์โควิด ส่งผลกระทบให้มีหนี้เสียในระบบธนาคาร และหนี้นอกระบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเหมือนระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการกับเรื่องหนี้เหล่านี้ได้ 

2. ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เพื่อหยุดเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั้งโลก ทั้งเศรษฐกิจของ สหรัฐ ยุโรป จีน และ ญี่ปุ่น ก็จะไม่ดี ซึ่งจะทำให้การส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนของไทยลดลงได้ 

3. ปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ไทยอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม และจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน

‘UBS Group’ เข้าซื้อกิจการ ‘Credit Suisse’ คาด!! นักลงทุนรายย่อย-ใหญ่ เสี่ยงขาดทุนระนาว

(20 มี.ค. 66) World Maker รายงานว่า ธนาคารแห่งชาติซาอุฯ รวมถึงกาตาร์ และนอร์เวย์ถือเป็นผู้ขาดทุนรายใหญ่ -86% จากการซื้อ Credit Suisse ของ UBS 

น่าจะจบกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับวิกฤตที่ค้างคาของ Credit Suisse ซึ่งพร้อมกันนี้ ผู้ชนะอย่างไม่ต้องสงสัยคือ UBS Group ที่ได้กิจการของ Credit Suisse ไปในราคา Discount ถึง -60% ขณะที่ผู้แพ้นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อยหรือสถาบันรายใหญ่

โดยเฉพาะ Saudi National Bank ที่ถือหุ้นใหญ่ของ Credit Suisse มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ (9.9% ของหุ้นทั้งหมด) ซึ่งเงินลงทุนดังกล่าวจะมีมูลค่าเหลือเพียง 215 ล้านดอลลาร์เมื่อถูกแปลงเป็นหุ้นของ UBS หรือพูดง่าย ๆ ว่ามูลค่าหายไปราว -86% เลยทีเดียว !

ซึ่งรายละเอียดที่เปิดเผยออกมาแล้วคือผู้ถือหุ้นเก่าของ Credit Suisse จะได้รับหุ้นของ UBS ในอัตราส่วน 22.48 ต่อ 1 ซึ่งเป็นไปตามราคา Take Over ที่ 0.82 $/หุ้น ต่ำกว่าราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ของ Credit Suisse ที่ 2.01 $/หุ้น

ผู้ขาดทุนรายใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ Qatar Investment Authority ของประเทศกาตาร์และ Norges Bank Investment Management ซึ่งเป็นกองทุนแห่งชาติของนอร์เวย์

‘นักวิเคราะห์’ เตือน!! ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ อาจกระทบเครดิตเรทติ้งรัฐบาลทั่วโลก

สังคมผู้สูงอายุเริ่มส่งผลกระทบต่อการเงินสาธารณะทั่วโลกแล้ว โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือหลายแห่ง ได้ออกมาเตือนว่า อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ได้เพิ่มผลกระทบของต้นทุนเงินบำนาญและการดูแลสุขภาพที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ มูดี้ส์, เอสแอนด์พี และฟิทช์เตือนว่า สถานการณ์ด้านประชากรที่ย่ำแย่ลงเริ่มส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลต่าง ๆ แล้ว หลังธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานขึ้น

มูดี้ส์, เอสแอนด์พี และฟิทช์กล่าวด้วยว่า ทางสถาบันมีแนวโน้มที่จะต้องปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของแต่ละประเทศหากไม่มีการปฏิรูปขนานใหญ่ ซึ่งเสี่ยงที่จะสร้างวงจรภาระทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้นและต้นทุนการกู้ยืมเงินที่เพิ่มสูงขึ้น

“ในอดีต ประเด็นด้านประชากรศาสตร์นั้นถือเป็นปัจจัยพิจารณาระยะกลางและระยะยาว แต่ขณะนี้ ประเด็นดังกล่าวได้ขยับเข้ามาและเริ่มกระทบอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศแล้ว” นายดีทมาร์ ฮอร์นุง รองกรรมการผู้จัดการของมูดี้ส์ กล่าว

สำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์สรายงานว่า ในเดือนนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ต่างก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงิน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการชำระหนี้ของรัฐบาล

“เมื่ออัตราการเกิดชะลอตัวลง ปัญหาก็เร่งด่วนมากยิ่งขึ้น” นายเอ็ดเวิร์ด ปาร์กเกอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยประเทศและนานาชาติของฟิทช์ระบุ พร้อมกล่าวเสริมว่า “หลายประเทศกำลังเผชิญผลกระทบไม่พึงประสงค์ โดยผลกระทบดังกล่าวมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ”

ด้านนายมาร์โค เมิร์สนิก หัวหน้านักวิเคราะห์ประเทศของเอสแอนด์พีระบุว่า ต้นทุนการกู้ยืมเงินที่เพิ่มขึ้น 1 จุดเปอร์เซ็นต์ จะเพิ่มอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศสำหรับญี่ปุ่น, อิตาลี, อังกฤษ และสหรัฐประมาณ 40-60 จุดเปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2603

World Bank’ คาดเศรษฐกิจโลกปี 66 โตเพิ่มอีก 2.1% เตือน!! นโยบายธนาคารทั่วโลกอาจทำจีดีพีปีหน้าชะลอตัว

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับขึ้นคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ หลังจากทิศทางเศรษฐกิจอเมริกาและประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลกฟื้นตัวดีกว่าคาด แต่ได้เตือนว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นอาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้ในปีหน้า

รายงานทิศทางเศรษฐกิจโลกของ World Bank ที่เปิดเผยในวันอังคาร ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาที่ 2.1% ในปีนี้ เพิ่มจากระดับ 1.7% ในการประมาณการณ์เมื่อเดือนมกราคม แต่ยังถือว่าต่ำกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2022 ที่ขยายตัว 3.1%

อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลก หั่นคาดการณ์จีดีพีโลกในปีหน้าลงมาที่ 2.4% จากระดับ 2.7% ในเดือนมกราคม โดยอ้างถึงผลกระทบจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งกระทบต่อการลงทุนในภาคธุรกิจ ก่อนที่เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะกลับมาเติบโตในระดับ 3.0% ในปี 2025

เมื่อมองเป็นรายประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ World Bank ปรับคาดการณ์ว่าจีดีพีสหรัฐฯ จะขยายตัว 1.1% ในปีนี้ เพิ่มจาก 0.5% ในเดือนมกราคม และเศรษฐกิจจีนจะโต 5.6% จากระดับ 4.3% ในเดือนมกราคม แต่สำหรับในปีหน้านั้น ธนาคารโลก คาดว่าเศรษฐกิจอเมริกันจะโตเพียง 0.8% และหั่นเป้าเศรษฐกิจจีนว่าจะขยายตัวที่ 4.6%
 

รู้หรือไม่!? ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 11 ของโลก ประเทศที่มี ‘ทอง’ และ ‘เงินทุนสำรอง’ มากที่สุด

🔍 รู้หรือไม่!? ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 11 ของโลก ประเทศที่มี ‘ทอง’ และ ‘เงินทุนสำรอง’ มากที่สุด✨✨


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top