Sunday, 5 May 2024
ส่งออก

“นายก” ปลื้ม ส่งออกสินค้าเกษตร ม.ค. - ส.ค. 64 ขยายตัว 11.58 เปอร์เซ็นต์ เร่งเจรจาประเทศคู่ค้า ส่งเสริมสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรไทยสู่ตลาดโลก

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พอใจมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.58  ตั้งแต่เดือนม.ค. -ส.ค.ปี 2564  ฝขณะที่ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.2 โดยสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์สำคัญของประเทศไทยที่มีมูลค่าการส่งออกปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 103,958 ล้านบาท   มังคุดและผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 16,705 ล้านบาท ยางแท่ง มูลค่าการส่งออก 54,752 ล้านบาท น้ำยางข้น มูลค่าการส่งออก 32,172 ล้านบาท ยางแผ่นรมควัน มูลค่าการส่งออก 22,729 ล้านบาท มันเส้น มูลค่าการส่งออก 28,696 ล้านบาท แป้งมันสำปะหลัง มูลค่าการส่งออก 33,259 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมมีการขยายตัวได้ดี  รวมถึงการมีตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าเจรจาขยายช่องทางการค้าเพิ่มเติมผ่านการเจรจาการค้าเสรี อาทิ  FTA อาเซียน-จีน  รวมทั้งภูมิภาคอื่น เช่น ตะวันออกกลาง เป็นต้น

ไทยส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงขึ้นแท่นอันดับที่ 3 ของโลก

กรมปศุสัตว์เผยภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่ยังคงมีความรุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้ประชาชนทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ New Normal มีการใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่บ้านมากขึ้น (Work From Home) ทำให้สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขและแมวกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกของการใช้ชีวิต เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวและเพื่อนแก้เหงาตามไปด้วย ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีการขยายเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มคนรัก
สัตว์เลี้ยงต้องการดูแลสัตว์เลี้ยงของตัวเอง จึงมีความสนใจในอาหารสัตว์เลี้ยงมากขึ้น

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ในปี 2564 อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงยังคงมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมการส่งออกในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี (ม.ค. – ก.ย.2564)  มีปริมาณการส่งออกรวม 525,966 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 40,533 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องสำหรับสัตว์เลี้ยง และอาหารเม็ดสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยประเทศคู่ค้าที่นำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อินโดนีเซียและประเทศอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเมินว่าในปี 2564 จะมีการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง คิดเป็นมูลค่า 48,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ประเมินอีกว่า สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงที่ผลิตจากประเทศไทย และการเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ในช่วงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยขยายตัว นับเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยในปีนี้ ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 3 ของโลก รองจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ สวนทางเศรษฐกิจโลกในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 นี้

คาดส่งออกทั้งปีโต 4% หลังเดือนก.ย.ยังบวก 17.1%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกของประเทศในเดือนก.ย. 2564 ว่า การส่งออกยังเป็นบวกอยู่ที่ 17.1% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 23,036 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งเสริม ผลักดัน และแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งออกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องของกระทรวงพาณิชย์ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเติบโตดี และการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้การส่งออก 9 เดือนของปีนี้ ขยายตัว 15.5% โดยประเมินว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในปีนี้ จะอยู่ที่ 4% หรือคิดเป็นมูลค่า 240,727 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้

นอกจากนี้ ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าสินค้าในเดือนกันยายน 64 อยู่ที่ 22,426.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นบวก 30.3% โดยไทยยังได้ดุลการค้าในเดือนกันยายน 64 อยู่ที่ 609.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตัวเลขการนำเข้า 9 เดือนมียอดอยู่ที่ 197,980.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นบวก 30.9% ทำให้ไทยเกินดุลการค้าช่วง 9 เดือนอยู่ที่ 2,016.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 “นายกฯ” เพิ่มจุดแข็งสินค้าเกษตรส่งออก- อาหารถิ่น ใช้นวัตกรรมฉายรังสี เพื่อ มาตรฐาน-ความปลอดภัยในการบริโภค

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า จากตัวเลขการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความเชื่อมั่นในมูลค่าการส่งออกปีหน้าว่าจะยังคงขยายตัวต่ออีกแน่นอน ด้วยยุทธศาสตร์การตลาดนำการผลิต ที่กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกลไกหลักในการดำเนินการร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับภาคการผลิต มากไปกว่านั้น 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกฯยังได้ติดตามการขับเคลื่อนการนำนวัตกรรมฉายรังสีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์เกษตร ซึ่งขณะนี้มีจำนวนผู้ประกอบการให้ความสนใจจำนวนมากขึ้นนำสินค้าผลไม้ อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง สมุนไพร อาหารสุนัข มารับการฉายรังสี เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย (ฆ่าเชื้อโรค พยาธิ แมลง)ในตัวสินค้าแล้ว ยังช่วยยืดเวลาในการเก็บรักษา เช่น ผลไม้บางอย่าง จากปกติ มีอายุแค่3-6 วัน ก็ขยายได้เป็น 1 เดือน หรืออาหารแปรรูป ก็ขยายได้อีก 1 ถึง 2 ปี จึงเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกอย่างมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ให้การยอมรับว่าอาหารฉายรังสีมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค

น.ส.รัชดา กล่าวว่า เพื่อต่อยอดการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาลได้ขยายการส่งเสริมไปยังกลุ่มผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์ มีมาตรฐานความปลอดภัย และยืดอายุการเก็บรักษา เป็นการเพิ่มโอกาสการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ภาคกลาง จัดกิจกรรม Product Champion  เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหารสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น อาทิ ปลาร้า ปลาเค็ม ปูเค็ม กบแดดเดียว กะปิ ผัดไทย แกงส้ม กล้วยตาก ผลไม้ดอง เป็นต้น

อย่างน้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง เมื่อเชื้อโรคและสารปนเปื้อนในน้ำพริกได้ถูกจัดการผ่านการฉายรังสี จะมีอายุการเก็บรักษาได้นานออกไปอีก 1-2 ปี หรือปลาวงอบแห้งฉายรังสี สามารถยืดอายุการเก็บรักษาเพิ่มได้เป็น 12 - 18 เดือน สำหรับปี 2565  สทน. มีแผนขยายโครงการไปยังพื้นที่ภาคใต้ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏในท้องถิ่นเช่นเดียวกับพื้นที่ภาคกลาง และยังมีแผนการดำเนินงานที่ขยายต่อไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ เพื่อพัฒนาอาหารพื้นถิ่นให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยทั่วทั้งประเทศ  

ภาคเอกชนประเมินเศรษฐกิจกำลังดีขึ้น หวังส่งออกฟื้น

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร. ประเมินว่าสถานกาณ์ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ พร้อมกับมาตรการภาครัฐที่มีเสริมขึ้นมาจะทำให้เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวในกรอบ 0.5 % ถึง 1.5%ส่วนการส่งออก กกร. ยังคงคาดว่ามีแนวโน้มจะขยายตัว 12.0% ถึง 14.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.0% ถึง 1.2% ซึ่งมองว่าตัวเลขนี้อยู่ในเงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดซ้ำเพิ่มเติมและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้กกร.ยังมองว่า การเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ช่วยหนุนเศรษฐกิจในช่วงโค้งสุดท้ายของปี การเปิดประเทศและการคลายล็อกดาวน์ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ และประชาชน โดยมีการคาดการณ์จากผู้ประกอบการโรงแรมว่า อัตราการเข้าพักน่าจะขยับขึ้นไปที่ระดับ 25% ในเดือนพ.ย. จากเดือนก.ย.ที่มี 15% ประกอบกับการจับจ่ายใช้สอยในภูมิภาคดีขึ้น ส่วนภาคการค้าปลีกมองว่า ผ่านจุดต่ำสุดที่ไตรมาส 3 มาแล้ว สอดคล้องกับมุมมองของนักธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยก็เชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4 

'โฆษกรัฐบาล' เผย การขนส่งสินค้าท่าเรือกลับมาคึกคักยอดการส่งออกไทย 9 เดือนแรกขยายตัว 15.5 % เป็นไปตามข้อสั่งการ ”นายก”

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานของในรอบปีงบประมาณ 2564  (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) มีเรือเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง รวม 13,840 เที่ยว เพิ่มขึ้น 1.9% สินค้าผ่านท่า 111.630 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.9% และตู้สินค้าผ่านท่า 9.857 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 8.6% รวมรายได้ 15,613 ล้านบาท กำไรสุทธิ  6,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.99% ซึ่งการเติบโตของตู้สินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น มาจากการที่ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้นต่อเนื่อง

อีกส่วนหนึ่งมาจากข้อสั่งการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่สั่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าในภาคธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลทันที ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านโดยรัฐบาลมีการมาตรการต่างๆ  อาทิ กรมเจ้าท่าออกประกาศให้เรือที่มีความยาวมากกว่า 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตรเข้าเทียบท่า ปรับลดภาระตู้สินค้าเปล่าขาเข้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ  ชดเชยค่ายกตู้ขนส่งสินค้าให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ท่าเรือแหลมฉบับ เป็นต้น ช่วยบรรเทาการขาดแคลนตู้สินค้า สนับสนุนให้ค่าระวางเรือขนส่งจากไทยลดลง ส่งผลให้บริการสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าสูงขึ้นด้วย

นายธนกร กล่าวว่า ที้งนี้ ผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกับปีที่ผ่านมา ดังนี้ 
1) ท่าเรือกรุงเทพ เรือเทียบท่า 4,170 เที่ยว เพิ่มขึ้น 9.1%  ตู้สินค้าผ่านท่า 1.438 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 0.2%
2) ท่าเรือแหลมฉบัง เรือเทียบท่า ลดลง 1.0%   ตู้สินค้าผ่านท่า 8.419 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 10.2%
 3) ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน เรือเทียบท่า 2,231 เที่ยว ลดลง 10.5% ตู้สินค้าผ่านท่า 5,064 ที.อี.ยู. ลดลง 32.3%
4) ท่าเรือเชียงของ เรือเทียบท่า ลดลง 96.6% สินค้าผ่านท่า ลดลง 98.9%
 5) ท่าเรือระนอง เรือเทียบท่า เพิ่มขึ้น 15.9% ตู้สินค้าผ่านท่า เพิ่มขึ้น 53.0%
โดยในปีงบประมาณ 2565  นี้ ยังประมาณการตู้สินค้าผ่านท่าที่ท่าเรือกรุงเทพ 1.43 ล้าน ที.อี.ยู. และท่าเรือแหลมฉบัง 8.243 ล้าน ที.อี.ยู. ด้วย 

 

ส่งออกพ.ย.บวก 24.7% ประเมินทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 15-16%  

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกของประเทศในเดือนพ.ย. 64 ว่า ยอดการส่งออกของไทยในเดือนนี้ยังขยายตัวเป็นบวกอยู่ที่ 24.7% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 23,647 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นไปตามทิศทางการส่งออกของโลกที่ดีขึ้น แม้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะเชื้อกลายพันธุ์โอไมครอนซึ่งยังเป็นผลกระทบอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก 

สำหรับกลุ่มสินค้าที่เติบโตต่อเนื่อง คือ สินค้าเกษตรขยายตัว 14.2% สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเติบโตถึง 21.1% สินค้าอุตสาหกรรมเติบโตถึง 23.1% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่อเนื่องมา โดยตลอดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลไม้สด ยางพารา มันสำปะหลัง ส่งออกได้ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นและต่อเนื่องมาหลายเดือนแล้ว 

‘พาณิชย์’ เผยส่งออกปี 64 โต 17.1% มองปี 65 คาดขยายตัวเพิ่มอีก 3-4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกของประเทศในเดือนธ.ค. 64 ว่า การส่งออกของไทยในเดือนธ.ค. ยังเป็นบวกอยู่ที่ 24.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่ากว่า 24,930 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ทำให้ตัวเลขการส่งออกทั้งปีเติบโตถึง 17.1% โดยเป็นยอดส่งออกทั้งสิ้น 271,173 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินบาท 8.5 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเดือนธ.ค. ถือว่า เป็นไปตามทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้การส่งออกของโลกดีขึ้นตาม แม้ปัญหาโควิดในเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจะแพร่ระบาดแต่ไม่น่าจะรุนแรงไปมากกว่านี้ ทำให้ภาครัฐและเอกชนยังคงเดินหน้าร่วมกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รวมถึงเร่งเจาะตลาดในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่ โดยเฉพาะในตลาดรัสเซียในกลุ่มซีไอเอส เอเชียใต้ อาเซียน ตะวันออกกลาง แอฟริกา เกาหลีใต้ กลุ่มซีแอลเอ็มอี สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป 

ส่งออกม.ค.บอก 8% จับตาสงครามยูเครน-รัสเซีย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนม.ค.65 มีมูลค่า 21,258.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 708,312 ล้านบาท ซึ่งถือว่ายังขยายตัวได้ดี เมื่อเทียบกับม.ค.2564 ที่ขยายตัวแค่ 0.1% โดยมีปัจจัยบวกที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกเดือนม.ค.2565 เป็นบวกถึง 8% เพราะมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชน ที่เดินหน้าต่อไปอย่างเข้มข้น ภาคการผลิตทั่วโลกยังขยายตัว และปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มดีขึ้น 

สำหรับตลาดที่ขยายตัวสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.อินเดีย เพิ่ม 31.9% 2.รัสเซีย เพิ่ม 31.9% 3.สหราชอาณาจักร เพิ่ม 29.7% 4.เกาหลีใต้ เพิ่ม 26.8% 5.สหรัฐฯ เพิ่ม 24.1% 6.แคนาดา เพิ่ม 13.6% 7.อาเซียน 5 ประเทศ เพิ่ม 13.2% 8.จีน เพิ่ม 6.8% 9.ลาตินอเมริกา เพิ่ม 5.0% 10.สหภาพยุโรป เพิ่ม 1.4% ขณที่ยอดการนำเข้ามีมูลค่า 23,785 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.5% ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต และการนำเข้าน้ำมันที่ราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยขาดดุลการค้าในเดือนม.ค.65 คิดเป็นมูลค่า 2,526.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งออกสดใส เดือนเม.ย. พุ่ง 9.9 % มูลค่า 23,521 ล้านเหรียญฯ อานิสงส์ สินค้าเกษตร-อุตสาหกรรม โตต่อเนื่อง

พาณิชย์ เผย ส่งออกเดือน เม.ย.ขยายตัว 9.9 % มูลค่า 23,521  ล้านดอลสาร์ รวม 4 เดือน ขยายตัว13.7%  มีมูลค่า 97,122 ล้านดอลลาร์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนเมษายน 2565 พบว่า มีมูลค่า 23,521 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 9.9% ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 25,429 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 21.5% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1,908 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกที่ขยายตัวเป็นผลมาจากสินค้าสำคัญ 3 หมวดสำคัญมีการเติบโต เช่น สินค้าการเกษตร สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม 

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การส่งออก 4 เดือน (มกราคม-เมษายน 2565) มีมูลค่า 97,122 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 13.7% ขณะที่ การนำเข้า มีมูลค่า 99,975 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 19.2% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 2,852 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 10.8% เช่น  ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว เงาะสด มังคุดสดและมะม่วงสด และสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 8.3% เช่น ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และแผงวงจรไฟฟ้า 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top