Sunday, 19 May 2024
ส่งออก

ส่งออก 9 เดือนโตพุ่ง 10.6% โกย 7.5 ล้านล้านบาท อานิสงส์ 'โควิดซา - เปิดประเทศ - ค้าขายชายแดนคึกคัก'

‘จุรินทร์’ ปลื้มส่งออกไทย ก.ย.65 โต 7.8% มูลค่า 888,371 ล้านบาท เผยส่งออก 9 เดือนแรกปีนี้พุ่ง 10.6% ร่วม 7.5 ล้านล้านบาท ผลบวกโควิดคลี่คลาย-เปิดประเทศ ค้าชายแดนยังดี 9 เดือนแรก บวก 19.3% เกือบ 4.9 แสนล้านบาท คาดปีนี้โตทะลุเป้า

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือนก.ย.65 มีมูลค่า 24,919 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 7.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 4.3.-4.4% ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 25,772 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เดือนก.ย. ไทยขาดดุลการค้า 853.2 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ส่วนในช่วง 9 เดือนปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.65) มูลค่าการส่งออกรวม อยู่ที่ 221,366 ล้านเหรียญสหรัฐ  ขยายตัว 10.6% มูลค่าการนำเข้ารวม อยู่ที่ 236,351 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 20.7% ส่งผลให้ไทย 9 เดือน ไทยขาดดุลการค้า 14,985 ล้านเหรียญสหรัฐ เชื่อว่า การส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยคาดว่าทั้งปีนี้ การส่งออกของไทยจะขยายตัวได้ราว 8% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4% มั่นใจว่าการส่งออกไตรมาส 4 ยังจะขยายตัวได้ดี และยังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทางเศรษฐกิจปีนี้ คาดว่าส่งออกจะโตได้เท่าตัวจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4

สำหรับปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของไทยในเดือน ก.ย.65 ยังขยายตัวได้ดีมาจาก 1.กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของประชาชน เริ่มกลับสู่ภาวะปกติหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย 2.ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์เริ่มคลี่คลาย ทำให้การผลิตสินค้าที่มีชิปเป็นส่วนประกอบสามารถกลับมาผลิตได้ตามความต้องการของตลาด 3.เงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลดีต่อราคาส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โดยเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งคาดว่าปีนี้จะสามารถส่งออกข้าวได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7 ล้านตัน

โดยการส่งออกสินค้าในเดือนก.ย. เมื่อแยกเป็นรายกลุ่ม จะพบว่า สินค้าเกษตร กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน โดยขยายตัว 2.7% ที่มูลค่า 2,005 ล้านเหรียญ สินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี คือ ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป, ผลไม้แช่แข็ง และผลไม้แห้ง, ข้าว สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 โดยขยายตัว 0.8% ที่มูลค่า 1,734 ล้านเหรียญ สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวได้ดีคือ ไอศกรีม, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป,น้ำตาลทราย และอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 เช่นกัน โดยขยายตัว 9.4% ที่มูลค่า 20,234 ล้านเหรียญ สินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีคือ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, อัญมณีและเครื่องประดับ, เครื่องใช้สำหรับเดินทาง, รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ

ทั้งนี้ตลาดส่งออกสำคัญในเดือน ก.ย.นี้ ที่ขยายตัวได้ในระดับสูง 10 อันดับแรก คือ อันดับ 1 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขยายตัว 70% อันดับ 2 สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ขยายตัว 51.5% อันดับ 3 ซาอุดีอาระเบีย ขยายตัว 36.7% อันดับ 4 CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ขยายตัว 26.3% อันดับ 5 สหรัฐอเมริกา ขยายตัว 26.2% อันดับ 6 สหภาพยุโรป ขยายตัว 18% อันดับ 7 ออสเตรเลีย ขยายตัว 15.5% อันดับ 8 แคนาดา ขยายตัว 10.6% อันดับ 9 อาเซียน (5) ขยายตัว 9% และอันดับ 10 ลาตินอเมริกา ขยายตัว 6.3%

'จุรินทร์' สวนฝ่ายค้าน พืชเกษตรไม่ได้ตกต่ำ ยัน ราคาดีทุกตัว ชี้ ส่งออกยังบวก ลั่น!! FTA ไทย กำลังไล่แซงเวียดนาม

(16 ก.พ. 66) ที่ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ขึ้นชี้แจงฝ่ายค้านประเด็นต่าง ๆ ในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (15 ก.พ. 66 เวลา 21.00 น.) โดยนายจุรินทร์ได้กล่าวว่า ประเด็นที่พาดพิงประเด็นแรกที่พูดถึงเงินเฟ้อ และของแพงทั้งแผ่นดิน เป็นประเด็นเดิมที่อภิปรายแล้ว ไทยเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเป็นลำดับ เงินเฟ้อลดลง เดือน ม.ค. 66 เหลือ 5% อัตราเฉลี่ยของโลก IMF คาดว่าปี 66 เงินเฟ้อโลก 6.5% แต่ไทยจะเฟ้อแค่ 2.8% ดีกว่าหลายประเทศ เพราะรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ และเอกชน กำกับราคาต้นทุนการผลิตบางอย่าง ราคาสินค้าดีตามสมควร

แม้ราคาน้ำมัน แก๊ส ค่าไฟยังไม่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่บอกแพงทั้งแผ่นดิน ความจริงราคาสินค้าลดลงเยอะมาก 58 รายการจำเป็น ที่ติดตามทุกวัน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่น หมูเนื้อแดง ที่เคยอภิปรายว่าจะ 300 บาท/กก. พบเฉลี่ย 165 บาท/กก., ผักชีลดลง 27%, กวางตุ้ง ลดลง 23%, ต้นหอม ลดลง 28%, น้ำมันปาล์ม 48-50 บาท/ขวด ลดลง 17%, ชุดตรวจ ATK ลดลง 28%, ฟ้าทะลายโจร ลดลง 63%, ข้าวสาลี ลดลง 21%, ปุ๋ยเคมีทำจากแก๊สธรรมชาตินำเข้า 100% เข้าไปกำกับดูแล แก้ปัญหาดังนี้

1.) ปุ๋ยไม่ขาด นำเข้าจากซาอุฯ หลายแสนตัน
2.) ราคาลดลง เช่น ยูเรีย 46-0-0 ลดลง 25% ประมาณ 400 บาท/กระสอบ, ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ลดลง 30% ลด 300 กว่าบาท/กระสอบ, ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ลดลง 8% 100 กว่าบาท/กระสอบ เป็นต้น ที่บอกแพงทั้งแผ่นดินไม่เป็นอย่างนั้น

และที่สมาชิกอภิปรายว่า พืชเกษตรตกต่ำทุกตัว ตกต่ำมาตลอด ไม่จริง ราคาพืชเกษตเฉลี่ยดีเกือบทุกตัว โดยที่ประกันรายได้ ข้าวเปลือก เกือบ 10,000 บาท/ตัน, ข้าวหอมมะลิ 1,4000-15,000 บาท/ตัน, ข้าวเปลือกเหนียว 11,000-12,000 บาท/ตัน, มันสำปะหลัง ก่อนรัฐบาลนี้ กิโลกรัมละบาทกว่า วันนี้ 3 บาทกว่า/กก.

ล่าสุด ตนพาฟิลิปปินส์มาเซ็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 2,000,000 ตันที่นครราชสีมา ปากช่อง ยิ่งช่วยดีมากราคามีแนวโน้มดีขึ้น ปาล์มน้ำมันก่อนนี้ 10-12 บาท/กก. ตอนนี้ 5 บาทกว่า/กก. ก่อนรัฐบาลนี้ เพียง 2 บาทกว่า/กก., ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สมัยก่อน 6-7 บาท/กก. เดี๋ยวนี้ 12-13 บาท/กก., ผลไม้ยิ่งดี ราคาปีที่แล้ว ทุเรียนหมอนทองเฉลี่ย 145 บาท/กก., มังคุดเกรดส่งออก 60 บาท/กก., ลำไยช่อส่งออก เกรดเอเอ 42.50 บาท/กก. 

และกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์และรัฐบาล ประสานงานเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ดูแลชดเชยไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ไร่ ตนลงนามเข้า ครม.แล้ว รอพิจารณา เงาะโรงเรียน  20.50 บาท/กก., ลองกอง 12.50 บาท/กก., ลิ้นจี่ 75 บาท/กก., มะม่วงน้ำดอกไม้ 45 บาท/กก., ส้มเขียวหวาน 25 บาท/กก., หอมแดงแห้ง 48 บาท/กก. จาก 26 บาท/กก., กระเทียม 78 บาท/กก. ราคาพืชผลการเกษตรดีเกือบทุกตัว ยกเว้นยางพารา ตอนนี้ 45-49 บาท/กก. เนื่องจาก

1.) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว รถยนต์ขายยากขึ้น ขายล้อรถน้อยลง
2.) สถานการณ์โควิดดีขึ้น ใช้ถุงมือยางลดลง แต่รัฐบาลนี้มีประกันรายได้ จ่ายเงินส่วนต่างให้เกษตรกรชาวสวนยาง 3 ปีที่ผ่านมา ชดเชยเงินส่วนต่างให้ แต่ปีนี้ช้าหน่อย ครม.กำลังจะพิจารณาในอีกไม่กี่สัปดาห์ จะชดเชยใช้ส่วนต่างให้ได้ต่อไปเหมือนที่ผ่านมา

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! ศก.ไทย ปี 65 ขยายตัวดีกว่าประเทศคู่ค้า คาด ปี 66 ภาคท่องเที่ยว-ลงทุน หนุนขยายตัวถึงร้อยละ 3.7

(23 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2565 และแนวโน้มปี 2566 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.4 มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกบริการ การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐ ขยายตัวสูงกว่าประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ที่ขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 1.0 ร้อยละ 0.6 และร้อยละ -0.9 ตามลำดับ

ทั้งนี้ การขยายตัวของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.3 ด้านการต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 65,814 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้ามีมูลค่า 62,844 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการผลิต ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าสำคัญ เช่น กลุ่มผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน (ร้อยละ 51.5X ข้าวเปลือก (ร้อยละ 27.6) สุกร (ร้อยละ 42.4) ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 16.5

สาขาการก่อสร้าง กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสร้อยละ 2.6 สาขาที่พักและบริการด้านอาหาร ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องร้อยละ 30.6 ในไตรมาสนี้ มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จำนวน 5.465 ล้านคน รายรับรวมจากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 0.425 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 213.9 โดยเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนั้น อัตราการว่างานอยู่ที่ร้อยละ 1.15 ต่ำกว่าร้อยละ 1.23 ในไตรมาสก่อนหน้า

กรมศุลกากรยึดเฮโรอีน ซ่อนในแขนเสื้อ เตรียมส่งออกนอกประเทศ จำนวน 43.40 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 107.5 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 10.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าว ชั้น 2 อาคาร 1 กรมศุลกากร เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 

‘เมืองผูเอ่อร์’ แหล่งปลูกเมล็ดกาแฟชั้นเยี่ยม รวมมูลค่า ส่งออกกาแฟสดสีเขียวกว่า 2 พันล้านบาท

ปักกิ่ง, 14 มี.ค. (ซินหัว) — สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ในปี 2022 มูลค่าการส่งออกเมล็ดกาแฟสดสีเขียว (green coffee beans) ที่ผลิตในเมืองผูเอ่อร์ของจีนสูงถึง 462 ล้านหยวน (ราว 2.32 พันล้านบาท) โตขึ้นร้อยละ 296.4 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยผูเอ่อร์เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) และเป็นที่รู้จักด้านการเป็นแหล่งผลิตชาผูเอ่อร์ของจีน

เมืองผูเอ่อร์ตั้งอยู่ที่ละติจูด 24 องศาเหนือ และพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,000 – 2,000 เมตร ที่นี่มีสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้น ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีแสงแดดที่เพียงพอ มีปริมาณน้ำฝนอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมทางนิเวศที่ดี นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องปลูกชาแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งปลูกเมล็ดกาแฟชั้นเยี่ยม กระทั่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “นครหลวงแห่งกาแฟ” ของจีน

เมล็ดกาแฟผูเอ่อร์ให้รสชาติที่มีความสมดุล ไม่เปรี้ยวหรือขมเกินไป กลมกล่อมด้วยกลิ่นหอมแบบผลไม้ และมีเนื้อเนียนละเอียด เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทั่วโลก เห็นได้จากยอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

รายงานระบุว่าปลายทางการส่งออกเมล็ดกาแฟสีเขียวของเมืองผูเอ่อร์ได้แก่ ยุโรป อาเซียน อเมริกา ตะวันออกกลาง และภูมิภาคอื่น ๆ

ในปี 2022 เมืองผูเอ่อร์มีพื้นที่ปลูกกาแฟราว 45,267 เฮกตาร์ (ราว 2.28 แสนไร่) และมีผลผลิต 55,700 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในจีน

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองผูเอ่อร์ได้เพิ่มความพยายามหลายด้านเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมกาแฟ เช่น ผลักดันการปลูกกาแฟ การวิจัยและพัฒนา การแปรรูป การขาย และการจัดเก็บกาแฟ

เมืองผูเอ่อร์ยังเปิดตัวโครงการนำร่องด้านประกันสินค้าในปี 2019 เพื่อการกำหนดราคาเมล็ดกาแฟสีเขียวของเมือง โดยมุ่งลดภาระของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้ปลูกกาแฟ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ยั่งยืน

ผลที่ได้รับคือ ผลิตภัณฑ์กาแฟผูเอ๋อร์หลายชนิด เช่น กาแฟสำเร็จรูป เมล็ดกาแฟอบ ถุงกาแฟหูห้อย และกาแฟแคปซูล ต่างได้รับความนิยมและเป็นหนึ่งในสินค้าขายดีทางออนไลน์
 

‘รัฐบาล’ ตั้งเป้า ปี 66 ส่งออก ‘ผลไม้สด-แปรรูป’ 4.44 ล้านตัน  ส่วน ‘ปลาช่อนไทย’ เจ๋ง!! ได้โควตาส่งเวียดนาม 100 ตัน

(17 เม.ย.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบมาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2566 และแผนการส่งออกผลไม้ไทย โดยตั้งเป้าส่งออกผลไม้สดและแปรรูป 4.44 ล้านตัน และยินดีที่มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ จับคู่ธุรกิจระหว่างกัน ทำให้ 'ปลาช่อนไทย' ได้รับความนิยมในประเทศเวียดนาม และได้โควต้าส่งออก 100 ตัน 

นายอนุชา กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนหารือร่วมกันเพื่อเตรียมมาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2566 เตรียมตลาดล่วงหน้าเพื่อรองรับผลไม้ ด้วยการใช้ 22 มาตรการเชิงรุก ที่ครอบคลุม 4 ด้าน ตั้งแต่ การผลิต การตลาดในประเทศ รณรงค์การบริโภคผลไม้ไทย เจาะตลาดใหม่ในต่างประเทศ ตลอดจนด้านกฎหมายที่มุ่งเจรจามาตรการทางการค้าเพื่อลดอุปสรรคการส่งออกผลไม้ไปยังประเทศคู่ค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการส่งออกผลไม้สดและแปรรูปไว้ที่ 4.44 ล้านตัน เพิ่มจากปีก่อน 10% โดยเฉพาะด้านการส่งออกทุเรียน ซึ่งในปี 2566 นี้ ตั้งเป้าการส่งออกทุเรียนให้ได้ที่ 100,000 ล้านบาท

‘ทางรถไฟจีน-ลาว’ หนุนส่งออก ‘ทุเรียนไทย’ สู่ตลาดจีน เพิ่มกำลังการขนส่งรวดเร็วยิ่งขึ้น สร้างรายได้มหาศาล

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัว, แหลมฉบัง/คุนหมิง รายงานว่า ขบวน ‘รถไฟผลไม้’ บรรทุกทุเรียนและมังคุดของไทย จำนวน 23 ตู้คอนเทนเนอร์ ได้เดินทางถึงนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
.
รถไฟขบวนนี้มีต้นทางจากแหลมฉบัง ท่าเรือแห่งสำคัญของไทย และวิ่งถึงจุดหมายปลายทางในจีนโดยผ่าน ‘ทางรถไฟจีน-ลาว’ ซึ่งปัจจุบันกำลังกลายเป็น ‘ทางด่วน’ ของบรรดาผู้ส่งออกชาวไทยในการเข้าถึงตลาดจีนอย่างรวดเร็ว
.
อรทัย เอื้อตระกูล วัย 67 ปี อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า เมื่อก่อนทุเรียนส่วนใหญ่ถูกส่งออกสู่จีนทางถนนและทางทะเล ซึ่งเป็นเส้นทางที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะหลายปัจจัยอย่างสภาพอากาศเลวร้าย ทำให้บางครั้งใช้เวลาขนส่งนานกว่า 20 วัน
.
ทว่าปัจจุบัน ทุเรียนไทยถูกขนส่งถึงคุนหมิงภายใน 3 วัน ด้วยอานิสงส์จากการขนส่งแบบห่วงโซ่ความเย็นบนทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งอรทัยแสดงความหวังว่าจะช่วยให้ผู้บริโภคชาวจีนได้เพลิดเพลินกับทุเรียนสดใหม่และสุกอร่อยเหมือนกับชาวไทยเพิ่มขึ้น

ด้าน นที ชวนสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กล่าวว่า ปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนแห่งสำคัญที่สุดของไทย และหวังว่าผู้บริโภคชาวจีนจะได้ชิมทุเรียนรสชาติดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยขยับขยายตลาดทุเรียนไทย

อนึ่ง ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของไทย ระบุว่า จีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนไทยขนาดใหญ่สุดในปี 2022 ครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 96 ของปริมาณการส่งออกทุเรียนทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 3.09 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 1.06 แสนล้านบาท)

บริษัท ไทยแลนด์ รอยัล ฟาร์ม กรุ๊ป จำกัด (Thailand Royal Farm Group) ได้ดำเนินธุรกิจส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่มีชื่อเสียงของประเทศ เป็นเวลานานมากกว่า 16 ปีแล้ว

วีริศา วนนุรักศ์สกุล ซีอีโอของบริษัทฯ กล่าวว่า ความต้องการจากตลาดจีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้ราคาขายส่งทุเรียนพุ่งสูงไม่หยุด และรายได้จากงานบรรจุหีบห่อแบบจ้างงานชั่วคราวในช่วงฤดูส่งออกกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนท้องถิ่นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ทางรถไฟจีน-ลาว ได้เปิดเส้นทางใหม่สำหรับการส่งออกทุเรียนไทย และบรรเทาปัญหากำลังการขนส่งไม่เพียงพอที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ รวมถึงการขนส่งทางถนนและทางทะเลที่ไม่มีความแน่นอน

กนกวรรณ สุวรรณกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดทางรถไฟจีน-ลาว ได้ส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรางของไทย โดยปริมาณการขนส่งสินค้าจากไทยสู่ลาวเพิ่มขึ้นจาก 500-600 ทีอียู (TEU: หน่วยนับตู้คอนเทนเนอร์ยาว 20 ฟุต) ในปี 2019 เป็น 2,000 ทีอียูในปี 2022 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 3,000 ทีอียูในปี 2023

บริษัท สปีด อินเตอร์ ทรานสปอร์ต จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจส่งออกและขนส่งผลไม้มากกว่า 20 ปี ได้ตัดสินใจพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรางอย่างจริงจัง หลังจากทดลองดำเนินงานมากว่าหนึ่งปี

พานเจียวหลิง ซีอีโอของบริษัทฯ กล่าวว่ามีการซื้อตู้คอนเทนเนอร์แบบห่วงโซ่ความเย็นสำหรับขนส่งสินค้าพร้อมติดตั้งระบบจีพีเอส (GPS) ในปีนี้ ซึ่งช่วยระบุตำแหน่งและเฝ้าติดตามอุณหภูมิแบบเรียลไทม์จากระยะไกล รวมถึงส่งข้อมูลโลจิสติกส์ให้ลูกค้าได้อย่างทันท่วงที

‘จีน’ ส่งออก ‘ลูกปลาจาระเม็ด’ ล็อตแรก 1 ล้านตัวสู่มาเลเซีย เสริมความมั่นคงด้านการค้าในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อวันที่ (6 พ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, ไห่โข่ว มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เดินเรือขนส่งลูกปลาจาระเม็ดที่เพาะเลี้ยงในไห่หนาน จำนวน 1 ล้านตัว มุ่งหน้าสู่จุดหมายในประเทศมาเลเซีย เมื่อวันศุกร์ (5 พ.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการส่งออกปลาจาระเม็ดครั้งแรกของไห่หนานในปีนี้

‘หยางกัง’ ผู้ทำงานร่วมกับสถานีตรวจสอบขาเข้า-ขาออกของเมืองซานย่า กล่าวว่า สถานีฯ ให้บริการพิธีการศุลกากรแบบครบวงจรสำหรับการจัดส่งลูกปลานี้ โดยกระบวนการผ่านพิธีการศุลกากรที่รวดเร็วช่วยลดต้นทุนของบรรดาผู้ส่งออก

‘OMD2–DITP’ จัดสัมมนายกระดับการค้าระหว่างประเทศ ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย สู่เวทีการค้าในตลาดโลก

เมื่อไม่นานนี้ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดสัมมนาการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในภูมิภาค ภายใต้แนวคิด “เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก” (The Key to Connext) ในโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยด้วยข้อมูลการค้าตลาดภูมิภาคอเมริกา ลาตินอเมริกา ยุโรป CIS แอฟริกา และตะวันออกกลาง จัดโดย สำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 หรือ สพต.2 หรือ ‘OMD2’ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

ซึ่งเป็นการสัมมนาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถ่ายทอดผ่านระบบโปรแกรมผ่านระบบ ZOOM Application โดย ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2566 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย และผลักดันการขยายการค้าและการลงทุนของไทยในตลาดโลก
.
โดยครั้งที่ 1 เป็นการสร้างความรู้ให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ได้ อาทิ การเสริมสร้างศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศในเรื่องการใช้ข้อมูลการค้า แนวโน้มตลาด มุมมองเศรษฐกิจ กลุ่มสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัว พฤติกรรมผู้บริโภค ในปี 2023 แนวโน้มการค้าโลก การแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามระดับต่างๆ เทคนิคการเจาะตลาด การเลือกตลาดให้เหมาะสมกับสินค้า โอกาสในการเจรจาการค้าในยุค Digital ทั้งเทคนิค ขั้นตอน วิธีการที่สำคัญในการเตรียมตัวสู่การเจรจาการค้าออนไลน์ รวมทั้งแนะนำสำนักงานส่งเสริมการค้าของไทยในต่างประเทศทั้ง 58 แห่ง ที่คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวก แนะนำข้อมูลการค้าต่างๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างโอกาสทางการค้า ผ่านกิจกรรมต่างๆ

ครั้งที่ 2 เป็นการแนะนำการเสนอเรื่องราวของสินค้าอย่างไรให้ตรงใจผู้บริโภค การปรับแต่งเรื่องเล่าสำหรับตลาดต่างๆ การสร้างโอกาสผ่านการเล่าเรื่อง การค้นหาจุดเด่น บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องคำนึงถึงอะไร กลยุทธ์การตลาดกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก เลือกวิธีการสื่อสาร ไปจนถึงการนำเสนอรูปแบบสินค้า เทคนิคต่างๆ รวมทั้งการติดตามผลการเจรจาการค้าหรือกลยุทธ์อื่นๆ ที่เหมาะสม โดยวิทยากรที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ในวงการธุรกิจเป็นผู้บรรยายแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงาน รวมทั้งสิ้นกว่า 200 คน

นอกจากจะยกระดับผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการรายใหม่ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ยังมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลหรือกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของ สพต. 2 หรือ OMD2 สำหรับผู้ที่สนใจการสัมมนาหรือกิจกรรมที่จะช่วยยกพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศในด้านต่างๆ สามารถติดตามข่าวสาร และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ไทย ขึ้นแท่นส่งออกปลากระป๋องเบอร์ 2 ของโลก หลัง 5 เดือนแรกปี 66 มูลค่าพุ่ง 1,145 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยส่งออกสินค้าปลากระป๋องและแปรรูป ไปตลาดคู่เจรจา FTA ช่วง 5 เดือนปี 66 มีมูลค่าสูงถึง 1,145.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 15.7% ขึ้นแท่นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองแค่จีนเท่านั้น

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ติดตามสถานการณ์สินค้าปลากระป๋องและแปรรูป พบว่าเป็นสินค้าที่มีศักยภาพของไทย โดยปัจจุบันไทยส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน และอันดับ 1 ของอาเซียน และในช่วง 5 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยส่งออกปลากระป๋องและแปรรูปไปตลาดโลกแล้วมูลค่า 1,145.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออกไปตลาดคู่ FTA มูลค่า 351.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.7% ตลาดคู่ FTA ที่ขยายตัวต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่น เพิ่ม 22.7% ชิลี เพิ่ม 96.7% เปรู เพิ่ม 183.1% จีน เพิ่ม 25.7% กัมพูชา เพิ่ม 11.9% และฟิลิปปินส์ เพิ่ม 138.1%

ทั้งนี้ เมื่อเจาะลึกการส่งออกสินค้าปลากระป๋องและแปรรูปไปตลาดคู่ FTA พบว่า ปลาทูน่ากระป๋อง เพิ่ม 17.2% คิดเป็นสัดส่วน 51.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไปตลาดคู่ FTA ปลาแปรรูป เช่น ปลาทูน่าที่ทำให้สุกแล้ว คาร์เวียร์ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล เพิ่ม 18.2% สัดส่วน 32.6% ปลาซาร์ดีนกระป๋อง เพิ่ม 8.4% สัดส่วน 4.6% และปลากระป๋องอื่นๆ เพิ่ม 6.2% สัดส่วน 11.1%

ส่วนในปี 2565 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกปลากระป๋องและแปรรูปไปตลาดคู่ FTA มูลค่า 931.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 4.6% ตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ชิลี และเกาหลีใต้ เป็นต้น

ปัจจุบันไทยมี FTA กับคู่ค้า 18 ประเทศ โดยคู่ค้า 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู และฮ่องกง ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าปลากระป๋องและแปรรูปจากไทยทุกรายการแล้ว เหลือเพียง 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ที่ลดภาษีนำเข้าสินค้าปลากระป๋องและแปรรูปบางส่วนให้ไทย เช่น ญี่ปุ่น เก็บภาษีนำเข้าปลาซาร์ดีน แมคเคอเรลกระป๋อง และไข่ของปลาค็อด อัตรา 5% เกาหลีใต้ เก็บภาษีนำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋อง อัตรา 16% ทูน่ากระป๋อง ทั้งแบบในน้ำมันและต้มสุกแล้ว อัตรา 20% ปลาไหลแปรรูป และฟิชเพสต์ อัตรา 5% และอินเดีย เก็บภาษีนำเข้าทูน่าทุกประเภท และคาร์เวียร์ อัตรา 30% และภายใต้ความตกลง RCEP เกาหลีใต้ จะทยอยลดภาษีนำเข้าทูน่าต้มสุกในกระป๋องให้ไทยจนเหลือศูนย์ในปี 2579

“ไทยมีศักยภาพการผลิตปลากระป๋องและแปรรูปเป็นยอมรับจากทั่วโลก จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่มีความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น และไทยมี FTA จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกสินค้าปลากระป๋องและแปรรูปของไทยขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรใช้ประโยชน์จาก FTA เป็นเครื่องมือสร้างแต้มต่อขยายส่งออกสินค้าไปตลาดต่างประเทศ” นางอรมนกล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top