Wednesday, 24 April 2024
ประวัติศาสตร์

WHAT...IF อะไรจะเกิดขึ้น...ถ้าสัญญาปางหลวงสำเร็จ

วันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่รำลึกถึงเหตุการณ์ที่นายพล ออง ซาน และผู้นำในการเรียกร้องเอกราชคนอื่นๆ คือรัฐมนตรี 6 คน และเจ้าหน้าที่รัฐบาล 2 คน ถูกลอบสังหารระหว่างการประชุมสภาก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ 6 เดือน ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ก่อนวันที่นายพล เนวิน จะยึดอำนาจในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 

วันนี้เอย่ามาลองคิดดูว่า หากวันนั้นไม่เกิดรัฐประหารของนายพลเนวิน และในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ไม่มีการสังหารหมู่และการเซ็นสัญญาปางหลวงหรือปางโหลงสำเร็จในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 และมีการดำเนินไปตามสนธิสัญญากำหนดไว้อะไรจะเกิดขึ้น

ก่อนอื่นเราควรจะมาทราบที่มาที่ไปของที่มาของสนธิสัญญาปางหลวงก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนจะมีวันนี้ ในเว็บไซต์ รักเมืองไตย ได้บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของสนธิสัญญาปางหลวงไว้ โดยเหตุการณ์ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 กษัตริย์ธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกกองทัพอังกฤษบุกเข้าจับกุมตัวและในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2429 กองทัพอังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของแผ่นดินพม่าไว้หมดแล้ว 

ซึ่งในเวลานั้น รัฐฉานของชาวไทยใหญ่ยังไม่ได้ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน จวบจนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษจึงเดินทางมายึดรัฐฉาน และประกาศให้รัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งในรัฐอารักขาของอังกฤษ ในช่วงที่รัฐฉานอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ได้มีการแบ่งแยกการปกครอง และงบประมาณของรัฐฉานกับพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน 

โดยในสมัยนั้น พม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อต้านอังกฤษมาโดยตลอด ขณะที่เจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ ได้ให้ ความร่วมมือกับอังกฤษ รวมทั้งให้การช่วยเหลืออังกฤษในการสู้รบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ  2 เป็นอย่างดี

หลังจากที่แผ่นดินพม่าและไทยใหญ่ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ นานกว่าครึ่งศตวรรษ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2482 นายพลอองซานจึงจัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้ดินขึ้น เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยที่นายพลอองซาน ทำหน้าที่เลขาธิการของกลุ่ม นายพลอองซาน พยายามหาทางติดต่อกลุ่มกับคอมมิวนิสต์กลุ่มต่าง ๆ 

โดยหลังจากเดินทางกลับจากอินเดียมายังกรุงย่างกุ้ง เขาได้แอบเดินทางไปประเทศจีน แต่เนื่องจากลงเรือผิดลำจึงไปถึงเกาะ  อะมอย ( Amoy ) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในการครอบครองของญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัว นายพลอองซานไปยังเมืองโตเกียว หลังจากนายพลอองซานกลับจากญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมสมัครพรรค พวกจำนวน 30 คนเดินทาง ไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น
ต่อมา วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2484 อองซานจึงจัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า ( B.I.A : Burma Independence Army ) ขึ้นที่กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ 2485 นายพลอองซานเริ่มนำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่น โจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษ โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาในแผ่นดินพม่าและรัฐฉาน และในเวลาเดียวกันนี้ ทางเจ้าฟ้ารัฐฉาน ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษ ไปยังอินเดียและพม่า 
.
ต่อมา ญี่ปุ่นได้ทำการ ทารุณกรรมประชาชนในรัฐฉาน เช่นเดียวกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่างๆ ในเอเชีย จวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ญี่ปุ่นจึงถอยทัพกลับไป และในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษ ได้จัดทำหนังสือข้อตกลง ที่ชื่อว่า "เตหะราน" (Teheran-Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า "หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของ ทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด" เมื่อสงครามสิ้นสุดลงนายพลอองซานจึง พยายามติดต่อเข้าพบผู้นำรัฐบาลอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืน


 

ในช่วงเวลาที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ที่ไม่ใช่ชาวไทยใหญ่) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้ง และซึมซับรับเอาแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงเริ่มมีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน โดยนักศึกษากลุ่มนี้ ได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม "ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช" ของนายพลอองซาน และตกลงรับเอาภาระหน้าที่บ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และหันมาเข้าร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของนายพลอองซาน โดยอาศัยรัฐฉานเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ 

แต่เนื่องจากเจ้าฟ้ารัฐฉานเป็นมิตรกับอังกฤษมาโดยตลอด โดยในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่า "ขอให้รัฐฉาน อยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อนและอังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา, การเมือง, การปกครอง , การติดต่อต่างประเทศ - ในประเทศ, การเศรษฐกิจ และการคมนาคมในรัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง"

สำหรับนายพลอองซานในช่วงแรก เป็นผู้มีบทบาทชักจูงทหารญี่ปุ่น ให้เข้ามาในพม่าและรัฐฉาน แต่ในตอนสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2488 กลับนำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น ทางพม่าจึงได้ถือเอาวันนี้ เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ทางด้านเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และในดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 สองเดือนถัดมา เจ้าหญิงเมืองป๋อน ได้ทรงสิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงเดินทางมาร่วมงานพระศพ ทำให้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกันว่า "น่าจะจัดให้มีการประชุมของเจ้าฟ้าทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือ เกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉาน" และต่อมาวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 จึงได้มีการประชุมของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ขึ้นที่ เมืองกึ๋ง 

โดยที่ประชุม มีมติจัดตั้ง "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉาน  ในแนวทางระบอบประชาธิปไตย และเพื่อทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีดินแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่า สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป 

นอกจากนี้ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ยังมีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านสร้างเมืองกับรัฐคะฉิ่นและรัฐชินซึ่งเป็นรัฐใกล้เคียง ดังนั้นจึงตกลงเห็นควรเชิญรัฐคะฉิ่นและรัฐชิน มาเข้าร่วมเป็นสหพันธรัฐ โดยในเวลาต่อมาเมื่อวันที่  20 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่, รัฐคะฉิ่น และรัฐชิน ได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่เมืองปางหลวง หรือ ปางโหลง โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง "สหพันธรัฐเทือกเขา และสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา(Supreme Council of the United Hill People : S.C.O.U.H.)" ขึ้น และกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภา รัฐละ 6 คน รวม 18 คน โดยเริ่มจัดตั้งภายในปี พ.ศ. 2490 และให้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งที่เมืองปางหลวง การประชุมในครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการอยู่ร่วมกัน แบบสหพันธรัฐในดินแดนแห่งนี้

แต่เนื่องจากนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่า ได้ทำการแจ้งข่าวการประชุมร่วม 3 รัฐ ครั้งนี้ ให้ทางพม่าทราบ   ทางการพม่าซึ่งนำโดย นายอูนุและนายอูจ่อ จึงเดินทางมาเข้าร่วมประชุมด้วย แม้ว่าการประชุมครั้งนี้ตัวแทนจากพม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ในที่ประชุม ก็ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่า  "ต้องการจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไม่มีพม่ารวมอยู่ด้วย"  ดังนั้น ตัวแทนชาวพม่าที่เข้าร่วมประชุม จึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือลงมติใดๆ ทั้งสิ้น

ต่อมา วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง  "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" (EX-ective Committee of the Council of Shan State Saophas) ขึ้น ตามมติที่ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋ง ขณะที่ทางฝ่ายพม่า ต้องการให้ไทยใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขา ทำการจัดตั้งกลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ขึ้นเมื่อวันที่  20 กันยายน พ.ศ. 2489 โดยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดที่จะเรียกร้องเอกราชร่วมกับพม่า และล้มล้างการปกครองระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ" ได้พยายามเรียกร้องว่า "หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะเข้าร่วมกับพม่า" โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด 

ซึ่งในขณะเดียวกันนายพลอองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษ และกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเข้าร่วมกับพม่าด้วย ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา นายพลอองซานได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยใหญ่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ในเมืองตองจี ผู้ที่เข้าฟังการปราศรัย ส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยนายพลอองซานพยายามเรียกร้องให้ชาวไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับชาวพม่า 

และในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายพลอองซานได้ติดต่อขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้า ที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉาน โดยพยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้าเหล่านั้น เห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษร่วมกับพม่า แต่การเจรจาไม่เป็นผล วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายพลอองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุย กับนายแอตลี (Attlee) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่ลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า   

ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวี และจัดส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึง นายแอตลี มีใจความว่า "นายพลอองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง" โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2490 

จากนั้นในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2490 อองซานเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 - 26 มกราคม พ.ศ. 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่าและรัฐฉานร่วมกัน แต่นายแอตลีได้ตอบปฏิเสธ เนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยใหญ่ จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า

เมื่อนายอูนุทราบว่า ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้ส่งโทรเลขถึงนายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2490 นายอูนุจึงสั่งให้คนของเขา ไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ส่งโทรเลขสนับสนุนให้อองซาน เป็นตัวแทนของชาวไทยใหญ่ถึงนายแอตลีบ้าง โดยนายแอตลีได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2490 ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลง อองซาน-แอตลี (Aungsan Attlee Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่ 8 ได้กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า "ให้นายพลอองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ปางหลวง ในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้" และนายแอตลีได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ, ตัวแทนรัฐคะฉิ่น, ตัวแทนรัฐชิน ให้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับนายพลอองซานในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขา ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองปางหลวง

การประชุมที่เมืองปางหลวง เป็นมติที่ตกลงจากการประชุมครั้งก่อน เมื่อปี 2489 โดยที่ประชุมได้ตกลงให้จัดการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาอีกครั้งในปีต่อมา คือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่ เมืองปางหลวงอีกครั้งหนึ่ง โดยงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด  

หลังการประชุมครั้งนี้ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 หรือสี่วันต่อมาทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ และประชาชนชาวไทยใหญ่ได้มีมติจัดตั้ง "สภาแห่งรัฐฉาน" (Shan State Council) ประกอบด้วยตัวแทนเจ้าฟ้า 7 คน และตัวแทนจากประชาชนจำนวน 7 คน และให้ "สภาแห่งรัฐฉาน" เป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยใหญ่ทั้งปวง พร้อมทั้งมีมติประกาศใช้ "ธง" ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง, เขียว, แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง  เป็นธงชาติของรัฐฉานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

ซึ่งสีเหลืองหมายถึงการเป็นชนชาติผิวเหลืองและพุทธศาสนา สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติซึ่งประเมินค่าไม่ได้ของแผ่นดินรัฐฉาน และยังหมายถึงความเป็นชนชาติที่รักความสงบร่มเย็นไม่รุกรานใคร สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวของชนชาติรัฐฉาน และวงกลมสีขาว หมายถึงความมีสัจจะ ซื่อสัตย์ และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ดั่งเช่นดวงพระจันทร์ของชนชาติรัฐฉาน 

และในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 18.00 น. นายพลอองซานได้เดินทางมาถึงเมืองปางหลวงโดยไม่มีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย โดยนายพลอองซานมาในครั้งนี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าทางไทยใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น ที่มีการพูดว่า “นายพลอองซานเป็นผู้จัดการประชุมสัญญาปางหลวงนั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด 

ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 10.00 น. ตัวแทนไทยใหญ่, ชิน และคะฉิ่น ได้จัดตั้ง "สภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา" (S.C.O.U.H.P)  ขึ้นตามมติการประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2489 โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน (ไทยใหญ่), รัฐชิน และรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คนรวมเป็น 18 คน และให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของ สหพันธ์รัฐเทือกเขา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 11.30 น. นายพลอองซาน ได้กล่าวในที่ประชุม เรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแน่นเช่นเดิม และในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้นระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของนายพลอองซาน กับทหารชุดรักษาความปลอดภัยของเจ้าฟ้าส่วยแต๊ก แห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ทั้งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้กล่าวในที่ประชุม ครั้งนี้ว่า "ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด" ส่วนตัวแทนของรัฐคะฉิ่น ก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแดนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน ซึ่งในอดีตดินแดนของรัฐคะฉิ่น เป็นดินแดนของรัฐฉาน  แต่ต่อมาอังกฤษได้แยกเมืองกอง, เมืองยาง ออกไปเป็นรัฐคะฉิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง เป็นการชั่วคราวเท่านั้น  ซึ่งทางนายพลอองซานได้แสดงอาการโกรธ และจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายนักศึกษาของกลุ่ม “เพื่อเอกราชรัฐฉาน” ซึ่งเป็นแนวร่วมกับทางนายพลอองซานได้ขอร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ 

ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ที่ประชุมได้มีมติตกลงที่จะร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น  หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการตัดสินใจทุกอย่าง ดังนั้นเป้าหมายที่ต้องร่วมกันครั้งนี้ จึงเพื่อให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรองขอเอกราชจากอังกฤษเท่านั้น จากนั้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่างๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (Panglong Agreement) ซึ่งนายพลอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 มีเนื้อหาสาระทั้งหมด 9 ข้อ แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงได้ท้วงถาม ซึ่งอองซานได้ตอบว่า "เรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพจะมีผลดีมากกว่าเขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง" ด้วย 

เหตุนี้สิทธิการแยกตัวของรัฐต่างๆ ที่ร่วมลงนามจึงไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาปางโหลง แต่มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศพม่า โดยสาระสำคัญของสนธิสัญญาปางหลวงในเว็บไซต์ รักเมืองไตย มีดังต่อไปนี้

ฤา.....เมียนมาจะล่มสลายเหมือนศรีลังกา

ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา เอยาได้ยินเสียงแว่วออกมาจากฝั่งสามนิ้วชาวเมียนมาก็ดี ชาวไทยก็ดีว่า อีกไม่นานเมียนมาจะล่มสลายแบบเดียวกับศรีลังกา เรื่องแบบนี้มันสามารถปลุกกระแสได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารของเมียนมา เอาเป็นว่าก่อนที่จะที่ทุกคนจะเชื่อหรือไม่ วันนี้เอยามาหาคำตอบให้ทุกคนได้รู้กัน

ก่อนจะพูดถึงว่าเกิดอะไรขึ้นกับตระกูลราชปักษาที่ทุกคนทราบกันดีว่าเหตุของการล่มสลายของศรีลังกาเราควรมาทราบก่อนว่าตระกูลราชปักษานั้นขึ้นมามีอำนาจได้อย่างไร ก่อนอื่นๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าในอดีตศรีลังกามีคนอาศัยอยู่ 2 ชาติพันธุ์นั่นคือ ชาวสิงหลที่เป็นชาวพื้นเมือง อีกชาติพันธุ์คือชาวทมิฬที่ย้ายถิ่นฐานมาจากอินเดียใต้ และมีปัญหาการกระทบกระทั่งระหว่างชนชาติมาตลอดตั้งแต่สมัยก่อนยุคล่าอาณานิคม จนถึงยุคล่าอาณานิคม แม้จะมีการเปลี่ยนมือกันปกครองจากโปรตุเกสเป็นฮอลันดาและอังกฤษในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในยามที่อังกฤษปกครองเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยร้าวระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬมากที่สุด จนถึงวันที่ปลดปล่อยเอกราชออกจากอังกฤษ ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬมาเป็นเวลานับศตวรรษ โดยชาวทมิฬต้องการที่จะแยกดินแดนทางภาคเหนือและตะวันออกของประเทศตั้งเป็น มาตุภูมิทมิฬ จึงได้ก่อตั้งกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม หรือ LTTE เพื่อเป็นกองกำลังในการต่อสู้กับรัฐบาล โดยใช้วิธีการก่อการร้าย ระเบิดพลีชีพ และการลอบสังหาร โดยพุ่งเป้าไปที่หน่วยทหาร ผู้นำทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นชาวสิงหล จนกระทั่งนอร์เวย์เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยนำไปสู่การลงนามความตกลงหยุดยิงในปี 2545 ซึ่งตามมาด้วยการเจรจาสันติภาพที่มีการประชุมมาทั้งหมด 8 ครั้ง โดยการเจรจาฯ จัดขึ้นที่ไทย 3 ครั้ง (กันยายน/ตุลาคม 2545 และมกราคม 2546) การเจรจาฯ ครั้งสุดท้ายจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 - 29 ตุลาคม 2549 ที่นครเจนีวา ก็ไม่ปรากฏผลที่สำคัญใดๆ อาจกล่าวได้ว่า การเจรจาฯ ที่ผ่านไม่สามารถบรรลุผลใด ๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนความจริงใจที่จะยุติปัญหาทาการเมืองอย่างถาวร แม้จะได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากประเทศตะวันตกก็ตาม

จนกระทั่งการเลือกตั้งประธานาธิบดี นาย Mahinda Rajapaksa ที่ปัจจุบันได้เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนจะถูกเปลี่ยนออกในการปรับ ครม. ก่อนจะเกิดการล่มสลายของศรีลังกา โดยนาย Mahinda ได้ชูนโยบายในการกวาดล้างกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลมจนถูกทำลายสิ้นซากในเดือนพฤษภาคม 2009 ภายใต้การนำของ Nandasena Gotabaya Rajapaksa ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เขาได้ใจชาวสิงหลในศรีลังกาและเป็นผลให้ โคฐาภยะ ราชปักษา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ตั้งแต่ปี 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 - 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2022

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าวันนี้ศรีลังกาได้ประกาศเป็นประเทศล้มละลายแล้วโดยชนวนเหตุมาจากการกู้หนี้ยืมสินต่างประเทศมาใช้อย่างอู้ฟู่โดยรายได้ของศรีลังกา จนเมื่อประเทศต้องผจญกับวิกฤตทับซ้อนโดยเริ่มจาก วิกฤตการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้รายได้หลักของศรีลังกาขาดไป เมื่อต้องมาพบกับวิกฤตการณ์ที่ราคาอาหารและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงเมื่อ โคฐาภยะ ราชปักษา ได้ดำเนินนโยบายการลดการเก็บภาษีในกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม ทำให้รายได้ประเทศลดลงในขณะที่รายจ่ายพุ่งสูงขึ้นจนนำมาถึงจุดที่ล้มละลายในที่สุด

7 ทศวรรษ ฤาสงครามกะเหรี่ยงอันยาวนาน จะจบในยุคของ 'นายพลเนอดา'

ฤาสงครามกองทัพกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมาที่รบกันมาอย่างยาวนาน จะจบลง!!

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าในอดีต (เมียนมา) กับบรรดาชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เมื่อสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (เมียนมา) ได้รับเอกราชจากอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร แต่โครงสร้างของรัฐบาลในพม่าขณะนั้นเองยังคงอ่อนแอ 

กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ชาวกะเหรี่ยงจำนวนกว่า 400,000 คน ได้ประท้วงโดยสงบเพื่อแสดงความสามัคคี ในการจัดตั้งรัฐกะเหรี่ยง 

สามเดือนหลังจากได้รับเอกราช พรรคคอมมิวนิสต์พม่า เริ่มก่อการกบฏจับอาวุธขึ้นต่อสู้ และกลุ่มกะเหรี่ยงที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนได้เริ่มการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช 

การเกิดขึ้นขององค์กรป้องกัน แห่งชาติกะเหรี่ยง เช่น กองทัพสหภาพกะเหรี่ยง (Karen National Union : KNU) ทำให้ความร่วมมือของชาวกะเหรี่ยงต่อรัฐบาลลดลง และความตึงเครียดเก่าๆ ระหว่างชาวกะเหรี่ยงและรัฐบาลเกิดขึ้นอีก 

การสู้รบระหว่างทหารกะเหรี่ยงและพม่าเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลสันนิบาตเสรีภาพฯ พยายามเจรจากับกลุ่มกบฏ คอมมิวนิสต์ และเปิดทางให้กลุ่มคอมมิวนิสต์ เข้าร่วมในการเมืองระดับชาติ 

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2491 ได้มีการประชุมเพื่อหาทางแก้ไข ปัญหาที่กองทัพกะเหรี่ยงเติบโตขึ้น และหยุดการก่อกบฏของฝ่าย คอมมิวนิสต์ 

ในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ระหว่างกะเหรี่ยงและพม่า เพราะทั้งสองฝ่ายต่างต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นมากในพม่า แต่ละกลุ่มต่างมีกำลังทหารเป็นของตนเอง และพยายามเพิ่มพื้นที่ปกครองโดยใช้ความรุนแรง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ...

กลุ่มฝ่ายขวาและนิยมตะวันตก ได้แก่ กองทัพกะเหรี่ยง องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง กองโจรสันติภาพ กะเหรี่ยง ตำรวจ และกองกำลังสหภาพส่วนใหญ่ 

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายซ้าย และต่อต้านประเทศอังกฤษ ได้แก่ รัฐบาลสันนิบาตเสรีภาพฯ ทหารพม่า บางส่วนในกองทัพ ซึ่งเป็นตำรวจที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านกองทัพกะเหรี่ยงและ ตำรวจที่นิยมฝ่ายขวา 

กระทั่งในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 เกิดความ รุนแรงขึ้นทั่วพม่า เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษบางส่วนที่อยู่ในพม่าตะวันออก สนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศพม่า ในขณะที่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ประกาศสงครามกับรัฐบาลทหารพม่า 

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 ความขัดแย้งได้ดำเนินเรื่อยมา 

>> จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็นับ 74 ปีแล้ว 

จนกระทั่งเมื่อมีการรัฐประหารของนายพลมินอ่องหล่าย พม่าหรือเมียนมา ก็ยังใช้วิถีเช่นเดิม คือ การเจรจาหยุดยิง แม้ว่าทาง KNU จะปฏิเสธที่จะเข้าเจรจาสันติภาพตามคำเชิญของกองทัพเมียนมา และมีการสู้รบอย่างต่อเนื่องของกองทัพกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมา รวมถึงการเป็นฐานพักพิงและฝึกการต่อสู้ให้กับกลุ่ม PDF ที่เลือกจะจับอาวุธสู้กับกองทัพ

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 จุดจบแห่งรัชสมัยที่มาก่อนเวลาอันควร เหตุไม่ประนีประนอม ‘กาลเวลา-รัฐสภา’ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ 1600-1649

ถ้าท่านมีโอกาสได้อ่านพระราชประวัติของพระเจ้าแผ่นดินของอังกฤษจะเห็นว่าหลายพระองค์มีวิถีชีวิตที่ถูกเอ่ยขานถึงด้วยเรื่องราวที่ค่อนข้างแปลกแต่จริงอย่างเช่นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 หรือพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 มักจะถูกนำมาเล่าถึงกันบ่อยๆ แต่ยังมีอีกพระองค์หนึ่งที่เส้นทางชีวิตของพระองค์ท่านก็ประหลาดและน่าฉงนอยู่มากทีเดียวและจุดจบของพระองค์ที่ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นด้วย

กษัตริย์พระองค์นั้นคือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ชีวิตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 มีความขัดแย้งกันหลายอย่างแม้แต่ดิฉันเองเมื่อได้อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวพระราชประวัติของพระองค์ก็อดที่จะตื่นตาตื่นใจไปกับความเป็นไปของชีวิตของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 สิ้นพระชนม์มาแล้วเป็นเวลา 373 ปี แต่เรื่องราวของพระองค์ก็ยังเป็นที่กล่าวถึงจนปัจจุบัน และแม้ระยะเวลาการครองราชย์สมบัติของพระองค์จะไม่ยาวนักเพียง 24 ปี แต่ก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้รัชสมัยของพระองค์วุ่นวาย, เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับพระเจ้าแผ่นดินจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่างผู้ที่สนับสนุนกษัตริย์กับผู้ต่อต้าน, หรือความขัดแย้งทางศาสนา, ความกระด้างกระเดื่องของสก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์และการรีดนาภาษีจากประชาชน จนท้ายที่สุดพระองค์ต้องถูกตัดพระเศียรเพราะความผิดฐานกบฏ และทำให้อังกฤษต้องว่างเว้นการมีพระเจ้าแผ่นดินไประยะหนึ่ง คงพูดได้ว่าตลอดเวลา 24 ปีที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ปกครองแผ่นดินนั้นประเทศวุ่นวายที่สุด

เพื่อให้ท่านได้เข้าใจเหตุการณ์ทั้งหลายในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 อย่างชัดเจนและไม่สับสนเพราะมีประเด็นสำคัญเกิดขึ้นมากมายจนนำไปสู่ความขัดแย้งในประเทศ เราจะเริ่มจากพระนิสัยและบุคลิกของพระองค์กันก่อน จากข้อมูลที่บันทึกกันไว้ จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักเกิดจากตัวของพระเจ้าชาร์ลส์เสียเองมากกว่า และถัดไปจะพูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อท่านจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ประสูติในปี ค.ศ. 1600 ที่สกอตแลนด์ ในขณะที่สมเด็จพระบิดาคือพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ปกครองสก็อตแลนด์อยู่ เมื่อตอนประสูติทรงเป็นเด็กที่อ่อนแอและขี้โรคมาก แม้พระชนมายุ 2 ปีแล้วก็ยังเดินหรือพูดไม่ได้ และเมื่อสามารถเดินได้ก็ต้องใช้เครื่องพยุงที่ข้อพระบาททั้งสองข้างเพราะพระชงค์หรือขาไม่มีแรงนั่นเอง เมื่อพระบิดาคือพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ของอังกฤษอีกตำแหน่งหนึ่ง พระองค์จึงต้องเสด็จมาประทับที่ลอนดอน ต้องทรงทิ้งให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ประทับอยู่ที่สก๊อตแลนด์กับพระพี่เลี้ยงก่อน เพื่อให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงพอที่จะเดินทางไกลได้ในเวลาต่อมา

พระองค์ทรงเติบโตมาด้วยพระวรกายที่เล็ก, อ้อนแอ่นและยังทรงพูดติดอ่าง แม้เมื่อเจริญพระชนม์พรรษามากขึ้นได้พยายามที่จะแก้ไขการติดอ่างนี้, นอกจากจะพูดติดอ่างท่านยังมีสำเนียงสกอตอีกด้วย, ปัญหาสำคัญอีกอันหนึ่งคือทรงขี้อายอย่างมาก จึงไม่ชอบสุงสิงกับใคร เมื่อทรงพระชันษามากขึ้นคนจะเห็นว่าทรงเย่อหยิ่งไม่พูดคุย ที่จริงเพราะทรงขี้อายมากๆ นั่นเอง

ที่จริงท่านไม่น่าที่จะมีโอกาสได้เป็นพระมหากษัตริย์เลยเพราะทรงมีพระเชษฐา คือ เจ้าชายเฮนรี่ ที่ทรงเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปมีบุคลิกร่าเริงร่างกายแข็งแรง แต่ด่วนสิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ ไทฟอยด์ไปเสียก่อนเมื่อพระชนม์พรรษาเพียง 18 ปี พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงสนิทสนมเสน่ห์หากับพระเชษฐาพระองค์นี้มากทรงเสียพระทัยอย่างยิ่งเมื่อเจ้าชายเฮนรี่สิ้นพระชนม์ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 12 ปี และต้องทรงโดดเดียวมากขึ้นอีกเมื่อพระพี่นางเอลิซาเบธทรงเสกสมรสและต้องเดินทางไปประทับที่เยอรมนี

แม้จะทรงขี้โรคและเหงาหงอย แต่ก็ทรงเติบใหญ่มาจนพระชนมายุ 25 ปี เป็นชายหนุ่มที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่พร้อมที่จะแบกรับหน้าที่พระเจ้าแผ่นดินได้พอดี เมื่อพระบิดาพระเจ้าเจมส์ที่ 4 แห่งสกอตแลนด์และเจมส์ที่ 1 ของอังกฤษ สวรรคต

เมื่อเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 หน้าที่สำคัญอันดับแรกของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ คือ ต้องตั้งครอบครัว ดังนั้นก็ต้องเสาะหาพระชายา ครั้งแรกทรงมุ่งไปที่สเปนหมายมั่นจะอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินสเปน  แต่ฝ่ายสเปนมีเงื่อนไขที่ทรงยอมรับไม่ได้ เลยเบี่ยงเข็มมาที่ฝรั่งเศส ในที่สุดทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง เฮนเรียตต้า มาเรีย พระน้องนางของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แต่ก็มีปัญหาอยู่ตรงที่ศาสนาคือเจ้าหญิงเฮนเรียตต้า มาเรีย ทรงเป็นคาทอลิคแต่อังกฤษเป็นโปรแตสแตน

เรื่องศาสนาของพระชายานี่ทำให้สภาอังกฤษและคนอังกฤษคลางแคลงใจว่าอาจจะนำปัญหามาสู่อังกฤษแต่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงให้คำมั่นต่อสภาอังกฤษว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อจำกัดของนิกายโรมันคาทอลิคในประเทศแต่อย่างใด  และในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ที่วิหารเวสมินสเตอร์ พระชายา-พระราชินี ก็ไม่ได้เสด็จมาร่วมด้วยตามบันทึกเพราะทรงไม่ยอมรับพิธีของนิกายโปรแตสแตน

รัชสมัยของพระองค์เริ่มต้นด้วยปัญหาทางศาสนาเป็นอันดับแรกเลย และตามด้วยความไม่พอใจในความประพฤติของพระสหายสนิทคือ ดยุคแห่งบัคกิ่งแฮม ที่คนเห็นว่ามีอิทธิพลและอำนาจมากไป จนเขาถูกกำจัดไปในที่สุด และปัญหาอื่นๆ ก็ตามมา

แต่ที่สำคัญที่สุดคือความเชื่อและความดื้อรั้นของพระองค์เอง พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงมีความเชื่ออย่างแน่วแน่ในสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ Divine Right of King และนี่ก็เป็นความเชื่อของราชวงศ์สจ๊วต ทั้งมวลที่เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นจะเป็นผู้เลือกพระมหากษัตริย์ให้มาเป็นผู้ปกครอง และมีเพียงพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะล้มล้างกษัตริย์ได้ 

และพระองค์ยังเชื่อต่อไปอีกว่าเพียงพระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์จะกำหนดกฎหมายปกครองประเทศ ถ้าผู้ใดต่อต้านก็เท่ากับทำบาปที่ต่อต้านพระผู้เป็นเจ้า และความเชื่ออีกอันหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ขึ้นไปอีกคือ ทรงเชื่อว่าอำนาจเผด็จการเท่านั้นคือรูปแบบของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ หมายความว่าสภาผู้แทนอย่ามายุ่ง

สิ่งนี่แหละที่ทำให้พระองค์ต้องขัดแย้งกับรัฐสภาอย่างยาวนานและรุนแรง ความเชื่อในเรื่องนี้ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 มีปรากฏในจดหมายที่ยังหลงเหลืออยู่ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่เขียนว่า “ไม่ทรงไว้วางใจสภาที่ดื้อด้านแห่งนี้เลยและไม่สามารถที่จะยอมรับสภานี้ได้”

ด้วยความถือมั่นในตนเองและไม่ทรงประนีประนอม จึงทำให้การประชุมสภาในนัดแรกๆ ในตอนเริ่มต้นรัชกาลมีปัญหามาก บวกกับการที่พระองค์ไม่สามารถที่จะอดทนอธิบายชี้แจงให้สมาชิกสภาเข้าใจในสิ่งที่พระองค์ทำได้จึงนำไปสู่ความแตกแยกทางสังคม, การเมือง และศาสนาภายในประเทศในเวลาต่อมา

มีการบันทึกว่าหลังจากการประชุมสภาในสามนัดแรกเมื่อตอนต้นรัชกาล ทั้งสภาและพระเจ้าชาร์ลส์ไม่สามารถที่จะหารือและตกลงกันได้ในประเด็นต่างๆ ในการประชุมนัดแรกก็ขัดแย้งกันในเรื่องการเก็บภาษี, ประชุมครั้งที่สองยิ่งรุนแรงมากขึ้นเมื่อพระองค์พยายามที่จะปกป้องคนสนิทคือดยุคแห่งบัคกิ่งแฮมให้พ้นผิด 

เมื่อสภาต้องการให้ลงโทษ พระเจ้าชาร์ลส์ก็สั่งให้ปิดการประชุมทันที และขณะนั้นอังกฤษก็ทำสงครามกับทั้งฝรั่งเศสและสเปนอีกด้วย พระเจ้าชาร์ลส์ทรงต้องการเงินมาอุดหนุนการสงครามของพระองค์ทรงให้บังคับให้มีการกู้ยืมเงินโดยใช้เครื่องเพชรพลอยของราชบัลลังค์ค้ำประกัน แต่ฝ่ายยุติธรรมเห็นว่าผิดกฎหมาย ท่านก็สั่งจับหัวหน้าผู้พิพากษา และสั่งจับอัศวินและขุนนางอีกกว่า 70 คนที่ไม่ยอมให้เงิน
เพื่อให้ท่านได้เข้าใจความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กับสภาชัดเจนขึ้น 

จะขอเล่าเพิ่มอีกในการประชุมสภาครั้งที่สี่นี้เป็นเรื่องราวกันใหญ่โตทีเดียว เพราะสภาเสนอที่จะ ‘จำกัด’ พระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินโดยออกคำร้องที่เรียกว่า ข้อเรียกร้องสิทธิ์ the Petition of Right สี่อย่างคือ หนึ่ง. ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้โดยสภาไม่อนุมัติ, สอง. ไม่สามารถจองจำคนได้โดยไม่มีสาเหตุ, สาม.ไม่สามารถประกาศกฎอัยการศึกได้ในเวลาที่บ้านเมืองสงบและ  สี่. ไม่สามารถที่จะบังคับให้เจ้าของบ้านรับทหารเข้าไปพักอาศัยในบ้านได้โดยเจ้าของไม่ยอมรับ

ข้อเรียกร้องสิทธิ์ ทั้ง 4 นี้ พระเจ้าชาร์ลส์ ไม่ทรงเห็นด้วยกับสภาแต่จำใจต้องยอมรับ และในการประชุมสภาครั้งที่สี่ สภาก็ขัดแย้งกับการที่รื้อฟื้นหลักปฏิบัติของพระในโบสถ์และการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกของเจ้าหน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินโดยที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา

เรื่องนี้พระเจ้าชาร์ลส์ ทรงไม่เห็นด้วยกับสภาอย่างยิ่งทรงสั่งให้เลื่อนการประชุมออกไป แต่ก่อนที่จะปิดประชุมปรากฏว่า ประธานสภาถูกบังคับให้นั่งอยู่กับที่ และสภาได้อ่านประกาศผ่านญัตติประณามการกระทำของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ซึ่งทรงเห็นว่านั่นเป็นการปฏิวัติของสภา ดังนั้นในเวลา 11 ปีต่อมาพระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยการไม่เรียกประชุมสภาเลย

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าราชสำนักและสภาจะสามารถลืมเลือนและลงรอยกันได้ สงครามระหว่างราชสำนักและสภาสงบไประยะหนึ่ง แต่พระเจ้าชาร์ลส์ก็ไปเปิดศึกกับสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ที่ไม่ยอมอยู่ภายใต้พระเจ้าชาร์ลส์อีกต่อไป อย่างไรก็ดีในเวลาต่อมาเมื่อมีการเปิดประชุมสภาอีกพระเจ้าชาร์ลส์ทรงยอมอ่อนข้อต่อสภาลงบ้าง แต่ทว่าในการประชุมสภาในปลายปี ค.ศ. 1641 เป็นเรื่องใหญ่โตทีเดียวนะคะ เมื่อสภาเอาเรื่องกับพระเจ้าแผ่นดินด้วยการผ่านรายงานที่เรียกกันว่า Grand  Remonstance โดยเป็นรายงานที่เขียนถึงการกระทำของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 นับแต่ขึ้นครองราชย์ที่สภาเห็นว่าไม่ถูกต้อง  การกระทำของสภาดังกล่าวในครั้งนี้เป็นการแตกหักระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์กับสภา และเป็นการมัดมือชกกับพระองค์ เพราะก่อนที่จะนำมาทูลให้ทรงทราบและยอมรับ ปรากฏว่าสภาได้ผ่านรายงานเรื่องนี้ก่อนที่จะเปิดการประชุมกับพระเจ้าชาร์ลส์เสียก่อนคือไม่สนใจว่าพระเจ้าแผ่นดินจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม เหตุการณ์นี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยึดเยื้อของอังกฤษในเวลาต่อมา

ขออธิบายเพิ่มตรงนี้อีกหน่อย ท่ามกลางความวุ่นวาย ก็ได้เกิดเหตุการณ์ คือในระหว่างการประชุมสภา ก็มีข่าวการกบฏของพวกไอร์แลนด์ สภาเห็นว่าจะต้องมีการเกณท์กำลังทหารเพื่อปราบกบฏกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันสภาก็กลัวว่าการเกณท์ทหารนี้พระเจ้าชาร์ลส์อาจจะใช้กำลังทหารนี้มาปราบสมาชิกสภาด้วย ก็เลยขอให้พระองค์ลงพระนามในร่างกฎหมายทหารอาสา ซึ่งเท่ากับเป็นการริดรอนพระราชอำนาจในการสั่งการของกองทัพ พระเจ้าชาร์ลส์จึงสั่งให้จับสมาชิกสภาขุนนางคนหนึ่งและสมาชิกสภาผู้แทนอีกห้าคนในข้อหากบฏและทรงนำกำลังทหารไปจับสมาชิกดังกล่าวด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นได้เสด็จออกจากลอนดอน ไปตั้งมั่นในทางเหนือของประเทศ

มีการเจรจาระหว่างราชสำนักและสภาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งกันอยู่ แต่ในที่สุดสงครามกลางเมืองของอังกฤษก็เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1642

พระเจ้าชาร์ลส์ ทรงตั้งมั่นของกองทัพของพระองค์ในทางเหนือและตอนกลางของประเทศในการรบครั้งแรกๆกองทัพของพระองค์ที่สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าแผ่นดินมีชัยเหนือพวกที่สนับสนุนสภา แต่เมื่อการรบมาถึงปีค.ศ. 1646 กองทัพของพระองค์ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดก็ยอมแพ้ต่อกองกำลังสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวล และผู้บัญหาการทหาร เซอร์ โทมัส แฟร์เฟตท์ที่ทำการรบที่เข็มแข็งขึ้น พระเจ้าชาร์ลส์ทรงหนีด้วยการปลอมพระองค์ไปกับผู้ติดตามสองคนขึ้นสก็อตแลนด์ แต่ก็ถูกพวกสก็อตจับตัวส่งลงมาให้กองกำลังสภา
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงแสดงให้เห็นถึงความเด็ดเดียวของพระองค์อย่างไม่มีเหตุผล ไม่ทรงยอมรับข้อเสนอของสภาที่จะให้พระองค์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในระหว่างถูกจับก็ทรงพยายามที่จะวางแผนเพื่อที่จะหาทางกลับมาปกครองประเทศ แต่ในที่สุดพระองค์ก็ถูกกลุ่มนายทหารหนุ่มจับตัว ส่งกลับมายังลอนดอน

ย้อนรอยทฤษฎีสมคบคิดเพื่อหา ‘แพะ’ และความ ‘เสื่อม’ จนเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ 2

ทฤษฎีสมคบคิดเพื่อหา ‘แพะ’ กับ ความ ‘เสื่อม’ จนเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ 2 

เมื่อคราวที่แล้วเรื่องของการเสียกรุงครั้งที่ 1 ที่ผมได้เล่าไปแล้วนั้น ภาพที่ฉายให้เราได้เห็นกันก็คือการขัดแย้งกันของฝ่ายโอนอ่อนและฝ่ายแข็งกร้าว ที่ยึดเอาราชตระกูลเป็นที่ตั้ง หักกันได้เพื่อผลประโยชน์ และมีภาพของ “ไส้ศึก” เช่น “พระยาจักรี” ที่เปรียบเสมือน “แพะ” จนทำให้เสียกรุงศรีฯ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2112 ในครั้งนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวของการเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 และ “แพะ” ที่ถูกตราหน้าว่าทำให้เสียกรุงกันบ้าง 

“แพะ” คนแรกคือขุนนางที่ถูกตราหน้าว่าเป็นไส้ศึก เป็นตัวร้ายของการย้อนประวัติศาสตร์ทุกเรื่องนั่นคือ “พระยาพลเทพ” มีทินนามเต็มตามทำเนียบพระไอยการนาพลเรือนคือ “ออกญาพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตนกระเสตราธิบดี” เป็นตำแหน่งของเสนาบดีกรมนาหรือ “เกษตราธิการ” หนึ่งในเสนาบดีจตุสดมภ์ ศักดินา 10,000 ไร่ เสนาบดีกรมนาทุกคนจะมีตำแหน่งเป็น “พระยาพลเทพ” ในสมัยรัตนโกสินทร์ยกขึ้นเป็น “เจ้าพระยา” เสนาบดีกรมนาทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานผู้ดูแลไร่นา เก็บหางข้าวหรือข้าวจากนาของราษฏรสำหรับขึ้นฉางหลวง ตั้งศาลพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับที่นาและสัตว์ที่ใช้ทำนาอย่างโคกระบือ เป็นเจ้าพนักงานที่ชักจูงให้ราษฎรทำนา เวลามีศึกก็ต้องเตรียมเสบียงกรังให้พรักพร้อม เป็นหน่วยพลาธิการสำคัญของกระบวนรบ  

สำหรับ “พระยาพลเทพ” ผู้เป็นไส้ศึกให้พม่าในสงครามเสียกรุงนั้น ไม่ทราบประวัติชัดเจน เพราะถูกกล่าวถึงอยู่ในหลักฐานเพียงชิ้นเดียวคือ “คำให้การชาวกรุงเก่า” ซึ่งพม่าเรียบเรียงจากคำให้การของเชลยอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าเมื่อหลังสงครามเสียกรุง พ.ศ. 2310 มีเนื้อหาสั้นๆ ว่า... “คราวนั้นพระยาพลเทพ ข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาเอาใจออกห่าง ลอบส่งศัสตราวุธเสบียงอาหารให้แก่พม่า สัญญาจะเปิดประตูคอยรับ พม่าเห็นได้ทีก็ระดมเข้าตีปล้นกรุงศรีอยุธยา ทำลายเข้ามาทางประตูที่พระยาพลเทพนัดหมายไว้”... เรื่องพระยาพลเทพส่งเสบียงอาหารให้พม่า ตรงกับหน้าที่รับผิดชอบของพระยาพลเทพในจดหมายของหลวงอุดมสมบัติ จึงเข้าใจว่าพระยาพลเทพผู้นี้เป็นผู้รับผิดชอบตระเตรียมเสบียงในสงครามเสียกรุง และจากที่ระบุว่าเป็นผู้เปิดประตูรับพม่าเข้ามา จึงอนุมานได้ว่าเขาเป็นหนึ่งในแม่ทัพที่ป้องกันพระนครในเวลานั้นด้วย

พงศาวดารไทยและพม่าไม่ได้กล่าวถึงพระยาพลเทพในฐานะไส้ศึกเลย มีแต่กล่าวถึงพระยาพลเทพ (พงศาวดารพม่าฉบับภาษาพม่าสะกดว่า ‘ภยาภลเทป’ ဘယာဘလဒေပ) ว่าเป็นหนึ่งในเสนาบดีอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนแต่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าให้ความช่วยเหลือแก่พม่า แต่ด้วยปัจจัยเรื่องเสบียงที่ขาดแคลนเมื่อพม่าไม่ยกทัพกลับเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จึงน่าจะทำให้ “พระยาพลเทพ” ผู้ดูแลเสบียงกรังกลายเป็น “ไส้ศึก” และน่าจะเป็นที่จดจำของชาวกรุงเก่าที่ให้การไว้กับพม่า แต่นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงพระยาพลเทพผู้นี้อีกเลย

คนที่สองหรือพระองค์ที่สอง ก็ได้ เพราะเป็นถึงกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่ได้รับเกียรติให้กลายเป็น “แพะ” ผมกำลังจะเล่าถึง “สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์” หรือ “สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์” กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาที่มี “ภาพจำ” จากพระราชพงศาวดาร, แบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย, คำบอกเล่า ฯลฯ เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ เป็นกษัตริย์ที่ไม่ใส่ใจกิจการบ้านเมือง, ลุ่มหลงแต่สนมนางใน, กดขี่ข่มเหงข้าราชการและประชาชน, อ่อนแอ, ขี้ขลาดและเมื่อพม่าประชิดกรุงศรีอยุธยาพระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้ยิงปืนใหญ่ ด้วยเกรงบรรดาพระสนมจะตกอกตกใจกัน ฯลฯ 

พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” กับพระอัครมเหสีองค์รองคือ “กรมหลวงพิพิธมนตรี” หรือ “พระพันวษาน้อย” พระนามเดิมเมื่อแรกประสูติคือ “เจ้าฟ้าเอกทัศน์” พ.ศ. 2275 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็น “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี” โดยมีพระอนุชามีรวมโสทรคือ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” หรือที่พระชนกตั้งชื่อเมื่อแรกประสูติว่า “เจ้าฟ้าดอกเดื่อ” โดยทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็น “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต” ซึ่งในกาลต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น “สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร” ก่อนจะสละราชย์ไปทรงผนวชถึง 2 คราว ด้วยเหตุจำเป็น จนชาวบ้านขนานนามพระองค์อย่างเป็นที่รู้จักกันว่า “ขุนหลวงหาวัด” 

ซึ่งสิ่งที่ทำให้ “พระเจ้าเอกทัศน์” กลายเป็นตัวโกง ก่อนจะกลายเป็น “แพะ” คือการไม่ได้รับการยอมรับจากพระราชบิดาให้เป็น “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “องค์รัชทายาท” แต่พระราชบิดากลับยกให้ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” พร้อมด้วยแรงสนับสนุนจาก “กรมหมื่นเทพพิพิธ” ซึ่งเป็นพระโอรสชั้นผู้ใหญ่ กับบรรดาเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ คือเรียกว่าเพียบพร้อมกว่าพระเชษฐาว่างั้นเถอะ ทั้งยังมีพระราชโองการของ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า “กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้น โฉดเขลาหาสติปัญญาและความเพียรมิได้ ถ้าจะให้ดำรงฐานาศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชการกึ่งหนึ่งนั้นบ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย” และมีพระราชดำรัสสั่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีว่า “จงไปบวชเสียอย่าให้กีดขวาง” ถึงตรงนี้คนเล่าประวัติศาสตร์ก็ข้ามเรื่องราวการเคลียร์เส้นทางของ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต” ไปเลย 

ครั้นเมื่อ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” สวรรคต ได้เกิดกบฏเจ้า 3 กรม อันได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดีซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ได้ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี” เป็นผู้วางแผนและดำเนินการปราบกบฏเจ้า 3 กรม เพื่อกรุยทางให้ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต” ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา แต่หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน ก็ทรงสละราชสมบัติให้ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี” แล้วพระองค์ก็ออกผนวช ซึ่งพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ก็ขยายความในเชิงว่า พระองค์ถูก “บีบ” แต่จะบีบด้วยอะไร ? แบบไหน ? กลับไม่มีใครบันทึกไว้ มีแต่บอกว่า “กรมขุนอนุรักษ์มนตรี” เสด็จ ฯ ขึ้นไปประทับที่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เนื่องจากเป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นและดื้อแพ่งไม่ยอมย้ายหรือยกให้ใคร จน“สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร” ต้องยอมยกราชบัลลังก์ให้ ซึ่งนี่คือข้อมูลเชิงปรักปรำที่ทำให้ “สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์” เป็นกษัตริย์ที่ “ดูแย่” อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เป็นจริงแบบนั้นไหม ? ไปต่อกัน  

สำหรับการครองราชย์ของ “พระเจ้าเอกทัศน์” ตาม “คำให้การชาวกรุงเก่า” ปรากฏความว่า... "พระมหากษัตริย์พระองค์นี้” ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง”... หรืออย่างใน “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” ปรากฏความว่า "พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณ์ก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราชทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุกมิได้ดาล ทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทาน และการมโหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุกที่ทุกขอบขันธสีมา" 

...นอกจากหลักฐานทั้งสอง ยังได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าเอกทัศ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัติเครื่องชั่ง ตวง วัดต่าง ๆ, มาตราเงินบาท สลึง เฟื้องให้เที่ยงตรง และโปรดให้ยกเลิกภาษีอากรต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี รวมทั้ง... "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก" ...คือมองแล้วพระองค์น่าจะเป็นกษัตริย์ที่ถนัดทางด้านการจัดการด้านเศรษฐกิจและกิจการภายใน ที่ดีทีเดียว
 

เสื่อมศรัทธา ‘สยาม’ ภายใต้การนำของ ‘จอมพล ป.’ | THE STATES TIMES STORY EP.110

วันนี้ THE STATES TIMES Story จะพาคุณไปรับฟัง
เรื่องราวประวัติศาสตร์ สะท้อนของยุคการเมืองที่รุนแรงและสังคมอันเหลื่อมล้ำ สมัยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา ‘คนรวย’ อยู่เหนือกฎหมาย คนจนถูกกล่าวหาว่าเป็น ‘โจร’ และข้าราชการทหารภายใต้ผู้นำเผด็จการพร้อมพิพากษาทุกคน…

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

รับชม THE STATES TIMES STORY ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLbSZPZIUmXvd6NiToeX5qW

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

ทฤษฎีสมคบคิดเพื่อหา ‘แพะ’ และความ ‘เสื่อม’ การล่มสลายของ ‘กรุงศรีฯ’ ครั้งที่ 2 | THE STATES TIMES STORY EP.111

วันนี้ THE STATES TIMES Story จะพาคุณไปรับฟัง
เรื่องราวประวัติศาสตร์การเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 และ ‘แพะ’ ที่ถูกตราหน้าว่าทำให้เสียกรุง พร้อมย้อนรอยไปกับทฤษฎีสมคบคิดเพื่อหา ‘แพะ’ และความ ‘เสื่อม’ จนทำให้เสียกรุงในครั้งนี้…

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

รับชม THE STATES TIMES STORY ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLbSZPZIUmXvd6NiToeX5qW

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

‘พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา’ ที่ 'คณะราษฎร-ปรีดี-จอมพล ป.' ชื่นชอบ | THE STATES TIMES STORY EP.112

วันนี้ THE STATES TIMES Story จะพาคุณไปรับฟัง

เรื่องราวประวัติศาสตร์ของ ‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา’ เจ้านายพระองค์หนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกับคณะราษฎรได้ อย่างกลมกลืน และขึ้นถึงจุดสูงสุดโดยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนได้ ที่ 'คณะราษฎร-ปรีดี-จอมพล ป.' ชื่นชอบ..

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา | THE STATES TIMES STORY EP.113

วันนี้ THE STATES TIMES Story จะพาคุณไปรับฟัง
เรื่องราวประวัติศาสตร์ของ ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา’ มีพระนามเดิมว่าลา เป็นพระโอรสพระองค์น้อยของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ประสูติปีมะโรง พ.ศ. 2303 กับเรื่องเล่าของพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์
ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

รับชม THE STATES TIMES STORY ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLbSZPZIUmXvd6NiToeX5qW

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

ย้อนอดีตหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ. 2480 สมัยแรกของสยาม | THE STATES TIMES STORY EP.114

วันนี้ THE STATES TIMES Story ขอเกาะกระแสเลือกตั้งแต่ไม่ใช่ปี พ.ศ. 2566 นี้ แต่จะขอย้อนกลับไปเรียนรู้อดีตกับวิธีการหาเสียงเลือกตั้งสมัยแรกของไทย เมื่อปี 2480 ว่ามีรูปแบบเหมือนหรือแตกต่างกับยุคปัจจุบันอย่างไร แล้วในยุคนั้น นักการเมืองเค้าประชาสัมพันธ์หาเสียงกันอย่างไร? มีหัวคะแนนหรือไม่? ติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

รับชม THE STATES TIMES STORY ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLbSZPZIUmXvd6NiToeX5qW

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
TikTok: THE STATES TIMES PODCAST


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top