Sunday, 28 April 2024
ธนาคารแห่งประเทศไทย

'แบงก์ชาติ' ฟันธงเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด แต่คนว่างงานยังวิกฤต พุ่ง 3.4 ล้านคน

15 ต.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ ครั้งที่ 6/2564 โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2564 ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และการส่งออกที่ชะลอลงกว่าคาด แต่พัฒนาการด้านวัคซีนที่ดีขึ้นชัดเจนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปีนี้

โดยประเมินว่า ปี 2564 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ 0.7% และในปี 2565 ที่ระดับ 3.9% จากการทยอยฟื้นตัวจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ ตามความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทยอยฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ขณะที่การส่งออกจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหา global supply disruption 

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเผชิญความไม่แน่นอนสูง โดยต้องติดตาม 1.) แนวโน้มการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัส รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยว 2.) การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคเอกชนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุน 3.) ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะต่อไป และ 4.) ปัญหา supply disruption และต้นทุนค่าขนส่งสินค้าทางเรือ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกสินค้า

“กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 3/2564 และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ที่เลื่อนมาจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand) ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากพัฒนาการด้านวัคซีนที่ปรับดีขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด แต่ยังต้องติดตามพัฒนาการด้านวัคซีนทั้งการนำเข้าและการกระจายตามแผนของรัฐบาล รวมถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาดหากการระบาดกลับมารุนแรงขึ้น” 

'แบงก์ชาติ' แจง!! ตัดเงินบัตรยับ-เงินหายจากบัญชี ผลจากธุรกรรมต่างประเทศ ยัน!! ไม่มีข้อมูลรั่ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมาก 'ไม่ใช่แอปดูดเงิน' และไม่มีรั่วไหลของข้อมูลจากธนาคาร แต่เกิดจากธุรกรรมชำระค่าสินค้า บริการกับร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แนะให้ติดต่อคอลเซ็นเตอร์ธนาคารเพื่อระงับธุรกรรมทันที 

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ได้ชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมากตามที่ปรากฏข่าวพบลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรเดบิตจำนวนมากประสบปัญหาการทำรายการชำระเงินโดยที่ไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตนเอง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้รับทราบปัญหาและได้ตรวจสอบสถานการณ์ดังกล่าว

แบงก์ชาติเผยผลตรวจสอบ ดูดเงินจากบัญชี พบ 90% เป็นธุรกรรมบัตรเดบิต ใช้ซื้อสินค้าจากร้านค้าในต่างประเทศ มูลค่าความเสียหายกว่า 130 ล้านบาท

จากกรณีที่มีการแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ มีผู้เสียหายถูกดูดเงินจากบัญชี หรือ บัตรเดบิต จำนวนหลายครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว แฮกบัญชีธนาคาร บัตรเดบิต และดูดเงินออกจากบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC หรือเครื่องรูดบัตร แต่ไม่มี SMS แจ้งเตือน แต่ละครั้งจะถอนเงินจำนวนไม่มาก

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคม ธนาคารไทย แถลงข่าวร่วมกัน เพื่อแจงความคืบหน้า การตรวจสอบกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ดังกล่าว

ธปท.คาดผ่อนเกณฑ์อสังหาฯ กระตุ้นกำลังซื้อ ดึงเม็ดเงินใหม่ 9.8% ของจีดีพี - จ้างงาน 2.8 ล้านคน

ธปท.คาดว่าผ่อนคลายมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยฯ จะช่วยดึงเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์กว่า 9.8% ของจีดีพี และมีการจ้างงานกว่า 2.8 ล้านคน หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ

วันนี้ (21 ต.ค. 64) นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ แม้มีแนวโน้มจะทยอยฟื้นตัวได้จากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ทำให้เปิดประเทศได้เร็วกว่าคาด แต่การฟื้นตัวยังเปราะบางจากความไม่แน่นอนสูงและฐานะการเงินของบางภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว

ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะซบเซาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและภาคก่อสร้างที่ได้รับผลจากการระบาด ธปท. ประเมินแล้วเห็นว่า เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพยุงการจ้างงาน จึงควรเร่งเพิ่มเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก โดยเฉพาะจากกลุ่มที่ยังมีฐานะการเงินเข้มแข็งหรือรองรับการก่อหนี้เพิ่มได้ ผ่านการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) เป็นการชั่วคราว

พิษโอมิครอนฉุดเศรษฐกิจเดือน ม.ค. ชะลอตัว

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจและการเงิน เดือนม.ค. 2565 ว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม มีการชะลอตัวลงบ้าง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลง จากการระงับการลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ในช่วงวันที่ 21 ธ.ค.2564 - 31 ม.ค. 2565 หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 

ส่วนการบริโภคและลงทุนของภาคเอกชนปรับลดลง จากความกังวลต่อการระบาดของโอมิครอน โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน ที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนในเกือบทุกหมวด โดยเป็นผลจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่กลับมารุนแรงขึ้น และการเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการควบคุมการระบาด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมและความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงบ้าง 

'แบงก์ชาติ' เผยสถานะทุนสำรองระหว่างประเทศ ไทยรั้งอันดับที่ 12 ของโลก สูงกว่าสหรัฐฯ 2 ลำดับ

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผย ฐานะของทุนสำรองระหว่างประเทศ 15 อันดับแรก ดังนี้...

1.) จีน 33.73 แสนล้านเหรียญ
2.) ญี่ปุ่น 13.22 แสนล้านเหรียญ
3.) สวิสเซอร์แลนด์ 10.65 แสนล้านเหรียญ
4.) รัสเซีย 6.30 แสนล้านเหรียญ
5.) อินเดีย 6.07 แสนล้านเหรียญ
6.) ฮ่องกง 4.82 แสนล้านเหรียญ
7.) เกาหลีใต้ 4.57 แสนล้านเหรียญ
8.) ซาอุดีอาระเบีย 4.51 แสนล้านเหรียญ
9.) สิงคโปร์ 3.81 แสนล้านเหรียญ
10.) บราซิล 3.58 แสนล้านเหรียญ
11.) เยอรมนี 3.08 แสนล้านเหรียญ
12.) ไทย 3.08 แสนล้านเหรียญ
13.) ฝรั่งเศส 2.51แสนล้านเหรียญ
14.) สหรัฐอเมริกา 2.48 แสนล้านเหรียญ
15.) อิตาลี 2.35 แสนล้านเหรียญ

ธนาคารแห่งประเทศไทย แชร์โพสต์เตือนภัย ‘สลิปปลอมระบาดหนัก’ พร้อมแนะนำ 2 วิธีตรวจสอบยอดเงินเข้าบัญชี เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับสลิป ป้องกันถูกมิจฉาชีพหลอกลวง

จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์ส่งต่อโพสต์ของผู้ใช้เฟซบุ๊ก Sornphet Wutthikornchaisakul ซึ่งได้ออกมาเตือนภัยมิจฉาชีพ ระบุว่า ไปพบโพสต์ว่าปัจจุบันมีโปรแกรมปลอมสลิป ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ทั้งวันที่ เวลา รหัสอ้างอิง ชื่อบัญชี เลขบัญชี และจำนวนเงิน จึงต้องการเตือนภัยแม่ค้า พ่อค้า และลูกค้าที่ทำธุรกรรรมทางออนไลน์ 

ล่าสุด เฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand ได้แชร์ต่อโพสต์ดังกล่าว พร้อมระบุข้อความเตือนภัย "สลิปปลอมระบาดหนัก" นอกจากนี้ ยังได้แนะนำ 2 วิธีตรวจสอบเงินเข้าบัญชี ดังนี้

'แบงก์ชาติ' สั่ง 'ธ.ทีเอ็มบีธนชาต' แจงข้อเท็จจริง ปมแอปพลิเคชัน 'ttb' ขัดข้อง กระทบผู้ใช้งาน

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้รับรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีที่ระบบ Mobile Banking ของธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ttb ขัดข้อง ระหว่างวันที่ 1 - 3 กันยายน 2565 ทำให้ลูกค้าไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้เวลานานในการทำธุรกรรมในช่วงดังกล่าว

ทั้งนี้ได้สั่งการให้ ttb เร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบให้ได้อย่างครบถ้วนและทันท่วงที ซึ่ง ttb ได้ขยายช่องทางให้บริการสำรองแก่ลูกค้า รวมทั้งขยายเวลาการให้บริการสาขานอกห้างและจัดเตรียม Call Center ให้พร้อมรองรับการให้ความช่วยเหลือและการทำธุรกรรมของลูกค้าอย่างเต็มที่ในทุกกรณี

แม้ปัจจุบันสถานการณ์การให้บริการ Mobile Banking เริ่มคลี่คลาย ธปท. ได้กำชับให้ ttb ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการให้บริการจะไม่สะดุดลงอีก พร้อมกับสั่งการดังนี้

‘ธปท.’ แจง!! ปมสายชาร์จปลอมดูดเงิน แท้จริง ถูกหลอกติดตั้งแอปฯ ควบคุมมือถือ

(18 ม.ค. 66) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ได้ตรวจสอบกรณีผู้เสียหายร้องเรียนจากเหตุการใช้งานสายชาร์จปลอมแล้วถูกดูดข้อมูลและโอนเงินออกจากบัญชี ตามที่ปรากฎข่าวพบว่า ไม่ได้เกิดจากการใช้งานสายชาร์จปลอม แต่เกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์ ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า และควบคุมเครื่องโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมแทนจากระยะไกล เพื่อโอนเงินออกจากบัญชี โดยอาจเลือกทำธุรกรรมในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์

ปัจจุบัน มิจฉาชีพมีวิธีหลอกลวงหลายรูปแบบ อาทิ SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม เป็นต้น และมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดใช้การหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์ ซึ่ง ธปท. ได้ดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยการออกมาตรการต่าง ๆ ให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติ และร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน กสทช. สำนักงาน ปปง. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้...

1. การปรับปรุงพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยบน Mobile Banking อย่างต่อเนื่อง

2. ปิดกั้นเว็บไซต์หลอกลวง และตัดการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิจฉาชีพใช้ควบคุมเครื่องผู้เสียหายจากระยะไกล

‘กรณ์’ โต้ ‘เพจแบงก์ชาติ’ บิดเบือนนโยบาย ชพก. ย้ำชัดขอยกเลิก "แบล็กลิสต์" ไม่เกี่ยวเลิกเครดิตบูโร

‘กรณ์’ ซัดเพจแบงก์ชาติ บิดเบือน นโยบาย ยันไม่ได้ยกเลิกเครดิตบูโร ย้ำ "ยกเลิกแบล็กลิสต์-ใช้เครดิตสกอร์" จวกแบงก์ชาติ มีหน้าที่ดูแลลดต้นทุนการเงินประชาชน ไม่ใช่มาสร้างความสับสนให้สังคม  

( 6 มี.ค. 66) นายกรณ์ จาติกวณิช โพสต์เฟซบุ๊กตอบโต้ กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย ปล่อยคลิป กล่าวหานโยบายยกเลิกแบล็กลิสต์ของพรรคชาติพัฒนากล้า โดยขึ้นพาดหัวในคลิปลงเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทยว่า "มีเรื่องของเครดิตบูโรด้วยว่าอยากให้ลบ" ซึ่ง ไม่ตรงต่อข้อเท็จจริงแต่อย่างใด จนทำให้นายกรณ์ ต้องโพสต์ตอบโต้ในเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า ตนไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่แบงก์ชาติแกล้งไม่รู้ หรือไม่รู้จริง ว่าข้อเสนอเรื่องเครดิตบูโรของ พรรคชาติพัฒนากล้าคืออะไร แค่ประโยคแรกที่ที่พิธีกรพูดว่ามีข้อเสนอเรื่องเครดิตบูโรว่า ‘อยากให้ลบ (เครดิตบูโร)’ และมีภาพขยายประเด็นว่าลบไม่ได้เพราะอะไร ก็ทำให้มีคำถามแล้ว ซึ่งข้อเสนอเรา "ไม่มีการลบข้อมูลใดๆ" ของใคร และ "ไม่มีการยุบหรือลบเครดิตบูโร" แต่เป็นการเสนอให้แก้กฎหมาย เพื่อสามารถนำข้อมูลการใช้ชีวิตทางการเงินของผู้กู้ทั้งหมดมาประมวลรวมเป็นเครดิตสกอร์ (Credit score)  แก้ปัญหาการเกิดสภาพ ‘บัญชีดำ’ หรือ แบล็กลิสต์ นั่นเอง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top