Sunday, 28 April 2024
ตลาดน้ำมัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 31 ต.ค. - 4 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย 'บวก-ลบ' ชี้แนวโน้ม 7-11 พ.ย. 65

>> ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน
ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent สัปดาห์นี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 95 - 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 65 ICE Brent ปิดตลาดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน และ NYMEX WTI สูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือน จากตลาดคาดว่ารัฐบาลจีนอาจพิจารณาผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID และเริ่มเปิดประเทศในเดือน มี.ค. 66 เป็นต้นไป อนึ่ง วันที่ 4 พ.ย. 65 จีนพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 3,837 ราย ลดลงจากวันก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4,045 ราย สูงสุดในรอบ 6 เดือน

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลกปิดตลาดวันที่ 4 พ.ย. 65 ลดลง 1.81% จุด อยู่ที่ 110.88 จุด จากนักลงทุนคาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 14 - 15 ธ.ค. 65 จากที่คาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.75% ในเดือน ธ.ค. 65 จะปรับขึ้นเพียง 0.5% จากระดับปัจจุบันที่ 3.75 - 4.0% หลังตัวเลขการจ้างงานอ่อนแอ โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ (Unemployment Rate) ในเดือน ต.ค 65 เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 3.7%

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

Reuters รายงานกลุ่ม OPEC ผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 65 ลดลง 2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 29.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน มิ.ย. 65

Energy Information Administration รายงานสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 ต.ค. 65 ลดลง 1 แสนบาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 11.90 ล้านบาร์เรลต่อวัน 

ICE รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ Brent ในตลาดนิวยอร์กและตลาดลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ย. 65 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะถือครองสุทธิ (Net Long Position) เพิ่มขึ้น 20,174 สัญญา จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 239,416 สัญญา

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 7 – 11 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 14 – 18 พ.ย. 65

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 7 – 11 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 14 – 18 พ.ย. 65

>> ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดลดลง เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐฯ และปริมาณการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามช่วงปลายสัปดาห์ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจีนผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 อาทิ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (National Health Commission: NHC) ประกาศลดเวลากักตัวลง 2 วัน สำหรับผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เหลือ 5 วัน ที่ศูนย์กักกัน (จากเดิม 7 วัน) กักตัวที่บ้านต่ออีก 3 วัน คงเดิม และไม่ระบุผู้ใกล้ชิดระดับรองอีกต่อไป, สำหรับผู้เดินทางที่ใกล้ชิดผู้ป่วย ลดการกักตัว เหลือ 8 วัน (จากเดิม 10 วัน), ลดการทดสอบ COVID-19 ภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนเดินทาง เหลือครั้งเดียว (จากเดิม 2 ครั้ง) และยกเลิกบทลงโทษสายการบินที่มีผู้โดยสารติดเชื้อ, ปรับการจัดประเภทพื้นที่เสี่ยง เป็น 'สูง' และ 'ต่ำ' (จากเดิม 'สูง' 'ปานกลาง' และ 'ต่ำ') และหากไม่พบผู้ป่วยใหม่ในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นเวลา 5 วัน จะปรับเป็นพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ เป็นต้น

เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าต่อเนื่อง โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลก วันที่ 10 พ.ย. 65 ลดลงกว่า 2% อยู่ที่ 108.10 จุด และวันที่ 11 พ.ย. 65 ลดลง 1.6% อยู่ที่ 106.42 จุด เป็นการลดลงสองวันติดต่อกันมากที่สุดตั้งแต่ มี.ค. 52

รมว.กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ นาง Janet Yellen กล่าวถึงมาตรการจำกัดราคาน้ำมัน (Price Cap) ว่าอินเดียจะซื้อน้ำมันดิบจากรัสเซีย ที่ราคาเท่าไร่ก็ได้ หากจะไม่ใช้เรือ ประกันภัย และการบริการทางการเงิน จากชาติพันธมิตรตะวันตก ซึ่งราคาน้ำมันดิบ Urals ของรัสเซียไม่ควรอยู่ที่ระดับเกิน 63-64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 26 - 30 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 2 - 6 ม.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 โดยผู้เดินทางเข้าประเทศไม่ต้องกักตัวแต่ต้องแสดงผลตรวจ RT-PCR เป็นลบภายใน 2 วันก่อนออกเดินทาง นอกจากนี้ อนุญาตให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ และให้ผู้ที่เดินทางมาเปลี่ยนเครื่องบินในจีนไม่ต้องขอ Visa ประกอบกับ วันที่ 27 ธ.ค. 65 นาย Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย ลงนามในพระราชกำหนดห้ามจัดส่งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรัสเซีย ให้แก่ชาติที่เข้าร่วมมาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) โดยน้ำมันดิบมีผลวันที่ 1 ก.พ.- 30 มิ.ย. 66 ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปจะประกาศภายหลัง เพื่อตอบโต้สหภาพยุโรป (EU) และกลุ่มชาติมหาอำนาจ G7 รวมทั้งออสเตรเลีย ที่ใช้มาตรการ Price Cap น้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 65  

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 82 - 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยทิศทางตลาดน้ำมันมีแนวโน้มได้รับการสนับสนุนจากการเปิดประเทศของจีน

ด้านผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นาง Kristalina Georgieva ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 66 มีแนวโน้มเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากขึ้น โดยเศรษฐกิจของประเทศราว 1 ใน 3 ของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) และจีน ชะลอตัวในเวลาเดียวกัน ประกอบกับยอดการติดเชื้อ COVID-19 ในจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 66 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว

นอกจากนี้ ผลสำรวจนักวิเคราะห์ของ Reuters ในวันที่ 30 ธ.ค. 65 คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 66 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 89.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วน NYMEX WTI อยู่ที่ 84.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 93.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 87.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกเผชิญภาวะเงินเฟ้อ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 30 ม.ค. - 3 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 6 - 10 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน จากธนาคารกลางหลักทั่วโลกทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 4.0% และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) และอัตราดอกเบี้ยสำหรับปล่อยสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) มาอยู่ที่ 2.5% และ 3.0% ตามลำดับ

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น517,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 187,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราว่างงาน (Unemployment Rate) อยู่ที่ 3.4% ต่ำสุดในรอบ 54 ปี ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง กดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ดี ประธาน Fed นาย Jerome Powell คาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถลดอัตราเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% (อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ 6.5%)

โดยทางเทคนิค สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80 - 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
-Caixin/Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ (Composite Purchasing Manager Index: PMI) ของจีน ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น 2.8 จุด จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 51.1 จุด ขยายตัวครั้งแรกตั้งแต่เดือน ส.ค. 65 โดยได้แรงหนุนจากการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19

-วันที่ 1 ก.พ. 66 ที่ประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) คงนโยบายลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบตามผลการประชุมเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 65 ที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2566 ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 3 เม.ย. 2566

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 6 - 10 ก.พ. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 13 - 17 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ NYMEX WTI เฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มตึงตัว หลังนาย Alexander Novak รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย เผยแผนลดการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มี.ค. 66 ลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 5% ของปริมาณการผลิตของรัสเซีย เพื่อตอบโต้ชาติตะวันตกที่ออกมาตรการตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) จากรัสเซียซึ่งขนส่งทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 65 พร้อมทั้งกล่าวย้ำว่าจะไม่จำหน่ายน้ำมันให้แก่ชาติที่เข้าร่วมมาตรการ Price Cap น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ รัสเซียผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ก.พ. 66 อยู่ที่ 10.93 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ผลิตคอนเดนเสทประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน)

ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยธนาคาร Australia and New Zealand Banking Group Ltd. (ANZ) ของออสเตรเลียชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันของจีนที่ฟื้นตัว หลังยกเลิกมาตรการ Zero-COVID ที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดมานานกว่า 3 ปี จะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันโลกในปีนี้ ทั้งนี้ ANZ คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของจีนในปี 66 จะเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า หรือประมาณ 50% ของอุปสงค์โลกซึ่งจะเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า ขณะที่เลขาธิการ OPEC นาย Haitham al-Ghais คาดว่าอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 66 จะอยู่ที่ 102 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 และจะเติบโตสู่ 110 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 68

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 83 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยนาย Haitham al-Ghais คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะแตะระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในปี 66 ขณะที่นาย Afshin Javan ผู้แทนอิหร่านประจำ OPEC คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งหลังของปี 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 20 - 24 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 27 ก.พ. - 3 มี.ค.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงขึ้น ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน โดยตลาดคาดว่าในปี 66 Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 5.25-5.50% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ 0.25% ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลก วันที่ 24 ก.พ. 66 ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 0.61 จุด จากวันก่อนหน้า อยู่ที่ 105.21 จุด สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ กดดันราคาน้ำมัน

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันโลกจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์น้ำมันของจีนที่กำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการเดินทางทางอากาศ โดยสำนักวิเคราะห์ Wood Mackenzie, FGE, Energy Aspects และ S&P Global Commodity Insight คาดการณ์ว่าจีนจะนำเข้าน้ำมันดิบในปี 66 เพิ่มขึ้น 0.5 – 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 11.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ตลาดกังวลว่าอุปทานน้ำมันจากรัสเซียจะตึงตัว หากรัสเซียลดการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทมากกว่า 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 66 ตามที่เคยประกาศไว้ เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรและตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) ของชาติตะวันตก โดย Reuters รายงานรัสเซียมีแผนลดการส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Primorsk และ Ust-Luga ในทะเลบอลติก และท่า Novorossiysk ในทะเลดำ 25% ในเดือน มี.ค.-เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27 - 31 มี.ค.66  จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 3 - 7 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากนักลงทุนคลายความวิตกต่อวิกฤติภาคธนาคาร ประกอบกับท่อขนส่งน้ำมันดิบ Kirkuk - Ceyhan (0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ที่สูบถ่ายน้ำมันดิบจากเขตปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรักสู่ตุรกีปริมาณ 4 - 4.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ต้องระงับการสูบถ่ายชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 66 หลังอิรักชนะอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทการส่งออกน้ำมันเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 66 

อย่างไรก็ดี วันที่ 2 เม.ย. 66 รัฐบาลอิรักและรัฐบาลท้องถิ่นเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Regional Government: KRG) บรรลุข้อตกลงกลับมาส่งออกน้ำมันดิบแล้ว และคาดว่าจะเริ่มส่งออกน้ำมันได้ในวันที่ 3 เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัว หลังประเทศสมาชิก OPEC+ จำนวน 7 ประเทศ ประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบโดยสมัครใจ ปริมาณรวม 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 66 เพิ่มเติมจากโควตาเดิมของ OPEC+ ซึ่งลดการผลิต 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ย. 65 - ธ.ค. 66 ประกอบกับรัสเซียประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบ 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. - ธ.ค. 66 ซึ่งจะสนับสนุนราคาน้ำมัน โดย Goldman Sachs ปรับประมาณการณ์ราคาน้ำมันดิบ Brent ในปี 66 และ 67 เพิ่มขึ้น 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากคาดการณ์เดิม มาอยู่ที่ 95 และ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 10-14 เม.ย.66  จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 17-21 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ท่ามกลางตามความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มแข็งแกร่งขึ้น โดยรายงานฉบับเดือน เม.ย. 66 ของ IEA ประเมินอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 65 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 99.91 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 66 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 101.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน 

ในขณะเดียวกัน เหตุอุปทานน้ำมันชะงักชะงันจากการส่งออกน้ำมันดิบจากเขตปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรักผ่านท่อ Kirkuk-Ceyhan ซึ่งสูบถ่ายน้ำมันดิบที่ระดับ 400,000-450,000 บาร์เรลต่อวัน (จากขีดความสามารถในการสูบถ่าย 700,000 บาร์เรลต่อวัน) หยุดดำเนินการวันที่ 25 มี.ค. 66 ยังไม่กลับมาดำเนินการ เนื่องจากตุรกีและรัฐบาลกลางอิรักยังเจรจาเรื่องค่าชดเชย 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ตุรกีต้องจ่ายให้อิรักก่อนกลับมาสูบถ่ายน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตของสหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้น ล่าสุด นาย Thomas Barkin ประธาน Fed สาขา Richmond เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขับเคลื่อนไปได้กับอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงเติบโต ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% จากระดับปัจจุบันระดับที่ 4.75-5.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ในวันที่ 2-3 พ.ค. 66

ในสัปดาห์นี้คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 83-88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้นจาก OPEC+ ขยายระยะเวลาและลดปริมาณการผลิตเพิ่มเติมถึงสิ้นปี 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 17-21 เม.ย.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 24-28 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) ประกาศอาสาลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรวมกัน 1.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 66 ทำให้ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวในช่วงประมาณ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 66 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม วันที่ 19 เม.ย. 66 ราคาเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง และจะส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

สัปดาห์นี้ คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อน Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 2 - 3 พ.ค. 66 นอกจากนี้ ตลาดเริ่มคลายความตระหนกจากการตัดสินใจลดการผลิตของ OPEC+ รวมทั้งอุปทานจากรัสเซียและสหรัฐฯ ที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- นักวิเคราะห์ 90% คาดการณ์ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 5.0-5.25% ในการประชุมนโยบายการเงิน (FOMC) วันที่ 2-3 พ.ค. 66 และนักวิเคราะห์ 59% คาดว่าหลังจากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใหม่ไปจนถึงสิ้นปี 66 และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 3.5% ไปอยู่ที่ 4.3% ในช่วงปลายปี 66 

- EIA รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 66 เพิ่มขึ้น 0.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 4.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน (+1.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า) ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน (0.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เนเธอร์แลนด์ (0.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และสหราชอาณาจักร (0.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน) 

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 1-5 พ.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 8-12 พ.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์สิ้นสุด 5 พ.ค. 66 ลดลง 5.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 74.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและเปลี่ยนไปถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย จากความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาอาจเข้าสู่สภาวะถดถอย ทั้งในภาคงบประมาณ การเงิน และการธนาคาร อาทิ วันที่ 4 พ.ค. 66 หุ้น PacWest Bancorp ลดลง 51% แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังธนาคารเปิดเผยว่าอาจพิจารณาเพิ่มทุนหรือขายกิจการ, หุ้น Western Alliance Bancorp ลดลง 38% ขณะที่ธนาคารยืนยันสถานะทางการเงินว่ายังไม่ต้องขายกิจการ, หุ้น First Horizon ลดลง 33% ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2551 หลัง Dominion Bank ของแคนาดายุติการเจรจาซื้อกิจการ 

ทางด้านนักวิเคราะห์ Reuters คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve: Fed) อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือน ก.ย. 66 ทั้งนี้วันที่ 3 พ.ค. 66 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 5.0-5.25% และจะมีการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 13-14 มิ.ย. 66 

คาดว่าราคา ICE Brent ในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 70-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Joe Biden มีแผนหารือร่วมกับแกนนำรัฐสภา 4 ท่าน ในวันที่ 9 พ.ค. 66 ทั้งฝั่งวุฒิสภา ได้แก่ นาย Chuck Schumer (Democratic Senator - Majority Leader), นาย Mitch McConnell (Senate Republican leader) และฝั่งสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ นาย Kevin McCarthy (Speaker of the House - Republican), และนาย Hakeem Jeffries (House Minority Leader) ในประเด็นการใช้จ่ายงบประมาณ และขยายเพดานหนี้

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- 4 พ.ค. 66 ที่ประชุมธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) มาอยู่ที่ 3.25% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ (Marginal Lending Facility Rate) มาอยู่ที่ 4%


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top