Saturday, 4 May 2024
Impact

รู้จักร้าน 60 Plus Bakery & Cafe โครงการดีๆ ที่เดินหน้าด้วยพลังของผู้พิการ

60 Plus Bakery & Cafe 

แค่เห็นชื่อผ่าน ๆ ก็คงพอทราบว่าเป็นร้านขายเบเกอรี่และขนมทั่ว ๆ ไป

หากแต่สาเหตุที่ทำให้ 60 Plus Bakery & Cafe เป็นสินค้าและบริการที่ไม่ธรรมดา จนต้องหยุดดู!! เพราะทั้งหมดที่ทำขึ้นในร้านนี้ เกิดขึ้นโดยคนพิการและออทิสติก!!

60 Plus Bakery & Cafe เป็นร้านเบเกอรี่คาเฟ่ อยู่ใกล้ ๆ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งปัจจุบันได้เปิดเป็นศูนย์ฝึกอาชีพสอนงานครัวและงานบริการแก่ผู้พิการ ซึ่งอันที่จริงแล้ว 60 Plus+ Bakery & Cafe เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดทำขึ้น เพื่อช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้คนพิการและออทิสติก โดยขนมทั้งหมดในร้านจะอยู่ภายใต้การดูแลจากร้าน Yamazaki อีกทีหนึ่ง

ที่นี่มีคุณคริส ‘คริสโตเฟอร์ เบญจกุล’ อดีตพระเอกหนุ่มอนาคตไกล ที่ชีวิตต้องพลิกผัน หลังลงไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจนตนเองถูกจักรยานยนต์เมาแล้วขับชน จนได้รับบาดเจ็บสาหัสและร่างกายของพระเอกหนุ่มก็กลับมาไม่สมบูรณ์ 100% ซึ่งปัจจุบันเขาได้รับหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ให้กับมูลนิธิ APCD แห่งนี้อีกด้วย 

ความเจ๋งของร้าน 60 Plus+ Bakery & Cafe ไม่ใช่แค่ศูนย์ฝึกอบรมผู้พิการ รวมถึงสินค้า/บริการจากผู้พิการเท่านั้น แต่ที่นี่จะให้โอกาสแก่ผู้พิการและออทิสติก ได้เข้าไปทำงานประจำยังร้าน Yamazaki สาขาต่าง ๆ ที่ต้องการคนและสะดวกต่อการเดินทางของผู้ที่จะไปประจำตำแหน่งนั้น ๆ เมื่อมีทักษะที่ดีพอ

ส่วนตำแหน่งที่แต่ละคนได้รับนั้นก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อย่างเช่น ผู้พิการทางหูก็สามารถทำขนมได้ หรือผู้พิการทางขาก็สามารถมาทำงานเป็นแคชเชียร์ได้เช่นกัน หรือบางคนก็อาจจะสามารถทำได้หลายตำแหน่ง หมุนเวียนกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการในขณะนั้น

‘วรวุฒิ พรรคกล้า’ ฝาก ‘บิ๊กตู่’ แก้น้ำมันแพง ส่ง 3 กระทรวง ถกปัญหาผู้ประกอบการขนส่ง

“รองหัวหน้าพรรคกล้า” ฝาก “บิ๊กตู่” หารือ ครม. ส่งตัวแทน 3 กระทรวง รับฟังปัญหาผู้ประกอบการประท้วงราคาน้ำมันแพง หวั่นบานปลายขึ้นราคาต้นทุน กระทบประชาชน ย้ำถ้าลดภาษีสรรพสามิต รัฐต้องหารายได้อื่นมาทดแทน

นายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าวกรณีผู้ประกอบการเตรียมหยุดเดินรถประท้วงราคาน้ำมัน โดยขอให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) หารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ โดยขอให้กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ ตั้งตัวแทนรับฟังปัญหาจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา มีโอกาสนำไปสู่การหยุดประท้วง ไม่ต้องเอารถทหารมาใช้แทน

“การให้ผู้ประกอบการไปคุยกับคนนู้นทีคนนี้ที มันดูไม่จริงใจในการแก้ปัญหา จึงเป็นปัญหาที่ต้องพูดคุยกันทุกฝ่าย เพราะภาวะผันผวนราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่ใช่ปัญหาระยะสั้น แต่จะเป็นปัญหาระยะยาว หากไม่มีการจัดการ สุดท้ายผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องขึ้นต้นทุนสินค้า สุดท้ายผลกระทบจะตกอยู่กับประชาชน จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง หากปล่อยไว้ปัญหายิ่งไปกันใหญ่ จึงอยากให้สองฝ่ายไม่ว่าผู้ประกอบการหรือรัฐบาลหันหน้าเจรจากันด้วยความจริงใจ” นายวรวุฒิ กล่าว

สำหรับข้อเสนอลดภาษีสรรพสามิตลงอีก 5 บาทต่อลิตร ตรึงราคาน้ำมันดีเซลบี 7 ให้อยู่ที่ 25 บาท รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าวว่า เป็นแนวทางที่อาจทำได้ แต่คำถามอยู่ที่รัฐบาลจะเอาภาษีหรือรายได้ส่วนอื่นมาชดเชยอย่างไร ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ไม่ใช่เรื่องระยะสั้น เพราะระยะยาวเชื่อว่าอัตราการบริโภคน้ำมันและความผันผวนของโลก ทั้งความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน อัตราการใช้พลังงานหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายหลายประเทศ อาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพราคาน้ำมันในระยะยาว รัฐบาลต้องหามาตรการมาดูแลจริงจัง ไม่เช่นนั้นผู้บริโภคคือประชาชน จะเป็นผู้เดือดร้อน

‘ชัยวุฒิ’ มั่นใจ ดีลควบรวม ทรู-ดีแทค ไม่ผูกขาด แจง รัฐบาลมีแค่หน้าที่ดูแลผลกระทบประชาชน

‘ชัยวุฒิ' ระบุ ทรู-ดีแทค จับมือควบรวม เรื่องปกติทางธุรกิจ เชื่อ ผูกขาดยาก แจง รัฐบาลมีแค่หน้าที่ดูแลผลกระทบประชาชน

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) บริษัทแม่กลุ่มทรู และกลุ่มเทเลนอร์ บริษัทแม่ของดีแทค จะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU-Memorandum of Understanding) ทางธุรกิจระหว่างกัน ว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้อยู่ในอำนาจของตนที่จะไปกำกับดูแล ในทางธุรกิจเป็นสิทธิ์ของบริษัทที่จะวางแผนหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน หรือลดค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้การบริการดีขึ้น

เมื่อถามว่า การควบรวมดังกล่าวจะเป็นการผูกขาดทางธุรกิจหรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า จะผูกขาดอย่างไร เพราะเรื่องมือถือมีการแข่งขันอยู่แล้ว และมีการกำกับดูแลโดย กสทช. ถือเป็นเรื่องปกติ ธุรกิจประเภทนี้มีหลายเจ้าผูกขาดไม่ได้อยู่แล้ว เพราะลงทุนสูง ต้องมีการขอสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ บางประเทศยังมีแค่เจ้าเดียว  ถ้ามีหลายเจ้าและต่างคนต่างลงทุนจะเป็นการสิ้นเปลือง ต้นทุนสูงขึ้น ประชาชนต้องจ่ายบริการเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนธุรกิจ ส่วนรัฐบาลเพียงเข้าไปกำกับดูแลว่าให้บริการกี่เจ้า และจะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร  

นายกฯ ปลื้ม!! หารือผู้ก่อตั้ง 'หัวเว่ย' ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนไทย

25 พ.ย. 64 ที่ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเหริน เจิ้งเฟย (Mr. Ren Zhengfei) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล ซึ่งนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสรุปสาระสำคัญของการหารือว่า

นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบหารือกับนายเหริน เจิ้งเฟย ชื่นชมการดำเนินกิจการของบริษัทหัวเว่ยฯ ผู้ผลิตและผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นนำของโลก ขอบคุณบริษัทฯ ที่ได้สนับสนุนรัฐบาลในการรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั้งการบริจาคหน้ากากอนามัยและการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ขอบคุณความร่วมมือที่มีให้รัฐบาลไทย และขอบคุณที่เลือกทีมงานที่มีศักยภาพและความพร้อมมาประจำการที่ประเทศไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการร่วมงานกับรัฐบาลไทยเสมอมา 

นายธนกร กล่าวว่า ด้านนายเหรินฯ กล่าวยินดีที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะเป็นการพบกันผ่านระบบออนไลน์ เชื่อมั่นในความตั้งใจจริงของนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศซึ่งไทยสามารถบริหารสถานการณ์ให้ดีขึ้นจนประกาศการเปิดประเทศ ขอบคุณสำหรับความร่วมมือที่รัฐบาลไทยมีให้หัวเว่ยตลอดมา ทั้งนี้หัวเว่ยต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยอย่างแท้จริง 

Gigafactory ฐานผลิตแบตฯ ใหญ่สุดในอาเซียน ภายใต้อภิมหาโปรเจกต์ล่าสุดของ EA

“วันนี้ประเทศไทยของเรา กำลังจะมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่าโรงงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา ถึง 1.4 เท่า ด้วยเงินลงทุนที่ถูกกว่า ก็ทำให้เราสามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ในราคาที่ถูกกว่า นั่นหมายความว่าเราก็จะส่งออกแบตเตอรี่นี้ออกไปต่างประเทศได้ ถ้าคนไทยทำได้จริง ๆ ทำไมคนไทยจะเป็นผู้ชนะบ้างไม่ได้”

นี่คือคำกล่าวของ ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้บุกเบิกและพัฒนาการนำ ‘พลังงานสะอาด’ หรือ ‘พลังงานทดแทน’ มาใช้ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยพัฒนาแบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทย MINE Mobility ด้วยสโลแกน MISSION NO EMISSION ซึ่งไม่ได้มีแค่รถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ในปี 2564 นี้ แบรนด์ MINE ได้เปิดตัว MINE Smart Ferry เรือโดยสารไฟฟ้า สายแรกแห่งลำน้ำเจ้าพระยา ที่เป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทย 100%

...และวันนี้ เขากำลังจะพาประเทศไทยเข้าไปสู่โอกาสใหม่แห่งอนาคต ภายใต้ Gigafactory โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน!!

>> อนาคตประเทศไทย ภายใต้โรงงานผลิตแบตฯ สุดยิ่งใหญ่แห่งอาเซียน

12-12-2021 หรือวันที่ 12 เดือน 12 ที่ผ่านมา ได้กลายเป็นอีกหนึ่งวันที่ประเทศไทยต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อ EA ประกาศตอบสนอง New S-Curve ของประเทศไทย ด้วยการเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ ‘อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย)’ ซึ่งจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ (Bluetech City) กิจการของ EA ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 

สมโภชน์ เล่าให้ฟังถึงเหตุผลของการตั้งโรงงานแห่งนี้ว่า...

โลกเราทุกวันนี้ ร้อนจนกระทั่งไม่รู้ว่ามนุษยชาติจะอยู่บนโลกนี้ได้หรือไม่ แต่บางคนก็ยังพูดว่าตอนนี้ น้ำมันถูก มีความจำเป็นอะไรที่เราต้องไปซื้อพลังงานทดแทนมาใช้ 

ฉะนั้นผมว่า วันนี้ไม่ใช่เรื่องของอะไรถูก อะไรแพง แต่มันจะเป็นเรื่องที่บอกว่า มนุษย์เราจะอยู่ต่อไปบนโลกนี้ได้อย่างไร

ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ถูกลงเรื่อย ๆ ถูกจนกระทั่งสามารถผลิตออกมาได้ถูกกว่าการใช้น้ำมัน การใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งถ่านหินเสียอีก

แต่ปัญหามันมีอยู่ข้อเดียว คือ พลังงานทดแทน เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เวลาไม่มีแดด โซลาร์เซลล์ ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้า เวลาไม่มีลม กังหันลม ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้าเช่นกัน

แต่มนุษย์เรา ต้องการไฟฟ้าในเวลาที่เราต้องการ เมื่อกลับถึงบ้าน รู้สึกร้อน ใคร ๆ ก็อยากเปิดแอร์ เวลากลางคืน ทุกคนก็อยากมีไฟฟ้าใช้ แบตเตอรี่ก็จะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าเวลาที่เราไม่ได้ใช้ และจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาเวลาที่เราต้องการ ถ้าเราสามารถทำขั้นตอนนี้ได้ถูกลง นั่นคือ เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งถ่านหิน

แน่นอนว่า บางคนบอกอาจจะบอกว่า แบตเตอรี่ ราคายังแพงอยู่ ไว้เดี๋ยวเวลาพลังงานชนิดนี้ถูก ค่อยไปผลิตเอามาใช้ก็ได้ รอก่อน แต่ผมมองว่าความคิดแบบนี้ทำให้เราเป็นผู้ตามเรื่อยไป และประเทศไทย ถ้ายังคิดแบบนี้ เราก็ยังต้องเป็นผู้ซื้อตลอดไป

ยิ่งไปกว่านั้น หากเราต้องการจะหลุดพ้นจาก Middle Income Trap เราไม่มีทางเลือกหรอกครับที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเราเองขึ้นมาให้ได้ เราต้องมีแรงของตัวเอง เพื่อเพิ่ม Value added หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ เพื่อให้ประชาชน พี่น้องชาวไทย มีรายได้ที่ดีขึ้น ทำให้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศหายไปได้

‘ก.อุตฯ’ เปิดโรงงานผลิตแบตฯ ใหญ่สุดในอาเซียน เตรียมดันไทยสู่สังคมพลังงานสะอาดยั่งยืน

ไม่นานมานี้ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธี เปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคอาเซียน โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.กระทรวงแรงงาน, นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, นายกวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีพลังงาน, รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา, นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ฉะเชิงเทรา พร้อมผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียน-พลังงานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงาน จะเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีเสถียรภาพเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ออกแบบให้โรงงานแห่งนี้ใช้ระบบที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตได้ง่ายขึ้น เพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีในอนาคต อีกทั้งโรงงานยังเน้นแนวคิดที่ใช้พลังงานในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการรีไซเคิลในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท อมิตา เทคโนโลยี อิงค์ (ไต้หวัน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในไต้หวันมากว่า 20 ปี

ทั้งนี้ กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ได้เข้าร่วมทุน ถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีในการสร้างโรงงานจนเป็นผลสำเร็จ ผ่านบริษัทย่อยภายใต้ ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่มากขึ้นในระดับ World Class เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ชนิด Pouch Cell ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และวัสดุที่มีความปลอดภัยสูงในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ให้สามารถจุพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตราย เช่น กรดหรือตะกั่ว และใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตเซลล์ เมื่อหมดอายุการใช้งาน นำไปรีไซเคิล ด้วยการคัดแยกแผ่นขั้วบวกและขั้วลบได้ง่าย เพราะเป็นแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แบตเตอรี่ของอมิตายังออกแบบให้เข้ากันกับเทคโนโลยีแบบ Ultra-Fast Charge ที่รองรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที พร้อมรองรับการชาร์จได้สูงถึง 3,000 รอบ ที่จะเป็นจุดเด่นสำหรับรองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด”

4 แนวทางจัดการ ‘หมูแพง’

4 แนวทางจัดการ ‘หมูแพง’

- ห้ามส่งออกหมูชั่วคราว 3 เดือน

- สั่งเช็กสต็อกหมูทั่วประเทศ ป้องกันการกักตุน

‘กรมสรรพากร’ รับนโยบาย ‘บิ๊กตู่’ คาดเกณฑ์เก็บภาษีคริปโตเสร็จเดือนนี้

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์การคิดภาษีจากกำไรการขายหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.นี้ หลังจากนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กรมสรรพากรเร่งสร้างความชัดเจน เกี่ยวกับแนวคิดคำนวณภาษีจากกำไร การขายหรือการลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี ให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป  

ทั้งนี้ กรมสรรพากร ได้หารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น  ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อนำมาจัดทำแนวทางการปฏิบัติในการเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เกิดความเหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนและบริบทในปัจจุบัน โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องจากการถือครองหรือได้รับผลประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล

เงินสำรองไทยแกร่งต่อเนื่อง!! ขยับขึ้นที่ 12 ของโลก สะท้อนฐานะทางการเงินประเทศแข็งแกร่ง

ในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 นับเป็นช่วงเวลาที่ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย อ่อนแอลงอย่างมาก เนื่องจากต้องรับมือกระแสเก็งกำไรค่าเงินบาท ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต จนทำให้เหลือเงินสำรองฯ เพียง 2 หมื่นกว่าล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

อย่างไรก็ดี หลังจากได้รับบทเรียนจากวิกฤตในครั้งนั้น ฐานะเงินสำรองฯ ของประเทศไทยก็เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาถึง 10 เท่า จากปี 2540

และเมื่อมองย้อนกลับไป 5 ปี หลังสุด พบว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ปี 2559 อยู่ที่ 6,155,783 ล้านบาท, ปี 2560 อยู่ที่ 6,615,482 ล้านบาท, ปี 2561 อยู่ที่ 6,666,266 ล้านบาท, ปี 2562 อยู่ที่ 6,756,943 ล้านบาท, ปี 2563 อยู่ที่ 7,747,644 ล้านบาท และ ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 8,212,110 ล้านบาท

โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนต.ค. 64 ระบุว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศรวม (gross reserves) อยู่ที่ 246,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 8.21 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับมั่นคง โดยคิดเป็นประมาณ 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 

จากตัวเลขดังกล่าว ส่งผลให้ปัจจุบัน ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 12 ของโลก จากจำนวน 195 ประเทศ

ขณะที่ 3 อันดับแรกประกอบด้วย จีน มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 3,398,927 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือนพ.ย. 64), ญี่ปุ่น มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1,405,754 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือนพ.ย. 64) และสวิตเซอร์แลนด์ มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1,086,197 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือนต.ค. 64)

นโยบายไม่ขายฝัน!! ‘ประกันรายได้’ ชุบชีวิตเกษตรกร 7.8 ล้านราย นโยบาย ปชป.ยุคใหม่ เน้นทำได้จริง

อย่างที่รับทราบกันดีว่า ประเทศไทย คือ ประเทศเกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก ขณะที่อาชีพเกษตรกร คือ อาชีพหลักของคนไทยมาช้านาน เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนบนโลกได้มีอาหารดีๆ 

แต่ทว่า อาชีพเกษตรกร กลับเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงด้านรายได้เพื่อยังชีพและเลี้ยงครอบครัว นั่นเพราะการทำเกษตรมักจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่า ผลผลิตที่ออกมานั้น จะมีราคาที่คุ้มกับที่ลงทุนไปหรือไม่ เนื่องจากมีตัวแปรจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง 

ที่ผ่านมา พรรคการเมืองส่วนใหญ่ มักจะกำหนดนโยบายด้านราคาสินค้าเกษตรเป็นตัวชูโรง เพราะทราบดีว่า เกษตรกรเป็นฐานเสียงสำคัญ บางนโยบายสามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่นโยบายอีกจำนวนมากเป็นเพียงการขายฝัน สุดท้ายก็ทำไม่ได้ตามที่รับปากชาวบ้าน

แต่หนึ่งในนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ที่อาจกล่าวได้ว่า โดนใจเกษตรกรไทยเต็มๆ คงหนีไม่พ้น ‘นโยบายประกันรายได้เกษตรกร’ นั่นเอง

สำหรับนโยบายประกันรายได้เกษตรกร ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นนโยบายหลักของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่เมื่อครั้งรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา และภายหลังได้เข้าร่วมรัฐบาล ทางจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก็ได้ผลักดันนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อนำไปเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล โดยเริ่มจากการประกันรายได้ของพืช 5 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพด 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top