Monday, 2 December 2024
Impact

ปีนี้ 'อาลีบาบา' โกยไปเท่าไหร่!?

ยังเฉียบเหมือนเดิม หลังจาก Alibaba รักษาฟอร์มยอดขายของวันเทศกาล 11.11.2020 ได้อย่างคงเส้นคงวา โดยปีนี้กวาดยอดขายตั้งแต่ช่วงนาฬิกาเริ่มหมุนไปถึง 1.71 ล้านล้านบาท มากกว่าปีก่อนที่ทำไว้ 1.16 ล้านล้านบาท

 

ทัวร์นอกบุกไทย...เท่าไรละ?

สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยเริ่มฟื้นตัวกลับมาบ้างแล้ว หลังจากรัฐบาลออกมาตรการผ่อนคลายให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยได้มากขึ้น  

แล้วตอนนี้จำนวนคนที่เข้ามามีมากน้อยแค่ไหน?

 

หยุดพฤติกรรม ‘Silo’ เพราะเรื่องของ ‘กู’ อาจทำให้ Me too ‘So Slow’

หลังจากคุณ กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์รวมธุรกิจการค้าออนไลน์ในไทย ภายใต้นโยบาย ‘คนละครึ่ง’ และรวมถึงยอดขาย ‘11.11’ ที่ผ่านมา

ผลปรากฏที่เด่นชัดมาก ๆ คือ คนไทยค่อนข้างพร้อมกับการใช้จ่ายแบบสังคมไร้เงินสดพอสมควร

สังเกตุจากโครงการคนละครึ่งที่พอมีการเปิดให้ลงทะเบียนรอบ 2 ก็ลงกันสิทธิ์อย่างรวดเร็ว มียอดการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ไปแล้วถึง 13,764 ล้านบาท กระจายสู่ร้านหาบเร่แผงลอยได้กว่า 650,000 ร้าน

ที่น่าสนใจในุมมของคุณกรณ์ คือ ตอนนี้รัฐได้ทำให้คนกว่า 12 ล้านคนยอมรับและคุ้นเคยกับการใช้ Cashless (ไร้เงินสด) มากขึ้น และเช่นเดียวกันผู้ค้ากว่า 6.5 แสนรายก็เข้ามาอยู่ในระบบดิจิทัลไปเรียบร้อย (และลุงตู่ก็คงยิ้มแป้น)

แต่ก็มีคำถามตามมาว่า ทำไมประเทศไทย ไม่พัฒนาระบบ e-Commerce Platform ของตัวเองแบบเป็นจริงเป็นจังสักที

ทั้ง ๆ ที่ยอดการใช้จ่ายในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ตัวภาครัฐก็มีข้อมูล ‘Big Data’ มากมายมาตุนไว้ อุปสรรคคืออะไร? ทำไมเรายังไม่ไปถึงจุดนั้น?

ลองจินตนาการต่อไปว่าในอนาคต หากรัฐเปิดโอกาสให้คนไทยเสนอขายสินค้าโดยตรงกับผู้บริโภคตามฐานข้อมูลที่รัฐมี

รวมถึงรัฐคอยช่วยสนับสนุนด้วยโปรโมชั่นต่าง ๆ และบริการส่งของผ่านไปรษณีย์ไทย...นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ e-Commerce Platform ของไทยที่เรารอคอยก็ได้

คำตอบหนึ่งที่ได้จากบทสรุปนี้คืออะไร

ปัญหาใหญ่ที่เด็กอมมือก็ยังรู้ คือ รัฐไทยยังทำงานกันแบบ ‘Silo’ หรือต่างคนต่างทำ อย่างกรณีโครงการ ‘คนละครึ่ง’ ตัวข้อมูลอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ผู้ที่มีพันธกิจสร้าง e-Commerce Platform คือ กระทรวงดิจิทัล และกระทรวงพาณิชย์

ผลคือการทำงานแบบตัวใครตัวมัน และทำให้เกิดปัญหา ‘คอขวด’ เวลาต้องคิดโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ที่ล่าช้า

ว่าแต่ ‘Silo’ ที่คุณกรณ์พูดถึงนี้คืออะไร?

Silo มาจาก Siloed Organization หรือ Siloed Company มีความหมายตรงตัว คือ แผนกต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน

โดยสัญญาณที่บ่งชี้ว่า Silo กำลังเข้ามาครอบงำการทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือรัฐบาลในตอนนี้ คือ...

1.) ภาครัฐไม่สามารถใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางการสื่อสารเพื่อแบ่งแยกกำลังซื้อจริงของประชาชน กับกำลังซื้อแฝง ยกตัวอย่างเช่น ทีมการตลาดหรือทีมบริหารไม่คิดจะดูแลคนที่ซื้อของไปแล้ว ราวกับคนที่ยังไม่ได้ซื้อของ เพราะฝ่ายเซลล์กับฝ่ายการตลาดไม่คุยกัน สุดท้ายก็ทำลายประสบการณ์ของลูกค้า

2.) ความแปลกหน้าในองค์กร สัญญาณเตือนภัย คือ หากไม่รู้จักคนหรืองานจากนอกทีม ซึ่งไม่ได้หมายถึงให้ต้องรู้จักแบบละเอียด จะไม่มีวันเข้าใจปัญหาของแต่ละฝ่ายได้เลย ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ ก็ควรรู้จักชื่อของทุกคน แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่อย่างน้อยก็ควรจะรู้ชื่อและช่องทางติดต่อระดับบริหารแต่ละแผนก เพื่อให้เกิดการทำงานแบบประสานมือได้ง่ายขึ้น

3.) ภาวะ ‘เรา’ กับ ‘เขา’ ระหว่างแผนก จะทำให้เกิดภาวะการแข่งขันเชิงเห็นแก่ตัว เพราะไม่มีการแชร์ข้อมูลและขาดความร่วมมือร่วมใจ เหตุกลัวว่าอีกทีมจะได้หน้า แต่สุดท้ายจะแพ้ฝ่าย

4.) พนักงานที่ถูกเพิกเฉย หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม และถูกปฏิบัติไม่เหมือนคนอื่น อาจจะไม่มีความสุข รู้สึกไม่มีประโยชน์ และเสี่ยงต่อการแชร์หรือปั่นหัวสิ่งที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ

5.) การทำงานซ้ำซ้อน เพราะไม่มีการสื่อสารกัน ไม่มีทางที่จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำไป ได้ทำซ้ำกับคนอื่นหรือแผนกอื่นหรือไม่ ธุรกิจที่ขาดความร่วมมือจะมีคนและทีมงานที่ทำงานในโครงการที่คล้ายกัน ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย

ฉะนั้นไม่ว่าจะรัฐหรือองค์กรไหนควรสร้าง Sharing is caring และ Knowledge is power ด้วยการร่างระบบการทำงานที่ทุกคน ‘ควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้’ และต้อง ‘ไม่ต่างคนต่างรู้’ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของการ Move on

การทำงานของรัฐในมุมของคุณกรณ์ จึงเหมือน Silo ที่หากปล่อยไปเรื่อย ๆ ไอ้สิ่งดี ๆ ที่จะคิดสร้างสรรค์หรือทำต่อในอนาคต (ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มาก) จะยิ่งไกลฝั่งออกไปๆ เลยล่ะลุงตู่!!…

.

อ้างอิง: เฟซบุ๊ค กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij / ETDA Thailand

8 ปีที่รอคอย!! ไทยเข้า ‘ตี้’ RCEP หุ้นส่วนเศรษฐกิจ 15 ชาติสะเทือนโลก

ประเทศไทยปิดดีล RCEP เรียบร้อย หลังการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ที่ยาวนานกว่า 8 ปี จบลงโดยมี 15 ชาติพันธมิตรเข้าร่วม หากนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 ก็เรียกว่าผ่านมาเนิ่นนานร่วม 8 ปี ของการเจรจา RCEP!!

RCEP คืออะไร?

RCEP มีชื่อย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป้าหมายของการก่อตั้ง RECP ก็เหมือน ๆ กับการตั้ง EU ในยุโรปนั่นแหละ เพราะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ การค้า และให้แก่ทุกประเทศที่เข้าร่วม

โดยอยู่ภายใต้ระบบการค้าเสรีที่ใช้กฎระเบียบเดียวกันของผู้มีส่วนใน RCEP (ภาคี) ที่มีทั้งหมด 15 ประเทศ แบ่งเป็รนชาติอาเซียน (รวมไทย) 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ การรวมตัว RCEP จะทำให้เกิดภาพอะไรขึ้น?

- ประชากรในประเทศสมาชิก RCEP จะครอบคลุมคนถึง 2.2 พันล้านคน หรือเกือบ 30% ของประชากรโลก

- คาดจะเกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 326 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นเกือบ 28% ของมูลค่าการค้าโลก

- และสร้างตัวเลข GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 817.7 ล้านล้านบาท) หรือ 30% ของ GDP โลก

.

จะเรียกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาครอบนี้ กลายเป็นเรื่องใหญ่ของโลกเลยก็ได้ เพราะ RCEP จะเหมือนกับ 1 ประเทศใหญ่ที่คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจได้ถึง 1 ใน 3 ของโลกกันเลยทีเดียว เมื่อทั่วโลกเห็นภาพแบบนี้ จะมีใครไม่อยากมาลงทุน พอมาลงทุน เม็ดเงินก็ไหลเวียนในระบบประเทศสมาชิก เกิดตลาดงานใหม่ โครงการใหม่ ๆ เกิดการสะพัดทางเม็ดเงินเศรษฐกิจแบบต่อเนื่อง สรุปประเทศรวย ประชาชนก็สบาย

ฉะนั้นทุกประเทศที่อยู่ในการเจรจา RCEP ต่างพยายามให้ข้อตกลงนี้ลุล่วง

แล้วก็เป็นข่าวดีมาก ๆ โดยเฉพาะกับไทย เพราะร่วมปิดดีลนี้ได้แล้ว!! โดยรัฐบาลไทยที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วมประชุม RCEP รอบนี้ และมี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นผู้ลงนาม RCEP กันทางออนไลน์ไปเป็นทีเรียบร้อย

จากนั้นคาดว่า เมื่อแต่ละประเทศให้สัตยาบัน ก็น่าจะเริ่มเปิดเสรี RCEP ทางการค้าและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ในช่วงครึ่งหลังปี พ.ศ.2564

ผลบวกที่ 15 ชาติ RCEP รอคอย?

- RCEP นั้นจะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างเสรี ‘ไร้กำแพงภาษี’ ใน 15 ประเทศ RCEP

- RCEP ในส่วนของอาเซียน อาจจะได้อานิสงค์จากประเทศจีน ที่ถือเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ฟื้นตัวจากวิกฤต COVID-19 ได้สำเร็จ

- การลงนามในข้อตกลง RCEP จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเชื่อมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าสู่เศรษฐกิจโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น

.

ทั้งนี้ RCEP ได้ถูกยกให้เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศสมาชิกประกอบไปด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ แต่อินเดียได้ถอนตัวออกไปก่อนหน้านี้ จึงเหลือแค่ 15 ประเทศ เพราะอินเดียกลัวปัญหาสินค้าราคาถูกจากจีนทะลักเข้าประเทศ

แม้จะขาดตลาดใหญ่อย่างอินเดีย แต่ก็เชื่อว่าประเทศสมาชิกใน RCEP ที่ว่ามาก็ยังสร้างระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้อยู่ดี

ความลุล่วงของ RCEP ในช่วงเวลานี้ จึงนับเป็นข่าวดีอย่างมากของเศรษฐกิจไทย!!

เพราะในจังหวะที่ทั่วโลกยังเจอปัญหาโควิด-19 แต่ไทยเราสามารถรับมือได้ จะเป็นแต้มต่อที่ผสมกับแรงหนุนใหม่ที่มี 15 ชาติ RCEP ผลักให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้ไวกว่าเดิม...

บทบาทใหม่ของ 'อริยะ พนมยงค์'

กลายเป็นอีกคนที่น่าจับตามามองในช่วงนี้!! สำหรับ 'อริยะ พนมยงค์' อดีต Head ของ Google ประเทศไทย, อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท LINE ประเทศไทย

.

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational พ่วงบทบาทใหม่ในการเข้ามาเป็นผู้นำทัพ Digital Transformation ให้กับสยามพิวรรธน์ โดยจะเข้ามาปรับคอนเซ็ปต์ Digital Experience ให้แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทาง ‘ออมนิชาแนล’

"MTL – BDMS - Pfizer" ผนึกกำลังยกระดับสิทธิประโยชน์ เสิร์ฟลูกค้าไทยประกัน 4 ล้านราย

ถ้าจะทำธุรกิจแบบเดินเดี่ยว (Stand Alone) สายป่านไม่ดีจริง หรือฐานลูกค้าไม่ภักดีจริง อาจจะเหนื่อยนักในยุคนี้ แม้แต่จะเป็นธุรกิจใหญ่ก็ตาม

ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมา การจับมือกันทางธุรกิจ จึงเกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะจับกับแบบ "ข้ามธุรกิจ" แล้วเอาความเชี่ยวชาญของแต่ละธุรกิจเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่

ล่าสุด 3 บริษัทใหญ่อย่าง บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL ร่วมมือกับบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS และ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ออกโครงการใหม่ร่วมกันโดยใช้ชื่อว่า "MTL Health Buddy"

สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MTL เผยว่า "โครงการนี้เป็นการนำร่องเพื่อยกระดับระบบนิเวศน์ของวงการสุขภาพ (Health Ecosystem) ที่ลูกค้าของเมืองไทยฯ จะได้รับความสิทธิประโยชน์จากการที่เราได้ร่วมมือกับทั้ง BDMS และไฟเซอร์ โดยทาง BDMS จะทำหน้าที่ผู้ช่วยด้านสุขภาพ พร้อมให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ ค้นหาศูนย์แพทย์เฉพาะทาง ค้นหาแพทย์ที่เหมาะกับโรค ทำการนัดหมาย ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ให้กับ "ลูกค้าของเมืองไทยประกันชีวิต" กว่า 4 ล้านคน"

"ขณะเดียวกัน ทาง ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จะเข้ามาเป็นอีกทางเลือกแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ในการเข้าถึงการรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) และหากได้รับผลตอบรับที่ดี หลังจากนี้จะมีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการเตรียมขยายสิทธิประโยชน์การรักษากลุ่มโรคอื่นๆ อีกต่อไปในอนาคต เช่น โรคมะเร็งปอด มะเร็ง ลำไส้ เป็นต้น"

ด้าน พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 1 BDMS ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในส่วนของบริษัทฯ จะให้บริการการปรึกษาแพทย์แบบ Teleconsultation ทั้งการปรึกษาปัญหาสุขภาพจากอาการป่วย หรือการวางแผนสุขภาพเชิงป้องกัน รวมไปถึงการหา Second opinion

โดยมีทีมแพทย์จากศูนย์แห่งความเป็นเลิศ Center of Excellence ในสาขาต่างๆ ร่วมให้คำปรึกษา อาทิ โรคสมอง หัวใจ มะเร็ง กระดูก หรืออุบัติเหตุ การเจ็บป่วยที่รุนแรง ฯลฯ หากเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จะมีการดูแลโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคมะเร็ง พร้อมแนะนำการเลือกใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) ซึ่งได้ร่วมมือกับทางไฟเซอร์ในการให้ยามุ่งเป้าเพื่อการรักษาในระยะยาวอีกด้วย

.

ปัจจุบัน การรักษาด้วยโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า หรือ Targeted Therapy ในคนไข้ทั่วไป ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เฉลี่ยประมาณ 100,000 บาทต่อการรับยา 1 ครั้ง และบางคนต้องรับยาเดือนละหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ และหากการรักษายาวนานเป็นปี คนไข้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหลายล้านบาท

.

แต่หากลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิต ที่มีประกันสุขภาพอีลิทเฮลท์ (Elite Health) ที่มีวงเงินความคุ้มครอง 20 - 100 ล้านบาท จะได้รับสิทธิ์ในการรักษาแบบ Targeted Therapy ทันที ส่วนลูกค้าประกันมะเร็ง (CI) อื่น ๆ แม้ไม่ได้รับสิทธิ์นี้ แต่จะได้รับสิทธิ์เป็นส่วนลดค่ายานวัตกรรมจากไฟเซอร์แทน เช่น เดือนนี้จ่าย แต่เดือนหน้าฟรีค่ายา เป็นต้น

.

Did you know

- มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง

- มะเร็งเต้านม เป็นอันดับ 2 ของยอดผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด

- ปีค.ศ.2018 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมใหม่กว่า 2 ล้านคนทั่วโลก

- ยอดผู้เสียชีวิต 6.3 แสนคนทั่วโลก

- ในไทย มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 1.9 หมื่นคนต่อปี

- คนไทย เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 5,900 คนต่อปี

ทางออกธุรกิจเพื่อสังคม!! กู้ที่ไหนไม่ได้...ให้มาออมสิน

แม้ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) จะเป็นแนวคิดของการทำธุรกิจที่ดีต่อการแก้ไขปัญหาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งในแนวทางการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ

แต่ปัญหาสำคัญที่จะเรียกว่าปัญหาใหญ่เลยก็ว่าได้ของธุรกิจเพื่อสังคม คือ ความยากในการเข้าถึง "แหล่งเงินทุน" ที่จะนำมาใช้ต่อยอดและหมุนเวียนระบบธุรกิจ

เพราะด้วยเป้าหมายของการสร้างธุรกิจ SE โดยธรรมชาติ จะไม่ได้มองในเรื่องผลกำไรมาเป็นอันดับแรก ทางสถาบันการเงินส่วนใหญ่ จึงปล่อยกู้ให้ยาก แล้วเมื่อเป็นเช่นนั้น โอกาสที่จะได้เห็นธุรกิจแนวนี้เติบโตในระยะยาว จึงเป็นเรื่องยากด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็มี ธนาคารออมสิน ที่กำลังออกมาอุดช่องโหว่ตรงนี้ ตามนโยบายที่ต้องการเพิ่มบทบาทการเป็นธนาคารเพื่อสังคมอย่างแท้จริงตามยุทธศาสตร์ขององค์กร

ล่าสุดธนาคารออมสิน ได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับโครงการโดยเฉพาะได้แก่ "สินเชื่อธุรกิจ ออมสินขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อต่อเติมซ่อมแซมสถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกิจการ" ออกมา

.

โดยสินเชื่อดังกล่าวตอบโจทย์ธุรกิจ SE ดังนี้

  • ให้วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย มีทั้งเงินกู้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก 2.99% ต่อปี ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MOR ต่อปี (ปัจจุบัน MOR ของธนาคารฯ = 5.995%)
  • ขณะที่เงินกู้ระยะยาวให้กู้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี ปีแรกไม่ต้องชำระเงินต้น คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก 2.99% ต่อปี ส่วนปีที่ 3-10 คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ของธนาคารฯ = 6.150%)

.

เงื่อนไข

  • วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท ใช้บุคคลค้ำประกันร่วมกับ บสย.
  • วงเงินกู้ 3-10 ล้านบาท ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันได้

.

วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า "ปัจจุบันทางออมสินได้มีการอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมไปแล้วรวมกว่า 17 ล้านบาท และนอกเหนือจากนั้น ทางธนาคารยังได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย (Social Enterprise Thailand Association: SE Thailand) เพื่อช่วยสนับสนุนบริษัทสมาชิก ทั้งด้านการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ และช่วยสร้างองค์ความรู้เพื่อยกระดับกิจการให้สามารถช่วยเหลือชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย"

ตั้งการ์ดท่าไหน? ในยุคโควิด-19 "เฟส 2" บทเรียนอดีตสะท้อนรัฐห้ามปิดเมืองหมด และผู้ประกอบที่ควร "ลดดีกรี" โกยแต่ "รายได้ - กำไร"

ได้เสียววาบ ๆ กันอีกรอบ อาจจะถึงขั้นล็อกดาวน์กันเลยก็เป็นได้ หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด - 19 ระลอกใหม่ในไทย ระลอกนี้เริ่มมาจากแดนเหนือ และเริ่มแพร่กระจายแบบไม่รู้จะคุมอยู่แค่ไหน แต่ที่แน่ ๆ เริ่มเล็ดหลุดมากรุงเทพฯ เรียบร้อย

เรื่องโรคยังไงก็ต้องปล่อยหน้าที่ให้ทางการจัดการไป แต่ถ้าหันกลับมามองในแง่ของธุรกิจที่เหมือนกำลังจะกลับมาจะทำยังไงต่อไป ถ้าโควิด - 19 คัมแบ็คอีกรอบ

ลองมาตั้งสมมติฐานกันดูว่า หากโควิด - 19 กลับมาระบาดรอบสองแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจไทย จะรับมือกันอย่างไรต่อ? และจะยังมีแรงยกการ์ดตั้งรับไหวไหม? ที่สำคัญงวดนี้รัฐบาลควรจะหามาตรการใดมารับมือ?

"หากดูจากบทเรียนล็อกดาวน์รอบแรก"

กุญแจสำคัญของล็อกดาวน์รอบแรก ธุรกิจจะกลับมาดูธุรกิจตัวเองมากขึ้น เรียนรู้ตัวเองมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะมีเวลามากขึ้น จากการที่โควิด - 19 ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก โดย 3 เรื่องที่สามารถกลับมานั่งนิ่ง ๆ แล้วทบทวนตัวเอง คือ รายได้ / ต้นทุน และกำไร

     - อย่างรายได้ ถ้าอยากให้กลับมีเหมือนเดิม ก็ต้องเข้ามาดูลูกค้าว่ากลุ่มไหนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจของเรา ต้องจับไว้ให้มั่น ไม่ใช่จับมันทุกกลุ่มเหมือนก่อนไหม

     - อย่างต้นทุน ถ้าอยากให้ลดลง ก็ต้องทำให้ต้นทุนต่าง ๆ ไม่จำเป็น ลดลง บางสายงานจำเป็น ไม่จำเป็น ต้องโยกย้ายคนไหม ค่าใช้จ่ายไหน ไม่จำเป็นบ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่น ๆ อาจจะต้องตัด

     - อย่างกำไร ถ้าอยากให้มากขึ้น ก็ต้องมีเวลากลับเข้ามาดูว่าธุรกิจส่วนไหนที่เราจะสามารถทำอะไรให้ได้มากขึ้น หรือขยายไปเป็นธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองต่อยุคโควิด - 19 เช่น ร้านอาหาร ก็เปลี่ยนตัวเองจากขายหน้าร้าน มาส่งเดลิเวอรี่อย่างเดียว

ทีนี้ถ้าโควิด -19 รอบ 2 มา แล้วเกิดมันหนักจนรัฐต้องปิดประเทศอีกรอบ บอกเลยว่า...งวดนี้หนักแน่นอน!! เพราะจากข้อมูลในช่วงล็อกดาวน์ที่มีการประเมินจากศูนย์วิจัยต่าง ๆ พบว่า

     - ระบบเศรษฐกิจต้องสูญเสียรายได้ในประเทศประมาณ 1.5 หมื่นล้านต่อวัน

     - เมื่อเอา 30 วันคูณเข้าไป ก็ตก 4.5 แสนล้านต่อเดือน

     - และถ้าเอา 10 เดือนคูณเข้าไป ก็จะสูญเสียไป 4.5 ล้านล้านต่อปี

ฉะนั้นหากเกิดเหตุขึ้นอีก ตัวเลขนี้ก็จะเกิดตาม และจะไม่มีอะไรไปทดแทนได้อีกเลย ถ้าต้องล็อกดาวน์นานมากขนาดนั้น

"รัฐต้องวางหมากให้แม่น" การ์ดที่ภาครัฐต้องตั้ง คือ ดูแลทรัพยากร รวมถึงรายได้ธุรกิจภายในประเทศ หากต้องมีการล็อกดาวน์ ก็ควรล็อกแค่เฉพาะส่วน และปล่อยในบางส่วน เช่น พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญในกรุงเทพ อย่าง ราชประสงค์ สยาม เยาวราช สีลม สุขุมวิท หากจะต้องเลือกล็อก ก็ต้องล็อกเฉพาะบางจุดของพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในพื้นที่นั้น ๆ ไม่ควรปิดทั้งหมด

ขณะเดียวกันต้องเลือกผ่อนปรนบางธุรกิจที่สามารถกระตุ้นภาคการจับจ่ายไว้ด้วย โดยเฉพาะร้านอาหาร เพราะหากปิดทั้งหมด การจะกลับมาแบบเฟสแรกนี่คงยากมาก ๆ ไหนจะในแง่มูลค่าเศรษฐกิจ ไหนจะในเรื่องพนักงาน และคนทำงานด้วย โดยเฉพาะเรื่องตัวเลขคนตกงานที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด - 19

มีการคาดการณ์ตัวเลขพุ่งขึ้นไปถึงกว่า 8 ล้านกว่าคน ตัวเลขนี้ไม่ว่าจะชดเชยยังไง ก็ถมกันไม่หมด เพราะไม่ใช่แค่การสูญเสียเชิงมูลค่าเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ยังมีการสูญเสียมูลค่าทางใจที่ยากกู้คืนกลับ พูดง่าย ๆ คือ ในประเทศไม่ควรล็อกดาวน์ทั้งหมด แต่ถ้าปิดประเทศ ไม่ให้ต่างประเทศเข้ามา อันนี้ ควรทำ!!

...ทีนี้หันกลับมามองภาคผู้ประกอบธุรกิจจะรับมือไหวไหม ถ้าโควิดระบาดจริง ๆ ?

ในที่นี้มี 3 สิ่งที่อยากให้ผู้ประกอบการลองคิด การตั้งการ์ดของผู้ประกอบการอาจจะเริ่มที่การกลับมาดูแลตัวเองเท่านั้น และในส่วนของ "รายได้" และ "กำไร" คงไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ สิ่งที่ทำได้อย่างเดียว คือ จัดการ "ต้นทุน" ให้เข้ม ต้องกลับมาทำให้องค์กร "ผอม" เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง...นี่คือสิ่งแรกที่ต้องทำ!!

ต่อมา...ถ้าผ่านวิกฤตินี้ไปได้ จนไปถึงกลางปีหน้า อาจจะเห็นหลาย ๆ ผู้ประกอบการที่เคยทำธุรกิจหนึ่ง เปลี่ยนไปทำอีกธุรกิจหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ แบบที่บางธุรกิจหันมาทำหน้ากากอนามัยขาย หรือบางธุรกิจ เช่น โรงแรม มาทำอาหารขายไปเลย...นี่คือสิ่งต่อมาที่ควรทำ !!

ต่อมา...ถ้ารอไม่ไหว ต้องหาแรงสนับสนุน ผู้ประกอบการธุรกิจหนึ่ง อาจจะต้องร่วมมือกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ลองหันมาดูว่าธุรกิจเรา มีสิ่งไหนเป็นคีย์ซัคเซสที่ทำได้ดี

แล้วสิ่งไหนที่เราทำได้ยากหรือไม่ถนัด แต่ผู้ประกอบการอื่น ๆ มีศักยภาพมากกว่า

แล้วผู้ประกอบการก็ควรต้องหาทางไปร่วมมือกับเขาทันที!!

เช่น เดิมเคยทำอาหารได้อร่อยมาก แต่ไม่มีสายส่งอาหาร หรือไม่มีฐานลูกค้าในพื้นที่อื่น ๆ ไม่มีวิธีการกระจายไปหาผู้บริโภคได้มากพอ ก็อาจจะต้องไปคุยกับร้านค้าอื่น ที่มีสาขาหลาย ๆ จุด เพื่อกระจายสินค้าให้มากขึ้น แล้วแบ่งกำไรกัน ต้องจำไว้ว่าเวลาเจอวิกฤติ การร่วมมือ สำคัญมากกว่า การแข่งขัน ท่องไว้...อย่าเห็นแก่ตัวในยามยาก!!…นี่คือสิ่งสุดท้ายที่ห้ามมองข้าม!!

ช่วงวิกฤติหลายคนมักจะพูดถึงคำว่าโอกาสใหม่ ๆ นั่นก็ใช่!! แต่ไม่ทั้งหมด

เพราะจริงๆ แล้ว โอกาสมันมาจากการเจอนวัตกรรมใหม่ ที่ตอบโจทย์ธุรกิจช่วงนั้น

ต้องหาให้เจอ ต้องดิ้นให้สุด...

ททท. เคาะ 9 เส้นทางคนโสดเที่ยวทั่วประเทศ นำร่อง 3 เส้นทาง ‘โสดสายมู - โสดสายแซ่บ - โสดสายชิลล์’ ดีเดย์ 15 ธันวาคม ปูพรม ‘จอง’ ทริปสลัดคาน

ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ร่วมกับบริษัท ไดรฟ์ดิจิทัล จำกัด และแอปพลิเคชัน Tinder ทำเส้นทางคนโสด ซิงเกิล เจอร์นี่ย์ #อย่าล้อเล่นกับความเหงา ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศสไตล์คนโสด คนเดียวก็เที่ยวได้ ด้วยความหลากหลายสไตล์การท่องเที่ยว โสดซีซั่นทั่วประเทศ 9 เส้นทาง คือ

.

1.) แม่ฮ่องสอน

2.) เชียงใหม่

3.) เชียงราย

4.) ลพบุรี-สระบุรี

5.) อุดรธานี-เลย ชุมพร-สุราษฎร์ธานี

6.) ภูเก็ต

7.) พัทยา

8.) พระนครศรีอยุธยา

9.) และกรุงเทพฯ

.

โดยนำร่อง 3 เส้นทาง คือ โสดสายมู ล่องเรือ ไหว้พระ หารัก, โสดสายแซ่บ ซีเคร็ด ไอแลนด์ เกาะลับไม่ห่างรัก และโสดสายชิลล์ รถไฟขบวนสุดท้าย ซึ่งเริ่มเปิดจองตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2563 นี้

.

สำหรับเส้นทางนำร่องแรก คือ โสดสายมู ล่องเรือ ไหว้พระ หารัก โดยททท. ร่วมกับบริษัท แกรนด์เพิร์ล จำกัด จัดทริปล่องเรือ ขอพร ไหว้พระ 9 วัด กับหมอช้าง “ทศพร ศรีตุลา” เล่าถึงเคล็ดลับการไหว้พระขอพร และดินเนอร์กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ จำนวนจำกัด 100 คน ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสามารถลุ้นเข้าร่วมทริปผ่านกิจกรรมของพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ได้แก่  แฟนเพจ Sneakout แอปพลิเคชัน Tinder

ส่วนเส้นทางที่ 2 โสดสายแซ่บ เกาะลับไม่ห่างรัก ร่วมกับ เลิฟ อันดามัน จัดปาร์ตี้ริมทะเล ชมคอนเสิร์ต ณ เกาะไข่ จังหวัดภูเก็ต ราคาพิเศษ 222 บาท สำหรับ 50 คนแรก ในวันที่ 9 ม.ค.64 และเส้นทางโสดสายชิลล์ รถไฟขบวนสุดท้าย ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปิดโบกี้รถไฟลอยน้ำ เที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี (วันเดียวกลับ) ชมวิว ถ่ายรูป และรับประทานอาหารกลางเขื่อน ราคาพิเศษ 555 บาท สำหรับ 50 คนแรก ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2564


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top