Thursday, 2 May 2024
EEC

4 ปี EEC มีอะไรคืบหน้า?

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)  ครั้งที่ 4/2565 โดยที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของEEC ในช่วง 4 ปีแรก (2561 – 2565) ซึ่งเกิดการเติบโตที่ดีครบทุกมิติ และเกิดผลประโยชน์ตรงถึงประชาชนทุกกลุ่ม ได้แก่ 

1) เกิดการอนุมัติงบลงทุนสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท เกินเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาทใน 5 ปีที่เป็นแผนแรกของEEC 

2) สามารถดึงเทคโนโลยีใหม่ผ่านการลงทุน โดย 4 ปีที่ผ่านมา การอนุมัติการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 S-curve มีสัดส่วน 70% ของการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด และ 5 New S-Curve มีสัดส่วนการลงทุน 36% และเพิ่มขึ้นเป็น 49% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 นี้ 

3) สร้างระบบการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของตลาด (Demand Driven) แก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานกับนวัตกรรมใหม่ อบรมไปได้แล้ว 16,114 คน สิ้นปี 66 จะดำเนินการได้ 100,000 คน และ 

4) ผลประโยชน์ตกถึงประชาชน และมีระบบดูแลอย่างยั่งยืน ได้แก่ 
(1) ผลประโยชน์ทางตรง โครงสร้างพื้นฐานระดับโลก ระบบสาธารณสุขทันสมัย สาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า ขยะ) ทันสมัยเพียงพอ มีโอกาสมีงานทำ รายได้ดี 
(2) การพัฒนาตรงถึงประชาชน พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต บูรณาการการลงทุนในชุมชน ผ่านแผนเกษตร แผนพัฒนาเชิงพื้นที่ Neo Pattaya-บ้านฉาง-บ้านอำเภอ-มาบตาพุด-ระยอง 
(3) โครงการลงถึงระดับชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมทั้งพลังสตรีดูแลสิ่งแวดล้อม EECสแควร์ บัณฑิตอาสา เยาวชนต้นแบบ โครงการต้นแบบสวนภาษาอังกฤษ และจีน หลักสูตรEECกับการบริหาร อปท. 
(4) โครงการสินเชื่อพ่อค้า-แม่ขาย และ SMEs หลังสถานการณ์โควิด กับ 9 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (ปล่อยไปแล้ว 51,420 ราย เป็นสินเชื่อ 34,548 ล้านบาท)

‘Thailand Digital Valley’ บิ๊กโปรเจกต์ดึงดูดต่างชาติ กับความพรัอมสู่ศูนย์กลางด้านดิจิทัลระดับอาเซียน

(21 ก.ย. 65) เฟซบุ๊กเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ 'Thailand Digital Valley ศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัล EECd ศูนย์บ่มเพาะ Startup และเทคโนโลยี แห่งใหม่ของ DEPA สู่ศูนย์กลางระดับอาเซียน!!!' ว่า...

วันนี้ไปงาน Building Construction Technology Expo ซึ่งเราเป็น Media Partner ของโครงการ แล้วไปเจอกับบูธ depa Thailand หรือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งได้นำโครงการหนึ่งในโครงการที่สำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานภายใน EEC คือ Thailand Digital Valley ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่ EECd หรือพื้นที่ในการพัฒนาด้านดิจิทัล

ซึ่ง Thailand Digital Valley ถูกวางไว้เป็น ศูนย์บ่มเพาะ Startup เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในประเทศ รวมถึงดึงดูด Tech Startup และบริษัทจากทั่วโลก มาใช้สาธารณูปโภคร่วมกันในพื้นที่ EECd ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทขนาดใหญ่ มาเช่าพื้นที่เพื่อทำศูนย์วิจัยแล้ว!!!!

มาทำความรู้จักกับ Thailand Digital Valley กันก่อน
https://youtu.be/o1HGYVJGuiM

Thailand Digital Valley ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม EECd บริเวณ ศูนย์โทรคมนาคมศรีราชา ในขอบเขตเดียวกับ GISTDA ซึ่งเป็น Gateway internet ด้วยสาย Fiber Obtic ของ CAT อีกด้วย!!!

จึงทำให้หาความได้เปรียบของตำแหน่งในการพัฒนาสู่ศูนย์กลางของธุรกิจดิจิทัลของไทย เพื่อเป็น ศูนย์กลางด้านการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงแห่งภูมิภาคอาเซียน

โดยภายในโครงการ Thailand Digital Valley มีพื้นที่สำหรับพัฒนาโดยรวม 30 ไร่ แบ่งเป็น 5 อาคาร (ตามเฟสการก่อสร้าง) ได้แก่...

1. อาคาร depa Digital One Stop Service พื้นที่ 1,500 ตารางเมตร (สร้างเสร็จแล้ว มีพื้นที่ให้เช่า พร้อมกับ Co-Working space ให้ใช้งาน)

เป็นพื้นที่ให้บริการอำนวยความสะดวกกับนักลงทุน (One Stop Service : OSS) และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเชื่อมต่อข้อมูลมายังศูนย์สั่งการอัจฉริยะของเมือง โดยจะมีระบบรองรับการบริหารจัดการเมืองในลักษณะ Intelligent Operation Center ผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายเมืองอัจฉริยะ (smart city) รวมถึงเป็นศูนย์ประสานงานสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคตะวันออก

2. อาคาร Digital Startup Knowledge Exchange Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 1) พื้นที่ 4,500 ตารางเมตร (กำลังก่อสร้าง จะเสร็จภายในปี 65 นี้!!!) 

ซึ่งอาคารนี้เป็นหน้าด่าน และประตูของทั้งโครงการ เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้นวัตกรรมดิจิทัล ประกอบด้วยพื้นที่ทำงานร่วม (Co-Working Space) พื้นที่สำนักงาน (Office) และพื้นที่ธุรกิจ (Commercial Area)

3. อาคาร Digital Innovation Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 2) พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร (เริ่มก่อสร้างแล้ว เสร็จปี 66)

เป็นศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล ประกอบด้วยพื้นที่ทดสอบเทคโนโลยี 5G (5G Testing Lab) ห้องปฏิบัติการระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent Lab) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) พื้นที่ออกแบบนวัตกรรมไอโอทีและระบบอัจฉริยะ (IoT Design Center) พื้นที่ประดิษฐ์ต้นแบบนวัตกรรมไอโอที (Prototyping Fabrication Lab) และพื้นที่ออกแบบและทดสอบเครื่องกลและหุ่นยนต์ (Mechatronics and Robotics Lab)

4. อาคาร Digital Edutainment Complex (อาคารนวัตกรรม IoT 3) พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร 

เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้และท้าทายความสามารถ อาทิเช่น Robotic School, Robot Fighting Arena, Drone School และ Drone racing Arena

5. อาคาร Digital Go Global Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 4)พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร 

เป็นศูนย์ออกแบบและทดสอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติ (International Digital and Innovation) และกำหนดให้เป็นพื้นที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ Startup ของไทย เพื่อให้มีการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศด้วยนวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นในการสร้าง Product, พัฒนา Product

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ สู่ ศูนย์กลางการเงินใหม่ของไทย และภูมิภาค

เมืองใหม่ EEC ศูนย์กลางการเงินใหม่ของไทย และภูมิภาค บนพื้นที่กว่า 15,000 ไร่ ในพื้นที่ห้วยใหญ่ บางละมุง รองรับประชากรกว่า 300,000 คน!!! 

จากเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้นำเสนออีกหนึ่งโครงการใหญ่ที่น่าสนใจใน EEC ภายใต้ชื่อโครงการ 'ศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ' มาแชร์ให้ทราบ ดังนี้...

รายละเอียดเต็ม ๆ >> https://sharedrive.eeco.or.th/index.php/s/3ZfccLRR9iRsyEE

รายละเอียด ครม. อนุมัติโครงการ >> https://www.eeco.or.th/th/news/441

โครงการนี้ชื่อ : ศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ 

ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่ EEC ในอนาคตจะมีประชาชนเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก กว่า 1.5 ล้านคน (จากการประเมิน) 

โดยจำนวนหนึ่งเป็นประชากรเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นักลงทุน ซึ่งมีรายได้สูงที่มาทำงานในพื้นที่ EEC โดยกลุ่มนี้ต้องการพื้นที่อยู่อาศัยคุณภาพดี รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ดึงดูดคนกลุ่มนี้มาอาศัย และทำงานในพื้นที่ EEC 

จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ และอยู่อาศัยคุณภาพสูง ในพื้นที่ EEC เลยทำให้โครงการนี้เกิดขึ้น

โดยตั้งเป้าให้เป็น 'ศูนย์กลางธุรกิจ และการเงินระดับภูมิภาค'

แหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกัน มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BGC Economy) พื้นที่นวัตกรรม และคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 ของโลก ในปี 2580

- สถานที่ตั้งโครงการ อยู่ในพื้นที่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

- โดยพื้นที่ทั้งหมด 15,000 ไร่ ซึ่งในระยะแรกใช้พื้นที่ 5,000 ไร่ โดยใช้พื้นที่ สปก. โดยมีการจ่ายค่าทดแทนให้กับประชาชนในพื้นที่

>> ระยะทางจากจุดศูนย์กลาง สู่พื้นที่สำคัญ...

- 15 กิโลเมตร จากสนามบินอู่ตะเภา
- 10 กิโลเมตร จากพัทยา
- 160 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ

>> การรองรับจำนวนประชากรในพื้นที่ 300,000 คน ในทุกกลุ่มประชากร แบ่งเป็น...

- พื้นที่อยู่อาศัยรายได้เริ่มต้น-ปานกลาง 70%
- พื้นที่อยู่อาศัยรายได้สูง 30%

>> สร้างตำแหน่งงานในพื้นที่ 200,000 ตำแหน่ง

>> มูลค่าการลงทุน รวม 1.34 ล้านล้านบาท!!! โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ...
- ภาครัฐ 2.8% (ประมาณ 38,000 ล้านบาท)
- โครงการร่วมทุน (ppp) 9.7% (ประมาณ 133,000 ล้านบาท)
- เอกชนลงทุน 87.5% (ประมาณ 1,200,000 ล้านบาท)

>> โดยในพื้นที่จะตั้งเป้าเพื่อรองรับ ในหลายกลุ่มธุรกิจได้แก่...
- หน่วยงานราชการในพื้นที่
- สำนักงานใหญ่ของภาคเอกชน
- ศูนย์กลางการเงิน
- ศูนย์การแพทย์แม่นยำ
- ศูนย์วิจัย นานาชาติ
- ศูนย์ธุรกิจอนาคต ซึ่งเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย EEC

'บิ๊กตู่' ปั้น 'ศูนย์ธุรกิจ EEC-เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ' สำเร็จ ตั้งเป้าเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ TOP 10 ของโลกในปี 2580

'ทิพานัน' ย้ำ 'พล.อ.ประยุทธ์' สร้างศูนย์ธุรกิจ EEC - เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะสำเร็จ ชี้ปี 2566 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เชื่อสร้างงาน 200,000 คน ดันมูลค่าจ้างงาน 1.2 ล้านล้านบาท

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และการเงินระดับภูมิภาคในพื้นที่ EEC โดยมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 22 มีนาคม 2565) ได้อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จำนวน 14,619 ไร่ ในพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เป็น 'ศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค' เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกันมุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) เป็นพื้นที่แห่งนวัตกรรมและคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย และจะเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 ของโลกในปี 2580 โดยคาดว่าสามารถสร้างงานทางตรง 200,000 คน มูลค่าการจ้างงาน 1.2 ล้านล้านบาทภายในปี 2575

'สันติ' ชำแหละ พ.ร.บ. EEC เน้นเฉพาะให้แรงจูงใจผู้ลงทุน หนนเฉพาะทุนต่างชาติขนาดใหญ่

'สันติ' ชำแหละ พ.ร.บ. EEC ชี้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน มองรัฐบาลปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ เน้นเฉพาะให้แรงจูงใจผู้ลงทุน ไม่แก้ข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค รวมถึงกระแสสนับสนุนเฉพาะทุนต่างชาติขนาดใหญ่ ขาดการคำนึงถึงความครบวงจรในระบบนิเวศ 

ดร.สันติ กีระนันทน์  รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ว่าตนได้อ่านข่าวที่เกี่ยวกับแนวคิด “เขตธุรกิจใหม่” เปรียบเทียบกับ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า EEC แล้ว ก็อยากจะแสดงความคิดเห็น โดยเก็บข้อมูลจากพระราชบัญญัติ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ประกอบกับประสบการณ์ที่ได้เคยทำงานในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ยุคที่เริ่มต้นของ EEC และช่วงที่เป็นเลขานุการ คณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้ให้ความสนใจเรื่อง EEC โดยทำการศึกษา และได้เชิญผู้บริหารของ EEC มาให้ข้อมูลอยู่หลายครั้ง

อันที่จริง ก็ต้องแสดงความดีใจที่มีแนวคิดเขตธุรกิจใหม่เกิดขึ้น แสดงถึงการเห็นคุณประโยชน์ของการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างจริงจัง ดังที่ตนได้พยายามนำเสนอมาโดยตลอดหลายปีนี้ แต่รัฐบาลปัจจุบันก็คงจะไม่ค่อยเข้าใจความจำเป็น จึงไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า EEC ยังไม่ตอบโจทย์หลายประการนั้น เช่น เน้นเฉพาะการให้แรงจูงใจด้วยการเสนอสิทธิประโยชน์ให้ผู้ลงทุนเท่านั้น ไม่มีการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรค หรือนำเสนอชุดกฎหมายใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ได้จริง หรือประเด็นที่คลาดเคลื่อนว่า EEC จะให้การสนับสนุนเฉพาะทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักลงทุนต่างชาติเท่านั้น รวมไปถึงความเข้าใจที่ว่า EEC นั้น ไม่ได้คำนึงถึงความครบวงจรในระบบนิเวศ (ecosystem) ที่เอื้ออำนวยให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความเข้าใจว่า EEC จะให้การสนับสนุนเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการ hard code ไว้ในพระราชบัญญัติเท่านั้น และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอีกบางประการ

ดร.สันติ ย้ำว่า เป็นสิ่งที่ดี  ที่มีความพยายามเสนอแนวความคิดให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ เพื่อผลักดันให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจของประเทศไทย เกิดพลังในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และไม่สร้างปัญหาแก่การดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วไป หรืออาจจะพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับผู้คน

ทั้งนี้ หากได้อ่านพระราชบัญญัติ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 โดยละเอียดแล้ว จะพบว่า ความเข้าใจเหล่านั้น มีความคลาดเคลื่อนดังที่ผมได้ชี้แจงเริ่มต้นไป เพราะจะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ให้ความยืดหยุ่น (flexibility) ในการสร้างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และมีการกำหนด “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ” (มาตรา 4) ไว้ โดยครอบคลุมทุกเรื่อง และหากมีกฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรค ก็ยังกำหนดไว้ในมาตรา 9 เพื่อเปิดช่องให้มีการปรับปรุงกฎหมายหรือ “ชุดกฎหมาย” ได้โดยรวดเร็ว ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องการกำหนด “สิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจ” นักลงทุนเท่านั้น 

ประเด็นนี้ทำให้ EEC มีความแตกต่างจาก Eastern seaboard อย่างมากมาย  ยิ่งไปกว่านั้น EEC ไม่ได้สนับสนุนเฉพาะทุนใหญ่เท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่า EEC มีการกำหนดเขตย่อยเป็น EEC-D (digital economy), EEC-I (innovation) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EEC-I นั้น มุ่งเน้นให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ startup ขึ้นในพื้นที่ ดังตัวอย่างที่ ปตท. ได้มีการลงทุนสร้าง วังจันทร์ valley เพื่อให้เกิด ecosystem คล้าย ๆ กับ Silicon Valley ใน California ซึ่งแน่นอนว่า คงจะไม่ใช่ทุนขนาดใหญ่ (ในตอนเริ่มต้น) และแม้กระทั่งความพยายามส่งเสริมให้เกิด fruit corridor เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่า และเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นต้น 

EEC ไม่ได้ตั้งใจจะส่งเสริมเฉพาะการลงทุนจากทุนต่างประเทศเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากมาตรา 7 (2) ที่เขียนไว้ชัดว่าให้การสนับสนุนทั้งผู้ประกอบกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาใช้พื้นที่ และการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะที่เขียนในพระราชบัญญัติเท่านั้น แต่ให้อำนาจคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สามารถกำหนดเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงได้ด้วย

และในมาตร 7(1) หากอ่านให้ดี ก็จะเห็นว่า ไม่ได้เน้นเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ต้องการให้เกิดการพัฒนาให้เป็น Smart city หรือเมืองอัจฉริยะไปพร้อมกัน ซึ่งแสดงถึงการพัฒนาอย่างครบวงจร ไม่ได้จำกัดเพียงการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่าง Eastern seaboard ที่เป็นเครื่องยนต์สำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้พวกเราได้ลืมตาอ้าปากมาได้ และเมื่อมาขยายการพัฒนาให้ครบวงจรมากขึ้นอย่างแนวคิด EEC แล้ว หากรัฐบาลปัจจุบันเข้าใจแนวคิด และดำเนินการอย่างจริงจัง จะสร้างคุณประโยชน์ให้ประเทศมากเพียงใด ... แค่หลับตาก็คงพอนึกออกแล้ว 

ดังนั้นแนวคิดของ EEC จึงไม่ได้ถูกจำกัด อย่างที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ก็คือกำหนดไว้เฉพาะเพียงภาคตะวันออก 3 จังหวัดเท่านั้น ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง แต่อย่างไรก็ดี คณะกรรมการนโยบาย อาจจะกำหนดเพิ่มเติมได้ แต่หากให้เกิดความคล่องตัวมากกว่าเดิม อาจจะต้องใช้แนวคิดตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ขยายวงให้เกิดเขตพัฒนาพิเศษในภาคอื่น ๆ ได้ โดยอาจจะใช้ EEC เป็นต้นแบบ ซึ่งกระบวนการแก้พระราชบัญญัติก็ไม่ได้ยุ่งยากมากเกินไป (อย่างน้อยก็ง่ายกว่า การยกร่างพระราชบัญญัติใหม่ทั้งฉบับ) โดยเรียนรู้จาก prototype อย่าง EEC

'ทิพานัน' โชว์ผลงาน EEC ดูดนักลงทุนต่างชาติ ย้อนเกล็ด!! เขตธุรกิจใหม่ 4 ภาคของ 'เพื่อไทย'

'ทิพานัน' ย้อน 'เพื่อไทย' นโยบายเศรษฐกิจล้าหลัง เลื่อนลอยล่าช้า โชว์ผลงาน EEC ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ 3 ไตรมาสแรกปี 65 มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ชู 4 ปี งบลงทุนเกินเป้า 1.8 ล้านล้านบาท เงินไหลเข้าประชาชนทุกพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม     

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา (ม.ค. - ก.ย.) ของปี 2565 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 436 ราย โดยในจำนวนนี้มีนักลงทุนชาวต่างชาติ ที่สนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 80 ราย คิดเป็น 18% ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC กว่า 40,555 ล้านบาท คิดเป็น 41% ของเงินลงทุนทั้งหมด สะท้อนถึงความสำเร็จของ EEC ในส่วนการดึงดูดนักลงทุน และเม็ดเงินเข้ามาลงทุนไหลเข้าสู่ประเทศ 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แม้โครงการจะเผชิญอุปสรรคปัญหาต่างๆ จากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 วิกฤติเศรษฐกิจโลก สถานการณ์สู้รบในยูเครนและผลกระทบต่อราคาพลังงาน แต่ในพื้นที่ EEC กลับมีผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม โดยมีงบลงทุนสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท เกินจากเป้าหมายในแผนแรกของ EEC ที่กำหนดไว้ 1.7 ล้านล้านบาทใน 5 ปี 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ในกรณีที่ พรรคเพื่อไทยโดยผอ. ศูนย์นโยบายพรรค ได้กล่าวถึงนโยบาย EEC โดยเปรียบเทียบกับนโยบาย 'เขตธุรกิจใหม่' 10 ข้อ ของพรรคเพื่อไทยนั้น จึงขอชี้แจงให้สังคมรับทราบข้อเท็จจริง เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนและเสียโอกาสดังนี้...

1.) อีอีซี ได้สร้างระบบนิเวศน์ใหม่ทั้งระบบแล้ว มีการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล และยังมีสิทธิประโยชน์เสนอให้นักลงทุนโดยเฉพาะ ครอบคลุมการแก้ไขตั้งแต่ต้นตอเรื่องการลงทุน มีสิทธิประโยชน์ชุดใหม่และมีกลไกแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างกฎหมายธุรกิจชุดใหม่ ที่สร้างความล่าช้าในการนำมาใช้ ตามที่เพื่อไทยเสนอที่ไม่รู้ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มตระกูลใดเป็นการเฉพาะหรือไม่ 

2.) อีอีซี มีกฎหมายพิเศษในอีอีซี คือกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิประโยชน์และยังครอบคลุมทุกด้าน เช่น ใบอนุญาต ที่ดินทำกิน ป้องกันการผูกขาดและการแข่งขันทางการค้า การนำเข้าส่งออก แรงงาน วีซ่า ภาษี สิทธิประโยชน์ ธุรกรรมการเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา ระบบยุติธรรม ดังนั้นจึงขอให้ทีมงานเพื่อไทยศึกษา พรบ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2561 ให้ละเอียดโดยเฉพาะหมวด 4 การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหมวด 5 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และอีอีซีไม่มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย มีการพิจารณาปลดล็อกกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคมาโดยตลอด 

3.) อีอีซี มีการส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve industries) ที่จะสร้างศักยภาพความสามารถเทคโนโลยีของประเทศ และทักษะฝีมือของแรงงานไทยให้เพิ่มขึ้น และมีการสนับสนุน เปิดโอกาสทุนย่อย และ SMEs จึงไม่มีการผูกขาดอุตสาหกรรมใด

4.) อีอีซี มีสิทธิประโยชน์ด้านการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนารูปแบบและเงื่อนไข เพื่อทันต่อการใช้งานและให้เข้ากับสถานการณ์การเงินทั่วโลก เช่น ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เตรียมทดสอบระบบเงินบาทดิจิทัลแล้

5.) อีอีซี มีแผนพัฒนา 8 แผน ครบวงจร ซึ่งแต่ละแผนจะเชื่อมโยงกัน นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างสมบูรณ์แบบเป็นรูปธรรมและยั่งยืนในทุกมิติ ดังนั้นที่กล่าวหาว่า 'อีอีซี คือจิกซอว์ไม่ครบวงจร' จึงเป็นข้อวิจารณ์ของพรรคเพื่อไทยที่ขาดความรู้ สิ่งที่กล่าวอ้างว่า 'จะมี' ในเขตธุรกิจใหม่นั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลขณะนี้รองรับไว้หมดแล้ว และเกินกว่าที่เพื่อไทยคิดไปมาก ดังนั้นที่กล่าวหาว่าอีอีซีเน้นมิติเดียว ขาดกลไกนอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ในการดึงเงินต่างชาติ จึงไม่ถูกต้อง

6.) อีอีซี เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาคเอเชียอย่างครบวงจร ซึ่งจะเชื่อมตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว จะเห็นได้จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการคมนาคมแบบไร้รอยต่อทั้งทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ ดังนั้นจึงเป็นการขยายตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งที่พรรคเพื่อไทยกล่าวอ้างว่า อีอีซี ไม่ตลาดเล็กจึงไม่จริง

7.) อีอีซี กำหนดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค ที่กำหนดประเภทอุตสาหกรรมของแต่ละภาคเพราะต้องการดึงศักยภาพที่พร้อมและเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานรากตามศักยภาพในท้องถิ่นนั้น ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งประเทศเชื่อมโยงกับอีอีซีอย่างเป็นระบบ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในย่านอีอีซีจะได้โฟกัสระบบต่างเฉพาะทาง หากใช้แผนของพรรคเพื่อไทยที่เขตธุรกิจใหม่ เปิดกว้างครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมก็จะเกิดความซ้ำซ้อน สะเปะสะปะ ไม่ได้ดึงศักยภาพการใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่มาใช้เลย เป็นแผนการพัฒนาที่ลงทุนมากผลตอบแทนน้อย

8.) อีอีซี สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC เพียงเท่านั้น แต่ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงและภาพรวมของประเทศยังได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ที่จะได้มีโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก ระบบสาธารณสุข ระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย มีโอกาสมีงานทำ และรายได้ที่ดีขึ้น เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต อีกทั้งยังเกิดการมีส่วนร่วม เช่น อีอีซีสแควร์ บัณฑิตอาสา เยาวชนต้นแบบ โครงการต้นแบบสวนภาษาอังกฤษ และจีน หลักสูตรอีอีซีกับการบริหาร องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคาดการณ์ว่าไทยจะเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างน้อย 5% ต่อปี

9.) อีอีซี มีกฎหมายพิเศษในอีอีซี ที่เพื่อส่งเสริมการลงทุน ปลดล็อกข้อจำกัด และยังได้สิทธิประโยชน์และครอบคลุมทุกด้าน อย่างเป็นธรรมและง่ายต่อการลงทุน

10.) อีอีซี ปัจจุบันมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการลงทุนไว้แล้ว ตามนโยบายและพื้นที่การลงทุนแต่ละพื้นที่ ทำให้รองรับผู้ลงทุนและเงินลงทุนทั้งในและนอกประเทศ อย่างไร้ขีดจำกัดได้ทันที 

ได้กลิ่นความเจริญ!! ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ระยะที่ 2 เมกะโปรเจกต์ฝั่ง EEC ว่าที่ 'ถนนเลียบทะเลที่สวยที่สุด' ของประเทศไทย

เมื่อไม่นานมากนี้ เพจ 'Open Up' ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับถนนเลียบทะเล หรือ ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ระยะที่ 2 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเมกะโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า...

“กลิ่นความเจริญมาเต็ม” ไทยกำลังจะมีถนนเลียบทะเลที่สวยที่สุดอีกสาย

วันนี้ผมจะมาเรามาทำความรู้จักและอัปเดตอีกหนึ่งโครงการเมกะโปรเจกต์แบบเบิ้ม ๆ ที่ตอนนี้เขากำลังพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทางฝั่งระยอง ซึ่งโครงการนี้เป็นเหมือนหนังภาคต่อ จากถนนเส้นทางเฉลิมบูรพาชลทิต หรือที่รู้จักกันติดปาก ถนนชล - จันท์ เชื่อมการเดินทางระหว่าง จ.ชลบุรี - จ.ระยอง - จ.จันทบุรี - จ.ตราด เข้าไว้ด้วยกัน

โดยถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ระยะที่ 2 คือถนนที่เชื่อมโยงพื้นตั้งแต่ อู่ตะเภา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เข้าไว้ด้วยกันครับ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดนั้น ๆ  อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานภายใต้แผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

นอกจากนี้นะครับ เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางที่เลียบติดกับชายทะเล ของฝั่งภาคตะวันออก และด้วยระยะทางกว่า 95 กิโลเมตร ที่เชื่อมโยงกับ EEC ทั้ง 2 โครงการ คือ เมืองการบินสนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือมาบตาพุด เรียกได้เลยว่าลงจากสนามบินก็เจอกับถนนสวย ๆ มารองรับถึงที่เลยทีเดียว

แถมยังโดยตัดผ่านกับหาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญหลายจุด เช่น อนุสาวรีย์สุนทรภู่
แหลมแม่พิมพ์, สวนสน, หาดแม่รำพึง, แหลมรุ่งเรือง, หาดแหลมเจริญ, หาดแสงจันทร์, หาดสุชาดา, หาดทรายทอง, หาดพยูน และหาดพลา โคตรเยอะนี่พิมจนเหนื่อยคิดเอา 55555555 

นอกจากการพัฒนาเส้นทางสายนี้แล้ว ทางโครงการก็ตั้งเป้าที่จะยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวเดิม ให้มีเสน่ห์และดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น การปรับปรุงถนนคนเดินตลาดบ้านเพ ปรับปรุงอนุสาวรีย์สุนทรภู่ จัดการเดินทางใหม่ให้เชื่อมโยงถึงกัน และเชื่อมต่อในพื้นที่ปากน้ำด้วยสะพาน ปากน้ำระยอง โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม ในการดำเนินการศึกษาออกแบบทั้งหมดอีกด้วย 

'ทิพานัน' โชว์แผนเดินหน้าพัฒนาบุคลากรในเขต EEC มุ่งสร้าง 'คน-งาน-อาชีพ' กว่า 4.75 แสนตำแหน่ง

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีการผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม ทั้งนี้ได้มีการเตรียมกำลังคนเพื่อทำงานในพื้นที่ EEC โดยสถาบันการศึกษาผลิตคน เน้นที่ศักยภาพตามความต้องการของสถานประกอบการ (Demand Driven) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงด้วยความสามารถ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาลโดย พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางแนวทางเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 

1.) EEC Model Type A ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตร ที่ได้รับปริญญา (Degree) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) เน้นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้ตรงความต้องการและได้อัตราค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ  

2.) EEC Model Type B เป็นการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีปริญญา (Non-Degree) เพื่อพัฒนาบุคลากรแบบเร่งด่วน โดยสถาบันการศึกษาและสถานประกอบร่วมกันออกแบบหลักสูตร โดยมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมหรือชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในระบบ หรือประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ทันที

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ กล่าวว่า EEC ได้คาดการณ์เรื่องความต้องการบุคลากรไว้ว่า เมื่อโครงการสำเร็จลุล่วง จะมีสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน ในระดับอาชีวศึกษา 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 277 แห่ง รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันสำรวจความร่วมมือจากสถานศึกษา-สถาบันการศึกษา ให้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมกว่า 941 แห่ง โดยแบ่งเป็นทั้งในพื้นที่ EEC และนอกพื้นที่ EEC โดยในพื้นที่ EEC ตั้งแต่ระดับโรงเรียน 847 แห่ง อาชีวศึกษา 17 แห่ง มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ส่วนเครือข่ายสถาบันศึกษานอกพื้นที่ EEC ได้แก่อาชีวศึกษา 61 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 14 แห่ง ที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมหลักสูตรในอนาคตได้ นอกจากเรื่องสถาบันการศึกษายังมีในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้แก่ เทศบาล 111 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 161 แห่ง ที่จะสามารถเข้าร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้วย

ในเบื้องต้นประมาณการความต้องการบุคลากรในพื้นที่ EEC อยู่ที่ 475,688 อัตรา อาทิ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,538 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 166,992 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น ระดับอาชีวศึกษา 253,114 ตำแหน่ง ระดับปริญญาตรี 214,070 ตำแหน่ง และระดับปริญญาโทร-เอก 8,610 ตำแหน่ง

'บิ๊กตู่' ชวนขยายระยะเวลา 'โคเซ็น' ปั้นบุคลากรคุณภาพ เพิ่มศักยภาพคนรองรับเทคโนโลยียุคใหม่ และ EEC

การประชุมเอเปค 2022 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยนั้น ถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลที่ทำให้ ไทยนั้นก้าวขึ้นสู่เวทีผู้นำเศรษฐกิจ งานนี้มีผู้นำเขตเศรษฐกิจ ผู้นำประเทศต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นมหาอำนาจที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และหนึ่งในนั้นก็คือ ‘คิชิดะ ฟูมิโอะ’ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ประเทศแห่งเทคโนโลยี ผู้นำแห่งอุตสาหกรรมล้ำยุค นายกฯ ของญี่ปุ่นนั้น ได้เข้าหารือทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ในโอกาสเยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมเอเปค APEC 2022 THAILAND โดยไทยนั้นพร้อมเป็นหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน และส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ ผ่านข้อเสนอความร่วมมือทางด้านพลังงาน หรือ ‘ไวท์เปเปอร์’ ซึ่งก็สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทย 

และญี่ปุ่นนั้นก็พร้อมที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของอาเซียน ไทยกับญี่ปุ่นในอนาคตก็จะยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กันอย่างรอบด้าน โดยจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน 

'ก.พาณิชย์' เผยตัวเลขต่างชาติลงทุนไทยยาวทั้งปี 65 ผลจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนรอบด้านของภาครัฐ

(16 ธ.ค. 65) นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวว่า ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ตลอด 11 เดือนของปี 2565 (ม.ค. - พ.ย.) อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 530 ราย แบ่งเป็น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน198 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 332 ราย เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 112,466 ล้านบาทจ้างงานคนไทย 5,008 คน 

ทั้งนี้ ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 137 ราย เงินลงทุน 39,000 ล้านบาทสิงคโปร์ 85 ราย เงินลงทุน 11,999 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 70 ราย เงินลงทุน 3,343 ล้านบาท ฮ่องกง 38 ราย เงินลงทุน 8,451 ล้านบาท และ จีน 25 ราย เงินลงทุน 22,677 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม โดยช่วง 11 เดือน 2565 นั้น ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตฯ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ นโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ และสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top