Thursday, 2 May 2024
EEC

สภาอุตสาหกรรมฯและผู้ประกอบการ 17 บริษัท ศึกษาดูงาน ต้นแบบการ จัดการทรัพยากรน้ำเพื่อ อุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC)

คุณปิยะ พิริยะโภคานนท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานสมาชิกสัมพันธ์ (สช.) หน่วยงานจับคู่ธุรกิจ สายงานสมาชิกสัมพันธ์ นำคณะสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผู้ประกอบการเข้าศึกษาดูงาน บริษัท อินดัสเตรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ จำกัด (IWRM.) ณ.สถานีผลิตน้ำประปามรกตสยาม ต.มาบโป่ง อ.พานทอง จ.ชลบุรี สถานีผลิตน้ำประปาด้วยพลังงานทางเลือก และต้นแบบการบริหารจัดการน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับภาคอุตสาหกรรม 

โดยมี คุณธนวัฒน์ สันตินรนนท์ กรรมการผู้จัดการ บจก. อินดัสเตรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ (IWRM.) ให้การต้อนรับและนำคณะเยี่ยมชม บ่อน้ำดิบและสถานีผลิตน้ำประปา เพื่ออุตสาหกรรม จากต้นทางน้ำในบ่อดินลูกรัง เพื่อส่งต่อน้ำสู่ผู้ใช้น้ำ ในนิคมอุตสาหกรรม ต่างๆ ทั้งในจ.ชลบุรีและจ.ฉะเชิงเทรา กว่า18 ปี ที่ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่นใจ ในคุณภาพน้ำ ตลอด24ชม. ทั้ง 365 วัน สู่ขบวนการผลิต ทุกๆ นิคมฯที่รับน้ำจาก บ.IWRM

ท่าเรือ 'มาบตาพุด' ระยะ 3 คืบ!! คาดปี 70 เปิดใช้ท่าเรือก๊าซ ช่วยรองรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติได้ 31 ล้านตันต่อปี

(8 ก.พ. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ว่า เป็นการรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนทั้งโครงการ 6.4 หมื่นล้านบาท เป็นการลงทุนของภาคเอกชน 5.2 หมื่นล้านบาท ภาครัฐ 1.2 หมื่นล้านบาท แบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 เป็นการร่วมทุนระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับเอกชน เพื่อขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นพื้นที่ถมทะเล 1,000 ไร่ (พื้นที่หลังท่าและหน้าท่าพร้อมใช้งาน 550 ไร่ และพื้นที่กักเก็บตะกอนดิน 450 ไร่)
ช่วงที่ 2 เพื่อก่อสร้างท่าเรือสินค้าเหลว (แปลง A) และพื้นที่คลังสินค้าธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (แปลง C)

โดยในช่วงที่ 1 ได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและงานออกแบบรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ส่วนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งเป็น การถมทะเลคืบหน้า ร้อยละ 35.88 เร็วกว่าแผน ร้อยละ 2.91 ขณะที่การดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกันทราย (Revetment) ก่อสร้างได้ระยะทาง 5,410 เมตร มีการใช้หินสะสม 1.17 ล้านลบ.ม. และได้เริ่มงานลงหิน Toe Rock & Rock Underlayer ก่อสร้างได้ระยะทาง 240/5,410 เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดดำเนินการท่าเรือก๊าซได้ในปี 2570

20 โปรเจกต์ หนุน EEC เดินหน้า ภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

โครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ‘โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ อีกหนึ่งความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยปัจจุบันมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขในการเอื้อต่อการลงทุนแล้วหลายประการ

1. พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
2. พัฒนารถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย)
3. พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด / ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น ‘ประตูการค้า’ เชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน
4. พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ หรือท่าเรือจุกเสม็ด รองรับนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทางทะเล
5. ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3

ไทยเนื้อหอม!! 5 อันดับต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด (ม.ค. 66)

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! 2 เดือน ต่างชาติแห่ลงทุนในไทยเพิ่ม 21 ราย มูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่ EEC สะพัดกว่า 2 พันล้านบาท

(19 มี.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC เร่งขับเคลื่อนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในพื้นที่ EEC เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทย ล่าสุดรายงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกี่ยวกับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC เพิ่มอีกจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC กว่า 2,078 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินลงทุนทั้งหมด 

ทั้งนี้ จำแนกเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 7 ราย ลงทุน 1,352 ล้านบาท จีน 5 ราย ลงทุน 529 ล้านบาท ไต้หวัน 3 ราย ลงทุน 37 ล้านบาท และประเทศอื่น ๆ อีก 6 ราย ลงทุน 160 ล้านบาท 

20 โปรเจกต์ หนุน EEC เดินหน้า

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

โครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ‘โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ อีกหนึ่งความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยปัจจุบันมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขในการเอื้อต่อการลงทุนแล้วหลายประการ

1. พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
2. พัฒนารถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย)
3. พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด / ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น ‘ประตูการค้า’ เชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน
4. พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ หรือท่าเรือจุกเสม็ด รองรับนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทางทะเล
5. ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3

6. ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ชลบุรี, พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา
7. ต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม (ยานยนต์สมัยใหม่, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร)

8. ผลักดัน 5 NEW S-curve อุตสาหกรรมใหม่ (หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม, การแพทย์ครบวงจร, ขนส่งและการบิน, เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, ดิจิทัล)

20 โปรเจกต์ หนุน EEC เดินหน้า ภายใต้รัฐบาลตลอด 8 ปีที่ผ่านมา

โครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ‘โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ อีกหนึ่งความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยปัจจุบันมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขในการเอื้อต่อการลงทุนแล้วหลายประการ ได้แก่

1. พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
2. พัฒนารถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย)
3. พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด / ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น ‘ประตูการค้า’ เชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน
4. พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ หรือท่าเรือจุกเสม็ด รองรับนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทางทะเล
5. ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3

'ซาอุดีอาระเบีย' ปักหมุด EEC ลงทุนในไทย ร่วม 3 แสนล้านบาท!!

สำหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ราชอาณาจักร ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ ที่ห่างหายมานานกว่า 32 ปี ได้สำเร็จนั้น ส่งผลในทางบวกที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศต่างรอคอย และชาวโลกก็เฝ้าติดตามเช่นกัน ในที่สุดความหวังที่มีมาอย่างยาวนานถึง 14 รัฐบาล ก็เกิดขึ้นจริงในปี 2565 มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) 

โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 25 ม.ค.65 และเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เสด็จเยือนไทย เมื่อวันที่ 18 พ.ย.65 

2 เหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้นำมาสู่การยกระดับความร่วมมือเบื้องต้นที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ด้านพลังงาน, ด้านการท่องเที่ยว และด้านการค้า-การลงทุน

อีกทั้งมีการจัดตั้ง ‘สภาความร่วมมือไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ และการแต่งตั้ง ‘เอกอัครราชทูต’ ในเวลาต่อมา ถือเป็นการสิ้นสุด 3 ทศวรรษแห่งหมองมัว เพื่อเริ่มต้นศักราชใหม่แห่งความร่วมมือ สร้างสรรค์ และพัฒนาร่วมกัน

และแม้ยังไม่ทันข้ามปี...ผลสัมฤทธิ์ในการผูกมิตร ฟื้นสัมพันธ์ของ ‘2 ราชอาณาจักร’ ก็เกิดขึ้น คือ ภาคเอกชนไทย-ซาอุดีอาระเบีย รับลูกการเจรจาการค้า-การลงทุนในอนาคตทันที แล้วข่าวดีก็ปิดไม่มิด เมื่อฝ่ายซาอุดีอาระเบียประกาศว่า ในปี 2566 ปีเดียวจะขยายการลงทุนขนานใหญ่ กว่า 300,000 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมเมดิคัลแคร์, อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐบาลนี้ ได้เตรียมความพร้อมไว้รอการลงทุนจากทั่วโลกแล้ว

‘บิ๊กตู่’ หนุนการค้าและการลงทุน ‘ไทย-จีน’ เต็มอัตรา หวังเชื่อมโยง ‘เซี่ยงไฮ้-EEC’ ยกระดับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

(18 พ.ค. 66 ) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สนับสนุนความร่วมมือด้านการลงทุนและการค้าระหว่างไทย-จีน ซึ่งมีแนวโน้มคึกคักต่อเนื่อง ด้านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พร้อมเชื่อมโยงพื้นที่ EEC กับเขตพิเศษหลินกังของนครเซี่ยงไฮ้ มุ่งสู่คลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

โดยเมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ นำคณะผู้บริหารระดับสูงของนครเซี่ยงไฮ้ เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมงานลงทุนเซี่ยงไฮ้ ร่วมแบ่งปันอนาคตซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดำเนินการร่วมกับนครเซี่ยงไฮ้และภาคเอกชนจัดขึ้น เพื่อขยายความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ รวมถึงต่อยอดจากการเดินทางไปโรดโชว์ส่งเสริมการลงทุนที่ประเทศจีนของ BOI เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดย BOI เปิดเผยว่า ประเทศไทยยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนชาวจีน โดยมีทำเลที่ตั้งซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับภูมิภาค รวมถึงมีระบบขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และนิคมอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งในอนาคตสามารถเชื่อมโยงกับเขตพิเศษหลินกังของนครเซี่ยงไฮ้ได้อีกด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั้งนี้ นครเซี่ยงไฮ้ของจีนได้ให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยผลักดันเขตพิเศษหลินกัง (Shanghai Lin-gang Special Area) เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมดิจิทัล สุขภาพและการแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และยานยนต์ไฟฟ้า โดยเป็นอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญในการเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยและจีนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

“นายกรัฐมนตรียินดีที่การค้าและการลงุทนระหว่างไทยและจีนยังคงเดินหน้าเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ทั้งอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ ยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และดิจิทัล สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ทั้งนี้ รัฐบาล และ BOI ซึ่งมีสำนักงานในจีน 3 แห่ง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกว่างโจว พร้อมขยายโอกาสเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศให้เติบโตมากยิ่งขึ้น” นายอนุชากล่าว

‘บิ๊กตู่’ ปลื้มใจ!! อนุมัติลงทุนใน EEC ทะลุ 2 ลลบ. มั่นใจช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-สังคม-พัฒนาชีวิต ปชช.

(10 ส.ค. 66) สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความสำคัญและความสำเร็จการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีการลงทุนเกินเป้าหมายที่วางไว้ โดยวางเป้าหมายมูลค่าการลงทุนที่ 1.5 ล้านล้านบาท แต่อนุมัติการลงทุนแล้วถึง 2 ล้านล้านบาท และเป็นการลงทุนที่ส่วนใหญ่มาจากเอกชน

ความสำเร็จของ EEC ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การลงทุนปี 2561 - ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ในส่วนของมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น มีจำนวนถึง 1,360,349 ล้านบาท โดย 3 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศ/เขตบริหารพิเศษ ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F

การพัฒนา EEC ให้เป็นต้นแบบพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สมบูรณ์แบบเป็นเป้าหมายของนักลงทุน ช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบการพัฒนา คือ ‘Ecosystem’ พัฒนาระบบนิเวศรองรับการเติบโตในทุกมิติ ให้เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย การประกอบธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาเมือง และการยกระดับชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน ‘Exclusive’ กำหนดสิทธิประโยชน์และมาตรการพิเศษ ในการชักชวนการลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตัว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับจากโครงการการลงทุนนั้น ๆ และ ‘Collaborative’ บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการทำให้การลงทุน เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณการทำงานของรัฐบาล ทุกหน่วยงานที่ร่วมมือกันจนเห็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ EEC ไม่ใช่เพียงความสำเร็จด้านโครงสร้างความเชื่อมโยง แต่รวมถึงการลงทุนจำนวนมาก มากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทั้งเห็นความสำเร็จถึงประโยชน์ที่ส่งตรงถึงคนไทย พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน สร้างงาน พัฒนาการศึกษา นวัตกรรม โดยไม่มองข้ามการพัฒนาอย่างสมดุล ยั่งยืน นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า EEC ที่รัฐบาลภูมิใจ ให้ความสำคัญในการดำเนินการตลอดมานั้น จะเกิดประโยชน์ถึงประชาชนทุกคน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top