Saturday, 27 April 2024
Econbiz

‘พงษ์ภานุ’ วอน ภาครัฐฯ-สมาคม เร่งแก้ไขวงการกีฬาไทย แนะ เพิ่มงบหนุนเพื่อต่อยอดอุตฯ กีฬา สร้างรายได้ให้ประเทศ

(4 มิ.ย. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้พูดคุยในประเด็น ‘โอกาสและแนวทางในการพัฒนากีฬาไทย’ ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 โดยได้ให้มุมมองถึงเหตุผลที่วงการกีฬาไทยยังไปไม่ถึงดวงดาว รวมถึง ‘มวยไทย’ มรดกทางกีฬาและศิลปะวัฒนธรรมของชาติไทย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของคนทุกมุมโลก แต่เหตุใดยังเทียบชั้นเทควันโดของเกาหลี หรือยูโดของญี่ปุ่นได้ในระดับสากลไม่ได้? และเพราะเหตุใด? มวยไทยถึงยังไม่ได้รับบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาในโอลิมปิก

เมื่อพูดถึงการพัฒนาทางด้านกีฬาของประเทศไทยนั้น มีเป้าหมายหลักๆ อยู่ 3-4 ประการด้วยกัน คือ พื้นฐาน มวลชน เหรียญทองเป็นเลิศ อาชีพ และอุตสาหกรรม ได้แก่

เป้าหมายที่ 1 คือ อยากให้เด็กไทย ได้รับการศึกษาทางด้านพละศึกษาที่ถูกต้อง ออกกำลังกายอย่างถูกต้อง รู้จักชนิดของกีฬา และเล่นกีฬาเป็น

เป้าหมายที่ 2 คือ อยากให้คนไทยหันมาใส่ใจการออกกำลังกายให้มากขึ้น

เป้าหมายที่ 3 คือ อยากให้นักกีฬาไทย ได้เหรียญทองเยอะๆ จากมหกรรมการแข่งขันกีฬาต่างๆ ระหว่างประเทศ สร้างทีมชาติ สร้างนักกีฬาให้มีความสามารถ

เป้าหมายที่ 4 คือ อาชีพ และอุตสาหกรรม อยากให้นักกีฬาไทยที่เป็นมืออาชีพ ได้รางวัลเยอะๆ ได้งบสนับสนุนเยอะๆ สามารถที่จะอยู่กับอาชีพนักกีฬา เป็นฐานการใช้ชีวิต

เป้าหมายที่ 5 คือ การพัฒนาศักยภาพวงการกีฬา จนสามารถต่อยอดไปถึงอุตสาหกรรมการกีฬาได้ในอนาคต

นายพงษ์ภาณุ ยังกล่าวต่อว่า วงการกีฬาไทยนับได้ว่าพัฒนาขึ้นระดับหนึ่ง หลังจากมีการปรับบทบาทและเพิ่มวงเงินกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติเมื่อปี 2558 โดยมีแหล่งรายได้จากภาษีบาปปีละกว่า 4,000 ล้านบาท ฟุตบอลไทยลีกกลายเป็นลีกฟุตบอลชั้นนำของเอเชีย นักกอล์ฟหญิงไทยขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก ธุรกิจการกีฬามีรายได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พัฒนาอย่างไรก็ไปไม่ถึงดวงดาวเสียที คนไทยมีสัดส่วนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตำ่มากเมื่อเทียบกับมาตรฐานโลก ทีมนักกีฬาไทยมีผลงานได้เหรียญแค่ที่สองในซีเกมส์ที่พนมเปญ ถูกเวียดนามทิ้งห่างทั้งๆที่เวียดนามใช้เงินรัฐฯ อุดหนุนไม่ถึงครึ่ง

ประเด็นต่อมาคือ ‘มวยไทย’ ซึ่งถือเป็นมรดกชาติและศิลปะวัฒนธรรมไทย และเป็นที่ชื่นชอบของคนทุกมุมโลก แต่ในระดับสากลยังเทียบชั้นไม่ได้กับเทควันโดของเกาหลี หรือยูโดของญี่ปุ่น วันนี้มวยไทยยังไม่ได้รับบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาในโอลิมปิก ด้วยเหตุที่วงการมวยไทยขาดเอกภาพและไม่มีมาตรฐานกลาง ที่เป็นที่ยอมรับสภาพวงการกีฬาไทย วันนี้สะท้อนการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับรัฐบาลและสมาคมกีฬา เงินพัฒนากีฬาซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากและมาจากภาษีอากรของประชาชน มีการบริหารจัดการที่ด้อยธรรมาิบาล สมาคมกีฬาขาดความโปร่งใสและการตรวจสอบบัญชีที่เป็นที่ยอมรับ การใช้เงินจึงขาดประสิทธผลและผลงานนักกีฬาไทยไม่เป็นตามคาดหวังทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค

“คงต้องฝากรัฐบาลใหม่แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่กีฬาไทยจะตกต่ำและเงินภาษีจะสูญเสียไปกว่านี้ รัฐฯ ต้องเสริมสร้างการกำกับดูแลสมาคมกีฬาให้มี Corporate Governance ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ การพัฒนากีฬาในเชิงพาณิชย์ตามแนวทางของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนากีฬาอย่างเต็มที่ โดยให้สิ่งจูงใจที่เหมาะสมและจัดโครงสร้างการร่วมลงทุนแบบ PPP ที่มีการกระจายความเสี่ยงและภาระค่าใช้จ่ายที่สมดุล” นายพงษ์ภาณุ กล่าวทิ้งท้าย

‘เจ้าสั่วสหพัฒน์’ เผย ห่วงนโยบายขึ้นค่าแรง ว่าที่รัฐบาลใหม่ หวั่น ผู้นำบริหารงานไม่เป็น อาจทำประเทศ เป็นเหมือนยูเครน

‘เจ้าสัวสหพัฒน์’ ให้การบ้านรัฐบาลใหม่เร่งพัฒนาเศรษฐกิจ เผยเป็นห่วงนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของ ‘ว่าที่รัฐบาลชุดใหม่’ หวั่นทำนักลงทุนย้ายฐานการผลิต ยันไม่ติดใจหากประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีอายุน้อย เชื่อสถานการณ์ความมั่งคงของไทยยังดีกว่าประเทศอื่น ห่วงผู้นำประเทศบริหารงานไม่เป็น อาจกลายเป็นเหมือนยูเครน

เมื่อไม่นานมานี้ รายงานข่าวแจ้งว่า นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ยอมรับว่าเป็นห่วงนโยบายปรับขึ้นค่าแรง 450 บาท ของว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากหากค่าแรงพุ่งสูงอาจส่งผลให้นักลงทุนเบนเข็มย้ายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ที่ถึงแม้ไม่ได้ขึ้นค่าแรงก็มีการย้ายออกไปที่เวียดนามแล้ว อีกทั้งการขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว

ส่วนนโยบายการทลายทุนผูกขาดและเก็บภาษีความมั่งคั่ง ที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะกระทบต่อความมั่นใจของผู้ประกอบการ เรื่องนี้นายบุณยสิทธิ์มองว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะเป็นแนวทางที่เหมือนกันทั้งโลก ส่วนการที่พรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรคตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาเร่งด่วน 7 คณะ และหนึ่งในปัญหาที่จะแก้คือเรื่องเศรษฐกิจ มองว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ยังไม่รู้ว่าจะดีหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าจะมีแนวทางแก้ปัญหาในรูปแบบใด ขณะที่การตั้งรัฐบาลที่อาจจะมีความล่าช้า มองว่าไม่น่ากังวลและไม่กระทบต่อการลงทุน และคิดว่าประเทศไทยยังดีกว่าประเทศอื่น

พร้อมกันนี้ ได้ฝากการบ้านไปยังว่าที่รัฐบาลใหม่ คือ เร่งการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้คนมีการศึกษา ให้คนมีงานทำ เช่น การพัฒนาด้านการเกษตรให้มีราคาสูงขึ้น คนที่ทำการเกษตรก็จะมีรายได้เทียบเท่ากับคนที่ทำอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไม่มีคนว่างงาน ตรงกันข้าม ถ้าราคาสินค้าเกษตรลดลง คนก็จะหนีจากต่างจังหวัดเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และก็จะมีปัญหาเรื่องค่าแรงอีก ส่วนการที่ประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุด

นายบุณยสิทธิ์กล่าวว่า คนรุ่นใหม่จะมีไอเดียแบบใหม่ ทำอะไรเร็วขึ้น ส่วนคนที่มีอายุมากก็จะมีความรอบคอบ แต่อาจทำงานช้า เพราะฉะนั้นถ้ามีคนรุ่นใหม่มาก็จะเป็นจุดเด่น ในต่างประเทศก็มีนายกรัฐมนตรีเป็นคนรุ่นใหม่ รวมถึงบางประเทศก็มีผู้หญิง ทั่วโลกก็มีการเปลี่ยนแปลง จึงเชื่อว่าเรื่องอายุไม่เกี่ยวอะไร อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้เปรียบเสมือนขับรถหรูรถมัสแตง แต่ยังต้องให้ความสำคัญและระวังภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ขณะที่การทำธุรกิจในยุคนี้ต้องรู้จักปรับตัว โดยบริษัทเอกชนก็สามารถปรับตัวเข้าได้กับทุกรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลไหนมาก็พร้อมที่จะร่วมมือ และปรับตัวเช่นกัน

“ปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกของการทำธุรกิจปีนี้ คือความมั่นคงของประเทศ ส่วนสถานการณ์การเมืองของไทย เข้าใจว่าเมืองไทยยังดีกว่าประเทศอื่น ผมห่วงคนผู้นำประเทศบริหารไม่เป็นและทำให้เป็นเหมือนประเทศยูเครน” นายบุณยสิทธ์กล่าว

‘6.6.66’ on-ion ผนึก Sand Haus เปิดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC fast charger 

ออน-ไอออน (on-ion) ภายใต้บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) รุกขยายเครือข่ายสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (on-ion EV Charging Station) ให้แข็งแกร่งและครอบคลุมมากขึ้น ณ โครงการแซนด์เฮาส์ เหม่งจ๋าย (Sand Haus) เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV ให้พลังงานทางเลือกอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด พร้อมสนับสนุนให้คนไทยใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC normal charger) และชนิดกระแสตรง (DC fast charger) โดยพร้อมเปิดให้บริการ 6 มิถุนายน 2566 นี้

นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. โดยบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ได้เดินหน้าตามภารกิจในการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในทุกมิติ โดยเฉพาะการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จภายใต้แบรนด์ ออน- ไอออน (on-ion EV Charging Station) บนทำเลศักยภาพร่วมกับ “Sand Haus” คอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่ย่านเหม่งจ๋าย– ประชาอุทิศ ที่เดียวจบครบ ร้านของกิน คาเฟ่ คลินิก สถาบันเสริมพัฒนาการเด็ก และคอร์ดแบดขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้ EV ด้วยพลังงานสะอาด

นางสาวนันทนัช ครองมงคลกุล ผู้บริหารโครงการแซนด์เฮาส์ กล่าวว่า การร่วมมือกับออน-ไอออนในครั้งนี้จะเป็นการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ EV มากยิ่งขึ้น สำหรับสถานี Sand Haus แห่งนี้ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00 – 24.00 น. ให้บริการด้วยเครื่อง DC fast charger ขนาดกำลังไฟ 100 กิโลวัตต์ จำนวน 2 ช่องจอด สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่รองรับหัวชาร์จ CCS2 และให้บริการด้วยเครื่อง AC normal charger ขนาดกำลังไฟ 22 กิโลวัตต์ จำนวน 3 ช่องจอด รองรับรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV : Plug-in Hybrid) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่มีหัวชาร์จ Type 2 ควบคุมการใช้งานผ่าน on-ion Mobile Application ทั้งในระบบ Android และ iOS 
on-ion และ Sand Haus พร้อมส่งเสริมการใช้ EV อย่างเต็มรูปแบบ โดยมอบโปรโมชัน “ช้อป ช่วย ชาร์จ” ให้แก่ลูกค้าที่ใช้จ่ายในโครงการ Sand Haus เหม่งจ๋าย ครบ 500 บาทต่อวัน (รวมใบเสร็จได้) สามารถนำใบเสร็จมาแลกคูปองส่วนลดค่าบริการชาร์จ EV มูลค่าไม่เกิน 60 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2566 หรือจนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ นอกจากนี้ ยังมอบสิทธิพิเศษสำหรับวันเปิดตัววันแรก “6.6.66” เป็นส่วนลดค่าบริการชาร์จ EV พิเศษเพียง 6 บาทต่อหน่วยสำหรับ DC fast charger ในวันที่ 6 มิถุนายน 2566 วันเดียวเท่านั้น! (จากค่าบริการปกติ 9.5 บาทต่อหน่วย) เพิ่มเติมได้ที่ Call Center: 02-017-0022 หรือ Line: @onionev

เกรท วอลล์ ประกาศตั้ง ‘วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์’  อดีตลูกหม้อโตโยต้า นั่งรองประธานฝ่ายการตลาด

เกรท วอลล์ มอเตอร์ (GWM) ประกาศแต่งตั้ง นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง รองประธานฝ่ายการตลาด ประจำภูมิภาคอาเซียน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป โดย นายวุฒิกร จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยจะมีส่วนร่วมในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการตลาดและการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ การแนะนำผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์เข้าสู่ตลาด เพื่อช่วยสนับสนุนและผลักดันยอดขาย รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งใน การวางตำแหน่งทางการตลาดในภูมิภาคอาเซียน 

นอกจากนี้ นายวุฒิกร จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางในสร้างความสัมพันธ์และสร้างคุณค่าระหว่างเกรท วอลล์ มอเตอร์และลูกค้าตามหลักการ User-centric ที่เกรท วอลล์ มอเตอร์ยึดถือมาโดยตลอดอีกด้วย

ก่อนหน้าที่นายวุฒิกรจะเข้ามาเสริมทัพ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย โดยมีบทบาทสำคัญในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับตลาดในประเทศไทย ด้วยผลงานที่ประจักษ์ในด้านการเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมทางการตลาด ส่งผลให้นายวุฒิกรเป็นบุคคลที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในงานด้านการตลาดของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ในภูมิภาคอาเซียน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีอันล้ำสมัยและบริการที่ยอดเยี่ยมแก่ลูกค้าในภูมิภาคนี้อีกด้วย

นักลงทุนต่างชาติแห่ขายหุ้นไทย รวม 1 แสนล้านบาท ซ้ำ!! ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้จำกัด เหตุความกังวลทางการเมือง

เมื่อไม่นานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี 66 สะสมรวม 1 แสนล้านบาท โดยเฉพาะหลังเลือกตั้งมีแรงเทขายอย่างหนักจากความกังวลทางการเมือง โบรกฯ มองแรง เทขายยังไม่หมด กดดันให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้จำกัด แต่เชื่อว่ายังมีโอกาสฟื้นตัวได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทย และหากการเมืองผ่อนคลายลง

ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงเมื่อวานนี้ 1 มิ.ย. 66 นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมาสุทธิ 101,928 ล้านบาท สวนกับนักลงทุนในประเทศที่ซื้อหุ้นสุทธิ 71,477 ล้านบาท และนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 35,850 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ปรับลดลงมาตั้งแต่ต้นปีราว 157 จุด หรือ -9.39% จนล่าสุดปิดอยู่ที่ 1,521.40 จุด

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้มีโอกาสฟื้นตัวที่จำกัด

เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 18 วันทำการติดต่อกัน มีมูลค่าขายสุทธิ 40,861 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายตั้งแต่ต้นปี โดยแสดงให้เห็นว่าต่างชาติยังไม่มั่นใจการลงทุนหุ้นไทยในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

โดยหากนับตั้งแต่ต้นปี 2565 นักลงทุนต่างชาติเคยซื้อหุ้นไทยสะสมสูงสุด 2.25 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันยอดซื้อสุทธิสะสมลดลงจนเหลือเพียง 1.01 แสนล้านบาท (ช่วง 1 ม.ค. 2565 - 1 มิ.ย. 2566)

ทั้งนี้ ยังมองไม่เห็นสัญญาณการกลับตัวของเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) โดยเชื่อว่าตัวแปรหลักที่อาจจะช่วยดึง Fund flow ให้กลับมา น่าจะเป็นการเมืองในประเทศ ซึ่งหากการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นได้ราบรื่นก็จะเป็นผลดี

ขณะที่เงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) ที่ไหลออกอย่างหนัก ได้กดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับลดลง -8.8% นับตั้งแต่ต้นปี 66 และต่ำที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก จากตลาดหุ้น 92 แห่งเป็นรองจากอันดับ 2 ตลาดตุรี และ อันดับ 1 ตลาดหุ้นโคลัมเบีย

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ มองว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 66 จากปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทย และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และหากประเด็นทางการเมืองผ่อนคลายลง

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ก่อนวันหยุดยาว 3 วัน คาด SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1,510 – 1,530 จุด

‘ทางหลวงหมายเลข 12’ ผลงานความสำเร็จจากรัฐบาล ‘บิ๊กตู่’  เชื่อมโยงระเบียง ศก.ตะวันออก-ตะวันตก กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค

ผลงานความสำเร็จ!! ยุทธศาสตร์รัฐบาล ‘พล.อ.ประยุทธ์’ ถนนสายเศรษฐกิจเส้นประวัติศาสตร์ ‘ทางหลวงหมายเลข 12’ เชื่อมต่อ 4 ประเทศอาเซียน เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เพิ่มมูลค่าการค้าตามแนวชายแดน

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 66 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมความสำเร็จจากยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล การกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน คู่ไปกับการพัฒนาตามแนวทางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใช้จุดแข็งและความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ของประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงทางคมนาคม เพิ่มโอกาส ช่องทางการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของไทย ทั้งในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และทั่วโลกชื่นชมความสำเร็จผลงาน

ถนนสายเศรษฐกิจเส้นประวัติศาสตร์ ทางหลวงหมายเลข 12 สายกาฬสินธุ์-บรรจบทางหลวงหมายเลข 12 (บ้านนาไคร้) - อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง รองรับการเดินทางในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และมุกดาหาร และส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East - West Corridor)

รัฐบาลได้วางโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมอย่างเชื่อมโยง โดยทางหลวงหมายเลข 12 แนวใหม่นี้ยังเชื่อมต่อ 4 ประเทศอาเซียนเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผ่านไปยังจังหวัดมุกดาหารเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไปสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในขณะที่อีกฝั่งสามารถวิ่งไปยังเมียนมาได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมทะเลจีนใต้กับมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกันอีกด้วย ถือเป็นทางเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งยังเป็นทางลัดเชื่อมจังหวัดกาฬสินธุ์-มุกดาหาร ให้ประชาชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวสามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก และลดระยะการในการเดินทาง

ทางหลวงหมายเลข 12 ยังเป็นเส้นทางสนับสนุน และรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor–EWEC) ช่วยกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เพิ่มมูลค่าการค้าตามแนวชายแดน ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอีกด้วย

จากข้อมูลของกองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารมีการดำเนินการลงทุนแล้ว 3 โครงการ วงเงิน 392 ล้านบาท จากโครงการที่ขอรับการส่งเสริมฯจาก BOI 5 โครงการ วงเงิน 2,102 ล้านบาท และมีธุรกิจตั้งใหม่ 868 ราย วงเงิน 1,655 ล้านบาท

OMD2-DITP’ จัดสัมมนา ‘เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก’ เสริมศักยภาพการค้าให้ผู้ประกอบการไทย ผ่านระบบ ZOOM 7-8 มิ.ย.นี้

(7 มิ.ย. 66) สำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 (สพต.2) ภายใต้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือ ‘OMD2’ ขอเชิญชวนเข้าร่วมสัมมนาการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในภูมิภาค ภายใต้แนวคิด ‘เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก’ (The Keys to Connext)

ในโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยด้วยข้อมูลการค้าตลาดภูมิภาคอเมริกา ลาตินอเมริกา ยุโรป และ CIS แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยการสัมมนาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถ่ายทอดผ่านระบบโปรแกรมผ่านระบบ ZOOM Application โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2566 และครั้งที่ 2 วันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

โครงการดังกล่าว เป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยในการค้าระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย และผลักดันการขยายการค้าและการลงทุนของไทย ดำเนินการโดยสำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 (OMD 2) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพการค้าไทยในตลาดโลก โดยปีนี้ มีเป้าหมายคือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในภูมิภาคหรือรายใหม่ ให้ใช้ข้อมูลการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ผู้ประกอบการได้ใช้ข้อมูลการค้าสำหรับการเจาะตลาดการค้า หรือวางแผนการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด

การสัมมนาในครั้งนี้ อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้และต่อยอดได้จริง ครั้งที่ 1 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. – 1 มิถุนายน 2566 ในวันแรกจะเป็นการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในหัวข้อ ‘การเสริมสร้างศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศ’ หัวข้อ ‘การเจรจาการค้าออนไลน์’, ‘การเตรียมตัวเจรจาการค้าออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ’, หัวข้อ ‘การนำเสนอเรื่องราวและความน่าสนใจของสินค้า (Story Telling)’ และหัวข้อ ‘การเลือกรูปแบบการนำเสนอสินค้าให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพกับการเจรจาการค้าแบบออนไลน์’

การสัมมนาในครั้งที่ 2 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 ในวันแรกจะเป็นการเสริมเทคนิคให้กับผู้ประกอบการ ในหัวข้อ ‘การคาดการณ์ความต้องการตลาด’ เพื่อให้กลยุทธ์การต่อยอดการค้าที่วางไว้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด, หัวข้อ ‘การวางแผนและวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาการค้า’, หัวข้อ ‘การนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์และสินค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย’, หัวข้อ ‘การนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์และสินค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย’ และหัวข้อ ‘การนำเสนอสินค้าแก่ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า’ เพื่อการเตรียมตัวเจรจาการค้าโดยการสัมมนาในครั้งนี้ร่วมถ่ายทอดผ่านวิทยากรที่มากด้วยความรู้และความรู้ รวมถึงประสบการณ์การทำงานจริงในวงการธุรกิจ เพื่อเป็นการติดปีกให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในภูมิภาค ภายใต้แนวคิด ‘เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก’ (The Key to Connext) ได้แล้วที่ www.ditp-overseas.com ตั้งแต่วันนี้ - 28 มิถุนายน 2566

‘PLANET’ ผนึกกำลังขาใหญ่ ‘จีน-สิงคโปร์’ ลุยธุรกิจรถยนต์ EV-สถานีชาร์จในไทยเต็มรูปแบบ

วันที่ (7 มิ.ย. 66) นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย (PLANET) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า ว่า บริษัท Singapore Electric Vehicles Pte (SEV) ผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ในสิงคโปร์

ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการตลาดและจัดจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ SOKON right-hand drive ในสิงคโปร์และประเทศไทย ได้เข้าลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน บริษัท แพลนเน็ต อีวี จำกัด (Planet EV) ซึ่งบริษัทย่อยของบริษัทฯ คิดเป็น 10% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลังการเพิ่มทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ทั้งการผลิต ซื้อขาย ส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าทุกชนิด ตลอดจนธุรกิจให้บริการสถานี สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวง

สำหรับ Planet EV และ SEV ในฐานะ Joint venture ยังได้ลงนามกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% รายใหญ่จากจีน คือ Sokon motors chongqing group เพื่อเป็นตัวจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์ไฟฟ้าประเภท ประเภทรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดเล็ก มินิแวนบรรทุกไฟฟ้า ยี่ห้อ SOKON ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ในเบื้องต้น Planet EV และ SEV จะร่วมกันนำรถยนต์ไฟฟ้า 100% ยี่ห้อ Sokon มาทำการตลาดในประเทศไทย ในรูปแบบของการขายและให้เช่า โดย Planet EV จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

นายประพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การดำเนินการธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าเป็นไปอย่างครบวงจร Planet ยังลงนามความร่วมมือกับบริษัท Beep technologies (Voltality) ผู้ให้บริการโซลูชั่น plug-and-play ชั้นนำจากประเทศสิงคโปร์ ในการติดตั้งอุปกรณ์ POS สำหรับเชื่อม EV charger ทุกชนิด เข้าในระบบการชำระเงินเดียวกัน (Single payment platform) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขยายธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
 

เท่าพิภพ’ ว่าที่ ส.ส. พรรคก้าวไกล โพสต์ภาพคู่ ‘ต๊อด ปิติ’ ร่วมถกกฎ-ข้อบังคับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้อนรับสุราก้าวหน้า

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 66 นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ว่าที่ ส.ส. กทม. พรรคก้าวไกล ในฐานะผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต หรือ ‘สุราก้าวหน้า’ โพสต์ภาพกับนายปิติ ภิรมย์ภักดี หรือ ‘ต๊อด’ ทายาทของตระกูลภักดี ผู้ผลิตเบียร์รายแรกของประเทศไทย ในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุข้อความว่า…

" เท่าต๊อด ดีลรักที่ไม่ลับ "

หากท่านได้ติดตามผมมาก่อน จะเห็นว่าในการดำเนินนโยบาย #สุราก้าวหน้า ผมมีความพยายามที่จะวางตัวเป็นคนกลางระหว่าง กลุ่มรณรงค์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอลฮอล์ และกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยผมเริ่มตะเวนพบปะตัวแทนของทั้งสองฝั่งอยู่บ่อยครั้ง หรือก่อนหน้านี้ก็ได้มีการพูดคุยของเหล่า brewer เพื่อหาข้อสรุป ‘ตรงกลาง’ ของสายพานธุรกิจ #สุรา #คราฟท์เบียร์ #ไวน์ #สุราแช่ และครั้งนี้ ก็เป็นคิวของ #บุญรอด เป็นเพราะผมจะได้ทราบว่าเขาคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ กฎของบ้านเก่าหลังนี้

ซึ่งเนื้อหาการพูดคุยสรุปได้ดังนี้ 
บทสนทนาเริ่มขึ้นถึงเรื่องของหน่วยงานบางหน่วยงานทันที หน่วยงานที่ออกกฎมาด้วยตัวเองและตั้งให้ตัวเองเป็นผู้บังคับบังคับใช้กฎนั้น หลังจากสิ้นสุดการกล่าวถึงนั้น เราต่างสบถออกมาพร้อมเพรียงกันว่า “นี่มันประเทศอะไรวะเนี่ย” เพราะมันเป็นเรื่องแปลกมาก ๆ ไม่มีที่ไหนเขาทำกัน 

การพูดคุยจุดประสงค์คือการแลกเปลี่ยนจากมุมมองที่ต่างกัน โดยที่ทั้งคู่มาเพื่อจะรับฟังและโต้แย้งกันด้วยเหตุผล เพราะเราทั้งคู่เริ่มเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต อาจเป็นเพราะพวกเราไม่ใช้กำแพง แต่คือกังหันลม ที่พร้อมโอบรับความเปลี่ยนแปลง

การบริหารหลังบ้าน จากมุมมองนักธุรกิจอย่างพี่ต๊อด เขามองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนเป็นอันดับแรก ๆ ถ้าหากมีไอเดียดีแค่ไหน ถ้าคนทำไม่ทำ ค่าก็เท่าเดิม

ต่อมาเรื่องผลิตภัณฑ์ของ SME เรามองตรงกันว่าควรมีการควบคุมคุณภาพ ด้วยกฎเกณฑ์ที่จำเป็นและไม่ยากจนเกินไป แต่ต้องสามารถบังคับใช้ได้จริง เพื่อควบคุม ‘ความปลอดภัย’ ของผลิตภัณฑ์ เพราะนั่นคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้บริโภคควรได้รับ

ต่อมาในระดับผู้บริโภค ปัญหาที่คนธรรมดาไม่ได้มีผลประโยชน์โดนฟ้อง เพราะเผยแพร่สิ่งที่ตนเองชอบและให้ความสนใจ ซึ่งมันควรเป็นสิทธิของบุคคลนั้นๆ มากกว่า

สุดท้ายนี้ผมขอเปรียบพี่ต๊อด เป็นหนึ่งในผู้อาศัยที่อยู่บ้านหลังนี้มานานตั้งแต่รุ่นพ่อ และรับรู้ถึงปัญหามาอย่างยาวนาน 

พี่ต๊อดจึงเป็น ‘หนึ่งคน’ ที่สามารถชี้จุดปัญหาใหญ่ ๆ ในวงการนี้ได้เป็นอย่างดีและสมควรที่เราจะต้องรับฟัง

ผมก็คือผู้รับเหมา ที่หวังจะมาปรับปรุงบ้านเก่าหลังนี้ให้ทันสมัยขึ้น เหมาะสมกับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและมีวุฒิภาวะ การที่ผมได้มาถามข้อมูลจากผู้ที่เคยอาศัยอยู่มาก่อน ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่จะเข้าใจถึงปัญหาต่าง ๆ ภายในบ้านที่สมควรได้รับการปรับปรุงหลังนี้

ที่ผมเลือกที่จะเดินเข้าไปหาที่ต๊อดและบุญรอดในวันนี้ เพราะผมอยากแสดงให้เห็นว่า ผมไม่ได้ตั้งใจมาเพื่อทุบบ้านหลังนี้ทิ้ง แต่ไม้เก่าผุพัง ถึงเวลารื้อ เราก็ต้องทำ รีบปรับเปลี่ยนเป็นวัสดุอย่างอื่น ก่อนที่มดปลวดจะกัดกินจนบ้านนี้ไม่เหลืออะไร

เพื่อความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ผมอยากจะขอยืนยันว่าบทสนทนาระหว่างเราในวันนี้ ไม่มีคำว่า “ขอ” ออกจากปากใครสักครั้ง เพราะจุดประสงค์ในการพูดคุยครั้งนี้ ไม่มีสิ่งที่เราต้องร้องขอกันเลย และคำพูดที่ถูกใช้มากที่สุดคือ “ผมเจอแบบนี้ คุณเจอมาแบบไหน? เพื่อนผมเจอมาแบบนี้ เพื่อนคุณเจอมาแบบไหน?” ซะมากกว่า โดยผมยืนยันได้ว่าพวกเราไม่ได้มีผลประโยชน์ #ใต้โต๊ะ มอบให้แก่กันแต่อย่างใด แต่สิ่งที่มอบให้กันคือมุมมองของแต่ละคนเสียมากกว่า”

เน็กซ์ พอยท์’ ทุ่ม 1 พันล้าน!! ตั้งโรงงานมอเตอร์ไฟฟ้าแห่งแรกในไทย เร่งตอกเสาเข็มภายในปี 66 หวังลดนำเข้าชิ้นส่วนรถอีวีจากต่างประเทศ

‘เน็กซ์ พอยท์’ ทุ่มงบ 1 พันล้านบาท สร้างโรงงานผลิตมอเตอร์ไฟฟ้ารถ EV แห่งแรกในไทย หวังลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ เร่งตอกเสาเข็มภายในปี 66 เตรียมมาตรการอุ้มลูกค้านำรถเก่าแลกรถใหม่ การันตีราคาสูงแตะ 20%

เมื่อไม่นานนี้ นายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนที่จะลงทุนร่วมกับ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ในการก่อตั้งโรงงานผลิตมอเตอร์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) แห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่ใกล้เคียงกับ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแบตเตอรี่ ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าน่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท และหากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนไม่มีปัญหาก็น่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในสิ้นปี 66

สำหรับการก่อตั้งโรงงานผลิตมอเตอร์รถ EV ขึ้นในประเทศไทยนั้น บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะพยายามใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศให้มากที่สุด ในการผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันบริษัทฯ จะมีสัดส่วนในการใช้ชิ้นส่วนในประเทศอยู่แล้วประมาณ 50% ก็ตาม แต่หากมีโรงงานมอเตอร์ในประเทศไทย ก็จะสามารถลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศลงได้อีก และช่วยให้ต้นทุนการผลิตรถ EV ต่อคันลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคารถ EV ลดลงตามไปด้วย เชื่อว่าน่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้หน่วยงาน ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป หันมาเปลี่ยนรถจากรถน้ำมันมาเป็นรถ EV มากขึ้น

นายคณิสสร์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นในระยะแรกมอเตอร์ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานมอเตอร์รถ EV ดังกล่าว จะนำมาใช้เป็นชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าในไทยก่อน และในระยะถัดไปหากมีกำลังการผลิตเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศแล้วก็วางแผนที่จะส่งออกมอเตอร์รถ EV ไปจำหน่ายยังประเทศในกลุ่มอาเซียน และส่งออกไปขายทั่วโลกตามลำดับ เพื่อทำให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตมอเตอร์รถ EV ของโลกให้ได้

“เวลานี้ถือว่าเป็นโอกาสดีเพียงครั้งเดียว ที่เราจำเป็นต้องเร่งมือสร้างโรงงานมอเตอร์รถ EV เพราะหากเราไม่ทำแล้วมีประเทศเพื่อนบ้านชิงทำก่อนก็อาจจะเสียโอกาส และทำให้ประเทศอื่นในแถบภูมภาคนี้แซงเราจนเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าไปก่อนได้”

นอกจากนี้ บริษัทฯยังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดมาตรการสนับสนุนการใช้รถ EV อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการโลจิสติกส์ หรือหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องมีรถอยู่ในฟีดจำนวนมาก เมื่อใช้งานไปครบอายุการใช้งานตามมาตรฐานสากลประมาณ 7-8 ปี ก็อาจต้องเปลี่ยนรถเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงวางแผนไว้เบื้องต้นว่า หากใช้งานรถของเน็กซ์ผ่านไป 7 -8 ปีแล้วต้องการนำรถเก่ามาเปลี่ยนฝูงรถใหม่ก็สามารถนำมาตีเทิร์นได้ ซึ่งบริษัทฯจะการันตีให้สูงถึง 15-20 % ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกค้าให้เกิดความมั่นใจในการใช้รถ EV อย่างต่อเนื่องต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top