Friday, 4 July 2025
อาเซียน

สื่อนอกปูดรัฐบาลทหารเตรียมจัดเลือกตั้งปีหน้า ส่ง 'ตาน ฉ่วย' หารือคุยรัฐบาลไทยก่อนถกมาเลย์

(19 ธ.ค. 67) ช่วงระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคมนี้ กระทรวงการต่างประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคเกี่ยวกับเมียนมาจำนวน 2 การประชุมด้วยกัน โดยการประชุมแรกมีชาติเพื่อนบ้านของเมียนมาเข้าร่วมรวมถึงจีน บังกลาเทศและอินเดีย ส่วนอีกการประชุมเป็นการประชุมในกรอบอาเซียน

รอยเตอร์รายงานว่า ในการประชุมดังกล่าวรัฐบาลทหารเมียนมาได้ส่งนาย ตาน ฉ่วย มาเข้าร่วมประชุมที่กรุงเทพฯในวงการประชุมทั้งสองวัน โดยแหล่งข่าวทางการทูตเผยว่า เมียนมามีแผนจะจัดการเลือกตั้งในประเทศขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมของรัฐบาลทหารผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้

ความคืบหน้าดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ปี 2025 มาเลเซียเตรียมรับตำแหน่งประธานอาเซียนในปีหน้า ซึ่งอาเซียนยังล้มเหลวในการผลักดันให้เมียนมาปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ เพื่อลดความขัดแย้งภายในประเทศที่เกิดขึ้นตั้งแต่กองทัพทำรัฐประหารในปี 2021 ส่งผลให้เกิดการสู้รบอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ

แม้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจและแรงกดดันจากหลายฝ่าย แต่รัฐบาลทหารเมียนมายังคงเดินหน้าจัดการเลือกตั้งในปี 2025 ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสร้างภาพทางการเมือง

จีนซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลทหารเมียนมา ได้แสดงการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและการเลือกตั้งปี 2025 ขณะที่ผู้นำไทยเรียกร้องให้มีการมีส่วนร่วมที่กว้างขวางขึ้นกับเมียนมา

นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศไทย เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือด้านความมั่นคงชายแดนและอาชญากรรมข้ามชาติ โดยสมาชิกอาเซียนจะพบกันเพื่อพิจารณาฉันทามติ 5 ข้อ ซึ่งถือเป็นแผนสันติภาพสำหรับวิกฤตเมียนมา

นอกจากนี้ นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปีหน้า ได้แต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวด้านอาเซียน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในเมียนมา ซึ่งถือเป็นความพยายามที่เมียนมาหารือกับรัฐบาลไทยก่อนที่จะหารือกับรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจะเป็นเจ้าภาพอาเซียน

ทั้งนี้ ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นว่าการประชุมครั้งนี้เต็มไปด้วยความตึงเครียดและขาดความโปร่งใส เนื่องจากกลุ่มกบฏในเมียนมาไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมวงหารือ ซึ่งอาจทำให้การเจรจาแก้ไขปัญหายุ่งยากมากขึ้น

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม แถลง!! ผลการหารือกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เผย!! พูดคุยประเด็นสำคัญในภูมิภาค เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การสร้างสันติภาพในภาคใต้

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม เปิดใจเชื่อ ความเจนจัดของอดีตผู้นำไทย ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีเครือข่ายกว้างขวางไปทั่วภูมิภาคจะเป็นประโยชน์ต่อ 'มาเลเซีย' ที่กำลังจะนั่งในตำแหน่งประธานอาเซียนแบบหมุนเวียนคนใหม่ในปี 2025

และเสริมว่า ผู้นำทั้งสองพบกันในวันพฤหัสบดี (26) โดยบลูมเบิร์กกล่าวว่า ประเด็นการหารือประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญของภูมิภาค รวมไปถึงการเสริมสร้างสันติภาพในภาคใต้ของไทยและต่อวิกฤตพม่า

“เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่มีใครเทียบเคียงของคุณทักษิณไปทั่วทั้งภูมิภาคพร้อมไปด้วยความเชี่ยวชาญที่พิเศษที่โดดเด่นของเขานั้นเป็นเสมือนการสัญญาต่อโอกาสที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับทั้งมาเลเซียและอาเซียน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายด้วยความเชื่อมั่นและความสามารถที่มากขึ้น” 

อันวาร์ซึ่งเรียกอดีตนายกฯ ไทยว่า ‘เพื่อนรัก’ ดูเหมือนว่าเขาจะไม่มีความรู้สึกวิตกต่อปัญหาทางกฎหมายและการเมืองในไทยที่รุมล้อมอดีตผู้นำไทยที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองนาน 15 ปีจากการโดนทำรัฐประหาร ซึ่งมีประวัติทำความผิดคอร์รัปชันและสามารถรอมชอมกับทหารได้ ก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษในเวลาต่อมา

และหลังจากที่นายกฯ อันวาแต่งตั้งทักษิณเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนในฐานะหนึ่งในที่ปรึกษาส่วนตัวในการนั่งทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนครั้งแรกกลับพบกับเสียงวิจารณ์จากทั้งในไทยและในมาเลเซีย และรวมไปสื่อนอกเช่น รอยเตอร์

มีการหยิบยกการเปรียบเทียบให้เห็นเหมือนเมื่อครั้งการได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและความสัมพันธ์กับฮุนเซน ย้อนให้นึกถึงครั้งที่ ทักษิณ ได้รับการแต่งตั้งจากฮุนเซน ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชา แต่หลังจากนั้นไม่นานทักษิณประกาศลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างของฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากกัมพูชามีข้อพิพาททางทะเลกับไทยในเรื่องเกาะกูด

ขณะที่ฝ่ายค้านมาเลเซียเองออกมาถามอาเซียนจะได้ประโยชน์จริงหรือและจะเสริมภาพลักษณ์ของอันวาร์ได้อย่างไร ซัดตั้งคนที่ถูกพิพากษาจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำไมไม่ตั้งนักการทูตหรือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ด้าน ‘ดร.มหาเธร์’ งง ทำไมเลือกทักษิณ ทั้งที่มีคนอื่นมากมาย

ซึ่งการพบกันระหว่าง 2 ผู้นำมาเลเซีย-ไทยนี้เป็นที่จับตาเป็นวงกว้างโดยเฉพาะจากโลกตะวันตก เกิดขึ้นหลังสื่อ TASS ของรัสเซียรายงานวันพุธ (25) เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยได้ตอบรับการเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (BRICS partner country) ซึ่งเป็นก้าวที่จะนำไปสู่การเป็นสมาชิกเต็มตัวในอนาคต

กลายเป็นคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญว่า กลุ่มอาเซียน 10 ชาติซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1967 นี้จะยังคงวางตัวเป็นกลางอย่างไรในเมื่อ 3 ชาติจากทั้งหมดได้แก่ มาเลเซีย ซึ่งกำลังจะเป็นประธานอาเซียน รวมไทย ที่มีอดีตนายกฯ นั่งเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของประธานอาเซียน และอินโดนีเซียนั้นกำลังจะเป็นหุ้นส่วนกับรัสเซีย-จีนผ่านกลุ่ม BRICS

สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า นักวิเคราะห์ต่างชี้ว่า ในฐานะเป็นประธานอาเซียน อันวาร์และมาเลเซียจะผงาดบนเวทีโลกในฐานะชาติมหาอำนาจตัวกลาง (middle power) โดยในการจำกัดความที่หมายถึงประเทศที่ยังไม่มีอิทธิพลโดดเด่นในฐานะชาติมหาอำนาจโลก เช่น สหรัฐฯ จีน รัสเซีย แต่ถูกพิจารณาว่ามีอิทธิพลในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การทูตของนายกฯ อันวาร์รวมถึงการไปเยือนอเมริกาใต้เพื่อประชุมเอเปกและการประชุม G-20 สะท้อนถึงการสร้างที่ยืนของมาเลเซียและเขาบนเวทีโลกและแผนสำหรับการนำอาเซียนในปี 2025

เรดิโอฟรีเอเชียชี้ว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มักจะย้ำเสมอในการให้สำคัญต่ออาเซียนและกลไกของอาเซียนต่อเป้าหมายในการทำให้มีความเหมาะสมมากขึ้นสำหรับความพยายามอย่างเคลื่อนไหวภายในโลกขั้วใต้ (Global South) ซึ่งโลกขั้วใต้นี้ปักกิ่งได้ประกาศแสดงความเป็นผู้นำ

และเป็นเสมือนสิ่งสำคัญสำหรับผู้นำแดนเสือเหลืองที่ต้องทำให้มั่นใจว่า กลุ่มอาเซียนจะไม่เพียงแต่เป็นกลาง แต่ต้องถูกมองให้เป็นเช่นนั้นด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Matthijs van den Broek แสดงความเห็น

และเสริมว่า ในขณะที่ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาข่มขู่ว่าจะตั้งกำแพงภาษีสูงลิ่วต่อประเทศใดๆ ที่เขาเชื่อว่ากำลังเป็นศัตรูกับดอลลาร์สหรัฐ หลังกลุ่ม BRICS วางแผนจะตั้งสกุลเงินใหม่ของตัวเอง

ทั้งจีนและสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการซื้อขายต่างชาติระดับต้นและเป็นพันธมิตรทางการลงทุน ดังนั้นแล้ว มาเลเซียในฐานะประธานต้องเพิ่มความสามารถทางการทูตของตัวเองเพื่อไม่ให้มีการทำให้รู้สึกทอดทิ้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

พีท เฮกเซธ ว่าที่รมว.กลาโหมสหรัฐ ถูกจี้กลางสภา ปมขาดความรู้เรื่องอาเซียน

(16 ม.ค.68) วุฒิสภาสหรัฐได้จัดประชุมพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่เตรียมขึ้นดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ โดยหนึ่งในผู้เข้ารับการพิจารณาคือ พีท เฮกเซธ อดีตทหารผ่านศึกและผู้ประกาศข่าวจากช่อง Fox วัย 44 ปี ซึ่งถูกเสนอชื่อเป็นว่าที่รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ  

ในการประชุม แทมมี ดักเวิร์ธ วุฒิสมาชิกสหรัฐสังกัดพรรคเดโมแครตได้สอบถามถึงความรู้ด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของเฮกเซธ โดยถามว่าเขาสามารถระบุชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนได้หรือไม่ พร้อมอธิบายถึงความสัมพันธ์และข้อตกลงของสหรัฐกับประเทศเหล่านั้น  

เฮกเซธตอบกลับอย่างไม่ตรงคำถาม โดยระบุว่าเขาไม่ทราบจำนวนประเทศในอาเซียน แต่กล่าวถึงพันธมิตรของสหรัฐในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น รวมถึงข้อตกลง AUKUS ระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ  

คำตอบดังกล่าวทำให้แทมมีสวนกลับทันทีว่า “ทั้งสามประเทศที่คุณกล่าวมาไม่ได้อยู่ในอาเซียน” และยังแนะนำให้เฮกเซธศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิภาคนี้  "ฉันแนะนำให้คุณทำการบ้านเพิ่มเติม"

รายงานระบุว่า คำถามของแทมมีเกิดขึ้นหลังจากเฮกเซธกล่าวถึงความสำคัญของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จีนกำลังแผ่อิทธิพลอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ที่มีข้อพิพาทกับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน อินโดนีเซียเองก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยจีน  

ที่ผ่านมาสหรัฐมีพันธมิตรตามสนธิสัญญากับไทยและฟิลิปปินส์ และพยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์ในภูมิภาคเพื่อถ่วงดุลอำนาจจีน โดยทำเนียบขาวเน้นย้ำถึงการสร้างภูมิภาคที่ "เปิดกว้าง เจริญรุ่งเรือง ปลอดภัย และยืดหยุ่น"  

ประธานาธิบดีโจ ไบเดนย้ำว่า อาเซียนเป็นหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก โดยนอกจากจีนและสหรัฐ อาเซียนยังมีความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมถึงการประชุมอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ที่มีผู้นำจากทั่วโลกเข้าร่วม  

นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นศูนย์กลางของข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ลงนามในปี 2563 และถือเป็นกลุ่มการค้าที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

หวัง อี้ ลั่นจับมือชาติอาเซียน ปราบการพนันออนไลน์-แก๊งสแกมเมอร์

(17 ม.ค.68) นายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในตอนหนึ่งของการหารือกับคณะผู้แทนจาก 10 ชาติสมาชิกอาเซียนที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยให้คำมั่นว่ารัฐบาลปักกิ่งจะร่วมมืออย่างแข็งขันกับบรรดาชาติอาเซียนในการกวาดล้างการพนันออนไลน์และการฉ้อโกงทางโทรคมนาคมข้ามพรมแดน

หวัง อี้  ซึ่งยังดำรงตำแหน่งสมาชิกกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุว่ากรณีการพนันออนไลน์และการฉ้อโกงทางโทรคมนาคมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงเมื่อไม่นานมานี้ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ได้ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์สำคัญของพลเมืองจีนและประเทศอื่น ๆ ซึ่งสถานการณ์นี้จำเป็นต้องได้รับการให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน  

นอกจากนี้ นายหวังยังเรียกร้องให้ประเทศที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบและดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวดเพื่อกวาดล้างอาชญากรรมดังกล่าวให้สิ้นซาก รวมถึงปกป้องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยไม่ปล่อยให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีการลงโทษ  

จีนยืนยันความพร้อมที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนและความร่วมมือที่เป็นระเบียบในภูมิภาค นายหวังกล่าวทิ้งท้าย

มาเลเซียเบรกเมียนมา สร้างสันติภาพในประเทศก่อนเปิดหีบ

(20 ม.ค. 68) ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาดำเนินการเจรจาสันติภาพและยุติการใช้กำลังในทันที พร้อมเตือนว่าแผนการจัดการเลือกตั้งท่ามกลางสถานการณ์สงครามกลางเมืองที่ทวีความรุนแรง ไม่ควรถูกจัดให้เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้น ๆ

นายโมฮัมหมัด ฮาซัน รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย และประธานอาเซียนหมุนเวียนในปีนี้ กล่าวระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่เกาะลังกาวี มาเลเซีย ว่า อาเซียนเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่ขัดแย้งในเมียนมายุติการต่อสู้ และเปิดทางให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสามารถเข้าถึงพื้นที่โดยปราศจากอุปสรรค

"มาเลเซียต้องการทราบว่าเมียนมาคิดอย่างไร และเราได้แจ้งชัดเจนว่า การจัดการเลือกตั้งไม่ใช่ความจำเป็นเร่งด่วน สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้คือการหยุดยิง" นายโมฮัมหมัดกล่าว

นอกจากนี้ มาเลเซียได้แต่งตั้งนายโอธมัน ฮาชิม อดีตนักการทูต เป็นผู้แทนพิเศษด้านวิกฤตการณ์ในเมียนมา โดยนายโอธมันจะเดินทางไปยังเมียนมาในเร็ว ๆ นี้ เพื่อผลักดันให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามแผนสันติภาพ 5 ข้อของอาเซียน ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ

ทั้งนี้ สหประชาชาติรายงานว่า ความต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในเมียนมาอยู่ในระดับวิกฤต โดยประชาชนเกือบ 20 ล้านคน หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด กำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

อันวาร์วิจารณ์ไบเดนมัวแต่สนใจยูเครน จีนรับอานิสงส์ แผ่อิทธิพลอาเซียนมากขึ้น

(21 ม.ค.68) นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ของมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนประจำปีนี้ ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อไฟแนนเชียลไทมส์ โดยแสดงความเห็นว่า สหรัฐฯ มุ่งเน้นความสำคัญไปที่สงครามในยูเครนมากจนทำให้ความสนใจต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลง "บางทีพวกเขาอาจจะมุ่งเน้นไปที่ยุโรปก็ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ คือพวกเขาให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้(อาเซียน)น้อยลง ยกเว้นแค่คำแถลงนโยบายต่างประเทศทั่วไป" นายกอันวาร์กล่าว 

แม้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะไม่ได้กล่าวถึงตัวบุคคล แต่เขากล่าวถึงรัฐบาลสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน โดยอันวาร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความละเลยของสหรัฐฯ ต่อความสัมพันธ์กับอาเซียนทำให้สหรัฐฯ สูญเสียพื้นที่ให้กับจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "ที่ผ่านมาอาเซียนเราความร่วมมือกับสหรัฐฯ เป็นอย่างดีแต่พวกเขาก็ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาคนี้เหมือนที่เคยเป็นในอดีต ขณะที่จีนมีท่าทีที่เป็นบวกมากขึ้น"

เขายังกล่าวชื่นชมการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากรัฐบาลจีนที่มาเลเซีย โดยว่ามาเลเซียเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในปีนี้ "จีนให้การเข้าถึงที่ดีกว่า คุณสามารถพบปะพวกเขาได้ง่าย เราส่งรัฐมนตรีไปที่นั่น พวกเขาส่งรัฐมนตรีมา" 

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังปกป้องการตัดสินใจของประเทศในภูมิภาคในการร่วมมือกับจีนอย่างสร้างสรรค์ และยินดีต้อนรับการลงทุนของจีนในโครงสร้างพื้นฐาน "มันเป็นเรื่องที่ดีกว่าสำหรับเศรษฐกิจขนาดเล็กอย่างมาเลเซียที่จะขยายความสัมพันธ์กับจีน" นายกรัฐมนตรีมาเลย์กล่าว

เมื่อถูกถามถึงความจำเป็นในการเข้มงวดกับจีนภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของมาเลเซีย เขากล่าวว่า "ทำไมเราต้องเข้มงวด? เราไม่เห็นด้วยกับสหรัฐฯ ในหลายเรื่องด้านนโยบายต่างประเทศ แต่เราก็ต้องการให้พวกเขาเป็นพันธมิตรที่สำคัญ" และ "กับจีน ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องของการเข้มงวดกับประเทศเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งและใหญ่"

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังให้ความเห็นถึงกรณีกำแพงภาษีของโดนัลด์ ทรัมป์ โดยมั่นใจว่า "เหตุผลจะชนะในที่สุด" และกล่าวว่า "มีบริษัทใหญ่จากสหรัฐฯ ที่มีความสนใจและการพึ่งพาการค้าต่างประเทศและการลงทุนจำนวนมาก"

ในแง่การบาลานซ์ระหว่างมหาอำนาจ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังกล่าวถึงความตั้งใจที่จะ 'รักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย' ในระหว่างการเป็นประธานอาเซียน

เวียดนามคิกออฟ ลดข้าราชการ 100,000 ตำแหน่ง ยุบกระทรวงหลายแห่ง ลดภาระคลัง หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

(18 ก.พ.68) สภาเวียดนามได้ลงมติเห็นชอบแผนปรับโครงสร้างรัฐบาลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ โดยมีเป้าหมายในการลดขนาดกระทรวงและหน่วยงานภาครัฐลงประมาณ 20% เพื่อลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการ สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย

ตามรายงานของบลูมเบิร์ก การลงมติครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ระหว่างการประชุมสมัยวิสามัญของสมัชชาแห่งชาติ ณ กรุงฮานอย โดยการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะส่งผลให้ข้าราชการราว 100,000 คนต้องถูกลดตำแหน่ง ซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจในทศวรรษ 2520

แผนการนี้รวมถึงการยุบกระทรวง 5 แห่ง และการควบรวมกระทรวงสำคัญ เช่น กระทรวงการคลังเข้ากับกระทรวงการวางแผนและการลงทุน นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะปิดสถานีโทรทัศน์ของรัฐหลายช่องและยกเลิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารบางฉบับเพื่อลดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล

การปฏิรูปครั้งนี้ได้รับการผลักดันโดย โต เลิม เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ซึ่งกำลังเตรียมตัวสำหรับการปรับเปลี่ยนผู้นำในปีหน้า และมุ่งหวังที่จะสร้างผลงานสำคัญในช่วงที่กำลังขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจในระดับ 8% ในปีนี้ โดยมีเป้าหมายยกระดับเศรษฐกิจให้เติบโตในระดับเลขสองหลักในปีถัดไป

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปนี้มาพร้อมกับความท้าทาย เนื่องจากมีการลดตำแหน่งงานของข้าราชการหลายพันคน ซึ่งรัฐบาลเตรียมเงินชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ แต่หลายคนยังคงกังวลเกี่ยวกับการหางานใหม่ในสถานการณ์ที่ภาครัฐกำลังลดขนาดและแรงงานจำนวนมากเคลื่อนย้ายไปยังภาคเอกชน

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียนราคา ณ วันที่ 3 มี.ค.68

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2568 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3. ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคาและอัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 3 มีนาคม 2568

*ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization
หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ย ในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 10 มี.ค. 68

ราคาน้ำมันลดลงต่อเนื่อง!!

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3. ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคาและอัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 10 มีนาคม 2568

*ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization
หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING

ประธานอาเซียน วอนสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผนึกกำลัง ย้ำความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว รับมือภาษีศุลกากรสุดโหดจากสหรัฐฯ

(9 เม.ย. 68) นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและประธานอาเซียนประจำปี 2568 ได้แถลงเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกัน เพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเรียกภาษีศุลกากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการดำเนินนโยบายการค้าโดย ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ซึ่งได้ใช้มาตรการภาษีศุลกากรที่เข้มงวดต่อสินค้าจากหลายประเทศ 

ในคำแถลงที่ออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นายอันวาร์กล่าวว่า “อาเซียนต้องยืนหยัดในฐานะกลุ่มที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการเผชิญกับนโยบายการค้าและภาษีศุลกากรที่ไม่เป็นธรรมจากประเทศภายนอก” 

เขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการ “ระลึกถึงประวัติศาสตร์ที่ประเทศในอาเซียนมีร่วมกัน” และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวที่มีความสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ร่วมของภูมิภาคในยุคที่การค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สำหรับการดำเนินนโยบายภาษีศุลกากรของทรัมป์ ถูกมองว่าเป็นการสร้างอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯ อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะในด้านการส่งออกสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

นายอันวาร์กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวของสหรัฐฯ มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน โดยการหักหลังนโยบายการค้าเสรีจากบางประเทศจะทำให้การค้าระหว่างประเทศ ที่เคยเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของภูมิภาคได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ทั้งนี้ อาเซียนถือเป็น ผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่เป็นอันดับ 4 ไปยังสหรัฐฯ รองจากแคนาดา เม็กซิโก และจีน โดยในปี 2566 มูลค่าการค้ารวมกับสหรัฐฯ สูงถึง 3.96 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 11.2% ของการค้าทั้งหมดของอาเซียนกับทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ ในปัจจุบันมีผลกระทบอย่างมากต่อบางประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะ กัมพูชา ซึ่งเผชิญภาษีศุลกากรสูงถึง 49% ขณะที่ ลาว และ เวียดนาม ต้องเผชิญภาษีที่ 48% และ 46% ตามลำดับ ขณะที่ มาเลเซีย เองก็ไม่รอดจากการเก็บภาษีที่สูงถึง 24% จากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top